|
ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#201
|
|||
|
|||
สัตว์ป่าคุ้นกับพระกรรมฐาน “...กลางคืนดึกสงัด ฟังเสียงนกยูงร้อง กลางวี่กลางวันไม่เคยเห็นตัวมันนะ เราเห็นสักครั้งสองครั้งเท่านั้น ‘มั้ง’ นกยูงนะ ไม่เจอมันบ่อยนักเหมือนสัตว์อื่น ๆ พวกหมู พวกอีเก้งนี้เจอบ่อย บางทีมันก็จุ้นจ้าน ๆ มาทางจงกรม มันไม่กลัวคน มันมาอาศัยคน มาอยู่รอบ ๆ คน เดินจงกรมอยู่มันก็มาหากิน พวกหมู พวกอีเก้งนี้คุ้นง่ายนะ คุ้นง่ายมากเทียว มันมาเหมือนสัตว์บ้านมาหาเรา หาขุดอะไรกิน ซู้ด ๆ ซี้ด ๆ มา เราก็เดินจงกรมเฉย ... เขาก็ไปของเขา ทั้ง ๆ ที่เขาก็เห็นเราอยู่ เขาไม่สนใจนะ นั่นเห็นไหม.. พระกับโยมผิดกัน .. เรื่องลิง นี่เรายังไม่ลืมนะ เขาจะออกหากินเวลากลางคืน คือกลางวันคนทำลายเขา เขาไม่ออก กลางวันเงียบเลย กลางคืนเขาออกหากิน เราเดินจงกรมอยู่กลางคืนเงียบ ๆ เดือนหงาย ๆ เราไม่ได้จุดไฟนี่ เดือนหงาย ๆ ในดงนะ ดงหนาป่าทึบ ฟังเสียงเขามานี่ โถ!.. เสียงลั่นมาเลยเพราะเป็นฝูงใหญ่ ใหญ่มากนะ ลิง.. เขามีหัวหน้าพามา มันมีต้นไม้ต้นหนึ่งที่บนทางจงกรมเรานี่ ผลไม้มันสุกเต็มเลย เขามากินนี้ทุกคืน แต่ทุกคืนเราไม่ให้เขาเห็น คืนนั้นเราลองแสดงตัวให้เขาเห็น ว่าเขาจะตาดีไหมในเวลากลางคืนนะ โอ๊ย !... ลิงนี่ตาดีนะ กลางคืนนะ ออกคืนวันที่เราจะแสดงตัวให้เขารู้ เรื่องของเขานั่น เรานิ่ง ๆ อยู่ข้างต้นไม้นี่วะ นิ่ง !.. เขามาเต็มไปหมด แต่เวลาเราจะกระดุกกระดิก พลิกอะไรนี่ ต้องกะว่าเขากินอิ่มก่อนนะ ไม่ ‘งั้น’ เดี๋ยวเขาเผ่นไม่ได้กินอิ่มล่ะ เราต้องกะระยะพอดีเขากิน พอมีตัวไปบ้างก็มี... ที่นี้เราก็กระดุกกระดิกนี่ พอหัวหน้าร้อง ‘จิ๊ก’ ที่เดียวเท่านั้นนะ นอกนั้นเงียบหมดเลยนะ เงียบเหมือนไม่มีลิงสักตัวเดียวแหละ ลิงทั้งฝูงใหญ่ ๆ นะ นั่นนะเพราะมีหัวหน้า มีหัวหน้าเตือนเอา เราเลยนิ่งอีกละ จนกระทั่งนานแล้วก็มีเสียงหัวหน้า ‘ค็อก ๆ แค็ก ๆ’ แต่พอได้ยิน เสียงตัวหนึ่งดังขึ้น ตัวหนึ่งก็ดัง ที่นี้ออกนะ ออก..ต่างตัวต่างไปเลยนะ แสดงว่าเขาก็อิ่มแล้ว เพราะเราทำนั้น ทำเวลากะว่าเขาอิ่มแล้วเขาไป เขามีหัวหน้าเหมือนกัน ลิง ฝูงลิงมีเยอะนะ กลางวันนี้ไม่เห็นแหละ เขาไม่ออก คือพวกมนุษย์นี้มันยักษ์นี่นะ ยักษ์หูสั้น มันกินดะไปเลย มนุษย์นี่.. ลิงก็ไม่เลือก นี่กลางวันเขาจะไม่ออกหากินนะ ตอนกลางคืนเงียบ ๆ ดึก ๆ เขาถึงจะออกนะ กลางวันไม่เห็นแหละ เขาไม่ออก ต้องสองทุ่มไปแล้วถึงจะออก...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-10-2013 เมื่อ 14:56 |
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#202
|
|||
|
|||
ยอดนักรบ หลวงปู่มั่นท่านเป็นแบบอย่างของพระธุดงค์กรรมฐานในทุก ๆ ด้าน ความสมบุกสมบันและความทุกข์ทรมานในการเสาะแสวงหาธรรมของหลวงปู่มั่นนั้น ไม่มีองค์ใดในสมัยปัจจุบันจะเทียบเทียมได้ ดังนี้ “...เรื่องความทรมานใครจะไปเกินหลวงปู่มั่น ความทรมานเรามาพูดนี้ขี้ปะติ๋วนะ เราจะไปเทียบกับหลวงปู่มั่นไม่ได้เลย มันคนละโลก ท่านทรมานมากยิ่งกว่าเรา ไปอยู่ในป่าในเขา ที่ไหนที่ลำบากลำบนท่านไปอยู่ทั้งนั้น อย่างเช่นนาหมีนายูง เป็นต้น นาหมีนายูงเดินเข้าไปนั้นมันใกล้เมื่อไร ... มีแต่ดงแต่ป่า พวกสัตว์พวกเสือพวกเนื้อเต็มไปหมด ไปบิณฑบาตเอาไม้ลำเท่านี้ละ..เป็นไม้เท้า เขาวิตกวิจารณ์กลัวแทนท่าน ไปบิณฑบาตมาจากภูเขา ท่านก็ค่อยมาของท่านแหละ ทีนี้พวกสัตว์ พวกเนื้อพวกเสือเต็ม หมีเต็ม เขาก็เลยทำไม้เท้าให้ สับแล้วให้ท่านเดินไป สับเท้าป๊อกแป๊ก ๆ แล้วเคาะนั้นเคาะนี้ไป กลัวจะไปเจอหมี ท่านว่างั้นนะ เขาบอกว่ากลัวจะเจอหมี หมีเจอคนมันมักจะทำลายคนเสียก่อน มาตบกัดแล้วไป ส่วนเสือไม่ได้พบ เพราะเสือสติดี ไม่พบมันง่าย ๆ ไม่วิตกวิจารณ์อะไรกับเสือ แต่กับหมีนี้เป็นได้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-10-2013 เมื่อ 17:24 |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#203
|
|||
|
|||
หลวงปู่มั่นว่า เขาทำให้เราก็ถือไปอย่างนั้นแหละ ลำบากลำบนมาก ไปบิณฑบาตทีเป็นเดือน ฉันแต่ข้าวเปล่า ๆ ทั้งนั้น คือเขาว่ากรรมฐานนี้ท่านฉันถั่วฉันงา เขาไม่มีถั่วมีงา เขาก็ไม่ใส่บาตรให้ มีแต่ข้าวเปล่า ๆ เขาเอาข้าวเปล่า ๆ ใส่บาตรให้ เราก็ฉันแต่ข้าวเปล่า ๆ มันไม่มีถั่วมีงา ความคิดเห็นของเขาเป็นอย่างนั้น เขาว่าพระกรรมฐานท่านฉันแต่ถั่วแต่งา เขาไม่มีถั่วมีงาก็เอาข้าวเปล่า ๆ ให้เป็นเดือน ท่านว่านั่น..เห็นไหม ? ทรมานไหม ?
เรื่องความกลัวนี่ รู้สึกท่านจะไม่กลัวนะ ไปอยู่ได้หมดเลย ที่ไหนได้หมด มีแต่สถานที่เป็นภัยเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ร้าย ท่านอยู่ทั้งนั้นแหละ ... แต่ก่อนกรรมฐานนี้เหมือนกับเป็นของแปลกของปลอม สัญจรมาจากที่ต่าง ๆ พวกเจ้าถิ่นก็คือประเพณีบ้านเมือง ที่ลูบคลำกันไป ไม่มีหลักมีเกณฑ์มีเหตุมีผลอะไร อันนี้เป็นหลักใหญ่ขึ้นมา กลายเป็นประเพณีบ้านเมือง ... พวกนี้ก็เห็นอันนั้นเป็นของปลอมไปเสีย ฟัดกันนะ... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-10-2013 เมื่อ 16:36 |
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#204
|
|||
|
|||
หลวงปู่มั่นสมบุกสมบันมากทีเดียว ถูกรบถูกรานทุกแบบทุกฉบับ ถูกขับถูกไล่หาว่าเป็นพระป่าพระรกมาจากทิศใดแดนใด ... มันขับไล่ ข้างนอกว่าเป็นของแปลกของปลอม ถูกขับถูกไล่ ... ทั้ง ๆ ที่ถือศาสนาพุทธ มันก็เป็นแบบกิเลสไปเสียทั้งหมด พุทธที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าไม่มี พุทธที่แท้จริงก็อย่างที่หลวงปู่มั่นเอาออกมา นั่นแท้จริง แต่ก็เป็นของปลอมไปในขั้นเริ่มแรก ครั้นต่อมาก็ค่อยเข้าอกเข้าใจ ก็ค่อยยอมรับกันไป ๆ ...
อำนาจของหลวงปู่มั่นของเล่นเมื่อไร ท่านทำประโยชน์ให้โลกอย่างเงียบ ๆ ตลอดมา สมท่านเป็นผู้สงบเงียบทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีเรื่องมีราวกับใคร หลวงปู่มั่นไม่มี ถูกขับถูกไล่ไปไหนก็ถูก แต่ท่านไม่มีกับใคร ท่านก็ไปของท่านสบาย ๆ อย่างนี้ ... ไปที่ไหนเขาเรียกเป็นพระจรจัดตลอด เสือเย็นนี้พวกป่าว่าให้ท่าน พวกบ้านว่าอีกแบบหนึ่งไล่ขับหนีนะ แม้ที่สุดพวกคณะเดียวกันก็ยังขนาบกันว่ากัน..หลงยศ ... นี่ละท่าน สมบุกสมบันมากขนาดไหน เราอย่าเอามาพูดเลยเรื่องราวของเรา เมื่อเกี่ยวกับท่านแล้วล้มไปเลยเรื่องเรา ท่านเป็นประจำ แต่ก่อนท่านบุกเบิกกรรมฐาน ท่านเป็นองค์แรกไปเลย เราเดินตามท่าน ท่านเป็นกรรมฐานท่านเดินหน้า ทุกข์ยากลำบากทุกอย่างอยู่กับท่านหมดนั่นแหละ นั่นละได้ธรรมมาสอน...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-10-2013 เมื่อ 17:34 |
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#205
|
|||
|
|||
ความอดทนพากเพียรเพื่อให้ได้ธรรมมาสอนศิษย์ของหลวงปู่มั่น จึงเป็นแบบอย่างและกำลังใจแก่พระกรรมฐานรุ่นต่อ ๆ ไปได้อย่างไม่มีวันจืดจาง ย้อนมากล่าวถึงความจริงจังในการปฏิบัติของท่านเอง แม้จะทุกข์แสนทุกข์ แม้จะลำบากแทบเป็นแทบตาย บางครั้งแทบจะเอาชีวิตไม่รอด แต่ความที่จิตมีความเจริญขึ้น ๆ ท่านจึงยอมอดยอมทน.. ได้ความทุกข์ยากหลังจากการออกวิเวก
ในคราวหนึ่งเมื่อลงมาจากเขา พอกลับมาถึงวัดป่าบ้านหนองผือก็เข้ากราบหลวงปู่มั่น รูปลักษณ์ของท่านตอนนั้น ปรากฏว่ามีเนื้อตัวซีดเหลืองเหมือนทาขมิ้น ปานผู้ป่วยเป็นโรคดีซ่าน ทั้งร่างกายก็ซูบผอมยังเหลือแต่หนังห่อกระดูก จากเดิมคนหนุ่มอายุ ๓๐ กว่ากลับดูเหมือนคนแก่คนเฒ่า หลวงปู่มั่นมองเห็นลูกศิษย์ในคราวนี้ ถึงกับตกตะลึงขนาดอุทานว่า “โฮ้!.. ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ ?” แต่ลูกศิษย์ก็ยังคงนิ่งอยู่ไม่ได้ตอบอะไร หลวงปู่มั่นเกรงศิษย์จะตกใจและเสียกำลังใจ ก็กลับพูดให้กำลังใจในทันทีนั้นว่า “มันต้องอย่างนี้ซิ จึงเรียกว่านักรบ” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-10-2013 เมื่อ 10:32 |
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#206
|
|||
|
|||
เราไม่ใช่.. พระเวสสันดรนะ !!! คราวหนึ่งของการออกวิเวกในป่า ท่านไม่ออกฉันอาหารเป็นเวลาหลายต่อหลายวันเข้า จนเป็นที่ผิดสังเกตของชาวบ้าน ถึงขนาดหัวหน้าบ้านต้องตีเกราะประชุมลูกบ้านพากันไปดู ก็พบว่าท่านอยู่เป็นปกติ แต่ก็ดูซูบซีดผ่ายผอมมาก เหตุการณ์ตอนนี้ท่านเล่าว่า “... กระทั่งชาวบ้านเขาแตกบ้านไปดู เรายังไม่รู้อีกว่าเจ้าของจะตาย แต่ชาวบ้านเขารู้ เขาตีเกราะประชุม เคาะก็อก ๆ พวกลูกบ้านก็พากันมาประชุม ‘ใคร ๆ ว่ายังไง ? ใครเห็นว่ายังไง พระองค์นี้ที่มาอยู่บ้านเราเวลานี้ มาได้หลายเดือนแล้วนะ พระองค์นี้มาอยู่ที่นี่ ตั้งแต่มาไม่ได้เห็นมาบิณฑบาต หกวันเจ็ดวัน.. ด้อม ๆ มาสักวันแล้วหายเงียบ หายมาอย่างนี้ตลอด ท่านไม่ตายแล้วเหรอ ? พวกเรากินวันหนึ่งสามมือสี่มื้อยังทะเลาะกันได้ ทะเลาะเพราะไม่มีอาหารกิน มันกินข้าวเปล่า ๆ ไม่ได้ มันทะเลาะกัน แต่นี่ท่านไม่เห็นกินเลยนี่ ท่านไม่ตายแล้วเหรอ ?’ ผู้ใหญ่บ้านถามลูกบ้าน ‘ถ้าท่านไม่ตาย ท่านไม่โมโหโทโสอยู่เหรอ ? ไปดูซิ เราก็ไม่เคยเห็นตั้งแต่เกิดมา พระไม่กินข้าว’ เขาก็พูดขนาดนั้นละ ‘เราก็ไม่เคยเห็นพระไม่กินข้าว เพิ่งเห็นนี่แหละ ลองไปถามท่านดูซิ แต่มีข้อแม้อันหนึ่งนะ’ เขาก็ฉลาดพูดอยู่ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-10-2013 เมื่อ 16:15 |
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#207
|
|||
|
|||
‘เวลาจะไปต้องระวังนะ พระองค์นี้ไม่ใช่พระธรรมดานะ พระองค์นี้เป็น.. มหานะ’ เขาว่า ‘แล้วไป..เดี๋ยวท่านจะเขกหน้าผากเอานะ ไปสู้ท่านไม่ได้ ท่านจะเขกหน้าผากเอานะ ให้ระวังนะ ถ้าเป็นพระธรรมดา เราก็พอจะพูดอะไรต่ออะไรกันได้ นี่ท่านเป็นมหาเสียด้วย ท่านทำอย่างนั้นนี่นะ เราไปว่าสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้นะ เดี๋ยวท่านจะตีหน้าผากเอา’ เขาเตือนลูกบ้านเขา
พอมาถึง เราก็เอาจริง ๆ หลั่งไหลกันมานี่ ‘โอ้โฮ.. นี่มาอะไรนี่ จะมาแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองเหรอ ? อาตมาไม่ใช่พระเวสสันดรนะ’ ‘ไม่ใช่ ๆ’ ‘อย่างนั้นมาอะไร ?’ เขาก็มาเล่าตามเรื่องนี่แหละให้ฟัง มันก็มีอยู่สองจุด จุดหนึ่งว่า ‘ท่านไม่ตายแล้วเหรอ ? ถ้าท่านไม่ตาย ท่านไม่โมโหโทโส อยู่เหรอ ?’ พอเขาพูดจบลง เราก็มีอยู่สองจุด เราก็ถาม ‘แล้วเป็นยังไง ? ตายแล้วยังล่ะ ?’ ‘เอ๊.. ก็ไม่เห็นตาย ท่านยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ ไม่เห็นมีอะไรน่าตาย’ ‘แล้วเป็นยังไง โมโหโทโสอยู่ไหม ?’ ‘ก็ไม่เห็นท่านโมโหโทโส ท่านยิ้มแย้มอยู่ตลอดเวลา’ ‘เอาละ ให้เข้าใจนะ การอดอาหารนี่.. อาตมาอดไม่ใช่เพื่อฆ่าตัวเองนะ อดเพื่อฆ่ากิเลส ซึ่งมันฆ่ายาก กิเลสนี่ มันอยู่ภายในหัวใจนี่ ต้องใช้การอดอาหารช่วย แล้วความโมโหโทโสก็เป็นกิเลส จะโมโหโทโสไปหาประโยชน์อะไร มีเท่านั้นเหรอ ?’ ‘มีเท่านั้นแหละ’ ‘ไป’ ไล่กลับ ยังไม่ถึงสิบนาทีนะ.. ไล่กลับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-10-2013 เมื่อ 11:13 |
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#208
|
|||
|
|||
มีครั้งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการอดอาหาร ในระยะที่ท่านยังคงออกวิเวกบำเพ็ญเพียรอยู่ คือในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีอุบาสกมาพูดอวดภูมิต่อท่าน อุบาสกผู้นี้เคยบวชเรียนมาก่อนหลายพรรษา และมีความรู้จบนักธรรมตรี จึงมีความคุ้นเคยกับชีวิตพระพอสมควร
แกเห็นท่านอดอาหารมาหลายวันแล้ว รู้สึกคัดค้านอยู่ในใจว่าไม่เห็นประโยชน์อันใด นอกเสียจากจะทำให้ทุกข์ยากลำบาก และเสียเวลาโดยเปล่าเท่านั้นเอง วันหนึ่งแกเลยยกเรื่องในพุทธประวัติมาพูดกับท่านว่า “ท่านจะอดทำไม ? ก็ทราบในพุทธประวัติว่า พระพุทธเจ้าอดข้าวตั้ง ๔๙ วันก็ยังไม่ได้ตรัสรู้เลย แล้วท่านมาอดอะไร มันจะได้ตรัสรู้หรือ ?” ในเรื่องนี้ท่านก็เคยรู้เคยศึกษาในตำรามาก่อนแล้วว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุอดอาหารเพื่อบำเพ็ญจิตตภาวนาได้ แต่หากเป็นไปเพื่อการโอ้อวด ท่านทรงปรับอาบัติทุกขณะการเคลื่อนไหว หรือการอดอย่างหาเหตุหาผลไม่ได้ คือสักแต่ว่าอดเพียงอย่างเดียวเท่านั้นโดยไม่ฝึกฝนด้านจิตตภาวนาเลย อย่างนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด นอกเสียจากทำให้ทุกข์ยากลำบากเปล่าเท่านั้น แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-10-2013 เมื่อ 10:11 |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#209
|
|||
|
|||
การอดอาหารของท่าน มีความหมายตามตำราที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ด้วยเหตุผลคือ ท่านสังเกตพบว่า จริตนิสัยของท่านนั้นถูกกับการอดอาหาร เพราะช่วยให้การบำเพ็ญจิตภาวนา เจริญขึ้นได้เร็วกว่าขณะที่ออกฉันตามปกติ
ท่านได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และเห็นผลประจักษ์กับตนเองเป็นลำดับไปเช่นนี้ ทำให้ท่านจึงยังมั่นคงที่จะใช้อุบายวิธีนี้เพื่อการภาวนา และถึงแม้จะมีผู้มาพูดคัดค้านต้านทานอย่างไร ก็ไม่ทำให้ท่านลังเลใจคิดเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ ครั้นจะอธิบายเหตุผลให้เป็นที่เข้าใจ ก็ดูว่าเป็นเรื่องยืดยาวเสียเวลาโดยเปล่า เหตุนี้เอง ท่านจึงชอบที่จะตอบเป็นอุบายให้ได้นำไปคิดอ่าน สำหรับอุบาสกผู้นี้ก็เช่นกัน ท่านตอบกลับไปว่า “แล้วโยมกินทุกวันหรือ ?” “กินทุกวันนะซิ ผมไม่อดหรอก” ว่าดังนั้นแล้วท่านก็พูดใส่ปัญหาแก่อุบาสก ผู้เข้าใจว่าตัวรู้เรื่องในตำราเป็นอย่างดีว่า “.. แล้วโยมได้ตรัสรู้ไหม ???...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-11-2013 เมื่อ 09:32 |
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#210
|
|||
|
|||
อินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕ “... ธรรมทั้ง ๕ ข้อ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา คือหลักธรรมทางดำเนินเรียกว่า อินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕ ก็ได้ อินทรีย์ความเป็นใหญ่ พละคือกำลัง ... นักปฏิบัติจงพยายามบำรุงศรัทธาความเชื่อในธรรม และสมรรถภาพคือความสามารถของตนเอง วิริยะ เพียรให้พอ สมาธิ ความสงบจะปรากฏเป็นผลขึ้น และพยายามบำรุงสมาธิให้เพียงพอ สติกับปัญญาเป็นพี่เลี้ยง .. จงพยายามบำรุงเหตุที่ได้อธิบายมานี้ให้เพียงพอ ผลซึ่งจะเกิดขึ้นจากเหตุนั้นจะไม่มีอะไรบังคับไว้ได้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-11-2013 เมื่อ 16:44 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#211
|
|||
|
|||
บิณฑบาตได้ปลาร้าดิบ “...เราได้พักอยู่ถ้ำอะไรลืมแล้วแหละ ตาคนหนึ่งเขาย้ายครอบครัวออกมาจากบ้านใหญ่มาอยู่ จะว่าตีนเขาก็ไม่ผิดละ ลงมาถึงที่นั่น ๓ กิโลกว่า บ้านใหญ่เขาจะ ๔ กิโลกว่าละ อันนี้มันติดของมันเองก็จำได้เอง เขาว่า ‘ไหน..บิณฑบาตได้อะไรบ้างไหม ? ไหน..ขอดูบาตร’ พอเปิดดูบาตรขึ้นร้องก๊ากเลย ‘โอ๊ย ไม่มีอะไร เอ้า.. สูตำ’ เราขบขันจะตาย เขาก็ตำน้ำพริก แล้วก็เอาทัพพีไปตักเอาปลาร้าดิบในไหมาใส่ครก มีพริกมีอะไรใส่แล้วก็โขลก ‘ปุ๊บปั๊บ ๆ’ ‘เอา สูเร่ง’ เราก็ขบขันดีนะ ใส่ ‘ปิ๊งปั๊ง ๆ’ เสร็จแล้วก็ใส่ห่อ เอาใบตองมาห่อ พอห่อเสร็จแล้วก็มาใส่บาตร ก็เราเห็นอยู่นี่ ปลาร้าดิบจะฉันได้ ‘ยังไง’ เราไม่มีตาปะขาว ไม่มีเณร ไม่มีญาติโยมจะทำให้สุกได้ ‘ยังไง’ ก็รู้อยู่แต่เอาน้ำใจเขา ไม่ใช่อะไรนะ รออยู่นั้น พอเสร็จแล้ว เขาก็เอามาใส่ ‘ปั้วะ’ ลงไป ‘เฮ้อ.. อย่างนี้ค่อยยังชั่วหน่อย’ เราไม่ลืมนะ เขาดีใจเขา เขาได้ใส่บาตร เขาไม่ได้คำนึงเรื่องของธรรมวินัยเรา แต่เรามีวินัย อะไรผิดวินัยก็รู้อยู่ แต่พูดก็จะเสียน้ำใจเขา เราเอาน้ำใจเขา มีอะไร ๆ ก็รับให้จะเป็นอะไรไป ใส่บาตร ‘ปุ๊บ’... ปลาร้าที่แกตำใส่มามันเป็นปลาร้าดิบ เราก็อยู่คนเดียวในป่าจะทำสุกเองก็ไม่ได้ พระวินัยห้าม อันโตวุฏฐะ อันโตปักกะ สามปักกะ มีสาม คือท่านละเอียดลออ ไม่ให้นำอาหารไปเก็บไว้ภายใน เช่น ในกุฏิ อันโตวุฏะฐะ อันโตปักกะ สามปักกะ คือไม่ให้ทำสุกเอง ห้ามไม่ให้พระทำ เรื่องราวเป็นอย่างนั้น...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-11-2013 เมื่อ 14:09 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#212
|
|||
|
|||
ให้มหาไปองค์เดียว ใครอย่าไปยุ่งนะ หากพิจารณาถึงความสะดวกใจอย่างแท้จริงในการออกวิเวกแต่ละครั้ง ๆ ขององค์หลวงตานั้น ท่านปรารถนาจะหาที่สงบสงัดอยู่โดยลำพังเท่านั้น เพราะสะดวกต่อการภาวนามากกว่า เป็นความเพียรอยู่ตลอดเวลา ส่วนการไปวิเวก ๒ คนขึ้นไปนั้น ท่านเปรียบเสมือนน้ำไหลบ่า มันขัดมันข้องอยู่ในตัว เพราะต้องระมัดระวังกันและกัน ต้องคอยดู คอยห่วง คอยรับผิดชอบกันอยู่ในตัว ดังนี้ “...ไปที่ไหนไปแต่องค์เดียว เป็นความเพียรตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งถึงหลับ เดินจงกรมจากหมู่บ้านนี้ไปหมู่บ้านนั้น เดินจงกรมทั้งนั้นนะ เป็นความเพียรตลอดอยู่นั้น ก็เวลาไหนมันเผลอจากความเพียร พรากความเพียรนี้ที่ไหน นี่เป็นตามนิสัยของเจ้าของมันเป็นอย่างนั้น แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-11-2013 เมื่อ 10:13 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#213
|
|||
|
|||
มาอยู่กับหมู่กับเพื่อนนี้เป็นความจำเป็นก็อยู่เสีย เช่นอย่างมาอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นในพรรษา เราต้องดูแลหมู่เพื่อน ต้องกังวลวุ่นวายนั่นนี่เป็นธรรมดา ทั้งเพื่อการอบรมศึกษาของเราเองอีก แต่ก็ทนเอา ... ครั้นพอออกจากนั้นแล้วถึงได้ดีดผึงเลย เพราะฉะนั้นท่านถึงรู้นิสัยละซิ ว่าพอรู้ว่าเราจะไป ท่านก็ถาม
‘ไปกับใคร ?’ ‘ไปองค์เดียวครับกระผม’ ‘เออ ท่านมหาไปองค์เดียว ใครอย่าไปยุ่งท่านนะ’ ท่านรู้ทันทีนะ ‘ให้ท่านไปองค์เดียวนะ ท่านมหา’...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-11-2013 เมื่อ 09:45 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#214
|
|||
|
|||
มีบางครั้งเหมือนกันที่หลวงปู่พูดหยอกเล่นกับท่าน เช่นในเวลาที่ท่านขอลาวิเวก ทั้ง ๆ ที่องค์ท่านก็ทราบดีว่านิสัยของท่านจริงจังขนาดไหน แต่เวลาจะไปจริง ๆ เข้าท่านก็พูดหยอกเล่นด้วยความเมตตาว่า
“เอาให้ดีนะ” การเลือกสถานที่ภาวนาในเวลาท่านออกวิเวกนั้น เพื่อให้สะดวกต่อการบำเพ็ญเพียรท่านมักถือปฏิบัติดังนี้ “... มักเลือกสถานที่ภาวนาโดยสักเกตดูว่า หมู่บ้านไหนมีบ้านสัก ๓ - ๔ หลังคาเรือนบ้าง ๙ - ๑๐ หลังคาเรือนบ้าง จะได้ข้าวปลาอาหาร ขนมคาวหวานชนิดไหนมากน้อยเพียงใด ไม่เป็นเรื่องวิตกกังวลแต่อย่างใด การขบการฉันก็พอเป็นเครื่องยังชีพ ให้มีชีวิตเป็นไปเพื่อประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ก็เอาแล้ว.. ก็เอาแล้ว ไม่เห็นแก่รสชาติ ไม่เห็นแก่ร้อนหรือเย็น ยิ่งกว่าความเจริญก้าวหน้าทางจิตใจ... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-11-2013 เมื่อ 18:38 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#215
|
|||
|
|||
ท่านสอนให้ไปอยู่ในป่าในเขาในที่ไหน ๆ ที่เปลี่ยว ๆ คนเราไม่มีที่พึ่งก็มาหวังพึ่งตัวเองละซี ทีนี้จิตก็ย้อนเข้ามา ก็อาศัยพ่อแม่ครูบาอาจารย์เรานี่ละเป็นหลัก ไปอยู่โน้นก็ออกเที่ยว ถ้าอยู่แถวใกล้เคียงประมาณสัก ๑๕ หรือ ๑๖ กิโลนี้ก็มากลับได้ ถ้าไปอยู่ไกลก็นาน ๆ ต้องเป็นเดือนหรือเดือนกว่า ๆ ถึงจะมาทีหนึ่ง... มันไกล
เช่นอย่างมาทางอำเภอวาริชภูมิกับหนองผือมันไกลนี่ เดินทางนี้ต้องค้างคืนหนึ่งกว่าจะไปถึง รถราไม่ต้องไปถามหามัน ไม่คิดถึงมันละ แต่ก่อนถ้ามาอย่างนี้แล้ว ต้องนาน ๆ ถึงจะได้กลับไปทีหนึ่ง เป็นเดือนสองเดือน ถ้าอยู่แถวใกล้เคียง ๑๔ - ๑๕ กิโลนี้ อยากมาวันไหนเวลาไหนก็มา เพราะข้อข้องใจเกิดขึ้นแล้วอยู่ไม่ได้แหละต้องมา พอฉันเสร็จแล้วก็ล้างบาตร เก็บบาตรแล้วก็บึ่งเลยคนเดียว ไปถึงโน้นก็ประมาณสัก ๑๑ โมงเช้า พอตอนบ่ายโมงบ่ายสองโมง ท่านก็ออกจากที่แล้วขึ้นหาท่าน มีธุระอะไรก็ทำเสียก่อน อยากจะกลับไปที่พักเราเมื่อไรก็ช่าง บางทีจนกำลังมืดค่อยไป ก็ภาวนาไปนี่ ไปคนเดียว เสือก็เยอะนะ แต่มันไม่สนใจยิ่งกว่าการภาวนา สนใจกับการภาวนานี้ มันดงทั้งนั้นนี่หนองผือ แถวนั้นมีแต่ดงทั้งนั้น ดงเสือทั้งนั้น แต่แทนที่มันจะมาเป็นอารมณ์กับเสือ... ไม่ อยากไปเมื่อไรก็ไป กลางคืนไม่ได้จุดไฟนะ ไปที่พักเจ้าของ.. บุกไปอย่างนั้นละ เพราะทางแคบ ๆ พอไปได้ ภาวนาเรื่อยไป...” การออกเที่ยวกรรมฐานของท่าน อาศัยเดินด้วยเท้าเปล่า เพราะแต่ก่อนรถยนต์ไม่มี ถนนหนทางไม่มี แบกกลดสะพายบาตรเข้าป่ารกชัฏ ถ้ำ เงื้อมผา เพื่อหาสถานที่สงบวิเวก ผ้าที่ท่านนำติดตัวไปก็มีเฉพาะผ้า ๓ ผืน คือ สบง จีวร สังฆาฏิ และผ้าอาบน้ำอีกผืนหนึ่ง เพื่อใช้ผลัดเปลี่ยนตอนสรงน้ำ หรือใช้เป็นผ้าห่อบาตรและเช็ดบาตรด้วยเท่านั้น แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-11-2013 เมื่อ 16:05 |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#216
|
|||
|
|||
พระเถระผู้ใหญ่มาศึกษาธรรม เหตุการณ์วันหนึ่งในฤดูแล้งปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่หล้ากล่าวว่า จะถือเป็นวันบังเอิญก็ว่าได้ ที่วันนั้นมีพระเถระผู้ใหญ่ที่มาจากต่างทิศต่างจังหวัด เข้าไปศึกษาหารือธรรมะกับหลวงปู่มั่นในสำนักพร้อมกันในวันเดียว อาทิ ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ อุดรธานี พระอาจารย์สิงห์ นครราชสีมา ท่านเจ้าคุณอริยเวที (เขียน ป.ธ. ๙) กาฬสินธุ์ หลวงปู่อ่อน อยู่วัดป่าหนองโดก อำเภอพรรณานิคม สกลนคร หลวงปู่ฝั้น อยู่ธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร พระอาจารย์มหาทองสุก อยู่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง สกลนคร มีพระอาจารย์กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์ เป็นต้น ด้วยเหตุที่มีครูบาอาจารย์หมุนเวียนเข้ามาศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่นเช่นนี้ วัดป่าบ้านหนองผือในยุคนั้นจึงถือเป็นชุมทาง หรือศูนย์กลางของพระเณรผู้ปฏิบัติเลยก็ว่าได้ และสำหรับการเทศนาธรรมของหลวงปู่มั่นในคืนสำคัญเช่นนี้ หลวงปู่หล้าได้บันทึกไว้ดังนี้ “...พอถึงหนึ่งทุ่มก็จุดตะเกียงเจ้าพายุ ตีระฆังลงไปรวมกันที่ศาลาอุโบสถ (ไม่ใช่ศาลาโรงฉันดอก เพราะมันคับแคบเกินไป) ครั้นกราบไหว้พร้อมกันเสร็จแล้ว ต่างก็นั่งพับเพียบเงียบสงัดอยู่ ๒ - ๓ นาที หลวงปู่มั่นมีสันติวิธีปรารภขึ้นเย็น ๆ ว่า ‘เออ วันนี้เหมาะสม ผมจะได้ศึกษากับพวกท่านจะผิดถูกประการใด ขอให้พวกท่านปรารภได้ ไม่ให้เกรงใจ ผมได้ศึกษาน้อย เรียนน้อย’ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 18:16 |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#217
|
|||
|
|||
แล้วองค์ท่านเสนอว่า ‘พระบรมศาสดาบัญญัติอนุศาสน์ ๘ อย่างเป็นข้อเว้นเรื่องใหญ่ อันเป็นปู่ ย่า ตา ทวด ของความผิดคือ ปาราชิก ๔ แล้วอีก ๔ ประเภทในฝ่ายปัจจัย ให้ปฏิบัติจนถึงวันสิ้นลมปราณ เพราะเป็นปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตเรียกนิสัย ก็มี ๔ อย่าง เที่ยวบิณฑบาตหนึ่ง อยู่โคนไม้หนึ่ง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลหนึ่ง และก็ฉันเภสัชดองน้ำมูตรเน่าหนึ่ง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-12-2013 เมื่อ 17:35 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#218
|
|||
|
|||
ด้านบิณฑบาตพระองค์ใดทอดสะพานไว้แล้วจนสิ้นลมปราณ แต่พวกเราไม่ค่อยจะไปบิณฑบาตกัน กลับเห็นว่า มีลาภแล้วก็คอยให้เขาเอามาส่ง และบังสุกุลพวกเราก็ไม่อยากแสวงเสียเลย อยู่ที่สงัดกายวิเวก พวกเราก็ไม่อยากแสวงเลย สิ่งเหล่านี้พวกเราได้นึกคิดอย่างไรบ้าง พวกเราถูกตามอนุศาสน์แล้วหรือ หากว่าบกพร่องอยู่บ้าง’
ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ยิ้มอยู่โดยเคารพ มิใช่ยิ้มแย้ม ส่วนท่านเจ้าคุณอริยเวที ป.ธ. ๙ กราบเรียนว่า ‘ไม่มีสิ่งจะแซงพระอาจารย์ได้ดอก พวกกระผมจำได้ท่องได้เฉย ๆ ขอรับผม’ … พระเถระในที่ประชุมทุก ๆ องค์ ตลอดพระภิกษุหนุ่มสามเณรน้อย ใช้มารยาทเคารพรักหลวงปู่มั่นเหมือนบิดามารดาบังเกิดเกล้า ไม่มีท่านองค์ใดจะจับผิดจับถูกในทางแง่ร้ายอันใดเลยแห่งหลวงปู่มั่น การประชุมถึงจิตถึงใจจึงจำได้ไม่ลืม คล้ายกับว่าเวลาร่างกายร้อนเข้าพักร่มไม้สูง ๆ โต ๆ มีกิ่งก้านสาขา อากาศโปร่ง ข้างล่างลมมาพัดพอเย็น ๆ ดีไม่ค่อยแรง เรียกว่าประชุมเย็น มิใช่ประชุมร้อน แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-12-2013 เมื่อ 18:01 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#219
|
|||
|
|||
แล้วองค์หลวงปู่ก็ปรารภต่อไปอีกว่า ‘พระบรมศาสดาทรงพระมหากรุณา ทรงสั่งและทรงสอนเป็นชั้นที่หนึ่งคือภิกษุ จึงมีคำออกหน้าว่า ภิกขเว เกือบทุกวรรคทุกตอน ถ้าภิกขเวไม่ศึกษาปฏิบัติแล้วจะให้ใครปฏิบัติศึกษาเล่า ส่วนพระองค์ทรงพระกรุณา ทรงสั่งสอนอุบาสก อุบาสิกา เทวดา มาร พรหมก็ดี ว่าในพระบาลีน้อยกว่าภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีก็ดี สามเณรก็ดี นางสิกขมานาก็ดี ในพระบาลีเห็นมีน้อยกว่าภิกษุ ผมผู้นั่งหลับตาได้ความอย่างนี้ ตามประสาผู้เฒ่า’...
องค์ท่านเปรียบเทียบอีก ‘สีมา พัทธสีมาที่คณะสงฆ์ทำกรรมถูกต้องไม่เป็นสีมาวิบัติ คณะสงฆ์ ๔ รูปขึ้นไปก็สวดถอนได้ แต่โลกุตรธรรมนี้ละเอียดไปกว่านั้น นับแต่พระโสดาบันขึ้นไปหาพระอรหันต์ แม้พระบรมศาสดาทุก ๆ พระองค์ อริยสงฆ์ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด จะพร้อมกันมาสวดถอนจิตใจของพระโสดาบัน ให้เป็นปุถุชนคนหนาย่อมเป็นไปไม่ได้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2013 เมื่อ 16:18 |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#220
|
|||
|
|||
เหตุนั้นพระอริยเจ้าทั้งหลายจึงยอมเคารพธรรมอย่างแนบแน่นไม่จืดจาง ไม่ใช่ว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายไม่ถือมั่นแล้วจะไม่เคารพธรรม ยิ่งเคารพมากกว่าปุถุชนคนหนาไม่มีประมาณได้ ไม่ใช่ว่าถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นได้แล้วก็เลยเถิดไป.. ไม่มีข้อวัตรเคารพธรรม เรียกว่าพระอริยเจ้าเลยเขตแดน กลายเป็นพระอริยะของพระเทวทัต แต่ท่าน (พระเทวทัต) ก็เห็นความผิดของท่านแล้ว แต่เห็นความผิด รู้ตัวจวนค่ำเลยไม่มีเวลาขอขมาโทษพระองค์ ได้ขอแต่ลับหลัง.. เพียงไหล่ขึ้นมาหาคอหาหัวโดยน้อมถวาย ถึงกระนั้นก็ยังจะได้เป็นพระปัจเจกในอนาคต เพราะได้สร้างบารมีมาได้สองอสงไขยแล้ว ยังเหลือแสนมหากัปแต่ก็ยังเป็นโลกีย์อยู่ จึงสามารถประพฤติล่วงอนันตริยกรรมได้
หลวงปู่มั่นประชุมคณะสงฆ์วันนั้นถึงหกทุ่มนับทั้งปกิณกะสารพัด...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-12-2013 เมื่อ 11:35 |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 13 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 13 คน ) | |
|
|