#1
|
|||
|
|||
![]()
พยายามรักษาอารมณ์อัพยากฤตให้ทรงตัว
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีใจความสำคัญดังนี้ ๑. “อย่าไปสนใจกับการกระทำ (กรรม) ของบุคคลอื่น ใครเขาจักปฏิบัติอย่างไรก็เรื่องของเขา คุมอารมณ์จิตเราให้ปฏิบัติตัดสังโยชน์เข้าไว้เป็นพอ และไม่ต้องไปตำหนิกรรมของใครว่าออกนอกลู่นอกทาง เพราะเหนื่อยเปล่า ไม่มีประโยชน์สำหรับบุคคลนั้น” ๒. “อย่าเกาะกรรมของชาวบ้าน จักทำให้จิตรุ่มร้อนไปกับการปฏิบัติของเขาด้วย เท่ากับเป็นการเบียดเบียนตนเอง วางอารมณ์ให้สบาย ๆ แล้วหันมาตัดสังโยชน์ที่เหลืออยู่ดีกว่า” ๓. “ดูพรหมวิหาร ๔ เอาไว้ให้ดี พยายามเจริญให้มาก ๆ หากมีสิ่งใดมากระทบทางทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะสัมผัสทั้ง ๖ หากจิตหวั่นไหว เกิดอารมณ์ ๒ พอใจกับไม่พอใจเข้า ก็ถือว่าสอบตก เพราะอารมณ์ทั้ง ๒ เกิดแล้วล้วนเป็นทุกข์ ปิดกั้นความดีในการตัดสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ โดยตรง” ๔. “ให้กำหนดรู้ไว้เสมอว่า อารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อใด จิตถูกเบียดเบียนเมื่อนั้น และอารมณ์เหล่านี้เป็นปรปักษ์กับอารมณ์สงบ อันจักนำจิตไปสู่พระนิพพาน” ๕. “พยายามรักษาอารมณ์อัพยากฤตเอาไว้ให้ทรงตัว จิตจักต้องฝึกให้มีความผ่องใสอ่อนโยนเข้าไว้เสมอ ๆ จักได้มีจิตเยือกเย็น มีความสุขสงบ” ๖. “อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นกับจิตให้กำหนดรู้ แล้วพิจารณาอารมณ์นั้นขึ้นมา ให้เห็นว่าสร้างความสุขหรือสร้างความทุกข์ให้กับจิต แล้วให้หาสาเหตุว่า ทุกข์หรือสุขเพราะเหตุใด ทุกข์ ทุกข์จริงหรือไม่ สุข สุขจริงหรือไม่ ให้โจทก์อารมณ์จิตของตนเองเอาไว้เสมอ ๆ แล้วจักแก้ไขอารมณ์ที่หวั่นไหวไปมาได้” (หมายความว่า ทรงให้ใช้อริยสัจธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาทุกชนิด ยิ่งยามเจ็บป่วยยิ่งต้องระวังให้มาก เป็นการตรวจสอบอารมณ์ไว้ด้วยความไม่ประมาทในธรรม เพราะตราบใดบุคคลนั้นยังไม่ถึงพระอรหัตผลการมีอารมณ์ไม่ผ่องใส ย่อมเป็นของที่พึงมิได้เป็นธรรมดา) ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com |
สมาชิก 64 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|