กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 20-07-2010, 10:47
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,911 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default ทุกสิ่งในโลก พระองค์จับเอาเป็นธรรมได้หมด

ทุกสิ่งในโลก พระองค์จับเอาเป็นธรรมได้หมด

เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปัจจุบัน ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ ดังนี้

๑. “ผู้มีธรรมประจำอยู่ในจิต ย่อมมองทุกอย่างเป็นธรรมได้หมด”

๒. “ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเข้าใจ”

๓. “สมถะ คือ ธรรมในธรรมนั้น ๆ วิปัสสนา คือ ทุกข์หรืออริยสัจอันเป็นกฎของธรรมนั้น ๆ ดังนั้นท่านจึงหยิบยกขึ้นมา อุปมาอุปไมยเป็นคำสอนได้ เพราะเข้าใจและรู้แจ้งเห็นจริง”

๔. “ธรรมดาในธรรมดา เห็นทุกข์ในธรรมดานั้น ๆ ธรรมดาของโลกไม่เที่ยง ยึดเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้น”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 21-07-2010, 12:45
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,911 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

จากนั้นสมเด็จองค์ปฐม ก็ทรงพระเมตตาตรัสสอนต่อให้ ดังนี้

๑. “อย่าคิดสงสัยในธรรม จงคิดพิจารณาในธรรม จักเห็นความจริงของกฎของธรรมทั้งปวง”

๒. “เห็นทุกขสัจในทุก ๆ เรื่อง ที่ตถาคตกับพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ตลอดจนพระสาวกแสดงมา จิตพวกเจ้าจงกำหนดรู้ว่า ทุกข์ทั้งหลายนั้นมีจริง ให้ยอมรับในทุกข์นั้น ๆ สร้างความเบื่อหน่ายทุกข์ให้เกิด จนจิตคลายจากอารมณ์กำหนัดในการเกาะทุกข์นั้น ๆ ลงได้ในที่สุด”

๓. “บุคคลผู้มองไม่เห็นทุกข์ ก็มักจักไม่ยอมรับว่าทุกข์นั้นมีจริง เป็นของจริงที่สิงอยู่ในจิตของผู้มากด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม จึงทำให้มีอารมณ์กำหนัด ไปยึดมั่น ถือมั่นในทุกข์ที่เกิดจากไฟโมหะ โทสะ ราคะ นั้น ๆ”

๔. “เมื่อมองไม่เห็นทุกข์ จิตจึงไม่ยอมวางทุกข์ ตกเป็นทาสของอารมณ์ ด้วยไม่เห็นของจริงอันเป็นกฎของธรรม (กรรม) หรืออริยสัจนั้น ๆ

๕. “จงอย่าประมาทในธรรมเป็นอันขาด พวกเจ้าจงจำเอาไว้ เผลอมากเท่าไหร่ ประมาทมากเท่านั้น”

๖. “ดูอารมณ์ของจิต ให้คงไว้ในพระกรรมฐานให้มากที่สุด เท่าที่จักมากได้”

๗. “เวลานี้พวกเจ้าประหนึ่งกำลังทำสงครามยื้อแย่งพื้นที่ของจิต โลกธรรมหรือโลกียวิสัย มันครอบครองจิตของเจ้ามานาน ต้องหมั่นพยายามสร้างเสริมกองทัพธรรม หรือโลกุตระวิสัยให้เกิดขึ้นในพื้นที่ของจิตให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการขับไล่กองทัพโลกียวิสัยนั้น ให้ถอยออกไปจากจิตให้ได้มากที่สุด”

๘. “อย่าเผลอให้บ่อยนัก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม มันเหมือนครอบครองเป็นเจ้าถิ่นอยู่ มันก็จักยึดทำเลพื้นที่ของจิตได้อย่างชำนาญเกมการรบ พวกเจ้าต้องดูอารมณ์จิตไว้ให้ดี ๆ อดทนกัดฟันต่อสู้กับเจ้าถิ่นเดิม ด้วยการเกาะอารมณ์พระกรรมฐานเข้าไว้อย่างแนบแน่น เผลอให้น้อยที่สุด สักวันหนึ่งชัยชนะก็จักเป็นของพวกเจ้า”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 21-07-2010 เมื่อ 13:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 21-07-2010, 12:45
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,911 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:07



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว