กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน

Notices

ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #421  
เก่า 03-03-2020, 21:20
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่น ท่านไม่ได้สนใจกับชื่อนะ ท่านสนใจกับหลักธรรมหลักวินัยศากยบุตรต่างหาก ฉะนั้นเวลาลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านที่เป็นพระฝ่ายมหานิกายมาขอญัตติ*๑ กับท่าน ท่านอาจารย์มั่นนี่เองพูดให้เราฟังนะ เราถึงได้พูดได้อย่างอาจหาญ ท่านว่า

‘ท่านเหล่านี้ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เราเห็นประโยชน์แก่ส่วนรวมจำนวนมาก และท่านเหล่านี้จะมาขอญัตติกับเรา’ ท่านว่า ‘ไม่ต้องญัตติ’ ท่านพูดตรง ๆ อย่างนี้เลย .. ท่านสั่งเลยนะ

‘มัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์*๒ ไม่มี เพศก็ตั้งขึ้นแล้ว ทางสังคมยอมรับกันทั้งธรรมยุตและมหานิกาย นี่เป็นความยอมรับทั่วหน้ากันแล้วในสังคม ส่วนธรรมวินัยก็เป็นที่เปิดทางให้แล้วสำหรับผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่มีคำว่านิกายนั้นนิกายนี้ ขอให้เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น เป็นศากยบุตรของพระพุทธเจ้าได้เสมอหน้ากันหมด’ นี่หลวงปู่มั่นท่านแสดง

‘ผมสงสารเพื่อนฝูงของท่านมีจำนวนมาก ถ้าท่านทั้งหลายญัตติเสียแล้ว หมู่เพื่อนก็จะเข้ากันไม่ติด ไม่ต้องญัตติแหละ’

คำว่าเพื่อนฝูงได้แก่ ธรรมยุติ มหานิกาย ที่เขาตั้งชื่อกันอย่างนั้น ... เพราะโลกเขาถือสมมุติ

‘ถ้าญัตติแล้วก็เป็นฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ นี่คณะของท่านมีเป็นจำนวนมาก ควรจะได้รับประโยชน์จากท่านทางด้านอรรถธรรมบ้าง จึงไม่ให้ญัตติ

ท่านบอกอย่างเด็ดขาดไปเลย ทางด้านปฏิบัติ สัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์ ไม่มีต่อผู้ปฏิบัติดี แต่ผู้ปฏิบัติไม่ดีนี้ไม่มีหวัง ว่างั้นเลยนะ อยู่กับข้อปฏิบัติ ... ท่านเล็งผลประโยชน์โน่นนะ ท่านไม่ได้เล็งนิกายนั้นนิกายนี้นะ

‘พอเวลาญัตติแล้วเขาก็จะถือว่าเป็นคณะนั้นคณะนี้ไปเสีย ผู้ที่ไม่เข้าใจในอรรถในธรรมมันก็เข้าไม่ถึง ผลประโยชน์ก็ขาดไป’ ว่างั้น

‘เมื่อพวกท่านได้กระจายออกไปทางด้านธรรมะนี้แล้ว เวลาไปที่ไหน พวกท่านทั้งหลายนี้มีพวกมากเสียด้วย ก็ยิ่งกระจายมาก ผลประโยชน์ก็มาก จึงไม่ต้องญัตติ..ดี’

ท่านว่า ‘ผลประโยชน์มากกว่าญัตติ’

ท่านพูดตรง ๆ เลยนะ ท่านเล่าให้ฟังนะ พูดถึงลูกศิษย์ลูกหาของท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่ได้ว่าธรรมยุติหรือมหานิกาย ใครปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านชมเชยทั้งนั้น นั่นละ..ผู้เป็นธรรมเป็นอย่างนั้น ...

เอาหลักธรรมหลักวินัยนั่นละ เป็นหลักของพระ อันนี้เป็นหลักที่แน่ใจ ตัวเองก็อบอุ่น ไปที่ไหนเย็นล่ะ เพราะพระมีธรรมมีวินัย มีเมตตาไปพร้อม เย็นไปหมด ไม่มีธรรมไม่มีวินัย ใจดำน้ำขุ่น ตีบตันอั้นตู้ ดูไม่ได้ พระใจดำน้ำขุ่น ตีบตันอั้นตู้ หาเมตตาไม่ได้ เป็นฟืนเป็นไฟในตัวเอง ก็ไปเผาบ้านเผาเมืองต่อไปอีกละ เนี่ย..ไม่ดี

ไปที่ไหนเย็น ดูจิตเจ้าของตลอด นี่ละ..ผู้ปฏิบัติธรรมต้องดูจิตเป็นสำคัญ ศีลก็ดี สมาธิ ปัญญาวิมุตติหลุดพ้นออกไปจากจิต สติปัญญารักษาจิต บำรุงจิตใจให้ดี ... อยู่ไหนเย็นสบายไปหมด นี่ละ..มรรคผลนิพพานอยู่ที่นี่ ไม่ได้อยู่ที่คนนั้นคนนี้ ชื่อนั้นชื่อนี้ นิกายนั้นนิกายนี้นะ อันนั้นตั้งไว้โก้ ๆ ไปอย่างงั้นแหละ ...”

ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่ว่านิกายใด ท่านจึงเข้ากันได้อย่างสนิทใจ ดังนี้

“...พระผู้มุ่งธรรมมุ่งวินัยด้วยกันแล้ว ไปที่ไหนสนิทกันหมด ไม่ได้เหมือนโลกนะ ไม่มีนิยมนิกายนั้นนิกายนี้ ขอให้ปฏิบัติดีเข้ากันได้ สนิททันทีเลย ... สำหรับหลวงตาบัวเอง ใครจะว่าบ้าก็ตาม ไม่มีชื่อ ตั้งไว้อย่างนั้นโก้ ๆ ไปอย่างนั้นละ ธรรมยุตมหานิกายใครก็ตาม ถ้าปฏิบัติไม่ดีแล้ว จะเป็นเทวดามาจากฟ้าก็ไม่เป็นประโยชน์ อะไรแหละ ...

แม้จะเป็นนิกายเดียวกัน ชื่อเดียวกันก็ตาม ถ้าปฏิบัติไม่ดีแล้วไม่เข้าหน้านะ ไม่อยากมองดูจนกระทั่งหน้าจะว่าอะไร ธรรมวินัยเป็นเครื่องบังคับหรือเป็นเครื่องยืนยันว่า จะเข้ากันได้สนิทหรือไม่สนิทเพราะอะไร ถ้าธรรมวินัย การปฏิบัติเข้ากันได้แล้ว เป็นศากยบุตรเหมือนกันหมด...”

.....................................................................

*๑ บวชญัตติจากมหานิกายเป็นธรรมยุต

*๒ สิ่งกีดขวางสวรรค์ นิพพาน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2020 เมื่อ 02:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #422  
เก่า 04-03-2020, 16:40
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระธรรมเทศนาขององค์หลวงตา

ว่าด้วยความรู้ปริยัติในภาคปฏิบัติ

อนัตตลักขณสูตรภาคปฏิบัติ

“... รูปัง อนัตตา เวทนา อนัตตา สัญญา อนัตตา สังขารา อนัตตา นั่นเห็นไหม อนัตตลักขณสูตรน่ะ อันนั้นก็อนัตตา อนัตตา ปล่อย ๆ อย่ายึด ปล่อย ๆ เรื่อย ๆ อันนี้ก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีแต่ขวากแต่หนาม มีแต่ฟืนแต่ไฟ ปล่อย ๆ อย่าเหยียบอย่าย่าง อย่าไปแตะ อย่าไปจับ อย่าไปยึด ถ้าไม่อยากให้ถูกเผาทั้งมือนั่น พูดง่าย ๆ ว่างั้น เหมือนกับว่าตีข้อมือไว้ เอา.. ก้าวนี้ ตีขาไว้.. ก้าวไปตรงนี้อย่าก้าวไปตรงนั้น ก้าวไปเรื่อย เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นทางเดินพิจารณานี้ ปล่อยไปเรื่อย เข้าใจเรื่อย ๆ นั่น วุสิตัง พรัหมจริยัง กตัง กรณียัง นาปรัง อิตถัตตายาติ ปชานาตีติ ท่านถึงรู้ว่าจะว่าไง แต่พูดตามความจริงนี้ ผมก็พูดได้แค่นั้นละ

สำหรับ อนัตตลักขณสูตร ถ้าหากเราจะพูดตามสูตรนี้จริง ๆ สำหรับจิตผมนี้ไม่สนิทนะ แต่อาทิตตปริยายสูตร ผมลงร้อยเปอร์เซ็นต์เลย เพราะภาคปฏิบัติเป็นอย่างนั้นจริง ๆ นี่ ผมว่าถ้าจะคิดว่าท่านเทศน์มามาก แล้วท่านย่นเอามานี้ผมก็ไม่สนิทใจ มันเลยไปลงเอาผู้ที่จดจารึกเสียมากนะ ผู้จดจารึกเป็นคนประเภทใด นั่น.. ถ้าเป็นพระอรหันต์จดจารึกแล้วจะเต็มภูมิ เหมือนอย่างอาทิตตปริยายสูตร อันนั้นผมหาที่แย้งไม่ได้เลย ภาคปฏิบัติลงได้อย่างสนิทร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่นี้ไม่เป็นอย่างนั้น อนัตตลักขณสูตรนี่ไม่ลงจิตนี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อนัตตา พออันนี้เป็น อนัตตา แล้วเบื่อหน่ายไปเลย นิพพินทัง วิรัชชติ วิราคา วิมุจจติ ไปเลย คือเมื่อเบื่อหน่ายในอาการทั้งห้านี้แล้วย่อมคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดแล้วย่อมหลุดพ้น

เบื่อหน่ายเพียงห้านี้หลุดพ้นได้ยังไง ถ้าภาคปฏิบัติมันไปกองอยู่ในจิตนั้นน่ะ เห็นได้ชัด ๆ ในภาคปฏิบัติ เราเป็นอย่างนี้นี่นะ คือเอาความจริงนี้ออกมายันกัน พอถึงอาทิตตปริยายสูตร แหม แจงละเอียดมากนะ จักขุสมิงปิ นิพพินทติ รูเปสุปิ นิพพินทติ คือเบื่อหน่ายทั้งทางรูป ทั้งทางตา ทั้งทางเสียง ทั้งทางหู ย้อนหน้าย้อนหลังเรื่อย ๆ ตลอดถึงสิ่งที่มาสัมผัสสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อะไรบ้าง .. เลยเบื่อหน่าย ๆ ไปหมด ทั้งสุขทั้งทุกข์เรื่อยไปจนกระทั่งถึง มนัสมิงปิ นิพพินทติ ธัมเมสุปิ นิพพินทติ แล้วก็ วิญญาเณปิ นิพพินทติ ว่าไปหมด เบื่อหน่ายในจิต เบื่อหน่ายในธรรม คือสิ่งที่มาสัมผัสกับจิต อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากจิตเบื่อหน่าย แล้วเมื่ออารมณ์เกิดขึ้นจะเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นเวทนาอะไร ๆ ขึ้นมา.. เบื่อหน่ายหมด ๆ แน่ะ ละเอียดมากนะ เข้าถึงจิตแล้วนี่ เบื่อหน่ายเข้าถึงจิตแล้วก็ถึงธรรมซิ ธรรมก็หมายถึงอวิชชาอยู่ในนั้น จะว่าไงเข้าถึงนั้นหมดเลย จนแตกกระจายไปแล้ว นิพพินทติ วิรัชชติ เรื่อยไป นี้ลงเต็มที่ผม แต่อนัตตลักขณสูตรนี้ไปถึงขันธ์ ๕ ไปนั้นหมด ...

อนัตตลักขณสูตรแจงไปถึงขันธ์ ๕ จบแล้วก็ไปเลย เบื่อหน่ายจิตนั่นยังไม่ถึง เอ๊.. ทำให้คิดไปถึงเรื่องผู้รจนานี้ ทำให้คิดไปหลายแง่เหมือนกันนะทุกวันนี้ ตั้งแต่ก่อนผมไม่ได้คิดอะไรมากนักนะ แต่เกี่ยวข้องกับผู้รจนาคัมภีร์เหล่านั้น ๆ เป็นคนประเภทใด ถ้าเป็นประเภทอรหันต์แล้วจะถึงใจ ๆ มาโดยลำดับเลย เพราะเอาความจริงออกมา อันนั้นกางมา ความจริงอันนี้อยู่ในหัวใจนี้ มันวิ่งถึงกันปั๊บ ๆ ประสานกันอย่างนี้ ทีนี้เอาแต่ความจำ ท่านว่าอะไรเอาแต่ความจำเข้าไปใส่มัน ไม่มีคุณค่า มันหลุดมันขาด มันตกไปได้นี่ ถ้าลงความจริงฝังอยู่ในหัวใจแล้ว ว่าไปตรงไหนมันสัมผัสสัมพันธ์กัน ประสานกันอย่างนี้ ๆ มันก็เต็มเม็ดเต็มหน่วย

เอ้า.. เรายกตัวอย่างเช่น เราจะไปเขียนประวัติของพระอรหันต์ เอาลองดูซิ เพียงความจำเรานี้ จะเขียนประวัติของพระอรหันต์ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเป็นไปไม่ได้ ผมว่างั้นเลย ถ้าเป็นพระอรหันต์เขียนประวัติของพระอรหันต์แล้วเต็มหมดเลย แน่ะ เพราะความจริงเป็นอันเดียวกัน ท่านผ่านไปแล้วก็ตาม ความจริงอันนี้รู้กัน อยู่นี้มันไม่ผ่าน วิ่งถึงกันได้ปุบ ๆ ๆ เลย แน่ะ..นั่นซิ..ตอนถึงขั้นธรรมละเอียดละซิ ตอนมันจะไปไม่ได้ เอาเพียงความจำเฉย ๆไปไม่ได้ ถ้าไม่มีความจริงเป็นเชื้อวิ่งถึงกัน ประสานกันกับประวัติของท่าน นั่นน่ะมันสำคัญ..”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2020 เมื่อ 19:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #423  
เก่า 08-03-2020, 16:12
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ทุกข์ สมุทัย ประกาศท้าทายตลอดเวลา

“... สัจธรรม เฉพาะอย่างยิ่ง ๒ อย่าง ประกาศท้าทายเราอยู่ตลอดเวลา เราจะสู้หรือไม่สู้ รบหรือไม่รบ ทุกข์กับสมุทัยประกาศอยู่ในหัวใจเรา ทั้งทางร่างกาย ชาติปิทุกขา ชราปิทุกขา มรณัมปิทุกขา นี้ประกาศทางกาย เรื่องของทุกข์ โสกปริเทว นั่นเป็นทางใจ โสก หมายถึงใจ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสุปายาสาปิทุกขา อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข นี่เกี่ยวกับทางใจ นี่ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจแสดงให้เห็นได้ชัดอยู่ภายในจิตใจ นี่ละที่ว่า เอหิปัสสิโก ท่านจงดู ท่านบอกเรานั้นเอง เอหิ ท่าน ตวัง อันว่าท่าน เอหิ จงมาดู ดูตรงที่นี่ ธรรมส่อแสดงอยู่ที่นี่ ทุกข์ก็ส่องอยู่ที่นี่

สมุทัย คืออะไร สัจธรรม ๒ อย่างนี้เด่นอยู่เวลานี้ หากสติปัญญาของเรายังไม่เด่น อันนี้ต้องเด่นอยู่เสียก่อน ดูให้ดี พิจารณาให้ดี นันทิราคสหคตา ตัตรตัตราภินันทินี เสยยถีทัง กามตัณหา ภวตัณหา วิภาวตัณหา สิ่งที่สหคตไปด้วยความรื่นเริงบันเทิงนั้นเป็นไปจากอะไร เป็นไปจากกามตัณหา ภาวตัณหา วิภาวตัณหา ที่แสดงอยู่ในจิตนี้ มีแต่สัจจธรรมประเภทนี้

เอหิ จงดูที่นี่ คือ เอหิ น้อมใจเข้ามาดูที่นี่ ถ้าหากเป็นกิริยาของคน ก็ เอหิ จงมา แต่นี้เป็นเรื่องของกรรม เป็นเรื่องกระแสของจิต เอหิ จงย้อนจิตเข้ามาดูที่นี่ ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-03-2020 เมื่อ 03:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #424  
เก่า 09-03-2020, 10:57
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

มัชฌิมาปฏิปทา ภาคปฏิบัติของนักบวชและฆราวาส

“... คำว่า สติปัฎฐานก็ดี อริยสัจก็ดี เป็นปัจจุบันธรรมซึ่งปรากฏอยู่กับกายกับใจของเราตลอดเวลา ในมัชฌิมาปฏิปทาทรงตรัสไว้ว่า

สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ คำว่าเห็นชอบทั่ว ๆ ไปก็มี เห็นชอบในวงจำกัดก็มี และเห็นชอบในธรรมส่วนละเอียดยิ่งก็มี ความเห็นชอบของผู้ถือพระพุทธศาสนาทั่ว ๆ ไปโดยมีวงจำกัด เช่น เห็นว่าบาปมีจริง บุญมีจริง ผู้ทำดีได้รับผลดี ผู้ทำชั่วได้รับผลชั่ว เป็นต้น นี่ก็เรียกว่าสัมมาทิฏฐิชั้นหนึ่ง ความเห็นในวงจำกัดของนักปฏิบัติผู้ประกอบการพิจารณาสติปัฏฐาน หรืออริยสัจสี่ โดยกำหนดกาย เวทนา จิต ธรรม เห็นว่าเป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ประจำตนทุกอาการด้วยปัญญา

ปลุกศรัทธาความเชื่อมั่นลงในพระสัจธรรม เพราะการพิจารณาไตรลักษณ์เป็นต้นเหตุ และถือไตรลักษณ์ที่มีอยู่ในสภาวธรรมนั้น ๆ เป็นทางเดินของปัญญา และพิจารณาในอริยสัจ.. เห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นจากกายและจากใจทั้งของตนและของคนอื่น สัตว์อื่น ว่าเป็นสิ่งไม่ควรประมาทนอนใจ พร้อมทั้งความเห็นโทษในสมุทัย คือแหล่งผลิตทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่สัตว์เสวยผลไม่มีประมาณตลอดกาล และเตรียมรื้อถอนสมุทัยด้วยปัญญา เพื่อก้าวขึ้นสู่นิโรธ คือ แดนสังหารทุกข์โดยสิ้นเชิง นี่ก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิขั้นหนึ่ง

สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบในธรรมส่วนละเอียดนั้น ได้แก่ ความเห็นชอบในทุกข์ว่าเป็นของจริงอย่างหนึ่ง ความเห็นชอบในสมุทัยว่าเป็นของจริงอย่างหนึ่ง ความเห็นชอบในนิโรธว่าเป็นของจริงอย่างหนึ่ง และความเห็นชอบในมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ว่าเป็นของจริงอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความเห็นชอบโดยปราศจากการตำหนิติชมในอริยสัจและสภาวธรรมทั่ว ๆ ไป จัดเป็นสัมมาทิฏฐิขั้นหนึ่ง

สัมมาทิฏฐิ มีหลายขั้นตามภูมิของผู้ปฏิบัติในธรรมขั้นนั้น ๆ ถ้าสัมมาทิฏฐิมีเพียงขั้นเดียว ปัญญาจะมีหลายขั้นไปไม่ได้ เพราะกิเลสความเศร้าหมองมีหลายขั้น ปัญญาจึงต้องมีหลายขั้น เพราะเหตุนี้เอง สัมมาทิฏฐิจึงมีหลายขั้นตามที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-03-2020 เมื่อ 14:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #425  
เก่า 13-03-2020, 12:40
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ในปฏิปทาข้อ ๒ ตรัสว่า สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ มี ๓ ประการคือ ดำริในทางไม่เบียดเบียน ดำริในทางไม่พยาบาทปองร้าย ดำริเพื่อออกจากเครื่องผูกพัน

ดำริในทางไม่เบียดเบียน คือ ไม่คิดเบียดเบียนคนและสัตว์ ไม่คิดเบียดเบียนตนเองด้วย ไม่คิดให้เขาได้รับความทรมานลำบากเพราะความคิดของเราเป็นต้นเหตุ และไม่คิดหาเรื่องลำบากฉิบหายใส่ตนเอง เช่น ไม่คิดจะเสพยาเสพติด มีสุรา ฝิ่น และเฮโรอีน เป็นต้น

ดำริในทางไม่พยาบาท คือ ไม่คิดปองร้ายหมายฆ่าใคร ๆ ทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่คิดเพื่อความชอกช้ำและฉิบหายแก่ใคร ไม่คิดให้เขาได้รับความเจ็บปวด บอบช้ำ หรือล้มตายลงไป เพราะความคิดของเราเป็นต้นเหตุ และไม่คิดปองร้ายหมายฆ่าตัวเอง เช่น คิดฆ่าตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ ดังปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์เสมอ นี่คือผลเกิดจากความคิดผิด ตัวเองเคยมีคุณแก่ตัว และเป็นสมบัติอันล้นค่าแก่ตัวเอง เพราะความคิดผิดจึงปรากฏว่าตัวกลับเป็นข้าศึกแก่ตัวเอง เรื่องเช่นนี้เคยมีบ่อย พึงทราบว่าเป็นผลเกิดจากความดำริผิดทาง ผู้รักษาตัวและสงวนตัวแท้ เพียงแต่จิตคิดเรื่องไม่สบายขึ้นภายในใจเท่านั้น ก็รีบระงับดับความคิดผิดนั้นทันทีด้วยเนกขัมมอุบาย ไหนจะยอมปล่อยความคิดที่ผิดให้รุนแรงขึ้นถึงกับฆ่าตัวตาย เป็นตัวอย่างแห่งคนรักตัวที่ไหนมี

ความดำริเพื่อออกจากเครื่องผูกมัด นี่ถ้าเป็นความดำริทั่ว ๆ ไป ตนคิดอ่านการงานเพื่อเปลื้องตนออกจากความยากจนข้นแค้น เพื่อความสมบูรณ์พูนผลในสมบัติ ไม่อดอยากขาดแคลน ก็จัดเข้าในเนกขัมมะสังกัปโปของโลกประการหนึ่ง

ผู้ดำริให้ทาน รักษาศีล ภาวนา คิดสร้างถนนหนทาง ขุดบ่อน้ำ ก่อพระเจดีย์ ทะนุบำรุงปูชนียสถานที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างกุฏิ วิหาร ศาลา เรือนโรงต่าง ๆ โดยมุ่งกุศลเพื่อยกตนให้พ้นจากกองทุกข์ ก็จัดเป็นเนกขัมมสังกัปโปประการหนึ่ง

ผู้ดำริเห็นภัยในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเกิดในสัตว์และสังขารทั่ว ๆ ไปทั้งเขาทั้งเรา ไม่มีเวลาว่างเว้น เห็นเป็นโอกาสอันว่างสำหรับเพศนักบวชจะบำเพ็ญเป็นเณร นี่ก็จัดเป็นเนกขัมมสังกัปโปประการหนึ่ง

นักปฏิบัติมีความดำริพิจารณาอารมณ์แห่งกรรมฐานของตน เพื่อความปลดเปลื้องจิตออกจากนิวรณธรรมทั้งหลาย โดยอุบายต่าง ๆ จากความดำริคิดค้น ไม่มีเวลาหยุดยั้งเพื่อเปลื้องกิเลสทุกประเภท ด้วยสัมมาสังกัปโปเป็นขั้น ๆ จนกลายเป็นสัมมาสังกัปโปอัตโนมัติ กำจัดกิเลสเป็นขั้น ๆ ด้วยความดำริคิดค้นตลอดเวลา จนกิเลสทุกประเภทหมดสิ้นไปเพราะความดำรินั้น ๆ นี่ก็จัดเป็นสัมมาสังกัปโปประการสุดท้ายแห่งการอธิบายปฏิปทาข้อที่สอง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-03-2020 เมื่อ 13:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #426  
เก่า 16-03-2020, 20:50
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ปฏิปทาข้อที่ ๓ ตรัสไว้ว่า สัมมาวาจา กล่าววาจาชอบ นี่กล่าวชอบทั่ว ๆ ไปก็มี กล่าวชอบยิ่งในวงแห่งธรรมโดยจำเพาะก็มี กล่าวชอบตามสุภาษิตไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ผู้ฟัง กล่าวมีเหตุผลน่าฟัง จับใจไพเราะเสนาะโสต กล่าวสุภาพอ่อนโยน กล่าวถ่อมตนเจียมตัว กล่าวขอบบุญขอบคุณต่อผู้มีคุณทุกชั้น เหล่านี้จัดเป็นสัมมาวาจา ประการหนึ่ง

สัมมาวาจา ที่ชอบยิ่งในวงแห่งธรรมโดยจำเพาะนั้น คือกล่าวใน สัลเลขธรรม เครื่องขัดเกลากิเลสโดยถ่ายเดียว ได้แก่กล่าวเรื่องความมักน้อยในปัจจัยสี่เครื่องอาศัยของพระ กล่าวเรื่องความสันโดษ ยินดีตามมีตามได้แห่งปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรม กล่าวเรื่อง อสังสัคคณิกา ความไม่คลุกคลีมั่วสุมกับใคร ๆ ทั้งนั้น วิเวกกตา กล่าวความสงัดวิเวกทางกายและทางใจ วิริยารัมภา กล่าวเรื่องการประกอบความเพียร กล่าวเรื่องการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ กล่าวเรื่องการทำสมาธิให้เกิด กล่าวเรื่องการอบรมปัญญาให้เฉลียวฉลาด กล่าวเรื่อง วิมุตติ คือความหลุดพ้น และกล่าวเรื่อง วิมุตติญาณทัสสนะ ความรู้เห็นอันแจ้งชัดในความหลุดพ้น นี่จัดเป็นสัมมาวาจาส่วนละเอียด การกล่าวนั้นไม่ใช่กล่าวเฉย ๆ กล่าวรำพัน กล่าวรำพึง กล่าวด้วยความสนใจและความพออกพอใจ ใคร่ต่อการปฏิบัติในสัลเลขธรรมจริง ๆ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-03-2020 เมื่อ 03:20
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #427  
เก่า 26-03-2020, 17:55
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ในปฏิปทาข้อ ๔ ตรัสไว้ว่า สัมมากัมมันโต การงานชอบ การงานชอบทั่ว ๆ ไปประการหนึ่ง การงานชอบในธรรมประการหนึ่ง การงานทำโดยชอบธรรม ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง เช่น การทำนา ทำสวน การซื้อขายแลกเปลี่ยน เหล่านี้จัดเป็นการงานชอบ การปลูกสร้างวัดวาอาราม และการให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา ก็จัดเป็นการงานชอบ แต่ละอย่าง ๆ เป็นสัมมากัมมันโตประการหนึ่ง การเดินจงกรม นั่งสมาธิ ก็จัดเป็นการงานชอบด้วยการเคลื่อนไหวของ กาย วาจา ใจ ทุกอาการพึงทราบว่าเป็นกรรมคือการกระทำ การทำด้วยกาย พูดด้วยวาจา และคิดด้วยใจ เรียกว่าเป็นกรรม คือการกระทำ ทำถูก พูด คิดถูก เรียกว่า สัมมากัมมันตะ การงานชอบ

คำว่า การงานชอบ มีความหมายกว้างขวางมาก แล้วแต่ท่านผู้ฟังจะน้อมไปใช้ในทางใด เพราะโลกกับธรรมเป็นคู่เคียงกันมา เหมือนแขนซ้ายแขนขวาของคนคนเดียว จะแยกโลกกับธรรมจากกันไปไม่ได้ และโลกก็มีงานทำ ธรรมก็มีงานทำด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องจากภาวะของคนและการประกอบไม่เหมือนกัน การงานจะให้ถูกรอยพิมพ์อันเดียวกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ผู้อยู่ในฆราวาสก็ขอให้ประกอบการงานถูกกับภาวะของตน ผู้อยู่ในธรรมคือนักบวช เป็นต้น ก็ขอให้ประกอบการงานถูกกับภาวะของตน อย่าให้การงานและความเห็นก้าวก่ายไขว้เขวกัน ก็จัดว่าต่างคนต่างสัมมากัมมันตะ การงานชอบด้วยกัน โลกและธรรมก็นับวันจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ เพราะต่างท่านต่างช่วยกันพยุง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-03-2020 เมื่อ 19:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #428  
เก่า 05-04-2020, 17:40
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ปฏิปทาข้อ ๕ ตรัสไว้ว่า สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ การเลี้ยงชีพด้วยการรับประทานธรรมดาของมนุษย์และสัตว์ทั่ว ๆ ไป ประการหนึ่ง การหล่อเลี้ยงจิตใจด้วยอารมณ์อันเกิดจากเครื่องสัมผัส ประการหนึ่ง การหล่อเลี้ยงจิตใจด้วยธรรมเป็นขั้น ๆ ประการหนึ่ง

การแสวงหาอาชีพโดยชอบธรรม ปราศจากการปล้นสดมภ์ฉกลักของใคร ๆ มาเลี้ยงชีพ หาได้มาอย่างไรก็บริโภคเท่าที่มี พอเลี้ยงอัตภาพไปเป็นวัน ๆ หรือจะมีมากด้วยความชอบธรรม ก็จัดเป็นสัมมาอาชีโว ประการหนึ่ง

ใจได้รับความสัมพันธ์จากสิ่งภายนอก คือ รูปหญิงชาย เสียง กลิ่น รส ความสัมผัสของหญิงชาย และสิ่งของที่ถูกกับจริตชอบ เกิดเป็นอารมณ์เข้าไปหล่อเลี้ยงจิตใจ.. ให้มีความแช่มชื่นเบิกบาน หายความโศกเศร้ากันแสง มีแต่ความรื่นเริงบันเทิงใจ กลายเป็นอายุวัฒนะขึ้นมา แต่ถ้าแสวงผิดทางก็กลายเป็นพิษเครื่องสังหารใจ นี่ก็จัดเป็นสัมมาอาชีพ สำหรับโลกผู้มีมัตตัญญุตา รู้จักประมาณและขอบเขตที่ควรหรือไม่ควร

การบำรุงจิตใจด้วยธรรมะ คือ ไม่นำโลกที่เป็นยาพิษเข้ามารังควานใจ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสธรรมารมณ์ ให้พึงพิจารณาเป็นธรรมเสมอไป อย่าให้เกิดยินดียินร้ายจะกลายเป็นความฝืดเคืองขึ้นภายในใจ การพิจารณาเป็นธรรมจะนำอาหาร คือโอชารสแห่งธรรมเข้ามาหล่อเลี้ยงหัวใจ ให้มีความชื่นบานด้วยธรรมภายในใจ ให้มีความชุ่มชื่นด้วยความสงบแห่งใจ ให้มีความชุ่มชื่นด้วยความเฉลียวฉลาดแห่งปัญญา ไม่แสวงหาอารมณ์อันเป็นพิษเข้ามาสังหารใจของตน พยายามนำธรรมเข้ามาหล่อเลี้ยงเสมอ

อายตนะภายในมี ตา หู เป็นต้น กระทบกับอายตนะภายนอก มีรูป เสียง เป็นต้น ทุกขณะที่สัมผัสจงพิจารณาเป็นธรรม คือความรู้เท่าและปลดเปลื้องด้วยอุบายเสมอไป อย่าพิจารณาให้เป็นเรื่องของโลกแบบจับไฟเผาตัวเอง จะกลายเป็นความร้อนขึ้นที่ใจ จงพยายามกลั่นกรองอารมณ์ที่เป็นธรรมเข้าไปหล่อเลี้ยงจิตใจอยู่ตลอดเวลา อาหารคือโอชารสแห่งธรรมจะหล่อเลี้ยงและรักษาใจให้ปลอดภัยเป็นลำดับ ที่อธิบายมานี้จัดเป็นสัมมาอาชีวะประการหนึ่ง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-04-2020 เมื่อ 19:27
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #429  
เก่า 18-05-2020, 10:49
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ปฏิปทาข้อ ๖ ตรัสไว้ว่า สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ท่านว่าเพียรในที่สี่สถานคือ เพียรระวังอย่าให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน หนึ่ง เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป หนึ่ง เพียรยังกุศลให้เกิดขึ้น หนึ่ง เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วอย่าให้เสื่อมสูญไป หนึ่ง โอปนยิโก น้อมเข้าในหลักธรรมที่ตนกำลังปฏิบัติได้ทุกขั้น แต่ที่นี่จะน้อมเข้าในหลักสมาธิกับปัญญาตามโอกาสอันควร พยายามระวังรักษาจิตที่เคยฟุ้งซ่านไปตามกระแสแห่งตัณหาเพราะความโง่เขลาฉุดลากไปหนึ่ง ความดิ้นรนกวัดแกว่งของจิตที่เคยเป็นมา จงพยายามทรมานให้หายพยศด้วยอำนาจสติและปัญญาเป็นเครื่องฝึกทรมาน หนึ่ง

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นธรรมแก้กิเลสทุกประเภท จงพยายามอบรมให้เกิดขึ้นกับใจของตน ถ้าต้องการไปนิพพานดับไฟกังวลให้สิ้นซาก จงอย่าเห็นศีล สมาธิ ปัญญา เป็นกรวดเป็นทราย ศีล สมาธิ ปัญญา ทุก ๆ ขั้นได้ปรากฏขึ้นกับตนแล้ว อย่ายอมให้หลุดมือไปด้วยความประมาท จงพยายามบำรุงศีล สมาธิ ปัญญา ทุก ๆ ขั้นที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ จนสามารถแปรรูปเป็นมรรคญาณประหารกิเลสแม้อนุสัยให้สิ้นซากลงเสียที แดนแห่งวิมุตติพระนิพพานที่เคยเห็นว่าเป็นธรรมเหลือวิสัย จะกลายเป็นธรรมประดับใจทันทีที่กิเลสสิ้นซากลงไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-05-2020 เมื่อ 11:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 16 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #430  
เก่า 19-05-2020, 10:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ในปฏิปทาข้อ ๗ ตรัสไว้ว่า สัมมาสติ ความระลึกชอบ ได้แก่การตั้งสติ ระลึกตามประโยคความเพียรของตน ตนกำหนดธรรมบทใดเป็นอารมณ์ของใจ เช่น พุทโธ หรือ อานาปานสติ เป็นต้น ให้มีสติระลึกธรรมนั้น ๆ หรือตั้งสติกำหนดในสติปัฏฐานสี่ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งกำหนดเพื่อสมาธิ ทั้งการพิจารณาเพื่อปัญญา ให้มีสติความระลึกในประโยคความเพียรของตนทุก ๆ ประโยค จัดเป็นสัมมาสติที่ชอบข้อหนึ่ง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-05-2020 เมื่อ 12:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #431  
เก่า 31-05-2020, 12:54
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ปฏิปทาข้อ ๘ ตรัสไว้ว่า สัมมาสมาธิ คือสมาธิที่ชอบ ได้แก่สมาธิที่สัมปยุตปัญญา ไม่ใช่สมาธิแบบหัวตอ และไม่ใช่สมาธิที่ติดแน่นทั้งวันทั้งคืนไม่ยอมพิจารณาทางด้านปัญญาเลย โดยเห็นว่าสมาธิเป็นธรรมประเสริฐพอตัว จนเกิดความตำหนิติโทษปัญญา หาว่าเป็นของเก๊ไปเสีย สมาธิประเภทนี้เรียกว่า มิจฉาสมาธิ ไม่จัดเป็นสมาธิที่จะทำบุคคลให้พ้นจากทุกข์ไปโดยชอบธรรม ส่วนสมาธิที่จะเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์นั้น ต้องกำหนดลงไปในหลักธรรมหรือบทธรรมตามจริตชอบ ด้วยความมีสติกำกับรักษา จนจิตรวมลงเป็นสมาธิได้ และจะเป็นสมาธิประเภทใดก็ตาม เมื่อรู้สึกจิตของตนสงบหรือหยุดจากการคิดปรุงต่าง ๆ รวมอยู่เป็นเอกเทศอันหนึ่งจากสิ่งแวดล้อมทั้งหลายจนกว่าจะถอนขึ้นมา จัดเป็นสมาธิที่ชอบ

และไม่เหมือนสมาธิซึ่งรวมลงไปแล้วไม่ทราบกลางวันกลางคืน เป็นตายไม่ทราบทั้งนั้น เหมือนคนตายแล้ว พอถอนขึ้นมาจึงระลึกย้อนหลัง ว่าจิตรวมหรือจิตไปอยู่ที่ไหนไม่ทราบ นี่เรียกว่าสมาธิหัวตอ เพราะรวมลงแล้วเหมือนหัวตอ ไม่มีความรู้สึก สมาธิประเภทนี้จงพยายามละเว้น แม้ที่เกิดขึ้นแล้วรีบดัดแปลงเสียใหม่ สมาธิที่กล่าวนี้เคยมีในวงนักปฏิบัติด้วยกัน วิธีแก้ไขคือหักห้ามอย่าให้รวมลงตามที่เคยเป็นมาจะเคยตัวตลอดกาล จงบังคับให้ท่องเที่ยวในสกลกายโดยมีสติบังคับเข้มแข็ง บังคับให้ท่องเที่ยวกลับไปกลับมา และขึ้นลงเบื้องบนเบื้องล่างจนควรแก่ปัญญาและมรรคผลต่อไป

ส่วนสัมมาสมาธิ เมื่อจิตรวมลงไปแล้ว มีสติรู้ประจำอยู่ในองค์สมาธินั้น เมื่อถอนขึ้นมาแล้วควรจะพิจารณาทางปัญญาในสภาวธรรมส่วนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกาย ในจิต ก็พิจารณาในโอกาสอันควร สมาธิกับปัญญาให้เป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกันเสมอไป อย่าปล่อยให้สมาธิเดินเหินไปแบบไม่มองหน้ามองหลังโดยไม่คำนึงถึงเรื่องอะไรทั้งนั้น

สรุปความแล้ว สติ สมาธิ ปัญญา ทั้งสามนี้เป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกัน โดยจะแยกจากกันให้เดินแต่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ สมาธิกับปัญญาต้องผลัดเปลี่ยนกันเดิน โดยมีสติเป็นเครื่องตามรักษาทั้งสมาธิและปัญญา

นี่แลปฏิปทาทั้ง ๘ ที่ได้อธิบายมาโดยอิงหลักธรรมบ้าง โดยอัตโนมัติบ้าง ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ ถึงสัมมาสมาธิ พึงทราบว่าเป็นธรรมหลายชั้น แล้วแต่ท่านผู้ฟังจะนำไปปฏิบัติตามภูมิแห่งธรรมและความสามารถของตน

ในปฏิปทาทั้ง ๘ ประการนี้ ไม่เลือกว่านักบวชหรือฆราวาส ใครสนใจปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ ผลคือวิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นสมบัติอันล้ำค่าของผู้นั้น เพราะศีล สมาธิ ปัญญารวมอยู่ในมรรคนี้ และเป็นเหมือนกุญแจไขวิมุตติทั้งสองให้ประจักษ์กับใจอย่างเปิดเผย

อนึ่ง ท่านนักปฏิบัติอย่าพึงเข้าใจว่า วิมุตติกับวิมุตติญาณทัสสนะทั้งสองนี้.. แยกกันไปอยู่ในที่ต่างแดนหรือแยกกันทำหน้าที่คนละขณะ ที่ถูกไม่ใช่อย่างนั้น เขาตัดไม้ให้ขาดด้วยขวาน ขณะไม้ขาดจากกัน ตาก็มองเห็น ใจก็รู้ว่าไม้ท่อนนี้ขาดแล้วด้วยขวาน เห็นด้วยตากับรู้ด้วยใจเกิดขึ้นในขณะเดียวกันฉันใด วิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะก็ทำหน้าที่รู้เห็นกิเลสขาดจากใจด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ในขณะเดียวกันฉันนั้น จากนั้นแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไรให้ยุ่งยากอีกต่อไป เพราะปัญหายุ่งยากก็คือปัญหากิเลสกับใจเท่านั้นที่ใหญ่ยิ่งในไตรภพ เมื่อปล่อยใจอันเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดแล้ว กิเลสซึ่งเป็นสิ่งอาศัยอยู่กับใจก็หลุดลอยไปเอง ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็ปล่อยวางไว้ตามเป็นจริง เรียกว่าต่างฝ่ายต่างจริงแล้วก็หมดคดีคู่ความลงเพียงเท่านี้...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-05-2020 เมื่อ 19:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #432  
เก่า 01-06-2020, 12:24
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

วิหารจิต วิหารธรรม

พระอรหันตขีณาสพ คือพระอรหันต์ผู้หมดอาสวะแล้ว เพราะกำจัดอาสวะคือกิเลสที่หมักหมมอยู่ในจิต.. ที่ชุบย้อมจิตให้ชุ่มอยู่เสมอได้แล้วอย่างสิ้นเชิง ไม่กลับมาทำอันตรายจิตได้อีกต่อไป เทศน์อบรมพระคราวหนึ่ง องค์หลวงตากล่าวถึงวิหารธรรมของพระอรหันต์ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนี้


“... การภาวนาในท่านผู้สิ้นกิเลสแล้วมีสองประเภทดังกล่าวนี้ ประเภทที่หนึ่ง เพื่อบรรเทาธาตุขันธ์.. อิริยาบถต่าง ๆ ยืนนานก็ทุกข์ เดินนานก็ทุกข์ นอนนานก็ทุกข์ นั่งนานก็ทุกข์ เพื่อบรรเทาขันธ์ให้อยู่ในความพอเหมาะพอดี ในระหว่างขันธ์กับจิตที่ครองกันอยู่นี้ ... ประเภทที่สอง เพื่อพิจารณาจิตกับธรรมทั้งหลาย ... อย่างพระพุทธเจ้าก็ส่องโลกธาตุ พิจารณาเล็งญาณดูสัตว์โลกด้วยจิตที่บริสุทธิ์แล้วนั้น พิจารณาอย่างนั้น ๆ แล้วพระอรหันต์ท่านก็ทำเต็มภูมิของท่าน พิจารณาเต็มภูมิเต็มกำลังของท่านนั้นแล ... เกี่ยวกับสัตวโลกทั้งหลายมีความลึกตื้นหนาบาง หยาบละเอียด ตลอดถึงสัตวโลกเป็นยังไง ๆ จะรู้ในเวลาท่านพิจารณานี้แจ่มแจ้งขึ้นอันหนึ่ง อันหนึ่งอยู่ธรรมดาท่านก็รู้ตามธรรมดา ถ้าท่านพิจารณานั้นก็ยิ่งละเอียดลออเข้าไป รู้มากเข้าไปโดยลำดับลำดา ... เพื่ออยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม คือเวลายังครองขันธ์อยู่ ท่านเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา เหมือนเรานั้นแล..

แม้แต่พระขีณาสพท่าน ท่านก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่สบายในทิฏฐธรรม จนกระทั่งวันท่านนิพพานท่านถึงจะปล่อยนี้ได้ อันนี้เป็นวิหารธรรมของท่านคือสมาธิ ปัญญาพิจารณาเหตุผลเรื่องนั้นเรื่องนี้ เรื่องธรรมในแง่ต่าง ๆ หรือพิจารณาร่างกายเป็นวิหารธรรมเหมือนกัน มันก็เป็นเครื่องรื่นเริงระหว่างกายกับจิตที่ครองตัวกันอยู่ มันก็ไปด้วยจีรังถาวรถึงอายุขัย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-06-2020 เมื่อ 20:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #433  
เก่า 02-06-2020, 11:28
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เดินจงกรมเห็นกระรอกกระแตก็เล่นกับมันเสีย เล่นกับมันด้วยความรักมัน สงสารมัน ไม่ได้เล่นด้วยความคะนองนะ คือความเมตตานั้นล่ะสำคัญมาก เห็นสัตว์อะไรก็เล่นกับสัตว์นั้น เล่นด้วยความสงสาร บางทีหยุดจงกรมดูนี่ นอกจากมีธรรมแง่ใดแง่หนึ่งที่เป็นปัญหาขึ้นมา ธรรมแง่นี้มีความหมายแค่ไหน มันจะมีความสัมผัสมันจะตามเลย จนกระทั่งเข้าใจแล้วก็ปล่อยเฉย ๆ เหมือนกับไม่มีสติปัญญาอะไรเลย.. เฉย

ถ้าหากว่าสัมผัสธรรมบทใดแง่ใด มีความหมายลึกตื้นหยาบละเอียดแค่ไหน พอสัมผัสนั้นมันจะตามเลย ทีนี้มันจะหมุนเลย เพราะฉะนั้นการบิณฑบาตจึงไปกับหมู่เพื่อนไม่ค่อยได้ เดินฉุบฉับ ๆ ตามหลังไม่ค่อยได้ คือเรากำลังพิจารณาของเรา เพลินไปตามเรื่องของเราอยู่ เวลาขากลับมาก็หลีกให้หมู่เพื่อนมาก่อน แล้วเราก็พิจารณาของเรามาเรื่อย

ก็ไม่ทราบว่าจะอยู่กับอะไร อาศัยธรรมพอให้อยู่สะดวกสบาย นั่งภาวนาก็ภาวนาอยู่นั้นนะทุกวันนี้ ภาวนาอยู่นั้น มันเป็นการพยุงระหว่างธาตุขันธ์กับจิตอยู่ด้วยกันเป็นผาสุก

ถ้าเราใช้กิริยาของจิตมาก ๆ นั้น ธาตุขันธ์มันก็เพียบ ถ้าเพียบแล้วมันก็ไปแพ้ทางธาตุขันธ์นั่นแหละ จิตมันจะไปแพ้ได้ยังไง มันแพ้ธาตุขันธ์นี่ คือไม่ถึงอายุขัย พูดง่าย ๆ ก็เหมือนอย่างเรามีเงินร้อยบาท วันหนึ่งเราใช้ ๒๕ บาทพอดีกับครอบครัวของเรานี้ เราไปใช้เสียวันเดียวร้อยบาท มันก็หมดภายในวันเดียว แทนที่จะได้ถึง ๔ วันก็ไม่ได้ เงินร้อยบาทใช้วันละ ๒๕ บาท แทนที่จะถึง ๔ วันมันก็ไม่ถึง

ที่นี้อายุขัยของเราสมมุติว่า ๗๐ หรือ ๘๐ นี้เป็นอายุขัย ถ้าเราสมบุกสมบัน ไม่มีวิหารธรรมให้เป็นเครื่องอยู่ระหว่างขันธ์กับจิตแล้ว จะให้อยู่ถึงโน้นมันก็ไม่ถึงเสีย ถ้าเราพยายามรักษาให้พอเหมาะพอสมกับมันก็ถึงอายุขัยได้ มันรู้อยู่ภายในจิตนี่ ถ้าหากว่ามันขัดกันเมื่อไรแล้ว ฝ่ายธาตุฝ่ายขันธ์นั้นล่ะจะเป็นฝ่ายบอบช้ำ ส่วนจิตอันนี้จะบอบอะไร ถ้าหากว่าจิตเลยสมมุติทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว.. ไม่มีอะไรบอบ อยู่อย่างนั้นเป็นอกาลิโก อกาลิกจิต อกาลิกธรรม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-06-2020 เมื่อ 11:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #434  
เก่า 03-06-2020, 10:29
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวก ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านทำความพากเพียรอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งถึงวันท่านนิพพานก็เพราะเหตุนั้นเอง มีความจำเป็นระหว่างขันธ์กับจิต หากไม่มีเรื่องที่จะถอดถอนกิเลสตัวใดเพราะหมดไปแล้ว ก็จะเอาอะไรมาถอน มันไม่มีอะไร มันเงียบเหมือนบ้านร้าง พูดง่าย ๆ เมื่อกิเลสหมดไปแล้วก็เงียบเท่านั้นเอง

มันไม่เงียบก็เพราะกิเลสก่อกวนยุแหย่อยู่ตลอดเวลา พอธรรมชาตินั้นหมดไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรมาก่อกวนยุแหย่อะไร ๆ ให้ลำบากลำบน ขันธ์นั้นมีแต่ขันธ์ล้วน ๆ คิดปรุงยิบแย็บ ๆ ของมัน คิดปรุงอะไรก็ดับพร้อม ๆ โดยหลักธรรมชาติของมัน

เราไม่ต้องไปเข้มงวดกวดขันหรือระมัดระวังรักษา มันจะเป็นภัยหรือมันจะนำเรื่องอะไรมาสู่เรา.. ไม่จำเป็น เป็นธรรมชาติของมัน คิดเรื่องอะไร.. มันคิดปั๊บ ๆ ผ่านไปพร้อม ๆ ดับไป พร้อม ๆ ทุกขณะที่คิด ดับไปพร้อม ๆ รู้กันอยู่อย่างนั้นเป็นหลักธรรมชาติ เราก็รู้อยู่โดยหลักธรรมชาติ ขันธ์ที่ใช้ก็เป็นไปตามหลักธรรมชาติของมัน

ถ้าหากว่ามีกิเลสอยู่ภายในก็เป็นเครื่องมือของกิเลส ขันธ์นี่มันก็เป็นภัยเหมือนกัน เหมือนมีดเล่มนี้ถ้าเอาไปฟันอะไรให้เป็นโทษก็ได้ ฟันหัวคนก็ได้ ทิ่มแทงใครก็ได้ มาฟันทำผลประโยชน์ก็ได้มีดเล่มนี้ ขันธ์นี้ก็ของกลาง แต่ก่อนเป็นเครื่องมือของกิเลส กิเลสเอาไปใช้ให้ทำลายเจ้าของ ทำลายอะไรต่ออะไรยุ่งไปหมด

ที่นี้พอกิเลสตัวสำคัญดับไปแล้ว เรียกว่าโจรหัวโจกที่เป็นเจ้าของของขันธ์นี้ดับไปแล้ว ก็มีธรรมขึ้นแทนที่แล้วเป็นเครื่องมือของธรรม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-06-2020 เมื่อ 12:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #435  
เก่า 04-06-2020, 19:16
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระพุทธเจ้าประกาศธรรมสอนโลกก็อาศัยขันธ์นี้ เสด็จไปที่ไหนมาไหน ตลอดถึงปรุงภายในจิตที่จะแสดงมาเป็นอรรถเป็นธรรม พินิจพิจารณาเรื่องอะไรนี้ก็อาศัยขันธ์ ปัญญาก็เป็นกิริยาอันหนึ่ง ๆ ยึดเอามาใช้งานเพื่อทำประโยชน์ให้โลก จึงเรียกว่าขันธ์ล้วน ๆ นั่นเป็นอย่างนั้น ใช้ไปถึงอายุขัยถึงกาล

นี่ถ้าหากว่าเราจะเทียบนะ ถ้าหากว่าจิตนี้มีเครื่องมือเป็นของตน คือจิตที่บริสุทธิ์แล้วมีเครื่องมือเป็นของตน โดยไม่ต้องอาศัยสมมุติเป็นเครื่องมือ สมมุติคือขันธ์ ๕ นี้.. เป็นเครื่องมือของกิเลสมันเป็นวัฏจักรเป็นสมมุติ จิตที่เป็นวิมุตติให้มีเครื่องมือเป็นวิมุตติมาใช้

จะไม่มีอันใดที่จะสวยงาม จะน่าดู จะอัศจรรย์ยิ่งกว่าลวดลายของจิตที่บริสุทธิ์แสดงตัวออกไป สมมุติว่าแสดงการเทศนา ว่าการหรือการแนะนำสั่งสอนใครก็ตาม ให้มีเครื่องมือสำหรับจิตนั้น โดยเฉพาะจะไม่มีอะไรน่าดูยิ่งกว่าพระอรหันต์ ท่านแสดงกิริยาแห่งธรรมออกมาด้วยเครื่องมือของท่านโดยเฉพาะ

อันนี้ท่านไม่มีก็ต้องมาอาศัยขันธ์นี่เป็นเครื่องมือ ขันธ์นี้เป็นสมมุติ จิตเป็นวิมุตติ ก็ต้องมาอาศัยสมมุตินี้ใช้ เพราะฉะนั้น กิริยานี้จึงเป็นเหมือนโลก เคยช้าเคยเร็ว จริตนิสัยเป็นอย่างไร ก็ต้องคงเส้นคงวาของมันไปอย่างนั้นตามเดิม จึงเรียกว่านิสัย ควรที่จะพูดหนักเบา มากน้อย เข้มข้นถึงเรื่องธรรมทั้งหลาย ทีนี้ก็เอาเรื่องขันธ์นี้มาใช้ มันก็เป็นลักษณะเหมือนโกรธ เหมือนโมโหโทโสไปเสีย ความจริงเป็นพลังของธรรมแสดงออกมา ไม่ใช่พลังของกิเลส พลังของอารมณ์ที่เกิดจากกิเลสแสดงออกมา ผิดกันตรงนี้ ถ้าหากว่า ธรรมจิตตวิสุทธิมีเครื่องมือเป็นของคนใช้ โอโห ! จะน่าดูที่สุด ไม่มีอะไรน่าดูยิ่งกว่า...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-06-2020 เมื่อ 20:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #436  
เก่า 05-06-2020, 10:49
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

วิสุทธิจิต วิสุทธิธรรม

“... ขันธ์ทั้งหมดนี้เป็นสมมุติล้วน ๆ ธรรมชาตินั้นเป็นวิมุตติ หลุดพ้นจากสิ่งกดขี่ทั้งหลายซึ่งเป็นตัวสมมุติแล้ว แล้วจะเกิดความเดือดร้อนได้อย่างไร เป็นก็เป็น ตายก็ตาย เรื่องของขันธ์สลายลงไปตามสภาพของมันที่ประชุมกันเท่านั้น

จิตดวงนี้เป็นอย่างไร ต่อไปนี้จะไปเกิดที่ไหนก็ทราบอย่างชัดเจน จะไปเกิดที่ไหนเมื่อไม่มีเชื้อ ไม่มีเงื่อนต่อทั้งเงื่อนต้นเงื่อนปลาย ทั้งอดีต อนาคต แม้แต่ปัจจุบันก็รู้เท่าทัน ไม่ได้ยึดได้ถือ สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ถือมั่นแล้ว เพราะได้รู้ประจักษ์ใจแล้ว

เมื่อรู้ประจักษ์ใจและปล่อยวางหมดแล้ว มีธรรมอะไรที่ไม่ใช่อนัตตา ไม่ใช่อัตตา คือ วิสุทธิธรรม วิสุทธิจิต จะเรียกวิสุทธิจิตก็ได้ จะเรียกวิสุทธิธรรมก็ได้ จะเรียกนิพพานก็ได้ ไม่มีปัญหาอะไรเมื่อถึงตัวจริง ไม่มีกิเลสสมมุติใด ๆ เข้ามาขัดขวางแล้ว เรียกไม่เรียกก็ไม่มีปัญหาอะไรทั้งนั้น เพราะจิตหลุดพ้นจากปัญหาความยุ่งเหยิงทั้งมวลไปแล้ว ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-06-2020 เมื่อ 11:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #437  
เก่า 05-06-2020, 23:57
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตมังสวิรัตด้วยพระญาณหยั่งทราบที่ละเอียดลออ

“... การที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระญาณหยั่งทราบในเหตุการณ์ทั้งปวง ไม่ทรงอนุญาตมังสวิรัตินั้น ต้องทรงทราบในเหตุการณ์ที่ไม่ทรงอนุญาตนี้ได้ดีกว่าสามัญชนที่มีกิเลสทั่ว ๆ ไปคาดคิดกันอยู่มาก พระองค์ต้องทรงทราบทั้งสัตว์มีชีวิตที่กำลังถูกฆ่า และจิตวิญญาณของสัตว์ที่ถูกฆ่าตายไปจะพึงหวังพึ่งบุญพึ่งกรรมต่อไป เช่นเดียวกับมวลสัตว์ทั่วโลกดินแดน หากเนื้อหนังอวัยวะนั้นถูกจำแนกไปในทางที่ดี สัตว์ผู้เป็นเจ้าของก็จะพึงมีส่วนดีไปด้วย.. ไม่ตายเปล่า

เรื่องทำนองนี้ ย่อมเป็นพุทธวิสัยที่จะทรงพิจารณาทราบโดยลำพัง ไม่เป็นสิ่งที่จะนำมาประกาศแก่โลก อันเป็นการส่งเสริมปาณาติบาตให้กำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะปกติโลกก็ทำกันอยู่แล้วก่อนแต่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ โดยไม่มีใครหักห้ามได้ ซึ่งเท่ากับกั้นน้ำมหาสมุทรด้วยฝ่ามือนั่นแล

บรรดาพระอรหันต์องค์ไหนจะไม่รู้อย่างนั้นไม่มี พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จึงไม่ทรงห้ามการฉันเนื้อฉันปลา เพราะเป็นสิ่งที่สุดวิสัย เราพูดได้เพียงเท่านั้น ลึกลับกว่านั้นพูดไม่ได้ รู้เต็มหัวใจพูดไม่ได้ นั่นว่าไง กิเลสก็สนุกออกลวดลายซิ ออกมาอวดตัวว่าบริสุทธิ์เพราะไม่ฉันเนื้อฉันปลา เรื่องมังสวิรัติเป็นลวดลายของกิเลส กิเลสไม่ได้ละเอียดลอออะไรพอจะไปให้อภัยในส่วนลึกลับอย่างนั้น กิเลสมันไม่รู้นี่ แต่จิตที่ประกอบด้วยธรรมแล้วปิดไม่อยู่ ความจริงมีอยู่ตรงไหนรู้ตรงนั้น ๆ เห็นตรงนั้น

พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นท่านพูดนิด ๆ เกี่ยวกับเรื่องฉันเนื้อฉันปลานี่แหละ ฉันอะไร ๆ ก็ไม่ได้คิด ฉันเหล่านี้มันได้คิด แต่มันสุดวิสัยที่จะแก้ สุดวิสัยที่จะหักห้ามไม่ให้เป็นอย่างนี้ โลกเป็นเหมือนน้ำมหาสมุทรมาดั้งเดิมอย่างนั้น ใครจะไปแยกไปแยะตักตวงเอามาใช้อะไร ๆ ก็แล้วแต่บุคคลที่จะนำมาใช้ ที่จะไปกั้นน้ำมหาสมุทรไม่ให้ไหลไม่ได้ ท่านพูดแย็บเท่านั้น

หลัง ๆ มานี้เราก็มาเข้าใจซิ พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านพูดไม่ออก ท่านก็รู้เหตุรู้ผลว่าการพูดออกไปมีแง่หนักเบาได้เสียขนาดไหน ผู้ฟังจะไม่ฟังไปตามความจริงที่รู้ ๆ นั้น มันจะแหวกแนวไปดังที่แหวกแนวอยู่ทุกวันนี้ เอาออกโอ้ออกอวดเรื่องมังสวิรัติ

ใครจะไปเกินพระพุทธเจ้า เรื่องความรู้ในแง่หนักเบาทุกแง่ทุกมุม ไม่อย่างนั้นจะเป็นสัพพัญญูเหรอ พวกไหนใครเป็นสัพพัญญู พวกประกาศตนป้าง ๆ ว่าฉันมังสวิรัติจึงเป็นเมตตาที่บริสุทธิ์ นี่หรือพวกมังสวิรัติ พวกกิเลสเหยียบหัวไม่ว่า เอาลวดลายกิเลสมาเป็นเครื่องมือเหยียบย่ำทำลาย เพียงไม่ฉันเนื้อฉันปลาเท่านั้นแต่จิตเป็นยังไง มันอยู่ที่จิตนี้ต่างหากนี่ อันนี้เพียงเอามาอวดได้แค่กิริยาเท่านั้น ท่านผู้ฉันท่านจิตบริสุทธิ์ขนาดไหน นั่นเอามาเทียบกันซิ มันเข้ากันได้เมื่อไหร่

พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านว่า มันสุดวิสัยจะทำยังไง ส่วนที่เป็นวิสัยใครก็มองไม่เห็น นั่นฟังซิ นี่ที่สำคัญมาก คือตายไม่ให้มันตาย ไม่อยากตายไม่อยากถูกเบียดเบียน ไม่อยากให้ใครฆ่าแต่เขาก็ฆ่า นี่มันสุดวิสัยอันนี้ โลกเป็นมาอย่างนี้แต่ดั้งเดิม ส่วนที่ไม่สุดวิสัยอีกแง่มุมหนึ่ง.. ไม่มีใครรู้ ท่านว่าอย่างนี้ พูดออกมาก็ไม่เกิดประโยชน์..”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-06-2020 เมื่อ 02:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #438  
เก่า 06-06-2020, 12:59
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่มั่นฝัน

“... ในบุพพสิกขามีอยู่ว่า “พระอรหันต์นอนหลับแล้วไม่ฝัน” ว่างั้น เราก็เป็นแต่เพียงจำเอาไว้ไม่ได้พิจารณา พระอรหันต์นอนหลับแล้วไม่ฝัน นี่อันหนึ่ง เรื่องความฝันนี้ก็เป็นเรื่องของธาตุของขันธ์นี่.. ทำไมฝันไม่ได้ นี่เป็นเรื่องของขันธ์ ๕ แท้ ๆ ขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่กระดุกกระดิกได้เหมือนทั่ว ๆ ไป ทำไมพระอรหันต์จะฝันไม่ได้ นี่ซิ เอาเหตุผลมาจับกันตรงนี้

เอ้า .. พิจารณาธาตุขันธ์ให้ชัดเจนซิ ทั้งจิตด้วย ทั้งขันธ์ ๕ นี้ด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ด้วย ท่านบรรลุมรรคผลนิพพาน ท่านสังหารขันธ์ ๕ นี้ให้ฉิบหายไปแล้วเหรอ ? ขันธ์ ๕ นี้จึงดีดดิ้นไม่ได้ การดีดดิ้นได้ก็ฝันได้ล่ะซิ นั่นจะว่าไง ขันธ์เป็นขันธ์นี่.. ทำไมจะฝันไม่ได้ นี่ซิมันน่าคิดอยู่ คิดละซิที่นี่ ใครจะว่าเป็นทิฐิก็ตาม มันคิดก็บอกว่าคิด.. เรา

เรื่องความฝันนี้ก็เป็นเรื่องของธาตุของขันธ์ ทำไมพระอรหันต์จะฝันไม่ได้ ขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่กระดุกกระดิกได้เหมือนทั่ว ๆ ไป ท่านบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ท่านสังหารขันธ์ ๕ นี้ให้ฉิบหายไปแล้วเหรอ ? ขันธ์ ๕ นี้จึงดีดดิ้นไม่ได้ การดีดดิ้นได้ก็ฝันได้ล่ะสิ ขันธ์เป็นขันธ์ ทำไมจะฝันไม่ได้

พูดตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ ก็อย่างที่หนองผือ พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านกั้นห้องศาลาอยู่ วันนั้นท่านไม่ค่อยสบาย ท่านเป็นหวัดใหญ่ ธาตุขันธ์มันไม่ค่อยสบาย เราจึงเดินจงกรมอยู่ข้าง ๆ ศาลาตรงไปทางห้องที่ท่านพักนั่น แล้วท่านนอนหลับ ท่านละเมอไป เดินจงกรมอยู่ข้าง ๆ ได้ยินเสียงผิดปกติ เอิ๊กอ๊าก เราเลยปุ๊บปั๊บจะวิ่งขึ้นไปหาท่าน แต่ท่านก็เร็วนะ พอรองเท้าปุบปับ ๆ ท่านคงได้ยินเสียงเราเดินฉั้บฉั้บ ๆ เข้าไป ท่านก็เลยกึ๊กกั๊กขึ้นว่า ‘ใครมานั่น’

เราก็กราบเรียนท่านว่า ‘ผมมหา ได้ยินเสียงพ่อแม่ครูอาจารย์ดังผิดปกติ’

‘อ๋อ ! ฝันละซิ ฝันเมื่อกี้นี้ ฝันเรื่องเกี่ยวกับหมา ดุหมา ไล่หมา’ ท่านว่า...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-06-2020 เมื่อ 18:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #439  
เก่า 06-06-2020, 13:11
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ยาเสพติด ฝิ่น กัญชา กับพระอรหันต์


“... อย่างยาเสพติดนี่นะ จะเป็นสุรายาเมา ฝิ่นกัญชา ยาเสพติดประเภทใดก็ตาม ไม่ว่าธาตุขันธ์ใด ไม่ว่าธาตุขันธ์ของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าธาตุขันธ์ของพระอรหันต์ เหมือนกับธาตุขันธ์ของพวกเรา เวลาเอาอันนี้เข้าไปกิน เมื่อมันเคยมันชินแล้วติดได้ด้วยกัน พระพุทธเจ้าไม่ติด ความเป็นพระอรหันต์บริสุทธิ์นั้นไม่ติด แต่ระหว่างขันธ์กับสิ่งเหล่านี้เป็นสมมุติด้วยกันมันไม่ใช่พระพุทธเจ้า เข้าใจไหม มันไม่ใช่อรหันต์ มันเป็นสมมุติ เช่นยาเสพติดกับลิ้นเรานี้มันก็เป็นสมมุติ มันเหมาะกัน มันซัดกันได้แล้วติดได้เข้าใจไหม เอายาเสพติดไปให้พระอรหันต์กินก็เอาไปซิ ติดด้วยกัน แต่หมายถึงว่าลิ้นกับยานี้ติดเท่านั้น เรื่องจิตของท่านไม่มีทางที่จะให้ติด เข้าใจไหม ...

