#1
|
||||
|
||||
อัฏฐกะ คือ หมวด ๘
โลกธรรม ๘
ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น เรียกว่า โลกธรรม โลกธรรมนั้น มี ๘ อย่าง คือ ๑. มีลาภ ๒. ไม่มีลาภ ๓. มียศ ๔. ไม่มียศ ๕. นินทา ๖. สรรเสริญ ๗. สุข ๘. ทุกข์ ในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็แต่ว่ามัน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่น่าปรารถนา โลกธรรม ๘ นี้ ท่านแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ๑. ที่ดี คือ มีลาภ มียศ สรรเสริญ สุข เรียกว่า อิฏฐารมณ์ แปลว่า อารมณ์ที่น่าปรารถนา ๒. ที่ไม่ดี คือ ไม่มีลาภ ไม่มียศ นินทา ทุกข์ เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ แปลว่า อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ที่ว่าครอบงำสัตว์โลก และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น หมายความว่า เมื่อได้รับโลกธรรมฝ่ายดี จิตใจก็ฟูเบิกบาน หรือเรียกว่า หน้าชื่นตาบาน เมื่อได้รับโลกธรรมฝ่ายไม่ดี จิตใจก็ฟุบเหี่ยวแห้ง หรือที่เรียกว่า หน้าเศร้าอกตรม ความรู้สึกทั้ง ๒ นี้ พระพุทธศาสนาสอนว่า ล้วนเป็นภัยต่อระบบศีลธรรมทั้งนั้น คือ เป็นเหตุให้จิตใจเหินห่าง จากศีล สมาธิ และปัญญา
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
อริยบุคคล ๘ (ผู้บรรลุธรรมวิเศษ ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป)
๑. โสดาปัตติมรรค พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ๒. โสดาปัตติผล พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล (ละสังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฎฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส) ๓. สกทาคามิมรรค พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค ๔. สกทาคามิผล พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล (ละสังโยชน์ ๓ ประการได้ และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลงด้วย) ๕. อนาคามิมรรค พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค ๖. พระอนาคามิผล พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล (มีศีล สมาธิบริบูรณ์ และละสังโยชน์ได้อีก ๒ คือ กามราคะและปฏิฆะ) ๗. อรหัตตมรรค พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ๘. พระอรหัตตผล พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล (พระอรหันต์ มีศีล สมาธิ ปัญญา บริบูรณ์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้)
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
อวิชชา ๘ (ความไม่รู้แจ้ง, ความไม่รู้จริง)
๑. ความไม่เข้าใจเรื่องทุกข์ คือ ไม่เข้าใจในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่ามาจากสาเหตุอะไร ๒. ความไม่รู้ในเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ ไม่เข้าใจในสาเหตุของทุกข์ที่เกิดจากตัณหา และอุปาทาน ๓. ความไม่รู้ในความดับทุกข์ คือ ไม่รู้ว่า เมื่อเหตุแห่งทุกข์คือตัณหาดับไป ความทุกข์จึงดับไป ๔. ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ ไม่รู้ว่าจะดับทุกข์ด้วยวิธีไหนเพราะไม่เข้าใจในมรรค ๕. ไม่รู้จักอดีต คือ ไม่รู้จักสาเหตุที่ทำให้เกิดผลในปัจจุบัน เช่น คนตัดไม้ทำลายป่าจนหมด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ตามมา เช่น ฝนแล้ง เป็นต้น คนไม่รู้สาเหตุก็เชื่อว่าเป็นเพราะเทพเจ้าลงโทษ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไร้สาระ ๖. ไม่รู้จักอนาคต คือ ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำไปขณะนี้ จะเป็นผลกระทบต่อลูกหลานในภายหน้าอย่างไรบ้าง ๗. ไม่รู้จักทั้งในอดีตและในอนาคต คือ ไม่รู้ไม่เข้าใจถึงเหตุและผลอันเป็นมาจากอดีตจนส่งผลไปถึงอนาคต ๘. ไม่รู้จักปฎิจจสุปบาท คือ ไม่เข้าถึงหมู่ธรรมหรือกลุ่มธรรม ที่เกิดขึ้นโดยเป็นปัจจัยของกันและกัน เช่น ไม่รู้ว่าสิ่งนี้มีได้ ก็เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยเป็นปัจจัยของกันและกันจึงเรียกชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท อวิชชา ๘ นั้น จะดับไปได้ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ประการให้ต่อเนื่องกัน
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)
๑. วิปัสสนาญาณ ได้แก่ ความรู้ที่นับเข้าในวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร คือ นามรูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นต้น ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ได้แก่ สามารถนิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ได้เพียงแค่นึกเท่านั้น เปรียบเหมือนการชักดาบออกจากฝัก คิดสิ่งใด ก็สามารถสำเร็จได้ตามความคิดทุกประการ ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) เช่น แสดงตนให้เป็นหลายคนได้ หายตัวได้ ดำดินได้ เป็นต้น ๔. ทิพพโสต (มีหูทิพย์) คือ สามารถที่จะฟังเสียงได้ทั้งไกลและใกล้ ซึ่งสามัญชนไม่สามารถได้ยิน ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) คือ สามารถที่จะทายใจผู้อื่นได้ว่าคิดอย่างไร ๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติในหนหลังได้) คือ สามารถระลึกได้ว่า ในชาติที่ผ่านมาตนเป็นใคร ๗. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) คือ สามารถมองได้ในที่ไกลเมื่อกำหนดจะมอง หรือมองกรรมของสัตว์ ๘. อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ) คือ ความรู้ในอริยสัจ ๔ ที่สามารถทำให้สิ้นอาสวะกิเลสได้ วิชชาทั้ง ๘ นี้ ๗ ประการเบื้องต้นเป็นฝ่ายโลกิยะ ส่วนข้อที่ ๘ เป็นโลกุตตระ
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-04-2018 เมื่อ 14:06 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
สมาบัติ ๘ การบรรลุธรรมชั้นสูง ธรรมวิเศษที่ควรเข้าถึง
รูปฌาน ๔ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน อรูปฌาน ๔ ๑. อากาสานัญจายตนะ ๒. วิญญาณัญจายตนะ ๓. อากิญจัญญายตนะ ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|