กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 02-01-2021, 09:46
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,030 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๓

ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓ ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมส่งท้ายปี ๒๕๖๓ ของพวกเรา

วันนี้จะขอกล่าวถึงโซ่ข้อกลาง คือเรื่องของสมาธิในไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา เนื่องจากว่าในการปฏิบัติธรรมนั้น เรื่องของสมาธิภาวนาแทบจะเป็นคำตอบของทั้งหมด ยกเว้นอย่างเดียวก็คือ การพิจารณาเพื่อเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้า ซึ่งจะต้องใช้ปัญญาประกอบค่อนข้างมาก แต่ก็ต้องอาศัยกำลังสมาธิช่วยหนุนเสริมอยู่ดี

ฉะนั้น...ในส่วนของสมาธิ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากศีล จึงเป็นโซ่ข้อกลางอย่างชัดเจน เพราะว่าถ้าเราระมัดรังรักษาศีล ก็จะทำให้เกิดสมาธิขึ้นโดยปริยาย เมื่อเรามีสมาธิ สภาพจิตสงบ ระงับ ปัญญาก็จะเกิดขึ้น ไปพินิจพิจารณาจนกระทั่งรู้เห็นร่างกายนี้และโลกนี้ตามสภาพความเป็นจริง ก็คือสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา สมาธิจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งยวด

แต่เท่าที่สังเกตดูในปัจจุบันนี้ ส่วนของสมาธิภาวนานั้น พวกเรามักจะขาด ถนัดแต่ในเรื่องของการให้ทานและรักษาศีล มากกว่านั้นก็อ้างว่าไม่มีเวลาทำบ้าง อ้างว่ากำลังไม่ถึงบ้าง ในเรื่องของการปฏิบัติธรรม เป้าหมายใหญ่ของเราก็คือเพื่อความหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีแต่ทานและศีล โอกาสที่จะเข้าถึงพระนิพพานก็น้อย

ดังนั้น...จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยกำลังของสมาธิ ที่จะไปควบคุมให้ศีลของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์ เนื่องจากว่าเมื่อมีสมาธิทรงตัว สติก็จะตั้งมั่น การระมัดระวังในศีลก็ครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อสติตั้งมั่น สมาธิทรงตัว ปัญญาก็จะเกิด พินิจพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ยังต้องอาศัยกำลังของสมาธิ ในการถอนตัวเองออกมาจากความพอใจ จากความไม่พอใจทั้งปวง

ก็แปลว่าในส่วนของความพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องร้อยรัดเราให้ตกอยู่ในกองกิเลสทั้งสิ้น ดังนั้น...ในแต่ละวัน ท่านควรที่จะให้ความสำคัญกับการกำหนดรู้ โดยเฉพาะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเพื่อสร้างสมาธิให้เกิด เมื่อกำหนดดูกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกจนเคยชิน เกิดสมาธิคือทรงฌานขึ้นมาได้ อาการที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ สามารถรู้ลมหายใจและภาวนาเองได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับก็เป็นเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-01-2021 เมื่อ 15:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 02-01-2021, 09:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,030 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าหากว่าสมาธิเกิดขึ้นในระดับนั้น แล้วเราไม่ได้นำไปใช้งาน เมื่อถึงเวลากิเลสก็จะนำเอากำลังสมาธินั้นไปใช้แทน พาให้เราฟุ้งไปในเรื่องของ รัก โลภ โกรธ หลง แล้วก็จะหักห้ามใจตนเองได้ยาก เพราะว่ากิเลสได้กำลังของสมาธิไปใช้งาน แต่ถ้าหากว่าเรารู้จักใช้ปัญญาพินิจพิจารณา ตัวสมาธิก็จะหนุนเสริมให้เกิดความคล่องแคล่ว ชัดเจน และมีกำลังในการตัด ในการละ ในการถอนตนออกมาจากกองกิเลส

สมาธิจึงแทบจะเป็นคำตอบของการปฏิบัติธรรมเกือบจะทั้งหมด หรือจะเรียกว่าทั้งหมดก็ได้ เพราะว่าท้ายสุดก็ต้องเอากำลังของสมาธิไปประหัตประหารกิเลส ไปถอนตนออกจากหล่มของกิเลส จนกระทั่งเราสามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้

เมื่อเรากำหนดสติสมาธิของเราในแต่ละวันแล้ว ที่สำคัญที่สุดก็คือเมื่อเลิกจากการปฏิบัติธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ของพวกเราหมายถึงการนั่งสมาธิ เรายังต้องรักษาอารมณ์ใจของเราให้ต่อเนื่อง ให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อความผ่องใสในจิตใจของเรา เพื่อที่จะช่วยเสริมในกำลังของปัญญาให้รู้เห็นได้ชัดเจนยิ่ง ๆ ขึ้นไป

การที่เราเอาสติจดจ่อ ประคับประคองอารมณ์สมาธิ จึงเป็นเรื่องที่พวกเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกหัด ปรับปรุงตนเองให้มีความเคยชินในด้านดีอย่างนี้ไว้ ให้รู้จักประคับประคองรักษาอารมณ์การปฏิบัติของเราเอาไว้ ให้ได้เหมือนกับตอนที่เรานั่งสมาธิอยู่

เมื่อเรารู้จักประคับประคองรักษา ก็จะสามารถยืนระยะได้นานยิ่งขึ้น นานขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเคยชิน สภาพจิตที่ตื่นรู้ เราก็สามารถรักษาอารมณ์ใจของเราได้ ไม่ว่าจะหลับหรือตื่น ก็สามารถทรงสมาธิกดกิเลสลงได้ชั่วคราว แล้วใช้กำลังสมาธิไปพินิจพิจารณา ให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ ของโลกนี้ ว่ามีความไม่เที่ยง มีความเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราเป็นปกติ จนกระทั่งเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ถอนกำลังใจของตนออกจากการยึดมั่นถือมั่น ไม่เห็นสาระแก่นสารในร่างกายของตน ไม่เห็นสาระแก่นสารในร่างกายคนอื่น ไม่เห็นสาระแก่นสารใด ๆ ในโลกนี้ เราก็สามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้ดังที่ทุกคนปรารถนา

ลำดับต่อไปก็ขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย น้องผักชี)

__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-01-2021 เมื่อ 15:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:06



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว