#1
|
|||
|
|||
![]()
สรุปเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔
เรา ๒ คนต่างก็ฟังเทปเรื่องมหาสติปัฏฐาน ที่หลวงพ่อท่านสอนมาหลายปี กว่าจะเข้าใจได้ ก็ต้องใช้ความเพียรอย่างสูง เพราะมีภาษาเดิมหรือภาษาโบราณปนอยู่มาก ซึ่งเหมาะสมกับอารมณ์ของผู้รับฟังในสมัยนั้น แต่ไม่เหมาะสมกับอารมณ์ของผู้รับฟังในสมัยปัจจุบัน แต่ก็ไม่ยอมละความเพียร ทั้งฟัง ทั้งอ่านหนังสือที่ท่านสอน ขอยอมรับว่าเวียนหัว ต่อมาหลวงพ่อก็เมตตาอธิบายให้เป็นภาษาไทยปัจจุบัน จึงทำให้เข้าใจขึ้น ทั้ง ๒ คนต่างก็พบปัญหานี้เช่นเดียวกัน ขอสรุปดังนี้ ๑. หมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทรงให้เห็นกายในกาย ทั้งภายนอกและภายใน ๒. หมวดเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทรงให้เห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายนอกและภายใน ๓. หมวดจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทรงให้เห็นจิตในจิต ทั้งภายนอกและภายใน ๔. หมวดธัมมา (ธรรมา) นุปัสสนาสติปัฏฐาน ทรงให้เห็นธรรมในธรรม ทั้งภายนอกและภายใน แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 06-04-2012 เมื่อ 10:31 |
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
![]()
สิ่งที่ควรจดจำ
ก) ตอนท้ายพระองค์จะลงเหมือนกันหมด ซึ่งหลวงพ่อท่านว่า เป็นอริยสัจทั้งหมด หรือวิปัสสนา (ปัญญา) ขั้นสูงสุดในพุทธศาสนา ซึ่งมีแต่เฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่น ๆ ไม่มี ข) หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ท่านแนะให้พิจารณาตามแนวมหาสติปัฏฐานไว้ดังนี้ เวลาปฏิบัติเน้นให้เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ไปพร้อม ๆ กัน แล้วลงที่ตัวเป็นธรรมดา คือ เกิด เสื่อม ดับ อยู่เป็นปกติ ไม่ว่าหมวดใดก็ตาม ทั้งภายนอก ภายในเป็นสันตติอยู่ตลอดเวลา ค) ให้มีสติรู้อยู่เฉพาะหน้า หรือรู้อยู่ในธรรมปัจจุบันตลอด และให้อยู่ในอารมณ์สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าอาศัย ระลึกรู้แต่ไม่ติดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ (เพราะมันไม่เที่ยง) ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ทุกสิ่งในโลก ทรงให้ยอมรับความจริงในกาย เวทนา จิต ธรรม ตามความจริง และทรงให้กำหนดรู้ความจริงอย่างนี้อยู่เนือง ๆ |
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
![]()
ง) ในการปฏิบัติเรื่องจิตในจิต และธรรมในธรรม หมายความว่า จิตในจิต ให้รู้อารมณ์ของจิตตลอดเวลา เมื่อถูกกระทบด้วยอายตนะสัมผัส ๑๒ คือ ภายนอก ๖ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์) ภายใน ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ)
ธรรมในธรรม มีหลักสำคัญว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ พระธรรมเกิดจากจิตในจิต (อายตนะนอกและในกระทบกัน) เป็นอภิธรรมได้ถึง ๔๒,๐๐๐ บท ย่อแล้วเหลือแค่ ๓ คือ ธรรมที่เป็นกุศล (กุศลาธัมมา) ธรรมที่เป็นอกุศล (อกุศลาธัมมา) และธรรมที่เป็นกลาง ๆ (อัพยากตาธัมมา หรืออัพยากฤตธรรม) มีรายละเอียดอยู่มากตามระดับจิตในจิต และธรรมในธรรม หมายความว่า จิตละเอียดระดับไหนก็รู้ธรรมได้ละเอียดระดับนั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วมีถึง ๘๔,๐๐๐ บท จ) ธรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา เป็นสันตติธรรม รู้หรือสัมผัสรู้ได้ด้วยตาปัญญาเท่านั้น ว่าธรรมทั้ง ๔ ตัวนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ผู้ที่ไปรู้ธรรมทั้ง ๔ ตัวนี้คือจิต จิตคือตัวเรา เป็นผู้รู้อย่างแท้จริง และต้องรู้อยู่ตลอดเวลา ด้วยการมีสติต่อเนื่องไม่ขาดสาย หรือมหาสติปัฎฐานนั่นเอง แต่เวลานำไปปฏิบัติแล้ว ปรากฎว่ามันง่ายนิดเดียว เพราะหลักสูตรมหาสติปัฏฐานนี้ พระองค์ทรงตรัสว่าเป็นทางสายเอกในการบรรลุธรรม มีผล ๒ อย่าง คือ ขั้นต้นเป็นอนาคามีผล ขั้นสองเป็นอรหัตผล จึงถึงบางอ้อว่ามันง่ายนิดเดียว |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
|||
|
|||
![]()
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|