#161
|
|||
|
|||
![]() ศีล พระพุทธเจ้าทรงจำแนกศีลออกเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ตลอดถึงศีล ๒๒๗ ศีล ๕ มี ๕ ข้อ จำแนกออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้ - ห้ามฆ่าสัตว์ - ห้ามลักทรัพย์ของคนอื่น - ห้ามประพฤติผิดมิจฉาจารในบุตร ภรรยา สามีของคนอื่น - ห้ามพูดคำเท็จ คำไม่จริง ล่อลวงผู้อื่น - ห้ามดื่มสุราของมัวเมา อันเป็นเหตุให้เสียสติ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 22-03-2011 เมื่อ 18:58 |
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#162
|
|||
|
|||
![]()
ศีล ๘ มี ๘ ข้อ ก็อธิบายทำนองเดียวกัน แต่มีพิสดารในข้อ ๓ ที่ห้ามไม่ให้ประพฤติเมถุนธรรม
ซึ่งข้อนี้เป็นกรรมของปุถุชนทั่วไปที่มักหลงใหลในกิจอันนั้นไม่รู้จักอิ่มจักเบื่อ แม้ที่สุดแต่สัตว์ตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ มียุงและแมลงวัน เป็นต้น ก็ประพฤติในกามกิจเช่นเดียวกันนี้ ผู้ที่งดเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นกรรมสิ่งเลวร้ายที่เป็นพื้นฐานของโลกนี้ได้ ท่านจึงเปรียบไว้สำหรับพรหมที่ไม่มีคู่ครอง ผู้เห็นโทษในกามคุณเมถุนธรรมดังว่านี้แล้ว ตั้งจิตคิดงดเว้นแม้เป็นครั้งคราว เช่นผู้ตั้งใจสมาทานศีล ๘ ไม่นอนกับภรรยา- สามี ชั่วคืนหนึ่งหรือสองคืน ก็ได้ชื่อว่าประพฤติดุจเดียวกับพรหม ข้อ ๖ งดเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลหลังพระอาทิตย์ล่วงไปแล้ว ข้อ ๗ เว้นจากการลูบไล้ทาตัวด้วยเครื่องหอม เครื่องปรุงแต่ง และการร้องรำขับร้อง ประโคมดนตรี ทั้งความยินดีในการดูแลและฟัง ข้อสุดท้ายที่ ๘ งดเว้นจากการนั่งนอนเบาะหมอนที่ยัดด้วยนุ่นหรือสำลี ข้อห้ามทั้งสามข้อเบื้องปลายนี้ล้วนเป็นเหตุสนับสนุนให้คิดถึงความสุขสบาย และเกิดความยินดีในกามคุณ ๕ ทั้งสิ้น
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#163
|
|||
|
|||
![]()
ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ดังอธิบายมาแล้วนั้นเป็นกฎที่จะเลือกสรรให้คนถือความดี ประพฤติดี
เป็นธรรมเครื่องกลั่นกรองคนผู้ต้องการจะเป็นคนดี เป็นธรรมของผู้หวังพ้นทุกข์เช่นนี้แต่ไหนแต่ไรมา พร้อมกับโลกเกิดพวกฤๅษีชีไพรที่พากันประพฤติพรหมจรรย์กันเป็นหมู่ ๆ ถึง ๑,๐๐๐ คน ๑๐,๐๐๐ คน ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลก ก็ตั้งฐานอยู่ในธรรม ๕ ประการ ๘ ประการนี้ทั้งนั้น ธรรมเหล่านี้จึงว่าเป็นเครื่องกลั่นกรองมนุษย์ออกจากโลกโดยแท้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#164
|
|||
|
|||
![]()
ศีล ๕ ศีล ๘ นี้มีอยู่ในโลกนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา
พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นมาในโลกนี้หรือไม่ ธรรมทั้ง ๕ ข้อ และธรรมทั้ง ๘ ข้อนี้ก็มีอยู่เช่นเดิม พระองค์ทรงอุบัติขึ้นมาเห็นธรรมเหล่านั้นแล้วปฏิบัติตาม ดังนั้นพระองค์จึงตรัสว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ธรรมทั้งหลายในโลกนี้เป็นของเก่า พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นมาในโลกหรือไม่ก็ตาม ธรรมเป็นของจริงของแท้ ไม่แปรผันไปตามโลก หากมีอยู่ เป็นอยู่เช่นนั้นดังกล่าวแล้ว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#165
|
|||
|
|||
![]()
ศีล ๑๐ เพิ่มสาระสำคัญขึ้นอีกหนึ่งข้อสำหรับสามเณร
ที่มีศรัทธาจะได้ปฏิบัติตามศากยบุตรพุทธชิโนรส ด้วยเห็นโทษในอาชีพของฆราวาส ที่ต้องมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนซึ่งเงินตรา จึงออกมาปฏิบัติพระธรรม ไม่หันเหไปตามจิตของฆราวาสเช่นเดิม ตั้งมั่นอยู่ในพรหมจรรย์ เป็นทางให้เกิดในสวรรค์ พระนิพพาน โดยแท้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#166
|
|||
|
|||
![]()
ศีล ๒๒๗ พระองค์ทรงจำแนกแจกไว้เป็นหมู่เป็นหมวด
ล้วนแล้วแต่จะเป็นเครื่องมือกลั่นกรองโลกออกจากธรรมทั้งนั้น เช่น ปาราชิก ๔ ห้ามภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา กระทำเสพสมกิจกรรมอันเลวทรามของโลก ดังกล่าวไว้เบื้องต้น เป็นข้อแรก สำหรับกิจอื่นก็มี อทินนาทาน ลักของเขา ซึ่งก็จัดเข้าในหมวดปาราชิกเช่นเดียวกัน ฆ่ามนุษย์และการพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม คือกล่าวอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตน บาปกรรมสี่ประการนี้ พระพุทธองค์ทรงห้ามภิกษุในพระพุทธศาสนากระทำโดยเด็ดขาด หากภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีจิตหันเหไปทำกรรมสี่อย่างดังกล่าวมาเช่นว่านี้ พระองค์ทรงลงพระพุทธอาญาฆ่าผู้นั้นด้วยอาบัติปาราชิก ไม่ปรานีเลย
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 05-04-2011 เมื่อ 18:39 |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#167
|
|||
|
|||
![]()
อาบัติสังฆาทิเสสมี ๑๓ ข้อ
เริ่มด้วยภิกษุผู้มีเจตนาทำให้น้ำอสุจิของตนเคลื่อนเป็นอาบัติสังฆาทิเสสข้อที่หนึ่ง ภิกษุผู้งดเว้นจากกามคุณเมถุนสังโยคดังกล่าวมาแล้ว ยังมีจิตประหวัดคิดถึงสิ่งที่เคยทำมา แต่ไม่สามารถประกอบกิจนั้นได้ ด้วยใจที่ใคร่ในความกำหนัดต้องการสัมผัสกายหญิง เพื่อลดหย่อนผ่อนคลายความกำหนัดนั้นให้มีเพียงสัมผัส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๒ อาบัติสังฆาทิเสสมี ๑๓ ข้อ อธิบายมาเพียงสองข้อย่อ ๆ พอเข้าใจในเนื้อเรื่อง ถ้าอธิบายมาทุกข้อก็จะเปลืองกระดาษ ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ แม้ข้อใดข้อหนึ่ง ต้องออกจากอาบัตินั้นด้วยกรรมวิธี มีอยู่ปริวาสกรรมเป็นต้น แล้วอยู่ประพฤติมานัตอีก ๖ วัน จึงขออัพภาน เป็นอันว่าพ้นจากข้อหาของหมู่เพื่อนพรหมจรรย์ หมู่ยอมให้อยู่ร่วมกันได้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#168
|
|||
|
|||
![]()
พระวินัยสิกขาบททุกข้อที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ว่ามีโทษอย่างนั้น ๆ
ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีจิตหันเหไปล่วงละเมิดสิกขาบทใดตั้งแต่สังฆาทิเสสเป็นต้นไป ย่อมพ้นไปจากอาบัตินั้น ๆ ได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังแสดงไว้นั้น แต่มิใช่จะหมายความว่าภิกษุนั้นจะพ้นไปจากบาปกรรมนั้น ๆ ด้วยวิธีแสดงอาบัติก็หาไม่ บาปก็คงยังเป็นบาปอยู่ตามเดิม การแสดงอาบัติเป็นเพียงพิธีกรรมของสงฆ์ เพื่อให้พ้นจากความครหาของหมู่เพื่อนพรหมจรรย์ พระธรรมวินัยของพระองค์ที่ทรงจำแนกออกจากโลกนี้มีมากมายหลายอย่าง สำหรับภิกษุที่มีมากมายถึง ๒๒๗ ข้อนั้นนับว่าเป็นอักโขอยู่ แต่ถ้าภิกษุรูปใดประพฤติตามสิกขาบทนั้น ๆ ได้แล้ว ก็เชื่อได้เลยว่าพ้นจากโลกหรือธรรมพอสมควร
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#169
|
|||
|
|||
![]() สมาธิ เรื่องของสมาธิเป็นเรื่องละเอียดอ่อนกว่าศีลโดยลำดับ เพราะเรื่องสมาธิเป็นเรื่องของจิตใจโดยเฉพาะ เป็นเรื่องของการชำระบาปคือกิเลสที่เศร้าหมองในใจให้หมดไปโดยลำดับ การชำระจิตใจนี้ จำเป็นต้องละรูป คือ วัตถุของอารมณ์ ให้ยังเหลือแต่อารมณ์ของรูป วิธีอบรมสมาธินั้นท่านแสดงไว้เป็นสองนัย คือการอบรมสมาธิโดยตรง และโดยวิธีทำฌานให้เกิดขึ้น เบื้องต้นจะกล่าวถึงเรื่องของฌาน
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#170
|
|||
|
|||
![]()
วิธีการทำฌานให้เกิดขึ้นนั้นจะเป็นวิธีที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ
เพราะได้ทราบว่าวิธีทำฌานนี้มีพวกฤๅษีชีไพรอบรมกันมาก แต่เข้ามาอยู่ในพระพุทธศาสนาและเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำสมาธิ ซึ่งจัดเป็นสมาธิโดยตรง จึงจะขอกล่าวถึงเรื่องของฌานก่อน ปฐมฌาน ท่านแสดงว่ามีองค์ ๕ คือ - วิตก ความตรึกในอารมณ์ของฌาน - วิจาร ความเพ่งพิจารณาอารมณ์ของฌานจนเห็นชัดแล้วเกิดปีติขึ้นและความสุขก็มีมา - ปีติ - สุข - เอกัคตา ทุติยฌาน คงเหลือเพียงองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคตา ตติยฌาน ละปีติเสียได้ ยังเหลือแต่สุขกับเอกัคตา จตุตถฌาน ละสุขเสียได้ ยังเหลือแต่อุเบกขากับเอกัคตา
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#171
|
|||
|
|||
![]()
ฌานทั้งสี่ดังกล่าวมานั้น ท่านว่าเป็นฌานล้วน ๆ ไม่จัดเป็นสมาธิ
แต่ถ้าเรียกใหม่ว่า เอกัคตาในฌานทั้งสามเบื้องต้นอันเป็นที่สุดของฌานนั้น ๆ จัดเข้าเป็นอารมณ์ของสมาธิคือ ขณิกสมาธินั่นเอง หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมาธิเป็นที่สุดของฌานทั้งสี่ก็ได้ เพราะฌานเป็นอุปสรรคของสมาธิ แต่เมื่อจิตเข้าถึงเอกัคตาแล้ว องค์ฌานทั้งหลายเหล่านั้นจะต้องหายไปหมด ยังเหลือแต่เอกัคตาเพียงอย่างเดียว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#172
|
|||
|
|||
![]()
เรื่องฌานกับสมาธินั้น เท่าที่ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมา แต่ไม่ทราบว่าจากพระสูตรไหน
จำได้แต่ใจความว่า พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีฌานผู้นั้นไม่มีสมาธิ ผู้ใดไม่มีสมาธิผู้นั้นไม่มีฌาน ดังนี้ แสดงว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงสมาธิกับฌานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฌานเป็นเรื่องพิจารณาอารมณ์ของจิต หรือจะเรียกว่า ส่งนอก ก็ได้ คือนอกจากจิตใจนั้นเอง ส่วนสมาธิคือ การเพ่งเอารูป ซึ่งเป็นบ่อเกิดของอารมณ์ และอารมณ์ของรูปให้เห็นชัดเจนทั้งหกอย่าง แล้วละถอนอารมณ์นั้นเสีย
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#173
|
|||
|
|||
![]()
ฌาน คือ เพ่งเอาแต่อาการของจิตอย่างเดียว
ให้เป็นอารมณ์อันเดียวแล้วไม่พิจารณาอะไรทั้งสิ้น เพ่งเอาแต่ความสงบนั้นเป็นพื้น แต่สมาธิหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพ่งเข้าถึงจิตผู้นึกคิดและส่งส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ ที่ให้เกิดความยินดียินร้าย โดยมีสติควบคุมจิตอยู่ตลอดเวลา จะคิดนึกอะไรส่งส่ายไปอย่างไรก็ควบคุมจิตอยู่ตลอดเวลา จิตย่อมเผลอไม่ได้ ฌานกับสมาธิมันจึงผิดแผกกันตรงนี้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#174
|
|||
|
|||
![]()
จตุตถฌาน มีอารมณ์ ๒ คือ เอกัคตากับอุเบกขา ซึ่งจะก้าวขึ้นไปสู่อารมณ์อากาศ
เมื่อพิจารณาอุเบกขาอยู่ จิตสังขารช่างผู้สร้างโลก ก็วิ่งออกมารับอาสา สร้างอุเบกขาให้เป็นความสุขเวิ้งว้าง แล้วก็สร้างให้เกิดวิญญาณ แล้วก็ดับวิญญาณซึ่งเรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ คือสร้างจิตสร้างวิญญาณ สร้างสัญญาให้เล็กลง จนดับสัญญา ความดับสัญญาเวทนานั้นเลยถือว่าพระนิพพาน แท้ที่จริงไม่ใช่จิตตัง แต่เป็นสัญญาเวทนาหยุดทำงานเฉย ๆ ถ้าจิตดับที่ไหนจะออกจากนิโรธได้ อันนี้จิตยังมีอยู่ เป็นแต่อาการจิตหยุดทำงาน หากเราจะเรียกว่า สัญญาสังขารและสรรพกิเลสทั้งหลายหยุดทำงาน เหมือนกับข้าราชการทำงานเครียดมา ๕ วัน พอถึงวันเสาร์ วันอาทิตย์ แล้วก็หยุดทำงาน เพื่อคลายความเครียดนั้น วันที่ ๘ คือวันจันทร์จะต้องทำงานต่อจะดีไหม
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#175
|
|||
|
|||
![]() ฌานและสมาธิ จะขอพูดในเรื่องฌานและสมาธิอีก เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น แต่จะพูดเป็นภาษาตลาดพื้นบ้านนี้เอง ขอท่านผู้มีปัญญาจงอดโทษแก่ผู้เรียนน้อย ศึกษาน้อย จดจำไม่ทั่วถึง และศึกษาจากครูบาอาจารย์ อาจผิดพลาดไปก็ได้ เรื่องฌานและสมาธินั้นเป็นคู่กันมาเพราะเดินสายเดียวกัน คือ จิต นั้นเอง เหมือนเงากับตัวจริง เมื่อมีตัวจริงก็ย่อมมีเงา เงานั้นบางทีก็หายไปเพราะไม่มีไฟและแสงอาทิตย์ส่อง ส่วนตัวจริงนั้นจะมีเงาหรือไม่มีเงาตัวจริงก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม เงาของตัวจริงในที่นี้ก็หมายถึงจิต เช่น วิญญาณและสังขาร ตลอดถึงสัญญาและเวทนาเป็นต้น เมื่อจิตสังขารเข้ามารับอาสาปรุงแต่งให้เล็กลงและน้อยลงที่สุด ความสำคัญนั้นก็เป็นไปตามแท้จริง เรื่องวิญญาณและสัญญาเวทนาก็มีอยู่เท่าเดิมนั่นแหละ ไม่เล็กไม่โต แต่สังขารปรุงแต่งให้เล็กตามต้องการ จนสัญญาและเวทนาดับหายไป ก็เข้าใจว่าจิตดับ แท้จริงแล้วไม่ใช่จิตดับ แต่เป็นตัวสังขารปรุงแต่ง ถ้าจิตดับแล้วนิโรธก็จะออกมาทำงานอะไรเล่า ดังกล่าวแล้ว ฌานมีอาการเพ่งเอาแต่อาการของจิตอย่างเดียว ไม่มีการพิจารณานอก-ใน-ดี-ชั่ว-หยาบ-ละเอียด สิ่งที่ควรและไม่ควร เพ่งจนกระทั่งอารมณ์น้อยลงจนอาการของจิตดับ สมาธินั้นเพ่งเอาแต่ตัวจิตที่เดียว จิตจะคิดดี-ชั่ว-หยาบ-ละเอียด สิ่งที่ควรหรือไม่ควร สติควบคุมรู้เท่าอยู่เสมอ บางทีสติเผลอไปเป็นเหตุให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดเป็นชอบ ประกอบด้วยการถือตนถือตัวเป็นอัตตามีมานะขึ้น ไม่เชื่อคำคน ดื้อรั้นเฉพาะตนคนเดียว เมื่อสติควบคุมจิตอยู่นั้นรู้ตัวว่าหันเหออกนอกลู่นอกทาง ตั้งสติให้มั่นเข้า พิจารณาให้ชัดเจนลงไป มิจฉาทิฏฐิก็จะหายวับไป เกิดสัมมาทิฏฐิเดินตามมรรคมีองค์ ๘ เมื่อสติมีที่จิตควบคุมใจให้มั่นคง จะปลงปัญญาเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มิจฉาทิฏฐิก็จะหายวับไปในที่นั่นเอง
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#176
|
|||
|
|||
![]()
ฌาน คือ เพ่งเอาแต่อารมณ์ของจิตดังกล่าวแล้ว
บางท่านเพ่งเอาแต่อารมณ์ของรูปเลยเข้าใจว่าเป็นรูป เช่น เพ่งเอาดวงแก้วหรือพระไว้ที่หน้าอก แล้วสังขารออกไปปรุงแต่งให้เป็นไปตามความต้องการของตน เช่น ให้รูปใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง จนเพ่งให้เป็นรูปต่าง ๆ นานา สารพัดที่จะเกิดขึ้น แล้วเอาอาการของรูปนั้นว่าเป็นมรรคเป็นผลตามความต้องการของตน แท้ที่จริงแล้วมิใช่มรรคผลหรอก มรรคผลไม่มีภาพ ภาพเป็นเรื่องของฌาน อภิญญา ๕ ก็เป็นเรื่องของฌานทั้งนั้น มรรคไม่มีภาพ และอภิญญาต่าง ๆ มีแต่พิจารณาเห็นชัดตามความเป็นจริง แล้วแสดงความจริงอันนั้นให้เกิดขึ้นในใจล้วน ๆ เช่น เห็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ เห็นสมุทัยว่าเป็นสมุทัย นิโรธและมรรคเห็นเป็นนิโรธและมรรค ตามความเป็นจริง ซึ่งใคร ๆ จะคัดค้านไม่ได้ ว่าทุกข์ไม่เป็นทุกข์ สมุทัยไม่ใช่สมุทัย นิโรธมิใช่นิโรธ มรรคไม่ใช่มรรค ปราชญ์ในโลกนี้ทั้งหมดไม่มีใครจะคัดค้านเช่นว่านี้ เพราะเห็นจริงทุกสิ่งที่ตนเห็นแล้ว มรรคที่พระองค์แสดงไว้เบื้องต้น คือ โสดาบันบุคคลท่านละสักกายทิฏฐิ คือความถือตนถือตัวว่าเป็นตนเป็นตัวจนเป็นอัตตา แล้วก็ละความเห็นอันนั้นพร้อมทั้งละรูปที่ถือนั้นด้วย วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาสก็เช่นเดียวกัน มรรคคือการละสิ่งที่ตนถือ คือรูปนั้นเองและละความถือของรูปนั้นคือจิตตนเอง สมกับที่พุทธศาสนาสอนว่า เมื่อยังเป็นตนเป็นตัวอยู่ แล้วเห็นสิ่งที่ตนยึดถืออยู่นั้นว่าไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว แล้วก็ละพร้อมทั้งความถือด้วย เรียกง่าย ๆ ว่าละรูปละนามจนหมดกิเลส
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#177
|
|||
|
|||
![]()
ฌานนี้ถ้าจะพูดว่าเป็นของปฏิบัติง่ายก็ง่าย คือเพ่งเอาแต่อารมณ์ของจิต อารมณ์อื่นไม่มีแล้ว
เมื่อละอารมณ์ของจิตแล้วก็หมดเรื่องไป
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#178
|
|||
|
|||
![]()
ส่วนสมาธินั้นเป็นของยากยิ่งนัก คือจิตคิดค้นหาเหตุผลของจิต
นึกคิดร้อยแปดประการว่า จิตจะรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง เหมือนคนขุดโพรง แมลงเม่าเห็นแสงสว่างก็กรูกันออกมาบินว่อนทั่วไป ออกมาสลัดปีกเป็นภักษาของสัตว์ทั่วไป ก็มากมายหลายประการ เรียกว่า หมดทั้งโลกก็ว่าได้ กว่าจิตจะเห็นแจ้งแทงตลอดปรุโปร่ง ด้วยใจของตนเองแน่ชัดว่าสิ่งเหล่านั้นไร้สาระ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วละให้หมดสิ้นไปได้ ไม่ใช่ของง่ายทีเดียว แต่สำหรับจิตผู้เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เชี่ยวชาญในนโยบายต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเรียกว่า ผู้มีแยบคายภายในนี้เอง จะต้องเห็นโทษ ละทิ้งสิ่งเหล่านั้น ด้วยแยบคายของตนเองโดยเด็ดขาด คือละที่ใจอย่างเดียวแล้วก็หมดเรื่อง กิเลสไม่ใช่ของยาก ว่าเป็นของง่ายก็ง่ายนิดเดียว คือละที่ใจอย่างเดียวแล้วก็หมดเรื่อง กิเลสไม่ใช่ของมาก มีอยู่ในใจเข้าไปยึดถือในสิ่งเหล่านั้น เมื่อละอุปาทานแล้ว กิเลสก็หมดไป ยังเหลือแต่ใจใสสะอาดอยู่ผู้เดียว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#179
|
|||
|
|||
![]()
ฌานสมาบัติและสมาธิ
เรื่องฌานสมาบัตินี้ ทุก ๆ คนย่อมปรารถนาอย่างยิ่ง แม้สมัยก่อนพุทธศาสนาไม่มีในโลก พวกฤๅษีชีไพรก็ได้ทำกันแล้วเป็นหมู่ ๆ ในสมัยเมื่อพระองค์ยังเป็นพระสิทธัตถราชกุมารแสวงหาพระโพธิญาณอยู่นั้น พระองค์ได้ทดลองวิชาทั้งหลายที่ทรงศึกษาเล่าเรียนมาจากอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงต่าง ๆ ในสมัยนั้น ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ พระองค์ได้ยินกิตติศัพท์ของท่านอาฬารดาบส ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางวิชาแขนงนี้ จึงเสด็จเข้าไปขออาศัยฝากตัวเป็นศิษย์ เรียนรู้วิชากับสองอาจารย์นั้นจนสำเร็จเรียบร้อยเป็นอย่างดี แล้วก็ได้ทดลองกระทำตามจนแน่ชัดว่าทางนี้มิใช่ทางตรัสรู้แน่แล้ว แม้ว่าท่านอาจารย์ทั้งสองจะยกย่องว่ามีความรู้ความสามารถเทียบเท่าอาจารย์ได้ แต่พระองค์ก็เสด็จลาจากท่านอาจารย์ทั้งสองเที่ยวหาวิเวก ทำความเพียรภาวนาทางจิตโดยลำพังพระองค์เอง ทรงหวนระลึกได้ว่าเมื่อครั้งทรงพระเยาว์เป็นพระราชกุมารน้อย ๆ พวกศากยราชทั้งหลายได้พาพระองค์ไปในพระราชพิธีแรกนาขวัญ แล้วทอดทิ้งพระองค์ไว้ใต้โคนต้นหว้าเพียงลำพังพระองค์เดียว ขณะนั้นพระองค์ได้ทำสมาธิจนเป็นไปภายในจิต ทรงกำหนดพิจารณาอานาปานสติ จนเห็นแจ้งชัดว่า กายนี้เป็นเพียงเครื่องอาศัยแห่งลม เมื่อลมขาดสูญไป กายนี้ก็เป็นของว่างเปล่าไม่มีประโยชน์อะไรเลย แต่จิตยังคงเหลืออยู่เป็นผู้รับบาปกรรมและนำให้ไปเกิดในภพชาติต่าง ๆ เมื่อพระองค์ทอดทิ้งกายโดยแยบคายอันชอบแล้ว ยังเหลือแต่จิตอย่างเดียว จิตจึงรวมเข้าเป็นเอกัคคตา ถึงซึ่งอัปปนาสมาธิ เวลานั้นตะวันบ่ายไปแล้ว แต่เงาของต้นหว้าก็ยังตั้งตรงอยู่ พวกศากยราชทั้งหลายที่พากันมานะด้วยเห็นว่าพระองค์เป็นพระกุมารน้อยอายุยังอ่อน ไม่เคยกราบไหว้พระองค์ ต่างก็พากันแห่มากราบไหว้พระองค์ทั้งสิ้น เมื่อระลึกได้ดังนั้น พระองค์จึงทรงพิจารณาว่าทางนี้จะเป็นทางตรัสรู้กระมัง ต่อนั้นไปพระองค์จึงบำเพ็ญอานาปานสติ จึงถึงพระสัมมาโพธิญาณ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-05-2011 เมื่อ 03:51 |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#180
|
|||
|
|||
![]()
ฌานที่พระองค์ทรงบำเพ็ญกับฤๅษีทั้งสองนั้น เป็นโลกิยฌานก็จริง
แต่พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายที่เชี่ยวชาญฉลาดในด้านจิตใจ มีพระอนาคามีเป็นต้น ท่านก็ยังทรงเล่นเป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่แน่แล้ว ไม่เล่นอยู่ในโลกิยธรรม จะไปอยู่ที่ไหน โลกุตรธรรมเป็นของจริงของแท้จะเอามาเล่นอย่างไร เขาเล่นหนังตะลุง พระเอกนางเอกลิเก ละคร ก็ล้วนเอาของเทียมมาเล่นกันทั้งนั้น พระเอกนางเอกมิใช่ตัวจริง แต่สมมติเอาต่างหาก
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
Tags |
หลวงปู่เทสก์ |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 5 คน ) | |
|
|