กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 27-08-2022, 05:50
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default เทศน์วันวันเข้าพรรษา วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕

เทศน์วันวันเข้าพรรษา วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕


เชิญรับชมได้ที่ https://youtu.be/WnO-3pzgfLo

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อิมัสมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมีติ

ณ โอกาสบัดนี้ อาตมภาพทำหน้าที่วิสัชนาในวัสสกถา เพื่อเป็นเครื่องเพิ่มพูนปัญญาเสริมบารมี ตลอดจนสร้างกุศลบุญราศี ให้บังเกิดมีต่อญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ซึ่งพร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้

ญาติโยมทั้งหลาย ถ้าหากกล่าวถึงย้อนหลังไป ๒,๖๑๐ ปีที่ผ่านมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเมื่อวานนี้ อย่าลืมนะจ๊ะ..เราย้อนหลังไป ๒,๖๑๐ ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้น..พระองค์ท่านแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเมื่อวานนี้ แล้วพอวันนี้ก็เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาอยู่กับปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ซึ่งในสมัยนั้นพาราณสีเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี เป็นแคว้นที่มีความร่ำรวยที่สุด เพราะว่าสามารถผลิตผ้าได้เป็นที่ต้องการทั่วไปประเทศและอีกหลายประเทศในยุคนั้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 27-08-2022 เมื่อ 23:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 27-08-2022, 05:54
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

คราวนี้ประเทศในยุคนั้นไม่ได้เรียกว่า "ประเทศ" แบบสมัยนี้ แต่เรียกว่า "มหาชนบท" คำว่า "มหา" ก็คือ "ยิ่งใหญ่" แต่เพียงแต่ว่าใหญ่ขนาดไหนก็ตาม เขตพื้นที่ก็ไม่ได้มากมายมหาศาล บางชนบทหรือบางประเทศก็เท่ากับสองสามจังหวัด บางประเทศก็เท่ากับเจ็ดแปดจังหวัดของสมัยนี้เท่านั้น

องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจำพรรษา ฝึกฝน อบรม สั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้งห้า โดยการแสดงซึ่ง "อนัตตลักขณสูตร" เพิ่มเติมขึ้นมาจากธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จนกระทั่งพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ อีก ๔ ท่านในปัญจวัคคีย์นั้นได้บรรลุมรรคผลตามพระอัญญาโกณฑัญญะไป

ก็แปลว่าในโลกยุคนั้น นอกจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังมีพระอรหันต์ปรากฏเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ๕ องค์ แล้วหลังจากนั้นเมื่อออกพรรษาทั้ง ๖ รูปก็ได้แยกย้ายกันไปเพื่อประกาศพระพุทธศาสนา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พี่เสือ (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #3  
เก่า 27-08-2022, 06:00
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้พระภัททวัคคีย์ ๓๐ คน บวชเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้นก็ได้พระยสะพร้อมกับสหายอีก ๕๕ คน เมื่อช่วงนั้นมีพระอรหันต์จำนวนมากแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ส่งออกประกาศพระพุทธศาสนาทั่วไป

แล้วถ้าหากว่าผู้ใดเลื่อมใสศรัทธาอยากจะบวชในบวรพระพุทธศาสนา พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น มีปัญจวัคคีย์เป็นต้น ก็นำเอาบุคคลผู้เลื่อมใสมาบวชต่อหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยวิธีเอหิภิกขุ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ อย่างด้วยกัน

ก็คือถ้าเป็นผู้ที่บรรลุมรรคผลแล้วขอบวช พระองค์ท่านจะตรัสว่า "เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงเธอประพฤติพรหมจรรย์เถิด"


แต่ถ้าหากว่าเป็นปุถุชนธรรมดา พระองค์ท่านจะตรัสว่า "เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ขอเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบด้วยเถิด"

ต่างกันแค่ตอนช่วงท้ายนิดเดียว ตอนช่วงหน้าก็ขึ้นด้วย "เอหิภิกขุ" เหมือนกัน ก็คือ "เอหิ" จงมา แต่อย่าใช้เป็นคาถา เพราะว่าสมัยหลัง ๆ มีคนเอาเป็นคาถาเรียกผี "โอม จงมา จงมา.." ระวังไว้..! เรียกผิดพลาดขึ้นมาเมื่อไรก็ได้วิ่งกันตับแลบ..!

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 27-08-2022, 06:05
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เมื่อองค์สมเด็จพระประทีปแก้วเผยแผ่พระพุทธศาสนากว้างไกลออกไปมาก มีผู้เลื่อมใสต้องการบวชมาก พระองค์ท่านไม่สามารถให้การอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาได้ทั่วถึง จึงอนุญาตให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ทำการบวชกุลบุตร โดยมีพระอุปัชฌาย์อาจารย์ให้คำแนะนำว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่ก็ให้รับสรณคมน์ อย่างที่พวกเรากล่าวกันว่า..

"นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" แปลว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คำว่า "พระองค์นั้น" ก็คือ "พระพุทธเจ้า" เพราะว่าเป็นการบวชของหมู่สงฆ์ ไม่ได้อยู่ต่อเบื้องพระพักตร์พระองค์ท่าน

"พุทธัง สรณัง คัจฉามิ" ข้าพเจ้าขอยึดพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
"ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ" ข้าพเจ้าขอยึดพระธรรมเป็นที่พึ่ง
"สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ข้าพเจ้าขอยึดพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง


เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วประทานวิธีนี้เพื่อให้การบวชนั้นสะดวกขึ้น ไม่ต้องมาอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์พระองค์ท่านแต่เพียงผู้เดียว จึงเรียกวิธีนี้ว่า "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือ การอุปสมบทโดยการเข้าถึงสรณะทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 27-08-2022, 06:08
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

ในเมื่อพระสงฆ์มีมากขึ้น ออกจาริกเผยแผ่พระพุทธศาสนามาก ก็ยังไม่มีกำหนดให้จำพรรษา พรรษาแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นการจำพรรษาโดยไม่ตั้งใจ เพราะว่าอยู่ฝึกฝนขัดเกลาปัญจวัคคีย์ทั้งห้าอยู่เฉพาะที่เดียว เท่ากับเป็นการจำพรรษาไปในตัว แต่ว่าในช่วงนั้นคำว่าจำพรรษายังไม่มีอยู่ในพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ก็ยังจาริกไปตามเขตคามต่าง ๆ เพื่ออบรมสั่งสอนกุลบุตรและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา

แต่ว่าค่านิยมของนักบวชในสมัยนั้น หลายศาสนาที่มีมาก่อน โดยเฉพาะศาสนาเชน ซึ่งถ้าไม่เข้าใจว่า "เชน" หรือ "ไชนะ" เป็นศาสนาอะไร ก็พูดง่าย ๆ ว่าเป็นศาสนาของนักบวชแก้ผ้า เพราะว่าเป็นบุคคลที่เห็นว่าแม้แต่เสื้อผ้าอาภรณ์ก็เป็นกิเลส บุคคลที่ละกิเลสควรที่จะละทิ้งทุกอย่าง แม้แต่วัตถุภายนอกอย่างเสื้อผ้าก็ไม่เอา เขามีการปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนสามเดือนจะอยู่ประจำที่ รับฟังคำสอนจากศาสดา หรือว่าจากนักบวชอาวุโสที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาสดาของเขา

ในเมื่อศาสนาทั้งหลายเหล่านี้มีมาก่อนพระพุทธศาสนานานมาก ทำให้ชาวบ้านทั้งหลายกำหนดจดจำว่า ในช่วงพรรษาคือฤดูฝน นักบวชจะต้องอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ไม่เดินทางไปไหน ในเมื่อนักบวชในพระพุทธศาสนาของเรายังเดินทางอยู่ จึงได้รับคำตำหนิติเตียน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:03
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 27-08-2022, 06:17
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เพราะว่าในสมัยนั้น ศาสนาเชนนั้นเคร่งครัดถึงขนาดนักบวชจะเดินทาง ต้องมีลูกศิษย์คอยเอาไม้กวาดกวาดถนนไปข้างหน้า ป้องกันไม่ให้เหยียบสัตว์ตาย ฤดูฝนเป็นฤดูที่สัตว์ต่าง ๆ มีมากโดยเฉพาะสัตว์เล็ก ๆ อย่าง มด แมลง หรือแมลงเม่าต่าง ๆ นักบวชในพระพุทธศาสนาของเรา เดินทางไปโดยไม่เจตนา ก็ต้องมีเหยียบสัตว์เหล่านี้ตายบ้าง จึงได้รับคำตำหนิติเตียนทั่วไป

แล้วโดยเฉพาะเมื่อไปถึงครอบครัวหรือว่าบ้านที่ให้การเคารพนับถือ เขาก็ต้องหยุดการหยุดงานมาถวายการต้อนรับ หาข้าวปลาอาหารมาให้ หาน้ำใช้น้ำฉันมาให้ แล้วก็ต้องอยู่สนทนาตามมารยาทของเจ้าของบ้านที่ดี ก็ทำให้กิจการงานต่าง ๆ ของเขา โดยเฉพาะการทำนาต้องสะดุดหยุดยั้งลง

เมื่อมีบุคคลไปปรารภเรื่องนี้กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพระองค์ก็ได้เห็นพระภิกษุ ๓๐ รูปชาวเมืองปาวา ที่เดินทางผ่านฤดูฝนมา กว่าจะถึงเชตวันมหาวิหารก็เปียกโชกไปทั้งกาย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสังเวชสงสารในบรรดาพระภิกษุสงฆ์ของพระองค์ท่านประการหนึ่ง ตั้งใจอนุโลมตามความเชื่อของชาวบ้านอีกประการหนึ่ง จึงมีพระพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่งตลอด ๓ เดือนในช่วงฤดูฝน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พี่เสือ (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #7  
เก่า 27-08-2022, 06:21
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

ซึ่งการอยู่ประจำในที่นั้นต้องมีการอธิษฐานพรรษา ซึ่งเมื่อครู่อาตมภาพได้ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทในเบื้องต้นว่า "อิมัสมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ" ที่แปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอถืออาวาสคือที่อยู่แห่งนี้ เป็นที่อยู่ประจำตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

คราวนี้คำว่า "อาวาส" หรือ "ที่อยู่" นั้นไม่ได้หมายถึง กุฏิ เรือนโรง ศาลาการเปรียญ แต่ว่าเป็นที่หนึ่งที่ใดที่เหมาะสมก็ได้ อย่างเช่นว่า อยู่ในถ้ำ อยู่โคนไม้ อยู่ในบ้านร้าง อยู่ในกองเกวียน บางท่านก็จำพรรษาอยู่ในตุ่มน้ำใบใหญ่ ๆ ก็ต้องบอกว่าคงจะลำบากน่าดู

แต่ว่าผู้ที่จำพรรษาอยู่ในกองเกวียนนั้นได้เปรียบ เพราะว่าการกำหนดเขตอยู่ปราศจากไตรจีวรของพระในช่วงพรรษานั้น เขานับหัวกองเกวียนถึงท้ายกองเกวียน ซึ่งถ้าหากว่าเป็นขบวนเกวียนสัก ๕๐๐ เล่ม เขตจำพรรษานี่ก็น่าจะยาวหลายกิโลเมตรทีเดียว..!

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พี่เสือ (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #8  
เก่า 27-08-2022, 06:26
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

องค์สมเด็จพระบรมครูเมื่อกำหนดให้แล้ว รายละเอียดใดรายละเอียดหนึ่งที่ผู้สงสัยไปสอบถาม อย่างเช่นว่า ถ้าอยู่โคนไม้เขตกำหนดของตนเองว่าอยู่จำพรรษาคือบริเวณเท่าใด ? องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ให้ถือเอาบริเวณเงาไม้ที่ตกลงมาตอนเที่ยงเป็นเขต

ถ้าหากว่าเป็นต้นจามจุรีใหญ่ที่บริเวณการสัตว์ทหารบก จังหวัดกาญจนบุรีก็น่าจะได้ประมาณหลายไร่อยู่ แต่ถ้าหากเป็นต้นไม้ในวัดท่าขนุนก็ไม่กี่ตารางเมตร เรื่องพวกนี้จะเป็นรายละเอียดที่เพิ่มเติมขึ้นมาทีหลัง

แต่ว่าคุณความดีของการจำพรรษานั้นมีอยู่มาก ก็คือ..สมัยก่อนพระสงฆ์ท่านจาริกไปทั่ว ไม่ได้อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ญาติโยมพุทธบริษัทที่นับถือพระพุทธศาสนา อยากจะทำบุญสุนทานก็ไม่มีพระ ในเมื่อพระท่านอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง บุคคลรู้เข้าถึงเวลาก็นิมนต์ หรือไม่ก็นำเอาข้าวปลาอาหารไปถวายถึงที่ซึ่งท่านจำพรรษา ก็สามารถบำเพ็ญกุศลได้โดยสะดวก

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:07
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 27-08-2022, 06:30
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

แล้วการอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งตลอด ๓ เดือน ถ้าได้อยู่กับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็ได้ฝึกฝนอบรม กาย วาจา ใจ ของตนเองอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการศึกษาเล่าเรียนในปริยัติและปฏิบัติ เพราะว่าสมัยก่อนไม่ได้มีหนังสืออย่างสมัยนี้ เป็นการท่องจำแล้วบอกต่อ ที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" ว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ท่านอื่นก็จะรับช่วงต่อไป โดยที่คำพูดเหล่านั้นไม่ได้ผิดเพี้ยน เพราะว่าคนสมัยก่อนความจำดีมาก

ดูแค่พระอานนท์ เราจะเห็นว่าท่านทรงจำพระไตรปิฎกอย่างที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ พระสูตร ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่คราวนี้ว่าทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น พระอานนท์ต้องเป็นผู้รับรอง เพราะว่าได้ขอพรไว้กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระองค์แสดงธรรมที่ใดก็ตาม ถ้าพระอานนท์ไม่ได้อยู่ด้วย เมื่อกลับมาแล้วขอให้แสดงซ้ำให้พระอานนท์ได้ทราบอีกครั้งหนึ่ง เผื่อว่ามีผู้สอบถาม พระอานนท์ที่เปรียบเสมือนเลขานุการส่วนตัว จะได้บอกได้ว่าหัวข้อธรรมนั้น ๆ พระพุทธเจ้าแสดงที่ไหน แสดงให้ใครฟัง

ดังนั้น..ความทรงจำของพระอานนท์จึงมีอย่างน้อย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าเปรียบสมัยนี้คือพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม พวกเราจะได้สัก ๕ บรรทัดไหม ?

ในเมื่อได้รับการสั่งสอนจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์โดยที่อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง พระภิกษุสามเณรก็ได้รับการขัดเกลา โดยเฉพาะแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่ครูบาอาจารย์ท่านจะสั่งสอนให้มา ถึงเวลาก็จะได้ออกไปเผยแผ่ให้ถูกต้องต่อไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022), สุภชัย (27-08-2022)
  #10  
เก่า 27-08-2022, 06:36
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

อีกประการหนึ่งก็คือ การอยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่ง ก็ไม่เป็นการไปรบกวนชาวบ้านเขา ซึ่งจำเป็นจะต้องทำมาหากิน โดยเฉพาะเสียเวลาในการทำไร่ทำนา ในฤดูฝนเขายิ่งเร่งรีบอยู่ที่จะทำให้ทัน เพราะว่าบางท่านเป็นมหาเศรษฐี มีไร่นาเป็นหมื่นเป็นแสนไร่ ถ้าหากว่ามัวแต่มาต้อนรับเราอยู่ ก็เสียเวลาจนอาจจะพ้นฤดูฝนไปแล้ว ข้าวกล้าไม่ทันจะตั้งตัว ถ้าฝนแล้งเสียก่อนก็อาจจะเสียหายมาก

ถ้าสงสัยว่าเศรษฐียังต้องทำนาอยู่หรือ ? ขอบอกว่าสมัยนั้นแม้พระมหากษัตริย์ก็ยังต้องทำนา โดยเฉพาะต้นตระกูลของพระพุทธเจ้า เพราะว่าสมัยก่อนนั้นข้าวถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีราคามาก ดังนั้น..การเปรียบเทียบถึงทรัพย์สินในพระพุทธศาสนา จึงใช้ข้าวเปลือกเป็นเครื่องเปรียบเทียบ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #11  
เก่า 27-08-2022, 06:40
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

อย่างมาตราโบราณที่ว่า ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ กุญชา, ๒ กุญชา เป็น ๑ มาสก เท่ากับว่า ๕ มาสกที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงว่า ถ้าภิกษุขโมยสิ่งของของคนอื่นเขาได้ ๕ มาสกขาดความเป็นพระไปเลย

ถ้าเปรียบตามมาตรานี้ก็คือ ๔ เมล็ดข้าวเปลือกเป็น ๑ กุญชา ๒ กุญชาเป็น ๑ มาสก เท่ากับ ๘ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ มาสก ๕ มาสก ๘ X ๕ = ๔๐ เมล็ดข้าวเปลือกเท่านั้น บ้านเราตีราคาว่าบาทเดียว

แต่ทางพม่าให้ราคามากกว่านั้น ก็คือเอาเมล็ดข้าวเปลือก ๔๐ เมล็ดมาชั่งน้ำหนัก แล้วคำนวณได้ว่ามีน้ำหนักเทียบเท่าทองคำ ๑ สลึง ดังนั้น..ศีลของพม่าจึงเหนียวกว่าศีลของพระไทย ศีลของพระไทยขโมยไป ๑ บาท เสร็จเรียบร้อย..ขาดความเป็นพระไปแล้ว ศีลของพระพม่าต้องขโมยให้ได้เท่ากับราคาทองคำ ๑ สลึง ถ้าหากว่าเป็นสมัยนี้ก็ประมาณ ๗,๕๐๐ บาท..! ศีลของพม่าก็เลยเหนียวกว่าไทยประมาณ ๗,๔๙๙ บาท..!

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 8 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #12  
เก่า 27-08-2022, 06:43
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เรื่องทั้งหลายเหล่านี้พระภิกษุเมื่อจำพรรษาอยู่ในที่ใดที่หนึ่งแล้ว ก็จะได้ศึกษารายละเอียดจากครูบาอาจารย์ ญาติโยมทั้งหลายก็ได้บำเพ็ญในกองบุญการกุศลต่าง ๆ โดยสะดวก โดยเฉพาะในส่วนของการจัดสรรผ้าอาบน้ำฝนมาถวายพระ

สมัยก่อนนั้นการอาบน้ำ เขาเล่นแก้ผ้าโทง ๆ อาบกันเลย แม้กระทั่งปัจจุบันนี้บรรดานักบวชที่ถือศาสนาเชน ก็ยังคงอยู่ในลักษณะแบบนี้ แต่ว่านางวิสาขามหาอุบาสิกาเห็นว่าเป็นการอุจาดตาเกินไป จึงขอประทานพระบรมพุทธานุญาตว่า ในช่วงตลอดฤดูฝน ๓ เดือน ขอให้พระสงฆ์ของเรามีผ้าสำหรับใช้อาบน้ำฝนเพิ่มขึ้นมา ๑ ผืน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #13  
เก่า 27-08-2022, 06:44
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

แล้วการที่พระสงฆ์อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ถ้ามีการศึกษาเล่าเรียน โดยเฉพาะอากาศของประเทศอินเดียหรือว่าชมพูทวีปนั้นร้อนมาก ศึกษาในเวลากลางวันก็ร้อนจนทนไม่ไหว ส่วนใหญ่ก็ศึกษาเวลากลางคืนหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแสงไฟ ส่วนใหญ่ก็ใช้เทียนเป็นหลัก

ดังนั้น..จึงมีญาติโยมที่ตั้งใจผลิตเทียนเพื่อให้พระใช้ได้ตลอดพรรษา จากที่เคยปั้นเทียนขี้ผึ้งต้นเล็ก ๆ เอาไว้สำหรับใช้ในแต่ละครั้ง ก็กลายเป็นปั้นต้นใหญ่เป็นเสาเรือนเพื่อถวายพระให้ใช้ได้ตลอด ๓ เดือน..! จึงมีธรรมเนียมในการนิยมถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน

ส่วนญาติโยมทั้งหลายที่ได้ทำบุญก็คือ ถวายข้าวปลาอาหาร ถวายปัจจัย ๔ อันสมควรแก่สมณบริโภคต่าง ๆ เหมือนอย่างที่ทุกท่านได้กระทำอยู่ในปัจจุบันนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #14  
เก่า 27-08-2022, 06:50
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เพราะฉะนั้น..ก็ขอพาญาติโยมย้อนกลับมา ๒,๖๑๐ ปี วันนี้วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ญาติโยมทั้งหลายมาทำบุญในวันเข้าพรรษาที่วัดท่าขนุนแห่งนี้ เป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามในพระพุทธศาสนา และสร้างบุญกุศลให้เกิดขึ้นแก่ตน เพื่อเป็นเครื่องนำทางในชีวิตของเราต่อไปภายหน้า

ในโลกหน้านั้นทรัพย์สินต่าง ๆ ตามเราไปไม่ได้ นอกจากบุญกุศลเท่านั้น ใครสร้างบุญเอาไว้บ่อย สร้างบุญเอาไว้มาก ก็จะมีโอกาสได้รับความสุขความสบายในโลกหน้ามากกว่าคนอื่นเขา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสอนให้พวกเรา ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

เมื่อเรามาทำบุญใส่บาตร ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายเครื่องสังฆทาน ในส่วนนี้จัดเป็น "ทานบารมี"
ถึงเวลาสมาทานศีล ๕ ตามที่มัคนายกได้นำให้ ก็เป็น "ศีลบารมี"
ถึงเวลาตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ จิตเป็นสมาธิ ก็จัดเป็นบุญในการ "ภาวนา"

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 27-08-2022 เมื่อ 23:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #15  
เก่า 27-08-2022, 06:53
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

แปลว่าญาติโยมทั้งหลายที่มาทำบุญเข้าพรรษาในวัดท่าขนุนวันนี้ กระทำครบถ้วนทั้งทาน ทั้งศีล ทั้งภาวนา ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เมตตาสั่งสอนเอาไว้ตั้ง ๒,๖๐๐ กว่าปีมาแล้ว แปลว่าพวกเราทั้งหลายเป็นสาวกที่ดีขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว แล้วขณะเดียวกันก็จะได้ส่งต่อประเพณีดี ๆ เหล่านี้ ต่อไปยังลูกยังหลานของเราสืบต่อไปในกาลข้างหน้า

สิ่งใดที่เราคิด สิ่งใดที่เราพูด สิ่งใดที่เราทำ..
ถ้าเป็นบุญเป็นกุศลโดยใจ เขาเรียกว่า "มโนทวารกุศล"
ถ้าเป็นบุญเป็นกุศลด้วยการกระทำทางกาย เขาเรียกว่า "กายกรรมกุศล"
ถ้าเป็นบุญเป็นกุศลทางการสำรวมวาจา หรือบอกกล่าวสิ่งที่ดีงามแก่ผู้อื่น เขาเรียกว่า "วจีกรรมกุศล"

ผลบุญทั้งหลายนี้ย่อมเป็นปฏิพรย้อนกลับไป ให้ญาติโยมทั้งหลายประสบแต่ความสุขความเจริญ ไม่ว่าประสงค์จำนงหมายสิ่งหนึ่งประการใด ที่ไม่เกินบุญกุศลที่สร้างไว้ ท่านทั้งหลายย่อมได้รับความสำเร็จสมดังความปรารถนาทุกประการ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พัสพร (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #16  
เก่า 27-08-2022, 06:54
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,879 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เทสนาวสาเน..ท้ายสุดแห่งพระธรรมเทศนา อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะเป็นประธาน ได้โปรดดลบันดาลให้ญาติโยมทั้งหลายประสพแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และขอให้ประกอบพร้อมไปด้วยธนสารสมบัติอันเป็นที่พึงใจทั้งปวง

รับหน้าที่วิสัชนามาในวัสสกถาก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์วันเข้าพรรษา ณ วัดท่าขนุน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย มกร)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 27-08-2022 เมื่อ 23:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พัสพร (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:33



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว