กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 04-08-2010, 11:15
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default วจีกรรมกับการสนทนาธรรม

วจีกรรมกับการสนทนาธรรม

เมื่อวันพุธที่ ๔ ส.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเพื่อนของผมในเรื่องนี้ว่า

๑. “หากเจ้าจักเล่าพฤติกรรมของบุคคลผู้ใด เป็นการประกอบธรรมการสนทนา จงหลีกเลี่ยงเอ่ยอ้างชื่อของบุคคลผู้นั้น จุดนี้พึงระวังให้มาก เพราะจักทำให้ราคะและปฏิฆะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ฟังได้ หากเขาไม่รู้ว่าเป็นใคร จิตเขาก็จักไม่ผูกพันกับบุคคลผู้นั้น ยังจักดีกว่า เรียกว่า เจ้าไม่ได้สร้างอารมณ์เบียดเบียนให้แก่ผู้ฟัง” (เมื่อฟังพระองค์ทรงตรัสแล้ว ก็รู้สึกตนเองว่า การพูดถึงบุคคลที่ ๓ ก็คือ การนินทาปสังสานั่นเอง)

๒. “เมื่อเป็นเช่นนี้ วาจาของเจ้าสร้างความเบียดเบียนให้เกิดแก่อารมณ์ของบุคคลผู้ฟัง แล้วอารมณ์ผู้ฟังก็ย้อนกลับมาเบียดเบียนอารมณ์ของเจ้าอีกที เมื่อเป็นประการนี้ ควรหรือไม่ควรที่จักประพฤติ หรือกล่าววาจาเยี่ยงนี้อีกต่อไป” (ก็รับว่า ไม่ควร)

๓. “การเอ่ยนามพาดพิงในการสนทนาธรรม จึงไม่ควรมี ทางโลกเขาถือว่าเป็นการปรามาส มีการฟ้องร้องเอาความกันเพราะการเอ่ยอ้างนามกันมามากมาย บางรายต้องขึ้นโรงขึ้นศาล เป็นความกันด้วยคดีหมิ่นประมาท”

๔. “อุปมาเป็นทางธรรมก็ไม่ต่างกัน หากผู้พูดเอ่ยนามอ้างอิงประกอบธรรม เจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ก็เท่ากับแฉพฤติกรรมโดยธรรมของบุคคลผู้นั้นออกมาเป็นวจีกรรม คนฟังไม่ใช่ว่าจักมีภูมิจิตภูมิธรรมเสมอกับผู้พูด ยิ่งฟังหลายคนยิ่งมีอันตราย เพราะระดับจิตต่างกันอย่างสิ้นเชิง ความคิดเห็นในการฟังก็แตกต่างกันไป หากมีบุคคลใดคนหนึ่งนำเรื่องนี้ไปเล่ากับเจ้าของนาม ผิดเพี้ยนเพียงนิดเดียว เรื่องใหญ่ก็จักเกิดตามมา อารมณ์ชอบใจ ไม่ชอบใจ ก็เกิดแก่คนฟัง คือ เจ้าของนามได้ กรณีนี้สร้างได้ทั้งมิตรและศัตรู ทำความผิดพ้องหมองใจกันได้โดยง่าย”

๕. “ตั้งแต่นี้ไป ขอให้เจ้าเลิกเอ่ยชื่อเจ้าของนาม ในเวลาสนทนาธรรมตลอดไป ยกเอาแต่พฤติกรรมไม่ต้องบอกว่าเป็นใครก็ใช้ได้แล้ว จำไว้นี่เป็นคำสั่งที่เจ้าจักต้องทำให้ได้ด้วย”

๖. “การสนทนาธรรม โดยการศึกษาจากการกระทำของบุคคลทั่วไป ย่อมหลีกเลี่ยงการอ้างอิงพฤติกรรมไม่ได้ จำเป็นต้องพูด ต้องคิด ก็พิจารณาไปให้เป็นธรรม แต่จงอย่าเอ่ยนามของเจ้าของธรรมนั้น ๆ เห็นธรรมเป็นภายนอกย้อนกลับเข้ามาสอนใจตนเองเป็นประการสำคัญ เพื่อให้เห็นธรรมภายในและภายนอกนั้นเป็นปกติ”

๗. “ไม่ใช่ควรทำแต่เจ้านะ คุณหมอก็ควรทำได้ด้วย หน้าที่ไวยาวัจกรที่ท่านฤๅษีมอบให้จำเป็นต้องพูด ก็ขอให้พูดโดยธรรม จักไม่สร้างความเบียดเบียนให้แก่ผู้ฟังทางวจีกรรม ขอให้จำบทเรียนครั้งนี้ให้ดี ๆ”


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:55



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว