|
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี เก็บข้อธรรมจากบ้านวิริยบารมีมาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไป |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#101
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ถ้าอยากให้สมาธิทรงตัว ต้องทำอย่างไร ?
ตอบ : รักษาระดับเอาไว้ ส่วนใหญ่เราทำแล้วทิ้งเลย ทำแล้วทิ้งเลยก็ถอยหลัง ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ถึงเวลานั่งแล้วสมาธิทรงตัวแค่ไหน เลิกไปทำอย่างอื่นแล้วต้องทรงให้ได้อย่างนั้น
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2011 เมื่อ 02:23 |
สมาชิก 186 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#102
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์เล่าว่า "เมื่อวานอ่านเจอข่าวคนจีนขายไตไปซื้อไอแพด อะไรจะปานนั้นหนอ ? นั่นแสดงว่ากำลังใจของเขาต่ำมาก ไม่มีกำลังที่จะต่อต้านกระแสบริโภคนิยม คือ รัก โลภ โกรธ หลงเลย
ยังดีนะเลือกขายไตตัวเอง ถ้าเลือกไปปล้นเขาเพื่อไปซื้อไอแพด สังคมจะแย่กว่านี้อีก นับว่ายังมีจิตสำนึกที่ดีอยู่บ้าง"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2011 เมื่อ 02:23 |
สมาชิก 183 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#103
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า "การตั้งศาลเป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพของเราต่อท่านที่เป็นเจ้าที่เจ้าทางตรงนั้น ถ้ารู้วิธีว่าต้องตั้งศาลอย่างไร เราทำเองเป็นดีที่สุด เพราะแสดงออกซึ่งความเคารพและตั้งใจจริงของเรา ไม่ต้องไปง้อหมอพราหมณ์อะไรหรอก ทำเองไปเลย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2011 เมื่อ 02:24 |
สมาชิก 188 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#104
|
||||
|
||||
![]()
เวลาที่พระท่านกราบพระด้วยกัน โยมไม่ควรกราบพร้อมกับพระ เพราะเท่ากับให้พระท่านรับไหว้เรา
พระอาจารย์ได้เตือนโยมว่า "สำหรับโยม ถ้าไปที่อื่น อย่ากราบพร้อมกับพระ เดี๋ยวเขาจะดุเอา ปกติพระจะรับไหว้เฉพาะพระเท่านั้น แต่อาตมารับไหว้หมดทุกคน ยิ่งปฏิบัติไปต้องยิ่งละเอียดขึ้น เพราะถ้าไปวัดอื่นเจอท่านที่ปากไม่ค่อยดี บางทีท่านจะด่าให้เลย เราต้องระวังไว้อย่าพลาดให้เขาตำหนิเอาได้"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2011 เมื่อ 14:41 |
สมาชิก 181 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#105
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า "แม้เราไม่มีรูปท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ ไว้บูชา แต่ท่านให้พรไว้ว่า ใครที่ตั้งใจปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบัน ท่านจะตามคุ้มครองตลอดชีวิต
ดังนั้น..ถึงไม่มีรูปท่าน แต่ถ้าเราตั้งใจทำความดีจริง ๆ ก็นึกถึงท่านได้ ขอให้ท่านโมทนาบุญที่เราทำแล้วช่วยดูแลรักษาเราด้วย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2011 เมื่อ 14:41 |
สมาชิก 184 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#106
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า "ในเรื่องวัตถุมงคลของหลวงพ่อ อาตมาชอบเพราะท่านทำไปในทางแคล้วคลาดมากกว่า ท่านบอกว่าถ้ามหาอุตม์ เดี๋ยวลูกหลานเป็นโจรกันหมด พวกเรากำลังใจมักจะเกิน ส่วนใหญ่ไปด้านเดียว ถ้าเป๋ก็เป๋กระฉูดไปเลย ถ้ามีของดีชนิดที่ใครก็ทำอะไรไม่ได้ มีหวังได้เป็นโจรบ้าง ท่านก็เลยไม่ให้ทำมหาอุตม์
แต่อาตมานี่ถ้าวันไหนคันมือก็ทำ ถ้าไม่คันมือก็เอาเรื่องลาภผลดีกว่า ด้านลาภผลนั้นพื้นฐานของคนเสกจะต้องมี ถ้ามาด้วยผลของทานบารมีนี่ขลังสุด ๆ เลย ถ้าในเรื่องของเมตตามหานิยม คนทำต้องถนัดในเรื่องแผ่เมตตา ไม่อย่างนั้นทำจะไม่ได้ผล เพราะต้องออกมาจากใจจริง ๆ แต่มหาอุตม์แค่อุปจารฌาน ขนลุกก็ใช้ได้แล้ว ทำยากสุดคือเมตตามหานิยม เพราะต้องออกจากใจของคนเสกเอง"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2011 เมื่อ 14:43 |
สมาชิก 186 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#107
|
||||
|
||||
![]()
มีโยมถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องกสิณ พระอาจารย์กล่าวว่า " เรื่องการฝึกกสิณเป็นพื้นฐานที่ง่ายมาก ๆ เพราะกสิณเป็นของหยาบ มีวัตถุเป็นเครื่องเพ่ง ยกเว้นกสิณแสงสว่างและอากาสกสิณเท่านั้น
ในเมื่อมีวัตถุให้ยึด อารมณ์ใจก็ทรงตัวได้ง่าย สำคัญตรงที่ทำแล้วต้องประคองดวงกสิณไว้ให้ได้ ถ้าประคองไว้ไม่ได้ ปล่อยให้นิวรณ์ ๕ เข้ามา ก็กลับมามืดบอดใหม่ ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ดังนั้น..การฝึกกสิณ ถ้าตั้งใจทำตามพระพุทธเจ้าท่านกล่าว รัก โลภ โกรธ หลง จะเกิดไม่ได้เลย เพราะใจเราต้องจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับองค์กสิณอยู่ตลอดเวลา เคยใช้คำเปรียบเทียบว่า เหมือนกับเราเลี้ยงลูกแก้วที่ตั้งอยู่บนปลายเข็ม เผลอเมื่อไรลูกแก้วก็ตกแตก เพราะฉะนั้น..ต้องมุ่งมั่นประคับประคองสุดชีวิต ทำให้อารมณ์ที่จะไปปรุงแต่งเป็นรัก โลภ โกรธ หลงก็ไม่มี ดังนั้น..ในเรื่องของสมาธิหรือกสิณไม่ต้องมาถาม ไปหาตำรามา ชอบกองไหนก็ลุยไปเลย ส่วนใหญ่พวกเราหลายใจ พอใครว่าอะไรดีก็เปลี่ยนไปทำอย่างนั้น การปฏิบัติกรรมฐานต้องทำของเดิมให้ถึงที่สุดก่อน คำว่า "ถึงที่สุด" ก็คือ ถ้าเป็นในเรื่องของสมถภาวนาต้องได้ฌานสี่ คล่องตัวในกองกรรมฐานนั้น ๆ แล้วจึงเปลี่ยนกองใหม่ ไม่อย่างนั้นจะเกิดเหตุการณ์ที่อาตมาเคยเปรียบว่า ขุดบ่อแล้วไม่ได้น้ำ เราตั้งใจจะขุดบ่อ ขุดไปได้ ๓-๔ วา จวนจะถึงน้ำแล้ว เขาบอกว่าตรงนั้นน่าจะดีกว่า ก็ย้ายไปขุดตรงนั้น ขุดได้สักวาสองวา เขาบอกทางด้านนี้ดีกว่า เราก็ย้ายมาขุดด้านนี้ อีกกี่ชาติถึงจะได้น้ำ? เราต้องขุดให้ถึงน้ำไปเลย แล้วค่อยเปลี่ยนที่ อย่าหลายใจ มุ่งมั่นกรรมฐานเดิมของตนเองให้ทะลุปรุโปร่งก่อน แล้วค่อยเริ่มต้นกองอื่นใหม่"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2011 เมื่อ 02:56 |
สมาชิก 176 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#108
|
||||
|
||||
![]()
"ก่อนจะเริ่มต้นกองอื่น เราต้องเริ่มซ้อมทบทวนกองเดิมไว้ทุกครั้ง สมัยที่อาตมาฝึกอนุสติ ๑๐ ไล่ตั้งแต่พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณานุสติ กายคตานุสติ อุปสมานุสติและอานาปานสติ ถึงเวลาก็ต้องไล่ย้อนทวนแต่ละกอง ก่อนที่จะขึ้นกองใหม่
พอทำคล่องก็ไปรายงานหลวงพ่อวัดท่าซุง ไปด้วยความปลื้มใจมากว่า "หลวงพ่อครับ..เดี๋ยวนี้อนุสติ ๑๐ กอง ผมสามารถไล่ครบได้ภายในครึ่งชั่วโมง" หลวงพ่อท่านบอกว่า "ยังใช้ไม่ได้ลูก..ทั้ง ๔๐ กอง ถ้าต้องใช้เวลาถึงสองนาทีนี่แย่มากแล้ว" ตอนแรกอาตมาไม่เชื่อ ตอนนี้เชื่อแล้ว เพราะอารมณ์ท้ายสุดเป็นฌานสี่เท่ากัน ถ้าเราไปไล่ทีละกองก็โง่ตายชัก แค่ขึ้นฌานสี่ให้เต็มที่แล้วขยับทีละกอง สองนาทีมากเกินไปเสียด้วยซ้ำ สำคัญตรงที่เราทำคล่องตัวจริงหรือเปล่า ? แต่คำว่าคล่องตัวจนทรงฌานสี่ได้ ไม่ใช่พระอริยเจ้านะ เพียงแต่ทรงกองกรรมฐานนั้น ๆ เท่านั้น การจะทรงความเป็นพระอริยเจ้า ต่อให้ได้อภิญญาแล้วก็ต้องย้อนกลับมาในส่วนของสุกขวิปัสสโก ก็คือมาดูเรื่องศีล และมาพิจารณาวิปัสสนาญาณ ซึ่งเป็นกำลังของสุกขวิปัสสโกล้วน ๆ เลย ฉะนั้น..ใครจะว่าเรามาด้านของวิชชาสาม มาด้านอภิญญาหก มาสายปฏิสัมภิทาญาณ ถ้าไม่เลี้ยวมาหาสุกขวิปัสสโก บรรลุไม่ได้หรอก แต่ท่านทั้งหลายที่เป็นตั้งแต่วิชชาสามขึ้นไป กำลังท่านสูง โอกาสบรรลุท่านง่ายกว่า แต่ต้องมาบรรลุด้วยสุกขวิปัสสโก ก็คือ ต้องมาพิจารณาวิปัสสนาญาณทั้งนั้น"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-02-2019 เมื่อ 15:41 |
สมาชิก 172 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#109
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ทำกิจการร่วมกับคนอื่นแล้วถูกโกง จะทำอย่างไรดี ?
ตอบ : ไปแค่กรอบของศีล พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าไม่สามารถจะร่วมทางกันได้ ก็ให้จากกันด้วยดี เราไปแค่กรอบของศีลก็พอ ส่วนใหญ่แล้วเขาจะไม่ค่อยคำนึงถึงศีลถึงธรรม คิดถึงแต่ผลกำไรอย่างเดียว เมื่อเช้านี้ได้พูดไปแล้ว ตอนโยมเขาเอาตำราเศรษฐศาสตร์มาแจก อาตมาเรียนเศรษฐศาสตร์มา ตำราเขาบอกมาคล้าย ๆ กับพระบอกเลย เขาบอกว่าทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เราจึงต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ เพื่อทำการแบ่งสรรปันส่วนให้ทุกคนได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด เหมือนเอาพระมาเขียนตำราเลย เพราะฉะนั้น..ถ้าพวกเราไปกันไม่ไหวจริง ๆ เราไปแค่กรอบของศีลพอ รักษาใจตัวเองไว้ ถอยออกมาดีกว่า
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2011 เมื่อ 02:59 |
สมาชิก 166 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#110
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : พระ..จับเงิน..ไม่จับเงิน..?
ตอบ : ความจริงจับไม่ได้ทั้งคู่แหละ มหานิกายก็ผิด ธรรมยุตก็ผิด เพราะสิกขาบทที่ ๘ ในโกสิยวรรค นิสสัคคียปาจิตตียกัณฑ์กล่าวไว้ว่า ภิกษุรับเงินทองหรือสิ่งของที่เขาใช้แทนเงินทองก็ดี ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์ สิกขาบทที่ ๙ กล่าวว่า ภิกษุรับเองหรือใช้ผู้อื่นรับก็ดี ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ แปลว่า ถ้าพระธรรมยุตให้ลูกศิษย์รับก็โดนเหมือนกัน ฉะนั้น..พระมหานิกายที่ใจกล้ากว่า ก็คว้าเงินเองเลย ไหน ๆ ก็ผิดแล้ว สำคัญตรงที่ว่าเรารับไป เราเอาไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวมหรือเพื่อตัวเอง ? ถ้าเพื่อตัวเอง ต่อให้จับเงินหรือไม่จับก็แย่พอกัน สมัยก่อนหลวงปู่บุดดาท่านก็ไม่จับเงิน แต่พอไปอยู่วัดท่าซุง คนถวายเงินมา หลวงปู่ก็แหวกย่ามให้ใส่ หลวงพ่อท่านหันมาพอดี "ไม่เอาใช่ไหม ? ผมเอาเองก็ได้" หลวงปู่บุดดาท่านตะครุบเลย "จับแล้วครับ" หลวงพ่อท่านบอกว่า "ต้องอย่างนั้นสิ แค่วัตถุที่เป็นธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ถ้าหากทำให้ใจหมอง ก็อย่าเอาเลย ผมเอาเองก็ได้" มีหลายอย่างที่ทางธรรมยุตเขาถือมั่น ความจริงเป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้จิตละเอียดขึ้น แต่จำนวนเกิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ แทนที่จิตจะละเอียดขึ้น ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นได้ง่ายขึ้น กลายเป็นยึดติดมากขึ้น ที่ยึดติดมากขึ้นเพราะไปคิดว่าท่านเคร่งกว่า ท่านดีกว่า ตรงจุดนี้จะเป็นอุปาทานอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า สีลัพพัตตุปาทาน ยึดมั่นในศีลพรต ยึดหลักปฏิบัติของตนว่าดีกว่าผู้อื่น ก็เลยไปไหนไม่ได้สักที แต่ท่านที่ดีทำถูก ความละเอียดตรงนี้ก็ส่งผลให้ท่านเข้าถึงธรรมได้เร็วขึ้น
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-02-2019 เมื่อ 15:44 |
สมาชิก 176 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#111
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : พระทิเบตท่านเป็นพระอริยะได้ไหมครับ?
ตอบ : ส่วนใหญ่แล้วท่านทั้งหลายมักจะไม่เป็นพระอริยะ เพราะท่านมาสายพระโพธิสัตว์ ถาม : ส่วนใหญ่..ก็แสดงว่าส่วนน้อยยังมีบรรลุอยู่ ทั้งที่ผิดศีล ? ตอบ : ถ้าไม่ทิ้งศีล ๑๐ มีสิทธิ์บรรลุทุกคน เพราะว่าศีลพระที่เกิน ๑๐ ข้อไปนั้น เป็นศีลที่เอาใจชาวบ้าน เราต้องดูว่าสามเณรมีศีล ๑๐ แต่ทำไมเป็นพระอรหันต์ได้ ? ศีลข้อที่เหลือส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ชาวบ้านเขาติเตียน เขายึดถือมาก่อน ก็เลยต้องตามใจชาวบ้านเขา แต่มาสำคัญตรงพวกเรา สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าท่านสั่งห้าม หรือสั่งให้ทำ เราต้องทำด้วยชีวิต ถึงจะแสดงออกซึ่งความเคารพในพระรัตนตรัยจริง ๆ ก็เลยกลายเป็นพวกเราลำบาก ต้องทำเยอะกว่าเขา ส่วนเขาเองตั้งใจรักษาแค่นั้น สบายใจเฉิบ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2011 เมื่อ 03:01 |
สมาชิก 171 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#112
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ฌานในแต่ละระดับแบ่งอย่างไร ?
ตอบ : จริง ๆ แล้วไม่ได้แบ่ง สำคัญว่าเราเข้าถึงหรือเปล่า ? ถ้าเราทำเข้าถึงระดับไหนก็เป็นฌานนั้น ที่เขาแยกแยะให้เพราะแต่ละขั้นตอนมีสภาพไม่เหมือนกัน เราเองไม่จำเป็นต้องไปไล่ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ หรอก บางท่านภาวนาหายใจเข้า หายใจออก ข้ามไปฌานสี่แล้วก็มี ยิ่งฌานมีระดับสูงเท่าไร ยิ่งมีกำลังในการตัดกิเลสมากเท่านั้น
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2011 เมื่อ 03:02 |
สมาชิก 171 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#113
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ได้คาถาท่านให้มาตอนทำกรรมฐาน จะทำอย่างไรดีครับ ?
ตอบ : รับ ๆ เอาไว้และใช้งานซะ ถือว่าตอนนี้เป็นช่วงสร้างตัว นานไปอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้ ตอนที่ผมไปธุดงค์ในทุ่งใหญ่ ผู้ร่วมคณะเขาขี้เกียจเดินกันจึงไปโบกรถ แต่ไปเจอรถระยำ วิ่งไปหน่อยเดียวก็ดันเสีย ในเมื่ออาศัยรถเขามาก็เลยต้องช่วยเข็น เข็นไป ๗๐ กว่ากิโลเมตรเท่านั้น..! ไม่ใช่ทางราบนะ ขึ้นเขาลงห้วยไปตลอด เข็นขึ้นเขาไปทีละนิ้ว เอาไม้รองไปเรื่อย พอถึงยอดเขาก็ปล่อยไหลลง กระโดดเกาะรถไป เข็นตั้งแต่เช้ายันค่ำ ขี้โคลนท่วมหัวเลย พอกลางคืนผมนอนเฝ้ารถ ปล่อยให้คนอื่นไปนอนกันที่โรงเรียนบ้านหินตั้ง หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านมา ท่านไม่ได้พูดถึงเรื่องที่เราลำบากแทบล้มประดาตายแม้แต่คำเดียว ท่านมาสั่งงานและให้คาถาไว้ด้วย ที่จะบอกคุณก็คือ บางทีท่านให้นั่นให้นี่ไว้ ไม่ได้กล่าวถึงความทุกข์ยากของเราเลย เพราะท่านรู้ว่าแค่นั้นเราทนได้อยู่แล้ว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2011 เมื่อ 03:04 |
สมาชิก 176 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#114
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : แม่ทำนากุ้งครับ ผมก็เลยต้องช่วยแม่ ผิดศีลใช่ไหมครับ ?
ตอบ : เรื่องของการขายที่เป็นมิจฉาวณิชชา คือ ขายสุรา ขายยาพิษ ขายมนุษย์ ขายสัตว์ที่มีชีวิต พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่าพุทธมามกะไม่ควรทำ เพราะคนเข้าใจผิดจะคิดว่าไปสนับสนุนให้เขาศีลขาด อย่างเช่น ขายเหล้า ความจริงเราไม่ได้บังคับให้เขากิน เขามาซื้อเอง เราไม่มีโทษหรอก แต่คนที่ไม่รู้ไปนินทาเข้าจะเกิดโทษกับเขา ดังนั้น..ตัวเราไม่ควรจะเป็นทุกข์โทษเวรภัยแก่ผู้อื่น แม้ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจเลย พระพุทธเจ้าท่านจึงให้เว้น ถ้าหาอาชีพอื่นได้ ก็บอกแม่เปลี่ยนอาชีพเถอะ ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องตัดใจ ประเภทเขามาซื้อเราขายให้ ส่วนเขาเอาไปทำอะไรเราไม่ต้องไปรับรู้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2011 เมื่อ 03:13 |
สมาชิก 174 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#115
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : กำลังใจยึดเกาะครูบาอาจารย์ แต่เป็นการยึดในกายเนื้อ รู้สึกว่าผิด...?
ตอบ : กำลังใจเราต้องมีหลักยึด ถ้าเราไม่ยึดหลักให้มั่นคงก็จะเคว้งคว้าง พระพุทธเจ้าตรัสว่า จงมีตัวเองเป็นเกาะ จงมีตัวเองเป็นที่พึ่ง ในการเดินทางข้ามโอฆะคือห้วงกิเลสนี้ เพราะถ้าเรามัวแต่พึ่งคนอื่นอยู่ เขาไม่อยู่ให้พึ่ง เราก็จะเคว้งคว้างต่อไป ท่านถึงได้กล่าวว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน โก หิ นาโถ ปโร สิยา ใครอื่นเลยจะเป็นที่พึ่งแก่เราได้ อัตตา หิ สุทันเตนะ ก็ตัวเราเองที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ นาถัง ละภะติ ทุลละภัง จะเป็นที่พึ่งที่หาได้โดยยาก เพราะฉะนั้น..เราต้องฝึกใจให้มั่นคงจริง ๆ สมาธิต้องทรงตัวจริง ๆ แล้วจะไม่เกิดความรู้สึกนั้นขึ้นอีก
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-03-2019 เมื่อ 03:41 |
สมาชิก 179 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#116
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า "ใครถวายธรรมาสน์ ถวายตาลปัตร ถวายอาสนะ ถวายพรมรองนั่ง พระท่านว่าบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเกิดใหม่จะเล็กไม่เป็น เขายันออกไปอยู่แถวหน้าเสมอ เพราะอานิสงส์ที่ไปหนุนเสริมผู้อื่นเขา ผลบุญจึงเสริมตัวเองให้เด่นไปด้วย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-06-2011 เมื่อ 03:24 |
สมาชิก 176 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#117
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า "สมัยก่อนอยู่กับหลวงพ่อวัดท่าซุง อาตมาเคยชินกับการที่เอาของไปแจกเขา เพราะที่วัดท่าซุงเป็นศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร
พอไปอยู่ทองผาภูมิอาตมาก็ทำแบบนั้นอีก รับสังฆทานได้ก็เอาไปไล่แจกตามวัดต่าง ๆ พระท่านรับแล้วทำหน้างง ๆ เพราะไม่เคยชินกับการที่พระไปทำบุญ ท่านรู้แต่ว่าพระมีหน้าที่นั่งรับอย่างเดียว แต่ตอนนี้พวกท่านชินแล้ว ถึงไม่ให้ท่านก็มาขอเองแล้ว สังฆทานเป็นของส่วนรวม รับแล้วจะเอาไปกินไปใช้คนเดียวไม่ได้ ต้องแบ่งให้พระอื่นอย่างน้อยสี่รูปขึ้นไป แต่อาตมาแบ่งให้เป็น ๔-๕ วัด"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-06-2011 เมื่อ 03:26 |
สมาชิก 174 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#118
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า "ในมหาปุริสวิตก ๘ ประการ ที่พระอนุรุทธท่านตรึกถึง มีอยู่ข้อหนึ่งที่ท่านว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่น คือ จำสิ่งที่ฟังมานานได้ จำสิ่งที่พูดมานานได้ ฉะนั้น..อาตมามองทีเดียวจำได้ จำไปตลอดชาติด้วย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-06-2011 เมื่อ 03:26 |
สมาชิก 168 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#119
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวถึงเรื่องเทวดาว่า "ถ้าไม่ได้มีความชอบส่วนตัว อาวุธของเทวดามักจะเป็นพระขรรค์แก้วเหมือน ๆ กัน ท่านใดที่เคยเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผลบุญก็จะส่งผลให้มีพระขรรค์คู่มืออยู่แล้ว"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-06-2011 เมื่อ 03:27 |
สมาชิก 162 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#120
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : (ไม่ได้ยิน)
ตอบ : เห็นความจริงให้ได้ว่าธรรมดาเป็นอย่างนั้น จิตใจจะปลดวางไม่ไปต่อต้าน แล้วความสุขจะเกิดขึ้น เหมือนกับเราขังเสือตัวหนึ่งไว้ในกรง เสืออยากจะออกจากกรงก็พุ่งชนกรง ทำให้เจ็บตัวไปเรื่อย แต่ถ้าเสือรู้ความจริงว่ากรงนี้ไม่มีวันเปิดออกมาจนกว่าจะตาย เสือก็แค่นอนนิ่ง ๆ แล้วจะไม่เจ็บตัว จึงสำคัญว่าเรายอมรับได้หรือไม่ ? ถ้าเราเห็นความจริงแล้วยอมรับว่าธรรมดาเป็นอย่างนั้น อะไรที่ไม่เกินวิสัยเราก็แก้ไขไป ถ้าอะไรเกินวิสัยเราก็ยอมรับว่าเกินกฎของกรรม ไม่ไปดิ้นรน เราก็จะไม่เจ็บตัว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-06-2011 เมื่อ 03:27 |
สมาชิก 159 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|