ลัก...ยิ้ม
12-01-2011, 11:00
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง
หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร (พระครูสันติวรญาณ) ท่านเมตตามาสอนลูกของท่านในอดีตชาติ มีความสำคัญดังนี้
(ลูกของท่านนึกบ่นในใจว่า เรื่องที่สมเด็จองค์ปฐมมาตรัสสอน ๑๒ ข้อนี้ มันเป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับตนเร็วเกินไป จนตนเองทำใจหรือตั้งตัวไม่ทัน) หลวงพ่อสิมท่านก็มีเมตตามาสอนว่า
๑. “ช้าเกินไปต่างหาก ถ้าหากเทียบกับความตาย สมมติว่าเอ็งตายในขณะจิตเดียว จะทำใจได้ทันไหม” (ก็ตอบว่า ไม่ทันแน่) (ลูกของท่านเห็นแพโบสถ์น้ำถูกรื้อ เพราะหนีความเสี่อมและตัวอนัตตาไม่พ้น จิตยังอาลัยอยู่)
๒. หลวงพ่อสิมท่านก็สอนว่า “ก็ไม่พ้นนะสิ เอ็งจะมาเกาะติดวิหารหลังนี้อยู่ทำไม มันจะเสื่อมช้า เสื่อมเร็ว มันก็ต้องเสื่อมสลายตัวไปในที่สุด แม้จะติดบุญก็ตามเถอะ แต่ก็เป็นทุกข์ หากไม่ได้บูรณะต่อนี่เป็นบาปนะ จิตมันเกาะทุกข์เป็นความเศร้าหมองของจิตที่มีกิเลส ตายแล้วไปนิพพานได้เมื่อไหร่กัน ต้องกลับมาซ่อมมาสร้างวิหารกันใหม่อีกกี่ภพกี่ชาติไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักปล่อยวาง ก็เพราะมีอารมณ์แบบนี้แหละ”
๓. “จิตอย่างนี้ เป็นอารมณ์อันเดิมที่ผูกพันอยู่อย่างนี้ไม่รู้จบ มันดีตรงไหน”
๔. “ทำใจเสียใหม่สิ อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่างมัน เขาให้เราทำเราก็ทำต่อ เขาไม่ให้เราทำเราก็เลิก จะทำหรือไม่ทำก็จงอย่าเอาจิตไปผูกพัน ต้องรู้อยู่ในใจนี้เสมอ จะทำหรือไม่ทำ ไม่ช้าวิหารหลังนี้ก็พังและอนัตตาไปในที่สุด ถ้าหากเขาให้ทำเราก็ทำต่อ ถือว่านี่เป็นเพียงหน้าที่ ถ้าเขาไม่ให้ทำก็ถือว่าหมดหน้าที่ ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่ตลอดเวลา ทำใจให้ระลึกให้ได้อย่างนี้ตลอดเวลา อย่าวางอารมณ์ กำหนดรู้ไว้อย่างนี้ให้ขึ้นใจ”
๕. “โลกนี้ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ยึดถืออะไรไม่ได้ ยึดเมื่อไหร่เป็นทุกข์เมื่อนั้น จดจำเข้าไว้ แล้วอย่าลืมนึกถึงความตาย อะไรมันจะเร็วเท่าขณะจิตของความตายมาเยือนไม่มี มัวแต่ประมาท ไม่เตรียมตัว เตรียมใจไว้ก่อนมันจะช้าไป เตรียมตัว เตรียมใจไม่ทัน สลัดความยึดถือมั่นเกาะติดในวิหารไม่ทัน จิตเศร้าหมองอยู่อย่างนี้ไปนิพพานได้อย่างไรกัน”
๖. “ไม่รู้สอนกันมาเท่าไหร่ จำกันไม่ค่อยได้ แถมทำไม่ได้อีกต่างหาก อย่างนี้มันน่าจะปล่อยให้เกิดอีกให้เข็ดดีไหม” (ก็ตอบว่า ไม่ดี ไม่เอา)
สังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง
หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร (พระครูสันติวรญาณ) ท่านเมตตามาสอนลูกของท่านในอดีตชาติ มีความสำคัญดังนี้
(ลูกของท่านนึกบ่นในใจว่า เรื่องที่สมเด็จองค์ปฐมมาตรัสสอน ๑๒ ข้อนี้ มันเป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับตนเร็วเกินไป จนตนเองทำใจหรือตั้งตัวไม่ทัน) หลวงพ่อสิมท่านก็มีเมตตามาสอนว่า
๑. “ช้าเกินไปต่างหาก ถ้าหากเทียบกับความตาย สมมติว่าเอ็งตายในขณะจิตเดียว จะทำใจได้ทันไหม” (ก็ตอบว่า ไม่ทันแน่) (ลูกของท่านเห็นแพโบสถ์น้ำถูกรื้อ เพราะหนีความเสี่อมและตัวอนัตตาไม่พ้น จิตยังอาลัยอยู่)
๒. หลวงพ่อสิมท่านก็สอนว่า “ก็ไม่พ้นนะสิ เอ็งจะมาเกาะติดวิหารหลังนี้อยู่ทำไม มันจะเสื่อมช้า เสื่อมเร็ว มันก็ต้องเสื่อมสลายตัวไปในที่สุด แม้จะติดบุญก็ตามเถอะ แต่ก็เป็นทุกข์ หากไม่ได้บูรณะต่อนี่เป็นบาปนะ จิตมันเกาะทุกข์เป็นความเศร้าหมองของจิตที่มีกิเลส ตายแล้วไปนิพพานได้เมื่อไหร่กัน ต้องกลับมาซ่อมมาสร้างวิหารกันใหม่อีกกี่ภพกี่ชาติไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักปล่อยวาง ก็เพราะมีอารมณ์แบบนี้แหละ”
๓. “จิตอย่างนี้ เป็นอารมณ์อันเดิมที่ผูกพันอยู่อย่างนี้ไม่รู้จบ มันดีตรงไหน”
๔. “ทำใจเสียใหม่สิ อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่างมัน เขาให้เราทำเราก็ทำต่อ เขาไม่ให้เราทำเราก็เลิก จะทำหรือไม่ทำก็จงอย่าเอาจิตไปผูกพัน ต้องรู้อยู่ในใจนี้เสมอ จะทำหรือไม่ทำ ไม่ช้าวิหารหลังนี้ก็พังและอนัตตาไปในที่สุด ถ้าหากเขาให้ทำเราก็ทำต่อ ถือว่านี่เป็นเพียงหน้าที่ ถ้าเขาไม่ให้ทำก็ถือว่าหมดหน้าที่ ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่ตลอดเวลา ทำใจให้ระลึกให้ได้อย่างนี้ตลอดเวลา อย่าวางอารมณ์ กำหนดรู้ไว้อย่างนี้ให้ขึ้นใจ”
๕. “โลกนี้ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ยึดถืออะไรไม่ได้ ยึดเมื่อไหร่เป็นทุกข์เมื่อนั้น จดจำเข้าไว้ แล้วอย่าลืมนึกถึงความตาย อะไรมันจะเร็วเท่าขณะจิตของความตายมาเยือนไม่มี มัวแต่ประมาท ไม่เตรียมตัว เตรียมใจไว้ก่อนมันจะช้าไป เตรียมตัว เตรียมใจไม่ทัน สลัดความยึดถือมั่นเกาะติดในวิหารไม่ทัน จิตเศร้าหมองอยู่อย่างนี้ไปนิพพานได้อย่างไรกัน”
๖. “ไม่รู้สอนกันมาเท่าไหร่ จำกันไม่ค่อยได้ แถมทำไม่ได้อีกต่างหาก อย่างนี้มันน่าจะปล่อยให้เกิดอีกให้เข็ดดีไหม” (ก็ตอบว่า ไม่ดี ไม่เอา)