|
พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
![]()
ช่วงที่ฝึกกรรมฐานใหม่ ๆ ด้วยความที่ระยะแรกตัวเองผิดพลาดล้มเหลวบ่อย เพราะเผลอปล่อยให้สติหลุด ก็เลยระมัดระวัง โดยเฉพาะการเสียเวลาไปพูดคุยกับคนอื่น
แรก ๆ ยังไม่คล่องตัวในการทรงอารมณ์ พอคุยกับเขาก็หลุดจากการภาวนา แล้วรัก โลภ โกรธ หลง ก็กินใจเรา ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งอยู่เป็นปี ๆ กว่าที่อารมณ์ใจจะทรงตัวในระยะนานได้ เนื่องจากได้รับบทเรียนในช่วงที่ผ่านมา จึงทำให้ระมัดระวัง เลยค่อนข้างจะเป็นคนเก็บตัว วัน ๆ นอกจากทำงานแล้วก็เอาแต่ภาวนา แทบจะไม่พูดจาปฏิสันถารกับใครเลย คราวนี้มีปัญหา ตอนที่มาทำงานให้หลวงพ่อท่านที่บ้านสายลม หลายคนเขามองว่าเราหยิ่ง ถามคำก็ตอบคำ ความจริงก็คือ กลัวว่าถ้าหากว่าหลุดแล้วจะโดนกิเลสเหยียบแบน จนกระทั่งมาเป็นครูสอนกรรมฐาน ก็มีปัญหาตรงที่ว่า พอลูกศิษย์ติดขัดตรงไหนจะมาถาม ก็เจอครูที่ถามคำตอบคำ ไม่ถามครูก็เฉย คิดไปคิดมา เราเองปฏิบัติมา ตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ก็ประมาณสิบปีแล้ว กำลังใจก็เรียกว่าพอทรงตัวได้ในระดับหนึ่ง ในเรื่องของมโนมยิทธิก็พอทำความเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง แต่ว่าคนที่เพิ่งมาศึกษาเขาไม่เข้าใจ ถ้าเรายังไม่พูดไม่คุยอยู่ เขาก็จะเสียประโยชน์ จึงตัดสินใจว่าเราต้องพูด พอตัดสินใจก็ทำเลย เพราะเป็นคนไม่ชอบอะไรช้า เห็นคนอื่นเขาตั้งวงคุยกัน เราก็ลุยเข้าไปกลางวงเลย "ขออนุญาตคุยด้วยคนนะครับ" อย่างกับฟ้าผ่า..! ทุกคนอึ้งตะลึงไปตาม ๆ กัน แล้วในที่สุดคนแรกที่หลุดปากออกมา ก็คือป้าน้อย(กานดา) ป้าน้อยบอกว่า "ป้าคิดว่าชาตินี้แกจะไม่พูดกับใครแล้ว..!" คราวนี้เข้ากับคนอื่นได้ แต่ก็มีผลเสียอีก พอคุยแล้วอดเผลอสติไม่ได้ ท้ายสุดกรรมฐานที่ทรงต่อเนื่องระยะยาวเป็นเดือน ๆ ก็พัง..! ต้องกลับไปฝึกซ้อมเรื่องของสมาธิใหม่ ทำอย่างไรที่เราจะแบ่งความรู้สึกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งอยู่กับสมาธิ อีกส่วนหนึ่งอยู่กับสิ่งที่เราทำเฉพาะหน้า ซ้อมอยู่เป็นปี กว่าที่จะทำอะไรไปด้วย พร้อมกับการภาวนาและจับภาพพระได้พร้อมกัน นึกถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า คนเราไม่ควรกล่าววาจาอันเป็นเหตุให้ต้องเถียงกัน เพราะวาจาอันเป็นเหตุให้ต้องเถียงกันทำให้จำเป็นต้องพูดมาก บุคคลที่พูดมากจิตใจย่อมฟุ้งซ่าน บุคคลที่ฟุ้งซ่านย่อมห่างจากสมาธิ ชัดเลย..โดนกับตัวเองมาเต็ม ๆ ..! ถ้าหากใครคิดจะเอาดีในการคุยด้วย และเอาดีในการปฏิบัติด้วย อย่างน้อยต้องแยกกำลังใจเป็นสองส่วน แล้วรักษาสองส่วนให้อยู่กับเราให้ได้ ไม่ใช่ไป ๆ มา ๆ ก็เหลืออยู่แค่ส่วนเดียว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 18-05-2010 เมื่อ 10:39 |
สมาชิก 93 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : แยกเป็นสองส่วนอย่างไรครับ ?
ตอบ : ใช้มีดผ่า..! อยากจะบอกว่าถ้าส่วนเดียวยังทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปพูดถึงสองส่วนให้เสียเวลา..! ถาม : หนูเข้าไปลุยกลางวงได้หรือยังคะ ? ตอบ : ถ้าพลาดก็อย่าให้เจ๊ง เป็นแค่ช่วงนิดเดียวที่เผลอ บางทีเราก็ประมาท ทั้ง ๆ ที่เอากำลังใจส่วนหนึ่งคุมไว้แท้ ๆ เผลอตอนไหนก็ไม่รู้ หลุดไปเลย ฉะนั้น..ประสบการณ์เรื่องจิตตก สมาธิตก กรรมฐานตกนี่มาถามได้เลย คุยสามปีก็ไม่หมด เพราะโดนมาหลายปี ถาม : แล้วการคุยกับตัวเองละครับ ? ตอบ : คุยกับตัวเองถ้าควบคุมไม่ได้ ก็ฟุ้งพอ ๆ กับการคุยกับคนอื่น ตอนที่ฝึกทหารอยู่ มีประโยคหนึ่งของครูฝึกท่านพูดตามสภาพของทหาร แต่ว่าไปตรงกับสิ่งที่เราต้องการพอดี ครูฝึกท่านบอกว่า "วัน ๆ อย่าเอาแต่หายใจทิ้ง" พูดง่าย ๆ ว่าทหารต้องกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา อยู่นิ่งไม่ได้ จะไปไหนพ้นชายคาต้องวิ่ง ถ้าหากไปเดินเอ้อระเหยลอยชายให้ครูฝึกเห็น เดี๋ยวก็ได้คลานไป..! พวกเรานี่หายใจทิ้งไปเยอะเลยนะ..! ถาม : เคยมีบางครั้งค่ะ คุยกับคนอื่น จากสมาธิจากที่สูงก็ลดลงต่ำเท่ากับคนที่คุยด้วย ทีนี้พยายามจะงัดขึ้น งัดเท่าไรก็ไม่ขึ้น สุดท้ายเลยต้องหยุดคุย รู้สึกว่าตัวเองโง่มาก..! ตอบ : หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านเคยเล่าให้ฟัง ท่านบอกว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง จากสมาบัติแปดเหลือแค่อุปจารสมาธิ เท่านั้นแหละกิเลสมาฟ้าถล่มดินทลายเลย แทบปางตาย เผลอหน่อยเดียวก็หลุด ต้นทุนจากแสนหนึ่งเหลือไม่ถึงศูนย์จุดห้า ฉะนั้น...ช่วงแรกของการปฏิบัติที่ยังเป็นการกดกิเลสไว้ เผลอเมื่อไรเราก็เดือดร้อนเมื่อนั้น ช่วงใหม่ ๆ ที่ฝึกแยกความรู้สึกเป็นสองส่วน ก็ใช้ภาวนาด้วย นับลูกประคำด้วย เราภาวนาคาถาบทไหน ? ได้กี่จบ ? นับลูกประคำไปแล้วเท่าไร ? จะต้องรู้ ถ้าตอนไหนรู้สึกว่า มีส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ชัดเจน สมมติว่าต้องการสัก ๓๐ จบ ภาวนาไปถึง ๒๐ กว่าจบแล้ว แต่คราวนี้ไม่มั่นใจว่ากว่าเท่าไร เพราะบางทีก็เหลือแต่ตัวคาถา ส่วนจำนวนจบชักจะลืม ๆ เลือน ๆ ก็มานึกย้อนใหม่ นึกเอาครั้งที่ชัดที่สุดว่าเท่าไร ถ้าชัดที่สุด มั่นใจที่สุด เป็นจบที่ ๑๔ หรือ ๑๕ ก็ย้อนมานับตรงนั้นใหม่ พอโดนเข้าหลาย ๆ ทีก็เข็ด เพราะเริ่มใหม่อยู่เรื่อย ไม่จบสักที จึงต้องตั้งใจแบ่งความรู้สึกจดจ่ออยู่ตรงนั้นให้ชัดเจนมากที่สุด การที่ความรู้สึกส่วนหนึ่งอยู่กับคำภาวนา ส่วนหนึ่งอยู่กับการเคลื่อนไหวทำการทำงาน ถ้าเราฝึกบ่อย ๆ เท่ากับว่าเราสามารถทรงสมาธิได้ทุกอิริยาบถ พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ เทศน์ช่วงบ่าย ณ บ้านอนุสาวรีย์ วันพุธที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-05-2010 เมื่อ 02:28 |
สมาชิก 91 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
![]()
ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ในเว็บพลังจิตนะครับ
|
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตั้มศักดิ์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|