กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 01-02-2010, 03:08
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๓

วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ถือว่าเป็นการทำกรรมฐานต้นเดือนในวันสุดท้าย ให้ทุกคนนึกถึงลมหายใจเข้าออกเป็นหลัก เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดแก่จิต จะใช้คำภาวนา หรือจับภาพพระอย่างไร ขึ้นอยู่กับเราถนัด ถ้าหากท่านใดมีความคล่องตัวแล้ว บางทีแค่นึก กำลังใจก็ทรงตัวในระดับที่ตนเองต้องการได้

สำหรับท่านที่ยังไม่คล่องตัว ให้ความรู้สึกทั้งหมด ตามลมหายใจเข้าไป ตามลมหายใจออกมา หายใจเข้าผ่านจมูก..ผ่านอก..ลงไปสุดที่ท้อง พร้อมกับภาพพระและคำภาวนา หายใจออกจากท้อง..ผ่านอก..มาสุดที่ปลายจมูก พร้อมกับภาพพระและคำภาวนา ความรู้สึกทั้งหมดให้ตามลมหายใจ คำภาวนาและภาพพระเข้าไป ตามลมหายใจ คำภาวนาและภาพพระออกมา ถ้าหากว่าไปนึกถึงเรื่องอื่น คิดถึงเรื่องอื่นเมื่อไร ให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจเข้าออกทันที

สำหรับวันนี้ก็ขอพูดต่อจากวันก่อน เกี่ยวกับโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น ในวันนี้จะเป็นส่วนที่เรียกว่าโพชฌงค์ ๗ คำว่าโพชฌงค์ คือ องค์คุณเป็นเครื่องช่วยให้ตรัสรู้ได้ มีอยู่ ๗ ประการด้วยกัน ก็ประกอบด้วยสติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา

เราก็มาแยกดูทีละตัว องค์คุณบางตัวนั้นก็ซ้ำกับหลักธรรมข้ออื่นที่ได้กล่าวมาแล้วในสองวันก่อน ตัวแรกคือ สติ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด อย่างที่เปรียบเมื่อวันก่อนว่า สติเปรียบเสมือนกับคนขับรถม้า ถ้าหากไม่มีสติ คอยรั้งให้ตรงทางอยู่ ม้าก็อาจจะพารถเตลิดเปิดเปิง ออกนอกลู่นอกทาง ตกเหวตกห้วยไปได้ กล่าวไปแล้ว สติของเรานั้น ถือว่าเป็นแก่นธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะว่าการปฏิบัติทุกอย่างก็เพื่อสร้างสติให้มั่นคง สร้างสมาธิให้ทรงตัว ถ้าหากว่าสติ สมาธิมั่นคง ปัญญาก็จะเกิดได้ง่าย

ในส่วนของสตินั้น ตัวองค์คุณเครื่องตรัสรู้ที่กล่าวเอาไว้มาก ก็คือ ในส่วนของสติปัฏฐานทั้ง ๔ ซึ่งประกอบด้วย กายในกาย คือการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกของเรา จนกระทั่งสมาธิทรงตัวตั้งมั่น เวทนาในเวทนา คือ กำหนดรู้เท่าทันอารมณ์ใจของเรา ขณะที่กำลังเสวยอารมณ์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นกลาง ๆ จิตในจิต คือ กำหนดรู้เท่าทันความคิดต่าง ๆ ของเรา ตลอดจนกำลังใจว่า ขณะนี้ทรงกำลังสมาธิอยู่ หรือไม่ได้ทรงสมาธิ ธรรมในธรรม คือกำหนดรู้เท่าทันอารมณ์ต่าง ๆ ที่เป็นธรรมารมณ์แก่ใจ เป็นต้นว่า รู้เท่าทันว่าตอนนี้นิวรณ์เกิดขึ้น แล้วพยายามแก้ไขให้หมดไป เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-02-2010 เมื่อ 03:28
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 01-02-2010, 03:16
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้สติเป็นอย่างมาก ไม่เช่นนั้นแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะกำหนดรู้เท่าทันได้ บางทีก็ปล่อยให้กิเลสต่าง ๆ ชักจูงเราไปเสียไกล ดังนั้น..การปฏิบัติทั้งหมด แม้กระทั่งในอินทรีย์ ๕ พละ ๕ ที่ว่าไว้ในวันก่อน อรรถกถาจารย์ ท่านกล่าวไว้ว่า

ศรัทธากับปัญญาต้องเสมอกัน ถ้าหากว่าศรัทธาล้นเกินปัญญา ก็จะมีแนวโน้มเชื่อใจได้ง่าย โดนหลอกลวงได้ง่าย วิริยะและสมาธิต้องเสมอกัน ไม่อย่างนั้นแล้ว ท่านบอกว่าปฏิบัติไปแล้วจะไม่ได้ผล เพราะว่าจะเน้นหนักจนกลายเป็นทรมานตนเอง แต่ในส่วนของสติ ท่านบอกว่ามีมากเท่าไรก็ดีเท่านั้น ไม่ต้องไปปรับให้เสมอกับธรรมตัวอื่น

เมื่อกล่าวมาดังนี้ เราจะได้เห็นความสำคัญว่า การมีสตินั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าจะเป็นตัวผู้ดู ผู้รู้ ผู้ที่กำหนดคุมเกมต่าง ๆ แก่เรา ถ้าหากว่าละเอียดไปอีกก็เป็นผู้แยกแยะ ว่าส่วนใดดีส่วนใดชั่ว แล้วก็ละชั่วทำดี เพื่อสร้างความเจริญให้เกิดแก่เรา

ตัวที่สองท่านเรียกว่า ธัมมวิจยะ การแยกแยะในธรรม โดยเฉพาะการรู้เหตุ รู้ผล ส่วนใหญ่แล้วพวกเราไม่ค่อยจะรู้เท่าทันในเหตุ อย่างเช่นการปฏิบัติสมาธิของเรา เราก็ทำไป พอสมาธิทรงตัวตั้งมั่น มีความสุขมาก แต่ก็ไม่ทราบว่าสมาธิที่ทรงตัวนั้นเกิดจากอะไร ? รู้แต่ผลว่าจิตใจตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน มีความสุข เราเองก็กินผลนั้นไปเรื่อย จนกระทั่งผลนั้นหมดไป แล้วก็ไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ เพราะไม่รู้ว่าสร้างกันอย่างไร เข้าไม่ถึงเหตุนั้น จนกว่าจะเปะปะไปทำถูกเข้าอีกที ผลเกิดอีก ก็จะเสวยผลนั้นต่อไป แต่ถ้าเราสามารถหาเหตุพบ ถึงเวลาผลนั้นสลายไป เราสร้างเหตุใหม่ ผลนั้นจะเกิดขึ้นอีก

อย่างเช่นว่า เราต้องการละจากนิวรณ์ ๕ ที่มากวนใจเรา ไม่ว่าจะเป็นรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศก็ตาม ถ้าหากว่าเราสร้างสมาธิให้ทรงตัวตั้งมั่น เป็นปฐมฌานขึ้นไปได้ ก็จะสามารถระงับดับนิวรณ์ทั้งหลายลงได้ชั่วคราว ผลก็คือ จิตที่ว่างจากนิวรณ์ มีความสงบ เยือกเย็น แจ่มใสอย่างบอกไม่ถูก ถ้าเรารู้จักวิจัยหาเหตุ ก็จะเห็นว่า เหตุนั้นก็คือสมาธิที่ทรงตัว เมื่อรู้ดังนั้น ถ้าหากว่าจิตใจเริ่มไม่ทรงตัว เราก็ภาวนาทรงสมาธิใหม่ ก็แปลว่าเรารู้จักสร้างเหตุให้ผลนั้นเกิดขึ้น

ในส่วนของอื่น ๆ ก็เช่นกัน ถ้าเราสร้างเหตุที่ดี ผลดีก็เกิดขึ้น เว้นเหตุที่ชั่ว ผลชั่วก็ไม่เกิดขึ้น ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ จึงเป็นเครื่องที่ช่วยให้เข้าสู่การตรัสรู้ได้ อย่างเที่ยงแท้แน่นอน


ข้อต่อไปก็คือ วิริยะ วิริยะนั้น เรากำหนดในความเพียรของสัมมัปปธาน ๔ ดังที่ได้กล่าวมาในวันก่อน ก็คือเพียรในการละชั่ว เพียรในการระมัดระวังความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น เพียรในการทำความดี เพียรในการรักษาความดีให้อยู่กับเรา ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

เราจะเห็นได้ว่า ในธรรมะของแต่ละหมวดนั้น กล่าวไปแล้วมีส่วนเชื่อมโยงเข้าหากันหมด ไม่ว่าจะเป็นอิทธิบาท ๔ สัมมัปปธาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ แล้วมาโพชฌงค์ ๗ ส่วนของความเชื่อมโยงจะมีในแต่ละหมวด ในแต่ละข้อ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-02-2010 เมื่อ 03:32
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 02-02-2010, 07:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อต่อไปก็คือ ปีติ เป็นความอิ่มใจ ปลื้มใจที่เกิดขึ้น ถ้าหากว่าเกิดขึ้นกับอาการทางร่างกาย ก็มีอาการแปลก ๆ อย่างเช่นว่า ขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ลอยขึ้นทั้งตัว หรือรู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวแตก ตัวรั่ว ตัวระเบิด หรือเห็นแสงเห็นสีต่าง ๆ เป็นต้น

ถ้าถามว่าปีติเป็นการอิ่มใจ ปลื้มใจ แล้วทำไมมีอาการแปลก ๆ เช่นนั้น อรรถกถาจารย์ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนกับพ่อแม่ที่ทิ้งลูกไว้กับบ้าน ตนเองไปทำงานที่ไกล ๆ ตั้งแต่เช้ายันค่ำ เมื่อตกเย็นกลับมาถึงบ้าน ลูกที่เห็นพ่อเห็นแม่ก็ดีใจ กระโดดโลดเต้น ร้องไห้โฮเลยก็มี

ลักษณะของอาการปีติก็เช่นกัน เนื่องจากว่าเราเคยพบกับอาการสงบมาก่อน เมื่อเริ่มทำสมาธิกลับย้อนเข้าไปสู่ความสงบดั้งเดิมที่เคยพบเห็น จิตเกิดความคุ้นชิน ก็มีความปีติเกิดขึ้น ในตัวปีติแต่ละอย่างนั้น เราจะไปอายคนไม่ได้ เพราะถ้าอายคนเราก็ไม่สามารถที่จะก้าวพ้นไปได้

เราต้องปล่อยให้อาการนั้นเกิดขึ้นเต็มที่ไปเลยทีเดียว
บางรายก็อาจจะภายในวันนั้นก็ก้าวพ้นไปได้ บางรายก็เป็นอาทิตย์เป็นเดือนก็มี อาตมาเองเจอปีติบางตัว อย่างเช่น โอกกันติกาปีติ ร่างกายโยกโคลง ดิ้นตึงตังเหมือนผีเจ้าเข้าสิง เป็นอยู่เกือบสามเดือนเต็ม

ในส่วนของปีติที่เกิดขึ้นนั้น จิตจะมีความปลาบปลื้มยินดีมาก สว่างโพลงมาก ทำให้นอนไม่หลับไปนาน ๆ ก็มี หลายท่านก็ไปเครียดว่าไม่ได้นอน ขอให้ทราบว่าถ้าร่างกายนอนลงก็ได้พักผ่อนแล้ว สภาพจิตที่ตื่นอยู่นั้นเป็นเรื่องปกติ เราไม่ต้องไปใส่ใจ จะหลับก็หลับ ไม่หลับก็ช่างมัน เราภาวนาของเราต่อไป ถ้าทำอย่างนี้สักพักเดียวก็หลับ

อีกจุดหนึ่งที่ต้องระวังก็คือ เมื่อเกิดปีติขึ้นจะไม่อิ่ม ไม่เบื่อในการปฏิบัติ ช่วงนี้มารจะแทรกได้ง่าย จะหลอกให้เราปฏิบัติแบบหัวไม่วาง หางไม่เว้น เวลาพักผ่อนไม่มี ร่างกายเครียดเกินไป รับไม่ไหว ก็อาจจะมีสติแตก กรรมฐานแตกก็ได้ จึงควรที่จะกำหนดเวลาของเราอย่างเช่นว่า จะปฏิบัติไม่เกินครั้งละ ๑ ชั่วโมง แล้วก็พักผ่อนเป็นต้น ไม่เช่นนั้นแล้ว สิ่งที่ดีก็อาจจะพาให้เราเสียได้

ในองค์คุณข้อต่อไปของโพชฌงค์นั้น ท่านเรียก ปัสสัทธิ คือ ความสงบเกิดขึ้นกับเรา บางรายพอความสงบเกิดขึ้น เข้าใจว่าตนเองเป็นพระอรหันต์ไปแล้วก็มี เพราะว่าจิตใจสงบนิ่ง เยือกเย็นมาก รัก โลภ โกรธ หลง ไม่เกิดขึ้นเลย นั่นเกิดจากอำนาจของสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นปฐมฌานละเอียด จะยิ่งมีความสุขสงบมากเป็นพิเศษ รู้เท่าทันกิเลสมากเป็นพิเศษ เมื่อการทรงฌานตั้งแต่ปฐมฌานปรากฏขึ้น ไฟใหญ่สี่กอง คือ รัก โลภ โกรธ หลง ที่เผาเราอยู่ จะโดนอำนาจของสมาธิกดดับลงชั่วคราว เราจะมีความสุขความสงบร่มเย็น อย่างที่ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ คนที่ถูกไฟเผาอยู่ตลอดเวลา อยู่ ๆ ไฟดับลงไป จะถามเขาว่าสบายแบบไหน ? เขาอธิบายเป็นคำพูดไม่ได้

ตัวปัสสัทธิความสงบนี้ เมื่อเข้ามาถึง ตัวปัญญาจะปรากฏชัด เพราะว่าจิตใจที่สงบนิ่งนั้น เป็นตัวหนุนเสริมให้ปัญญาเกิดขึ้น
ก็จะมองเห็นช่องทางว่าจะรักษากำลังใจของเราอย่างไร เพื่อจะให้ทรงอยู่นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ไม่ให้นิวรณ์เข้ามาแทรกเข้ามาสิง แล้วทำลายอำนาจสมาธิและความสงบของเราไป เพียงแต่ว่าในช่วงนั้น ถ้ารักษาอารมณ์ได้ต่อเนื่องยาวนาน กิเลสเกิดไม่ได้ เราก็อาจจะพลาด คิดว่าเราเป็นพระอริยเจ้า คิดว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้ว ซึ่งถ้าหากคิดดังนั้น เข้าใจดังนั้น แล้วทึกทักว่าเราเป็น ก็จะไม่มีการปฏิบัติต่อ เราก็จะติดอยู่แค่นั้น ไม่สามารถหลุดพ้นได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-02-2010 เมื่อ 08:56
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 02-02-2010, 07:58
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ตัวสุดท้ายของโพชฌงค์นั้น คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นความสงบที่เกิดจากสมาธิทรงตัวสูงสุดในแต่ละระดับ ไม่ว่าจะเป็นปฐมฌานก็ดี ฌานที่สอง ฌานที่สาม ฌานที่สี่ก็ดี อรูปฌานที่หนึ่ง อรูปฌานที่สอง อรูปฌานที่สาม อรูปฌานที่สี่ก็ดี ฌานทั้งแปดนี้ เราจะเข้าถึงฌานหนึ่งฌานใดก็ตาม จะประกอบไปด้วยตัวอุเบกขาเป็นปกติ การที่เราปฏิบัติแล้วจะเอาดีให้ได้นั้น จิตจะต้องมีอุเบกขาอยู่เสมอ

อย่างที่วันก่อนกล่าวว่า เรามีหน้าที่ภาวนา ผลของการภาวนาจะเกิดหรือไม่เกิดก็ช่างมัน ตัวช่างมันนั่นแหละคือตัวอุเบกขา ถ้าเราไม่มีตัวอุเบกขา สมาธิจะไม่ทรงตัว ถ้าหากเข้าถึงตัวอุเบกขาได้แล้ว ตัวปัญญาเกิดขึ้น รู้แจ้งเห็นจริง สภาพของตัวเองก็ดี สภาพของผู้อื่นก็ดี สภาพของวัตถุธาตุสิ่งของ และสรรพสัตว์ทั้งหลายก็ดี ว่ามีการเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง และสลายไปในที่สุด ระหว่างที่ดำรงคงอยู่ก็ประกอบไปด้วยความทุกข์ สิ่งของทั้งหลายก็มีสภาวะทุกข์ มีการเสื่อมสลายไปเป็นปกติ

คนและสัตว์ก็มีทุกข์หลายสารพัด ไม่ว่าจะเป็นนิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ก็ดี วิปริณามทุกข์ ทุกข์ในการที่จะต้องแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ก็ดี ฯลฯ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเรารู้เห็น ยอมรับ และปล่อยวางได้ ตัวอุเบกขาก็จะพัฒนาไปเป็นตัวสังขารุเปกขาญาณ คือการรู้เท่าทันแล้วปล่อยวาง ไม่ปรุงแต่งสิ่งต่าง ๆ รัก โลภ โกรธ หลงก็ไม่สามารถจะกินใจเราได้

ดังนั้น..เราจะเห็นว่า ในส่วนของสติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขาในโพชฌงค์ทั้ง ๗ นั้น เมื่อทำไปถึงตัวท้ายสุดแล้ว ก็จะไปลงที่สังขารุเปกขาญาณของวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ คือ รู้แจ้งเห็นจริง และปล่อยวางได้ มีสติรู้เท่าทัน กำหนดรู้ทันในความจริงอยู่เสมอว่า เราเกิดขึ้นเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด ดำรงชีวิตอยู่ก็ ยืน เดิน นอน นั่งอยู่ท่ามกลางความทุกข์ และท้ายสุดก็ไม่สามารถยึดถือมั่นหมายเป็นของเราได้ ต้องเสื่อมสลายตายพัง คืนร่างกายนี้ให้แก่โลกไปตามเดิม

ถ้ารู้เห็นเช่นนี้ จิตก็ถอนออกจากความปรารถนาในร่างกาย ถอนออกจากความปรารถนาในโลก ก็จะหลุดพ้น ถ้าถอนออกมาได้มาก ก็เป็นพระอริยเจ้าขั้นสูง ถ้าถอนออกมาได้น้อยก็เป็นพระอริยเจ้าขั้นต่ำ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า โพชฌงค์นี้เป็นองค์คุณช่วยให้เราตรัสรู้ได้ ให้ทุกคนทบทวนว่ามีส่วนไหนที่เหมาะสมกับเรา ให้นำไปประพฤติปฏิบัติประกอบกับการภาวนาของเรา เพื่อจะได้เกิดผลและทำให้เราค่อย ๆ หลุดพ้นไปได้อย่างที่ต้องการ


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันอาทิตย์ที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-02-2010 เมื่อ 08:59
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:52



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว