#41
|
||||
|
||||
การไปบวชรุ่น ๕/๕๕ นี้ เป็นอะไรที่เกือบจะไม่ได้ไป เนื่องจากสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยกับการนั่งนาน ๆ ก่อนเดินทาง ๑ วันมีน้องญาติธรรมบอกให้นั่งรถไปด้วยกัน เขาจะออกเดินทางตอนเที่ยงวันศุกร์ เพื่อที่จะไปให้ทันสวดมนต์ทำวัตรเย็น และอีกอย่างเพื่อที่จะได้นอนเบาะหลังไปแบบสบาย ๆ แต่บอกเขาว่า ต้องไปโรงพยาบาล เพื่อไปหาหมอตามนัด จนสุดท้ายหาหมอเสร็จช่วงบ่าย และได้เดินทางไปกับรถตู้ คมน์บอกว่าให้ไปแค่ ๒ วันแล้วกลับวันอาทิตย์ด้วยกัน และค่อยไปใหม่อีกครั้งคืนวันอังคารเพื่อไปรับคน ตอบน้องไปว่า รอดูอาการก่อน ถ้าไม่ไหวจริง ๆ จะไม่ฝืน
ขึ้นรถได้ก็หลับเพราะฤทธิ์ยามาตลอดทาง มาถึงวัดก็ยังมึนงงเพราะยา รุ่นนี้ "จัดหนัก" ตลอด ๕ วันเต็ม จากที่คิดว่า จะอยู่ปฏิบัติได้ไม่เต็มที่ แต่สุดท้ายก็อยู่ได้แบบสบาย ๆ แม้จะไม่เต็มร้อยแต่ก็พยายามจนสุดความสามารถ นั่งกับพื้นนาน ๆ ไม่ได้ ก็มานั่งเก้าอี้ เดินจงกรมนานไม่ได้ ก็มานั่งปฏิบัติกับท่ามือ นั่งสมาธิหลับ ๆ ตื่น ๆ เพราะยา สรุปว่าถึงป่วยแค่ไหนก็ไม่หวั่น และก็ดีใจกับน้อง ๆ หลายคนที่เพิ่งเดินทางไปเป็นครั้งแรก เพราะหลังที่กลับมาจากบวชรุ่นสงกรานต์ มีโทรศัพท์เข้ามาสอบถามเยอะมากว่า ไม่เคยไปบวช สามารถไปได้ไหม บอกว่าได้ และรุ่นนี้หลวงพ่อมอบพระปิดตาสีแดงให้ ถ้าไม่มีรถไปให้เดินทางไปกับรถของพลังจิต สุดท้ายก็ไปกันมากมาย รุ่นหน้า ๖/๕๕ บวชแค่ ๒ วัน แต่ติดเดินทางไปถวายเทียนพรรษาที่อีสาน รอดูธรรมะจัดสรรสักนิดว่าจะเป็นเช่นไร ถ้าไปได้คงมีเหตุให้ได้ไป
__________________
ในดีมีเสีย ในเสียมีดี ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง นอกจากบาปและบุญ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ณญาดา : 17-05-2012 เมื่อ 10:15 |
สมาชิก 78 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ณญาดา ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#42
|
|||
|
|||
อยู่วัด ปฏิบัติธรรม ตอนที่ ๑/๓
อ้างอิง:
คำตอบข้างต้นนี่เอง ที่ทำให้ตัดสินใจไปบวชเนกขัมมะ และต่อมาก็ไปทุกครั้งที่โอกาสอำนวย มาถึงทุกวันนี้ บวชครั้งแรก ๆ ก็โดนเรื่องนี้เต็ม ๆ มีท่านผู้ร่วมบวชดูอาวุโสแล้ว แต่งชุดขาวแบบชีพราหมณ์เต็มยศ ตรงมาถามยายว่าบวชด้วยหรือเปล่า ? ทำไมไม่แต่งชุดขาว ? ไม่รู้หรือว่าคนที่บวชเนกขัมมะต้องแต่งชุดขาว ? แล้วทำหน้ายอมรับการแต่งตัวของยายไม่ได้เลย (ช่วงนั้น คลับคล้ายคลับคลาว่า ยายนุ่งผ้านุ่งสีด้วยนะ)… ยายก็ตอบไปว่า กราบเรียนถามหลวงพ่อแล้ว ท่านอนุญาตให้ใส่เฉพาะเสื้อขาวได้ เขาก็ถามว่า หลวงพ่อไหน ? ก็ตอบไปว่า หลวงพ่อท่านเจ้าอาวาส …เอ นี่เราทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ? หรือจะไปทำให้เขาปรามาสพระอาจารย์ไหมหนอ ? เอาเถอะ... อย่าไปกังวลเลย นี่แหละหนอที่ท่านเมตตาให้เรามีบุญได้มาถือศีลอยู่วัด (แต่ช่วงแรกเวลาถ่ายรูป ยายก็จะหนีไปหลบหลังคนใส่ชุดขาว ให้รูปที่ออกมา ‘สร้างภาพ’ ที่สวยงามกว่า) พระอาจารย์ท่านเมตตารักษากำลังใจทุกคน ให้มีความ 'สบายใจ' ในการปฏิบัติธรรมอย่างที่สุด แม้ไม่นานมานี้ ยายต้องกราบขอขมายกเลิกการสมัครบวช เพราะไม่มีคนอยู่ที่บ้านกับคุณแม่ที่อายุมากแล้ว และแถมมีช่างเข้าออก ทุบซ่อมบ้านกันเกือบทุกวัน …ยายเองนั่นแหละ ที่อยากจะไปอยู่วัด แล้วทำท่าจะดื้อไปให้ได้... พระอาจารย์ท่านว่า 'อยู่บ้านก็ปฏิบัติธรรมได้จ้ะ' และแล้ว ทันทีที่คนที่บ้านเริ่มเดินทางกลับบ้าน ยายก็ขับรถไปวัดทันที เมื่อกราบท่านหลังทำวัตรเช้า ท่านเมตตาถามว่า ตกลงว่ามีคนดูแลคนแก่แล้วหรือ ? ไม่ให้เราห่วงหน้าพะวงหลัง เมื่อท่านรับสังฆทานงานบุญหลังจากนั้น ยายก็นึกสงสัยว่า ท่านทำกรรมฐานทรงสมาธิขั้นสูงเช่นนั้น จะได้ยินเสียงเราสวดบ้างไหมหนอ ? (ตัวกูนะนี่)… ท่านเปรยขึ้นมาเลยว่า เมื่อเช้าตอนทำวัตรเช้าได้ยินเสียงป้าจี๋ นึกว่าหูฝาด ครั้งใดที่ยายไม่ได้บวช ไม่ได้อยู่วัด ยายก็เข้า-ออกวัดตามสบาย ใส่บาตรก็ขับรถไป ไม่ต้องขออนุญาตออกนอกวัดเหมือนที่ผู้บวชต้องทำเป็นปกติ (ส่วนเรื่องขอพักวัดนั้น ยายได้เคยกราบขออนุญาต ท่านอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า อย่าให้เกิน ๓ ชาติก็แล้วกัน) ทำให้ยายสังเกตความเปลี่ยนแปลงของการบวชปฏิบัติธรรมที่ผ่าน ๆ มา ๒ ครั้งล่าสุดนี้ (ครั้งที่ ๖ และ ๗/๒๕๕๖) มีคนที่บวชมาถามว่า ห้องน้ำใกล้โรงครัวไปทางไหน ?, อาหารที่ตั้งที่โรงครัวกินได้ไหม ? (หลังจากที่มีคนกินก่อนได้อรุณ แม่ชีก็นำป้ายมาติดบอกไว้แล้ว), นัดครั้งถัดไปเป็นที่ไหน ? เมื่อไร ? (ยายก็ดูที่เสาโรงครัว ปรากฏว่ามีแต่กำหนดการงานบุญประจำปี), ต้องทำอะไรบ้าง ? มีอะไรให้ช่วยไหม ?, เครื่องมือทำความสะอาดอยู่ที่ไหน ?, ได้ยินว่าเขาไปทำความสะอาดผางประทีปกัน อยู่ที่ไหน ? ทำอะไรหรือ ?, ใส่บาตรที่ตลาดก็ถามว่า เดินไปอย่างไร ? ซื้ออาหารตรงไหน ? รอใส่บาตรท่านที่ไหน ? ยายสังเกตว่า ผู้บวชหลายท่านไม่มีผู้แนะนำ และไม่ทราบข้อพึงปฏิบัติของการอยู่วัด โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องขออนุญาตออกนอกวัด (ยายนึกว่าเกิดเฉพาะช่วงที่มีคนมาบวชเพื่อบูชาพระ ไม่ได้ตั้งใจจะ ‘อยู่วัด’ ซึ่งจะเห็นออกไปกดเงินกันบ้าง ช่วงแรก ๆ ก็ยังมีไปถ่ายรูป ไปซื้อนม น้ำ มาตุนไว้กันหิว ฯลฯ ) ก่อนหน้านี้ เมื่อเข้านอนที่โรงครัว ก็พบว่า มีบางท่านนอนตรงที่เราปูผ้าวางหมอนไว้ เพราะคิดว่า ที่วัดนี้มีปูเตรียมไว้ให้ ยังดีกว่าแรก ๆ ที่มีคนพักกันทั้งครอบครัว ไม่แยกผู้ชาย-ผู้หญิง, นอนกันเต็มตรงหน้าแท่นบูชาพระ (ไม่เบี่ยงหลบ – หลวงพ่อเคยบอกว่า จะขวางเทวดาที่มากราบพระเป็นปกติตอนกลางคืน), พาดผ้าหรือแม้แต่ชุดชั้นใน ที่ขึงเหนือโฟมและข้าวของทำบายศรี (กรณีนี้ ไม่ทราบจะถามใคร พวกเราจึงช่วยกันเขียนกระดาษปิดบอกไว้ และมีคนไปพูดคุยด้วย เพราะเจ้าตัวรู้สึกผิดมาก ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์), เปิดประตูทิ้งไว้ ไม่ปิด, ไม่รองน้ำในห้องน้ำเติมเมื่อใช้น้ำแล้ว, วางเครื่องอาบน้ำไว้เลอะเทอะ, (๒ กรณีหลังนี้ เราก็ได้โอกาสทำบุญ รองน้ำ ทำความสะอาดห้องน้ำ), หมอน ผ้าห่ม หยิบจากตู้ของพระกันบ้าง (ส่วนเสื่อนี่ มีคนทยอยซื้อมาเปลี่ยนให้เป็นระยะ เวียนกันไป) ช่วงทำครัวกลางคืน สมัยทำแกงหยวก ก่อฟืนกันแมลงนั้น มีคนนอนไม่ได้เพราะควัน และบางคนก็นอนไม่หลับเพราะเสียงพูดคุยของคนเตรียมอาหารหรือเตรียมดอกไม้ที่ข้างล่างถึงดึกดื่น (แต่ยายอยากให้ก่อฟืนเหมือนเดิมนะ เพราะยายโดนเจ้าตัวริ้นเล่นงาน ชนิดผมร่วงเป็นกระจุกทั่วหัวมารอบหนึ่ง เวลานี้ มีแต่จุดจากรอยเจ้าตัวแสบนี้กัด เต็มตัว และเพิ่มทุกรอบ จะทายากันแมลงก็มีสิทธิ์แพ้ยาเกือบทุกชนิด… ช่วงก่อฟืน ก็ไม่โดนตัวริ้นกัด และอยากให้แกงหยวกกลับมา หากินยากมาก แต่ลำบากแม่ชีเหลือเกิน ทำกันทั้งวันทั้งคืน), เด็กน้อยคว้าเนื้อลำไยในน้ำลำไยมากิน ก็บอกให้เข้าใจ น้องน่ารักมาก ระมัดระวังรักษาศีลอย่างดี ถึงวันนี้ก็ยังบวชอยู่ แต่โตขึ้นมากทีเดียว เกือบจะเป็นสาวแล้ว เรื่องที่ดูจะละเลยกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน คือ เรื่องฟังเสียงหลวงพ่อวัดท่าซุง ที่เปิดเป็นรอบ ที่ว่าละเลยมากขึ้น สังเกตจากแต่ก่อนนี้ ยายพอจะหลบไปหาที่ฟังได้มุมใดมุมหนึ่งของบริเวณนอกโรงครัวได้ (แต่ก่อนลำโพงตรงนี้ชอบดับด้วย และข้างบนไม่ได้ยิน แต่ล่าสุดนี้ เสียงดังฟังชัดมาก) หากจะไม่ตั้งใจฟัง ยายจะขอขมาหลวงพ่อฯ ก่อน เดี๋ยวนี้ หากเป็นช่วงพัก คนที่มาบวชก็จะจับกลุ่มกินน้ำ คุยกัน เสียงดังมาก ไม่สามารถหามุมแถวนั้น ฟังให้ได้ยิน แม้แต่ตอนกลางคืน (แม้ท่านจะไม่ได้บังคับ และลูกศิษย์หลวงปู่สายหรือคนท้องถิ่นก็มี แต่สังเกตว่า เขามักจะไม่มาคุยส่งเสียงกลบพระธรรมกัน) ยายก็มานึกดูว่า ช่วงแรก ๆ เคยเจอคนที่อยู่ในช่วงบวชไปเล่นน้ำที่บ่อน้ำร้อนกันสนุกสนาน และไม่ได้กลับมาทำวัตรเย็น โดยไม่ทราบว่าหากจะออกนอกวัดต้องขออนุญาต และหากถือศีลแปด ไม่ควรเล่นน้ำด้วยความบันเทิงเช่นนั้น ที่สำคัญ กำหนดการบวชที่ท่านประกาศไว้นั้น เรียกว่า 'วัตร' ซึ่งหมายถึงกิจพึงกระทำของผู้บวช รวมถึงการสวดมนต์ ทำกรรมฐานด้วย... เหล่านี้ ไม่ใช่กิจอันละเว้นได้ตามสบาย หากไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งหากมีเหตุจำเป็น (ไม่ใช่เพราะ 'นอนต่อดีกว่า') ก็ควรกราบขออนุญาตให้เรียบร้อย (หากกราบขอไม่ทันจริง ๆ ก็เป็นไปได้ว่า เป็นเหตุจำเป็น... อย่างไรก็ขอให้ตั้งใจให้ดีเถอะ) เรื่องที่อยู่บ้านแล้วไม่มีพระอาจารย์นำให้แบบนี้นะ... เป็นกำไรเพิ่มเติมด้วยบุญมหาศาลยิ่ง ที่พระอาจารย์เมตตาให้มีกำหนดการที่ท่านนำกรรมฐานก่อนทำวัตรเช้า …ครั้งล่าสุด เจอน้องสนิทสนมกันดีมาก บวชอยู่ด้วยกัน จะออกไปซื้อข้าวสารมาถวายทำบุญวันแม่ (เป็นเหตุให้ยายมีโอกาสร่วมบุญถวายสังฆทานกับคณะด้วยอีกต่างหาก สาธุ) ยายก็ถามว่าขออนุญาตแล้วหรือยัง ? น้องก็บอกว่าออกไปซื้อของทำบุญต้องขอด้วยหรือ ? อีกคนก็ว่า ไปเดี๋ยวเดียว ไม่น่าต้องขอนะ อีกคนก็ว่า ทีใส่บาตรท่านยังไปได้เลย (นั่นแหละ ๆ น้องรัก ท่านถึงต้องบอกอนุญาตไว้ล่วงหน้า)… ทำความเข้าใจกันแล้ว น้องก็ไปฝากขออนุญาตจากหลวงตาธีร์… ปกติต้องขอจากเจ้าอาวาส แต่พวกเราจะไม่รบกวนพระอาจารย์กัน จึงไปขอที่พระเลขาฯ ตั้งแต่สมัยหลวงตาหน่อย เดี๋ยวนี้ทางวัดส่งออกหลวงตาหน่อยไปเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบ้านเก่าแล้ว ก็เปลี่ยนเป็นหลวงตาธีร์ (หลวงตาว่าเรียกอย่างนี้ฟังรื่นหูกว่า หลวงตายี้... ท่านเดียวกัน) หากไม่มีท่านใดอยู่ (หรืออยู่ แต่ไม่กล้า…) ก็มักหลบไปขอแม่ชีชื่น ผู้อาวุโส (อาจมีที่ไม่กล้าเช่นกัน… ก็ไม่ต้องออกไป ไม่เสี่ยงศีลด่าง ศีลพร้อย) หมายเหตุ : ที่วัดเขาเรียกพระว่าหลวงตาตามเด็ก ๆ ทุกรูป ตกกลางคืน เราก็คุยกับหนุ่มที่สนิทสนมกันดีอีกคน ที่เพิ่งตัดสินใจมาบวชครั้งแรก ใส่เสื้อทีมสีน้ำตาลอย่างดี (เจตนาเขาดีจริงนะ) ยายก็เลยบอกว่า ถ้าหาเสื้อขาวได้ ก็หามาใส่นะ ท่านขอไว้เฉพาะเสื้อให้เป็นสีขาว… ไม่ต้องห่วง พรรคพวกเหล่านี้ มีความเคารพพระอาจารย์เป็นปกติ …เออหนอ นึกว่าพวก ‘แก่วัด’ จะรู้ดี เอาเป็นว่า ท่านที่ทราบก็ช่วยแนะนำคนอื่น ๆ ที่มาใหม่หรือท่านที่ไม่ทราบสักหน่อย คงจะดีไม่น้อย ช่วยเหลือรักษากำลังใจกันด้วย หมายเหตุ : เรื่องที่ยายทำ หลายอย่างที่เริ่มจากความ 'ไม่ชอบ' นี้ มีส่วนดีต่อยายมาก เพราะเมื่อเราจะทำ เราก็คิดว่า 'ทำไมเราถึงจะทำ' 'ทำแล้วได้อะไร' ไม่ได้ชอบสักหน่อย... 'ทำไปแล้วได้สิ่งที่ตั้งใจมาหรือยัง'... บางอย่างก็ทำเพราะพระอาจารย์ท่านชวน เช่นรักษาศีล... ระดับครูบาอาจารย์ อธิบายผลได้ชัดเจนแน่ หากเราไม่รู้เรื่องหรือไม่สนใจ ก็ยอมรับเถิดว่า 'ปัญญา' เรายังไม่ถึง ทุกองค์สอนเราว่าจะเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างไร... เราก็ต้องทำไปตามกำลังเราอยู่ดี ทุกวันนี้ ยายก็ยังไม่ชอบอยู่วัด และไม่ชอบนุ่งขาวห่มขาวเช่นเดิม... เพียงแต่คิดถึง อยากไปวัด ไปหาพระอาจารย์ ไปแล้วหากอยู่ได้แต่ไม่อยู่ เสียดายแน่ 'จริงไหม' ส่วนของยายสรุปว่า... เสื้อขาวก็พอ เคารพฟังพ่อ ขอไปนอกวัด
ตื่นเช้าเข้าสวด เย็นสวดทำวัตร ศีลแปดเคร่งครัด ปฏิบัติตั้งใจ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 20-08-2013 เมื่อ 19:19 |
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#43
|
|||
|
|||
อยู่วัด ปฏิบัติธรรม ตอนที่ ๒/๓ - ออกไปตลาดใส่บาตรพระ
ตอนที่ ๒ นี้ จะมาเล่าเรื่องการที่พวกเราผู้บวชเนกขัมมะฯ จะออกไปใส่บาตรกัน
...ขอคั่นด้วยเรื่องพระอาจารย์เมตตาสั่งสอนสักหน่อย เรื่องนี้ถูกสอนมาตั้งแต่เมื่อห้าปีกว่ามาแล้ว ยังพลาดอยู่อีก ตอนเช้าก่อนพระจะตั้งแถวไปใส่บาตร ตามเส้นทาง (สาย) ต่าง ๆ พระอาจารย์ก็มักจะเดินมาสงเคราะห์แม่ชีที่โรงครัว ...แต่แรก ๆ ที่ยายเห็น ท่านจะเดินออกมาทางด้านข้างกุฏิชี เปิดประตูไม้ ออกมาหน้าโรงครัว ให้แม่ชี และโยมที่วัดที่ช่วยงานครัวได้ถวายปัจจัยกันก่อน (บอกแล้วว่า แกงหยวกนี่นะ แม่ชีกับโยมช่วยงานทำกันทั้งวันทั้งคืน) ยายยังนึกว่า เออหนอ..แม่ชีมัวทำกับข้าว เตรียมอาหารถวายพระ เตรียมอาหารให้พวกเรา และรออาหารใส่บาตรที่จะกลับมาให้จัดแยก จัดถวายอีกด้วย คลับคล้ายคลับคลาว่า แรก ๆ เห็นท่านถือย่ามมารับปัจจัยจากแม่ชี คล้ายกับว่า แม่ชีไม่ได้ไปทำวัตรเช้าจึงไม่ได้ใส่ย่าม.. หากจำผิดก็กราบขอขมาด้วยค่ะ ต่อมาญาติโยมที่บวช ก็ร่วมถวายปัจจัยด้วย ท่านก็ไม่ได้ให้ใส่ย่ามแล้ว เพราะเพิ่งใส่กันมาหลังทำวัตรเช้า… บางครั้ง ท่านจะถือบาตรมาด้วย แต่เคยมีคนถวายปัจจัยว่าใส่บาตร ท่านไม่รับเป็นใส่บาตร ให้ไปใส่นอกวัด (ท่านนำบิณฑบาตสายตลาด พวกเราก็ ‘แห่ตาม’ ไปที่ตลาดเป็นปกติ) โดยมีแม่ชีชื่นถวายคนแรกเช่นที่ทำกันเป็นปกติแต่ไรมา ระยะต่อมา ป้านุชจะจัดพานดอกไม้ตอนกลางคืนเพื่อถวายพระอาจารย์ก่อนทำกรรมฐานทุกเช้า และมักอยู่บริเวณที่จัดดอกไม้นั้นตอนเช้า จึงเริ่มจากป้านุชถวายถุงพลาสติกใส่เงินให้ท่าน ที่ท่านมักเรียกหามา แล้วเรียกว่า ‘กระสอบ’ แล้วยายก็พลอยบอกใคร ๆ ว่าให้ป้านุชเตรียมเรื่องนี้ไปเถอะ จะได้ไม่ดูเก้ ๆ กัง ๆ หาถุงกันบ้าง มองตากันบ้าง ว่าใครจะถวาย ยกเว้นป้านุชไม่มีถุงพลาสติก หรือไม่อยู่ ส่วนพระอาจารย์ท่านก็จะเดินเข้าทางประตูรั้วโรงครัวด้านหน้า ไม่ได้มาทางด้านข้างอีก …วันนั้น ป้านุชไม่อยู่ ยายก็มัวอธิบายใครต่อใครที่มาใหม่ที่สงสัยว่ามารอทำอะไรกัน อธิบายสารพัด อย่างที่เล่ามาข้างต้นนี่แหละ พอท่านเดินมาถึง อ้าววันนี้ป้านุชยังไม่ถึงวัด ยายก็เอาถุงพลาสติกในกระเป๋าส่งให้น้องที่ดูแลใกล้พระอาจารย์ท่านหนึ่งที่บวชอยู่ด้วย น้องรับไปแล้วส่องดูว่า มีอะไรหลงอยู่หรือไม่ ก็พบธนบัตร ๒๐ บาทอยู่ใบหนึ่ง กำลังหันมาถามยาย… เสียงพระอาจารย์ดังขึ้นอย่างเข้มขลังว่า “ทำอะไรกันนี่ ? ”… พอยายตอบเรื่องแบงก์ ๒๐ แล้ว น้องก็หันไปจะส่งถวายถุงพลาสติก… เสียงท่านก็ดังขึ้นอีก “มาทำอะไรกันอยู่นี่”… น้องถึงกับกระตุกหดมือที่จะถวายถุงพลาสติกกลับ ยายต้องลุ้นว่า ถวายไปเถิด… เมื่อท่านถือถุงแล้ว น้องคนนั้นกับยาย ก็จะใส่เงินในถุงบ้าง… เสียงท่านยังดังชัดเจน “รู้ไหมว่านี่ทำอะไร ?" …เราสองคนก็ยังมีอาการ ‘เอ๋อ’ ที่กล้ากล่าวอ้างถึงน้องเขาด้วย เพราะเรามาคุยกันทีหลัง ทั้งคู่ใส่เงินในถุงไปอย่างนั้นเอง !!!... ก่อนที่จะสำนึกด้วยกันว่า ‘เราสองคน’ โดนสั่งสอนเรื่อง “ไม่ตั้งกำลังใจทำบุญให้ดี” (แปลว่า หากไม่คิดอะไรเลยจริง ๆ ก็ไม่มีอานิสงส์ !!!... ยิ่งกว่าการทำบุญแบบเกรงใจคนบอกบุญ หรือตัดรำคาญอีกนะ)... ยายต้องมานึกทีหลังว่า ยายนี้หนอตอนเช้าได้ใส่ปัจจัยถวายเป็นสังฆทาน (แบบที่หลวงตาเคยสั่งให้ยาย โมทนาบุญตัวเองบ่อย ๆ )… หลังจากถามคนอื่น ๆ (ที่ยายไปอธิบายเขาไว้เอง) แต่ละคนตอบได้หมดว่าใส่ปัจจัยทำบุญอะไร สติจ้ะยาย สตินะ เขาเรียกสติ… ต้องมีสมาธิก่อนด้วย สติจึงจะมีได้ หมายเหตุ : นานมาแล้ว… ที่บ้านอนุสาวรีย์ ยายโดนสั่งสอนเรื่องนี้จำได้มั่น เริ่มจากท่านไม่รับปัจจัย และต่อมาได้ยินเสียงเอ็ดเข้ามาในใจ ดังชัดเจน แล้วสุดท้ายท่านไม่รับ แล้วกล่าวออกไมค์เลยว่า ‘นั่นเขาไม่ได้ถวายสังฆทานหรอก เขาเอาเงินวางไว้เฉย ๆ ’… ยายว่านั่นเกือบ ๖ ปีมาแล้วนะ… ยายจ๋า แก่แล้ว เวลาเหลือไม่มากนักแล้วนะจ๊ะ (มุสลิมเขายังมีการ ‘ตั้งใจ’ ทำบุญนี้เลย เขาเรียกว่า ‘เหงียด’ คือ เขาสอนให้ต้อง ‘เหงียด’ ก่อนทำบุญทุกครั้ง จึงจะได้บุญ) ...ทีนี้ก็เดินตามพระออกไปใส่บาตรกันสักทีละ แต่ก่อนนี้ เราจะเดินตามแถวพระไปทางถนนกันบ้าง มีกลุ่มแยกไปเดินข้ามสะพานหลวงปู่สายอีกทางบ้าง… พวกที่จะช่วยรับของใส่บาตรมาใส่ ‘รถ’ ที่จะขนอาหารมาที่วัด ที่เราเรียกกันว่า ‘เด็กวัด’ นั้น ก็จะหยิบถังเหลือง ถือตามไป เพื่อใช้ถังขนอาหารจากที่ญาติโยมในตลาดใส่บาตรพระกัน… เราไม่นิยมเอารถไป เพราะหาที่จอดยาก และดูเหมือน ‘รักสบาย’ เกินไป ยกเว้นพาคนแก่เดินไม่ไหวไป… พระท่านเดินไป เราก็เดินไป หากภาวนาไปด้วยอย่างท่านได้ก็ยิ่งดี ขากลับบางคนก็จะข้ามสะพานมาก่อน มาดักถ่ายรูปแถวพระ (ที่เห็นกันว่างาม ๆ … พระอาจารย์ท่านเรียงลำดับแถวตามความสูง ไม่ใช่จำนวนพรรษา) ที่ปลายสะพาน เร็ว ๆ นี้ เห็นมีบางคนยืนหันรีหันขวาง ก่อนจะไปตลาด ไม่รู้ว่าไปใส่บาตรที่ตลาดนี่คือทำอะไรบ้าง ? ไปทางไหน ? ทำอย่างไร ? มีเวลาเท่าไร ? เขาซื้ออาหารกันตรงไหน ? แล้วแถวพระไปทางไหน ? รอใส่บาตรพระกันตรงไหนได้บ้าง ? …. หลัง ๆ ยังมีกิจกรรมปล่อยปลาเสริมเป็นปกติอีกด้วย ยายจึงอยากมาบอกมาเล่าเรื่องการใส่บาตรพระในตลาดให้ทราบสถานการณ์เท่าที่ยายเคยเจอมา… เท่าที่ยายจำได้ ตั้งแต่เริ่มแรกที่มีการจัดบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรม ผู้หญิงที่จะช่วยทำหน้าที่ ‘เด็กวัด’ (ชื่อเรียกนี่ก็มาตั้งกันช่วงเริ่มมีบวชนี้ด้วย) จะได้รับการบอกกล่าวให้ระมัดระวังกิริยา ไม่วิ่งล้อมหน้าล้อมหลัง หรือเข้าใกล้พระจนเกินไป เนื่องจากชาวบ้านท้องถิ่นเขาถือ ต่อมา เราก็ได้ยินพระอาจารย์ประกาศขอให้พวกเรา 'อย่าไปเดินกร่างเต็มถนน' ให้เกะกะรถบนถนน... (พวกเราคงยังไม่ทันระวัง) ท่านบอกต่อมาเพิ่มเติมว่า เวลาพระบิณฑบาต เป็นเวลาที่คนเขาจะรีบขับรถไปทำมาหากินกัน ไปเกะกะขวางคนที่จะทำมาหากิน จะเป็นวิบากได้ ดูเหมือนพอคนมากขึ้น อาจบอกต่อกันไม่ทั่ว และเรื่องเช่นนี้มิได้นำลงเก็บตกฯ เพียงพระอาจารย์ท่านบอกผู้บวชฯ เป็นระยะ เรื่องที่ยายเจอเอง (เพราะไปเกะกะ ยืนผิดที่ผิดทางมาก่อน ถึงกับท่านต้องเมตตาชี้ให้ย้ายที่ยืน) คือ เรื่องที่ควรช่วยกันระวังให้แถวพระอยู่บนถนนให้น้อยที่สุด ได้แก่ หากเป็นทางเท้าที่มีระยะกว้างพอที่แถวพระจะเดินขึ้นไปได้ ขอให้พวกเราตั้งแถวชิดใน ใส่บาตรพระบนทางเท้า กับ ควรตั้งแถวเพียงฝั่งใดฝั่งหนึ่ง อย่าให้เป็นทั้ง ๒ ฝั่ง หรือสลับฟันปลาหลายช่วงนัก และ หากสังเกตรู้บ้านที่ใส่บาตรเป็นประจำ ให้ต่อแถวแนวเดียวกันเป็นหลัก เพื่อลดการข้ามถนนของแถวพระ ...ตลาดทองผาภูมิ ไม่ค่อยมีดอกไม้ขาย ที่มีขายดอกไม้แบบจัดช่อจัดกระเช้าได้ก็แพงมาก ที่ยายสงสัยที่สุด คือไม่มีดอกบัวขาย ถ้ายายอยากได้ ก็ต้องหาเอาไปเองจากปากคลองตลาด… ดอกมะลิเพิ่งบาน ร้อยเป็นกระจุกเสียบไม้เหลา ที่เขามาขายตอนใส่บาตร จึงงามหอมนักหนา พวกเราก็ถวายใส่บาตรกันคนละช่อ ๆ …. ดอกไม้อื่นที่มีก็มักเป็นพวกดอกดาหลา (ที่จริงเขากินจิ้มกับน้ำพริกได้ ผัดก็ได้) หรือดอกเข้าพรรษาสีขาว ช่วงเข้าพรรษา พอกลับถึงวัด ก็ได้ยินพระอาจารย์ท่านประกาศ… พวกดอกไม้ หรืออะไรที่กินไม่ได้ ไม่ต้องใส่บาตรมาหรอก มาถึงวัดก็ลำบากแม่ชี ต้องมาคัด มาแยก มาจัดบูชาพระ ให้ใครต่อก็ไม่ได้ เต็มวัดไปหมด แล้วก็ต้องตามไปเก็บทิ้งด้วย ล่าสุด บวชช่วงวันแม่นี่เอง ยายได้ยินพระอาจารย์ออกไมค์บอกเรื่องที่ชาวบ้านเริ่มพูดกันว่า 'พระวัดท่าขนุนทำให้รถติดในตลาด !!!' กับ เรื่อง 'เด็กวัด' ที่ไปยืนจ้องคนใส่บาตร (เพื่อรับของใส่บาตรขนมาไว้ที่รถขนของ) โดยไม่รู้ตัวว่าทำหน้าคาดคั้น ให้เขาเครียดขนาดไหน... ท่านว่าน้องเขาไม่รู้ตัวหรอกว่า หน้าตัวเองเป็นอย่างไร จ้องเขาอย่างกับจะบอกว่า จะใส่หรือไม่ใส่ จะใส่ก็ใส่มาเร็ว ๆ (ยายจำไม่ได้ชัดทุกคำที่ท่านพูด แต่ให้อารมณ์ว่า ‘น่ากลัวมาก’… บางท่านอาจได้ยินเองกับหูแล้ว เรื่องที่เกี่ยวข้องกับญาติโยมที่ศรัทธาวัดท่าขนุน ศรัทธาหลวงปู่สาย เหล่านี้ เป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราต้องระมัดระวัง …พระก็เดินแถวยาวมาก พวกเราก็ชอบไปช่วยงานใกล้ ๆ พระ มีกันก็หลายคนที่ไปล้อมอยู่รอบ ๆ พระ คงจะประมาณว่า ฉันยังไม่ได้ช่วยขนของบ้างเลย… จะไปใส่บาตรด้วย ก็ใส่กันคนละหลายชุด อาหารคงจะเหลือเฟือ (ที่จริงแล้ว ที่วัดจะจัดส่วนหนึ่งถวายเช้า แยกส่วนหนึ่งถวายเพล และแจกต่อไปให้กลุ่มคนแถวนั้น… ยายเคยได้ยินคล้าย ๆ ว่าที่คุกหรืออะไรนี่ ไม่ยืนยันข้อมูลนะจ๊ะ)… ลำพังแถวพระ เดินชิดทางเท้า ก็ไม่กระไร แต่ตอนแถวพระข้ามถนนนี่ ก็นานพอควร ก็แถวยาว และชาวบ้านไม่นิยมขับรถตัดแถวพระแน่นอน แล้วหากแถวพระนั้นกว้างออกไปเต็มถนน เพราะมีโยมมาเดินขนานบ้าง ไม่ขนานบ้าง เต็มถนนเลย ชาวบ้านเขาจะไปอย่างไร… ไม่มีแถวพระ พวกเราก็ ‘ยิ่งใหญ่’ มาก อย่างท่านว่า เดินเต็มถนนเหมือนเป็นทางเท้ากันเป็นปกติ !!! พวกเราก็หลายกลุ่ม หลายคณะ… ยายว่าช่วยกันค่อย ๆ บอกแบบพูดคุยให้ข้อมูลกัน เป็นระยะ พวกมาเดี่ยว ๆ ก็บอกต่อให้ถูกต้องเหมาะควร ท่านที่เป็นหัวหน้าคณะหรือพาทีมมา ก็เล่าสู่กันฟังแบบออกไมค์ไปเลย แทนพระอาจารย์ที่ต้องคอยมาบอกพวกเราออกไมค์อยู่เสมอ ดีกว่า… รักษากำลังใจ รักษาศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อพระอาจารย์ของพวกเรา และยังทดแทนพระคุณหลวงปู่สาย ที่เจริญศรัทธาญาติโยมไว้ทั่วเมืองกาญจน์ฯ ตอนที่ ๒ เรื่องไปใส่บาตรที่ตลาดของยายนี้ สรุปว่า ห้อมล้อมแถวพระ เกะกะทั่วถนน ไม่เกรงใจคน ทำตนอวดกร่าง อยู่ข้างอาจารย์ ออกแนวระราน ประจานผู้ใด ? (ขออภัย ออกแนวหนักไปหน่อยจ้ะ... แต่ยายว่า ตอนที่ ๓ ที่จะปิดเล่าเรื่องคราวนี้ ตอน รักษาอารมณ์ รักษากำลังใจ อาจจะหนักกว่า)
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 24-08-2013 เมื่อ 01:53 |
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#44
|
|||
|
|||
อยู่วัด ปฏิบัติธรรม ตอนที่ ๓/๓ รักษาอารมณ์การปฏิบัติ
ยายรีบมาเขียนตอนที่ ๓ นี้ไว้เลยดีกว่า ที่จริงเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้อง ‘ปฏิบัติ’ ตามคำ ‘สั่งสอน’ ของพระอาจารย์
ที่เราได้ยินกันสม่ำเสมอบ่อยครั้งมาก ทั้งที่ท่านเทศน์ช่วงปฏิบัติธรรมที่วัด และช่วงปฏิบัติกรรมฐานที่บ้านวิริยบารมี เวลานี้ คำสอน หรือ โอวาท ของพระอาจารย์ที่ให้แก่ผู้บวชเนกขัมมะ ก็ได้มีการบันทึกนำลงกระทู้ในเว็บวัด ให้พวกเราได้ 'อ่าน' กันอย่างทั่วถึง ที่ยังไม่ได้ฟัง ก็ได้อ่านเอา ที่เคยได้ยินได้ฟังแล้ว ก็นำมาย้ำใส่ใจ ให้ทบทวนกัน ดังตัวอย่าง อ้างอิง:
อ้างอิง:
แล้วยอมรับกิเลสทันที ถึงแก่พ่ายแพ้แก่กิเลส ของยายเอง มันง่ายมาก ๆ ทำให้ยายรู้สึกได้ถึงความอ่อนแอ จากการที่ไม่ฝึก ‘รักษาอารมณ์’ การปฏิบัติไว้ให้อยู่กับตัว เพื่อจะได้ไม่พลาดท่าเสียทีแก่กิเลส แบบที่พวกเรามักคิดว่า นั่นคือ กลับไปใช้ชีวิต ‘โลก’ ตามปกติ… เอ้อ อยากเตือนตัวยายเองให้ได้สติเหลือเกินว่า ที่เราปฏิบัติมานี่ ต้องการที่จะ ‘ไม่กลับไปใช้ชีวิตโลก’ อีกแล้วนะ แรก ๆ ที่มาบวช ยายได้รับคำแนะนำว่า ตอนออกไปใส่บาตร ไม่ควรไปหาอะไรกินในตลาดนะ ให้กลับมากินข้าววัด… ตอนนั้น ยายก็ไม่ค่อยเข้าใจนัก เพียงแต่คิดว่า มันดูไม่งาม เหมือนคนบวชไปเที่ยวเล่นในตลาด กับอีกเรื่องที่ยายเห็นว่าเป็นสาระของยาย คือ มาอยู่วัด ก็ให้ทำตัวอยู่ง่ายกินง่าย หากยังอยากกินอะไรอร่อย ๆ ถึงกับเสาะหา (ที่พูดเช่นนี้ เพราะอาหารที่วัดก็อร่อย ฮี่ ฮี่) ก็ไม่สมกับที่มาอยู่วัดกระมัง (ก็ยายไม่ชอบอยู่วัดนี่… แต่ระยะหลังนี้ เริ่มคิดถึงวัดบ้างแล้ว)… ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้ยายไม่ยอมซื้ออาหารที่มาขายในวัดกินเองเลย หากว่ายายบวชอยู่ด้วย แต่จะซื้อให้ผู้บวชบ้างเป็นบางครั้ง …ยายก็ได้บอกต่อให้น้องที่เพิ่งไปบวชทราบเป็นระยะ น้องก็ทำบ้างไม่ทำบ้าง เนื่องจากเห็นว่า ไม่เป็นไร ยังคงลงนั่งกินข้าวเช้า ซื้อหมูปิ้ง ปาท่องโก๋ กินไปตามเรื่องตามราว ยายเองก็ไม่ได้ติดใจว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ยังคงเตือนเรื่อย ๆ … ล่าสุดนี้ ได้ยินพระอาจารย์กล่าวเทศน์ผู้บวชเรื่องนี้เองโดยตรง ถึงกับว่าทำนองนี้ ถ้าอาหารวัดไม่อร่อยก็ให้ทำใจ หรือข้าวต้มวัด เทให้หมากิน หมายังเมิน ก็ตาม... ก็ให้อดใจ กลับมากินข้าววัด ...ทำให้ยายเข้าใจทั้งความไม่เหมาะควร และเข้าใจการ ‘รักษาอารมณ์’ กับเรื่องที่ดูเหมือนเล็กน้อยนี้ชัดขึ้นมาก …เมื่อครั้งบวชคราวก่อน พระอาจารย์ท่านกล่าวถึงว่าบางท่านนัดกันหลังจากลาศีลแล้วว่า มื้อเย็นจะไปหาอะไรอร่อย ๆ กินกัน และคราวนั้น ยายอยู่ที่วัดต่ออีกวัน เมื่อผู้บวชลาศีลกันแล้ว ยายก็เห็น ๒ เรื่อง คือ ช่วงบ่าย ยายขับรถออกไปข้างนอก โดยไปส่งคนที่ตลาดก่อน เสร็จแล้วยายก็ขับรถออกจากตลาดผ่านร้านอร่อยริมถนน… อืม... อย่างที่พระอาจารย์ท่านว่า ชุดเสื้อขาวบ้าง ไม่ใช่เสื้อขาวบ้าง แต่พวกเราที่บวชกันทั้งนั้น นั่งกินอาหารกันเต็มร้านเลย เมื่อกลับมาวัดอีกที ก็เห็นพระอาจารย์หยอกพี่ท่านหนึ่ง ซึ่งกำลังกินข้าวเย็นอยู่ในโรงครัวทำนองว่า ‘อะไรกัน อยู่วัดกินข้าวเย็น’ พี่เขาก็ตอบว่า ‘ต้องกินยา’ ท่านก็ว่า ‘กินยาก็ส่วนกินยา ข้าวก็ส่วนข้าว’ เวลานั้น ยายจะรีบออกไปตลาดหาซื้อของก่อนร้านปิด จึงไม่ได้อยู่ฟังต่อ …นี่เองสินะ ที่ปฏิบัติกันก็เฉพาะช่วงที่บวชกันจริง ๆ อารมณ์ ‘กินง่ายอยู่ง่าย’ ‘ไม่สนใจมื้อเย็น’ มันหายไปในพริบตา มองเผิน ๆ ก็ไม่น่าเป็นไร ก็ลาศีลแปดแล้วนี่นา ตอนถือศีลอยู่ก็ ‘ตั้งใจ’ ทำ ได้สัจจะบารมีแล้ว ปฏิบัติก็ดี ได้บุญเต็ม ๆ สารพัดกรณีอีกด้วย ยายคิดดูต่อ (นั่น สนใจเรื่องชาวบ้าน !!!) ช่วงบวช พี่เขาก็กินยาโดยไม่กินข้าวเย็น ส่วนพวกเราก็ ‘โหยหา’ มื้อเย็นแสนอร่อยกันทันที (เรื่องกินนี่ยายก็ยังมีอาการ ‘อาหารอร่อย’ ชวนกินให้ต้องอดใจอยู่บ้าง)… นี่มันแค่อาหารนะ มื้อเช้าเราก็กินได้ ไม่เห็นต้องกลับมากินที่วัดเลย มื้อเย็นเราก็ลาศีลแล้ว กินได้แล้วนี่ ทำไมต้องมาห้าม... นั่นสิ ไม่ใช่เรื่องทำสมาธิ ตั้งภาพพระ จับลมหายใจ หรือภาวนาสักหน่อย จะให้รักษาอารมณ์อะไร อย่างไร และทำไปทำไมกัน… ...ที่ยายกลัวนั่นมันคือ กิเลสเพื่อนเกลอกันนี่แหละ ถ้ายายจะเปรียบว่าเราถือขั้วไฟไว้ขั้วละมือ แล้วก็เล่นสนุก พอมันแตะช็อตกันก็สว่างกระพริบแตกพราวเป็นลูกไฟสวยตื่นเต้นดี พอไฟมันดูดเอา เราก็เจ็บก็กลัว… แต่มัน ‘ชอบ’ ตอนเป็นลูกไฟนี่นา พอเรามาบวช มาปฏิบัติธรรม เขาก็ให้เราวางขั้วไฟฟ้านั้นไว้ ไม่ไปยุ่งกับมัน พอเราลาศีลแปด เราก็รีบวิ่งแจ้นไปหยิบขั้วไฟมาแตะกันเล่นอีก เป็นอย่างนี้หรือเปล่า หรือเราจะชะลอวางมันทิ้งไว้ได้อีกสักพัก แล้วก็ฝึกไม่สนใจมัน กระทั่งไม่ไปยุ่งกับมันอีกได้ เพราะเห็นโทษของมัน (ที่จริงคราวก่อนนี้ ยายก็ได้ยินว่าลูกของน้องท่านหนึ่งทนหิวมื้อเย็นไม่ไหว กินบะหมี่สำเร็จรูปไป ยายก็ได้แต่บอกเขาว่า พยายามให้เป็นนมดีกว่าไหม… คราวล่าสุด ยายเห็นว่ามีคนมาแกะห่อบะหมี่สำเร็จรูปชงน้ำร้อนตอนกลางคืน น่าแปลก ยายมองเห็นแต่ชามกับบะหมี่ในชามที่เขากำลังลวก เพราะได้กลิ่นอาหาร แต่ยายไม่ได้สนใจดูว่าใคร แล้วไม่ได้มีอารมณ์อะไรเลย) …ตอนที่ ๓ นี้ ยายเอาเรื่องกินเรื่องเดียวดีกว่า เรื่องไม่พอใจกันในวัด เรื่องสมาธิลึกตื้น เรื่องหลับไม่หลับตอนกรรมฐาน เรื่องรักษาภาพพระไว้ได้หรือไม่ เรื่องจับลมหายใจต่อเนื่อง เรื่องรักษาอารมณ์ใจสบายหลังกรรมฐาน อะไรอย่างนี้ ดูมันเกินกว่าที่ยายจะเขียนเล่าได้… ยายอยากเพียงเตือนตัวเองและบอกพวกเราให้พยายาม ‘ฟัง’ พระอาจารย์ ให้ ‘ได้ยิน’ และ ‘เข้าใจ’ ว่าท่านเมตตา ‘บอก’ อะไรพวกเรา เชื่อว่า หากได้ยิน ‘ชัด’ แล้ว พวกเราจะเร่งปฏิบัติ แล้ว ‘รักษาอารมณ์การปฏิบัติ’ ไว้แน่นอน ไปบวชเนกขัมม์ฯ ร่ำใจให้ใส ทำไว้ได้แก้ว
ออกจากวัดแล้ว ปล่อยแก้วทิ้งไป แตกเดี๋ยวมาใหม่ กระไรนักฤๅ ?
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-09-2013 เมื่อ 03:18 |
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#45
|
|||
|
|||
อยากไปทุกครั้ง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุรีย์พร จึงสง่าสม : 18-09-2013 เมื่อ 15:25 |
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุรีย์พร จึงสง่าสม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#46
|
||||
|
||||
กราบฟังเสียงหลวงพ่อที่วัด
คราวบวชเนกขัมมะ ช่วงกฐิน ๘-๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา เป็นคราวที่พระอาจารย์ท่านว่าคนน้อยกว่าทุกคราวที่เคยจัดมา
อาจเป็นเพราะต้องลางานถึง ๓ วัน จำได้คร่าว ๆ ว่า ญาติโยมรวมพระ เณร และแม่ชีแล้ว มี ๖๐ คน และโยมบวชน้อยกว่าพระทั้งวัดอีก (ยายว่าไม่แน่นา ช่วงลอยกระทงที่จะถึงนี้ แม้ลางานเพียง ๒ วัน โยมก็อาจมาน้อยสูสีกัน หรือน้อยกว่าได้ เพราะล้าจากช่วงกฐิน และวันลาหมดอีกด้วย) และแม้พระอาจารย์จะมีกิจอันเนื่องมาจากพระครูกาญจนเขตวิมล เจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ มรณภาพลงกะทันหันในวันที่ ๘ ตุลาคม พอดี ท่านก็หมายมั่นปั้นมือจะ 'จัดเต็ม' ให้พวกเรามาก ๆ ดังที่ท่านเอ่ยปากไว้ก่อนหน้าว่า มีตั้ง ๕ วัน แบบที่ไม่ติดงานบุญหลายวัน แค่ช่วงวันกฐินที่รวบเอาตักบาตรเทโวไว้ด้วยกันวันเดียว ท่าน 'ท้า' ให้พวกเราฝึกปิดทางกิเลสจากเครื่องมือสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนยุคนี้ คือ ให้งดเล่นไลน์ เฟซบุ๊ก อินเทอร์เน็ต หรือเข้าโซเชียลทั้งหลาย สัก ๕ วัน ดูซิว่ามันจะตายไหม ...ยายเอง เสร็จมันตั้งแต่คืนแรกเลย เพราะดันห่วงงาน เข้าอ่านอีเมล์ และทำงานเลยแหละ... อนาถใจจริง... ถึงแม้ว่าวันที่เหลืออีก ๔ วัน ตั้งใจใหม่ และไม่เข้าแล้วก็ตาม ก็ถือว่า ตายไปแต่แรกแล้ว!!! (ดังที่พระอาจารย์ท่านว่าวันรุ่งขึ้นว่า แค่ท่านให้ลองนี่ ก็ตายกันระนาว ศพเกลื่อนวัด) ท่านนำกรรมฐานก่อนตีสี่ และเมตตาแบบที่ท่านว่า ใครไม่ได้มารอบนี้น่าเสียดาย ท่าน บอกหมด ...ใครทำเป็น ตั้งใจพิจารณาตามไปนี่ บรรลุกันได้เลยเชียว เรื่องคำสอนของพระอาจารย์คราวนี้ ไปหาอ่านกันได้ มีลงไว้ให้ใน 'เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ' เรื่องตามพระไปบิณฑบาต ก็ยังอุตส่าห์มีประเด็นเพิ่ม... อ้างอิง:
คงเป็นเพราะคนน้อย ไม่มีเสียงพูดคุยกันปนเข้ามา และเครื่องเสียงตรงโรงครัวไม่เงียบแบบบางคราว ทำให้ตั้งอกตั้งใจฟังได้ดีขึ้น เอาเรื่องเบา ๆ ก่อน... คืนหนึ่ง ยายได้ยินหลวงพ่อแนะนำว่า หากเราอยู่ในอุปจารสมาธิ ยุงจะไม่กัด (กำลังนึกต่อว่า แล้วที่โดนตัวริ้นคู่อริกัดเยินอยู่นี่ล่ะเจ้าคะ... ได้ยินหลวงพ่อพูดต่อว่า) พวกริ้นไรก็เหมือนกัน ...ก็ทดลองนะ ขอไม่บอกผลที่นี่ดีกว่า... เชื่อหลวงพ่อนั้นแน่นอน แต่เราไม่ได้มั่นใจตัวเองว่าผลนั่นน่ะ เพราะเราทำสมาธิแค่เบาะ ๆ นี่ไว้ได้ ๕๕๕ ระยะหลัง ๆ ยายสังเกตว่า พระอาจารย์ท่านเทศน์สอนหนัก เข้มข้นเหมือนเอ็ดแรง ๆ ให้เร่งปฎิบัติบ่อย ๆ... เรานึกว่าเออหนอ พระอาจารย์ท่าน ปากเปียกปากแฉะ อดทน ทรมานสังขาร อบรมสั่งสอนพวกเรา แม้ตามที่เรียกได้ว่าเกือบไม่เห็นหนเลย ว่าพวกเราจะตั้งใจปฏิบัติกันมากน้อยเพียงไร ยายกราบขอขมาทุกท่าน ที่กล่าวเหมารวมเช่นนี้ ขอให้อโหสิแก่ยายด้วย แต่สาเหตุที่ทำให้ยายกล่าวเช่นนี้ก็มีอยู่ ดังเช่นตัวอย่างข้างต้น เรื่องที่คิดว่าทำง่าย ๆ แบบที่ท่านพูดแล้วพูดอีกอย่างเรื่องที่โยมตามไปบิณฑบาตก็ยังมีประเด็นอยู่ (ขนาดโยมน้อย ๆ แล้วนะ) ...แถมมีประเด็นใหม่ั้กั้นถนนให้พระด้วย กลับไปทวนว่า ก็เรามันพวก 'เนยยะ' ตามสมัยนิยม จะฟังทีเดียวให้รู้เรื่อง ก็กรรมทำมา ให้ยังมีกำลังไม่พอสู้กิเลส ถูกกิเลสมันปัดเป๋ไม่เป็นท่าได้เรื่อย ๆ เอ... แล้วต้องทำอย่างไรกันล่ะ (ถามอีกแล้ว... ครูบาอาจารย์ท่านก็เมตตา 'สั่งสอน' อยู่ สามารถหาอ่าน หาฟัง ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน ที่ท่านแนะนำไว้นะ ทำให้จริงสักเรื่องเถอะ) ...ได้แต่พยายาม (ยังไม่มากพอแน่ ๆ !!!) 'ปฏิบัติ' ให้ได้ขณะที่ใช้ชีวิต และให้ได้ 'ทุกลมหายใจ' ค่ำหนึ่ง ก็ได้ยินเสียงหลวงพ่อท่านว่า บุคคลประเภท เนยยะ นั้น ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นอริยะได้ เข้าถึงได้เพียงไตรสรณคมน์... เรื่องนี้ ได้นำไปกราบเรียนถามพระอาจารย์ และได้คำตอบตามนี้ อ้างอิง:
อ้างอิง:
อ้างอิง:
*** ช่างน่าสะท้อนใจนัก ***
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 16-11-2014 เมื่อ 22:28 เหตุผล: ไลน์ - เป็นศัพท์เฉพาะของผู้ให้บริการ, เฟซบุ๊ก อินเทอร์เน็ต - เป็นศัพท์บัญญัติแล้ว |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#47
|
|||
|
|||
ไปบวชเนกขัมมะที่วัดท่าขนุน จะรู้สึกมีพลัง ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย แปลกมาก เหมือนได้พัก แล้วก็ตื่นเช้ามืดได้ปฏิบัติความดี ชอบตรงนี้แหละค่ะ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-11-2014 เมื่อ 02:18 |
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุรีย์พร จึงสง่าสม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#48
|
|||
|
|||
ชอบทุกอย่างค่ะ อยากไปทุกเดือนเลย
|
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กุลพร ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#49
|
||||
|
||||
ขอแบ่งปันความรู้สึกจากการไปบวชเนกขัมมะนะครับ
ผมรู้สึกตลอดเวลาว่า "หลวงพ่อเล็กท่านสอนหมดไส้หมดพุง สอนแม้กระทั่งการกิน (ท่านสอนพระที่บวชใหม่ว่า อย่าก้มหน้ากิน ฯลฯ) และท่านไม่เคยหวงวิชา ท่านย้ำเสมอว่า อนุญาตให้วัดรอยเท้าท่านได้" โดยส่วนตัว ผมไม่กล้าถามหลวงพ่อ เพราะลึก ๆ "ผมกลัว" ผมชอบใช้วิธี "สังเกตว่าท่านทำอะไร" จำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ก็พยายามจำมาเลียนแบบ โดยเฉพาะ เมื่อหลวงพ่อเล็กท่านอนุญาตให้วัดรอยเท้า ผมก็ลองวัดรอยเท้าโดยพยายามชวนคนมาทำบุญที่วัดท่าขนุนให้มาก ๆ จะเป็นคนดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้าเขาตัดสินใจมาวัด ผมถือว่าตั้งใจทำดี สิ่งที่ผมเชื่อมั่นเสมอในสิ่งที่หลวงพ่อเล็กทำ คือ การอบรมคนไม่ดีให้กลายเป็นคนที่ตั้งใจเอาดี (ส่วนจะเอาดีแค่ไหนก็แล้วแต่วาสนาของแต่ละคน) ผมเชื่อว่า การดึงคนไม่ดีหรือคนที่กำลังจะเป็นคนไม่ดีเข้าสู่กระแสบุญ จะเป็นการตัดกำลังฝ่ายที่ไม่ดี เพราะถ้าเราไม่ชวนคนมาทำดีให้มาก ๆ ฝ่ายไม่ดีก็จะมีกำลังมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะทำให้ฝ่ายที่ตั้งใจทำดีลำบากและคนดีจะเดือดร้อน การที่ผมตั้งใจจะชวนคนมาวัดท่าขนุนให้มาก ๆ ไม่ใช่เพราะต้องการโปรโมทวัดท่าขนุนหรือหลวงพ่อเล็ก แต่ผมเชื่อว่า ทุกวันนี้ มีสถานที่หลายแห่งสอนผิดและมีหลาย ๆ คนเดินตามทางคนผิด ดังนั้น ผมก็ชวนคนในพื้นที่ของผม (พลังจิตและเฟซบุ๊ก) ส่วนใครจะมาวัดท่าขนุนหรือไม่ก็เรื่องของเขา หากเขามีวาสนากับหลวงพ่อเล็ก ก็คงเป็นดังที่ท่านเคยตอบว่าเป็น "วาระกรรมของพระอาจารย์ (หลวงพ่อเล็ก)" ผมคิดว่า ในเมื่อหลวงพ่อพูด ๑ ครั้ง มีคนฟัง ๕๐ คน ถ้าผมชวนคนมาฟังเพิ่มได้อีก ๑ คน หลวงพ่อก็ไม่ต้องมาพูดเรื่องเดิมซ้ำให้คนอีก ๑ คนฟัง ผมไม่รู้ว่า หลวงพ่อจะอยู่กับพวกเรานานแค่ไหน และผมก็ไม่รู้ว่า ผมจะอยู่ได้นานแค่ไหน แต่ ณ วันนี้ หลวงพ่อยังสอนพวกเราได้อยู่ และผมยังมีแรงชวนคนได้อยู่ ผมก็ตั้งใจทำในสิ่งที่ผมถนัด คือ การชวนคน ส่วนหน้าที่เรียนรู้ ผมคิดว่า ทุก ๆ คนจะต้องศึกษาด้วยตนเองก่อน แล้วค่อยไปถามหลวงพ่อ และหลาย ๆ เรื่องก็ไม่ควรไปถามท่าน เพราะค้นในเว็บวัดท่าขนุนก็เจอคำตอบที่เราอยากถามและท่านเคยตอบแล้ว ก็ขอแบ่งปันประสบการณ์เพียงเท่านี้ครับ
__________________
ร่วมรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เริ่มต้นได้ด้วยตัวคุณเอง แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชยาคมน์ : 09-11-2014 เมื่อ 21:53 |
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชยาคมน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน ) | |
|
|