เวลากิเลสมีอยู่ ไม่ว่ารูปว่ากาย ว่าเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เสริมให้กิเลสเกิดตลอด พอกิเลสสะบั้นขาดลงไปนี้.. เป็นขันธ์ล้วน ๆ ไม่เป็นกิเลส นี่ละธรรมเกิดอย่างนั้น... ขันธ์นี่เหมือนโลกทั่ว ๆ ไป ไม่มีอะไรผิดแปลกต่างกันนะ ขันธ์โลกเป็นยังไง ขันธ์ของพระพุทธเจ้า ของพระอรหันต์ ก็เป็นแบบเดียวกัน เป็นแต่เพียงว่าเป็นขันธ์ล้วน ๆ ไม่มีกิเลสเจือปน การเป็นอยู่หลับนอนอะไร ๆ เหมือนกันหมด คือความรู้ที่อยู่ในขันธ์ วงขันธ์นี้เท่านั้น ที่เป็นอยู่ในขันธ์.. ความรู้ที่รับทราบตลอดเวลาในขันธ์นี้ คือความรู้ที่เกี่ยวกับขันธ์เวลามีชีวิตอยู่ สำหรับความบริสุทธิ์นั้นเรียกว่า.. ทุกอย่างขาดสะบั้นไปหมดตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ธรรมหรือบรรลุธรรม

เรื่องขันธ์นี้มันเป็นเหมือนโลก ยังบอกแล้วเช่นอย่างยาเสพติด ลองดูซิน่ะ ขันธ์ใครก็ตาม เพราะขันธ์นี้เป็นสมมุติด้วยกัน ติดได้ไม่สงสัย ไม่ว่าขันธ์ปุถุชน ไม่ว่าขันธ์ของพระอรหันต์ ขันธ์ของพระพุทธเจ้า ยาเสพติดเข้าไปในขันธ์นี้มันเข้ากันได้เสมอกัน เพราะฉะนั้นพูดได้ยันเลยว่า ปุถุชนแน่ใจแล้วว่ากินยาเสพติดนั้นติด พระอรหันต์ใครว่าไม่ติด.. ติด ขันธ์ของท่านติด แต่ดวงใจของท่านอรหันต์ไม่ติด ขันธ์ของท่านติด ขันธ์ของพระพุทธเจ้าติด แต่พระพุทธเจ้าไม่ติดยาเสพติด ให้เข้าใจอย่างนั้นซิ แยกอย่างนั้นซิ เพราะเหล่านี้เป็นเรื่องของสมมุติก็ต้องเป็นแบบสมมุติไป

เพราะฉะนั้น ท่านจึงห้าม เมื่อมีความรับผิดชอบในธาตุในขันธ์ของตนจากความบริสุทธิ์ของใจแล้ว ท่านจะไม่แตะต้องสิ่งเหล่านี้ ท่านรักษาได้เข้มงวดกวดขัน ถ้ากินลงไปติดเหมือนกัน เข้าใจเหรอ ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์แล้วไม่ติด อย่าเข้าใจผิดนะ นี่ถอดออกมาจากหัวใจ ฟังให้ชัดเจนนะ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเหมือนโลกทั่ว ๆ ไป เป็นแต่เพียงว่าจิตเป็นอันหนึ่งต่างหาก ผ่านไปหมดแล้ว รับผิดชอบอยู่นั้นแต่ไม่ใช่อันนั้น มันเป็นหลักธรรมชาติของมัน เรื่องของขันธ์ก็เป็นไปตามขันธ์ อะไรควรชอบ อะไรไม่ควรชอบ อันนั้นดี อันนี้ไม่ดี รักอันนั้น ไม่รักอันนั้น อยู่ในวงขันธ์ทั้งนั้น.. เข้าใจไหม ธรรมชาตินั้นไม่มี ให้พากันเข้าใจนะ... เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงห้ามตลอดไปเลย สิ่งที่เป็นภัยพระพุทธเจ้าทราบหมด .. พวกยาเสพติดนั้นสงเคราะห์เข้าในสุราเลยทันที ไม่ต้องไปหามาจากที่ไหน อันนี้เป็นภาคที่เป็นพิษเป็นภัย เข้าในสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัย ห้ามในทางพระวินัยทันทีเลย...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 06-06-2020 เมื่อ 20:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #440  
เก่า 06-06-2020, 23:49
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

จิตเดิมแท้

“... จิตแท้นี้ต้องเป็น “ความบริสุทธิ์” หรือ “สอุปาทิเสสนิพพาน” ของพระอรหันต์ท่านเท่านั้น นอกจากนี้ไม่อาจเรียก “จิตแท้” อย่างเต็มปากเต็มใจได้ สำหรับผู้แสดงกระดากใจไม่อาจเรียกได้

“จิตดั้งเดิม” หมายถึงจิตดั้งเดิมแห่ง “วัฏฏะ” ของจิตที่เป็นอยู่นี่ซึ่งหมุนไปเวียนมา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหลักธรรมว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จิตเดิมแท้ผ่องใส” นั่น ! “แต่อาศัยความคละเคล้าของกิเลสหรือกิเลสจรมา จึงทำให้จิตเศร้าหมอง” ท่านว่า

“จิตเดิมแท้” นั้นหมายถึงเดิมแท้ของสมมุติต่างหาก ไม่ได้หมายถึงความเดิมแท้ของความบริสุทธิ์ เวลาท่านแยกออกมา “ปภัสสรมิหัง จิตตัง ภิกขเว” “ปภัสสร” หมายถึง ประภัสสร คือความผ่องใส ไม่ได้หมายถึงความบริสุทธิ์ นี่หลักเกณฑ์ของท่าน.. พูดถูกต้องหาที่แย้งไม่ได้เลย ถ้าว่าจิตเดิมเป็นจิตที่บริสุทธิ์นั้นจะมีที่ค้านกันว่า “ถ้าบริสุทธิ์แล้วมาเกิดทำไม ?” นั่นแน่ะ!

ท่านผู้ชำระจิตบริสุทธิ์แล้วท่านไม่ได้มาเกิดอีก ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วชำระกันทำไม ? มันมีที่แย้งกันตรงนี้ จะชำระเพื่ออะไร ? ถ้าจิตผ่องใสก็ชำระ เพราะความผ่องใสนั้นแลคือตัว “อวิชชาแท้” ไม่ใช่อื่นใดผู้ปฏิบัติจะทราบประจักษ์ใจของตน ในขณะที่จิตได้ผ่านจากความผ่องใสนี้ไปแล้วเข้าถึง “วิมุตติจิต” ความผ่องใสนี้จะไม่ปรากฏตัวเลย นั่น ! ทราบได้ตรงนี้อย่างประจักษ์กับผู้ปฏิบัติ และค้านกันได้ก็ค้านกันตรงนี้ เพราะความจริงนั้นจะต้องจริงกับใจของบุคคล เมื่อใครทราบใครรู้ก็ต้องพูดได้เต็มปากทีเดียว

ฉะนั้น จิตของพวกเรากำลังตกอยู่ในวงล้อม ทำให้หวาดให้กลัว ให้รักให้ชัง ให้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างชื่อว่าเป็นอาการของสมมุติ เป็นอาการของกิเลสโดยสิ้นเชิง ตัวเราเองไม่ได้พลังจิตเป็นของตนเอง มีแต่พลังของกิเลสตัณหาอาสวะ มันผลักมันดันอยู่ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเราจะหาความสุขความสบายมาจากที่ไหน เมื่อธรรมชาตินี้ซึ่งเป็นของแปรสภาพอยู่ตลอดเวลา ยังมายั่วยุจิตให้เป็นไปตามอีกด้วยโดยที่เราไม่รู้สึก

โลกนี้จะหาความสุขที่ไหน หาไม่ได้ ถ้าไม่ได้ถอดถอนธรรมชาติเหล่านี้ออกจากจิตใจโดยสิ้นเชิงเสียเมื่อไร จะหาความทรงตัวอยู่อย่างสบายหายห่วงไม่ได้เลย จะต้องกระดิกพลิกแพลงหรือต้องเอนโน้นเอนนี้ ตามที่มาเกี่ยวข้องยั่วยวนมากน้อย ฉะนั้นท่านจึงสอนให้ชำระจิต ซึ่งเป็นการชำระความทุกข์ทรมานของตนนั้นแล

ไม่มีผู้ใดที่จะหยั่งถึงหลักความจริงได้อย่างแท้จริงดั่งพระพุทธเจ้า มีพระองค์เดียวที่เรียกว่า “สยัมภู” โดยไม่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้หนึ่งผู้ใดเลย ในการแก้กิเลสออกจากพระทัยของพระองค์ ทรงทำหน้าที่ทั้งเป็นนักศึกษาและเป็นครูไปในตัวลำพังพระองค์เดียว จนได้ตรัสรู้ถึงขั้น “ยอดธรรม ยอดคน ยอดศาสดา”

ส่วนทางสมาธิด้านความสงบนั้น ท่านคงได้ศึกษาอบรมมาบ้างเหมือนกันกับดาบสทั้งสอง ไม่ปฏิเสธ แต่นั่นไม่ใช่ทางถอดถอนจิตจนถึงความเป็น “สัพพัญญู” ได้ เวลาจะเป็น “สัพพัญญู” ก็เสด็จจากดาบสทั้งสองไปบำเพ็ญลำพังพระองค์เดียว และทรงรู้เองเห็นเองโดยไม่มีครูสั่งสอนเลย แล้วนำธรรมนั้นมาสั่งสอนโลก...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-06-2020 เมื่อ 02:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 8 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
พี่เสือ (07-06-2020), สุธรรม (07-06-2020)
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:45



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว