กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๕ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนเมษายน ๒๕๖๕

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 26-04-2022, 17:19
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,581
ได้ให้อนุโมทนา: 216,249
ได้รับอนุโมทนา 739,353 ครั้ง ใน 36,033 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕


__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 26-04-2022, 23:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,687 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ ภารกิจสำคัญก็คือไปเป็นคณะกรรมการอำนวยการในการสอบบาลีสนามหลวงครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๖๕ ที่วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) ซึ่งนอกจากมีการสอบแล้ว ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารและสิ่งของพระราชทาน แก่พระภิกษุสามเณรผู้เข้าสอบในครั้งนี้อีกด้วย

ตรงจุดนี้นั้นต้องบอกว่า การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยนั้น ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาทุกยุคทุกสมัย เนื่องเพราะว่าการเรียนนักธรรมบาลีนั้น เป็นการสืบทอดคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญมาก ก็คือเราจะได้รู้ว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกนั้น มีการแปลมาผิดเพี้ยนผิดพลาดอย่างไรหรือไม่ ? เมื่อตนเองศึกษาในภาษาบาลีได้คล่องตัวแล้ว ก็สามารถที่จะแปลบาลีด้วยตนเองเพื่อตรวจสอบได้

แต่ว่าในพระไตรปิฎกที่ได้แปลเป็นภาษาไทยของเรานั้น ตั้งแต่ฉบับสยามรัฐเป็นต้นมา ก็ได้มีการตรวจชำระหลายครั้ง เพียงแต่ว่าการตรวจชำระนั้น ก็ยังหาที่ผิดพลาดได้น้อยมาก อย่างเช่นแค่ เปลี่ยนคำว่า ชโน มาเป็น ชนํ คือ ชนทั้งหลาย เท่านั้น เป็นต้น

การเรียนบาลีในบ้านของเราแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือประโยคเปรียญตรี เรียนตั้งแต่ประโยค ๑, ๒, ๓ ซึ่งผู้เรียนนั้น ต้องจบนักธรรมชั้นตรีเสียก่อนถึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบได้

ประโยคเปรียญโทนั้น เรียนในประโยค ๔, ๕ และ ๖ ผู้ที่จะมีสิทธิ์เข้าสอบนั้น ต้องสอบนักธรรมชั้นโทให้ได้เสียก่อน

ระดับสุดท้าย คือเปรียญเอก อยู่ในระดับประโยค ๗, ๘ และ ๙ ผู้ที่จะมีสิทธิ์เรียนและสอบนั้น จะต้องสอบนักธรรมชั้นเอกได้เสียก่อน

ดังนั้น...มีแบบธรรมเนียมอยู่อย่างหนึ่งว่า เมื่อเขียนวิทยฐานะของพระต่อท้ายชื่อ - ฉายา ก็จะมีคำว่า "น.ธ.เอก, ป.ธ. ๓" เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-04-2022 เมื่อ 02:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 26-04-2022, 23:57
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,687 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่ถ้าหากถึงเปรียญเอกเป็นต้นไป คือเปรียญธรรม ๗ ประโยค ๘ ประโยค และ ๙ ประโยคนั้น ไม่ต้องมีคำว่า "น.ธ.เอก" นำหน้า เพราะว่าเป็นการบังคับอยู่แล้วว่าต้องสอบนักธรรมชั้นเอกได้ ถึงจะมีสิทธิ์ในการเข้าสอบเปรียญเอกทั้ง ๓ ระดับนี้

ใครเขียนว่า "น.ธ.เอก, ป.ธ. ๗"
"น.ธ.เอก, ป.ธ. ๘" หรือว่า "น.ธ.เอก, ป.ธ. ๙" ก็จะโดนคนอื่นโห่ว่า "เชยมาก" เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ต่อให้ไม่ระบุ เราก็จะรู้ว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้ต้องจบนักธรรมชั้นเอกแล้ว

เพียงแต่ว่าการศึกษาบาลีในบ้านเรานั้น เมื่อจบเปรียญธรรม ๙ ประโยคแล้ว ถ้าหากว่าไม่ไปศึกษาในปริยัติสามัญ ก็คือปริญญาโทหรือปริญญาเอก ก็จะจบลงด้วน ๆ แค่นั้น เนื่องเพราะว่าการจบเปรียญธรรม ๙ ประโยคนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิการศึกษาให้เท่ากับปริญญาตรีเท่านั้น จัดว่าเป็นปริญญาตรีที่ต้องใช้เวลาเรียนมากที่สุดในประเทศไทย

เนื่องเพราะว่าถ้าผู้เรียนสามารถสอบต่อเนื่องกันได้โดยไม่ตกเลยแม้แต่ครั้งเดียว ก็ต้องใช้เวลาในการเรียนอย่างน้อย ๘ ปีเต็ม แต่ในเมื่อทางด้านกระทรวงฯ อนุมัติให้แค่นั้น คนส่วนใหญ่ก็จะมาต่อในส่วนของปริญญาโท ก็คือใช้สิทธิ์ปริญญาตรีจากเปรียญธรรม ๙ ประโยค มาเรียนในระดับปริญญาโทเลย

ในสมัยที่กระผม/อาตมภาพเรียนในระดับปริญญาโทอยู่ มีเพื่อนร่วมรุ่นบางรายที่ใช้วุฒิการศึกษาปริญญาตรีจากเปรียญธรรม ๙ ประโยคมาเรียนต่อ เป็นอะไรที่ดูแล้วน่าสงสารมาก เพราะว่าท่านไม่มีความรู้พื้นฐานในระดับมัธยม หรือว่าในระดับปริญญาตรีเลย โดยเฉพาะวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น ก็เลยทำให้ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ต้องเรียนกันด้วยความยากลำยากมาก ต้องพยายามทำความเข้าใจหนักกว่า
กระผม/อาตมภาพหลายเท่า ตรงจุดนี้กระผม/อาตมภาพถึงได้ต้องมีการช่วยสรุปเนื้อหาการเรียน เพื่อที่จะให้เพื่อนเอาไปท่องจำ หรือว่าเอาไปศึกษา จะได้ช่วยให้สอบได้ง่ายขึ้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-04-2022 เมื่อ 02:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 27-04-2022, 00:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,687 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่ว่าในประเทศพม่านั้น เมื่อท่านจบประโยค ๘ ก็คือชั้นธัมมะจริยะแล้ว เทียบเท่ากับเปรียญธรรม ๙ ประโยคของเรา เขาจะมีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เรียกว่าบาลีปารคู ถ้าหากว่าแปลเป็นภาษาไทย คือ ผู้ถึงฝั่งแห่งบาลี

การศึกษาในระดับนี้นั้น เขาจะใช้ภาษาบาลีในชีวิตประจำวัน ก็คือสื่อสารสนทนากันเป็นภาษาบาลี เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและคุ้นเคยกับไวยากรณ์ และศัพท์แสงต่าง ๆ ของสิ่งของที่ในสมัยนี้พัฒนา หรือว่ามีขึ้นมากกว่าในสมัยโบราณ

อย่างที่บ้านเราเมืองเรามาตกลงกันว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ นั้น ถ้าหากว่าโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ภาษาบาลีสรุปลงมาใช้คำว่า โควิโต เป็นต้น คราวนี้ในเมื่อคุ้นเคยกับศัพท์แสงทั้งเก่าและใหม่ คุ้นเคยกับไวยากรณ์บาลี สามารถใช้สนทนากันได้ในชีวิตประจำวัน ถึงจะสมกับที่ใช้คำว่าบาลีปารคู คือ ผู้ถึงฝั่งแห่งบาลี

เช่นเดียวกับที่กระผม/อาตมภาพไปประเทศพม่า แล้วเจอพระมหาเถระบางรูป อย่างเช่นท่านอาจารย์ใหญ่ยานิกะ ซึ่งท่านเป็น "เซียนบาลี" จบธัมมะจริยะตั้งแต่สามเณร ถ้าหากว่าเป็นบ้านเราก็คือจบเปรียญธรรม ๙ ประโยคตั้งแต่เป็นสามเณร ท่านอาจารย์ใหญ่เห็นว่าพูดภาษาอังกฤษสำเนียงพม่าแล้ว กระผม/อาตมภาพต้องใช้เวลาในการฟังนานมาก ท่านจึงเปลี่ยนมาพูดภาษาบาลี ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ว่า กระผม/อาตมภาพสามารถที่จะตีความในภาษาบาลีที่ท่านพูดมา ได้มากกว่าภาษาอังกฤษเสียอีก ท่านก็เลยใช้ภาษาบาลีในการสนทนาเป็นประจำ

ตรงจุดนี้ถ้าหากว่ากระผม/อาตมภาพอยู่พม่าต่อไป อาจจะจบบาลีปารคูโดยไม่รู้ตัว เพราะว่าการใช้ภาษาบาลีสนทนานั้น ก็เหมือนกับภาษาอังกฤษ คือ เมื่อเรามีความคุ้นเคย ก็จะคล่องปากมากขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วท้ายที่สุดก็จะสามารถหลุดพูดออกไปได้อย่างอัตโนมัติ

การเรียนภาษาบาลีในระดับนี้นั้น เท่าที่กระผม/อาตมภาพทราบมา ในบ้านเราเมืองเราก็มีอยู่แค่ ๒ แห่งเท่านั้น แห่งแรกก็คือสำนักเรียนวัดจองคำ จังหวัดลำปาง ซึ่งใช้การท่องภาษาบาลีแบบเดียวกับประเทศพม่า หมายความว่าพระภิกษุสามเณรผู้เข้าเรียนบาลีนั้น จะต้องท่องจำให้ขึ้นใจทุกคำ จะไม่มีการเก็งข้อสอบ ก็คือไม่ว่าอาจารย์จะออกข้อสอบตรงไหนมา เราก็จะมี ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ ที่อยู่ในหัว สามารถที่จะทำได้ทุกข้อ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-04-2022 เมื่อ 02:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 27-04-2022, 00:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,687 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่ว่าในปัจจุบันนั้น การเรียนบาลีในประเทศไทยมีการเก็งข้อสอบ ทำให้นักเรียนบาลีจำนวนหนึ่ง ถ้าไม่ใช่ข้อสอบที่เก็งแล้วตนเองท่องจำเอาไว้ ก็จะไม่มีความชำนาญในบาลีส่วนอื่น ตรงจุดนี้อาจจะทำให้เกิดการตกต่ำของการศึกษาบาลีในประเทศไทยของเราได้

อีกสำนักหนึ่งนั้น เกิดจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อดีตเจ้าอาวาสวัดพิชัยญาติการาม ท่านไปตั้งสถาบันบาฬีศึกษาพุทธโฆส ขึ้นที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งปัจจุบันนี้น่าจะอยู่ในเขตอำเภอพุทธมณฑล

ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าคุณพระราชปริยัติโมลี ท่านยังไปขอตัวอาตมภาพจากหลวงพ่อวัดท่าซุง เพื่อที่จะให้มาเรียนในสถาบันนี้ โดยที่ผู้ที่จะเข้าเรียนนั้น ต้องมีพื้นฐานจบบาลีมาอย่างน้อย ๕ ประโยค แต่ว่ากระผม/อาตมภาพเรียนถวายหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงไปว่า "ถ้าหากว่าห่างหลวงพ่อแล้ว ผมคิดว่าผมคงจะเลวแน่นอน ดังนั้น...จึงไม่ขอไปเรียนครับ"

จนกระทั่งท้ายสุด เมื่อได้มาเป็นเจ้าคณะตำบลชะแล เขต ๒ ทางด้านสถาบันบาฬีศึกษาพุทธโฆส ได้ยกระดับขึ้นไปเป็นวิทยาลัยสงฆ์บาฬีพุทธโฆส มีการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ สำหรับพระสังฆาธิการมาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แล้วทางจังหวัดกำหนดให้กระผม/อาตมภาพมาเรียนต่อในระดับนี้ เมื่อท่าน...ตอนนั้นซึ่งเป็นเจ้าคุณพระพรหมโมลี รองสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นหิรัญบัฏ เจอหน้า
กระผม/อาตมภาพเข้าก็หัวเราะ บอกว่า "ท้ายที่สุดคุณก็ต้องมาเป็นลูกศิษย์ของผมจนได้"

เมื่อเรียนต่อในระดับปริญญาโท ถึงได้เข้าใจว่า ทำไมการศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทยของเรา จึงไม่แตกฉานเท่ากับประเทศพม่าหรือว่าประเทศลาว ? เหตุเพราะว่าเราไม่ได้เรียน "บาลีใหญ่" หรือที่เรียกว่า มูลกัจจายน์ เมื่อเรียนในระดับปริญญาตรี มีวิชาบาลีไวยากรณ์ ๑-๒-๓-๔-๕ เป็นต้น เราก็มีการศึกษาในส่วนของตำราบาลีใหญ่ที่แบ่งมาเป็นส่วน ๆ อย่างเช่น ปทรูปสิทธิ เป็นต้น ทำให้เราได้รู้ว่า ภาษาบาลีนั้นมีการเข้าสูตร มีการพิจารณาว่า การที่ใช้ทีฆสระ รัสสระ การที่เราพิจารณาจากลิงค์ คือเพศในภาษา เป็นต้น มีที่มาที่ไปอย่างไร ค่อยรู้ภาษาบาลีได้โดยชัดเจนขึ้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-04-2022 เมื่อ 02:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 27-04-2022, 00:23
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,687 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

นอกจากนี้ ประเทศพม่ายังมีการเรียนในระดับสูงยิ่งไปกว่าบาลีปารคู ก็คือการเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้ที่จบการทรงพระไตรปิฎกนั้น สามารถที่จะท่องจำพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ได้ ซึ่งตรงจุดนี้ทางกินเนสบุ๊ค เวิลด์ ออฟ เรคคอร์ด เคยได้พิสูจน์ หลวงปู่ภัททันตะ วิจิตตะ สาราภิวังสะ ที่ชาวพม่าเรียกว่า มิงกุนสยาดอ ให้ท่านลองท่องให้ฟัง ปรากฏว่าท่านสามารถท่องพระไตรปิฎกทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ได้คล่องแคล่วมาก จนได้รับการบันทึกลงในกินเนสบุ๊คว่า เป็นบุคคลที่สามารถจดจำเนื้อหาหนังสือได้มากที่สุดในโลก

และที่สำคัญที่สุดก็คือความจำของท่านนั้น นอกจากต้องจำอักขระประมาณ ๑๐,๐๐๐ หน้ากระดาษ A4 แล้ว ถ้าหากว่าบอกบาลีขึ้นมาประโยคหนึ่ง ท่านยังสามารถบอกได้ว่า บาลีประโยคนั้นมาจากในนิกายไหน ปิฎกไหน ของพระไตรปิฎก เรียกง่าย ๆ ว่ามีความคล่องตัวมากกว่า "กูเกิล" สมัยนี้เสียอีก เพราะว่ากูเกิลนั้น ถ้าเราถามไป ก็จะมีประโยคบาลีมาหลาย ๆ แห่ง ให้เราเลือกว่าเป็นประโยคไหน แต่ของหลวงปู่ภัททันตะ วิจิตตะ ท่านสามารถบอกได้เองเลยว่า บาลีประโยคนั้นมาจากเล่มไหน ข้อไหนของพระไตรปิฎก เป็นต้น

แล้วในช่วงที่กระผม/อาตมภาพไปสร้างวัดอยู่ในประเทศพม่า ระหว่างที่รอวัสดุก่อสร้าง ก็ได้ไปท่องเที่ยวประเทศพม่า มีโอกาสกราบพบพระมหาเถระชาวพม่าที่จบพระไตรปิฎก คือสามารถทรงจำได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์จริง ๆ ท่านทั้งหลายเหล่านี้จะมีคำว่า ตรีปิฏกบัณฑิต ต่อท้ายนาม เป็นต้น อย่างเช่นหลวงปู่ชฏิละ วัดชุยยีเซา

เนื่องจากว่าในสมัยที่กระผม/อาตมภาพไปสร้างวัดอยู่ ได้ไปดูการสอบพระผู้ทรงพระไตรปิฎกของเขาอยู่ ๕ ปีต่อเนื่องกัน แต่ละปีจะมีพระเข้าสอบประมาณ ๓๐ กว่ารูป ปรากฏว่าตกยกชั้นทุกรูป..! ปัจจุบันนี้จึงมีการปรับลงมาว่า จากการที่ให้ท่องจำทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เลย เป็นภาระที่หนักมาก จึงกำหนดให้ทรงจำทีละปิฎก จะเริ่มจากวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ดี พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ดี หรือว่าพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ก็ตาม
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-04-2022 เมื่อ 02:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 27-04-2022, 00:26
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,443
ได้ให้อนุโมทนา: 151,071
ได้รับอนุโมทนา 4,399,687 ครั้ง ใน 34,032 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าหากว่าท่านสามารถท่องผ่านปิฎกใดได้ ก็ถือว่าผ่านแล้ว เก็บเอาไว้ แล้วท่านก็ไปท่องจำปิฎกอื่นแทน ถ้าหากว่าผ่านครบทั้ง ๓ ปิฎก ก็จะได้นามตรีปิฏกบัณฑิตต่อท้ายเช่นกัน ซึ่งตรงนี้ก็คือการที่ศึกษาพระไตรปิฎกตกต่ำลง คล้าย ๆ กับประเทศของเราเช่นกัน

วันพรุ่งนี้ยังเป็นอีกวันหนึ่งที่กระผม/อาตมภาพต้องไปเป็นกรรมการตรวจเยี่ยมสนามเช่นเดิม ถ้าหากว่ามีสิ่งหนึ่งประการใดที่ควรจะบอก ควรที่จะเล่าให้แก่ท่านทั้งหลายทราบ ก็จะนำเอามาบันทึกให้ท่านทั้งหลายได้ฟังกันต่อไป

สำหรับวันนี้ ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา ตลอดจนบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-04-2022 เมื่อ 02:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:04



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว