|
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๔
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๔
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
วันนี้เป็นวันจันทร์ที่ ๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ กระผม/อาตมภาพไปรับวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ มา ก็ต้องบอกว่าสบายดีทุกประการ เอาตัวเลขการวัดความดัน และการเต้นของหัวใจไปให้หมอที่ไหนดูก็จะงง เพราะว่าการตรวจสอบก่อนรับวัคซีน ความดันอยู่ที่ ๑๐๑/๕๒ หัวใจเต้น ๗๒ ครั้งต่อนาที ถ้าผมบอกว่าความดันปกติของผมอยู่ที่ ๑๓๐/๙๐ หัวใจอยู่ที่ ๕๒ พวกคุณก็คงจะช็อคกัน..!
หลังจากรับวัคซีนแล้ว ๓๐ นาที พยาบาลมาขอวัดใหม่ ความดันเป็น ๑๐๒/๔๙ หัวใจเหลือ ๗๐ ที่ต้องให้หัวใจเต้นมากหน่อย เพราะว่าถ้าเต้นน้อยเกินไปบางทีคุมร่างกายไม่ได้ แล้วหมอก็มักจะคิดว่าป่วย มีแต่คุณหมอคมสัน ทินกร ณ อยุธยา ที่ต้องบอกว่ารู้จริง คุณหมอจะบอกเลยว่า "หลวงพี่ห้ามภาวนาเด็ดขาดเลยนะ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวหมอตรวจหาอะไรไม่เจอ..!" ในเรื่องของสมาธิภาวนา ถ้าหากว่าพวกเรามีความเคยชินกับการซักซ้อมเข้าออกสมาธิในระดับต่าง ๆ เราจะสามารถเลือกว่าจะให้กำลังสมาธิของเราทรงอยู่ในระดับไหน แล้วในแต่ละระดับของกำลังสมาธิ ร่างกายเราจะทำงานต่างกันไป คือ ตั้งแต่ไม่ทำงานเลยเหมือนกับคนตาย จนกระทั่งถึงการทำงานปกติ ตรงจุดนี้ถ้าท่านทั้งหลายพยายามลองซักซ้อมดู ก็จะสามารถทำได้เช่นกัน ในสมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงท่านยังอยู่ คุณหมอขออนุญาตติดเครื่องเช็คหัวใจ ๑ คืน พูดง่าย ๆ คือมัดติดกับองค์ท่านเลย แล้วพอรุ่งขึ้นมาตรวจสอบ ปรากฏว่าหมอช็อค..! เพราะว่าหัวใจของหลวงพ่อท่านหยุดเต้นคืนหนึ่ง ๓๐๐ กว่าครั้ง..! ก็คือในช่วงที่เข้าสมาบัติสูงสุด ร่างกายจะเหมือนกับคนตาย อวัยวะภายในหยุดการทำงาน แต่ว่ามี "ปราณละเอียด" อยู่สายหนึ่ง จะวิ่งอยู่ระหว่างจมูกกับสะดือเป็นหลัก แต่ถ้าจำเป็นก็สามารถวิ่งผ่านทุกขุมขนในร่างกายของเราได้ ปราณละเอียดสายนี้เล็ก ๆ ใสเหมือนใยแมงมุม ขาดเมื่อไรตายจริงเมื่อนั้น แต่ด้วยความที่สมาธิละเอียดสูงมาก เราจะรู้สึกว่าปราณเส้นนี้โตเป็นโอบเลย..! ดังนั้น...ถ้าหากว่าตราบใดที่ปราณเส้นนี้ยังไม่ขาด ต่อให้ร่างกายเหมือนกับคนตายแค่ไหนก็ไม่ตาย แต่ว่าในช่วงที่คลายกลับมาสู่อารมณ์ปกติ ถ้าหากว่าเราออกจากสมาธิช้า ๆ ไม่เป็น คนไหนที่เป็นความดันสูงอยู่จะอันตราย เพราะว่าอัตราการเต้นของหัวใจ ถ้าเราปล่อยออกมาพรวดพราดก็จะพุ่งขึ้นไปถึงระดับ ๑๐๐ กว่าครั้งต่อนาที คนที่ความดันสูงก็อาจจะเส้นเลือดแตกไปเลย..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-06-2021 เมื่อ 01:20 เหตุผล: + |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
หลายท่านถ้าหากว่าทรงสมาธิค่อนข้างลึก ถึงเวลาคลายออกมากะทันหัน เราจะรู้สึกว่าหัวใจหรือเส้นเลือดของเราจะมีอาการเต้นผิดปกติ นั่นก็คือการที่เราคลายสมาธิออกมาเร็วจนเกินไป ร่างกายต้องรีบทำงาน
ดังนั้น..ในส่วนนี้เราต้องระมัดระวังด้วย ถ้าหากว่ามีโรคประจำตัว อย่างเช่นว่าความดันสูง ต้องซักซ้อมการเข้าออกสมาธิให้คล่องตัว ค่อย ๆ คลายออกมาทีละระดับ ถ้าหากว่าเข้าสมาธิถึงระดับสูงสุดก็เหมือนกับคนตาย แต่สภาพจิตรับรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้าง เพียงแต่ว่ามีอะไรที่เราจำเป็นต้องปฏิสัมพันธ์ด้วยหรือไม่ ? ถ้าหากว่ามีความจำเป็นต้องไปปฏิสัมพันธ์ด้วย กำลังใจจะค่อย ๆ คลายออกมาจากศูนย์รวม แผ่กระจายกว้างออกไป..กว้างออกไป จนกระทั่งถึงตลอดปลายมือปลายเท้า จิตจะถามตัวเองว่าพร้อมหรือยัง ? ถ้าหากว่าพร้อมก็ขยับลุก นั่ง ยืน เดิน ทำหน้าที่ตามปกติ แต่คราวนี้ถ้าหากว่าเราออกมาเร็วมาก ทั้ง ๆ ที่ร่างกายทำทีละขั้นตอนเหมือนกับช้ามาก คนทั่ว ๆ ไปจะเห็นเราพลิกตัวลุกนั่ง แล้วยืน..เดินไปเลย แต่ถ้าหากว่าไม่มีอะไรที่จำเป็น เราก็จะรักษาอารมณ์ใจอยู่ตรงจุดนั้น อารมณ์ใจตรงจุดนี้ ถ้าใครล็อกไม่อยู่ จะเผลอตัดหลับไปเลย แต่ถ้าหากว่าเราล็อกอยู่ตรงนั้นได้ เราจะเคยชิน แล้วก็รู้ว่าต้องเป็นระดับนี้ ถ้าหากว่ากำลังใจอยู่ในระดับนั้น ร่างกายของเราหลับอยู่ก็จะรู้ว่าหลับ หลายคนได้ยินแม้กระทั่งเสียงกรนของตัวเอง ถ้าต้องการจะตื่น จิตจะถามตัวเองว่าพร้อมที่จะตื่นหรือยัง ? ถ้าพร้อมแล้ว กำลังใจก็จะค่อย ๆ คลายออกมา พอประสาทร่างกายรู้สึกครบถ้วน ก็ค่อย ๆ ขยับ ลุก นั่ง ยืน เดิน ไปตามลำดับ แต่จากการที่ผมซักซ้อมอยู่บ่อยมาก เพราะว่าต้องการความคล่องตัว สำหรับคนทั่ว ๆ ไปก็จะเห็นว่าพลิกตัวได้ก็ลุกขึ้นเลย แต่ถ้าสังเกตอยู่จะเห็นว่า ไม่มีอาการง่วงงงอะไรทั้งสิ้น เพราะว่าสภาพจิตรู้อยู่ตลอดเวลา
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-06-2021 เมื่อ 01:23 |
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
สมัยที่อยู่หน้าห้องยามคอยดูแลหลวงพ่อวัดท่าซุงอยู่ ต้องผลัดกันเข้าเวรคนละ ๖ ชั่วโมง ผมจะอาศัยการนอนภาวนาเป็นการซักซ้อม แล้วกำหนดใจเอาไว้ว่า ๑๕ นาทีก่อนที่หลวงพ่อท่านจะเรียก เราจะต้องคลายสมาธิออกมา แต่ด้วยความที่ไม่ไว้ใจว่าตัวเองจะแม่นขนาดนั้น ก็ขอบารมีท่านปู่ ท่านย่า บรรดาพี่ ๆ ข้างบน ให้ช่วยเรียกเมื่อถึงเวลาด้วย
อันนี้ต้องอาศัยสิ่งข้างนอกมาช่วย เพราะว่าบางวันร่างกายไม่ดี มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ ก็เกรงว่าสมาธิจะไม่ทรงตัว เราอาจจะกำหนดตั้งเวลาผิด แล้วจะทำให้งานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเสียหายได้ ผมจะซักซ้อมอยู่อย่างนี้ตลอด บางวันก็ลุก ๆ นั่ง ๆ จนคนอื่นเห็นเป็นไอ้บ้า ก็คือพอเอนตัวลงกำลังใจก็ดิ่งลึกลงไปเรื่อย ศีรษะแตะพื้นเมื่อไร ก็ทรงสมาธิเต็มระดับ พอขยับลุกขึ้น ก็คลายออกมาเรื่อย นั่งตัวตรงเมื่อไรก็จะอยู่ที่อุปจารสมาธิ แต่มาระยะหลังผมเห็นว่าอุปจารสมาธินั้นเบาเกินไป อันตรายมาก จะถูก รัก โลภ โกรธ หลง แทรกได้ทุกเวลา ก็เปลี่ยนเป็นรักษาเอาไว้อยู่ที่ระดับปฐมฌาน แต่คราวนี้ปฐมฌาน ถ้าเป็นแบบหยาบ เราเผลอเมื่อไร ร่างกายจะตัดหลับ ก็ต้องรักษาเอาไว้ที่ระดับกลางหรือระดับละเอียด ส่วนใหญ่ผมจะรักษาไว้ที่ระดับละเอียด ถ้าอยู่ในระดับนั้นก็อย่างที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นชีพจรหรือว่าความดัน จะต่ำผิดปกติ แต่ความจริงก็คือปกติ ในการตรวจสุขภาพประจำปี บางครั้งหมอก็บอกว่า "ถ้าหลวงพ่อไม่บอกล่วงหน้าว่าหัวใจเต้นแค่ ๕๒ ครั้งต่อนาที ผมก็คงโด๊ปน้ำเกลือให้ ๒ ขวดไปแล้ว..!"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-06-2021 เมื่อ 01:26 |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนทำได้ แต่ต้องขยันซักซ้อม ไปศึกษาในเรื่องของวสี ๕ อย่าง มีตั้่งแต่สมาปัชชนวสี..ความเชี่ยวชาญชำนาญในการเข้าสมาธิ วุฏฐานวสี..ความชำนาญเชี่ยวชาญในการออกจากสมาธิ เป็นต้น ถ้าหากว่าเป็นภาษาบาลี บางทีเราแปลไม่ออก ก็รู้สึกว่ายาก จะมีการเข้าฌานตามลำดับ เข้าฌานสลับฌาน เข้าฌานตั้งเวลาว่าจะเอายาวนานเท่าไร
บรรดาพวกโยคีในอินเดียมีที่ชำนาญพวกนี้มาก บางคนเข้าทีปีหนึ่งเลย..! หนึ่งปีคลายสมาธิออกมาครั้งเดียว ออกมาดื่มน้ำนิดหน่อย บางคนก็กินอาหาร อย่างเช่นว่าแผ่นแป้งโรตีเท่า ๒ นิ้วมือชิ้นหนึ่ง แล้วก็กลับเข้าสมาธิใหม่ ปีหน้าค่อยเจอกัน เป็นเรื่องที่แม้แต่นักบวชนอกพระพุทธศาสนาก็ทำกันได้เป็นปกติ ดังนั้น...พวกเราควรจึงที่จะซักซ้อมเอาไว้ เพราะว่าถ้าสมาธิเรามีความคล่องแคล่วมากเท่าไร โอกาสที่รัก โลภ โกรธ หลง จะทำอันตรายเราได้ก็น้อย ทันทีที่รู้สึกว่า รัก โลภ โกรธ หลง จะเกิดขึ้น เราก็วิ่งเข้าไปหาสมาธิ พอสมาธิทรง..ตัวเรื่องทั้่งหลายเหล่านี้ก็จะโดนดับราบคาบไปโดยอัตโนมัติ แม้ว่าจะเป็นวิกขัมภนวิมุติ คือการหลุดพ้นเพราะสะกดข่มไว้ด้วยอำนาจของฌานก็ตาม แต่ถ้าเราสามารถกดไว้ได้เนิ่นนานพอก็จะเป็นเจโตวิมุติ ก็คือการบรรลุมรรคผลด้วยการใช้สมาธิภาวนา แต่ว่าเป็นเรื่องยาก ดังนั้น..เราจึงต้องอาศัยวิปัสสนาภาวนา พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า ร่างกายของเราประกอบด้วยความไม่เที่ยงแบบไหน ? เป็นทุกข์แบบไหน ? ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราแบบไหน ? จนกระทั่งสภาพจิตยอมรับอย่างแท้จริง ถอนออกจากการยึดเกาะในร่างกายนี้ได้ ก็จะไม่ยึดเกาะในทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็สามารถที่จะล่วงพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้ ฉะนั้น...ส่วนนี้ท่านที่เป็นนักปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ สามเณร แม่ชีหรือฆราวาส ถ้ามีโอกาสก็ควรที่จะซักซ้อมให้คล่องตัวเอาไว้ เพราะว่าแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสว่า พระองค์เป็นผู้มากด้วยอานาปานสติ ก็คือการทรงฌานนั่นเอง ก็ขอเรียนถวายต่อพระภิกษุสามเณร และเจริญพรให้กับญาติโยมทั้งหลายได้ทราบแต่เพียงเท่านี้ พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-06-2021 เมื่อ 01:29 |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|