กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 30-11-2021, 20:26
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,524
ได้ให้อนุโมทนา: 215,913
ได้รับอนุโมทนา 736,874 ครั้ง ใน 35,896 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default บรรยายพิเศษ วิชาวิสุทธิมรรคศึกษา


บรรยายพิเศษ วิชาวิสุทธิมรรคศึกษา

วันอังคารที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๔๐ น.

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์ บรรยายถวายความรู้วิชาวิสุทธิมรรคศึกษา แก่นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๓ สาขาพระพุทธศาสนา ของวิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์ ผ่านระบบซูมออนไลน์มีตติ้ง ณ ศาลาร้อยปีหลวงปู่สาย วัดท่าขนุน หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 03-12-2021, 00:36
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ขอโอกาสท่านพระครูวิโรจน์กาญจนเขต, ดร. และพระเถรานุเถระที่เป็นนิสิตทุกรูป ตลอดจนกระทั่งเจริญพรญาติโยมที่เข้ามาร่วมฟังอยู่ด้วย

วิชาที่ท่านทั้งหลายเรียนอยู่นี้ จะว่าไปแล้วเป็นวิชาที่มีประโยชน์ที่สุดในความเป็นพระภิกษุสามเณรของเรา ก็คือวิชาวิสุทธิมรรคศึกษา ซึ่งตรงส่วนนี้ตัว
กระผม/อาตมภาพเอง ต้องบอกว่าอยู่กับตำราวิสุทธิมรรคมาตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี จนปีนี้ย่างเข้า ๖๓ ปีแล้ว เห็นประโยชน์อย่างมหาศาลของวิสุทธิมรรค เพียงแต่ว่าท่านทั้งหลายที่มีโอกาสเข้ามาศึกษาแล้ว จะได้เห็นประโยชน์ตรงส่วนนั้นด้วยหรือไม่ ? นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ

วิสุทธิมรรค แปลตรง ๆ ว่า หนทางที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ พูดง่าย ๆ ก็คือ สามารถที่จะชำระใจของตนให้หมดกิเลส เข้าสู่พระนิพพานไปได้เลย เป็นตำราที่เรียกว่า ปกรณ์วิเสส ก็คือถ้าหากว่าในพระพุทธศาสนาของเรา ตำราต่าง ๆ นั้นเริ่มจากพระไตรปิฎก หลังจากนั้นที่ให้การอธิบายขยายความพระไตรปิฎกเรียกว่า อรรถกถา พอนาน ๆ ไปอรรถกถาก็เริ่มเลือนราง คนเข้าใจน้อยลง เพราะว่าไม่ได้อยู่ร่วมสมัยกัน

อย่างเช่น ถ้าหากว่าฝ่ายอรรถกถากล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งในยุคสมัยพุทธกาล แล้วคนทั่วไปเริ่มไม่เข้าใจแล้วว่าเป็นใคร สถานที่แห่งนั้นเป็นอย่างไร บุคคลนั้นเป็นอย่างไร ก็จะมีการอธิบายอรรถกถาขึ้นมา เรียกว่า ฎีกา

พอนาน ๆ ไป ผ่านไปเป็น ๑๐๐ ปี ฎีกาก็เริ่มเลือนรางเหมือนกัน ก็ต้องมีการอธิบายฎีกาขึ้นมาอีก อย่างในส่วนที่พบมากที่สุดในฎีกาก็คือ คำว่า "คณาจารย์ฝ่ายโน้นกล่าวว่า"

คราวนี้คำว่า "คณาจารย์ฝ่ายโน้นกล่าวว่า" ในสมัยการแต่งฎีกานั้น รุ่งเรืองในยุคสมัยของศรีลังกา ก็คือถ้าไม่เป็นฝ่ายมหาวิหาร ก็เป็นฝ่ายอภัยคีรีวิหาร ซึ่งถ้าหากว่ากล่าวถึงลักษณะอย่างนั้น แค่ไม่ให้กระทบกระเทือนกัน พูดง่าย ๆ ก็คือ "พูดให้ชัดแต่เตะไม่ถึง" จะได้ฟ้องร้องกันไม่ได้ ก็ใช้คำว่า "คณาจารย์ฝ่ายโน้นกล่าวว่า" คนก็จะไม่เข้าใจ บรรดาอนุฎีกาจารย์ คือผู้อธิบายฎีกา ก็จะมาอธิบายเพิ่มเติมว่า "คำว่าคณาจารย์ฝ่ายโน้น" ในที่นี้ ในตรงนี้ หมายถึงใคร

คราวนี้พอไปถึงอนุฎีกาจารย์ พอนาน ๆ ไป เนื้อหาเริ่มเลือนราง คนทั่วไปที่ทันยุคทันสมัยก็จะมาอธิบายต่อ เขาเรียกว่า เกจิอาจารย์ คำว่าเกจิอาจารย์ในสมัยนี้ เกจิ แปลว่า ต่าง ๆ กันไป ก็คืออาจารย์ท่านใดก็ได้ที่มีความรู้มาอธิบาย เขาก็เรียกว่าเกจิอาจารย์ แต่คนในยุคสมัยนี้ คำว่าเกจิอาจารย์ไปแปลความว่าเป็นพระขลัง มีความรู้เกี่ยวกับไสยเวทย์วิทยาคมอะไรต่าง ๆ ไปโน่นเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 03-12-2021, 00:39
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่คราวนี้วิสุทธิมรรคของเราไม่ได้อยู่ในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ แม้กระทั่งฎีกานิ้วก้อยที่เขาเรียกว่า คัณฐี ก็ไม่มี เขาก็เลยจัดอยู่ในกลุ่มในของปกรณ์วิเสส คำว่า วิเสส คือ วิเสสะ แตกต่างไปจากปกติ เพราะอยู่ในลักษณะของการย่อพระไตรปิฎกลงมาครับ

ในส่วนของวิสุทธิมรรคที่ย่อพระไตรปิฎกลงมา เกิดจากฝีมือของพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งท่านได้ชื่อนี้มาก็ตอนที่มีชื่อเสียงโด่งดังแล้วครับ

คำว่า โฆษะ ก็คือโด่งดัง กึกก้อง อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของพระพุทธศาสนา ก็เลยเรียกว่า พุทธโฆษาจารย์ จนกระทั่งทุกวันนี้ยังตกลงกันไม่ได้เลยครับว่า พระพุทธโฆษาจารย์เป็นใคร ? มาจากไหน ? ทั้ง ๆ ที่ถ้านับเวลาแล้วก็แค่ไม่กี่ร้อยปีเท่านั้น

ส่วนที่น่าเชื่อถือมากที่สุดกล่าวว่า พระพุทธโฆษาจารย์เป็นชาวสิงหล ซึ่งเกิดในอินเดียตอนใต้ ตรงจุดนี้ที่มีระบุเอาไว้ เพราะว่าบรรดานักวิชาการศาสนาทุกคนมีความเห็นตรงกันว่า อันดับแรก ท่านไปลังกาแล้วคุยกันรู้เรื่อง ศรีลังกาสมัยนั้นใช้ภาษาสิงหล แล้วจากที่เขาระบุไว้ชัดเจนว่าท่านลงเรือไป ก็แปลว่าต้องออกจากอินเดียไปลังกา

ดังนั้น..บรรดาชาวสิงหลต่าง ๆ ที่มีอยู่มากที่สุดในสมัยนั้น ก็คือในอินเดียตอนใต้ ความเชื่อนี้จะได้รับการเชื่อถือมากที่สุดในบรรดานักวิชาการทั้งหมด

แต่ก็มีคนพยายามที่จะดึงว่าท่านเป็นชาวลังกาบ้าง แม้กระทั่งเป็นชาวพม่า ที่บ้ากว่านั้นก็คือบอกว่าเป็นชาวเขมรครับ..! แต่ละคนพยายามที่จะดึงเอาคนดังมาเป็นคนของประเทศตัวเอง ประมาณว่าไทเกอร์ วูดส์เป็นคนไทย ทั้งที่ไทเกอร์ วูดส์ ไม่เคยบอกเลยว่าตัวเองเป็นคนไทย..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 03-12-2021, 00:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้ตรงจุดที่ท่านไปแล้ว ต้องการที่จะเอาเนื้อความในพระไตรปิฎก ซึ่งตอนนั้นมีชัดเจนและสมบูรณ์ที่สุดนั้นอยู่ที่ลังกา เพื่อนำเอาเนื้อหาที่สมบูรณ์ของพระไตรปิฎกกลับมาที่อินเดีย เมื่อท่านไปถึง ไปแสดงเจตจำนง พระเถระที่นั่นก็เลยอยากรู้ว่า ท่านมีความรู้แค่ไหนที่จะมาคัดลอกพระไตรปิฎกกลับไป ? และมั่นใจอย่างไรว่าข้อความนั้นถูกต้อง ? ก็เลยทดสอบท่านด้วยการให้เขียนความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ท่านมีอยู่ขึ้นมา ท่านก็เขียนให้ครับ เขียนออกมาเป็นวิสุทธิมรรคทั้งเล่มนี่แหละ..!

คราวนี้อัศจรรย์ตรงจุดที่ว่า ถ้าฝ่ายนิยมพวกปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ก็บอกว่าพระอินทร์มาแกล้ง ท่านเขียนตั้งแต่ต้นจนจบแล้วเหนื่อยหลับไป พระอินทร์จึงหยิบเอาที่เขียนเสร็จแล้วไปซ่อน
กระผม/อาตมภาพว่าพระอินทร์ของเรานี่ซนเอาเรื่องนะครับ เพราะว่าสมัยที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ก็เอาพระเขี้ยวแก้วไปซ่อน ครั้งนี้ก็เอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคไปซ่อน..!

พระพุทธโฆษาจารย์ตื่นขึ้นมา "อ้าว...ตำราหาย สงสัยว่าจะโดนลมพัดลงทะเลไป" ก็เขียนใหม่ เขียนเสร็จเหนื่อยหมดสภาพนอนหลับไปอีก ก็โดนเอาไปซ่อนอีก จึงเขียนใหม่อีกชุดหนึ่ง พอเขียนชุดที่ ๓ เสร็จ พระอินทร์ค่อยเอาอีกสองชุดมาคืน

ผู้ที่อธิบายคัมภีร์เขาบอกว่า เพราะต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพ และความรู้จริง
ในพระพุทธศาสนาของพระพุทธโฆษาจารย์ เพราะว่าคัมภีร์ทั้ง ๓ ชุดนั้นเขียนเหมือนกันทุกตัวอักษร ไม่มีเพี้ยนเลย ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ถ่ายสำเนาชัด ๆ เลยครับ..!

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอาจารย์ใหญ่ทางฝั่งลังกาก็เลยอนุญาตให้ท่านแปลคัมภีร์จากภาษาสิงหล ก็คือภาษาที่ใช้กันในลังกา กลับไปเป็นภาษาบาลี แล้วก็นำกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ก็คืออินเดียตอนใต้ ซึ่งตอนนั้นพระคัมภีร์ต่าง ๆ สูญหายบ้าง โดนเผาทิ้งไปบ้าง อะไรไปบ้าง ก็เลยเกิดเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรคขึ้นมาให้พวกเราได้เรียน แล้วก็ "ปวดกบาล" กันทุกรุ่นนี่แหละครับ..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 04-12-2021, 18:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้สิ่งที่เราเรียนนั้น สำคัญตรงที่ว่าเป็นข้อสอบกลางด้วย พอเป็นข้อสอบกลางนี่ เจ้าประคุณรุนช่องเถอะ..! ไม่มีใครทำนายอนาคตถูกเลยครับ เพราะไม่ว่าจะเป็น ดร.พระครูวิโรจน์ฯ สอนท่าน หรือว่ากระผม/อาตมภาพสอนท่าน แต่คนออกข้อสอบอยู่ที่วังน้อยครับ แล้วจะออกตรงไหนกันหว่า ?

(ดร.พระครูวิโรจน์ฯ : เขาปรับแล้วครับหลวงพ่อ ให้วิสุทธิมรรคเป็นข้อสอบที่พวกเราออกกันเองครับ) ออกกันเองได้ใช่ไหม ? สงสัยว่าตกเสียจนเข็ด เป็นอันว่ารุ่นนี้รอดไปนะ ถ้ายังเป็นข้อสอบกลางอยู่นี่ น้ำตาเล็ดแน่นอน

คราวนี้ส่วนหนึ่งที่จะให้เคล็ดลับแก่ท่านทั้งหลายก็คือว่า รุ่นของพวกท่านมีตำราแน่นอนแล้ว ให้ดูตรงคำถามท้ายบทในแต่ละบท ถ้าท่านอ่านแล้วสามารถอธิบายคำถามท้ายบทได้ ก็สอบได้แน่นอนครับ แต่ถ้าอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง เปิดหาก็ไม่เจอ รับประกันว่าเครียดแน่ครับ เพราะว่าวิสุทธิมรรคนั้นเป็นภาษาไทยเดิม ไทยโบราณครับ เป็นภาษาไทยที่ต้องแปลเป็นไทยอีกทีหนึ่ง หลายคำพวกท่านอ่านแล้วไม่รู้เรื่องเลย สมัยที่
กระผม/อาตมภาพยังสอนอยู่ จะมีลูกศิษย์ถามเป็นประจำว่า "คำนี้คืออะไรครับอาจารย์ ?" ตรงจุดนี้ก็เลยทำให้ทำความเข้าใจกันได้ยากขึ้น

อย่าลืมตอนที่
กระผม/อาตมภาพพูดมาตั้งแต่แรกนะครับ ว่ากระผม/อาตมภาพคลุกอยู่กับวิสุทธิมรรคมาตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี เพราะว่าไปได้วิสุทธิมรรคฉบับย่อมาครับ เขียนโดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง ท่านใช้ชื่อว่า "คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน" นั่นแหละครับ ย่อมาจากวิสุทธิมรรคเลย

ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเคยอ่านวิสุทธิมรรคเล่มเก่า รุ่นเก่า เขาจะแบ่งออกเป็น ๓ เล่มหนา ๆ สีลนิเทส สมาธินิเทส ปัญญานิเทส ก็จะมีหน้าปกเขียว หน้าปกแดง อะไรประมาณนี้ครับ แล้วถ้าเป็นฉบับล่าสุด ก็คือฉบับที่เทิดเกียรติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ อันนั้นเขาจะรวมเป็นเล่มเดียว แต่ว่าเป็นเล่มใหญ่ ประมาณกระดาษเอสี่ หนาขนาดเป็นหมอนหนุนหัวได้เลยครับ..! ถ้าหากว่าในห้องสมุดมีอยู่ ก็ไปยืมมาดูให้เป็นขวัญตาเอาไว้บ้าง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 04-12-2021, 18:24
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้วิธีจำแบบง่าย ๆ นะครับว่า วิสุทธิมรรคประกอบไปด้วยเนื้อหาอะไรบ้าง ถ้าแบ่งคร่าว ๆ ก็จะแบ่งได้เป็น ๓ นิเทส สีลนิเทส กล่าวถึงศีลต่าง ๆ ครับ เริ่มต้นขึ้นมาก็ สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ ฯลฯ ลักษณะเหมือนกับท่านตั้งกระทู้ขึ้นมา แล้วก็เขียนอธิบายเพื่อตอบกระทู้ของท่านเอง สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ ฯลฯ แล้วท่านก็ค่อย ๆ อธิบายไปว่าศีลนั้นมีอะไรบ้าง ไล่ไปเรื่อย ๆ สารพัดศีล ไปจนกระทั่งเราเองเวียนหัวเต็มทีแล้ว ถึงจะมาสรุปว่าอานิสงส์ของศีลนั้นเป็นอย่างไร ?!

อย่างที่สองก็สมาธินิเทส เกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐานต่าง ๆ ที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ท่านสรุปออกมาเป็นกรรมฐานทั้ง ๔๐ กองนั่นแหละครับ แล้วก็ไปปัญญานิเทส ซึ่งในส่วนนี้ก็ยิ่งปวดหัวหนักขึ้นไปอีก เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าท่านก็จะบอกไปเรื่อย ปัญญาสอง ปัญญาสาม ปัญญาสี่ ปัญญาห้า อยู่ในลักษณะที่ว่าเราไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ เพราะว่าเป็นเรื่องของครู ถึงจะต้องรู้ครบขนาดนั้น แต่คราวนี้เราดันมาเรียนนี่สิครับ ไม่ใช่วิสัยของครู แต่เป็นวิสัยของนักเรียนที่ครูดันมาถามเราว่ารู้ไหม ? ถ้าถามขึ้นมาแล้วเราไม่รู้ ก็เป็นอันว่าจบกัน..!

ดังนั้น...ถ้าหากว่าแบ่งกันแบบหยาบ ๆ เลย ก็จะแบ่งออกเป็นสีลนิเทส สมาธินิเทส และปัญญานิเทส สามส่วน แต่ถ้าจะแบ่งออกเป็นปริจเฉทนี่ก็ ๒๓ ปริจเฉทครับ

ถ้าหากว่าเรานับปริจเฉทก็นับเป็นตอนก็ได้ครับ ก็จะมี
ปริจเฉทที่ ๑ สีลนิเทส ขึ้นด้วย สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ ฯลฯ นั่นแหละครับ อธิบายถึงศีลต่าง ๆ แล้วก็ไปปริจเฉทที่ ๒ ธุตังคนิเทส ที่พวกท่านทั้งหลายกำลังแบ่งสันปันส่วนเพื่อทำรายงานกันอยู่นั่นแหละครับ อธิบายถึงธุดงควัตร ๑๓ ประการว่ามีอย่างไรบ้าง ซึ่งหลายคนก็บอกว่าในเรื่องของธุดงควัตร ๑๓ ประการนี้ เป็นอัตกิลมถานุโยค คือการทรมานตัวเองจนเกินไป

แต่ถ้าท่านทั้งหลายสังเกตดูจะเห็นว่า ทำไมบรรดาท่านที่ถือธุดงควัตร โดยเฉพาะในส่วนของพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านปฏิบัติแล้วได้ผลดีมาก ไม่ใช่ได้ผลดีมากอย่างเดียวนะครับ ยังเกิดมรรคเกิดผลขึ้นมา จนกระทั่งร่ำลือว่าท่านโน้นก็เป็นพระอรหันต์ ท่านนี้ก็เป็นพระอรหันต์ แล้วไหนบอกว่าเป็นอัตกิลมถานุโยค ทรมานตัวเองจนเกินไป ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 04-12-2021, 18:35
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ตรงจุดนี้เราต้องดูวิสัยของคนอีสานครับ ทำไมพระสายวัดป่าไปโด่งดังทางอีสาน แต่ไม่ดังในภาคกลาง ? คนอีสานก่อนหน้านี้ สมัยที่กระผม/อาตมภาพยังเด็ก ๆ การทำมาหากินลำบากยากแค้นมากนะครับ ถ้าหากว่าใครทันก็จะได้ยินเพลงทุ่งกุลาร้องไห้ "ท้องทุ่งแห้งแล้งที่ภาคอีสาน มีชื่อกล่าวขาน ทุ่งกุลาร้องไห้..ฯลฯ"

คราวนี้ด้วยความที่ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบากมาก ทำให้ต้องดิ้นรนต่อสู้มาตั้งแต่เด็ก ท่านทั้งหลายเหล่านี้กำลังใจจะเข้มแข็งมากครับ ต้องบอกว่าประเภทดื้อรั้นหัวชนฝา ชนชนิดที่ฝาพังด้วย หัวไม่แตกอีกต่างหาก..! ก็เลยทำให้คนอีสาน ถ้าปฏิบัติในกรรมฐานทั่ว ๆ ไปแล้วไม่เกิดผลครับ เพราะว่าไม่ตรงกับจริตนิสัยของชีวิตตัวเอง ที่ลำบากยากแค้นมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยจำเป็นที่จะต้องใช้ธุดงควัตรเข้าไปขัดเกลา

ดังนั้น...ในส่วนของท่านที่บอกว่าเป็นอัตกิลมถานุโยค ให้รู้ว่ากำลังใจของคนนั้นแย่มากครับ ไม่สู้ความลำบากอะไรเลย แล้วก็ไปบ่นว่าธุดงควัตรเป็นอัตกิลมถานุโยค แต่จริง ๆ แล้ว ธุดงควัตรนั้นเป็นในส่วนของมัชฌิมาปฏิปทา สำหรับบุคคลที่มีปฏิปทาค่อนข้างจะเข้มแข็ง แกร่งกล้า จะพอเหมาะพอดีสำหรับเขา

มัชฌิมาปฏิปทาไม่มี ๕๐ เปอร์เซ็นต์นะครับ ขึ้นอยู่กับกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา กำลังบุญบารมีที่สั่งสมมา ฉะนั้น...บางคนนั่งกรรมฐาน ๓ วัน ๓ คืน สบายมาก ของเราแค่ ๓๐ นาทีจะตายแล้ว ปฏิบัติธรรม ๑๐ วันนี่อย่างกับไปลงนรก..! ถ้าลักษณะอย่างนี้เราสู้เขาไม่ได้แน่ แต่ว่าท่านทั้งหลายที่ท่านสร้างบุญสร้างบารมีตรงนี้มาเต็มที่ ก็จะพอเหมาะพอดีของเขาครับ มัชฌิมาปฏิปทาของเขาจึงเข้มแข็งมากกว่าเรา

ในส่วนของปริจเฉทที่ ๓ เรียกว่า กัมมัฏฐานคหณนิเทส แสดงถึงบุพกิจเบื้องต้นก่อนลงมือเจริญกรรมฐาน และวิธีการเรียนกรรมฐาน ๔๐ อย่าง บุพกิจนี่เป็นเรื่องที่บางทีเรามองข้ามไปเลย อย่างเช่นว่าการเข้าหาครูบาอาจารย์เพื่อขอกรรมฐาน การพิจารณาสถานที่เพื่อที่จะอยู่ปฏิบัติกรรมฐาน ลองไปศึกษาดูครับ สนุกมากเลย สนุกตรงไหนครับ ? วัดเล็กไปไม่เอา วัดใหญ่ไปไม่เอา วัดเก่าไปไม่เอา วัดใหม่ไปไม่เอา วัดที่อยู่ใกล้ทางเดินไม่เอา วัดที่อยู่ใกล้ท่าน้ำไม่เอา วัดที่อยู่ใกล้แหล่งอาหารไม่เอา เพราะว่าจะพลุกพล่านด้วยคนครับ

วัดที่เก่าเกินไป ท่านบอกว่าต้องเสียเวลาไปซ่อมไปแซมอยู่ ไม่มีเวลาปฏิบัติ วัดที่ใหญ่เกินไป แค่ดูแลทำความสะอาดก็หมดเวลาแล้ว ไม่มีเวลาปฏิบัติ และท้ายที่สุดตลกที่สุดครับ วัดที่มีผีครับ..! ไม่เอา ถามว่าทำไม ? เขาบอกว่าผีมารบกวนแล้วปฏิบัติธรรมไม่ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 04-12-2021, 18:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น...เรื่องของบุพกิจอะไรต่าง ๆ บางทีเราไปดูไปย้อนทวนจะพบว่า คนโบราณนั้นกำลังใจละเอียดมาก ในเมื่อกำลังใจละเอียดมาก สิ่งต่าง ๆ ที่จะเป็นข้าศึกของพรหมจรรย์ คือเป็นข้าศึกของการปฏิบัติธรรม ท่านจะไม่เอาเลย พยายามหลีกเลี่ยง ที่เรียกว่าปลีกวิเวก หลีกออกจากหมู่ พยายามที่จะไม่ไปคลุกคลีกับหมู่คณะ

วัดวาอารามที่อยู่แนวชายแดนไม่เอา ถามว่าทำไม ? สมัยก่อนมีการรบทัพจับศึกกันเป็นปกติครับ เขารุกล้ำเข้ามายึดชายแดนเมื่อไร คุณก็เสร็จสิครับ..! โดนกวาดต้อนไปเป็นเชลย เอาเวลาที่ไหนมาปฏิบัติธรรมครับ ? เพราะฉะนั้น...แต่ละอย่างที่เขาบอกมาว่า ๒๐ - ๓๐ อย่าง ว่าวัดไหนที่ไม่ควร แล้วสถานที่ไหนที่ควร แค่นี้ก็แย่แล้วครับ

แม้กระทั่งในเรื่องของการปฏิบัติกรรมฐานแต่ละข้อต้องทำอย่างไรบ้าง
ทั้งอนุสติ ๑๐ กสิณ ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ แต่ละอย่างต้องทำอย่างไรบ้าง ถ้าหากว่าอ่านครบ ดีไม่ดีก็บรรลุไปเลยครับ..! ก็คือเบื่อเต็มทีแล้ว เมื่อไรจะจบเสียที บางทีอ่าน ๆ ไปตั้งครึ่งต้องค่อน ลืมไปแล้วว่าหัวข้อหลักคืออะไร หัวข้อตรงนี้ก็คือกัมมัฏฐานคหณนิเทสครับ

หัวข้อถัดไป เขาเรียกว่าปฐวีกสิณนิเทส บอกกล่าวถึงในส่วนของการเจริญกสิณ โดยเฉพาะกสิณดิน ว่ามีอานุภาพอย่างไรบ้างในส่วนนี้ บอกกล่าวละเอียดที่สุด เพราะว่ากสิณอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่คล้ายคลึงกัน เปลี่ยนแต่วัสดุในการฝึกฝนปฏิบัติเท่านั้น

เพราะฉะนั้น...ปริจเฉทนี้จะบอกรายละเอียดมากที่สุด บอกในลักษณะของท่านที่เรียนบาลีก็คือ การทำตัวครับ อย่างเช่นบอกว่า "ไหน..ลองแจกปุริโส โดยการทำตัวมาให้ดูหน่อย ?" ท่านที่เรียนบาลีมาก็ต้องเริ่มต้นเลย ปุริโส มาจากศัพท์เดิมว่า ปุริสะ อันว่าบุรุษ เติม สิ ปฐมาวิภัตติในเอกวจนะ แปลงอะกับสิเป็นโอ สำเร็จรูปเป็นปุริโส ปุริโส แปลว่า อันว่าบุรุษ อันอื่น ๆ เราก็ใช้วิธีเดียวกัน เพียงแต่แปลงศัพท์ เปลี่ยนศัพท์ไปเท่านั้นเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 06-12-2021, 20:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในส่วนของนิเทสถัดไป ปริจเฉทที่ ๕ เขาเรียกว่า เสสกสิณนิเทส กสิณในส่วนที่เหลือ เสสะคือส่วนที่เหลือครับ อเสสโต ก็คือ ไม่มีส่วนที่เหลือ อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต อันตรายทั้งหลายจงพินาศสิ้นไป ไม่มีส่วนเหลือ ก็คือหมดเกลี้ยง..! ดังนั้น...ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายแยกออกในลักษณะอย่างนี้ ในปริจเฉทที่ ๕ จึงเรียกว่า เสสกสิณนิเทส

ปริจเฉทที่ ๖ เรียกว่า อสุภกัมมัฏฐานนิเทส อสุภกรรมฐานครับ คู่ศึกของผู้หญิงโดยเฉพาะ เพราะว่าผู้ชายของเราส่วนใหญ่ก็คือชอบเพศตรงข้าม แต่ถึงจะชอบเพศเดียวกันก็ไม่เป็นไรครับ..! เพราะว่าอสุภกรรมฐานใช้ได้ทั้งหมด แต่ถ้าท่านทั้งหลายสังเกตจะเห็นว่า โบราณาจารย์ท่านกำหนดเอาไว้ว่า การเพ่งอสุภกรรมฐานอย่าเพ่งศพเพศตรงข้าม ให้เพ่งศพเพศเดียวกัน ตรงนี้เกิดกับผมเองเลยครับ รุ่นของผมยังดีนะครับ สมัยนั้นป่าช้าก็มีน้อยแล้ว แต่ยังมีการเผากลางแจ้ง เผากองฟอน ได้เห็นศพกันชัด ๆ

แต่ถ้าหากว่าต้องการชัดกว่านั้น พอดีมีรุ่นพี่ครับ ร้อยตำรวจเอกสุรินทร์ หลากสุขถม พี่แกอยู่ที่นิติเวช กรมตำรวจ ก็คืออยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ พอมีคนตายมา แกก็จะต้องไปช่วยกันผ่าศพ คราวนี้การที่ช่วยกันผ่าศพนั้น พวกเราก็สั่งเอาไว้ว่า "พี่สุรินทร์ ถ้าหากว่ามีศพเข้ามา ช่วยโทรบอกด้วย จะผ่าวันไหน จะได้ไปดูกัน"

ท่านทั้งหลายที่พยายามฝึกอสุภกรรมฐานด้วยการใช้รูปถ่าย ไม่มีผลนะครับ เหตุที่ไม่มีผล เพราะว่ามีแต่รูปครับ แต่ถ้าหากว่าท่านไปเจอศพด้วยตนเอง สี กลิ่น รสมาครบเลยครับ ทันทีที่เดินเข้ามาในเขตนั้นได้กลิ่นปุ๊บ จะรู้เลยครับว่านี่คนตาย บอกเลยครับว่านี่กลิ่นคนตาย..!

พี่สุรินทร์แกก็จะโทรเรียก พวกเราก็ไปกัน ๓ รูป ๔ รูป เข้าไปครั้งแรก เจ้าประคุณเอ๊ย...อ้วกแตกอ้วกแตนเลยครับ..! ทั้ง ๆ ที่บรรยากาศก็ตลกนะครับ เพราะว่าเขาจะมีแม่โขงเหน็บเอวอยู่คนละกั๊กครับ สมัยนั้นผ้าปิดจมูกอย่างนี้ไม่ค่อยจะมีครับ ถึงเวลาพี่แกก็ใช้แม่โขงปิดจมูก..! นาน ๆ กรอกอึกเข้าไปทีหนึ่ง ก็พอที่จะลดกลิ่นไปได้

"เอ้า...ไหนบอกมาสิ ลักษณะบาดแผลเป็นอย่างไร ?"
"บาดแผลลักษณะโดนแทง กว้างนิ้วครึ่งครับ ทางด้านบนกว้าง ทางด้านล่างแคบ เป็นลักษณะของอาวุธมีคม สันหนา"
"ลึกเท่าไร ?"
"๗ ซ.ม. ครับ"
"ตายเพราะสาเหตุอะไร ?"
"ไม่หายใจครับ"
พวกถีบผางให้เลย..!
"ไอ้ห่...อุตส่าห์จดแทบตาย ถามว่าตายเพราะอะไร ดันบอกว่าตายเพราะไม่หายใจ..!"

เขาก็เล่นกันสนุกอยู่ข้างใน แต่พวก
กระผม/อาตมภาพอ้วกแตกเลยครับ กลับไปนี่ฉันอะไรไม่ได้ไปเป็นอาทิตย์เลย แต่ขอโทษนะครับ..หลังจากนั้นนาน ๆ ไปแล้วเริ่มด้านครับ พอถึงเวลาไปเจอศพผู้หญิง เราก็ไม่ดูตรงที่เขาผ่าแล้ว ไปดูตรงที่ยังไม่ได้ผ่ากันครับ..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #10  
เก่า 06-12-2021, 20:53
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ตรงจุดนี้แหละครับ ทำไมโบราณาจารย์ถึงได้บอกว่า การฝึกอสุภกรรมฐานอย่าฝึกกับเพศตรงข้าม เพราะว่าศพบางศพนี่สวยครับ พยายามดูอย่างไรก็สวย ก็เลยจำเป็นที่จะต้องฝึกกับเพศเดียวกัน

แต่ถ้าท่านทั้งหลายดันชอบเพศเดียวกัน ก็ต้องฝึกกับเพศตรงข้ามครับ สมัยนี้หายากแล้วครับ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วนิติเวช ถ้าไม่ใช่ "ซี้" กันจริง ๆ เขาไม่ให้เข้าไปหรอกครับ ไปยุ่งกับเขา เกะกะขวางทางเขา สมัยนี้ในเรื่องของอสุภกรรมฐานจึงหาฝึกยากมากแล้ว
กระผม/อาตมภาพขอแนะนำว่า ถ้าอยากฝึกก็โน่นเลยครับ...เขียงหมูครับ..! ยังพอได้บรรยากาศอยู่ เพียงแต่ว่าต้องพยายามจินตนาการให้ได้ว่า หมูนี่คือคน เพราะว่ามีลักษณะที่พอจะคล้ายคลึงกัน

จากอสุภกรรมฐานไปแล้วก็จะเป็น ฉอนุสตินิเทส กล่าวถึงอนุสติ คือการตามระลึกถึงความดี ๖ ข้อด้วยกัน เพราะว่าอนุสติจริง ๆ มี ๑๐ อย่างครับ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ คือระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เทวตานุสติ ระลึกว่าเทวดามีความดีอย่างไร แล้วปฏิบัติตามเพื่อให้เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราร้องขอจากพรหมเทวดานะครับ แต่บอกคุณสมบัติของการเป็นพรหม เป็นเทวดาให้พวกเรา และสามารถบอกได้ล้ำไปกว่านั้นด้วย ก็คือบอกไปถึงความเป็นวิสุทธิเทพ ความเป็นเทวดาที่บริสุทธิ์สิ้นเชิง คือพระอรหันต์ครับ ดังนั้น...ในส่วนนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราร้องขอ แต่ท่านมั่นใจในศักยภาพของมนุษย์ว่า คุณสามารถทำตนให้เป็นเทวดา เป็นพรหมเองได้เลย..!

ในส่วนต่อไปก็คือสีลานุสติ การระลึกถึงคุณของศีล จาคานุสติ ระลึกถึงคุณความดีของการบริจาคให้ทาน มรณานุสติ ระลึกถึงความตาย จะได้ไม่ประมาท อุปสมานุสติ ระลึกถึงความสงบระงับจากกิเลสทั้งปวง บางคนบอกว่าระลึกถึงพระนิพพาน โดยมีอานาปานสติ ก็คือลมหายใจเข้าออกเป็นหลักเลย จำไว้เลยว่าอานาปานุสติ เป็นแม่ของกรรมฐานทั้งปวง ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติกรรมฐานสายไหนก็ตาม ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกแล้ว ไปไม่รอดครับ..!

ในส่วนของบุคคลที่เป็นราคะจริต มีกายคตานุสติเอาไว้ให้ แยกร่างกายเป็นชิ้น ๆ ไปเลยครับ อวัยวะภายในอย่างไร อวัยวะภายนอกอย่างไร ที่
กระผม/อาตมภาพแนะนำว่าให้ไปดูเขียงหมูครับ แล้วก็จินตนาการว่าหมูนั่นคือคน ก็ยังพอได้สีได้กลิ่นอยู่บ้าง แต่ว่าถ้าไปยืนเกะกะบ่อย ๆ เดี๋ยวคนขายเขาก็ถามว่า "หลวงพี่จะซื้อไหม ?"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #11  
เก่า 06-12-2021, 20:57
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้ก็จะเหลืออนุสติส่วนที่เหลืออีก ๔ กอง จากฉอนุสตินิเทส ก็จะเป็นอนุสติกัมมัฏฐานนิเทสที่เหลืออีก ๔ อย่าง มีมรณานุสติ เป็นต้น แล้วหลังจากนั้นจะเป็นของยากครับ

สำหรับ
กระผม/อาตมภาพในตอนที่ปฏิบัติอยู่ก็คือ พรหมวิหารนิเทส พรหมวิหาร ๔ ครับ ตรงนี้เป็นกรรมฐาน ๔ ข้อ ๔ กองที่ไม่เหมือนกันเลย แต่จัดอยู่ด้วยกันได้ ก็คือตั้งแต่เมตตาพรหมวิหาร รักคนอื่นเสมอตัวเรา กรุณาพรหมวิหาร สงสารอยากให้คนอื่นพ้นทุกข์ มุทิตาพรหมวิหาร พลอยยินดีเมื่อเห็นคนอื่นอยู่ดีมีสุข ไม่มีอิจฉาริษยาเลยครับ

ตอนสมัยที่
กระผม/อาตมภาพฝึกอยู่ เดินบิณฑบาต เสียงรถยนต์วิ่งมา เออหนอ...เขาทำบุญมาดีนะ เขาถึงได้มีรถดี ๆ ขี่ กำลังใจไม่ได้อิจฉาริษยาไม่พอครับ ยังพลอยยินดีไปด้วย แล้วท้ายที่สุดก็คืออุเบกขาพรหมวิหาร ตรงจุดนี้เป็นสุดยอดที่พระพุทธเจ้าท่านให้ไว้ครับ สำหรับคนบางคนที่เมตตาเกินประมาณ

ถามว่าเมตตาเกินประมาณตรงไหนครับ ? ช่วยเขาไม่ได้แล้วเครียดเองครับ แล้วในที่สุดก็กลายเป็นโรคซึมเศร้าไปเลยก็มี ดังนั้น...ถ้าหากว่าเราช่วยคนอื่นเขาเต็มที่แล้ว ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา กำลังคน กำลังทรัพย์ แล้วยังช่วยไม่ได้ ต้องยอมรับบ้างว่ากรรมเขาหนักเกินไป เราก็ต้องปล่อยวางครับ ปล่อยวางโดยที่พร้อมจะช่วยเหลืออีกถ้ามีโอกาส ไม่ใช่ไปแบกเอาไว้เหมือนอย่างกับว่าเป็นตัวของเราเอง แล้วจะต้องช่วยให้ได้

ดังนั้น...ในเรื่องของอุเบกขาพรหมวิหาร
กระผม/อาตมภาพถึงได้ใช้คำสรุปสั้น ๆ ว่า พระพุทธเจ้าให้ไว้เพื่อกันไม่ให้เราบ้าครับ..! และโดยเฉพาะกรรมฐานทุกกอง ถ้าไม่มีอุเบกขา ไม่สามารถที่จะเข้าถึงที่สุดของกรรมฐานกองนั้น ๆ ได้ครับ เพราะว่ากรรมฐานทุกกอง ท้ายสุดจะมีคำว่าเอกัคตารมณ์ อารมณ์ที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว อารมณ์ที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวนั้น ประกอบไปด้วยอุเบกขาครับ ถ้าไม่มีอุเบกขา จะตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ครับ

เมื่อพ้นจากตรงนี้ไปแล้วก็ยังมีของโคตรยากรอเราอยู่อีก ก็คืออารุปปนิเทส เป็นอรูปฌาน ๔ อย่าง ตั้งแต่อากาสานัญจายตนฌาน เป็นการละทิ้งรูปในกสิณไปยึดความว่างของอากาศเป็นอารมณ์ กำหนดใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเหลือเลย นอกจากความว่างเปล่าทั้งสิ้น ภาวนาว่า "อากาโส อนันโต...อากาโส อนันโต" ทรงกำลังสมาธิเต็มที่ถึงฌาน ๔ เมื่อไร ท่านจะสำเร็จในอากาสานัญจายตนฌาน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 03:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #12  
เก่า 06-12-2021, 21:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ตรงจุดนี้มีคนเขาถามว่า การฝึกอรูปฌานสำคัญที่สุดตรงไหน ? สำคัญที่สุดตรงที่ท่านต้องได้กสิณข้อใดข้อหนึ่งมาก่อนครับ เพราะว่ากสิณเป็นรูปกรรมฐาน ท่านจะฝึกอรูป คือความไม่มีรูป ท่านต้องตั้งรูปขึ้นมาก่อน หลังจากตั้งรูปขึ้นมาแล้ว ค่อยทิ้งรูปนั้น ซึ่งภาษาโบราณในวิสุทธิมรรคเขาใช้คำว่า "เพิกเสีย" ก็คือไม่สนใจ ทิ้งไปก่อน แล้วมาจับความว่างของอากาศแทน แต่ว่ากำลังทั้งหมดก็เต็มที่แค่ฌาน ๔ ครับ ต่อให้เขาเรียกว่าฌาน ๕ - ๖ - ๗ - ๘ กำลังก็เต็มที่แค่ฌาน ๔ เท่านั้น

หลังจากนั้นเมื่อได้เรียบร้อย ซักซ้อมมั่นคงแล้วว่าเราได้แน่ ก็ขยับไปอีก ก็คือวิญญาณัญจายตนฌาน ในส่วนของอรูปฌานต่อไป เปลี่ยนจากการจับความว่างของอากาศ โดยที่คิดว่าแม้อากาศนี้จะว่างอยู่ แต่ยังสามารถใช้ความรู้สึกกำหนดได้ ดังนั้น..เราไม่เอาแม้แต่ความรู้สึกคือวิญญาณนี้ คำภาวนาคือ "วิญญาณัง อนันตัง..วิญญาณัง อนันตัง" ว่าไปเรื่อย ๆ ครับ จนกระทั่งรู้สึกว่าไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่เลย ว่างสว่างขาวโล่งไปหมด ทรงฌาน ๔ ได้เต็มระดับ ท่านก็จะได้อรูปฌานที่ ๒ หรือว่าสมาบัติที่ ๖ คือวิญญาณัญจายตนฌาน

หลังจากนั้นถ้ายังคิดว่าไม่พอ ก็ไปต่อได้ครับ อุทกดาบสรามบุตรยังสอนต่อได้ครับ สมาบัติที่ ๗ เขาเรียกว่า อากิญจัญญายตนฌาน ก็คือ แม้แต่วิญญาณความรู้สึกนี้ เราก็ไม่ต้องการ เราไม่ยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลยแม้แต่น้อยหนึ่ง ตั้งภาพกสิณขึ้นมา เพิกภาพกสิณนั้นทิ้งเสีย เข้าอรูปฌานที่ ๑ อากาสานัญจายตนฌาน ทบทวนให้มั่นคง ถอนออกมา ตั้งรูปกสิณขึ้นมาใหม่ เพิกรูปกสิณเสีย เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน สมาบัติที่ ๖ จนกระทั่งมั่นคงแล้วก็คลายออกมา ตั้งภาพกสิณขึ้นมาใหม่ ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างหมดเกลี้ยง ไม่เอาอะไรเลย ถ้ามีความสามารถจะพิจารณาร่วมไปด้วยว่า ทุกสิ่งเสื่อมสลายไปหมดก็ยิ่งดี ภาวนาว่า "นัตถิ กิญจิ..นัตถิ กิญจิ" ไปเรื่อย ๆ ทรงฌาน ๔ ได้เมื่อไร ท่านจะได้สมาบัติที่ ๗ เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌาน

หลังจากนั้นก็ไปสุดท้ายเลยครับ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อันนี้ไม่ใช่การภาวนาแล้ว เป็นการใช้ผลของฌานครับ ร้อนก็ทำเป็นไม่ร้อน หนาวก็ทำเป็นไม่หนาว หิวก็ทำเป็นไม่หิว กระหายก็ทำเป็นไม่กระหาย ไม่รับรู้อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายนี้ครับ เขาเรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็คือสมาบัติที่ ๘ ที่แปลว่า มีสัญญาก็ทำเหมือนกับไม่มีสัญญา

ถ้ากำลังสมาธิเราไม่คล่องตัว ไปไม่รอดนะครับ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปางครับ นั่งตากแดดอยู่เป็นเดือน ๆ จนผิวลอกเป็นแผ่น ๆ เลย หรือไม่ก็อย่างสมัยก่อนหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกาครับ พอถึงเวลาก็ชักจีวรคลุมโปง นอนเงียบไปเลย ๗ วัน ลูกศิษย์ไปเขย่าตัว "หลวงตา..หลวงตา" ท่านก็ "อือ..อือ" แล้วก็เฉย ไม่ครบ ๗ วันกูไม่ลุก..! นี่คือลักษณะของบุคคลที่เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานครับ ตรงส่วนนี้เขาเรียกว่าอรุปปนิเทส ก็คือปริจเฉทที่ ๑๐ กล่าวถึงวิธีการฝึกในอรูปฌาน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 05:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #13  
เก่า 07-12-2021, 23:26
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลังจากนั้นแล้วก็จะไปเป็นสมาธินิเทส ทั้ง ๆ ที่ตอนแรกของสมาธินิเทส เริ่มเข้าตั้งแต่กองกรรมฐานแรกแล้ว แต่พอมาแบ่งเป็นปริจเฉท สมาธินิเทสกลับมาอยู่ลำดับที่ ๑๑ ครับ บอกถึงวิธีการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา แล้วก็จตุธาตุววัฏฐาน ก็คือการพิจารณาว่าอาหารมีพื้นฐานมาจากของสกปรก เพื่อที่ไม่ให้เราหลงติดในรส ในสี ในกลิ่นของอาหารครับ

มีพระที่วัด
กระผม/อาตมภาพนี่เองครับ หลวงตาปรีชา อกิญฺจโน ถามว่า "อาจารย์ครับ อย่างผลไม้สุกก็อร่อยครับ สีก็สวยด้วย บางทีก็เลือกซื้อเพราะสีครับ แล้วจะพิจารณาอย่างไรว่าสกปรก ?" ผมบอกว่า "ปัญญาท่านต้องมากกว่านี้นิดหนึ่ง เพราะว่าในส่วนที่ท่านเห็นว่าผลไม้สุก จริง ๆ แล้วกำลังเน่าอยู่..! แต่คนเราฉลาดครับ เอามากินตอนที่ "เน่ากำลังดี" ไม่ได้กินตอนที่เน่าเละเทะแล้ว แต่ก็จะไปเน่าเละเทะอยู่ในท้องของคุณอีกทีหนึ่ง ลองนึกถึงภาพที่ไปอีเหละเขะขะ คลุกรวมกันในบาตรเวลาเราฉันสำรวมดูสิ สีสันยังสวยอยู่อีกไหม ?" "เออ...จริงครับ"

ดังนั้น...ตรงจุดนี้ถ้าหากว่าจะใช้ ต้องใช้กำลังปัญญาสูงมาก เพราะว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญาตรงจุดนี้ ถ้าเราพิจารณาไม่เป็น จะหลงติดอยู่ ในสี ในกลิ่น ในรส ของอาหารครับ

ญาติโยมหลายคนที่
กระผม/อาตมภาพรู้จัก ถ้าไม่ใช่ร้านประเภท "เชลล์ชวนชิม" หรือ "แม่ช้อยนางรำ" นี่ไม่เข้าเลยครับ ไกลแค่ไหนก็ตามไปกินได้ทุกร้าน ในรถมีแต่ "โบรชัวร์" ของร้านพวกนี้อยู่ครับ ผ่านไปภาคไหนกูมีที่แวะทั้งนั้น เออว่ะ...เก่งมากเลย พวกนี้ถ้าหากว่ามาปฏิบัติธรรม กระผม/อาตมภาพว่าบรรลุไปเยอะเลยครับ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าเขาตั้งใจทำจริง ๆ ครับ แต่เพียงว่าดันไปทำเพื่อสนองกิเลสตัวเองเท่านั้น..!

แล้วส่วนของจตุธาตุววัฏฐาน ก็คือพิจารณาว่าร่างกายนี้เป็นธาตุ ๔ ประกอบขึ้นมาจาก ดิน น้ำ ไฟ ลม

ส่วนที่แข็ง เป็นแท่ง เป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นอัน จับได้ ต้องได้ คือธาตุดิน ได้แก่อวัยวะภายในภายนอกทั้งปวง

ส่วนที่เหลวไหลเอิบอาบอยู่ในร่างกายเรียกว่า ธาตุน้ำ มีเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น

ส่วนที่ให้ความอบอุ่นในร่างกายคือ ธาตุไฟ มีทั้งที่กระตุ้นร่างกายให้เจริญเติบโต มีทั้งที่เผาผลาญร่างกายให้ทรุดโทรมลง มีทั้งที่ช่วยเผาย่อยอาหาร เป็นต้น

ส่วนที่เป็นธาตุลม คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมที่ค้างอยู่ในท้องในไส้ ลมที่อยู่ในช่องว่างร่างกาย เช่น ช่องหู ช่องจมูก ลมที่พัดขึ้นเบื้องสูง พัดลงเบื้องต่ำ พัดไปทั่วร่างกาย ที่เรียกว่าความดันโลหิต
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 05:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #14  
เก่า 07-12-2021, 23:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แยกให้ออกครับ พอแยกเป็นดิน ๑ กอง เป็นน้ำ ๑ กอง เป็นลม ๑ กอง เป็นไฟ ๑ กอง ก็ไม่เหลืออะไรเป็นเราจริง ๆ เลยนะครับ พอปั้นขึ้นมาใหม่ มีหัว มีหู มีหน้า มีตา จิตคือตัวเรามาอาศัยอยู่ตามบุญตามกรรม เรากลับไปยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา ปัญญาไม่ถึงนี่เรายึดจริง ๆ นะครับ ไม่ได้ยึดแต่ตัวเราเท่านั้น ยังยึดคนอื่นด้วย คนโน้นก็พ่อกู นั่นแม่กู โน่นผัวกู นี่เมียกู นั่นลูกกู แล้วก็ยังไม่พอ นั่นเพื่อนกู ท้ายสุดแม้กระทั่งหมาของกู..!

ไอ้ที่หนักกว่านั้นก็คือขี้ของกูครับ จะฆ่ากันตายมาแล้วนะครับ คนสองคนเดินทางเข้าป่าไปล่าสัตว์ด้วยกัน พอออกท้ายหมู่บ้าน กลิ่นขี้เหม็นมาครับ ไอ้เพื่อนก็ด่าขึ้นมา "ไอ้ห่...ใครมาขี้ทิ้งไว้วะ ? เหม็นฉิบหายเลย" ไอ้เพื่อนที่เดินมาด้วยกันนั่นละครับ ถีบโครมเข้าให้ "มึงว่ากูขี้เหม็นหรือวะ ?" ขนาดขี้ยัง "ขี้ของกู" เลยนะครับ แล้วจะไปเอาอะไรมากมายกว่านี้ได้ละครับ

ข้อที่ ๑๒ อิทธิวิธินิเทส สามารถแสดงฤทธิ์ผาดแผลงต่าง ๆ ด้วยอำนาจของกสิณ ๑๐ อย่าง อย่างเช่นว่า ถ้าหากว่าใช้กสิณดิน ก็ดำดินหายไปได้เลย ถ้าใช้กสิณลม ก็เหาะให้ดูต่อหน้าต่อตา ถ้าหากว่าใช้กสิณไฟ ก็สร้างไฟขึ้นมา สามารถไล่เผาศัตรูได้ เป็นต้น

ตรงจุดนี้ต้องบอกว่า ถ้าใครทำได้ จะมี "กฎเกณฑ์อะไรบางอย่าง" ที่คอยควบคุมอยู่ ไม่เช่นนั้นแล้วก็ได้เล่นกันจนกระทั่งบรรลัยวายวอดกันหมดละครับ ไม่ชอบใจใครก็ถลุงมันเลย มีอำนาจมากครับ สามารถชี้เป็นชี้ตายให้คนอื่นได้ ดังนั้น...คนที่จะฝึกมาถึงระดับนี้ได้ ต้องยอมรับกฎของกรรมในระดับหนึ่งครับ ไม่เช่นนั้นแล้วก็เป็นเรื่องยากครับ

ปริจเฉทต่อไป เขาเรียกว่า อภิญญานิเทส กล่าวถึงอภิญญา ๖ ประการ ตั้งแต่ ทิพโสต ทิพจักขุ มโนมยิทธิ ไล่ไปเรื่อย ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ เป็นต้น แต่ถ้าหากว่าท่านเรียนมาในนักธรรมชั้นตรี จะเห็นว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระองค์ท่านเป็นนักวิชาการครับ ไม่ใช่นักปฏิบัติ ท่านก็เลยตีค่าอภิญญาจนกระทั่งเหลือแค่สลึงเดียวครับ ของที่ราคาหลายล้าน ท่านตีค่าเหลือสลึงเดียว ตีอย่างไรรู้ไหมครับ ?

ท่านบอกว่า "ทิพโสต อย่างเช่นบุคคลที่หูดี ฟังได้ไกล ฟังได้ไว หรือสมัยนี้มีโทรศัพท์ใช้ เป็นต้น ทิพจักขุคือบุคคลที่สายตาดี เห็นได้ไกล เห็นได้ไว หรืออย่างสมัยนี้ มีแว่นตาใช้ เป็นต้น อื่น ๆ ให้ลองพิจารณาดู สามารถสงเคราะห์ลงสู่ข้อไหนก็นับว่าเป็นข้อนั้น"..!

ฉิบหา..แล้วครับท่าน...! เพราะว่าอภิญญาที่พระพุทธเจ้าว่าไว้
กระผม/อาตมภาพบอกแล้วว่าเป็นของราคาเป็นล้าน ท่านตีราคาเหลือแค่สลึงเดียว..! ก็คือพยายามจะเอาเข้ามาให้คนเห็นได้ จับได้ ต้องได้

แต่คราวนี้ตัวอภิญญา อภิ แปลว่ายิ่งกว่า อัญญา คือความรู้ เป็นความรู้ที่ยิ่งเกินกว่าคนทั่ว ๆ ไปจะมีครับ ไม่ใช่ทุกคนก็มีได้ ก็อย่างว่าละครับ พระองค์ท่านแต่งหนังสือเยอะแยะขนาดนั้น จะให้พิจารณาให้รอบคอบไปทีเดียว ก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ แล้วพระองค์ท่านก็มาจากนักวิชาการล้วน ๆ ไม่ใช่สายปฏิบัติ ในเมื่อเป็นเช่นนั้น พอถึงเวลาพระองค์ท่านเองว่าผิดไปบ้าง เพี้ยนไปบ้าง เราก็ต้องยอมรับนะครับว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เรายังต้องมาศึกษาเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 10-12-2021 เมื่อ 22:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #15  
เก่า 07-12-2021, 23:35
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ปริจเฉทที่ ๑๔ เรียกว่า ขันธนิเทส เริ่มเข้ามาสู่ในส่วนของปัญญานิเทส ก็คือพิจารณาขันธ์ ๕ ได้แก่

รูป คือร่างกายเรานี้

เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์

สัญญา คือ ความรู้ได้หมายจำ

สังขาร คือ ความนึกคิดปรุงแต่ง สังขารในที่นี้ไม่ใช่ร่างกายนะครับ เราจะไปชินกันว่าสังขารคือร่างกาย สังขารตัวนี้คือจิตสังขารครับ เป็นการปรุงแต่งของใจ

ถ้าเราเห็นคนเดินมา เริ่มรู้สึกว่าเป็นผู้หญิงผู้ชายนี่ ปรุงแต่งไปนานแล้วนะครับ คนที่มีปัญญาจริง ๆ จะสักเห็นว่าเป็นรูป สักเห็นว่าเป็นธาตุ ทันทีที่เราปรุงแต่งเป็นหญิงเป็นชาย จิตใจจะแบ่งเป็น ๒ อย่างครับ ก็คือ ชอบหรือไม่ชอบ ชอบก็จัดเป็นราคะ ไม่ชอบจัดเป็นโทสะ พังทั้งคู่นะครับ..!

ดังนั้น...ในส่วนของขันธ์ ๕ ตัวที่ร้ายกาจที่สุดสำหรับ
กระผม/อาตมภาพก็คือสังขารครับ ใจที่คิดปรุงแต่ง ทำอย่างไรที่เราจะรู้เท่าทันและไม่ไปปรุงแต่ง เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น

ตัวสุดท้ายคือวิญญาณครับ วิญญาณในปัจจุบันนี้ความหมายเพี้ยนไปมากครับ เราไปนึกว่าเป็นผี แต่วิญญาณในที่นี้คือประสาทการรับรู้ครับ อย่างเช่นว่าประสาทตา เรียกว่าจักขุวิญญาณ ประสาทหู เรียกว่าโสตวิญญาณ เป็นต้น

ดังนั้น...ในส่วนของวิญญาณในขันธ์ ๕ หรือกองขันธ์นี้ ก็คือในส่วนของประสาทรับรู้ของร่างกายเรานี่เอง ปริจเฉทนี้เรียกว่าขันธนิเทส
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 05:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #16  
เก่า 10-12-2021, 01:06
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ต่อไปเป็นอายตนะและธาตุนิเทส จะกล่าวถึงอายตนะ ๑๒ ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอายตนะภายในของเรานี้ ๖ อย่าง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่เป็นอายตนะภายนอกอีก ๖ อย่าง รวมแล้ว ๑๒ อย่าง

ถ้ามาถึงตรงนี้ อย่าลืมนะครับว่าท่านผ่านสีลนิเทสมาแล้ว การที่จิตใจของท่านระมัดระวัง รักษาศีลอย่างเต็มที่ย่อมเกิดสมาธิขึ้น เมื่อเกิดสมาธิแล้วก็ง่ายต่อการปฏิบัติธรรม ก็คือกรรมฐาน ๔๐ กองที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นอนุสติ ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ กสิณ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ และ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑

เมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว ปัญญาของท่านก็จะมีมาก สมาธิจะแหลมคม จะว่องไว ดังนั้น...ในส่วนของอายตนะ ทันทีที่กระทบรูป ต้องสักแต่ว่ารับรู้ ปรุงแต่งไม่ได้เลย ปรุงเมื่อไร เสียท่ากิเลสเมื่อนั้นแล้วที่แน่ ๆ ก็คือ เข้าธาตุนิเทส แยกธาตุไปเลยครับ

แบบเดียวกับที่ในวิสุทธิมรรคมีคนถามพระรูปหนึ่งเดินสวนกับผู้หญิง ผู้หญิงเขายิ้มให้แล้วก็เดินเลยไป อีกสักพักหนึ่ง ผัวเขามาตามครับ ถามว่า "พระคุณเจ้า..เห็นผู้หญิงเดินผ่านไปทางนี้บ้างไหม ?" พระท่านบอกว่า "มีผ่านไปเหมือนกัน แต่เห็นเป็นโครงกระดูกผ่านไป..!" คือผู้หญิงยิ้มให้ ท่านเห็นฟันครับ พอเห็นฟัน ท่านก็จับเลยว่านี่เป็นอัฏฐิกอสุภกรรมฐาน ก็เลยกำหนดผู้หญิงทั้งร่างเป็นโครงกระดูกเดินผ่านไป ยังดีนะครับ ที่เดินสวนกันแค่คนเดียว ถ้าเดินสวนกันหลายคน คงตอบปัญหาผู้ชายคนนั้นไม่ได้แน่ว่าเมียเขาผ่านไปหรือเปล่า ?

ตรงจุดนี้เราต้องเข้าใจว่า เมื่อมาถึงส่วนของปัญญานิเทส จะต้องผ่านสีลนิเทสและสมาธินิเทสมาแล้ว กำลังของเราจะสูงมาก ถึงเวลาแล้ว เราก็จะสักแต่ว่ารู้เห็น แล้วก็แยกธาตุไปเรียบร้อยครับ สักแต่ว่าเป็นรูป สักแต่ว่าเป็นธาตุ

แบบเดียวกับที่สายวัดปราสาททอง จังหวัดสุพรรณบุรี อันนี้เป็นรูป อันนี้เป็นนาม..อันนี้เป็นรูป อันนี้เป็นนาม ไล่ไปเรื่อยครับ แล้วท้ายที่สุด ก็เป็นรูปในนามให้ยุ่งไปหมด ถ้าใครศึกษาสายนี้แล้วแยกไม่ออก ก็ไปไม่รอดเหมือนกันนะครับ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-12-2021 เมื่อ 02:58
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #17  
เก่า 10-12-2021, 01:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลังจากนั้นก็ปริจเฉทที่ ๑๖ อินทริยกับสัจจนิเทส กล่าวถึงอินทรีย์ ๒๒ กับอริยสัจ ๔ ถ้าท่านที่ศึกษาแยกส่วนมาในวิปัสสนาภูมิ จะเห็นชัด ๆ เลยครับ ที่ท่านกล่าวถึง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ แล้วก็ไปอินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔

ตรงจุดนี้ก็ต้องบอกว่า มาถึงในส่วนของปัญญาล้วน ๆ พอมาถึงระดับนี้แล้ว ถ้าไม่ใช่นักปฏิบัติที่แท้จริง จะเข้าถึงยากมากครับ เพราะว่าอินทรีย์คือความเป็นใหญ่ ก็จะแยกออกมาว่าตาเป็นใหญ่ในการเห็นรูป จมูกเป็นใหญ่ในการได้กลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการชิมรส เป็นต้น

พอมาถึงอริยสัจ ๔ นี่ ยิ่งหนักเข้าไปอีกครับ อย่าเป็นคนขี้สงสัยเป็นอันขาด เพราะว่าอริยสัจ ๔ เราท่องได้ทุกคนครับ ทุ สะ นิ มะ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์ คือ อาการไม่สบายกาย ไม่สบายใจทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับเรา

สมุทัย คือ สาเหตุแห่งการเกิดทุกข์

นิโรธ คือ การดับทุกข์

มรรค คือ ปฏิปทาเพื่อการเข้าถึงความดับทุกข์

คนขี้สงสัยเขาก็จะสงสัยว่า ทำไมทุกข์มาก่อนสาเหตุได้ด้วยหรือ ? ต้องเกิดเหตุก่อนถึงจะทุกข์...ใช่ไหม ? แล้วนิโรธความดับ ทำไมมาถึงก่อน ? ทำไมหนทางแห่งความดับไม่มาก่อน ? เราเดินไปถึงหนทางนั้นจนสุดทางก็จะเข้าถึงความดับเอง คิดไปก็ประสาทกินนะครับ..!

ตรงจุดนี้อธิบายง่าย ๆ ครับ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ตามสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา เพราะถึงเวลาความทุกข์เกิดขึ้น เราก็ "ทุกข์ฉิบหา..เลยโว้ย..!" มีใครไปหาเหตุไหมครับ ? ว่าทุกข์จากอะไร ก็แปลว่าทุกข์ต้องขึ้นมาก่อนครับ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-12-2021 เมื่อ 03:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #18  
เก่า 10-12-2021, 01:11
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลังจากที่ทุกข์บ่อย ๆ ก็จะมาคิดว่า "ทำไมกูถึงทุกข์อยู่ตลอดเวลาวะ ? ก็ต้องมีสาเหตุสิ ไม่อย่างนั้นแล้วกูจะทุกข์ได้อย่างไร ?" ก็ค่อยไปเสาะหาครับว่าเหตุแห่งทุกข์คืออะไร ? แล้วก็ไปพบสมุทัยครับ ดังนั้น...ทำไมเหตุแห่งทุกข์มาทีหลัง แล้วทุกข์มาก่อน ทั้ง ๆ ที่เราต้องมีเหตุก่อน เราถึงจะทุกข์ ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสตามกำลังใจของเรา

นิโรธก็เหมือนกันครับ ทำไมมาก่อนมรรค ? แทนที่จะเดินตามทางไปจนสุดแล้วเกิดความดับ แต่ปรากฏว่าพวกเราก็เหมือนเดิมครับ ด้วยความที่ปัญญาน้อย เป็นปุถุชนหนาด้วยกิเลส เมื่อถึงเวลาเกิดความดับทุกข์ขึ้นมา คือเปะปะทำไปเรื่อยครับ พอทุกข์ดับ "เออ...สบายจริงโว้ย..!" แต่พออีกสักครู่หนึ่ง เหตุของทุกข์เกิด เราทุกข์ใหม่อีก เอ้า.. "ทุกข์ฉิบหา..เลยโว้ย..!"

ตรงจุดนี้เกิดขึ้น พอหลาย ๆ ครั้งเข้าก็เหมือนกันครับ "เอ๊ะ...เมื่อครั้งก่อนเราดับได้นี่ แล้วดับได้ด้วยวิธีไหน ?" ก็จะเริ่มมองหาหนทาง ในที่สุดก็รู้ว่าจะได้ดับได้ด้วยมรรค ๘ ของพระพุทธเจ้านั่นแหละครับ ไม่มีทางอื่นยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว ดังนั้น...การดับทุกข์คือนิโรธ จึงเกิดขึ้นก่อน พอเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็จะมองหาว่าเพราะอะไรถึงดับ ? ถึงได้ไปเจอมรรคครับ

ตรงจุดนี้ ถ้าหากว่าใครถาม ท่านทั้งหลายต้องอธิบายให้เขาฟังได้นะครับว่าเกิดจากอะไร พระพุทธเจ้าตรัสตามสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา หรือตรัสตามอารมณ์ใจของเราครับ ถึงไม่ได้เรียง สมุทัย->ทุกข์-> มรรค-> นิโรธ แต่เป็นทุกข์-> สมุทัย-> นิโรธ-> มรรค ตรงจุดนี้อยู่ในส่วนของสัจจนิเทสครับ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-12-2021 เมื่อ 03:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #19  
เก่า 12-12-2021, 00:13
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลังจากนั้นก็เป็นปัญญาภูมินิเทส แสดงถึงปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประการ ส่วนนี้ถ้าท่านทั้งหลายไม่ได้ปฏิบัติเข้าถึงจริง ๆ ไปไม่รอดนะครับ

อวิชชาปัจจะยา สังขารา อวิชชาความไม่รู้หรือรู้ไม่หมด เป็นปัจจัยให้เกิดสังขารคือความปรุงแต่ง ไอ้รู้ไม่หมดนี่รู้อย่างไรครับ ? ก็อย่างเช่นว่าเห็นรูป เกิดยินดี เกิดพอใจ เมื่อเกิดยินดี เกิดพอใจก็อยากมีอยากได้สิครับ ตัวยินดีและพอใจนั่นแหละครับ ปรุงแต่งไปแล้วครับ ดังนั้น...ความไม่รู้เลยทำให้เกิดการปรุงแต่ง อวิชชาคือความไม่รู้ หรือรู้ไม่หมด ทำให้เกิดสังขาร การปรุงแต่งขึ้น

สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง ในเมื่อคุณปรุงแต่งแล้ว จะรับรู้ได้อย่างไรละครับ ? ก็ต้องมีประสาทความรู้สึกคือวิญญาณ..ใช่ไหมครับ ? เมื่อสักครู่กล่าวแล้วว่าจักขุวิญญาณ ตาเห็นรูป โสตวิญญาณ หูได้ยินเสียง ฯลฯ

วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง ในเมื่อมีวิญญาณก็ต้องมีที่ให้อาศัย ก็เลยต้องมีนามรูป คือร่างกายนี้ให้วิญญาณอาศัยครับ

นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง ในเมื่อมีนามรูป อายตนะก็ย่อมเกิดขึ้นครับ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ในเมื่อมีอายตนะ ๖ ก็ย่อมมีสัมผัส อย่างเช่นว่าจักขุสัมผัสสชา การสัมผัสด้วยตา โสตสัมผัสสชา การสัมผัสด้วยหู

ผัสสะปัจจะยา เวทะนา เมื่อมีการสัมผัส ก็ย่อมเกิดความรู้สึก อย่างที่เมื่อครู่บอกไปแล้วครับ จะเกิดความรู้สึก ๒ อย่างคือชอบหรือไม่ชอบ ชอบเป็นราคะ ไม่ชอบเป็นโทสะ เจ๊งทั้งคู่นะครับ..!

เวทะนาปัจจะยา ตัณหา เมื่อเกิดความรู้สึกขึ้นมา ก็เกิดความอยากครับ เลี่ยงในสิ่งที่ไม่ชอบ ต้องการในสิ่งที่ชอบ อยากทั้งคู่นะครับ แต่มีอันหนึ่งเขาเรียกว่าไม่อยาก ไม่อยากแต่จริง ๆ คืออยากครับ ไม่อยากแก่ คือ อยากไม่แก่ครับ ไม่อยากป่วย คือ อยากไม่ป่วย ในเมื่อตัณหาเกิดขึ้น คราวนี้ก็บรรลัยสิครับ..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-12-2021 เมื่อ 02:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
  #20  
เก่า 12-12-2021, 00:16
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง ความยึดมั่นถือมั่นปรากฏทันทีเลยว่า กูเอาอันนี้ กูไม่เอาอันนี้

อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ในเมื่อคุณยึดก็ต้องมีที่ให้ยึด ที่ยึดคือภพครับ ภพคือสถานที่ ในเมื่อมีที่ให้คุณไปยึดแล้วเกิดอะไรขึ้นครับ ?

ภะวะปัจจะยา ชาติ ก็เกิดทันทีเลย คราวนี้ก็ตามมาเป็นหางว่าวยาว เป็นรางรถไฟตามตูดมาเลยครับ

ชาติปัจจะยา ชะรา มะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติฯ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความทุกข์โศก ร่ำไร ความเหือดแห้งใจ ความกระทบกระทั่งสิ่งที่ไม่ชอบใจ ความปรารถนาไม่สมหวัง ตามมายาวเหยียดยืดยาดเลยครับ

ดังนั้น...ในส่วนของปฏิจจสมุปบาท ถ้าหากว่าเราไม่ได้ปฏิบัติไปถึงระดับหนึ่งจริง ๆ จะอธิบายไม่ถูกนะครับ เพราะว่าจะเป็นส่วนของ "ปัจจัตตัง" รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ที่ผมว่ามานี้เป็นแค่ส่วนหยาบ ๆ เท่านั้น ไม่ใช่รายละเอียดที่เกิดขึ้นในเวลาที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติจริง ๆ

ในส่วนของปฏิจจสมุปบาทที่บอกว่าปัญญาภูมินิเทส ถ้าท่านทั้งหลายสังเกต จะเห็นว่ามีสายเกิดกับสายดับ สายเกิดเขาเรียกว่าสมุทยวาร ก็คือเกิดอวิชชาแล้วก็ไล่ไป สังขารเกิด วิญญาณเกิด นามรูปเกิด ไล่ไปเรื่อย

แล้วคราวนี้มีสายดับครับ ดับอย่างไร ? ย้อนกลับครับ ก็คือถ้าอวิชชาดับ สังขารก็ดับ วิญญาณก็ดับ นามรูปก็ดับ อายตนะก็ดับ ไล่ไปเรื่อย เขาถึงได้ใช้คำว่า นิรุชฌันติ เข้าถึงความดับ ก็แปลว่าเราจะเลือกอย่างไร ? เราจะเลือกต่อความยาวสาวความยืดให้เกิดขึ้น แล้วก็พาเราเวียนว่ายตายเกิด ทุกข์ไม่รู้จบ หรือเราจะดับ ก็อยู่ที่ท่านทั้งหลาย เมื่อปฏิบัติไปถึงแล้วก็เลือกหากันเอาเองนะครับ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-12-2021 เมื่อ 02:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:02



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว