กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๘ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนมีนาคม ๒๕๖๘

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 03-03-2025, 19:55
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,937
ได้ให้อนุโมทนา: 225,208
ได้รับอนุโมทนา 800,338 ครั้ง ใน 39,356 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๘

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๘


__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 04-03-2025, 00:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,429 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๘ ช่วงนี้คณะสงฆ์ของเราก็มีหลายเรื่องประเดประดังกันเข้ามา เรื่องใหญ่ก็คือการทุจริตในการสอบบาลีที่ผ่านมา เนื่องเพราะว่ามีการจ้างผู้อื่นให้สอบแทน แล้วตอนนี้ผู้ว่าจ้างก็โดนเจ้าคณะจังหวัด สั่งถอดออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลด้วย

เรื่องพวกนี้มีอยู่ทุกยุคทุกสมัย ทุกท่านต้องทำความเข้าใจว่า พระภิกษุสามเณรก็คือลูกชาวบ้าน แค่เปลี่ยนกฎเกณฑ์กติกาในการดำเนินชีวิต เปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอก แต่ว่ายังคงมี รัก โลภ โกรธ หลง เต็มหัวอยู่เหมือนเดิม โดยเฉพาะบุคคลที่ตั้งใจบวชเข้ามาเพื่อเรียนโดยเฉพาะ ก็คือตั้งใจแสวงความก้าวหน้าจากการเรียน

ถ้าท่านรู้จักสังเกตจะเห็นว่าบรรดาผู้ที่ได้มหาเปรียญก็ดี เป็นพระครูสัญญาบัตร หรือว่าเป็นพระราชาคณะก็ตาม ถึงเวลาทางหมู่บ้านของตน ทางตำบลของตน ทางอำเภอของตน ทางจังหวัดของตน ตั้งข้อเรียกร้องไว้สูงมาก ก็คือจะให้กลับไปช่วยเหลือทางบ้านอย่างเดียว
ในเมื่อตัวบุคคลยังเป็นปุถุชน หนาด้วยกิเลส แล้วก็ยังโดนเรียกร้องด้วยกิเลสของคนรอบข้าง ก็ยิ่งต้องดิ้นรนเพื่อตัวเองมากขึ้น แล้วท้ายที่สุด ความละอายชั่วกลัวบาปก็หมดไป กลายเป็นเรื่องเป็นราว เป็นข่าวกันขึ้นมาอย่างที่เห็น

คราวนี้เรื่องนั้นไม่ขอกล่าวถึง จะมากล่าวถึงวิธีการจัดการกับเรื่อง ก็คือถ้าหากว่าผู้คุมสอบเห็นว่ามีการทุจริต ก็แค่เก็บกระดาษข้อสอบมากาหัว แล้วก็เชิญผู้สอบออกจากห้องสอบไปก็จบแล้ว
นี่ไม่ใช่การช่วยปกปิดความผิด แต่ว่าเป็นการช่วยไม่ให้ศาสนาบอบช้ำไปมากกว่านี้ พูดง่าย ๆ ว่าจัดการเรื่องราวโดยมองความสำคัญของภาพรวมมากกว่าส่วนตน

ไม่ใช่คิดว่าเราเป็นกรรมการ เราจับทุจริตได้ เราจะต้องโด่งดัง แล้วกระทำการโฉ่งฉ่างจนออกสื่อมวลชน ท่านดังก็จริง แต่ศาสนาบอบช้ำไปมากมาย มีแต่คนช่วยกระหน่ำซ้ำเติม เพราะการกระทำของเราที่ไม่ควร ถ้าหากว่าเราจัดการกันอย่างเงียบ ๆ แล้วก็ไปลงโทษกันทีหลัง เรื่องพวกนี้ไม่ดังขึ้นมา ศาสนาก็ไม่บอบช้ำอย่างที่เห็น..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2025 เมื่อ 02:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 04-03-2025, 00:56
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,429 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ประการต่อไปก็คือคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา สั่งปลดออกจากทุกตำแหน่งเลย ถ้ากระผม/อาตมภาพไม่ได้เข้าใจผิด ก็คือกระแสในโซเชียลไปทางไหน ท่านก็ทำตามนั้นเลย โดยไม่มีการสอบสวนเสียก่อน แล้วถ้าเกิดบุคคลนั้นไม่ได้ทำผิด แต่ว่ามีบุคคลหมายปองตำแหน่งของเขาอยู่ แล้วก็ว่าจ้างคนไปทำอย่างนี้ให้เขาจับได้ เพื่อที่บุคคลนั้นจะมัวหมอง แล้วโดนปลดออก คนที่รออยู่จะได้เสียบแทน

เรื่องแบบนี้ต้องคิดให้รอบด้าน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้ประทานอธิกรณสมถะให้แก่พวกเรามาถึง ๗ วิธี ก็คืออธิกรณ์เรื่องที่เกิดขึ้นในคณะสงฆ์ ต้องจัดการอย่างไรถึงจะเหมาะสม

ถ้าเป็นเรื่องนี้ ส่วนที่ควรจัดการที่สุดก็คือตามหลักสัมมุขาวินัย ถึงหน้าพร้อมทั้งโจทก์ พร้อมทั้งจำเลย พร้อมทั้งผู้ตัดสินที่ทรงความรู้ ทรงธรรม ถ้าผู้ทำผิดยอมสารภาพ ก็ทำหนังสือสารภาพให้เขาลงนามรับรอง แล้วค่อยลงโทษไป หนักเบาตามโทษานุโทษนั้น ๆ ในลักษณะนี้ ถ้าหากว่าเขาไม่ยอม แล้วฟ้องร้องกลับ ผู้บังคับบัญชาอาจจะโดนข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เรื่องพวกนี้ต้องระมัดระวังทั้งผู้ปกครองและศาสนาของเรา ว่าจะเสียหายอย่างไร ไม่ใช่ทำตามกระแสสังคม

ท่านจะสังเกตว่าถ้าเป็นเรื่องของพระที่เตะสังฆทาน ซึ่งโยมตั้งใจจะนำมาถวาย โดนเจ้าคณะจังหวัดปลดออกทุกตำแหน่งเหมือนกัน แต่นั่นเจ้าคณะจังหวัดท่านลงไปสอบถามด้วยตนเอง เพราะฉะนั้น..ในเรื่องของการเป็นพระสังฆาธิการตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาสขึ้นไป จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก นอกจากต้องรู้จริงในเรื่องของธรรมวินัย ในเรื่องของกฎหมายบ้านเมือง และเรื่องของจารีตประเพณีแล้ว ยังจะต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการจัดการกับเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ โดยที่ก่อความเสียหายให้กับพระศาสนาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่การตัดสินไปตามอารมณ์ แต่ต้องเป็นไปโดยยุติธรรม ก็คือทุกอย่างหยุดลงด้วยหลักธรรม คือความถูกต้อง

แล้วเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นอุทาหรณ์ ถ้าหากว่าจะเปรียบเทียบไปแล้ว ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า
พระภิกษุสงฆ์ของเราอีกนิกายหนึ่ง พอถึงเวลามีเรื่องมีราวเกิดขึ้น ท่านจะจัดการให้สงบเรียบร้อยลงได้เร็วมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายของตนบอบช้ำ จนภาพพจน์เหมือนอย่างกับว่าบริสุทธิ์ผุดผ่องมากกว่า ทั้ง ๆ ที่มีผู้กระทำผิดไม่ได้น้อยกว่ากันเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2025 เมื่อ 02:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 04-03-2025, 01:05
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,429 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วิธีการจัดการต่าง ๆ มีทั้งเป็นไปโดยธรรม ก็คือหลักของอธิกรณสมถะ ๗ และเป็นไปตามกฎหมาย ตลอดจนกระทั่งเป็นไปตามจารีตประเพณี ก็คือชาวบ้านนิยม ถ้าหากว่าเรื่องที่เป็นไปโดยธรรม อย่างเช่นว่าภิกษุลักขโมยสิ่งของ ๕ มาสกขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ถ้าอย่างนี้ท่านสั่งให้สึกไปใส่ชุดฆราวาสได้เลย เพราะว่าอาบัตินี้สำเร็จผลทันทีที่ท่านทำ ไม่ใช่รอให้ฟ้องร้องผู้ปกครองมาตัดสิน ไม่ใช่ให้ฟ้องศาล ไปเจอคนหน้าด้านเข้า คุณฟ้องศาลชั้นต้น เขาก็อุทธรณ์ ฟ้องศาลอุทธรณ์ เขาก็ฎีกา ฟ้องศาลฎีกา อาจจะไปถึงร้องศาลปกครอง..!

