|
พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : อรูปฌานนะครับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราทำได้แล้ว ?
ตอบ : ต้องทรงกสิณให้คล่องตัวเลย คล่องตัวนี่มันต้องใช้ผลของกสิณได้ ถ้าหากว่าไม่สามารถใช้ผลของกสิณได้คล่องตัวอรูปฌานไปไม่รอด เพราะอรูปฌานต้องตั้งต้นด้วยกสิณ ตั้งภาพกสิณกองใดกองหนึ่งขึ้นมา แล้วก็กำหนดใจเพิกภาพกสิณนั้นเสีย ให้เห็นว่าแม้แต่ภาพกสิณมันยังเป็นส่วนหยาบ มันยังมีรูปอยู่ เราไม่ต้องการรูปนี้เราต้องการความว่างเปล่าของอากาศ กำหนดใจจับความว่างของอากาศไปเรื่อย จนกระทั่งเป็นวงสว่างแจ่มใสอยู่ตรงหน้า ใหญ่ก็ได้ เล็กก็ได้ กำหนดความว่างของอากาศไป พอมันเต็มที่เสร็จแล้ว คลายอารมณ์ขึ้นมาแล้วก็ว่าอรูปฌานที่ ๒ ต่อ ตั้งภาพนิมิตของกสิณขึ้นมาใหม่ แล้วกำหนดใจคิดว่า ถึงมันจะเป็นอากาศแต่มันก็ยังมีความหยาบอยู่ จับความว่างไม่มีขอบเขตของวิญญาณแทน เพราะฉะนั้นต้องเริ่มด้วยกสิณก่อนถ้ากสิณไม่คล่องทำอรูปฌานไม่รอด ถาม : แล้วอย่างมโนมยิทธิถือเป็นการใช้ผลของกสิณไหมครับ ? ตอบ : มโนมยิทธิถือเป็นผลของกสิณอยู่แล้ว เพราะว่ากสิณ ๓ กอง คือ อาโลกกสิณการกำหนดแสงสว่าง โอทาตกสิณการกำหนดสีขาว เตโชกสิณการกำหนดไฟ เหล่านี้ ผลของมันจะทำให้เกิดทิพจักขุญาณ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเป็นมโนมยิทธิเต็มกำลังก็เป็นอภิญญาด้วยเพราะว่าสามารถถอดจิตไปได้ อันนี้เป็นการใช้ผลของกสิณอยู่แล้ว ถาม : ถ้าอย่างนั้นทรงมโนมยิทธิก็ได้เหมือนกัน ? ตอบ : ได้อยู่ แต่ว่ากติกาของอรูปฌานต้องตั้งรูปขึ้นมาก่อน ถ้าจะทรงมโนมยิทธิก็ต้องกำหนดรูปที่เราถนัดขึ้นมาก่อนเช่นว่าภาพพระก็ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือว่าจะเล่นอรูปฌานนี่ต้องได้ฌาน ๔ ก่อน สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ เดือนกรกฏาคม ๒๕๔๔ ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 02-09-2009 เมื่อ 12:17 |
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : หลวงพ่อวัดท่าซุงสอนว่า ตอนเช้าให้ตั้งอารมณ์อยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน พอดีเดือนที่แล้วหลวงพี่บอกว่า ถ้าเกิดเป็นอรูปฌานต้องทำอารมณ์ฌานสี่ไปแล้ว ?
ตอบ : นั่นหมายถึงว่าการฝึก แต่คราวนี้ของเราถึงไม่ได้เต็มที่ก็ทำไปเถอะ คือตัวอรูปฌานนี่ส่วนหนึ่งจะเป็นอารมณ์คิด อารมณ์พิจารณา คล้าย ๆ กับวิปัสสนาญาณ ตัวอากิญจัญญายตนฌานที่หลวงพ่อท่านบอกให้ตั้งอารมณ์ไว้ นั่นเหมือนกับเป็นวิปัสสนาญาณ คือท่านต้องการให้เราตั้งอารมณ์ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรเหลืออยู่ คน สัตว์ วัตถุธาตุสิ่งของทั้งหมด ในที่สุดก็พังหมดไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ได้เลย ลักษณะอารมณ์ใจที่ตั้งอยู่นี่จะเป็นวิปัสสนาญาณ คล้าย ๆ กับอากิญจัญญายตนฌาน เพราะว่าคิดแบบเดียวกัน แต่ว่าไม่ต้องไปนั่งจับกสิณขึ้นมา เพิกภาพกสิณแล้วค่อยมากำหนดใจ ถ้าคุณต้องการฝึกอรูปฌาน คุณต้องขึ้นด้วยฌานสี่ แต่ลักษณะการพิจารณาแบบนี้ใช้ไปเถอะ..กำลังแค่ไหนก็ใช้ได้ สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔ ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-10-2013 เมื่อ 08:38 |
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|