กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 21-11-2009, 08:01
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,150 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐานวันเสาร์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

นั่งในท่าที่ตัวเองสบายที่สุดเท่าที่ทำได้ สำคัญที่สุดก็คือกำหนดร่างของเราให้ตั้งตรงไว้ เพราะว่าร่างกายที่ตั้งตรงนั้น เรื่องของปราณหรือลมหายใจเข้าออก จะเดินได้สะดวก และทำให้สมาธิทรงตัวได้ง่ายขึ้น ให้หายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒ - ๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบให้หมดเสียก่อน แล้วหลังจากนั้นให้กำหนดความรู้สึกไหลตามลมหายใจเข้าไป ไหลตามลมหายใจออกมา

เรื่องของลมหายใจเข้าออก เป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทุกกอง เราจะทิ้งเสียไม่ได้ กรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าไม่มีการกำหนดอานาปานสติกรรมฐาน คือ ลมหายใจเข้าออกแล้ว จะไม่สามารถทรงตัวได้ อย่างเก่งก็เกิดสมาธิขึ้นมาเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็สูญสลายไป

วันนี้วันที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๒ เป็นวันเสาร์ วันนี้มีญาติโยมท่านหนึ่ง มาปรารภว่าหลงทาง ก็คือ ไปปฏิบัติในกลุ่มซึ่งดูไประยะหนึ่งแล้วรู้สึกว่าเพี้ยน จึงได้ถอนตัวออกมา แต่ว่ายังมีโยมเป็นจำนวนมากที่อยู่กับกลุ่มที่ปฏิบัตินั้นอยู่ ก็ขอบอกว่าการปฏิบัติของเรานั้น มันต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อย การไปเข้ากลุ่ม เข้าพวก เข้าสำนัก เปรียบเหมือนกับเราไปเข้าร้านอาหาร เมื่อรู้ตัวว่าร้านนี้ทำอาหารไม่ถูกปาก ไม่ถูกใจของเรา เราก็ขยับเปลี่ยนแปลงไปร้านใหม่ได้ ดังนั้นในเรื่องของการปฏิบัติ ความผิดพลาดหรือหลงทางไม่ใช่เรื่องน่าตำหนิ แต่ว่าถ้ารู้ตัวแล้วไม่แก้ไขต่างหากจึงเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ

นักปฏิบัติจึงต้องมีการทบทวนตัวเองอยู่เสมอ ๆ อย่างเช่นว่า กำลังใจวันนี้ของเราดีกว่าเมื่อวานหรือเปล่า ? ถ้าหากว่าไม่ดี ไม่ดีเพราะเหตุใด ? ถ้าหากว่าดี ดีด้วยเหตุใด ? ถ้าหากว่าท่านทั้งหลาย สามารถที่จะติดตามกำลังใจของตนเองได้ สามารถที่จะรับรู้กำลังใจของตนเองได้ชัดเจน ต่อไปถ้ามีอะไรก็ตามที่เข้ามาสู่ใจของเรา เราก็สามารถกำหนดรู้ได้ง่ายขึ้น ได้สะดวกขึ้น ถึงเวลานั้น การที่จะก้าวขึ้นไปสู่ เวทนาในเวทนา จิตใจจิต ธรรมในธรรม ของมหาสติปัฏฐานสูตร ก็จะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น

การที่ตัวเราทบทวนตัวเรานั้น ให้ดูด้วยว่า เรามีความยินดีหรือพอใจในการปฏิบัติอย่างแท้จริงหรือไม่ ? หรือยังเปลี่ยนกลุ่มนั้น ไปกลุ่มนี้ เข้าสำนักนั้นไปเรื่อย โดยที่หาไม่เจอว่าตนเองรักชอบแบบไหน ถ้ายังไม่เจอกลุ่มหรือสายการปฏิบัติที่ถูกต้องตรงกับใจของตนเอง ยังไม่ว่ากัน แต่ถ้าหากเจอแล้ว ยังเปลี่ยนอยู่นั้น เท่าที่เคยพบมาก็มีสองสาเหตุด้วยกัน

สาเหตุที่หนึ่งก็คือ ปฏิบัติแล้วอยากได้ดีจนเกินไป เมื่อได้ดีไม่ทันใจ ก็คิดว่าน่าจะมีแนวการปฏิบัติที่ได้ดีเร็วกว่านี้ ง่ายกว่านี้
สาเหตุที่สองนั้น มีความอดทนอดกลั้นไม่เพียงพอ จะว่าไปแล้วก็คล้ายคลึงกับข้อที่หนึ่ง แต่ว่าความอดทนอดกลั้นไม่เพียงพอนั้น คือเป็นคนใจร้อนใจเร็ว อยากเห็นผลในการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว

ขอบอกว่าหลักการปฏิบัติทุกอย่างเป็นการสั่งสม ค่อย ๆ ไปทีละเล็กทีละน้อย นานไปก็จะมีมากเข้า ได้มากเข้า ถ้าไม่ใช่บุคคลที่มีของเก่าจริง ๆ โอกาสที่จะปฏิบัติแล้วเกิดผลทันตาทันใจนั้น เป็นเรื่องยาก ส่วนอีกประการหนึ่งก็คือว่า เราต้องทำตนให้พอใจกับหลักการปฏิบัติ แล้วทุ่มเทให้กับการปฏิบัติอย่างจริง ๆ จัง ๆ ไม่อย่างนั้นต่อให้เปลี่ยนสำนักการปฏิบัติกี่ครั้ง เปลี่ยนสายการปฏิบัติกี่ครั้ง มันก็ยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น คนอื่นอาจจะแซงหน้าไปแล้ว เราเองที่เคยอยู่หน้าก็กลายเป็นล้าหลังแล้ว

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ต้องดูให้เป็น ต้องมองให้เห็น และใช้วิธีการปฏิบัติต่าง ๆ แก้ไขให้ได้ ไม่อย่างนั้นโอกาสที่เราจะก้าวหน้าในการปฏิบัติก็จะมีน้อย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-11-2009 เมื่อ 14:54
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 21-11-2009, 08:23
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,150 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลักการปฏิบัติจริง ๆ ที่เราทิ้งไม่ได้นั้น

อันดับแรก ต้องกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จะใช้คำภาวนาหรือพิจารณาอย่างไรให้ตามอัธยาศัยของเรา
อันดับที่สอง เมื่อกำลังใจทรงตัวแล้ว เริ่มคลายออกมา ให้หาวิปัสสนาญาณต่าง ๆ มาพิจารณา ไม่อย่างนั้นแล้วกำลังใจที่ทรงตัว มีความเข้มแข็งมาก ก็จะไปใช้ในการฟุ้งซ่านแทน และระงับได้ยากเพราะว่ามีกำลังสูง
อันดับที่สาม ก็คือว่า พยายามรักษาศีลของเราทุกสิกขาบท ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นเขาทำ ไม่ยินดีเมื่อคนอื่นเขาทำ

การรักษาศีลนั้น มีหลายท่านสงสัยว่า ถ้าประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ อย่างเกษตรกรรม ต้องมีการฉีดยาฆ่าแมลงบ้าง หรือว่าเลี้ยงสัตว์ขายบ้าง แล้วสอบถามมาว่า ถ้าอย่างนั้นจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างไร ? คงไม่มีหวังเลยใช่ไหม ? ก็ขอยืนยันว่ารักษาได้ โดยที่ให้เรารักษาศีลเป็นเวลา อย่างเช่นว่า ตั้งแต่เลิกงานจนกว่าจะหลับ เราจะรักษาศีลห้าหรือศีลแปดให้บริบูรณ์ แล้วตั้งใจงดเว้นรักษาให้ได้ตามนั้น หรือว่าตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งไปถึงที่ทำงาน เราจะรักษาศีลทุกสิกขาบทให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เป็นต้น ถ้าสามารถทำได้ ต่อไปกำลังใจที่เข้มแข็งขึ้น ก็จะทำให้เราสามารถรักษาศีลได้นานขึ้น ได้มากขึ้น และละเอียดขึ้น

อันดับที่สี่ ให้ทำความเคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้จริงจังและจริงใจ ไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ข้อสุดท้ายที่สำคัญก็คือ ต้องรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย คนที่แก่กว่าเราก็ตายมามากแล้ว คนรุ่นราวคราวเดียวกับเราก็ตายไปบ้างให้เราเห็นแล้ว คนที่อายุน้อยกว่าเราก็ตายให้เห็นแล้ว แม้กระทั่งเด็กเล็ก ๆ ก็ตายให้เห็นแล้ว ดังนั้นเราจะประมาทไม่ได้ ต้องตั้งเป้าไว้เลยว่า ถ้าตายจะไปไหน ซึ่งควรจะกำหนดเป้าหมายสูงสุด ก็คือ ตายแล้วไปนิพพานเอาไว้

ถ้าเราสามารถที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ กำหนดสมาธิภาวนาได้อย่างใจของเรา และรู้ตัวอยู่เสมอว่าจะต้องตาย ตั้งเป้าว่าตายแล้วไปพระนิพพาน ถ้าท่านทั้งหลายสามารถรักษากำลังใจอย่างนี้ให้ทรงตัวได้ โอกาสที่เราจะก้าวล่วงจากความทุกข์ก็มีมาก แต่ถ้ารักษาไม่ได้ ก็จะต้องเวียนตายเวียนเกิด ทุกข์ยากของเราไป

ดังนั้น..ในการปฏิบัติที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงบัดนี้นั้น ขอสรุปลงที่ว่า การปฏิบัติต่าง ๆ นั้น ต้องการคนที่ทำอย่างจริงจัง และทบทวนอยู่เสมอว่า เราทำอะไร ? เพื่ออะไร ? ตอนนี้ทำไปถึงไหน ? ใกล้ไกลต่อเป้าหมายสักเท่าไหร่ ? และท้ายสุดให้ก้าวเข้าหาอารมณ์พระอริยเจ้า ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป คือรักษาศีลทุกสิกขาบทให้บริสุทธิ์ ทำความเคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริง ตั้งใจว่าตายเมื่อไหร่จะไปนิพพาน อย่างนี้จึงได้เชื่อว่าท่านปฏิบัติได้ถูกทาง

สำหรับตอนนี้ ก็ให้ทุกคนกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ประกอบกับภาพพระและการพิจารณา ตามแต่ความถนัดของแต่ละคน โดยตั้งกำลังใจไว้ว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ที่ไหน นอกจากบนพระนิพพาน เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ถ้ายังมีลมหายใจอยู่ให้กำหนดรู้ลมหายใจด้วย ถ้ายังมีคำภาวนาอยู่ให้กำหนดรู้คำภาวนาไปด้วย ถ้าไม่มีลมหายใจหรือไม่มีคำภาวนา ก็สักแต่ว่ากำหนดรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น..มันเป็นอย่างนั้น ให้เอาใจจดจ่อตั้งมั่นอยู่อย่างนี้จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันเสาร์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-11-2009 เมื่อ 14:58
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:36



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว