กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 18-10-2010, 11:27
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default พรหมวิหาร ๔ คือ ตัวใจเย็น

พรหมวิหาร ๔ คือ ตัวใจเย็น


สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ ดังนี้

๑. “อย่าใจเย็น จนกระทั่งการปฏิบัติธรรมแชเชือนมากเกินไปก็แล้วกัน ความใจเย็นจักต้องมีความเหมาะสมในมัชฌิมาปฏิปทา คือ พอดี ๆ ในสภาวะของธรรมปัจจุบัน เดินสายกลางเข้าไว้ อย่าตึงเกินไป อย่าหย่อนเกินควรจักไม่ได้ผล”

๒. “บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมด้วยความฉลาด จักรู้จักหยิบยกทุกสิ่งทุกอย่างที่กระทบอายตนะสัมผัส เข้ามาเป็นธรรมในปัจจุบัน กระทบมากเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งเห็นมรรคเห็นผลมากเท่านั้น เสมือนหนึ่งนักรบผู้ขยันรบ กระทบกับข้าศึกมากเท่าไหร่ ยิ่งแกล้วกล้าองอาจมากขึ้นเท่านั้น รู้ชั้นรู้เชิงในการสัประยุทธิ์ชิงชัย การจักเอาชนะกิเลสก็เช่นกัน จักต้องแกล้วกล้า รู้ชั้นรู้เชิงในการต่อสู้ชิงชัย การรบกับข้าศึกผู้ฉลาด จักต้องศึกษาปูมหลัง ลีลาการรบของข้าศึก รบทุกครั้งก็ชนะทุกครั้ง”

๓. “การรบกับกิเลสก็เช่นกัน จักต้องศึกษาปูมหลัง คือ ข้อเท็จจริงลีลาของกิเลสเข้าไว้ คือ รู้อารมณ์นี้คือ อารมณ์อะไร? รู้สมุทัย ต้นเหตุที่ทำให้เกิดกิเลสนั้น ๆ รู้ทุกข์ว่าจริงหรือไม่ รู้สุขว่าจริงหรือไม่ กล่าวคือ จักต้องรู้อริยสัจเข้าไว้ การรบทุกครั้งจึงจักชนะได้”

๔. “ทำจิตให้พร้อมรบเข้าไว้ ถ้าเย็นใจก็เท่ากับป้อแป้อ่อนแอ กองทัพไม่มีแรง กิเลสจู่โจมมาก็สู้ไม่ได้ทุกครั้ง คำว่าใจเย็นคือสงบ เหมือนกองทัพที่มีกำลังตั้งมั่นอยู่ ข้าศึกจู่โจมมาเมื่อใด ก็พร้อมที่จักรบเมื่อนั้น”

๕. อานาปานุสติกรรมฐาน คือ ฐานกำลังใหญ่ของจิต เป็นความสงบตั้งมั่น พรหมวิหาร ๔ คือตัวใจเย็น อุเบกขาเป็นตัวเพิ่มความสงบด้วยปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไป ตัวมุทิตาจิตอ่อนโยนไม่หยาบกระด้าง รัก สงสารในจิตของตนเอง ถ้าทรงอยู่ได้อย่างนี้ ไฟคือกิเลสที่ไหนก็มาเผาจิตไม่ได้

๖. “อย่าลืม ตั้งใจให้มั่นเข้าไว้ อย่าให้จิตคลาดจากการปฏิบัติธรรมตามแนวนี้ และจงอย่ากลัวการกระทบกระทั่ง เมื่อกระทบแล้วให้พิจารณาเข้าสู่อริยสัจเข้าไว้เสมอ คอยระมัดระวังจิต ที่จักปรุงแต่งธรรมที่กระทบนั้นไปในทางที่มีกิเลสเจือปนอยู่”

๗. “อารมณ์ของจิตตนจักต้องรู้ด้วยตนเอง ถ้าไม่โกหกตนเองเสียอย่างเดียว จักรู้อารมณ์จิตของตนได้อย่างไม่ยากเย็น ต้องรู้ให้จริง จึงจักแก้ไขอารมณ์ได้


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 21-10-2010 เมื่อ 10:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:27



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว