ลัก...ยิ้ม
03-03-2011, 10:21
การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
อโรคยา ปรมา ลาภา หมายความว่าอย่างไร?
สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนเรื่องนี้ไว้มีความสำคัญดังนี้
๑. ในกรณีร่างกายของคุณหมอที่ต้องการจักถามว่า พ้นจากโรคนั้นหรือยังนั้น ตถาคตก็ใคร่จักย้อนถามกลับไปว่า การเป็นโรคนั้นเป็นปกติธรรมของการมีร่างกายใช่หรือไม่ (ก็ยอมรับว่า ใช่)
๒. ทรงตรัสว่า ตราบใดที่ยังมีร่างกาย คำว่าปราศจากโรคนั้นย่อมไม่มี สักเพียงแต่ว่า บุคคลผู้นั้นมีปัญญาจักเห็นโรคอันเกิดจากธาตุ ๔ เสื่อมได้สักแค่ไหน แม้ความหิวก็นับว่าเป็นโรค ร่างกายเป็นรังของโรค เชื่อหรือไม่ (ก็รับว่า เชื่อ)
๓. สำหรับโรคลำไส้ของคุณหมอที่เป็นแผล เวลานี้เนื้อนั้นได้สมานกันเข้าแล้ว แต่ก็ยังเป็นเนื้ออ่อน ๆ พึงระมัดระวังอาหารรสจัด ๆ อย่าได้รับประทาน เพราะว่าจักเป็นที่แสลงแก่แผลเนื้ออ่อนนั้น จักร้อนจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัดก็ให้งดไว้ก่อน พึงงดไว้ให้แผลหายสนิทอย่างน้อยก็เป็นแรมเดือน (เพื่อนของผมก็คิดว่าทำไมนานนัก)
๔. ทรงตรัสว่า แผลภายในนี่นะ มันหายยากยิ่งกว่าแผลภายนอก เรื่องนี้คุณหมอเป็นหมอย่อมทราบดีอยู่แล้ว
๕. สำหรับการปฏิบัติ เวลานี้จักไม่ย้ำอะไรมาก ให้หมั่นดูอารมณ์จิตอย่างเดียวก็พอ
๖. ความดี ความชั่วของจิต ต่างก็ได้ศึกษากันมาพอสมควรแล้ว ต่างก็ย่อมสามารถจับความดี-ความชั่วของตนเอาไว้ได้ ให้ตั้งใจกำหนดรู้กันเอาเองก็แล้วกัน ขอเพียงอย่างเดียวให้ซื่อตรงต่ออารมณ์ อย่าโกงเข้าข้างตนเองว่าดีอยู่ร่ำไปก็แล้วกัน กล่าวคืออย่าให้อารมณ์มันหลอก คนอื่นหลอกเรานั้นยังไม่เจ็บใจเท่าตัวเองหลอกตัวเองนะ เพราะนั่นคืออารมณ์โมหะชัด ๆ ดูจุดนี้เอาไว้ให้ดี ๆ
๗. มีโรคก็เป็นทุกข์ ไม่มีโรคก็เป็นสุข อโรคยา ปรมา ลาภา แต่จริง ๆ แล้วสำหรับนักปฏิบัติ คำว่าไม่มีโรคนั้นไม่มี การมีขันธ์ ๕ จึงมีทุกข์อย่างยิ่ง ในอดีตความโง่ทำให้ไม่เห็นทุกข์ คิดว่าการมีขันธ์ ๕ เป็นสุข เห็นกามตัณหาเป็นของดี ทั้ง ๆ เป็นตัวทำให้เกิดขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของทุกข์ทั้งปวง
อโรคยา ปรมา ลาภา หมายความว่าอย่างไร?
สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนเรื่องนี้ไว้มีความสำคัญดังนี้
๑. ในกรณีร่างกายของคุณหมอที่ต้องการจักถามว่า พ้นจากโรคนั้นหรือยังนั้น ตถาคตก็ใคร่จักย้อนถามกลับไปว่า การเป็นโรคนั้นเป็นปกติธรรมของการมีร่างกายใช่หรือไม่ (ก็ยอมรับว่า ใช่)
๒. ทรงตรัสว่า ตราบใดที่ยังมีร่างกาย คำว่าปราศจากโรคนั้นย่อมไม่มี สักเพียงแต่ว่า บุคคลผู้นั้นมีปัญญาจักเห็นโรคอันเกิดจากธาตุ ๔ เสื่อมได้สักแค่ไหน แม้ความหิวก็นับว่าเป็นโรค ร่างกายเป็นรังของโรค เชื่อหรือไม่ (ก็รับว่า เชื่อ)
๓. สำหรับโรคลำไส้ของคุณหมอที่เป็นแผล เวลานี้เนื้อนั้นได้สมานกันเข้าแล้ว แต่ก็ยังเป็นเนื้ออ่อน ๆ พึงระมัดระวังอาหารรสจัด ๆ อย่าได้รับประทาน เพราะว่าจักเป็นที่แสลงแก่แผลเนื้ออ่อนนั้น จักร้อนจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัดก็ให้งดไว้ก่อน พึงงดไว้ให้แผลหายสนิทอย่างน้อยก็เป็นแรมเดือน (เพื่อนของผมก็คิดว่าทำไมนานนัก)
๔. ทรงตรัสว่า แผลภายในนี่นะ มันหายยากยิ่งกว่าแผลภายนอก เรื่องนี้คุณหมอเป็นหมอย่อมทราบดีอยู่แล้ว
๕. สำหรับการปฏิบัติ เวลานี้จักไม่ย้ำอะไรมาก ให้หมั่นดูอารมณ์จิตอย่างเดียวก็พอ
๖. ความดี ความชั่วของจิต ต่างก็ได้ศึกษากันมาพอสมควรแล้ว ต่างก็ย่อมสามารถจับความดี-ความชั่วของตนเอาไว้ได้ ให้ตั้งใจกำหนดรู้กันเอาเองก็แล้วกัน ขอเพียงอย่างเดียวให้ซื่อตรงต่ออารมณ์ อย่าโกงเข้าข้างตนเองว่าดีอยู่ร่ำไปก็แล้วกัน กล่าวคืออย่าให้อารมณ์มันหลอก คนอื่นหลอกเรานั้นยังไม่เจ็บใจเท่าตัวเองหลอกตัวเองนะ เพราะนั่นคืออารมณ์โมหะชัด ๆ ดูจุดนี้เอาไว้ให้ดี ๆ
๗. มีโรคก็เป็นทุกข์ ไม่มีโรคก็เป็นสุข อโรคยา ปรมา ลาภา แต่จริง ๆ แล้วสำหรับนักปฏิบัติ คำว่าไม่มีโรคนั้นไม่มี การมีขันธ์ ๕ จึงมีทุกข์อย่างยิ่ง ในอดีตความโง่ทำให้ไม่เห็นทุกข์ คิดว่าการมีขันธ์ ๕ เป็นสุข เห็นกามตัณหาเป็นของดี ทั้ง ๆ เป็นตัวทำให้เกิดขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของทุกข์ทั้งปวง