แต่ถ้าหากว่าเรื่องที่เบาลงมา อย่างเช่นว่าการผิดกฎหมายบ้านเมือง ภิกษุขับรถแล้วไปเกิดอุบัติเหตุจราจร ทรัพย์สินเขาเสียหาย ต้องดูว่าท่านสามารถชดใช้ได้หรือไม่ ถ้าท่านชดใช้ไม่ได้ ต้องรับการจำคุกเพื่อทดแทน ถ้ากระผม/อาตมภาพจำไม่ผิด เขาตีราคาให้วันละ ๕๐๐ บาท ถ้าหากว่าอย่างนั้นก็ต้องเป็นไปตามมติมหาเถรสมาคมที่กำหนดไว้ว่า ถ้าภิกษุต้องโทษถึงขนาดจำคุกก็ให้ลาสิกขาก่อน เพียงแต่ต้องชี้แจงท่านให้ชัดเจน

แต่ถ้าหากว่าผิดในเรื่องของจารีตประเพณี อย่างเช่นว่าบ้านเราถือว่าการฉันอาหารในเวลาวิกาลเป็นความผิดมาก ชาวบ้านเห็นแล้วพอ ๆ กับอาบัติปาราชิกเลย หรือไม่ก็ภิกษุดื่มสุรา ทั้ง ๆ ที่เป็นแค่ปาจิตตีย์ สามารถปลงอาบัติได้ แต่ว่าในสายตาชาวบ้านนั้น โทษหนักพอกับอาบัติปาราชิก..!

ในเมื่อจารีตประเพณีเป็นเช่นนั้น ก็ต้องตัดสินไปตามความนิยมของคนส่วนมาก ก็คือต้องให้สึกหาลาเพศไป จะได้ไม่อยู่ทำความเสียหายให้มากไปกว่านั้น ก็แปลว่า
การตัดสินความของเรา อันดับแรกเลย เอาพระวินัยเป็นหลัก หลังจากนั้นยังต้องดูกฎหมายบ้านเมืองและจารีตประเพณี

เพราะว่าอย่างการฉันอาหารหลังเที่ยงไปแล้ว ถ้าตะวันยังไม่ตกดิน ประเทศพม่าเขาไม่ได้ว่าอะไร เนื่องเพราะว่าเขาตีความคำว่าวิกาลเหมือนกัน ภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล ก็คือหลังพระอาทิตย์ตกดิน ภิกษุฉันอาหารในเวลาวิกาล คือหลังพระอาทิตย์ตกดิน ก็แปลว่า ๔ - ๕ โมงเย็น ยังสามารถที่จะฉันได้

แต่บ้านเราตีความพระธรรมวินัยลักลั่นกัน คือภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล หมายเอาหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ส่วนภิกษุฉันอาหารในเวลาวิกาล นับเอาหลังเที่ยงไปแล้ว กลายเป็นว่าของเราตีความศัพท์คำเดียวกัน จนความหมายต่างกัน

วิ (วิเศษ แจ่มแจ้ง แตกต่าง) กาล (เวลา) ถ้าคำนี้ต้องแปลว่าเวลาที่ต่างจากปกติ ก็แปลว่าไม่ใช่กลางวัน แล้วทำไมเราถึงไปแปลว่าหลังเที่ยงกับหลังพระอาทิตย์ตกดิน ? แต่ในเมื่อจารีต ก็คือความนิยมของบ้านเราเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องถือตามนี้ ไม่ใช่ว่าเราจะไปประพฤติปฏิบัติตามแบบของพม่า จะทำอย่างนั้นก็ได้ แต่ถ้าโดนจับได้ก็ไม่แคล้วโดนสึก..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2025 เมื่อ 02:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 04-03-2025, 01:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,429 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เรื่องของการจัดการอธิกรณ์ต่าง ๆ ตามพระธรรมวินัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อย่างช่วงนี้มีการฝึกซ้อมอบรมเพื่อที่จะสอบเป็นพระอุปัชฌาย์ ถ้าตามหลักพระวินัยก็คือ ภิกษุผู้เป็นเถรภูมิ พรรษาพ้น ๑๐ รู้พระวินัยอย่างแจ่มแจ้ง อาจสอนสัทธิวิหาริกให้รู้และเข้าใจตามได้ ก็เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ แต่คราวนี้การรู้พระวินัยอย่างแจ่มแจ้งและอาจสอนสัทธิวิหาริกให้รู้และเข้าใจตามได้นั้นไม่แน่แล้ว เนื่องเพราะว่ารู้แจ่มแจ้งแล้วสอนไม่ได้ก็มี อธิบายไม่ถูกก็มี แต่ท่านทำถูกอยู่คนเดียว ถ้าอย่างนี้ก็เป็นพระอุปัชฌาย์ไม่ได้ตามพระวินัย

คณะสงฆ์ของเรามีมติออกมา ถ้าอย่างของหนกลาง ๒๓ จังหวัด ท่านว่าผู้ที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์ต้องมีพรรษาพ้น ๒๐ เราจะเห็นว่าต่างจากพระวินัย แต่ว่าพระผู้ใหญ่ท่านให้เหตุผลว่า ถ้าจะเป็นพ่อกับลูกกัน อายุห่างกันสัก ๒๐ ปีถึงจะพอสมควร ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าหากว่าเอาแค่ ๑๐ พรรษา เกิดว่าท่านบวชตั้งแต่อายุ ๒๐ พออายุ ๒๙ ก็ได้ ๑๐ พรรษาแล้ว แล้วเกิดไปเจอหลวงตาอายุสัก ๕๐ - ๖๐ มาขอบวช แล้วเกิดว่าท่านเคยเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานต่าง ๆ มาก่อน ท่านคิดว่าตัวเองจะมีบารมีพอที่จะไปสั่งสอนเขาไหม ? ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ทางคณะสงฆ์หนกลางจึงได้กำหนดเอาไว้ว่า ๒๐ พรรษาขึ้นไป ถึงมีสิทธิ์ที่จะสอบเป็นพระอุปัชฌาย์ได้

แล้วหลัก ๆ ก็คือต้องเป็นเจ้าคณะตำบล เพื่อที่อย่างน้อยในตำบลนั้นมีพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่ง ไว้ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรได้ ถ้าไปเจอตำบลใหญ่ ๆ ก็แย่เหมือนกัน กระผม/อาตมภาพเคยเจอตำบลหนึ่งมี ๑๖ หมู่บ้าน..! ขณะที่อีกตำบลหนึ่งมีแค่ ๓ หมู่บ้าน ถ้าลักษณะอย่างนั้นก็พูดไม่ออกบอกไม่ถูกเหมือนกัน เกิดทั้ง ๑๖ หมู่บ้านอยากจะบวชลูกขึ้นมาไล่ ๆ กัน พระอุปัชฌาย์มีหวังเหนื่อยตาย..!

เรื่องที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นอุทาหรณ์สำหรับพวกเราว่า ถ้าไม่สามารถจะควบคุม รัก โลภ โกรธ หลง เอาไว้ได้ พระเราก็แค่ลูกชาวบ้านที่เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย เปลี่ยนกติกาการดำเนินชีวิตเข้ามาเท่านั้น ยัง รัก โลภ โกรธ หลง เต็มหัวเหมือนเดิม แล้วขณะเดียวกัน การจัดการอธิกรณ์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาของเรา ต้องคำนึงด้วยว่า วัดวาอารามก็ดี คณะสงฆ์ก็ดี พระพุทธศาสนาก็ตาม จะมีความบอบช้ำเสียหายขนาดไหน เราต้องพยายามลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันจันทร์ที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๘
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2025 เมื่อ 02:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:39



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว