กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 02-01-2021, 09:46
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,152 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๓

ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓ ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมส่งท้ายปี ๒๕๖๓ ของพวกเรา

วันนี้จะขอกล่าวถึงโซ่ข้อกลาง คือเรื่องของสมาธิในไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา เนื่องจากว่าในการปฏิบัติธรรมนั้น เรื่องของสมาธิภาวนาแทบจะเป็นคำตอบของทั้งหมด ยกเว้นอย่างเดียวก็คือ การพิจารณาเพื่อเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้า ซึ่งจะต้องใช้ปัญญาประกอบค่อนข้างมาก แต่ก็ต้องอาศัยกำลังสมาธิช่วยหนุนเสริมอยู่ดี

ฉะนั้น...ในส่วนของสมาธิ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากศีล จึงเป็นโซ่ข้อกลางอย่างชัดเจน เพราะว่าถ้าเราระมัดรังรักษาศีล ก็จะทำให้เกิดสมาธิขึ้นโดยปริยาย เมื่อเรามีสมาธิ สภาพจิตสงบ ระงับ ปัญญาก็จะเกิดขึ้น ไปพินิจพิจารณาจนกระทั่งรู้เห็นร่างกายนี้และโลกนี้ตามสภาพความเป็นจริง ก็คือสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา สมาธิจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งยวด

แต่เท่าที่สังเกตดูในปัจจุบันนี้ ส่วนของสมาธิภาวนานั้น พวกเรามักจะขาด ถนัดแต่ในเรื่องของการให้ทานและรักษาศีล มากกว่านั้นก็อ้างว่าไม่มีเวลาทำบ้าง อ้างว่ากำลังไม่ถึงบ้าง ในเรื่องของการปฏิบัติธรรม เป้าหมายใหญ่ของเราก็คือเพื่อความหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีแต่ทานและศีล โอกาสที่จะเข้าถึงพระนิพพานก็น้อย

ดังนั้น...จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยกำลังของสมาธิ ที่จะไปควบคุมให้ศีลของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์ เนื่องจากว่าเมื่อมีสมาธิทรงตัว สติก็จะตั้งมั่น การระมัดระวังในศีลก็ครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อสติตั้งมั่น สมาธิทรงตัว ปัญญาก็จะเกิด พินิจพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ยังต้องอาศัยกำลังของสมาธิ ในการถอนตัวเองออกมาจากความพอใจ จากความไม่พอใจทั้งปวง

ก็แปลว่าในส่วนของความพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องร้อยรัดเราให้ตกอยู่ในกองกิเลสทั้งสิ้น ดังนั้น...ในแต่ละวัน ท่านควรที่จะให้ความสำคัญกับการกำหนดรู้ โดยเฉพาะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเพื่อสร้างสมาธิให้เกิด เมื่อกำหนดดูกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกจนเคยชิน เกิดสมาธิคือทรงฌานขึ้นมาได้ อาการที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ สามารถรู้ลมหายใจและภาวนาเองได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับก็เป็นเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-01-2021 เมื่อ 15:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 02-01-2021, 09:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,152 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าหากว่าสมาธิเกิดขึ้นในระดับนั้น แล้วเราไม่ได้นำไปใช้งาน เมื่อถึงเวลากิเลสก็จะนำเอากำลังสมาธินั้นไปใช้แทน พาให้เราฟุ้งไปในเรื่องของ รัก โลภ โกรธ หลง แล้วก็จะหักห้ามใจตนเองได้ยาก เพราะว่ากิเลสได้กำลังของสมาธิไปใช้งาน แต่ถ้าหากว่าเรารู้จักใช้ปัญญาพินิจพิจารณา ตัวสมาธิก็จะหนุนเสริมให้เกิดความคล่องแคล่ว ชัดเจน และมีกำลังในการตัด ในการละ ในการถอนตนออกมาจากกองกิเลส

สมาธิจึงแทบจะเป็นคำตอบของการปฏิบัติธรรมเกือบจะทั้งหมด หรือจะเรียกว่าทั้งหมดก็ได้ เพราะว่าท้ายสุดก็ต้องเอากำลังของสมาธิไปประหัตประหารกิเลส ไปถอนตนออกจากหล่มของกิเลส จนกระทั่งเราสามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้

เมื่อเรากำหนดสติสมาธิของเราในแต่ละวันแล้ว ที่สำคัญที่สุดก็คือเมื่อเลิกจากการปฏิบัติธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ของพวกเราหมายถึงการนั่งสมาธิ เรายังต้องรักษาอารมณ์ใจของเราให้ต่อเนื่อง ให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อความผ่องใสในจิตใจของเรา เพื่อที่จะช่วยเสริมในกำลังของปัญญาให้รู้เห็นได้ชัดเจนยิ่ง ๆ ขึ้นไป

การที่เราเอาสติจดจ่อ ประคับประคองอารมณ์สมาธิ จึงเป็นเรื่องที่พวกเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกหัด ปรับปรุงตนเองให้มีความเคยชินในด้านดีอย่างนี้ไว้ ให้รู้จักประคับประคองรักษาอารมณ์การปฏิบัติของเราเอาไว้ ให้ได้เหมือนกับตอนที่เรานั่งสมาธิอยู่

เมื่อเรารู้จักประคับประคองรักษา ก็จะสามารถยืนระยะได้นานยิ่งขึ้น นานขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเคยชิน สภาพจิตที่ตื่นรู้ เราก็สามารถรักษาอารมณ์ใจของเราได้ ไม่ว่าจะหลับหรือตื่น ก็สามารถทรงสมาธิกดกิเลสลงได้ชั่วคราว แล้วใช้กำลังสมาธิไปพินิจพิจารณา ให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ ของโลกนี้ ว่ามีความไม่เที่ยง มีความเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราเป็นปกติ จนกระทั่งเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ถอนกำลังใจของตนออกจากการยึดมั่นถือมั่น ไม่เห็นสาระแก่นสารในร่างกายของตน ไม่เห็นสาระแก่นสารในร่างกายคนอื่น ไม่เห็นสาระแก่นสารใด ๆ ในโลกนี้ เราก็สามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้ดังที่ทุกคนปรารถนา

ลำดับต่อไปก็ขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย น้องผักชี)

__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-01-2021 เมื่อ 15:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:16



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว