#1
|
||||
|
||||
![]()
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติหรือความรู้สึกของเราไว้กับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เราถนัดมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ วันนี้จะกล่าวถึงเรื่องของการปฏิบัติภาวนาของเรา ว่าการที่เราตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกของเรานั้น เท่าที่สังเกตดู พวกเราแบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกที่ ๑ ก็คือ ไม่สามารถที่จะรักษากำลังใจให้อยู่กับลมหายใจเข้าออกได้ บางท่านถึงเวลาภาวนา สามารถอยู่กับลมหายใจเข้าออกได้ตามเวลา แต่พอเลิกภาวนาก็ทิ้งไปเลย ส่วนอีกพวกหนึ่งสามารถอยู่กับลมหายใจเข้าออกของตัวเองได้ แต่ก็ไปติดอยู่แค่ลมหายใจเข้าออกนั้น เพราะว่าเป็นสภาพจิตที่ว่างจากกิเลสชั่วคราว มีความสุขเยือกเย็น รู้สึกสบาย ก็ไม่คิดที่จะทำอะไรให้มากไปกว่านั้น ซึ่งทั้ง ๒ แบบนั้นล้วนแล้วแต่ใช้ไม่ได้ แต่สำหรับท่านที่เข้าถึงได้ก็ยังดี เพราะว่ามีสภาพจิตที่สงบระงับจากกิเลสได้ชั่วคราวด้วยอำนาจของสมาธิ แต่เป็นเพราะว่าท่านทั้งหลายไม่เห็นคุณค่าของสมาธิที่จะใช้ระงับยับยั้ง รัก โลภ โกรธ หลง และใช้ในการตัดรากเหง้าของกิเลสทั้งหมด กลายเป็นว่าท่านที่ทำได้ไม่เห็นคุณค่าก็ปล่อยทิ้ง ทำให้ตัวเองต้องฟุ้งซ่านอยู่เหมือนเดิม แล้วก็มาเครียด มากลุ้มใจกับสารพัดอารมณ์ ที่ประเดประดังเข้ามาทำลายทำร้ายชีวิตของเรา อีกพวกหนึ่งก็มัวแต่เพลิดเพลินอยู่กับความสุขสงบชั่วคราวจากกำลังสมาธิที่ระงับกิเลสได้ ก็เลยลืมในการที่จะขุดรากถอนโคนกิเลสให้หมดไปจากใจของตนเอง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-06-2017 เมื่อ 02:59 |
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
![]()
ในการที่เราปฏิบัติภาวนาตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกของเรานั้น ถ้าหากว่ากำลังใจของเราเริ่มทรงตัวเป็นอัปปนาสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ก็ควรที่จะใช้กำลังของฌานนั้นให้เป็นประโยชน์แก่เราให้มากที่สุด
อันดับแรกก็คือ ระงับยับยั้งไม่ให้ รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นได้ อันดับที่ ๒ ก็คือ พยายามใช้กำลังที่เราทำได้ ในการตัด ในการละกิเลสต่าง ๆ ซึ่งเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ บางท่านถึงเห็นประโยชน์ก็ยังทำไม่ถูก อย่างเช่นว่า นั่งภาวนาครึ่งชั่วโมง รักษากำลังใจเอาไว้ได้ แต่พอเริ่มไปพักก็ทิ้งอารมณ์การภาวนาไปเลย สภาพจิตซึ่งมีการไหลลงที่ต่ำเป็นปกติ ก็จะวิ่งไปหา รัก โลภ โกรธ หลง ตามความพอใจของตน สิ่งที่ควรทำก็คือ เมื่อภาวนาจนกำลังใจทรงตัวดีแล้ว ก็ให้ประคับประคองรักษาอารมณ์ใจนั้น ให้อยู่กับเราให้นานที่สุด แรก ๆ ก็ได้แค่ ๑ ถึง ๒ นาทีก็พังไปแล้ว แต่ถ้าเราพยายามหมั่นทำหมั่นรักษาบ่อย ๆ ระยะเวลาก็จะได้นานขึ้นเป็น ๓ นาที ๕ นาที ๑๐ นาที ๑๕ นาที ๒๐ นาที ครึ่งชั่วโมง เป็นต้น เมื่อรู้จักระมัดระวังประคับประคองรักษา ก็ยิ่งได้นานขึ้นเรื่อย ๆ เป็นครึ่งวัน เป็น ๑ วัน ๒ วัน ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน ๑๐ วัน ๑๕ วัน เป็นเดือน ระยะเวลาที่สภาพจิตเราทรงสมาธิต่อเนื่องกัน กิเลสกินใจไม่ได้ ความผ่องใสของใจมีมาก เมื่อมาใช้ปัญญาพิจารณาก็จะเห็นว่า ในส่วนของสภาพร่างกายเรานั้น มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นปกติ หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ ระหว่างดำรงชีวิตอยู่ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมาจนหลับตาลงไป มีแต่ความทุกข์อยู่เสมอ ท้ายที่สุดร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี วัตถุธาตุทั้งหลายก็ดี ต่างก็เสื่อมสลายตายพัง กลับคืนเป็นสมบัติของโลกไปตามเดิม ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราให้ยึดถือมั่นหมายได้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 27-07-2020 เมื่อ 23:47 |
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
![]()
เมื่อสภาพจิตสงบ ก็ให้พยายามยกวิปัสสนาญาณขึ้นมาพิจารณา ทำอย่างนี้บ่อย ๆ ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก จะเบื่อไม่ได้ จะหน่ายไม่ได้ จนกว่าสภาพจิตของเราจะยอมรับจริง ๆ ว่า ร่างกายนี้ไม่เที่ยง ร่างกายนี้เป็นทุกข์ ร่างกายนี้ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา
เมื่อยอมรับสภาพจิตก็จะปล่อยวาง ไม่ไปยึดถือในร่างกายนี้ ก็จะไม่ไปยึดถือร่างกายของคนอื่น ไม่ไปยึดถือร่างกายของสัตว์อื่น ไม่ไปยึดถือวัตถุธาตุต่าง ๆ สิ่งที่จะร้อยรัดเราให้ติดอยู่กับวัฏสงสารก็หมดสิ้นไป เราก็สามารถที่จะล่วงพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้ ดังนั้น...ท่านทั้งหลายเมื่อปฏิบัติภาวนาไปแล้ว จงพยายามที่จะรักษาประคับประคองอารมณ์ใจของตนเอาไว้ แล้วก็ใช้กำลังสมาธินั้นในการพิจารณาวิปัสสนาญาณของเรา จนกระทั่งสภาพจิตสามารถปล่อยวาง หลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงอย่างที่เราต้องการ ลำดับต่อไปก็ขอให้ทุกท่านภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ วันศุกร์ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ (ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-06-2017 เมื่อ 17:20 |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|