กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๖ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนมีนาคม ๒๕๖๖

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 06-03-2023, 19:40
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,634
ได้ให้อนุโมทนา: 216,589
ได้รับอนุโมทนา 741,930 ครั้ง ใน 36,136 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖


__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 07-03-2023, 00:24
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,511
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,957 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ วันมาฆบูชา เนื่องจากว่าปีนี้มีเดือน ๘ สองหน วันมาฆบูชาจึงเลื่อนมาเป็นกลางเดือน ๔

ทางวัดท่าขนุนของเราก็มีการฟังเทศน์ฟังธรรมตามปกติ แต่ว่าส่วนที่มีมากกว่าวัดทั่วไปก็คือ เราจะมีการอุปสมบทหมู่เพื่อปฏิบัติธรรมในวันมาฆบูชานี้ทุกปี เป็นการอุปสมบทหมู่ฟรี ไม่เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าผู้ที่เป็นนาคนั้น จะต้องขานนาคและปฏิบัติตามขั้นตอนในการอุปสมบทได้อย่างคล่องตัว

ปีนี้มีผู้สมัครอุปสมบทหมู่เพื่อปฏิบัติธรรมในสัปดาห์มาฆบูชานี้มาทั้งสิ้น ๑๒ ราย แต่ว่าผ่านการคัดตัวแค่ ๑๑ รายเท่านั้น อีก ๑ รายไม่มีความคล่องตัวจึงต้องให้กลับบ้านไปก่อน ถ้าหากว่าซักซ้อมจนคล่องตัวแล้ว ก็จะมีการอุปสมบทหมู่เพื่อปฏิบัติธรรมในสัปดาห์วันวิสาขบูชาซึ่งรออยู่ข้างหน้า

อีกงานหนึ่งที่ทางวัดท่าขนุนของเราทำแล้วได้รับการยกขึ้นเป็น Unseen Thailand ก็คือการตามประทีป ๑๐,๐๐๐ ดวง เป็นพุทธบูชา ซึ่งพัฒนามาจากในระยะแรกที่ใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลัง ควั่นไส้ด้วยผ้าจีวรเก่า บรรจุน้ำมันก๊าดแล้วจุดถวายเป็นพุทธบูชา เริ่มมาจากพระครูน้อย (พระครูสังฆรักษ์วิฑูรย์ จนฺทวํโส) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ปัจจุบันคือเจ้าอาวาสวัดหนองบัว เมืองจะอีน ประเทศพม่า

เมื่อเริ่มต้นขึ้นมาแล้ว กระผม/อาตมภาพเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองอย่างมาก จึงได้สั่งให้เอาผางประทีปทางด้านจังหวัดเชียงใหม่ลงมา แต่ปรากฏว่าผางประทีปจากจังหวัดเชียงใหม่นั้น จุดได้แค่ ๑๐ กว่านาที ไส้ก็ล้ม ไม่สามารถที่จะติดต่อไปได้ ทางวัดจึงมีการคิดค้นว่า ทำอย่างไรที่เรามีการตามประทีปเป็นพุทธบูชาแล้ว จะสามารถอยู่ได้หลายชั่วโมง ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:03
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 07-03-2023, 00:27
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,511
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,957 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ท้ายที่สุดก็ไปสั่งจากทางเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีความสามารถในด้านเครื่องปั้นดินเผา ให้ช่วยทำถ้วยผางประทีปให้ ในตอนแรกก็ออกมาในลักษณะเป็นถ้วยก้นเรียว เมื่อตามประทีปแล้วจะอยู่ได้ประมาณสองชั่วโมงครึ่ง จึงมีการขยายออกเป็นถ้วยทรงลูกจันทน์ ตามประทีปครั้งแรกอยู่ได้เกือบ ๖ ชั่วโมง แต่ว่าสิ้นเปลืองขี้ผึ้งเป็นจำนวนมาก เนื่องเพราะว่าในแต่ละงานนั้น เราต้องใช้เศษเทียน เศษขี้ผึ้งต่าง ๆ ซึ่งรับซื้อมาจากร้านรับซื้อของเก่ากิโลกรัมละถึง ๓๓ บาท แต่ละงานจะใช้ประมาณ ๑,๕๐๐ กิโลกรัม คือตันครึ่ง..!

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น จึงต้องมีการพัฒนาถ้วยรุ่นที่ ๓ ขึ้นมา ก็คือบรรจุให้น้อยลงสักครึ่งหนึ่ง ก็จะอยู่ได้ประมาณ ๔ ชั่วโมง แล้วมีการดัดแปลงทั้งแปรภาพและแปรอักษรด้วย กลายเป็น Unseen Thailand ที่นักท่องเที่ยวสนใจกันมาก เพราะว่ามีความสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ

หลายวัดก็อยากจะเลียนแบบ แต่พอถามถึงค่าใช้จ่ายแล้ว รู้ว่าถ้วยที่สั่งทำมานั้น ใบละ ๔ - ๕ บาท ใช้ได้ประมาณ ๒ - ๓ งาน เมื่อโดนความร้อนจัด ๆ เข้าก็แตก ดังนั้น..ในแต่ละครั้งเราจะต้องใช้เงินหลายหมื่นบาทในการจัดวางผางประทีปเป็นพุทธบูชา แต่ว่าก็คุ้มค่า น่าชื่นใจ ภาพแต่ละครั้งที่ออกมานั้นงดงามมาก เพราะว่าได้รับการออกแบบจากพระจิตศิลป์ เหมรํสี, ดร. เจ้าสำนักสงฆ์เกาะพระฤๅษี ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งที่กระผม/อาตมภาพส่งเรียนจนจบปริญญาเอก ก่อนหน้านั้นท่านเรียนทางด้านการออกแบบมา จึงเป็นผู้ออกแบบในการแปรภาพ แปรอักษรในทุกครั้ง

อีกงานหนึ่งที่ทางวัดท่าขนุนของเรามีมากกว่าเขาในช่วงของวันมาฆบูชา ก็คืองานปิดทองรอยพระพุทธบาทวัดท่าขนุน และทำบุญอุทิศอดีต ๗ เจ้าเมืองหน้าด่าน ซึ่งทุกปีเราจะจัดตรงกับวันมาฆบูชา เป็นการรวบยอดงานประจำปีช่วงมาฆบูชา และการทำบุญอุทิศแก่เจ้าเมืองหน้าด่านทั้ง ๗ หัวเมืองที่เพิ่มขึ้นมา ให้กลายเป็นงานเดียวกัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 07-03-2023, 00:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,511
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,957 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในงานนี้ก็จะมีเรื่องของงานวัฒนธรรมที่ต่าง ๆ กันไป อย่างปีนี้ส่วนสำคัญก็คือการแข่งขันทอผ้าด้วยกี่เอว ซึ่งบรรดาชาวบ้านมีความสามารถในด้านนี้กันมาก โดยเฉพาะพี่น้องชาวกะเหรี่ยง จึงมีการกำหนดให้แข่งขันกันเป็นระยะเวลา ๓ วัน มาตัดสินกันในวันนี้ ซึ่งบัดนี้ทางด้านคณะกรรมการส่งชื่อผู้ชนะเลิศมาแล้ว คือนางทองฤดี พิมพิลา จากบ้านทิพุเย ตำบลชะแล

ในการแข่งขันต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเราทำแบบ "ไฟไหม้ฟาง" ถึงเวลารับรางวัลรับเกียรติบัตรไปแล้วก็จบ ถ้าเป็นอย่างนี้เรื่องของวัฒนธรรมของเราก็จบไปด้วย แต่ว่ากระผม/อาตมภาพนั้นสนับสนุนการทอผ้าพื้นเมืองมาตั้งแต่ต้น แรกเริ่มก็ซื้อหาพวกด้ายให้ไป ใครถนัดการทอผ้าแบบกะเหรี่ยง ทอผ้าแบบมอญ หรือว่าทอผ้าแบบอีสาน ก็ทำกันไป เมื่อถึงเวลาให้นำผลิตภัณฑ์มาขายในงานวัดท่าขนุนก็พอ

หลังจากนั้นก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการสร้างศูนย์วัฒนธรรมกะเหรี่ยงให้แก่บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งบริเวณนั้นมีหลายหมู่บ้านเป็นชาวกะเหรี่ยง แต่ว่าศูนย์รวมอยู่ที่บ้านไร่ป้า ซึ่งออกเสียงตามภาษาไทย ถ้าหากว่าเป็นภาษากะเหรี่ยง ออกเสียงประมาณว่า ไหล่ปา ซึ่งแปลว่าพลาญหิน หรือว่าหินดานขนาดใหญ่ เมื่อไปสร้างศูนย์วัฒนธรรมกะเหรี่ยงเอาไว้ บรรดารุ่นเดิม ๆ เก่า ๆ ที่มีความชำนาญในการทอผ้า ก็ให้ไปรวมกันทอผ้าในสถานที่แห่งนั้น แล้วเด็ก ๆ ซึ่งได้เห็นผู้ใหญ่ไปรวมตัวกันทอผ้า บุคคลที่สนใจก็จะเข้ามาศึกษาเรียนรู้กันไปเอง

แต่ว่าในจุดนี้ ถ้าหากว่าเราทำเพียงนี้ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะว่าส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อสร้างสินค้าขึ้นมาแล้ว ต้องมีที่ให้เขาขายด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วสินค้าออกมาไม่สามารถที่จะขายได้ เขาก็ไม่รู้จะทำไปให้เหนื่อยยากทำไม ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 07-03-2023, 00:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,511
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,957 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

กระผม/อาตมภาพในระยะแรกก็กำหนดให้เขาทั้งหลายเหล่านี้ นำเอาสินค้ามาจำหน่ายในงานวัดท่าขนุน อย่างเช่นว่างานทำบุญงานวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา งานทำบุญสงกรานต์ งานทำบุญงานวันอาสาฬบูชา วันเข้าพรรษา งานทำบุญวันออกพรรษา ตลอดจนกระทั่งงานทอดกฐินสามัคคี เป็นต้น แล้วก็พัฒนามาเป็นการสร้างตลาดชุมชนเพื่อเป็นที่จำหน่ายสินค้า

ในปัจจุบันนี้ ส่วนที่สร้างขึ้นมาและเป็นที่อิจฉาของที่อื่นเป็นอย่างยิ่ง ก็คือตลาดริมแควเมืองท่าขนุน ที่เราทำใหญ่โตโอ่อ่าและสวยงามมาก ต่อเนื่องกันไปจากสะพานแขวนหลวงปู่สาย และร้านค้าชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุนของเดิม

ถ้าหากว่าเราทำในลักษณะนี้ สินค้าต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้ชาวบ้านเขาผลิต ก็จะมีที่วางจำหน่าย ซึ่งเฉพาะร้านค้าชุมชนแห่งเดียว พื้นที่ประมาณสองห้องของตึกแถว ในช่วงสัปดาห์วันมาฆบูชาซึ่งเป็นวันหยุดยาว ๓ วันนี้ แต่ละวันจำหน่ายสินค้าได้วันละหลายหมื่นบาท

คราวนี้ในการแข่งขันทอผ้านั้น ก็เป็นประกาศฝีมือว่าใครสามารถทอผ้าได้สวยงาม หนาแน่น ถูกต้องตามแบบ และขณะเดียวกันมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนด้วย เมื่อได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลไปแล้ว ถึงเวลาการสร้างสินค้าที่ผลิตโดยบุคคลเหล่านี้ออกมา ก็จะสามารถบอกได้ว่า คนนี้เคยชนะเลิศการทอผ้ามาแล้ว เป็นต้น

ดังนั้น..ในเรื่องของการบริหารงานด้านวัฒนธรรม จึงควรที่จะมองภาพรวมว่า ทำอย่างไรเราจะสนับสนุนให้ครบวงจร ? ก็คือกระตุ้นให้เขาผลิตสินค้า เมื่อผลิตมาแล้วมีที่จำหน่าย แล้วยังมีการแข่งขันกันว่าฝีมือของใครจะดีกว่า กลายเป็นเกียรติประวัติประจำตัว ประจำครอบครัวของตัวเองไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 07-03-2023, 00:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,511
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,957 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จะว่าไปแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ทำได้ เพียงแต่ว่าติดขัดไปด้วยเรื่องของงบประมาณ เพราะว่าบุคคลที่เข้าแข่งขันการทอผ้าด้วยกี่เอวในครั้งนี้ กระผม/อาตมภาพมอบค่ารถให้กับทุกคน ส่วนผู้ชนะเลิศจะได้เกียรติบัตรพร้อมกับเงินสด ๕,๐๐๐ บาท อันดับที่สอง ได้เกียรติบัตรพร้อมกับเงินสด ๔,๐๐๐ บาท อันดับที่สาม ได้เกียรติบัตร พร้อมกับเงินสด ๓,๐๐๐ บาท และทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขัน จะได้รับค่าเดินทางคนละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นต้น

เรื่องพวกนี้ ถ้าหากว่าเราใช้เงินในลักษณะสนับสนุนงานส่วนรวม ก็จะทำให้เกิดความคึกคัก และงานทางด้านวัฒนธรรมก็จะพลอยเจริญรุ่งเรืองไปด้วย

ดังนั้น..ในส่วนทั้งหลายเหล่านี้ ที่ทางวัดท่าขนุนมีมากกว่าสถานที่อื่นในการทำบุญวันมาฆบูชานั้น ก็ต้องบอกว่าเป็นไปเพราะสภาพพื้นที่บังคับอย่างหนึ่ง งานต่าง ๆ ที่เราดึงเข้ามารวมกันจนเป็นงานของส่วนรวมงานเดียวกันอีกอย่างหนึ่ง

ส่วนที่ยังปกติเหมือนกับผู้อื่นเขาก็คือ หลังจากที่กระผม/อาตมภาพมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศการทอผ้าพื้นเมืองด้วยกี่เอวแล้ว ก็จะกลับมานำญาติโยมทั้งหลายเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชา หลังจากนั้นท่านทั้งหลายจะชมการแปรภาพแปรอักษรด้วยประทีป ๑๐,๐๐๐ ดวง ซึ่งปกติระยะหลังนี้ก็ไปถึงระดับ ๒๐,๐๐๐ ดวงแล้ว หรือว่าท่านทั้งหลายจะเดินทางกลับบ้านก็ขอให้เป็นไปตามอัธยาศัย

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:03



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว