ลัก...ยิ้ม
27-10-2010, 11:00
ตัณหา ๓ ต้นเหตุที่ทำให้ต้องเกิด
สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนมีความสำคัญ ดังนี้
๑. “ทำกรรมฐานได้เท่าใด ให้พอใจแค่นั้น จิตจักมีความสุข ที่ทุกข์เพราะจิตดิ้นรน มีความอยากได้มรรคได้ผลมากเกินไป จัดเป็นกามสุขคัลลิกานุโยคได้เหมือนกัน ต้องดูอารมณ์ของจิตให้ดี”
๒. “ต้องมีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้เอาไว้เสมอ การผิดพลาดก็เพราะนิวรณ์ ๕ รบกวนจิต ต้องรีบตัดให้เร็วที่สุดด้วยกรรมฐานแก้จริต จนจิตชินสามารถตัดนิวรณ์ได้เป็นอัตโนมัติ จุดนี้ต้องใช้ความเพียรหนัก จักพ้นเกิดพ้นตายได้ก็อยู่ที่ตรงนี้ว่า จิตมีกำลังเอาจริงหรือไม่”
๓. “การฝึกมโนมยิทธิจะได้หรือไม่ มิได้อยู่ที่ครูฝึก แต่อยู่ที่จิตผู้ฝึกจักระงับนิวรณ์ ๕ ได้ละเอียดแค่ไหน เมื่อเห็นพระนิพพานแล้ว ไม่ควรประมาทว่า เราจักเข้าพระนิพพานเมื่อใดก็ได้”
๔. “การไปเห็นพระนิพพานก็ดี การไปได้มาได้ก็ดี หากเหลิงเกินไป ทะนงตนไม่สร้างความดี คือ ละจากรากเหง้าของตัณหา ๓ ประการ ก็จักไปพระนิพพานไม่ได้ในบั้นปลาย”
๕. “ตัณหา ๓ คือ จิตตกอยู่ในห้วงกามตัณหา มีความทะยานอยากในความโกรธ โลภ หลง อะไรมากระทบร่างกาย อายตนะสัมผัสก็มีความไม่พอใจเกิดขึ้นกับอารมณ์ มีแต่ความทะยานอยาก คือ อยากโกรธ อยากอาฆาตพยาบาท อยากทำลาย”
สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนมีความสำคัญ ดังนี้
๑. “ทำกรรมฐานได้เท่าใด ให้พอใจแค่นั้น จิตจักมีความสุข ที่ทุกข์เพราะจิตดิ้นรน มีความอยากได้มรรคได้ผลมากเกินไป จัดเป็นกามสุขคัลลิกานุโยคได้เหมือนกัน ต้องดูอารมณ์ของจิตให้ดี”
๒. “ต้องมีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้เอาไว้เสมอ การผิดพลาดก็เพราะนิวรณ์ ๕ รบกวนจิต ต้องรีบตัดให้เร็วที่สุดด้วยกรรมฐานแก้จริต จนจิตชินสามารถตัดนิวรณ์ได้เป็นอัตโนมัติ จุดนี้ต้องใช้ความเพียรหนัก จักพ้นเกิดพ้นตายได้ก็อยู่ที่ตรงนี้ว่า จิตมีกำลังเอาจริงหรือไม่”
๓. “การฝึกมโนมยิทธิจะได้หรือไม่ มิได้อยู่ที่ครูฝึก แต่อยู่ที่จิตผู้ฝึกจักระงับนิวรณ์ ๕ ได้ละเอียดแค่ไหน เมื่อเห็นพระนิพพานแล้ว ไม่ควรประมาทว่า เราจักเข้าพระนิพพานเมื่อใดก็ได้”
๔. “การไปเห็นพระนิพพานก็ดี การไปได้มาได้ก็ดี หากเหลิงเกินไป ทะนงตนไม่สร้างความดี คือ ละจากรากเหง้าของตัณหา ๓ ประการ ก็จักไปพระนิพพานไม่ได้ในบั้นปลาย”
๕. “ตัณหา ๓ คือ จิตตกอยู่ในห้วงกามตัณหา มีความทะยานอยากในความโกรธ โลภ หลง อะไรมากระทบร่างกาย อายตนะสัมผัสก็มีความไม่พอใจเกิดขึ้นกับอารมณ์ มีแต่ความทะยานอยาก คือ อยากโกรธ อยากอาฆาตพยาบาท อยากทำลาย”