กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 10-11-2011, 11:53
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default ให้สนใจศีล

ให้สนใจศีลที่ท่านพระ... แนะนำให้มาก

๑. “การรักษาศีลเพื่อป้องกันกิเลส มีขั้นตอนดังนี้

ก) ใหม่ ๆ จะเคร่งและเครียดมาก ขนาดต้องจดศีล ๒๒๗ ใส่กระเป๋าไว้ และหมั่นทบทวนเมื่อมีโอกาสทุกครั้ง จนจำขึ้นใจได้

ข) ศีลพระ จะเอาแต่เจตนาเป็นหลักตัวเดียวไม่ได้ เพราะจะรู้-จะไม่รู้ หรือสงสัยหรือสำคัญผิด ก็มีอาบัติปรับทั้งสิ้น

ค) ในที่สุด จะต้องมาดูอารมณ์จิตของตนว่า มันเกิดกิเลสหรือไม่ เพราะพระพุทธเจ้าทรงมีบัญญัติศีลก็เพื่อประโยชน์กับผู้ปฏิบัติเอง ทรงตรัสไว้ ๑๐ อย่าง (๑๐ ข้อ)

ในข้อ ๕ เพื่อป้องกันอาสวะ (กิเลส) ที่จะเกิดในปัจจุบัน (มิให้เกิดขึ้น)
ในข้อ ๖ เพื่อกำจัดอาสวะ (กิเลส) ที่จะเกิดในอนาคต (ให้หมดไป)

ง) จุดนี้ทำให้ท่านพิจารณาใคร่ครวญจนเห็นคุณของการมีศีล และเห็นโทษของการไม่มีศีล จนกระทั่งใจไม่ยอมละเมิดศีลอีก (เพียรหมั่นศึกษาศีลด้วยปัญญา จนกระทั่งศีลรักษาใจไม่ให้ละเมิดอีกเป็นอัตโนมัติ) จึงเท่ากับระมัดระวังจิตไม่ให้เกิดกิเลสนั่นเอง (ยกตัวอย่างง่าย ๆ ไม่ปาณาติบาตก็ตัดโกรธ ไม่อทินนาทานก็ตัดความโลภ ไม่กาเมฯ ก็ตัดความหลง เป็นต้น)

๒. “ท่านจึงเข้าใจดีว่า รักษาศีลทำไม รักษาศีลเพื่อป้องกันกิเลสตัวใหญ่ ๆ คือ โลภ โกรธ หลง ผลจากความเพียรระมัดระวังรักษาศีล รักษาใจท่านไม่ให้ละเมิดศีลเป็นอัตโนมัติ เท่ากับป้องกันจิตไม่ให้เกิดกิเลสไปในตัว ผลทำให้จิตสงบเยือกเย็นมาก เพราะการรักษาศีลก็คือการรักษาจิตไม่ให้เกิดกิเลส การระมัดระวังศีลก็คือ การระมัดระวังจิตไม่ให้เกิดกิเลส ซึ่งเป็นอันเดียวกัน”

๓. “เมื่อจิตเป็นสีลานุสติ จิตเป็นฌานในศีล จึงเท่ากับศีลรักษาจิตไม่ให้เกิดกิเลสได้ไปในตัว นี่แหละคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ต่างอาศัยซึ่งกันและแยกกันไม่ได้ในการปฏิบัติ รวมกันเป็นหนึ่งตรงจุดนี้แหละ คือต้องเกิดมรรคผลก่อนจึงจะรู้จริงได้ ดังนั้นศีลพระจึงละเอียดกว่าศีล ๕ และศีล ๘ ของฆราวาสมาก เมื่อศีลรักษาใจท่านไม่ให้ละเมิดศีลได้เป็นอัตโนมัติแล้ว จึงเท่ากับตัดอารมณ์ราคะ (โลภ) และปฏิฆะ (โทสะ) ได้ไปในตัวเช่นกัน”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 11-11-2011, 11:47
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเสริมให้ มีความสำคัญดังนี้

๑. “สำหรับพวกเจ้า จงหมั่นศึกษาคำสอนเรื่องศีล ป้องกันไม่ให้เกิดกิเลสของท่านพระ... ให้มาก ๆ จักได้ตัดอารมณ์ราคะและปฏิฆะได้จริง ๆ เสียที”

