|
ห้องสวดมนต์ ขอเชิญสวดมนต์ และทำวัตรเช้า-เย็นร่วมกันที่ห้องนี้ครับ |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
ทำวัตรเช้า วันเสาร์
บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า วันเสาร์ ขอเชิญสมาชิกทุกท่านสวดมนต์ทำวัตรเช้าร่วมกัน พร้อมกับพระภิกษุที่วัดท่าขนุนในเวลา ๔.๐๐ น. หรือตามแต่เวลาที่ท่านสะดวก หากเปิดหน้านี้แล้วกรุณารอสักครู่หนึ่ง เพื่อทำการโหลดแถบเครื่องเล่นเสียง และท่านสามารถกดที่ปุ่ม"เล่น" เพื่อเปิดเสียงสวดมนต์ และร่วมสวดตามบทสวดทางด้านล่าง |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
ทำวัตรเช้า บทบูชาพระรัตนตรัย โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรม เป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรม และพระอริยสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้วก็ตาม ข้าพเจ้า ทั้งหลายกราบขอพระบรมพุทธานุญาต ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา ขอพระองค์ผู้มีพระทัยในอันที่จะอนุเคราะห์ แก่หมู่ชนผู้จะเกิดมาในภายหลัง อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ ได้โปรดรับเครื่องสักการะเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าผู้ยากทั้งหลายน้อมถวายบูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขอันเกื้อกูล แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรม เป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว สังฆัง นะมามิ (กราบ) ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระอริยสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 01-07-2017 เมื่อ 17:20 |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
ปุพพะภาคะนะมะการะ
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส ฯ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ พระพุทธคุณ ๙ ประการ .................................(ขึ้น) อิติปิ โส ภควา.........(รับ) เอกองค์ศาสดา..........ทรงพระคุณเก้าประการ (๑. อรหํ)......................ธ ล่วงพ้นกิเลสมาร............พระกมลสันดาน...............บริสุทธิ์ผุดผ่องอำไพ (๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ)..........ตรัสรู้ชอบกระบวนการใน......อริยสัจได้......................ด้วยพระองค์เองแจ้งจริง (๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน).....เพียบพร้อมวิชชาอ้างอิง.......จรณะงามยิ่ง...................ทั้งเก่งทั้งดีครบครัน (๔. สุคโต)...................พระสุรเสียงจำนรรจ์............ไพเราะเสนาะกรรณ............กังวานนุ่มนวลชวนฟัง ................................พระเสด็จแดนใดยัง............ธารธรรมไหลหลั่ง..............ดับร้อนชโลมโลกร่มเย็น (๕. โลกวิทู)..................ทั่วโลกธาตุรู้เห็น...............คุณโทษชัดเจน...............พระนำหมู่สัตว์ข้ามจร (๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ)..เป็นสารถีฝึกสอน.............เวไนยนิกร.....................มิมีผู้ใดเปรียบปาน (๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ).....เป็นพระบรมศาสดาจารย์......ทวยเทพสักการ...............มนุษย์เชิดชูบูชา (๘. พุทฺโธ)...................ตื่นจากกิเลสนิทรา.............ปลุกปวงประชา................รู้กันรู้แก้กลมาร (๙. ภควา)....................พระทัยแผ่เผื่อเจือจาน.........แจกธรรมเป็นทาน.............อำนวยโชคอำนวยชัย ................................ข้าฯ น้อมกายวาจาใจ..........หมอบราบกราบไหว้...........พระบาทบงกชทศพล ................................ขอพุทธานุภาพดล.............บันดาลศุภผล..................พูนพิพัฒน์สวัสดี (กราบ) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 04-06-2017 เมื่อ 17:32 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
พระธรรมคุณ ๖ ประการ
.....................................(ขึ้น) โย โส ส๎วากขาโต......(รับ) คุณพระธัมโม......หกประการประมาณมี (๑. ส๎วากขาโต ภควตา ธมฺโม)...พระธรรมานุศาสนี..............อันพระผู้มี...............พระภาคตรัสไว้แยบยล .....................................เป็นสัจธรรมสากล..............มีเหตุมีผล...............ดีงามครบถ้วนกระบวนความ (๒. สนฺทิฏฺฐิโก)...................ผู้ใดเชื่อฟังทำตาม.............เห็นความดีงาม..........ปรากฏแก่ตนตรงกัน (๓. อกาลิโก).....................มิมีเงื่อนไขคืนวัน...............สัจธรรมตั้งมั่น...........ทำดีได้ดีตลอดไป (๔. เอหิปสฺสิโก)..................มีผลควรภาคภูมิใจ.............บริสุทธิ์โปร่งใส..........ท้าทายพิสูจน์ตรวจตรา (๕. โอปนยิโก)....................เป็นสิ่งควรน้อมนำมา..........สู่กายวาจา...............และจิตเราท่านทุกคน (๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ)..พระธรรมอำนวยมรรคผล......รู้ได้เฉพาะตน............สำหรับวิญญูทั่วไป .....................................ข้าฯ น้อมกายวาจาใจ..........หมอบราบกราบไหว้.....พระธรรมคำสอนทศพล .....................................ขอธรรมานุภาพดล.............บันดาลอิฐผล............สุขสมบัติสวัสดี (กราบ) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 04-06-2017 เมื่อ 19:31 |
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
พระสังฆคุณ ๙ ประการ
.......................................(ขึ้น) โย โส สุปฏิปันโน.......(รับ) พระคุณสังโฆ.......เก้าประการประมวลมา (๑. สุปฏิปนฺโน)......................พระสงฆ์สาวกศาสดา..........ทรงไตรสิกขา.............ปฏิบัติเรียบร้อยดีงาม (๒. อุชุปฏิปนฺโน)....................ปฏิบัติเที่ยงตรงตาม............แนวสิกขาสาม............คือศีล สมาธิ ปัญญา (๓. ญายปฏิปนฺโน)..................ปฏิบัติล่วงพ้นกามา.............พรหมจรรย์โสภา ........บริสุทธิ์สะอาดปราศราคี (๔. สามีจิปฏิปนฺโน).................ดำเนินข้ามพ้นโลกีย์........... อิสรเสรี...................มิมีเงื่อนไขผูกพัน (๕. อาหุเนยโย).....................คู่ควรรับของกำนัล..............เครื่องสักการอัน..........ผู้หวังบุญถวายบูชา (๖. ปาหุเนยโย).....................คู่ควรต้อนรับเมื่อมา.............สู่เหย้าเคหา..............ก่อเกิดศิริมงคล (๗. ทกฺขิเณยโย)....................คู่ควรรับบุญกุศล................เพื่อผู้วายชนม์...........ที่เรายังรักอาลัย (๘. อญฺชลิกรณีโย)..................ควรน้อมกายวาจาใจ...........ประณมมือไหว้............เคารพยกย่องเทิดทูน (๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส)..ควรนับเป็นเนื้อนาบุญ..........ยอดเยี่ยมด้วยคุณ........สมบัติบันดาลโชคชัย ........................................ข้าฯ น้อมกายวาจาใจ..........หมอบราบกราบไหว้......พระสงฆ์สาวกทศพล ........................................ขอสังฆานุภาพดล..............บันดาลมงคล.............สุขสวัสดิ์พิพัฒน์เทอญ ฯ (กราบ) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 04-06-2017 เมื่อ 19:34 |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
ระตะนัตตะยัปณามะคาถา (นำ) หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะ ปาฐัญจะ ภะณามะ เส ฯ พวกเราจงพากันกล่าวคำแสดงความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย และสวดบทที่แสดงถึงความน่าสลดใจ เพื่อทำใจไม่ให้ประมาทในทางกุศลโดยพร้อมเพรียงกันเถิดฯ พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว พระพุทธเจ้า เป็นผู้หมดจดดีแล้ว มีพระกรุณาเปรียบประดุจห้วงสมุทร โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน มีญาณ คือความรู้อันประเสริฐหมดจดถึงที่สุดแล้ว โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก เป็นผู้ฆ่าความชั่วและสิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมองของโลกได้แล้ว วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน พระธรรม คำสั่งสอนของพระบรมศาสดาพระองค์นั้น ประดุจแสงสว่างแห่งดวงประทีป โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก จำแนกเป็นประเภทคือ มรรค ผล และนิพพาน โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน เป็นธรรมอันข้ามพ้นวิสัยของโลก และเป็นธรรมที่ส่องให้เห็นชัด ในเนื้อความแห่งธรรมอันข้ามพ้นวิสัยของโลกนั้น วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระธรรมนั้น ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต พระอริยสงฆ์ เป็นนาบุญที่ดีกว่านาบุญทั้งหลาย โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก เป็นผู้เห็นความสงบคือพระนิพพานแล้ว เป็นผู้รู้ตามพระสุคตเจ้า โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส เป็นผู้ละกิเลสเครื่องทำใจให้โลเลได้หมดแล้ว เป็นพระอริยเจ้า เป็นผู้มีปัญญาดี วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์นั้น ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา ฯ
บุญอันใดที่ข้าพเจ้าได้กราบไหว้พระรัตนตรัย อันเปรียบเหมือนดวงแก้ว ๓ ประการ อันเป็นของควรบูชาอย่างยิ่งโดยส่วนเดียว ซึ่งได้สั่งสมมาแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ๆ และด้วยอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอานุภาพของบุญนั้น ขออุปัทวันตรายทั้งปวง จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 04-06-2017 เมื่อ 19:36 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
||||
|
||||
สังเวคะปริกิตตะนะปาฐะ บทสวดที่แสดงถึงความน่าสลดใจ อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต พระธรรมที่พระตถาคตเจ้าทรงแสดงแล้ว เป็นธรรมที่ช่วยนำหมู่สัตว์ออกจากทุกข์ เป็นธรรมที่ทำความสงบระงับกิเลส เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับไม่มีเชื้อคือพระนิพพาน เป็นทางปฏิบัติให้ถึงความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตเจ้าทรงประกาศยืนยันแล้ว มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ พวกเราได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า ชาติปิ ทุกขา แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ชะราปิ ทุกขา แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ มะระณัมปิ ทุกขัง แม้ความตายก็เป็นทุกข์ โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา แม้ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเสียใจและความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ความประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง แม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา เสยยะถีทัง ว่าโดยย่อแล้ว การเอาจิตเข้าไปยึดเกาะอยู่กับขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์ นั่นก็คือ รูปูปาทานักขันโธ การเอาจิตยึดเกาะในรูป ก็เป็นทุกข์ เวทะนูปาทานักขันโธ การเอาจิตยึดเกาะในเวทนา ก็เป็นทุกข์ สัญญูปาทานักขันโธ การเอาจิตยึดเกาะในสัญญา ก็เป็นทุกข์ สังขารูปาทานักขันโธ การเอาจิตยึดเกาะในสังขาร ก็เป็นทุกข์ วิญญาณูปาทานักขันโธ การเอาจิตยึดเกาะในวิญญาณ ก็เป็นทุกข์ เยสัง ปะริญญายะ ธะระมาโน โส ภะคะวา เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ได้ทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เพื่อให้กำหนดรู้ความทุกข์อันเกิดจากการยึดเกาะในขันธ์ ๕ อย่างนี้เป็นส่วนมาก เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ ก็แล คำพร่ำสอนเป็นอันมากของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทำให้สาวกทั้งหลายประทับใจ เพราะการชี้แนะอย่างนี้ว่า รูปัง อะนิจจัง รูปหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้ เวทะนา อะนิจจา เวทนาหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้ สัญญา อะนิจจา สัญญาหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้ สังขารา อะนิจจา สังขารหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้ วิญญาณัง อะนิจจัง วิญญาณหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้ รูปัง อะนัตตา รูปไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป เวทะนา อะนัตตา เวทนาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป สัญญา อะนัตตา สัญญาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป สังขารา อะนัตตา สังขารไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป วิญญาณัง อะนัตตา วิญญาณไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็ต้องสลายไป สัพเพ สังขารา อะนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงหาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้ ต้องสลายไปในที่สุด ดังนี้ เต (ผู้หญิงว่า ตา) มะยัง โอติณณามะหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ เราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้วโดยความเกิด ความแก่ และความตาย โดยความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเสียใจ และความคับแค้นใจทั้งหลาย ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา เราทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีความทุกข์นำหน้าแล้ว อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ* ไฉนหนอ การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จักปรากฏแก่เราได้ (สำหรับพระภิกษุ - สามเณร) จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง เราทั้งหลายตั้งใจจำเพาะเจาะจง เฉพาะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานไปนานแล้ว สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา เราทั้งหลายมีศรัทธาออกจากเรือนแล้วบวช เป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ๎รัห๎มะจะริยัง จะรามะ พากันประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ภิกขูนัง (สามะเณรานัง) สิกขาสาชีวะสะมาปันนา ถึงพร้อมแล้วด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีพของภิกษุทั้งหลาย (และสามเณร) ทั้งหลาย ตัง โน พ๎รัห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติ ฯ ขอพรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นเถิด ฯ (* สำหรับอุบาสก - อุบาสิกา เมื่อสวดถึง "ปัญญาเยถาติ" แล้วให้สวดต่อไปดังนี้)
* จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะโต (ผู้หญิงว่า ตา) เราทั้งหลายขอยึดเอาพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานไปนานแล้วพระองค์นั้น เป็นที่พึ่ง ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ ขอยึดเอาพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ด้วย เป็นที่พึ่ง และกำหนดนึกถึงรัตนะทั้งสามนั้นไว้ในใจอยู่ และปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตามสติปัญญาและตามกำลัง สา สา โน ปะฏิปัตติ ขอการปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติ ฯ จงเป็นไปเพื่อการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เถิด ฯ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 04-06-2017 เมื่อ 19:38 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
||||
|
||||
เขมะเขมะสะระณะคะมะนะปะริทีปิกาคาถา (นำ) หันทะ มะยัง เขมาเขมะสะระณะคะมะนะปะริทีปิกาคาถาโย ภะณามะ เส ฯ .....................................พะหุง เว สะระณัง ยันติ..............ปัพพะตานิ วะนานิ จะ .....................................อารามะรุกขะเจต๎ยานิ.................มะนุสสา ภะยะตัชชิตา มนุษย์ทั้งหลายจำนวนมาก เมื่อถูกภัยคุกคาม ก็พากันยึดเอาภูเขาและป่าไม้เป็นที่พึ่งบ้าง ยึดเอาสวน ต้นไม้และเจดีย์เป็นที่พึ่งบ้าง .....................................เนตัง โข สะระณัง เขมัง..............เนตัง สะระณะมุตตะมัง การหาที่พึ่งเช่นนั้น ไม่ใช่ที่พึ่งอันพ้นจากภัย สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ที่พึ่งสูงสุด .....................................เนตัง สะระณะมาคัมมะ...............สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ การอาศัยที่พึ่งเช่นนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง .....................................โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ...........สังฆัญจะ สะระณัง คะโต ส่วนผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง .....................................จัตตาริ อาริยะสัจจานิ................สัมมัปปัญญายะ ปัสสะติ .....................................ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง.............ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง .....................................อะริยัญจัฏฐังคิกัง มัคคัง.............ทุกขูปะสะมะคามินัง ผู้นั้นย่อมเห็นอริยสัจ คือความประเสริฐ ๔ อย่าง ด้วยปัญญาอันชอบ คือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ เห็นความข้ามพ้นจากทุกข์ และเห็นหนทางอันประเสริฐ ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ .....................................เอตัง โข สะระณัง เขมัง..............เอตัง สะระณะมุตตะมัง การยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งนั้น ย่อมเป็นที่พึ่งอันพ้นจากภัยทั้งปวง พระรัตนตรัยนั้นเป็นที่พึ่งอันสูงสุด .....................................เอตัง สะระณะมาคัมมะ...............สัพพะทุกขา ปะมุจจะตีติ .การอาศัยพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งนั้น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้แล
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 04-06-2017 เมื่อ 19:43 |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
||||
|
||||
บทสวดมนต์พิเศษ วันเสาร์
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) บทขัดธะชัคคะสุตตัง ยัสสานุสสะระเณนาปิ..............อันตะลิกเขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ...............ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา............ยักขะโจราทิสัมภะวา คะณะนา นะ จะ มุตตานัง.........ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ ธะชัคคะสุตตัง เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัต๎ระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัสจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพ๎ยุฬ๎โห อะโหสิ ฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัส๎มิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ ปะชาปะติสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ ฯ ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะ เหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุ ฉัมภี อุต๎ราสี ปะลายีติ ฯ อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุม๎หากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัส๎มิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุต๎ราสี อะปะลายีติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วัต๎วานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อะรัญเญ รุกขะมูเล วา............สุญญาคาเร วะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง...........ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ........โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ..........นิยยานิกัง สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ.........นิยยานิกัง สุเทสิตัง อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ..........ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง เอวัมพุทธัง สะรันตานัง...........ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา..........โลมะหังโส นะ เหสสะตีติฯ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 06-06-2017 เมื่อ 01:38 |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
||||
|
||||
ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐะ
(นำ) หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะ ปาฐัง ภะณามะเส ฯ ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ เราพิจารณาโดยอุบายอันชอบแล้ว จึงนุ่งห่มจีวร คือ ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ นุ่งห่มเพียงเพื่อป้องกันความหนาว อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะ เพียงเพื่อป้องกันความร้อน ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ เพื่อป้องกันการกระทบกระทั่งอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง ฯ และนุ่งห่มเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันให้เกิดความละอายเท่านั้น ไม่ได้นุ่งห่มเพื่อความสวยงามแต่อย่างใด ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ เราพิจารณาโดยอุบายอันชอบแล้ว จึงบริโภคอาหาร คือ เนวะ ท๎วายะ นะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ เราจักไม่บริโภคอาหารเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามันเกิดพลังทางกาย ไม่บริโภคเพื่อทำให้ร่างกายผ่องใส ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา ยาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา พ๎รัห๎มะจะริยานุคคะหายะ เราบริโภคอาหารเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพียงเพื่อเลี้ยงชีวิตตามฐานะของตน เพื่อไม่ให้ร่างกายต้องลำบาก และเพื่อจะได้มีกำลังในการประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ ด้วยการพิจารณาอย่างนี้แล้วจึงบริโภคอาหาร เราย่อมระงับทุกขเวทนาเก่า คือความหิวลงเสียได้ และไม่ทำให้ทุกขเทวนาใหม่เกิดขึ้นได้ ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ ฯ การดำเนินชีวิตให้เป็นไปโดยสะดวกสบายตามอัตภาพ และความไม่มีโทษ ตลอดถึงความเป็นอยู่โดยผาสุก จักมีแก่เราด้วยประการฉะนี้แล ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ เราพิจารณาโดยอุบายอันชอบแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะที่อยู่อาศัย คือ ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ อาศัยอยู่เพียงเพื่อป้องกันความหนาว อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะ เพียงเพื่อป้องกันความร้อน ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ เพื่อป้องกันการกระทบกระทั่งอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง ฯ และเพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันเกิดจากดินฟ้าอากาศ และเพื่อให้จิตมีความยินดีในการออกหลีกเร้นสำหรับภาวนาเท่านั้น ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ เราพิจารณาโดยอุบายอันชอบแล้ว จึงใช้ยารักษาโรคอันเกิดแต่ความป่วยไข้ คือ ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ เพียงเพื่อระงับทุกขเวทนาอันเกิดจากความเจ็บป่วยต่าง ๆ อัพ๎ยาปัชฌะปะระมะตายาติ ฯ และเพียงเพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้แล ฯ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 04-06-2017 เมื่อ 22:15 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
||||
|
||||
ปัตติทานะคาถา (นำ) หันทะ มะยัง ปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ ยาเทวะตา สันติ วิหาระวาสินี เทวดาเหล่าใด ที่ประจำอยู่ ณ สถานที่อยู่แห่งนี้ ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง และที่สิงสถิตอยู่ในเรือน พระสถูปเจดีย์และเรือนโพธิ์ ในที่นั้น ๆ ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา เราได้บูชาเทวดาเหล่านั้น ด้วยธรรมทานแล้ว โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระมัณฑะเล ขอท่านจงกระทำความสวัสดี ให้เกิดมีในสถานที่อยู่นี้ด้วยเถิด เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว พระภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นพระเถระ ที่เป็นพระมัชฌิมะ และที่เป็นพระนวกะ สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นเจ้าของทาน พร้อมทั้งคนที่อยู่ในวัด คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา ชนทั้งหลายที่เป็นชาวบ้าน ที่เป็นชาวเมืองใหญ่ ที่เป็นชาวเมืองเล็ก และชนผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต ขอให้ท่านผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุขเถิด .........................................ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา..สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา แม้สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดที่เกิดจากในครรภ์ ที่เกิดจากในไข่ ที่เกิดจากในที่ชื้นแฉะ และสัตว์ที่เกิดผุดขึ้นดุจลอยมาก็ดี .........................................นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต...สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง ฯ ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นแม้ทั้งหมด จงได้อาศัยพระธรรมอันประเสริฐ อันสามารถช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้นั้นแล้ว สามารถกระทำกองทุกข์ให้สิ้นไปเถิด .........................................ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม..................ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา ขอให้พระธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย จงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน และขอให้บุคคลทั้งหลายผู้ทรงธรรม จงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน .........................................สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ................อัตถายะ จะ หิตายะ จะ ขอพระสงฆ์จงเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงสามัคคีกันทั้งหมด เพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขอันเกื้อกูลแก่สัตว์โลก .........................................อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม................สัพเพปิ ธัมมะจาริโน ขอพระธรรมจงรักษาเราทั้งหลายทั้งปวงผู้ประพฤติธรรมอย่างสม่ำเสมอ .........................................วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ.............ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต ฯ ขอเราทั้งหลายจงถึงความเจริญในธรรมที่พระอริยเจ้าแสดงไว้แล้วเถิด .........................................ปะสันนา โหนตุ สัพเพปิ...............ปาณิโน พุทธะสาสะเน ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา .........................................สัมมา ธารัง ปะเวจฉันโต..............กาเล เทโว ปะวัสสะตุ ขอฝนจงหลั่งลงมาโดยสม่ำเสมอ และจงตกต้องตามฤดูกาล .........................................วุฑฒิภาวายะ สัตตานัง................สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง ขอฝนจงนำความสมบูรณ์พรั่งพร้อมมาสู่แผ่นดิน เพื่อความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย .........................................มาตา ปิตา จะ อัต๎ระชัง................นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง บิดามารดาย่อมรักษาบุตรที่เกิดในตนเป็นนิจฉันใด .........................................เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน.................ปะชัง รักขันตุ สัพพะทา ฯ ขอพระราชาทั้งหลาย จงรักษาและปกครองประชาชนโดยธรรมฉันนั้น ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ ฯ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 04-06-2017 เมื่อ 22:28 |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
||||
|
||||
คำอุทิศส่วนกุศล
อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบท้าวเข้าสู่พระนิพพาน และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า เทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้า ในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เถิด แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 01-07-2017 เมื่อ 15:21 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#13
|
||||
|
||||
คำขอขมาพระรัตนตรัย
อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ท๎วารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรม เป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว สังฆัง นะมามิ (กราบ) ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระอริยสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 04-06-2017 เมื่อ 22:37 |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#14
|
||||
|
||||
ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เสียงไว้เพื่อสวดมนต์ที่บ้าน หรือเก็บไว้บนอุปกรณ์ของท่าน โดยคลิกขวาที่ลิ้งค์
https://drive.google.com/file/d/0B2K...UI5sBzaSJ8YvTw แล้วเลือก "Save as" หรือ "บันทึกเป็น" นะครับ |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มัคคนายก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|