กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า วันนี้, 00:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,788
ได้ให้อนุโมทนา: 158,836
ได้รับอนุโมทนา 4,493,874 ครั้ง ใน 36,398 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default ปกิณกธรรมช่วงบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรม วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา วันที่ ๑๐ - ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๘

ก่อนปฏิบัติธรรมช่วงบ่าย วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ กรกฏาคม ๒๕๖๘



เฮ้อ..หายใจไม่ทัน แก่แล้วยังป่วยอีก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ว่าเราดันไปฝืนร่างกายทำงาน ร่างกายก็เลยไม่ค่อยจะปกติ

สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว ทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาที ต้องอยู่กับการปฏิบัติธรรม เวลางาน..สติสมาธิมุ่งอยู่กับงาน นอกเวลางาน..สติสมาธิอยู่กับกรรมฐาน หลักการมีง่าย ๆ แค่นี้เอง ถ้าสามารถทำอย่างนี้ได้ก็จะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม

แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเรามักจะใช้วิธีภาวนาเช้า - เย็น ตีเสียว่าเช้าครึ่งชั่วโมง เย็นครึ่งชั่วโมง ที่เหลือก็ปล่อยลอยตามน้ำไป แล้ววันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง เราว่ายน้ำ ๑ ชั่วโมง ปล่อยลอยตามน้ำไป ๒๓ ชั่วโมง ไม่ต้องคิดก็รู้ว่าเอาดีไม่ได้

ดังนั้น..นักปฏิบัติที่ดีต้องอยู่กับการปฏิบัติธรรมตลอดเวลา พยายามทำให้หน้าที่การงานทุกอย่างของเราเป็นกรรมฐาน ก็คือเอาสติสมาธิจดจ่ออยู่กับงานนั้นจริง ๆ จัง ๆ แต่ไม่ค่อยดีอยู่อย่างว่า บางคนสมาธิลึกแต่ตัวเองไม่รู้ตัว คนอื่นปฏิสันถารด้วยก็ไม่รับรู้อะไร สถานเบาเขาก็แค่หาว่าเราหยิ่ง แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาเรียกแล้วไม่รู้อะไร ก็เตรียมตัวหางานใหม่ได้

แล้วก็มีบางคนทำดีเกินไป ไปทรงสมาธิตอนขับรถ พอจิตเริ่มเป็นสมาธิ ประสาทบังคับร่างกายไม่ได้ จะเบรกรถก็เบรกไม่ได้ ก็เลยไปเบรกกับท้ายคันอื่น ถ้าอยู่ในลักษณะนั้นต้องซักซ้อมให้เกิดความคล่องตัว สามารถเข้าหรือออกสมาธิได้ทุกเวลาที่ต้องการ แล้วค่อยไปทำกิจกรรมอันตรายอย่างเรื่องการขับรถ

ที่บ้านวังปริง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งปฏิบัติธรรมแล้วเกิดปัญหา มาสอบถาม ก็คือว่าทุกครั้งที่จะขับรถมอเตอร์ไซค์ พอเริ่มสตาร์ทรถ ตัวก็จะแข็งทื่อทำอะไรไม่ได้ เขาใช้คำว่า "ต้องเขย่าให้หลุดแล้วค่อยขับรถ" พอขับไปได้หน่อยก็แข็งทื่ออีกแล้ว ต้องเขย่าให้หลุดอีก เขาถามว่า "จะแก้ไขอย่างไร ?" ก็บอกไปว่า "ไม่ต้องแก้ไขอะไรมาก ให้เขย่ามันบ่อย ๆ"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า วันนี้, 00:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,788
ได้ให้อนุโมทนา: 158,836
ได้รับอนุโมทนา 4,493,874 ครั้ง ใน 36,398 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลักษณะนั้นแสดงว่าสมาธิทรงตัวเป็นอัปปนาสมาธิแล้ว พูดง่าย ๆ ก็คือทรงฌานได้ คราวนี้การทรงฌานนั้นจิตกับประสาทจะแยกเป็นคนละส่วนกัน ถ้าขาดความชำนาญจะบังคับร่างกายไม่ได้ เหมือนกับคนนั่งหลับหรือว่านั่งแข็งทื่อไปเฉย ๆ คราวนี้เขาไม่รู้ว่าการที่ตัวเองตั้งใจขับรถนั่นคือสมาธิ ด้วยความเคยชินพอจิตเข้าสมาธิก็วิ่งไปในระดับที่ตัวเองทำได้สูงสุด ก็เลยนั่งแข็งทื่อ

ถ้าเขาซักซ้อมการเข้าออกสมาธิเอาไว้ ก็จะสามารถคลายออกมาเพื่อทำหน้าที่ปกติได้ แต่คราวนี้เขาไม่เข้าใจตรงนั้น ก็เลยใช้คำว่าต้องเขย่าให้หลุด ก็คือเขย่าตัวเองให้สมาธิคลายแล้วค่อยขับรถต่อ ขับไปอีกหน่อยก็แข็งทื่ออีก ต้องเขย่าใหม่

ต่อไปบุคคลนี้จะมีความคล่องตัวในการเข้าออกสมาธิมาก ก็คือทรงวสี ๕ ได้อย่างน้อย ๒ ตัว คือสมาปัชชนวสี..ชำนาญในการเข้าสมาธิ และวุฏฐานวสี..ชำนาญในการออกจากสมาธิ ซึ่งวสียังมีอีก ๓ ตัว ก็คือ ชำนาญในการเข้าสมาธิตามลำดับ ชำนาญในการเข้าสมาธิตามเวลาที่กำหนดไว้ และชำนาญในการเข้าสมาธิสลับระหว่างระดับฌานได้

ถ้าใครซักซ้อมคล่องตัวขนาดนั้น อยู่ในอิริยาบถไหนก็ทรงฌานได้ สามารถทรงฌานได้ก็จะปราศจากรัก โลภ โกรธ หลง ชั่วคราว ขอย้ำคำว่า "ชั่วคราว" เพราะว่าอำนาจฌานสมาบัติสามารถระงับรัก โลภ โกรธ หลง ลงได้ แต่ถ้าสมาธิหลุดเมื่อไร รัก โลภ โกรธ หลง จะมาเป็นฟ้าถล่มดินทลาย เพราะว่าก่อนหน้านี้เราไปเก็บกดเอาไว้

จึงมีหลายต่อหลายท่านที่กลัวหรือว่าเข็ดการเข้าสมาธิไปเลย เนื่องเพราะกลัวว่ากิเลสจะตีกลับ ซึ่งความจริงกิเลสมีเท่าเดิม พอโดนอำนาจสมาธิกดไปนาน ๆ กิเลสกลัวว่าตัวเองจะตายก็ต้องสู้สุดชีวิต อาการที่แสดงออกจึงรุนแรงกว่าปกติ อย่างเช่นว่าบางคน เพื่อนพูดอะไรไม่เข้าหูหน่อยเดียว ก็ด่าเขาสาดเสียเทเสียไปเลย แล้วคนอื่นก็จะงงว่า "นี่หรือผู้ปฏิบัติธรรม..!? สะกิดหน่อยเดียวทำไมถึงอารมณ์แรงขนาดนี้ ?" โดยที่ไม่รู้ว่าไปสะกิดผิดจังหวะ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า วันนี้, 00:35
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,788
ได้ให้อนุโมทนา: 158,836
ได้รับอนุโมทนา 4,493,874 ครั้ง ใน 36,398 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เรื่องของการปฏิบัติธรรม ถ้าเราคลายอารมณ์มาพิจารณาไม่เป็น จะเหมือนกับเราเป่าลูกโป่ง มีแต่จะตึงมากขึ้น ๆ จนท้ายที่สุดใครซวยมาสะกิดในจังหวะสุดท้าย ก็ระเบิดตูมใส่เขา เป็นเรื่องที่นักปฏิบัติในระยะต้น ๆ ต้องระมัดระวังให้ดี ไม่อย่างนั้นแล้วคนเขาจะดูถูกดูแคลนว่า "เป็นนักปฏิบัติภาษาอะไร ทำไมระงับอารมณ์ไม่เป็น ?"

เนื่องเพราะว่าสมาธิภาวนาเมื่อทำไปจนสุดแล้ว จะเหมือนชาร์จแบตเตอรี่เต็ม สภาพจิตจะถอยออกมาเองโดยอัตโนมัติ เราต้องหาวิปัสสนาญาณมาให้พินิจพิจารณา เป็นการใช้กำลังสมาธิที่เราสั่งสมไว้ให้เป็นประโยชน์ เมื่อพิจารณาไปจนกำลังหมด จิตเราก็จะวิ่งไปหาการภาวนา เราก็ภาวนาไปจนเต็มที่ แล้วคลายมาพิจารณาใหม่ ทำสลับไปสลับมาอย่างนี้จึงจะมีความก้าวหน้า

ถ้าเราภาวนาอย่างเดียวแล้วพิจารณาไม่เป็น ถึงเวลาสภาพจิตคลายออกมาเมื่อไร เราจะโดนกิเลสขโมยกำลังไปใช้ ก็คือจะไปฟุ้งซ่านกับรัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งจะฟุ้งได้แรงมากเพราะว่ามีกำลังดี ที่ได้จากที่เราทำสมาธิมา แล้วก็อยู่ในลักษณะเอาไม่อยู่ ก็คือฟุ้งซ่านจนกระทั่งบางคนหงุดหงิดรำคาญเลิกปฏิบัติธรรมไปเลย
จึงเป็นเรื่องที่นักปฏิบัติธรรมต้องสังวรระวังไว้ว่า ภาวนาแล้วต้องพิจารณา พิจารณาแล้วต้องภาวนา จะทำเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ เพราะว่าเราไม่เก่งพอ

เมื่อประมาณสองอาทิตย์ที่ผ่านมา มีโยมท่านหนึ่งบอกว่า "ตอนนี้สมาธิแย่มาก ไม่สามารถที่จะพิจารณาอะไรได้เลย ฟุ้งซ่านตลอด" จึงได้ถามไปว่า "คุณปฏิบัติแบบไหน ?" เขาบอกว่า "จับลมหายใจ ๒ - ๓ ครั้งแล้วก็พิจารณา" จึงตอบเขาไปว่า "คุณทำแบบนั้นก็ฟุ้งซ่านทั้งชาติ เพราะว่ากำลังสมาธิไม่พอ เหมือนคนหาเงินได้ ๒๐ บาท แล้วกูก็ใช้เสีย ๕๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ บาท มีแต่เจ๊งตลอด..!"

เพราะลักษณะแบบนั้นก็คือการใช้วิปัสสนาญาณเป็นหลัก ถ้าปัญญาเราไม่มากพอจริง ๆ จนสภาพจิตยอมรับในสิ่งที่พิจารณาไปเลย ก็จะออกอาการฟุ้งซ่านแบบนั้น หรือถ้าหากว่าเราเอาแต่ภาวนาอย่างเดียว แล้วกำลังไม่สามารถจะยั่งยืนถึงขนาดกดกิเลสไว้เป็น ๑๐ เป็น ๑๐๐ ปี กิเลสก็ไม่ตาย กิเลสรอเวลา เราเผลอหลุดออกมาเมื่อไรก็โดนกิเลสตีอีก

ก็แปลว่าที่พวกเราทำมาทั้งหมด ถูกบ้างผิดบ้าง ตามแต่ความเชื่อถือของตน บางคนครูบาอาจารย์บอกก็ไม่เชื่อ..ขอทำเอง..ลักษณะแบบนี้ดีมาก คือให้โดนให้เข็ดจะได้จำ..!

ลำดับต่อไปพวกเราก็ตั้งใจสมาทานพระกรรมฐานจะได้เข้าสู่การปฏิบัติธรรมต่อไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:17



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว