#1
|
|||
|
|||
![]()
อภัยทานจักเกิดได้ด้วยอาศัยพรหมวิหารทั้ง ๔ ประการ
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ ดังนี้ ๑. “ตั้งใจไว้เถิดเจ้าหากไม่ต้องการจุติอีก หวังพระนิพพานในชาติปัจจุบันก็จงทำกำลังใจให้เต็ม อย่าท้อถอยต่ออุปสรรคทั้งปวง” ๒. “เจ้าก็รู้ว่าเวลา ๗ ชาติรวมตัวมาเหลือชาติเดียว อุปสรรคย่อมมีมากทั้งกิจทางโลกและกิจทางธรรม เจ้ากรรมและนายเวรย่อมทวงหนี้หนักกว่าคนธรรมดาทั่วไป แต่เจ้าก็พึงจักอดทนเข้าไว้ด้วยขันติบารมี และพิจารณาให้รู้เท่าทันความเป็นจริง ดังนี้แหละ” ๓. “และจักให้ดี จงเลิกสนใจกับจริยาของบุคคลอื่นให้เด็ดขาด ยกเว้นผูกพันโดยกรรม ซึ่งมีอันจักต้องสนทนาโดยธรรมหรือผูกพันทางกาย วาจา ใจ นั่นก็ให้สนใจแต่ในธรรมเท่านั้น” ๔. “อย่าตำหนิว่าใครเลว ถ้าเขารู้ตัว ไม่มีใครหรอกที่อยากจักทำตัวเป็นคนเลว ให้ใครเขาประณามหยามหยัน ให้มองทุกอย่างเป็นกฎของกรรม กรรมมันบังคับเขาให้เป็นเช่นนั้น คิดให้ลงจุดนี้ให้ได้ จักมีความเมตตาและสงสารบุคคลผู้หลงผิดเหล่านั้น แทนที่จักไปประณามการกระทำของเขา กลับมีความสงสารที่เขาหลงผิดกระทำกรรมเหล่านั้นขึ้นมาให้เป็นกฎของอกุศลกรรม อันจักนำให้เขาต้องลงไปสู่อบายภูมิ ๔ ตั้งต้นกันใหม่อีกยาวนานกว่าจักกลับมาเป็นมนุษย์ ให้คิดอย่างนี้ด้วยจิตเมตตา กรุณา แต่มิใช่คิดอย่างสาสมใจในกฎของกรรมชั่วของเขา ถ้าเป็นเยี่ยงนั้น เจ้าก็ตั้งอารมณ์ผิด จิตขาดอภัยทานเป็นการไม่ถูกต้องของการตั้งอารมณ์นั้น” ๕. “อภัยทานจักเกิดได้ด้วยอาศัยพรหมวิหารทั้ง ๔ ประการ ผู้อภัยทานแล้วก็ย่อมไม่พูดจาซ้ำเติมหรือทับถมบุคคลที่ถูกกฎของกรรมอันเป็นอกุศลเข้าเล่นงาน ผู้อภัยทานมีจิตอ่อนโยนคือ มุทิตา ไม่สร้างอารมณ์รุ่มร้อนอิจฉา ริษยาหรือส่อเสียด นินทา ยุยงส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกัน และผู้อภัยทานย่อมมีอุเบกขาคือ การวางเฉย ไม่ทุกข์ไม่ร้อนไปกับบุคคลอื่นที่ต้องเสวยผลตามกฎของกรรมชั่วที่ทำเอาไว้นั้น ๆ จิตของผู้มีอภัยทาน จึงมีความสุขเยือกเย็นสงบถึงที่สุด ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลังคือ สงบจริงทั้งกาย วาจา ใจ” ๖. “ความเข้าใจของเจ้า หมายถึง เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่นก็สงบ และเมื่ออยู่คนเดียวก็สงบ อย่างนี้จึงจะสงบจริง เมื่อเข้าใจถูกต้องแล้ว ก็จงพยายามปฏิบัติให้ได้ด้วยนะ” ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com |
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|