#1
|
|||
|
|||
![]()
วิธีพ้นภัยตนเอง
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้ ๑. อยู่ที่การหมั่นตรวจสอบจิต ให้มีอารมณ์ผ่องใสอยู่ในธรรมให้เสมอ ตั้งแต่เช้าลืมตาขึ้นมาพยายามตั้งอารมณ์ให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ และพยายามตั้งอยู่ให้มั่นคง ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งหลับตานอนหลับไป หากทำได้จิตจักผ่องใส เจริญอยู่ในธรรมตลอดเวลา เพราะอำนาจของพรหมวิหาร ๔ จักบังคับจิตไม่ให้เบียดเบียนตนเอง เมื่อสิ้นความเบียดเบียนตนเองแล้ว คำว่าจักไปเบียดเบียนบุคคลอื่นนั้นย่อมไม่มี ๒. ภัยร้ายแรงที่สุดในการปฏิบัติธรรมเพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์ก็คือ ภัยจากอารมณ์จิตของตัวเราเองทำร้ายจิตของเราเอง ดังนั้นหากเราทรงอารมณ์ให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ ได้ ครบทั้ง ๔ ประการได้มั่นคงตลอดเวลา จิตเราก็ผ่องใสตลอดเวลา เท่ากับสิ้นความเบียดเบียนตนเองแล้ว หรือพ้นภัยตนเองแล้วอย่างถาวร ๓. ในการปฏิบัติหากจิตมีอารมณ์คิด การให้คิดใคร่ครวญอยู่ในธรรม แม้จักไม่มีคู่สนทนาก็จงสนทนากับจิตตนเองคือ ใคร่ครวญในพระธรรมวินัย หรือใคร่ครวญในพระสูตรให้จิตตนเองฟังและเจริญอยู่ในธรรมนั้น ๆ และจักทำให้จิตจำพระธรรมคำสั่งสอนได้ดีพอสมควร ธรรมเหล่านี้จักเป็นผลพลอยได้ ซึ่งกาลต่อไปเจ้าจักมีโอกาสนำไปสงเคราะห์บอกต่อให้แก่ผู้อื่นได้ศึกษา และเข้าใจถึงธรรมนั้น ๆ ไปด้วย" ๔. แต่อย่าลืมหลักสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการ อย่าปฏิบัติเลื่อนลอยจักไม่ได้ผล แม้การแนะนำผู้อื่นก็เช่นกัน อย่าทิ้งหลักสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้นเป็นอันขาด" ๕. การแนะนำอย่ากระทำตนเป็นผู้รู้ ให้ถ่อมตนเข้าไว้ว่า ที่รู้นั้นรู้ตามพระพุทธเจ้าท่านสอน ท่านสอนให้ตัดสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้นเพื่อกันอบายภูมิ ๔ ไว้ก่อน เพราะการไปละเมิดศีล ๕ เข้าข้อใดข้อหนึ่ง กรรมนั้นก็จักดึงให้ตกนรก ๖. นรกขุมแรก สัญชีพนรก ๙ ล้านปีของมนุษย์เท่ากับนรกขุมนี้ ๑ วัน ให้เกรงกลัวบาปเข้าไว้ แต่มิใช่คิดประมาทว่าไม่เป็นไร เราจะพยายามไม่ละเมิดศีล แต่ไม่ต้องรักษาศีลก็แล้วกัน ถ้าบุคคลใดคิดเช่นนั้นให้ดูตัวอย่างอานันทเศรษฐี ผู้ไม่มีทั้งกรรมดีคือไม่ยอมให้ทานเลย แต่ก็ไม่มีกรรมชั่วเพราะเขาไม่ได้รักษาศีล แต่ก็ไม่ได้ละเมิดศีล ผลของการไม่ให้ทานทำให้เกิดเป็นลูกขอทาน ผลที่เขาไม่ได้รักษาศีลทำให้รูปร่างเขาเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น กฎของกรรมมันเป็นอย่างนี้ |
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
![]()
๗. “และอย่าลืมว่าเรามิใช่เกิดมาเพียงชาตินี้ คือปัจจุบันชาติเท่านั้น หากใช้ปัญญาพิจารณาถอยหลังไป คนแต่ละคนเกิดมาแล้วนับอสงไขยไม่ถ้วน ในอดีตชาติที่ผ่านมาอย่างนับไม่ถ้วนนั้น ทุก ๆ คนทำกรรมชั่วละเมิดศีล ๕ มาแล้วมากกว่าทำกรรมดี นี่เป็นสัจธรรม เพราะฉะนั้น..ทุก ๆ คนย่อมมีบาปเก่า ๆ ท่วมทับใจอยู่ บาปเก่า ๆ เหล่านี้แหละ ที่จักสามารถดึงทุกท่านลงนรกได้ ถ้าหากจิตไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า คือพระโสดาบันขึ้นไปเป็นอันดับเบื้องต้น เพราะฉะนั้น..จุดนี้ทุกคนไม่ควรจักประมาท ให้พยายามตัดสังโยชน์ ๓ เอาไว้ให้ดี ๆ เพื่อป้องกันการไปจุติยังอบายภูมิ ๔ อย่างเด็ดขาด”
๘. “การพูดต้องพูดตามนี้ การปฏิบัติของพวกเจ้าจักต้องกำหนดรู้อยู่ที่สังโยชน์ ๔-๕ จักได้มีการระงับอารมณ์อันเป็นเหตุให้เกิดความพอใจและไม่พอใจ นี่จักต้องมีสติกำหนดรู้ไว้ มิใช่ปล่อยให้กระเจิดกระเจิงไปตามอายตนะสัมผัสเหมือนดังที่ผ่านมานั้นใช้ไม่ได้” ๙. “เมื่อรู้ว่าพลาดก็จงตั้งต้นใหม่ เพียรต่อสู้เรื่อยไป อย่าท้อถอย มีกำลังใจตั้งมั่นไว้เสมอว่าบุคคลใดจักเข้าถึงพระนิพพานได้ บุคคลนั้นต้องตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้ จึงจักเข้าถึงได้ เราเองก็จักต้องกระทำตามนั้น จักเดินทางอื่นเพื่อเข้าถึงพระนิพพานไม่ได้เลย” ๑๐. “การเอาชนะอารมณ์ที่เป็นกิเลสนี้ นี่แหละคืองานประจำ คืองานสำคัญที่เราจักต้องทำให้ได้ ถ้าปราศจากการกระทำงานนี้แล้ว การเข้าถึงพระนิพพานนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เตือนจิตตนเองไว้เยี่ยงนี้ให้ดี ๆ ปฏิปทาใดที่ครูบาอาจารย์สอนแล้ว จงหมั่นเดินตามทางนั้นด้วยกำลังใจที่ตั้งมั่นในความเพียร หนทางใดเป็นทางพ้นทุกข์ จงเดินตามทางนั้น หนทางใดที่ท่านสอนไว้ว่าเป็นทุกข์ ก็จงละอย่าเดินซึ่งทางนั้น” ๑๑. “ความโกรธ โลภ หลง นั้นไม่ดี ทางนี้ทำให้จิตมีอารมณ์ของความทุกข์ จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่า อเนกชาติแล้วนะที่เราเดินมาตามทางแห่งความทุกข์นั้น ทุกข์เพราะความโกรธ โลภ หลง ทำให้จิตต้องเสวยทุกข์จุติไปตามอารมณ์ที่เกาะทุกข์ เพราะความโกรธ โลภ หลงนั้น ๆ” ๑๒. “เพลานี้พวกเจ้าได้พบแล้วซึ่งธรรมพ้นทุกข์ จงเดินตามมาเพื่อจักได้พ้นจากการจุติในวัฏสงสารให้ได้ก่อนตาย ร่างกายนี้ต้องตายแน่ จึงไม่ควรที่จักประมาทยอมแพ้เต้นตามกิเลสอยู่ร่ำไป ขณะจิตนี้แพ้แล้วก็แพ้ไป ตั้งสติกำหนดรู้แล้วรีบตั้งใจต่อสู้กับกิเลสใหม่ อย่าปล่อยเวลาให้เสียไปโดยไร้ประโยชน์ ขอให้หมั่นเพียรจริง ๆ เถิด คำว่าเกินวิสัยที่จักชนะกิเลสได้ย่อมไม่มี” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-02-2011 เมื่อ 16:18 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
![]()
ธัมมวิจยะหรือธัมมวิจัย
(บุคคลใดที่ใคร่ครวญพระธรรมวินัยอยู่เสมอ บุคคลนั้นจักไม่เสื่อมจากพระธรรม หรือไม่เสื่อมจากสัจธรรม บุคคลใดเห็นธรรม บุคคลนั้นเห็นเราตถาคต ความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่พระธรรมหรือจิตที่ทรงธรรม มิใช่อยู่ที่ร่างกาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระพุทธพจน์ทั้งสิ้น) จากการศึกษาพระไตรปิฏกว่าด้วยพระธรรมวินัย แล้วนำมาธัมมวิจยะพอสรุปได้ดังนี้ ๑. ภิกษุอาทิกัมมิกะ (ภิกษุประพฤติชั่วโดยไม่รู้ก่อนที่จะบัญญัติศีล) เป็นผู้ทำให้เกิดศีล ๒๒๗ เพราะเหตุใด ต้นเหตุทั้งหมดเกิดจากอารมณ์โลภ โกรธ หลง และโลกธรรม ๘ ๒. โลกธรรม ๘ กับศีล เกี่ยวข้องกันอย่างไร ๓. โลกธรรม ๘ กับอารมณ์ ๓ คือ โลภ-โกรธ-หลง ก็เกี่ยวเนื่องกันหมด ๔. ธรรมหรือกรรมทั้งหลาย ล้วนมาแต่เหตุทั้งสิ้น ๕. กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย ๖. พระองค์สอนหรือแสดงธรรมไปในทางเดียวกัน เกี่ยวเนื่องกัน เดินไปในทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกันเลย ถ้าผู้รับฟังฟังแล้วเข้าใจ ๗. ที่เกิดการขัดแย้งกัน มีความเห็นแตกต่างกัน (มีทิฏฐิต่างกัน) เพราะจิตของบุคคลผู้นั้นยังเจริญไม่ถึงจุดนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์พอใจ และไม่พอใจขึ้น หมายความว่ามีบารมีธรรมแค่ไหน ย่อมรู้ธรรมได้แค่นั้น เมื่อบารมีธรรมถึงแล้วก็จะเข้าใจ และไม่ขัดแย้งกันอีกต่อไป ๘. ในการปฏิบัติทั้ง ๆ ที่รู้ ๆ อยู่นี่แหละ ก็ยังอดเผลอไม่ได้ เหตุจากโมหะ ความหลง หลงใหญ่ที่สุดคือ หลงคิดว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวสักกายทิฏฐิ (ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกายเรียกว่าสักกายทิฏฐิ) เมื่อหลงคิดว่าตัวกูเป็นของกูแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย จึงเหมาเอาว่าเป็นของกูทั้งหมด ๙. ในการปฏิบัติสำหรับคนฉลาด มีปัญญาสูง พระองค์ทรงให้ตัดหลงใหญ่ตัวเดียวคือ สักกายทิฏฐิข้อเดียว หลงเล็ก ๆ ก็หลุดจากจิตหมด สามารถจบกิจในพระพุทธศาสนาได้ ๑๐. กฎของกรรมหรืออริยสัจตัวเดียวกัน กรรมใดที่เราไม่เคยก่อไว้ทำไว้ในอดีต วิบากกรรมหรือผลของกรรมย่อมไม่เกิดกับเราในปัจจุบัน ทั้งฝ่ายดี (กุศลกรรม) และฝ่ายชั่ว (อกุศลกรรม) ๑๑. ใครหมดความหลงจึงจบกิจในพุทธศาสนา เพราะหลงเป็นเหตุจึงทำให้เกิดอารมณ์ไม่พอใจ (ปฏิฆะหรือโทสะ) และพอใจ (ราคะหรือโลภะ) ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง เพื่อให้เห็นประโยชน์อันหาประมาณมิได้ของธัมมวิจัย ซึ่งทำให้เกิดปัญญาในทางพุทธ ใครทำใครได้ ใครเพียรมากพักน้อย เดินทางสายกลางก็จบเร็ว แต่ส่วนใหญ่มักเพียรน้อย พักมาก ยังหาทางสายกลางไม่พบก็จบช้า ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-02-2011 เมื่อ 02:44 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|