กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 21-09-2014, 14:23
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,629
ได้ให้อนุโมทนา: 151,867
ได้รับอนุโมทนา 4,413,979 ครั้ง ใน 34,219 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๗

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ วันนี้มีญาติโยมท่านหนึ่งซึ่งรู้จักกันมาเกิน ๒๐ ปีแล้ว ได้ปรารภว่า “ระยะนี้สภาพจิตไม่ผ่องใสเหมือนก่อน” เรื่องนี้จะว่าไปแล้ว โยมท่านนั้นรู้ทันว่าสภาพจิตของตนเองไม่ดี แต่ไม่รู้ว่าทำไมถึงไม่ดี ถ้าในเรื่องการปฏิบัติธรรมนั้น เราไม่สามารถที่จะรู้สาเหตุได้ ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นให้ขาดตกไปได้อย่างแท้จริง ได้แต่แก้ไปตามเหตุการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น

สำหรับนักปฏิบัติอย่างเรานั้น อันดับแรก ให้วัดกำลังใจกับนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ นิวรณ์ ๕ นั้นได้แก่ กามฉันทะ มีความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ พยาบาท มีความ โกรธ เกลียด อาฆาตแค้น ผู้อื่น ถีนมิทธะ มีความง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจปฏิบัติ อุทธัจจะ มีความฟุ้งซ่าน อารมณ์ใจไม่รวมตัวตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว วิจิกิจฉา มีความลังเลสงสัยว่าผลการปฏิบัตินี้จะทำได้ผลจริงหรือไม่ ?

ถ้าหากว่าขณะจิตใดมีนิวรณ์ ๕ นี้ ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในจิตของเรา ก็แปลว่าสภาพจิตของเรามัวหมอง เนื่องจากปล่อยให้กิเลสหยาบเข้ามายึดครองจิตใจของเราเสียแล้ว ก็ต้องเร่งหาทางขับไล่ออกไป ด้วยการดึงกำลังใจทั้งหมดของเรามาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก มาอยู่ที่การภาวนา ถ้ากำลังใจของเราทรงตัวอยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับการภาวนา นิวรณ์ ๕ จะกินใจของเราไม่ได้ จิตใจของเราก็จะผ่องใสขึ้นไปตามลำดับ

เครื่องวัดตัวต่อไปก็คือ ศีลหรือกรรมบถ ไม่ว่าท่านจะถือศีล ๕ ศีล ๘ หรือกรรมบถ ๑๐ ก็ตาม ให้ทบทวนอยู่เสมอ ๆ ว่าขณะนี้ศีลของเราบกพร่องหรือไม่ ? กาย วาจา ใจ ของเรามีแนวโน้มว่าจะล่วงละเมิดศีลหรือไม่ ? ถ้าเราสามารถควบคุมได้สมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่ล่วงละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล ก็แปลว่ากำลังใจของเราได้รับการตีกรอบอยู่ในด้านดี ถ้าสามารถรักษาได้ต่อเนื่องยาวนาน สภาพความผ่องใสของจิตก็จะมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-09-2014 เมื่อ 16:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 23-09-2014, 09:02
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,629
ได้ให้อนุโมทนา: 151,867
ได้รับอนุโมทนา 4,413,979 ครั้ง ใน 34,219 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับต่อไปก็คือให้วัดจากสังโยชน์ ซึ่งเป็นเครื่องร้อยรัดเราให้ติดข้องอยู่ในวัฏสงสาร อันดับแรกก็เอาแค่สังโยชน์ ๓ ได้แก่ สักกายทิฐิ ความเห็นว่ากายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เราต้องค่อย ๆ พิจารณาตามลำดับไป ลำดับแรกเลยต้องมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า ร่างกายของเราอาจจะตายลงไปได้ตลอดเวลา ในเมื่อร่างกายนี้อาจจะตายลงไปได้อยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่เร่งทำความดีให้มากไว้ ขึ้นชื่อว่าการเกิดมาชาตินี้ของเราก็อาจจะขาดทุน

ถ้าหากว่ากำลังใจสูงขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง ก็ให้มองเห็นว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี มีแต่ความสกปรกโสโครก ต้องคอยทำความสะอาดอยู่เสมอ ถ้าหากว่าเราเห็นชัดเจนอย่างนี้ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย รังเกียจในร่างกายของตนเอง ในร่างกายของคนอื่น ในร่างกายของสัตว์อื่น ปราศจากความยินดีที่จะมีร่างกายนี้

ถ้ากำลังใจสูงขึ้นไปอีกก็จะเห็นว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงธาตุ ๔ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ก่อตัวขึ้นมาเป็นรูปให้อาศัยอยู่ชั่วคราว ตัวเราก็เป็นเช่นนี้ คนอื่นก็เป็นเช่นนี้ สัตว์อื่นก็เป็นเช่นนี้ ไม่มีอะไรเป็นสาระ เป็นแก่นสาร ถึงเวลาก็เสื่อมสลายตายพัง กลับคืนเป็นสมบัติของโลกไปตามเดิม ถ้าเราสามารถพิจารณาเห็นชัดเจนอย่างนี้ สักกายทิฐิ คือ ความเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา ก็ไม่สามารถร้อยรัดเราอยู่กับวัฏสงสารนี้ได้

ข้อถัดไปคือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ สำหรับพวกเราทั้งหลาย ถ้าก้าวเข้ามาถึงจุดนี้แล้ว ขึ้นชื่อว่าความลังเลสงสัยนั้นมีน้อย เนื่องจากว่าถ้าเราลังเลสงสัยอยู่ เราก็ยังไม่ปฏิบัติอย่างจริง ๆ จัง ๆ ดังนั้น..ก็ให้ทำความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้แน่นแฟ้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่ล่วงเกินพระรัตนตรัยด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้าหากว่าได้ล่วงเกินไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ให้ตั้งใจกราบขอขมาพระรัตนตรัยไว้เสมอ ๆ ถ้าทำอย่างนี้บ่อย ๆ สังโยชน์ตัวนี้ก็ไม่สามารถที่จะร้อยรัดเราให้ติดอยู่กับวัฏสงสารได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-09-2014 เมื่อ 09:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 24-09-2014, 06:01
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,629
ได้ให้อนุโมทนา: 151,867
ได้รับอนุโมทนา 4,413,979 ครั้ง ใน 34,219 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สังโยชน์ข้อสุดท้ายที่เราต้องพิจารณาในสังโยชน์ทั้ง ๓ นี้ก็คือ สีลัพพตปรามาส คือ การรักษาศีลแบบไม่จริงจัง รักษาแบบลูบ ๆ คลำ ๆ รักษาเหมือนกลัวว่ากิเลสจะเศร้าหมอง การรักษาศีลนั้นต้องเด็ดขาดจริงจังชนิดที่ตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล

การรักษาศีลของเราก็มุ่งประโยชน์เนื่องจากว่า เราเคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราจึงรักษาศีล เนื่องจากว่าเราปรารถนาที่จะก้าวล่วงพ้นจากกองทุกข์ไปสู่พระนิพพาน เราจึงรักษาศีล ถ้าสามารถรักษากำลังใจเช่นนี้เอาไว้ได้ สังโยชน์ข้อนี้ก็ไม่สามารถที่จะร้อยรัดเราให้ติดอยู่กับวัฏสงสารได้เช่นกัน

ดังนั้น..ท่านใดก็ตามถ้าเกิดความรู้สึกว่า สภาพจิตของเราเศร้าหมองไม่ผ่องใส ก็ให้เร่งพิจารณาดูว่า อันดับแรก เรามีนิวรณ์ ๕ อยู่ในใจหรือไม่ ? ถ้ามีอยู่ก็ให้เร่งขับไล่ออกไป แล้วก็ให้ระมัดระวังไว้อย่าให้กลับเข้ามา เรามีความดีในศีล ในสมาธิ ในปัญญาอยู่หรือไม่ ? ถ้าไม่มีให้เร่งสร้างให้มีขึ้นมา ถ้ามีอยู่แล้วก็ทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ลำดับต่อไปก็คือพิจารณาศีลของเรา ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี กรรมบถ ๑๐ ก็ดี ว่ามีความสมบูรณ์บริบูรณ์อยู่หรือไม่ ? ลำดับต่อไปก็ให้พิจารณาเทียบกับสังโยชน์ อย่างน้อยก็คือสังโยชน์ ๓
ว่ายังร้อยรัดสภาพจิตของเราอยู่หรือไม่ ? ถ้าส่วนไหนมีอยู่ก็พยายามตัด พยายามละ พยายามวางลงเสียให้ได้ สภาพจิตของเราก็จะผ่องใสอยู่ตลอดเวลา ถ้าสามารถรักษากำลังใจของเราได้ต่อเนื่องยาวนาน กิเลสกินใจเราไม่ได้ สภาพจิตของเราก็ค่อย ๆ ใสสะอาดขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งผ่องใสถึงที่สุด ก็สามารถที่จะหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้

ลำดับต่อไปให้ทุกท่านภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันเสาร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๗

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยคะน้าอ่อน)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 17-10-2014 เมื่อ 17:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:07



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว