กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 03-11-2009, 09:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,188 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐานวันอาทิตย์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒

นั่งท่าสบายของเราเอง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่ที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ตามที่เราชอบ ตามอัธยาศัยของเรา

สองวันที่ผ่านมาได้กล่าวไปถึงเรื่องปีติ และนิวรณ์ ๕ สำหรับวันนี้ก็จะกล่าวต่อในเรื่องของสมาธิในลำดับที่สูงขึ้นไป คือในระดับของการทรงฌาน เมื่อเรากำหนดลมหายใจเข้าออกไป โดยให้สติตามดูตามรู้ทุกขั้นตอนที่ลมเข้า ตามดูตามรู้ทุกขั้นตอนที่ลมออก ถ้าสามารถทำอย่างนี้จนทรงตัวได้ จิตก็จะเริ่มเป็นฌาน คือความเคยชินระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๔ ระดับ ๘ ขั้นด้วยกัน ก็คือตั้งแต่ ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ ตติยฌาน ฌานที่ ๓ และจตุตฌาน ฌานที่ ๔ แล้วหลังจากนั้นก็ให้กำหนดภาพกสิณ เมื่อได้ภาพกสิณคล่องตัวแล้วก็สามารถนำเอามาประกอบในการฝึก อรูปฌานที่ ๑ อรูปฌานที่ ๒ อรูปฌานที่ ๓ และอรูปฌานที่ ๔ ได้

รูปฌานที่ ๑-๒-๓-๔ และอรูปฌานที่ ๑-๒-๓-๔ นั้น รวมกันแล้วเรียกว่าสมาบัติ ๘ ในที่นี้จะกล่าวถึงอาการของรูปฌานเท่านั้น เพราะว่าอรูปฌานนั้นพวกเราน้อยคนนักที่จะฝึกปรือ เนื่องจากว่าเป็นของละเอียดและยากกว่ารูปฌานมาก สำหรับท่านทั้งหลายที่จับลมหายใจเป็นปกตินั้นท้ายที่สุดจิตก็จะนิ่งเข้า....นิ่งเข้า และเกิดสมาธิในระดับอัปปนาสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป เพราะว่าปฐมฌานหรือว่าฌานที่ ๑ นั้น ก็คือการที่กำลังใจของเราเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ขึ้นดังนี้

ในส่วนของปฐมฌานหรือฌานที่ ๑ ต้องประกอบไปด้วย วิตก การคิดนึกตรึกอยู่ว่าเราจะภาวนา วิจารณ์ รู้อยู่ว่าเราจะภาวนาอะไร ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น สามารถกำหนดกองลมได้หรือไม่ รู้ตัวว่ากำลังหายใจเข้า รู้ตัวว่ากำลังหายใจออก รู้ตัวว่าตอนนี้เราใช้คำภาวนาอย่างนี้ รู้ว่าตอนนี้ลมหายใจเข้าไปถึงไหน ออกมาจากไหน เป็นต้น อย่างที่สาม เรียกว่าปีติ ปีตินั้นคือความอิ่มเอิบใจ ความยินดี มีอาการต่าง ๆ ๕ อย่างด้วยกันคือ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 03-11-2009 เมื่อ 09:50
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 03-11-2009, 09:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,188 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ตัวที่ ๑ ขณิกาปีติ เป็นอาการปีติเล็กน้อย จะมีอาการขนไหว ลุกซู่ซ่าอยู่เป็นพัก ๆ บางทีก็เป็นวงกว้าง บางทีก็เป็นจุดแคบ แล้วแต่กำลังของผู้ที่ปฏิบัติได้และเข้าถึง
ตัวที่ ๒ เรียกว่าขุททกาปีติ มีน้ำตาไหล บางทีก็ไหลพราก ๆ ชนิดห้ามไม่อยู่
ตัวที่ ๓ เรียกว่า โอกกันติกาปีติ ร่างกายจะโยกโคลงไปมา บางทีก็ดิ้นตึงตังโครมครามเหมือนผีเข้าสิงไปเลย
ตัวที่ ๔ เรียกว่า อุเพ็งคาปีติ ภาวนาไปแล้วร่างกายสามารถลอยพ้นพื้นขึ้นมาได้ ลอยไปไกล ๆ ก็มี
ตัวที่ ๕ เรียกว่า ผรณาปีติ จะรู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่วเป็นรู มีสิ่งต่าง ๆ ไหลออกจากตัวซู่ซ่าไปหมด บางทีก็เห็นแสง เห็นสี เห็นภาพต่าง ๆ บางทีก็รู้สึกตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวแตก ตัวระเบิดจนกลายเป็นจุณไปเลยก็มี

เรื่องของปีตินั้น เราจะพบเห็นได้ไม่เท่ากัน บุคคลที่มีวิสัยพุทธภูมิ ปรารถนาในพระโพธิญาณมาก่อน ต้องรู้ให้ครบเพื่อไปสอนเขาก็จะเจอปีติทั้ง ๕ ตัวเลย ผลัดกันมา สิ่งไหนที่มาแล้วเราสามารถก้าวล่วงก้าวข้ามไปได้ ก็จะไม่มาอีก แต่ถ้าหากว่าไม่ได้มาสายพุทธภูมิ เป็นสายสาวกภูมิธรรมดาทั่วไป บางท่านก็อาจจะก้าวผ่านไปโดยที่ไม่เจอปีติเลย อารมณ์ใจทรงเป็นฌานไปเลยก็มี บางท่านก็เจอปีติอย่างหนึ่ง บางท่านก็เจอสองอย่าง บางท่านก็เจอสามอย่าง น้อยรายที่จะเจอครบ ๕ อย่าง ถ้าหากว่าท่านเจอครบ ๕ อย่างแสดงว่าท่านมีเชื้อสายพุทธภูมิเก่ามาก่อน

เมื่อก้าวพ้นปีติตัวที่ ๑ ไปแล้ว จิตสามารถทรงฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ รวมทั้งอรูปฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ได้ ไม่ใช่ว่าเราจะไม่พบกับปีติตัวที่ ๒ ที่ ๓ เลย เนื่องจากว่าเมื่อวาระที่ปีติจะเข้ามาเพื่อให้เรารับรู้ว่ามีอาการอย่างไรนั้น ต่อให้ท่านทรงสมาบัติ ๘ อยู่ อยู่ ๆ กำลังก็จะลดลงมา เหลือแค่ประมาณอุปจารสมาธิเพื่อให้เราได้รู้ว่า ตอนนี้...เดี๋ยวนี้ตัวปีติได้เข้ามาถึงแล้ว ปีติแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไรจะได้รู้และจดจำไว้ เพื่อไปบอกไปสอนคนอื่นเขาต่อ เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 03-11-2009 เมื่อ 14:28
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 03-11-2009, 09:56
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,188 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับขั้นตอนต่อไป เป็นขั้นตอนที่ ๔ เรียกว่าสุข จะเกิดความรู้สึกสงบเยือกเย็นชนิดบอกไม่ถูก คือกำลังใจในการปฏิบัติของเรานั้น เมื่อเริ่มก้าวเข้าสู่ระดับอุปจารฌาน ความนิ่งของใจนั้นมี กำลังของสมาธิมี เมื่อเป็นดังนั้น ก็จะไปกดเอาไฟใหญ่ ๔ กองคือ รัก โลภ โกรธ หลง ที่เผาผลาญเราอยู่ตลอดเวลา ให้ดับสนิทลงชั่วคราว บุคคลที่ถูกไฟเผาอยู่ตลอดเวลา อยู่ ๆ ไฟดับไป จะมีความสุขความสบายขนาดไหนนั้น อธิบายเป็นคำพูดไม่ได้ เมื่อเป็นดังนั้น คำว่าสุขเราจึงกล่าวได้แค่หยาบ ๆ เท่านั้น ว่ามีความสุขความสบายความเยือกเย็นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จนกว่าเราจะประสบด้วยตนเองจึงจะรู้ว่า อ๋อ ที่แท้สุขในฌานเป็นอย่างนี้นี่เอง

ตัวสุดท้ายนั้นท่านเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ คืออารมณ์ที่ตั้งมั่นทรงตัวเป็นหนึ่งเดียว หมายถึงอารมณ์ที่รู้การภาวนาตั้งแต่ต้นจนปลาย แต่เพียงแต่ว่ารู้ในลักษณะ เรามีหน้าที่ภาวนาก็ทำการภาวนาไป เรามีหน้าที่พิจารณาก็พิจารณาไป เป็นต้น ส่วนผลของการที่เรากระทำนั้น จะเกิดอะไรขึ้นไม่ได้ใส่ใจ อย่างนี้จึงเรียกว่าอุเบกขา เมื่อเป็นอุเบกขามีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ ไม่เคลื่อนไปไหนท่านจึงเรียกว่าเอกัคตตารมณ์ คือ อารมณ์ที่รวมเป็นหนึ่งเดียว

กำลังใจทั้ง ๕ ส่วนนี้รวมกันแล้วเรียกว่าปฐมฌาน คือ ความเคยชินระดับที่ ๑ ถ้าหากว่าจะอธิบายกันแบบง่าย ๆ หยาบ ๆ ก็คือว่า ใครก็ตามที่กำหนดรู้ลมได้ ๓ ฐาน หายใจเข้ารู้ว่าผ่านปลายจมูก...ผ่านกึ่งกลางอก....ลงไปสุดที่ท้อง หายใจออก....ออกจากท้อง....ผ่านกึ่งกลางอก....มาสุดที่ปลายจมูก ถ้ารู้ได้ตลอดอย่างนี้ท่านนั้นกำลังทรงปฐมฌานอยู่ เพียงแต่ว่าท่านจะรักษากำลังฌานให้ทรงตัวอยู่ได้นานแค่ไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง


เมื่อท่านเข้าถึงระดับนี้แล้ว ถ้าหากว่าไม่ได้ใส่ใจผลไม่เอาจิตไปจดจ่อดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ว่าตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติภาวนาต่อไป คราวนี้จะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง หูได้ยินซุ่มเสียงเบาลง แม้แต่เสียงจะดังตึงตังโครมครามขนาดไหนก็ไม่ได้ใส่ใจ สนใจอยู่แต่การภาวนาข้างใน บางทีลมหายใจก็เบาลงจนแทบไม่มีเลย ถ้าอย่างนี้ท่านกำลังก้าวสู่สมาธิระดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน คือความเคยชินขั้นที่ ๒
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 03-11-2009, 14:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,188 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าหากว่าท่านตามดูตามรู้ไปเฉย ๆ ถ้ายังมีคำภาวนาก็ภาวนา ถ้ายังมีลมหายใจเข้าออกก็ดูลมหายใจเข้าออก ถ้าไม่มีคำภาวนาไม่มีลมหายใจเข้าออก เรากำหนดรู้ไว้เฉย ๆ ไม่คิดไปดิ้นรนอยากให้มันมา และไม่ไปผลักไสอยากให้มันไป ถ้าทำอย่างนั้นได้กำลังใจก็จะก้าวลึกไปอีกขั้นหนึ่ง

แรก ๆ อาจจะรู้สึกเหมือนมีอะไรเย็น ๆ แถวปลายจมูกแถวริมฝีปากหรือแถวคาง แล้วความเย็นนั้นก็แผ่กระจายตัวออกเป็นวงกว้างไปเรื่อย ๆ หรือบางทีก็รู้สึกว่าเย็นรวบเข้ามาทางปลายมือปลายเท้า รวบเข้ามา....รวบเข้ามา ไม่ว่าความเย็นจะเป็นลักษณะไหน จากข้างบนลงข้างล่างก็ดี จากข้างล่างขึ้นข้างบนก็ดี ถ้าเรากำหนดใจรู้ไว้เฉย ๆ ว่าเป็นดังนั้น โดยไม่ไปกลัว ไม่ได้อยากให้มา ไม่ได้อยากให้ไป กำลังนั้นก็จะก้าวลึกเข้าไปอีก จนกระทั่งบางทีรู้สึกว่าชาแข็งไปทั้งตัวเหมือนกับโดนสาปเป็นหินก็มี หรือว่ารู้สึกเหมือนโดนเขามัดติดกับผนังหรือว่าติดกับต้นเสาชนิดกระดิกกระเดี้ยไม่ได้ แข็งโป๊กไปเลยก็มี ถ้าอย่างนั้นท่านกำลังก้าวสู่สมาธิระดับที่ ๓ เรียกว่าตติยฌาน คือความเคยชินระดับที่ ๓

ถ้าท่านทำใจสบาย ๆ กำหนดรู้อยู่ว่าตอนนี้มันเป็นดังนี้ ไม่คิดไปขับไสไล่ส่ง หรือไม่คิดไปอยากให้มันก้าวหน้ามากกว่านั้น เมื่อตามดูตามรู้ไปเรื่อย ความรู้สึกจะรวบเข้ามาเหลือจุดเดียว มาสว่างเจิดจ้าอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจจะเป็นในอก ในท้อง ในศีรษะ หรือตรงหน้าของเราเป็นการเฉพาะ ตอนนี้หูไม่ได้ยินเสียงภายนอกแล้ว อย่าว่าแต่จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส หรือกายสัมผัสเลย ลักษณะเยี่ยงนี้ลมหายใจเข้าออกไม่มีแล้ว คำภาวนาไม่มีแล้ว เราจะอยู่สุขสบาย ผ่องใสเยือกเย็นอยู่กับกำลังส่วนนี้ ถ้าต้องการจะคลายออกเมื่อไรให้กำหนดใจไว้ด้วย ไม่อย่างนั้นจะเลยเวลา ถ้าท่านทำถึงตรงนี้ได้ แสดงว่าสมาธิของท่านก้าวสู่ระดับที่ ๔ เรียกว่าฌาน ๔ หรือจตุตฌาน ความเคยชินระดับที่ ๔

สิ่งทั้งหลายที่ได้กล่าวมานี้เพื่อให้ท่านทั้งหลายที่ชอบถามปัญหาเรื่องของอารมณ์ฌานแต่ละระดับว่ามีอย่างไรบ้าง ก็เอาไปเปรียบเทียบดูว่าตัวเราไปถึงระดับไหนแล้ว แต่ว่าต้องไม่ไปตามจี้ดูว่าตอนนี้ถึงขั้นนี้ สักพักหนึ่งจะเป็นขั้นนี้ ถ้าทำอย่างนั้นอารมณ์ใจขาดอุเบกขา ไม่รู้จักปล่อยวาง สมาธิก็จะไม่เกิด เมื่อท่านเปรียบเทียบแล้วก็ขอให้ทราบว่าสิ่งที่พูดมานั้นเป็นแค่ส่วนหยาบเท่านั้น บางทีรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ก็ขอให้ท่านทั้งหลาย กำหนดรู้แล้วเปรียบเทียบดูว่าใกล้เคียงข้อไหน ควรจะเป็นกำลังใจระดับไหน ก็ลองเทียบดูเอาด้วยตนเอง

สำหรับตอนนี้ก็ให้ทุกท่านส่งกำลังใจเกาะภาพพระหรือเกาะพระนิพพานไว้ ภาวนาหรือพิจารณาตามอัธยาศัยของเราจนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 03-11-2009 เมื่อ 15:49
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 03-11-2009, 14:45
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,188 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ท่านทั้งหลายที่เคยสงสัยว่าตนเองทำได้ถึงฌานระดับใด หรืออารมณ์ฌานในแต่ละระดับเป็นอย่างไร หลวงพ่อท่านได้บอกไว้แล้วในเทศนาตรงนี้ค่ะ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:48



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว