|
พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
ฝึกมโนมยิทธิแล้วมองไม่เห็นอทิสมานกาย
ถาม : เมื่อครู่ผมไปฝึกมโนมยิทธิมา อทิสมานกายเป็นอย่างไร ผมไม่เข้าใจ คือ ให้นึกว่ามีกายอยู่ข้างในหรือ ?
ตอบ : จะนึกก็ได้ แต่ขอให้รู้ว่าความรู้สึกทั้งหมดของเราก็คือกายใน แต่คนที่ยังไม่ชำนาญ จะยังไม่สามารถที่จะกำหนดเป็นรูปร่างชัดเจนได้ บางคนสามารถกำหนดในลักษณะเป็นดวงได้ ก็จะรู้ว่ามีสีสันอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าจะกำหนดเป็นตัวตนเลย ระยะแรกเราจะเห็นไม่ชัด แค่ใช้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา อย่างเช่นครูฝึกเขาบอกว่า ให้ยกอทิสมานกายของเราขึ้นไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเราว่าไปอยู่ที่นั่นเลย ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราตอนนี้รู้ว่า ตรงหน้าของเราก็คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รู้สึกว่าเป็นอย่างไรก็อธิบายให้ครูเขาฟัง ต้องไปทำเรื่อย ๆ อยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งถูกมากขึ้น..เมื่อถูกมากขึ้น เกิดความมั่นใจ สภาพจิตของเราจะสงบ ภาพก็จะค่อย ๆ ปรากฏชัดขึ้นมา ถาม : มีครั้งหนึ่งไปฝึกที่วัด ครูเขาถามว่าเห็นเราไหม ? เห็นเราใส่ชุดอะไร ? คือผมไม่เห็นอะไร ? ตอบ : ไม่เห็นไม่เป็นไร แรก ๆ เราจะไม่เห็น รู้สึกอย่างไรให้ตอบไปอย่างนั้น ถาม : ถึงแม้จะให้ขอบารมีพระแล้วก็ตาม ผมก็ไม่เห็น ? ตอบ : ถ้าเรา "อยาก" จะไม่เห็น ถาม : ผมก็เลยแกล้งว่าผมเห็นก็แล้วกัน ตอบ : ถ้าอย่างนั้นก็เชิญแกล้งต่อไป ขอให้เจริญ ๆ..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-02-2015 เมื่อ 14:33 |
สมาชิก 94 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
ต้องเข้าใจเลยว่าแรก ๆ เราไม่เห็นหรอก เป็นแค่ความรู้สึกเฉย ๆ รู้สึกว่าเป็นอย่างไรให้บอกไปอย่างนั้น เหมือนกับเราอยู่ในห้องมืด ๆ เขาส่งของมาให้ชิ้นหนึ่ง เราคลำ ๆ อยู่สักพักหนึ่ง เราก็จะบอกได้ว่า ของชิ้นนี้น่าจะเป็นหนังสือ เป็นต้น
ถ้าครูฝึกยืนยันว่าเป็นหนังสือ เราก็จะเกิดความมั่นใจขึ้น เราก็ต้องไปฝึก ไปลูบไปคลำอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งแตะปุ๊บก็บอกได้เลยว่านี่คือหนังสือ ถ้าหากมีความคล่องตัวระดับนั้น ความมั่นใจจะเกิด สภาพจิตจะนิ่ง พอสภาพจิตนิ่ง ภาพก็จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้น แล้วตอนนั้นจะไปเสียอีกทีก็คือ อยากเห็นชัด พออยากเห็นชัด เรามักจะไปกำหนดเพ่งด้วยสายตา ภาพก็จะหายไปอีก เพราะว่าเราต้องส่งจิตไปยังสถานที่นั้นจึงจะเห็นได้ การที่เราจะเพ่งด้วยสายตา ก็คือ นึกถึงลูกตา นั่นเป็นการนึกถึงตัวเอง เท่ากับเป็นการดึงใจกลับ ภาพก็จะหายไป เราก็ไปนั่งคลุ้มคลั่งว่าทำไมเดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย ? จนกว่าเราจะทำใจได้ว่า ก่อนหน้านี้ถึงไม่เห็นก็รู้ชัดเจนดีอยู่แล้ว ถึงจะไม่เห็นก็ช่างเถอะ เราพอใจแค่นี้ ถ้าวางกำลังใจอย่างนั้นได้ก็จะเห็นภาพได้นาน ของเรายังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน เดี๋ยวจะเหมือนไอ้หนูเมื่อตอนบ่าย พอออกจากห้องปุ๊บก็ทดสอบเลย ให้เพื่อนเขียนตัวเลขแล้วก็ทาย..ผิดทั้งหมด เด็กเพิ่งจะเข้าเรียน ป.๑ ไปทำข้อสอบเลยก็เจ๊ง..ผิดหมด ถาม : แล้วอย่างตอนหลับตา จะเป็นสี ๆ ? ตอบ : ไม่ต้องไปใส่ใจ หลับตาไม่ได้ใช้สายตา เปลี่ยนเป็นความรู้สึกเสีย เราไม่ได้ใช้สายตา แต่เอาความรู้สึกนึกถึง ถาม : จะเป็นสีวงกลม จะเป็นดวง ? ตอบ : จะเป็นอะไรช่างหัวมัน..! เพราะว่าเป็นการนึกถึงสิ่งที่เราไม่เคยชินเหมือนกับเรานึกถึงบ้าน เราบอกลักษณะรูปร่างบ้านได้ชัดว่าเป็นอย่างไร แต่ถามว่าเห็นไหม?..ก็ไม่เห็น ถามว่ารู้สึกชัดไหม?..ก็ชัด เขาเห็นกันลักษณะอย่างนั้น เห็นเหมือนอย่างที่เรานึกถึงบ้าน แต่ทีนี้เราชินกับบ้าน เราสามารถบอกได้ เพียงแต่ว่าสิ่งอื่น ๆ เราไม่ชิน ก็เลยต้องเชื่อความรู้สึกแรก ถาม : เขาถามว่าคนนั้นมาไหม ? คนนี้มาไหม ? เขาว่ามาเราก็ว่ามากับเขา ? ตอบ : ต่อไปถ้าไม่รู้เรื่องให้นั่งฟังเฉย ๆ อย่าไปมั่ว..เดี๋ยวก็ยิ่งเละไปใหญ่ เป็นที่น่าเสียดายว่า..ครูฝึกส่วนใหญ่ขาดความชำนาญ คือ ขาดเจโตปริยญาณ จึงมักจะโดนลูกศิษย์หลอกเสมอ เขาตอบส่งเดชอย่างไรก็เออออไปกับเขาด้วย เลยทำให้คนส่วนหนึ่งเอาไปพูดกันว่า มโนมยิทธิเป็นเรื่องเหลวไหล..! พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ สนทนาช่วงบ่าย ณ บ้านอนุสาวรีย์ วันอาทิตย์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-02-2015 เมื่อ 14:36 |
สมาชิก 101 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
Tags |
มโนมยิทธิ |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|