#1
|
|||
|
|||
![]()
อารมณ์นิมิต
สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ ดังนี้ ๑. “อารมณ์ในนิมิต จักเป็นอารมณ์ของจิตส่วนลึก ๆ ที่มีกิเลสแฝงเร้นอยู่ อันยามปกติหากยังนอนไม่หลับ บุคคลผู้เข้าถึงฌานก็มักใช้ฌานกดเก็บอารมณ์อันเป็นกิเลสนั้น ๆ หรือบางคนก็อาจจักกดด้วยการพิจารณาในวิปัสสนาญาณ ซึ่งยังมีกำลังอ่อน ๆ อยู่” ๒. “แต่ตราบใดที่หลับแล้วด้วยความเผลอใจ มิได้กำหนดจิตให้อยู่ในฌาน ธรรมนิมิตก็จักปรากฏขึ้นมาทดสอบอารมณ์ของจิต ให้รู้ถึงส่วนลึก ๆ ของความปรารถนาของอารมณ์จิตว่าเป็นเช่นใด ซึ่งเป็นปกติวิสัยของนักเจริญพระกรรมฐาน จักต้องพบกับข้อทดสอบตลอดเวลา ไม่ว่ายามหลับหรือยามตื่น” ๓. “หากบุคคลใดจิตติดอยู่กับอารมณ์พระกรรมฐานจนเป็นอารมณ์ชินแล้ว คำว่าเผลอจักมีได้ยาก ยกเว้นในบางขณะที่ร่างกายมีอาการป่วยไข้ไม่สบายเท่านั้น จุดนั้นจิตจักเพลีย มีความเผลอได้ง่าย เจ้าก็เช่นกัน ให้สังเกตดูให้ดี ๆ ก่อนที่จักถึงจุดตัดหลับ หากจิตทรงฌานอยู่ในอนุสติใดอนุสติหนึ่งได้อย่างมั่นคง หรือวิปัสสนาภาวนาอยู่ได้ตลอดจนกระทั่งหลับ อาการธรรมนิมิตที่จักทำให้สอบตกนั้นไม่มี” ๔. “ยกเว้นแต่กำลังภาวนาหรือพิจารณาไป จิตเกิดมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ ๕ เข้ามาแทรกอารมณ์ของจิต ให้ออกนอกลู่นอกทางจากอารมณ์ของการเจริญพระกรรมฐาน แล้วจิตตัดหลับในขณะนั้น จุดนี้แหละ ธรรมนิมิตที่จักเข้ามาทดสอบอารมณ์ของจิต ก็แทรกเข้ามาได้ง่าย เหมือนกับประตูหน้าต่างที่มีช่องโหว่ แมลงย่อมบินเล็ดลอดเข้ามาได้ จิตว่างจากอารมณ์ของฌานหรือวิปัสสนาญาณ ฟุ้งไปเพราะนิวรณ์ ๕ เข้าแทรกก็เป็นช่องโหว่ ธรรมนิมิตก็เข้ามาได้เช่นกัน” ๕. “ต่อไปนี้ พวกเจ้าต้องมีการกำหนดรู้อารมณ์ ไม่ว่ายามหลับหรือยามตื่น อย่างเช่นเมื่อเช้านี้เจ้าพิจารณาวิปัสสนาได้ดี มีผลกำลังทรงตัว แต่เพียงไม่นานความไม่กำหนดรู้ ลืมสำรวมอายตนะ ตากระทบรูป จิตที่ขาดสติ-สัมปชัญญะก็ทิ้งธรรมที่พิจารณา หันไปฟุ้งซ่านให้นิวรณ์เข้ามากินใจแทนเยี่ยงนี้แหละ เจ้าที่จักต้องกำหนดรู้อารมณ์ของจิต ไม่ว่ายามหลับหรือยามตื่น หากจักต้องการชนะกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ก็จักต้องทำได้ ค่อย ๆ ทำไปด้วยความเพียร ต่อไปจิตจักมีอารมณ์ชิน ปิดกั้นนิวรณ์ ๕ ได้สนิทเอง” ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 10-11-2010 เมื่อ 12:17 |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|