กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #21  
เก่า 20-03-2022, 00:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ในกรณีที่หนูพาเด็กไปสวดมนต์ไหว้พระ แต่ว่าความตั้งใจของเขาไม่ตั้งมั่น จะกลายเป็นปรามาสพระหรือไม่คะ ? เขาก็สวดมนต์ แต่ไม่เหมือนผู้ใหญ่ หนูควรจะให้เขาหยุดสวดมนต์หรือให้สวดมนต์ต่อไปคะ ?

ตอบ : รู้ไหมว่าทำไมเป็นอย่างนั้น ? ก็เพราะว่าเราไปเอาระยะเวลาที่ทำได้ของผู้ใหญ่เป็นตัวตั้ง แล้วจะให้เด็กทำได้ตามนั้น ในเมื่อเด็ก ๆ สมาธิสั้น ต้องให้เขาทำแต่น้อย ๆ ก่อน ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายได้ศึกษาประวัติของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จะเห็นว่าท่านแม่ให้หลวงพ่อท่านภาวนา "พุทโธ พุทโธ พุทโธ" แค่ ๓ คำแล้วก็นอนไปเลย

เราไปจับเด็กสวดมนต์อยู่เป็นสิบ ๆ นาที หรือถ้าหากว่าเราสวดได้นาน เราให้เด็กสวดมนต์เป็นชั่วโมง เป็นไปไมได้อยู่แล้วที่เด็กเขาจะนิ่ง เพราะฉะนั้น...ต้องจัดให้เหมาะสมกับเวลาที่สมควรกับเด็กแต่ละคน พอเริ่มเห็นว่าเขาหมดความสนใจตรงนั้นแล้ว ก็ปล่อยให้เขาไปทำอย่างอื่น หรือว่าให้เขานอนได้เลย

__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-03-2022 เมื่อ 02:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #22  
เก่า 21-03-2022, 09:45
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ช่วงเริ่มนั่งสมาธิดูลมหายใจจะมีการเกร็ง และแน่นหน้าอกสัก ๒ - ๓ ครั้ง แล้วจะหายไป จนนั่งได้ตามปกติ ไม่ได้เป็นทุกครั้ง แต่เป็นในบางครั้ง อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร ?

ตอบ : ลักษณะอย่างนี้ต้องบอกว่าเกิดจากลมหายใจของเราเอง ถ้าภาษานักปฏิบัติเขาเรียกว่า ลมหยาบ ถ้าหากว่าพูดกันแบบของวิทยาศาสตร์ ก็คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีในร่างกายมาก

เขาให้หายใจยาว ๆ สัก ๒ - ๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบนั้นให้หมดก่อน แล้วค่อยปล่อยลมหายใจเป็นไปตามปกติ จากนั้นก็กำหนดคำภาวนาและใส่สติตามลมหายใจเข้าไป ไม่อย่างนั้นแล้วถ้าหากว่าวันไหนที่เราหายใจสั้น ยิ่งในปัจจุบันนี้ยิ่งใส่หน้ากากอนามัย ก็จะยิ่งทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในตัวเรามาก ก็จะเกิดอาการเกร็งทุกครั้งที่เราเริ่มภาวนา

ฉะนั้น...ให้ระบายลมหายใจยาว ๆ สัก ๒ - ๓ ครั้ง แล้วปล่อยตามปกติ จากนั้นก็ค่อยใช้คำภาวนาควบกับสติตรงหน้า ก็จะแก้ไขปัญหานี้ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-03-2022 เมื่อ 13:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #23  
เก่า 21-03-2022, 09:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : การปฏิบัติอานาปานสติให้ได้รับประโยชน์ ควรจะกำหนดเวลาที่ปฏิบัติหรือไม่ ? บางครั้งกำหนดเวลาแล้ว ผมทำไปช่วงหนึ่งเหมือนจะฟุ้งซ่าน แต่ยังไม่ครบเวลา ควรที่จะทำต่อจนครบไหมครับ ?

ตอบ : ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องดูว่าเราปฏิบัติเพื่ออะไร ? ถ้าหากว่าเราปฏิบัติเพื่อความสงบระงับชั่วคราว เมื่อถึงเวลาใจเริ่มฟุ้งซ่าน เราก็เลิกได้

แต่ถ้าเราปฏิบัติหวังความหลุดพ้น แม้กระทั่งตาย เราก็ต้องยอม อย่าว่าแต่ความฟุ้งซ่านชั่วคราวแค่นั้น ก็แปลว่าเราต้องสู้ต่อไปจนกว่าที่จะชนะ ถึงฟุ้งซ่านหนักจนแทบอยากจะตะโกนด่าใครก็ต้องทนกัดฟันไว้ ภาวนาไปจนกว่าที่จะสงบไปเอง

ตรงจุดนี้ก็เลยมีข้อแม้ว่า ท่านปฏิบัติเพื่ออะไร ถ้าหากว่าเพื่อประโยชน์ทางโลก เพื่อความสงบชั่วครั้งชั่วคราว เมื่อถึงเวลาฟุ้งซ่านเราเลิกได้ แต่ถ้าต้องการประโยชน์ทางธรรมจริง ๆ ใช้คำของนักปฏิบัติสายวัดป่าที่ว่า ธรรมะอยู่ฟากตาย สู้กันแค่ตายไปข้างหนึ่ง ถ้าหากว่าไม่ได้ดี ให้ตายไปเลย ถ้าตัดใจแบบนี้ได้ ก็จะก้าวผ่านตรงจุดนั้นไปได้เช่นกัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-03-2022 เมื่อ 13:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #24  
เก่า 21-03-2022, 09:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ใช้ปากหายใจแทนจมูกได้ไหมครับ ?

ตอบ : ได้ทั้งนั้น ขอเพียงท่านสามารถกำหนดสติตามไปได้เท่านั้นเอง จะใช้ส่วนไหนของร่างกายหายใจไม่ใช่ปัญหา ปัญหาก็คือตามรู้ทันได้หรือไม่ ถ้าตามรู้เท่าทันได้ ก็สามารถที่จะใช้ได้ทั้งนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-03-2022 เมื่อ 13:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #25  
เก่า 21-03-2022, 09:55
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ระหว่างความมีสติกับความสุข อันไหนมาก่อนกัน เราต้องมีสติก่อนแล้วจึงมีความสุข หรือมีความสุขก่อนจึงจะมีสติครับ ?

ตอบ : ปัญหานี้ลักษณะ ๒ อย่างเหมือนกัน ว่าเป็นความสุขทางโลกหรือว่าเป็นความสุขทางธรรม ?

ถ้าหากว่าความสุขทางโลกนั้น บางทีขาดสติแล้วจะรู้สึกว่าเป็นสุข ความสุขก็เลยมาก่อน แต่ถ้าความสุขทางธรรมนั้น สติทรงตัว รู้เท่าทัน ไม่ปล่อยให้ รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น มีความอิ่มเอิบใจว่าเรารู้เท่าทันกิเลส สามารถที่จะบังคับไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นได้แล้ว ถ้าหากว่าตรงนี้ สติต้องมาก่อนความสุขครับ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-03-2022 เมื่อ 13:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #26  
เก่า 21-03-2022, 09:55
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ระหว่างความสุขกับความสำเร็จ เราต้องประสบความสำเร็จก่อนแล้วจึงจะมีความสุข หรือว่าเรามีความสุขก่อนแล้วจึงจะประสบความสำเร็จครับ ?

ตอบ : ลักษณะเดียวกัน บางท่านประสบความสำเร็จแล้วก็ยังเฉย ๆ เพราะว่าสติ สมาธิ ปัญญา มั่นคง เห็นความอนิจจังของโลกนี้ว่า มีมาได้ก็ไปได้เช่นกัน ก็จะเกิดอุเบกขาขึ้นมาแทน

แต่ถ้าหากสำหรับคนทั่ว ๆ ไป เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว บางทีก็เป็นสุขอยู่นาน ๆ พาให้คนรอบข้าง พ่อแม่พี่น้องต่าง ๆ ดีใจและเป็นสุขไปด้วย จึงควรที่จะดูว่ากำลังใจของคนนั้นอยู่ในระดับไหน

ถ้าหากว่าเป็นระดับของปุถุชน คนธรรมดาทั่ว ๆ ไป ความสำเร็จปรากฏขึ้น ความสุขก็จะเกิด แต่ถ้าหากว่าเป็นนักปฏิบัติธรรม ต้องการความหลุดพ้น ความสุขเกิดขึ้น ถือว่าเราเริ่มก้าวเข้าสู่ความสำเร็จในเบื้องต้น ความสำเร็จที่แท้จริงยังรออยู่ข้างหน้าอีกไกลมาก ดังนั้น...จึงควรที่จะเร่งก้าวต่อไปโดยไม่ประมาท
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-03-2022 เมื่อ 13:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #27  
เก่า 21-03-2022, 09:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : คนที่ออกไปกินไปเที่ยว เขาต้องไปหาความสุขภายนอกแบบคนขาดสติ ถ้าเราอยากที่จะมีความสุข แต่เป็นความสุขที่มีสติ เราจะต้องทำอย่างไรครับ ?

ตอบ : ตรงนี้ไม่ต้องถามเลย ที่บรรยายไปทั้งหมดนั่นแหละ ถ้าหากว่าเราอยู่กับอานาปานสติของเรา จนกระทั่งกำลังใจทรงตัวมั่นคง สามารถใช้สติประคับประคอง รักษาอารมณ์ใจไม่ให้ รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นได้ ก็จะมีความสุขที่ยาวนานไปเรื่อย ๆ ตามความชำนาญของเรา ถ้าหากว่าได้เป็นเดือน เป็นปี เมื่อไร ไม่สามารถที่จะอธิบายได้เลยว่าเรานั้นมีความสุขขนาดไหน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-03-2022 เมื่อ 13:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #28  
เก่า 22-03-2022, 21:53
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : หนูสังเกตว่าหลายครั้งที่ปฏิบัติธรรมในวันพระ วันโกน มักจะมีบททดสอบหรือแรงกระทบเข้ามามากกว่าวันอื่น ๆ พระอาจารย์พอจะแนะนำเคล็ดลับในการทรงกำลังใจ และทำให้เราเข้าสมาธิได้เร็วขึ้นไหมคะ ?

ตอบ : ตรงจุดนี้ต้องบอกว่าเป็น ๒ คำถามที่ต่างกันมาก แต่เอามาเป็นคำถามเดียวกัน

สิ่งที่เราสังเกตก็คือว่าวันโกน วันพระ พอถึงเวลาเราปฏิบัติแล้วจะมีแรงกระทบมากกว่าวันอื่น ซึ่งความจริงอาจจะไม่ใช่ก็ได้ เพราะว่าแรงกระทบนั้น เป็นบททดสอบตามปกติของนักปฏิบัติทุกคน

เรายิ่งรู้สึกว่าตัวเองเข้าถึงความดีมากเท่าไร การทดสอบก็จะแรงขึ้นเท่านั้น ดังนั้น...ต่อให้ไม่ใช่วันโกน วันพระ ถ้าหากว่าการกระทำของเราไปถึงในระดับหนึ่ง จะมีการทดสอบเราขึ้นมา อาจจะหนักกว่าวันโกน วันพระเสียอีก

ส่วนการที่เราจะทรงกำลังใจและเข้าสมาธิได้เร็วขึ้นนั้น ต้องทำโดยไม่มีความอยาก ตรงจุดนี้จะก่อให้เกิดคำถามว่า ในเมื่อไม่อยาก แล้วเราจะทำไปทำไม ? ก็คือว่าเราทำดีเพราะเราอยากดี จะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน เข้าถึงความดีได้ยาก

ดังนั้น...ก่อนที่จะทำ ต่อให้เกิดความอยากขนาดไหนก็ตาม ตอนที่เราเริ่มตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติภาวนา ให้เราลืมความอยากนั้นให้ได้ทั้งหมด ถ้าเราลืมความอยากทั้งหมดนั้นได้ ก็จะทำให้เราเข้าถึงได้เร็วขึ้น

สรุปง่าย ๆ ว่าเรามีหน้าที่ภาวนา จะได้หรือไม่ได้ จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ช่างมัน ถ้าเราทำกำลังใจแบบนี้ได้ ก็จะเข้าถึงได้เร็วกว่าปกติ แต่ถ้าเราทำไม่ได้ ยิ่งฟุ้งซ่านนานเท่าไรก็ยิ่งเข้าถึงได้ยากเท่านั้น

__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 01:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #29  
เก่า 22-03-2022, 21:58
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : เมื่อนั่งไปในระยะหนึ่งแล้ว ลืมลมหายใจ มีอาการฟุ้งซ่านด้วยจิตที่คิดขึ้นเอง ไม่ได้บังคับ ลักษณะเหมือนง่วง แต่สตินั้นยังมีอยู่ ควรที่จะกำหนดอย่างไรต่อไป ?

ตอบ : ลักษณะนั้นแสดงว่าจิตเริ่มเป็นสมาธิแล้ว แต่สติค่อนข้างจะตามไม่ทัน บางท่านถ้าหากว่าสติขาด จะรู้สึกเหมือนใจหายวาบ ตกจากที่สูงก็มี ตรงจุดนี้ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะว่าบางท่านกลัวแล้วก็เลิกปฏิบัติไปเลย

ให้เอาความรู้สึกคือสติของเราทั้งหมด ถ้าใช้คำว่าสติ บางคนไม่เข้าใจ ให้เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราจี้ติดอยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่าให้ห่าง ห่างเมื่อไรจะเกิดอาการอย่างนี้ แล้วถ้าห่างมากขึ้นอีกนิดเดียว จะตัดหลับไปเลย แล้วเวลาที่เราหลับไป เราก็ไม่รู้ตัวด้วยว่าหลับ ได้สติขึ้นมาอีกทีหนึ่ง อ้าว...เราหลับไปตอนไหนก็ไม่รู้ ?

ดังนั้น...วิธีที่แก้ง่ายที่สุดก็คือ เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราเกาะติดอยู่กับลมหายใจ อย่าให้ห่าง ห่างเมื่อไรจะเริ่มเกิดอาการอย่างนี้ ถ้าห่างมากเกินไป ก็จะตัดหลับไปเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 01:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #30  
เก่า 22-03-2022, 21:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ในขณะนั่งภาวนาสักพัก รู้สึกว่าคำภาวนาหายไปเหมือนหลับ พอรู้สึกตัวขึ้นมา เราควรจะภาวนาต่อหรือทำอย่างไร ?

ตอบ : ลักษณะนั้นก็เหมือนกัน ก็คือสติเริ่มห่างออกไป ทำให้เรารู้ไม่เท่าทันคำภาวนา ในลักษณะอย่างนี้บางคนก็ไม่รู้ถึงลมหายใจเข้าออกด้วย แล้วก็ตกใจ ตะเกียกตะกายหายใจใหม่

การที่เราจะไปถึงตรงจุดนั้น สมาธิเริ่มทรงตัวแล้ว เหมือนกับการที่เราขึ้นบันได พอก้าวไป ๒ ขั้น ๓ ขั้นแล้ว แต่เราไม่สามารถรักษาระดับได้ ก็รูดกลับลงมา ในเมื่อรูดกลับลงมา วิธีที่ดีที่สุดก็คือเริ่มต้นก้าวใหม่ โดยที่กำหนดสติ ระมัดระวังไม่ให้พลาดรูดลงไปอีก ก็แปลว่าเราต้องเริ่มทำใหม่ และทำด้วยการตั้งหน้าตั้งตากำหนดใจอยู่กับคำภาวนาให้แน่นแฟ้นยิ่งกว่าเดิม ไม่เช่นนั้นแล้วอาการแบบนี้จะเกิดขึ้นทุกครั้ง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 01:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #31  
เก่า 22-03-2022, 22:01
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ผมเปิดวิดีโอสอนกรรมฐานของหลวงพ่อในยูทูบแล้วปฏิบัติตามไป อยากจะรู้ว่าถ้าผมปฏิบัติตามไปเรื่อย ๆ จะส่งผลดีหรือไม่ครับ เพราะว่าปฏิบัติตามหลายครั้งแล้วทรงกำลังใจไม่ได้อย่างที่หลวงพ่อสอน ?

ตอบ : การปฏิบัติทุกอย่าง อย่าลืมว่าเป็นความดีทั้งสิ้น ที่ท่านบอกว่าไม่ได้ หมายความว่าไม่สามารถที่จะทรงสมาธิ ทรงสมาบัติอะไรได้ตามคำสอน แต่ว่าสิ่งที่ท่านได้แน่ ๆ ก็คือท่านระงับ กาย วาจา และใจของท่านให้อยู่ในกรอบของความดีเบื้องต้นได้

ตอนนั้นอยากจะทำชั่วก็ทำไม่ได้ เพราะว่าเรานั่งสมาธิภาวนาอยู่ อยากจะคิดชั่วก็คิดไม่ได้ เพราะว่าเราคิดแต่คำภาวนาอยู่ อยากจะพูดชั่วก็พูดไม่ได้ เพราะว่าใจอยู่กับคำภาวนาอยู่ ก็แปลว่าอย่างน้อย ๆ เราตัดกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ ไปส่วนหนึ่งแล้ว มหากุศลต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นทุกครั้งที่ท่านทำ

การทำนั้นไม่ได้แปลว่าต้องประสบความสำเร็จ การทำของท่านทั้งหลายนั้นเป็นการปฏิบัติภายใน โดยการหยุดกายกรรม วจีกรรมภายนอก ในเมื่อมโนกรรม ไม่สามารถสำเร็จตามที่บอกกล่าวเอาไว้ แต่เราหยุดกายกรรมและวจีกรรมไว้ได้ ก็แปลว่าเราได้ความดีไป ๒ ใน ๓ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก ถ้าท่านสะสมไปเรื่อย ๆ จนกำลังเพียงพอ มโนกรรมของท่านก็พลอยที่จะได้รับผลดีไปด้วย

ตรงนี้ขอให้ตั้งหน้าตั้งตาทำต่อไป อย่าลืมว่าถ้าเราทำด้วยความอยากจะได้ยากมาก อย่างที่เมื่อสักครู่กล่าวไปแล้วว่า เรามีหน้าที่ภาวนา ส่วนจะได้หรือไม่ได้ จะเป็นหรือไม่เป็น เราไม่ได้มีหน้าที่ที่จะบังคับ

__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 01:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #32  
เก่า 23-03-2022, 18:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : การปฏิบัติความเพียรแบบสายวัดป่าที่มีอาจารย์กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ ต่างจากการปฏิบัติแบบตึงเกินไป ที่พระพุทธเจ้าสอนอย่างไรครับ ? เพราะว่าบางทีผมตั้งใจทำจนจิตเครียด เลยไม่รู้ว่าจะวางกำลังใจอย่างไรดี ว่าเราควรที่จะเพียรแบบช่างมัน ร่างกายจะเป็นโรคเส้นประสาทหรือตายก็ช่างมัน หรือว่าผ่อนลงมาแบบสบาย ๆ ครับ ?

ตอบ : ขอให้ท่านเข้าใจก่อนว่า หลักการปฏิบัติแบบสายวัดป่านั้น เป็นสายที่ค่อนข้างจะเข้มข้น และเหมาะสมกับชาวอีสาน คนอีสานนั้นตั้งแต่เกิดมาก็พบแต่ความยากลำบาก เพราะว่าดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย ต้องต่อสู้ดิ้นรนมากกว่าภาคอื่น ๆ ทำให้แต่ละคนมีกำลังกายกำลังใจที่เข้มแข็งมาก ถ้าไม่ได้หลักธรรมที่โหดพอกัน จะเอาไม่อยู่ ดังนั้น..นักปฏิบัติสายวัดป่าจึงใช้คำว่า สู้แค่ตาย หรือว่า ธรรมะอยู่ฟากตาย

แต่ถ้าหากว่าเราเองไม่ได้มาในสายนั้น หลักการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าท่านบอกเอาไว้ ๔ อย่าง ก็คือ

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติง่าย แต่บรรลุยาก

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติง่าย แต่บรรลุเร็ว

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติยาก แต่บรรลุเร็ว

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แล้วบรรลุช้าด้วย

เราต้องพยายามค้นให้เจอว่าตัวเราเหมาะกับตรงจุดไหน แต่ถ้าหากว่าไปดูในมหาปรินิพพานสูตร พระสุตตันตปิฎก จะเห็นว่าก่อนที่พระอานนท์จะบรรลุมรรคผล ท่านเพียรพยายามเดินจงกรมมาทั้งคืนแล้วไม่ได้อะไร จนกระทั่งเห็นว่าเหลือเวลาเพียงเล็กน้อย เราควรจะพักผ่อนดีกว่า พอกำลังใจคลายออกมา ตั้งใจจะพักผ่อน ก็ลงตัวได้ช่องพอดี ท่านก็บรรลุตรงนั้นเลย

ฉะนั้น..ถ้าหากว่าเป็นไปได้ของเราเองก็คือผ่อนหน่อย แต่เป็นการผ่อนทางร่างกาย เพียงแต่ว่าจิตใจของเราพยายามรักษาให้อยู่กับการภาวนาเอาไว้ ถ้าสามารถทำลักษณะอย่างนั้นได้ แล้วเกิดผลดี ก็ให้ทำต่อไป หรือถ้าหากว่ายังไม่เกิดผลดี ก็พยายามที่จะหาให้ได้ว่า ตัวเราเหมาะกับการปฏิบัติแนวไหนใน ๔ ทางที่พระพุทธเจ้าท่านว่ามา แล้วปฏิบัติไปตามนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 18:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #33  
เก่า 23-03-2022, 18:02
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : เวลาทำสมาธิ สังเกตได้จากลมหายใจเข้าออกจนตัดหลับไป แต่เรารู้สึกว่าเราได้พักและรู้สึกชอบที่ได้พัก เพราะว่าเหนื่อยจากการทำงานและอาจจะพักผ่อนไม่พอ อย่างนี้ไม่สมควรใช่ไหม ? เพราะนั่งสมาธิเมื่อไรก็หลับ

ตอบ : ความจริงการที่ท่านนั่งสมาธิแล้วหลับ ถือว่าสมาธิทรงตัว เพราะว่าบุคคลที่กำลังใจไม่เป็นสมาธิจะหลับไม่ได้ ให้สังเกตว่าเวลาที่เราฟุ้งซ่าน นอนคิดทั้งคืน บางทีเรานอนเท่าไรก็นอนไม่หลับ

ตรงจุดนี้ ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการที่จะหลับ ให้สังเกตอารมณ์ใจสุดท้ายก่อนจะหลับ แล้วรั้งเอาไว้ให้ทัน ลักษณะของการปฏิบัติในช่วงนั้น กำลังใจของเราเหมือนกับไฟเทียนที่ค่อย ๆ หรี่ลงไปเรื่อย ๆ ถ้าหากว่าหรี่ไปจนสติตามไม่ทันก็ตัดหลับหายไปเลย แต่ถ้าหากว่าหรี่ลงไปถึงระดับหนึ่ง แล้วเราสามารถล็อกกำลังใจเอาไว้ตรงนั้นได้ ก็สามารถที่จะตื่นอยู่ทั้งคืนได้เหมือนกัน

ดังนั้น...ตรงจุดนี้ให้เราเลือกเอาเองว่า เรารักษากำลังใจเอาไว้ระยะหนึ่ง สักครึ่งชั่วโมง หรือ ๑ ชั่วโมง จนกระทั่งเพียงพอแล้ว เราก็ค่อยตัดหลับ ถ้าอย่างนั้นก็จะได้ผลดีทั้งการภาวนา และได้ผลดีจากการที่ร่างกายได้พักผ่อน

แต่ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายทำไป แล้วรู้สึกว่ายิ่งทำเรายิ่งมีกำลังใจดีขึ้น จนกระทั่งมีสติรู้ตลอดเวลา จะหลับและตื่นมีสติรู้เท่ากันหมด จนบางคนคิดว่าตัวเองไม่ได้หลับ นั่นจึงเป็นจุดที่นักปฏิบัติทุกคนต้องการ เพราะว่านั่นคือการเข้าถึงคำว่า พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือเป็นผู้มีสติรู้ตลอดทั้งตื่นและหลับ หลับอยู่ก็รู้ว่าหลับ จะตื่นก็ต้องบังคับให้ตนเองตื่น ถ้าอยู่ในลักษณะอย่างนี้ ท่านจะเริ่มเข้าถึงความดีที่นักปฏิบัติต้องการอย่างแท้จริง

__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 18:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #34  
เก่า 23-03-2022, 18:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : สภาวะเมื่อปฏิบัติไป จะรู้สึกสะอื้นครับ เป็นเพราะอะไรครับ ?

ตอบ : ถ้าหากว่าลักษณะที่เกิดกับร่างกาย บางคนไม่ได้สะอื้นเฉย ๆ ร้องไห้ดังลั่นเลยก็มี ตรงนั้นเป็นอาการเบื้องต้นของการใกล้เข้าถึงความดีที่เรียกว่า ปีติ

ถ้าหากว่าสงสัยว่าทำไมปีติถึงร้องไห้ ? อรรถกถาจารย์ท่านเปรียบเอาไว้ว่า เหมือนกับพ่อแม่ที่ทิ้งลูกเอาไว้ที่บ้าน แล้วตนเองไปทำงานทั้งวัน กลับมาตอนใกล้ค่ำ เด็กที่คิดถึงพ่อถึงแม่เต็มทีแล้ว พอเห็นก็ดีใจ "พ่อมาแล้ว แม่มาแล้ว" กระโดดโลดเต้น ร้องไห้เลยก็มี

นั่นคือลักษณะของจิตของเราที่จะกลับไปสู่ความสงบ เมื่อความสงบนั้นเป็นสิ่งที่เราเคยทำได้ในอดีต ตอนนี้พอกลับไปถึงตรงจุดนั้นแล้ว รู้สึกดีว่าเราได้เจอกับสิ่งที่เราคุ้นเคยแล้ว อาจจะมีการแสดงออกแปลก ๆ อย่างที่ได้กล่าวในเบื้องต้นว่ามีขนลุก น้ำตาไหล ตัวโยกไปโยกมา เต้นตึงตังโครมครามก็มี

เราแค่ไม่ใส่ใจ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ช่างมัน ถ้ารู้จักสังเกตจะเห็นว่า จริง ๆ แล้วใจของเราสงบนิ่งอยู่กับการภาวนา เพียงแต่ว่าอาการร่างกายเกิดขึ้นตามปกติของร่างกายเท่านั้น ฉะนั้น..อย่าใส่ใจมาก อยู่กับการภาวนาของเราต่อไป เดี๋ยวก็ก้าวข้ามไปได้เอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 19:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #35  
เก่า 23-03-2022, 18:12
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : สภาวะที่อุปาทานกินสมาธิ เป็นลักษณะอย่างไรครับ ?

ตอบ : อุปาทานนั้นจะว่าไปแล้ว เป็นสิ่งที่เราจดจำเอาของเก่า ๆ ที่เราได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ได้เห็นมา แล้วก็เอามาคิดในระหว่างที่ภาวนา ทำให้อาจจะเกิดการรู้เห็นอะไรบางอย่างขึ้นมาได้ หรืออาจจะเกิดการคิดเรื่องบางอย่างที่มีความเข้าใจขึ้นมาได้

แต่ให้รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จริง ๆ แล้วไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ เป็นแค่สิ่งที่เกิดขึ้นแค่ชั่วครั้งชั่วคราวในระหว่างนั้นเท่านั้น ถ้าเราไปใส่ใจ ก็จะกลายเป็นเครื่องกั้นเราจากความดี ฉะนั้น..ถ้ากลับมาอยู่กับลมหายใจเข้าออก สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็จะหมดไปเองครับ

__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 19:22
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #36  
เก่า 23-03-2022, 18:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,107 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : การอบรมแบบนี้จะมีอีกหรือไม่ และจะทราบตารางล่วงหน้าได้อย่างไร ?

ตอบ : ตรงนี้ก็คงต้องติดตามทางหน้าเว็บไซต์หรือไม่ก็เฟซบุ๊กของวิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์ พิมพ์คำว่า วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์ แล้วก็เลือกเอาว่าเราจะเข้าทางเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊ก ถ้าหากจะให้สะดวก ควรที่จะเป็นเฟซบุ๊ก เพราะว่าถ้าหากมีการอบรมหรือจัดกิจกรรมลักษณะนี้ ก็ต้องมีการประกาศออกเฟซบุ๊กเป็นปกติอยู่แล้ว..ขอเจริญพร



พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
ธรรมบรรยายหัวข้อ "อานาปานสติเพื่อการเปลี่ยนแปลงภายใน"
วันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 19:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:33



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว