#1
|
|||
|
|||
![]()
เนกขัมมบารมี
๑. “อย่าละความเพียรในการพิจารณาบารมี ๑๐ และกรรมฐานทุกกอง พึงทำให้เจริญอยู่ในจิตทุกเมื่อ พยายามมีสติ-สัมปชัญญะ กำหนดรู้ถึงกิจที่ยังทำไม่จบอยู่เสมอ” ๒. “อย่าไว้ใจความไม่เที่ยงของร่างกาย ให้ทำความรู้สึกเอาไว้เสมอว่า ความตายกำลังใกล้เข้ามา หากมัวแต่รอช้าอยู่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปโดยไร้ประโยชน์ ถือว่าเป็นความประมาทอย่างยิ่ง สภาพจิตอย่างนี้ไม่พึงมีในจิตของเรา” ๓. “พิจารณาเนกขัมมบารมีไปถึงไหน” (ตอบว่า ถึงจุดที่ว่าเนกขัมมบารมี คือ การมีศีล-สมาธิ-ปัญญา เพื่อความดับไม่มีเชื้อ) ๔. “เชื้ออะไร” (ตอบว่า เชื้อที่ทำให้เกิด) ๕. “เชื้อเกิดคืออะไร” (ตอบว่า คือ กิเลส-ตัณหา-อุปาทานและอกุศลกรรม หรืออารมณ์โกรธ-โลภ-หลง) ๖. “ถูกต้อง แล้วให้พิจารณาว่ามีเนกขัมมบารมี กาย-วาจา-ใจ เป็นอย่างไร และไม่มีเนกขัมมบารมีเป็นอย่างไร จุดไหนเป็นคุณ จุดไหนเป็นโทษ ให้รู้ด้วย” ธัมมวิจัย ในอดีตเราพิจารณาเนกขัมมบารมี โดยใช้สัญญาความจำเป็นหลักว่า เนกขัมมบารมี คือ การถือบวชคือ บวชใจของเราชั่วคราว ให้ใจเราสงบเป็นสุข บริสุทธิ์ชั่วคราว โดยการระงับนิวรณ์ ๕ หรือความชั่วของจิตทั้ง ๕ ที่ทำปัญญาให้ถอยหลัง คือ กามฉันทะ-ปฏิฆะ-ถีนมิทธะ (ความง่วง) –อุทธัจจะ (ฟุ้งซ่าน) และวิจิกิจฉา (ความสงสัย) จิตบริสุทธิ์ชั่วคราว จิตก็เป็นทิพย์ชั่วคราว จิตก็วิมุติหลุดพ้นจากสมมุติชั่วคราว (ตทังควิมุตติ) การฝึกมโนมยิทธิครึ่งกำลังอาศัยหลักนี้เป็นสำคัญ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com |
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|