๒. “การรักษาศีล-สมาธิ-ปัญญา ให้ดูบารมี ๑๐ หรือกำลังใจเต็มเป็นสำคัญ ถ้ากำลังใจไม่เต็มเสียอย่างเดียว ศีล สมาธิ ปัญญาก็เต็มอยู่ในจิตไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง.. จักต้องคอยตรวจดูการกระทำของกาย วาจา ใจอยู่ตลอดเวลา ว่ากรรมนั้นเป็นไปเพื่อกิเลสหรือเป็นไปเพื่อพระนิพพาน เรื่องของการผิดพลาดบ้าง เป็นของธรรมดา แต่พึงมีสติ-สัมปชัญญะกำหนดรู้ด้วยปัญญาว่า ต่อไปจักไม่ทำ ไม่พูด ไม่คิดอย่างนั้นอีก”

๓. “การปฏิบัติงานทั้งทางโลกและทางธรรมต้องไม่ทิ้งสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา ให้จิตยอมรับความจริง ยอมรับกฎธรรมดาหรือกฎของกรรมเข้าไว้ หากจิตยังฝืนอยู่เท่าไหร่ ถือว่ายังห่างไกลวิปัสสนาญาณเท่านั้น ทำอะไรก็ให้จิตยอมรับกฎของธรรมดาเข้าไว้บ้าง พิจารณาทุกอย่างให้เข้าหาธรรมดา เพราะจุดนี้แหละ.. คืออริยสัจ และเป็นเหตุให้ตัดร่างกายได้ในที่สุด”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 61 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 14-11-2011, 11:29
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๔. “ดูจิต ดูอารมณ์ของจิตที่เกาะติดขันธ์ ๕ ด้วยอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา ว่าอารมณ์อันไหนเกิดแก่จิตบ้าง ถ้าไม่เห็นก็แก้ไขอันใดมิได้ จักต้องเห็นจิต เห็นอารมณ์ของจิตจึงจักแก้ไขได้ ในประการอื่น ๆ ไม่สำคัญเท่ากับดูจิต เป็นอารมณ์ของตนเอง ให้เห็นคุณของศีล สมาธิ ปัญญา ให้เห็นโทษของการไปติดขันธ์ ๕ ให้เห็นโทษของกามคุณ ๕ นี้ จักต้องอาศัยความใจเย็น สอบสวนจิตให้ลึกลงไป ค่อย ๆ ทำไป แล้วจักเห็นเหตุเห็นผล เห็นหนทางแก้ไขอารมณ์ของจิตชัดเจนขึ้น

๕. “อย่าสนใจสิ่งอื่นใดให้มากกว่าจิตของตน เพราะการส่งจิตออกนอกกายนั้น เป็นการแสวงหาทุกข์ เป็นสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่การเห็นอารมณ์จิตของตนเอง รักษาอารมณ์จิตของตนเองให้ทรงอยู่ในความผ่องใส ว่างจากกิเลส เป็นความสุข แม้จักระงับได้ชั่วคราว ก็จัดว่าเป็นความดีสูงสุดในพระพุทธศาสนา เห็นจิต เห็นอารมณ์ของจิต จึงเป็นคุณสมบัติของนักปฏิบัติธรรมในเขตพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง แต่จักจำต้องเห็นจิต เห็นอารมณ์ของจิตตามความเป็นจริง อย่าให้เห็นไปด้วยการเจือไปด้วยอารมณ์กิเลส คือ โมหะ โทสะ ราคะ เข้ามาบดบังความเห็นของจิตก็ใช้ไม่ได้ จักต้องมองเห็นด้วยปัญญา คือในอริยสัจนั่นแหละ จึงจักเป็นการมองจิต รู้อารมณ์ของจิตอย่างแท้จริง”

๖. “อย่าเป็นกังวลเรื่องสงฆ์ในวัด หรือแม้นอกวัดให้มากเกินไป เพราะความหวังดีกับพระพุทธศาสนาก็จงหวังดีกับจิตของตนเองด้วย ทุกอย่างทำตามหน้าที่ อย่าเก็บเอาความกังวลเข้ามา หรือเก็บเอากรรม หรือการกระทำของผู้อื่น จริยาของผู้อื่นเข้ามา เพราะจักทำให้เป็นทุกข์ พยายามทำทุกอย่างให้ดี ก็ต้องทำด้วยจิตเป็นสุข อย่าให้จิตตนตกเป็นทาสของกิเลสตามอุปาทานของตนเองก็แล้วกัน”


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:05



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว