#1
|
|||
|
|||
การเจ็บป่วยเป็นของธรรมดา
การเจ็บป่วยเป็นของธรรมดา
๑. “มองร่างกายที่ป่วยอยู่ก็จักต้องรู้ว่าป่วย มิใช่ว่าจักไม่รู้นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะร่างกายยังมีวิญญาณเป็นเครื่องรักษา จิตละเอียดมากขึ้นแค่ไหน ยิ่งรู้ร่างกายป่วยด้วยอาการเช่นไรมากขึ้นแค่นั้น เพียงแต่ว่า ท่านรู้ก็สักเพียงแต่ว่ารู้ ไม่เดือดเนื้อร้อนใจไปกับอาการทุกขเวทนาของร่างกายนั้น ๆ การหาหมอการเยียวยาก็ทำไปตามหน้าที่ ทำได้เป็นปกติและมีความรู้สึกเจ็บ รู้สึกปวดตามปกติ เมื่อเป็นอย่างนี้เมื่อพวกเจ้าเจ็บป่วยขึ้นมาบ้าง การรู้สึกเจ็บรู้สึกป่วยก็เป็นธรรมดา อย่าคิดว่าผิดธรรมดา เรื่องอย่างนี้ไม่จำเป็นต้องปิดบัง หรือเก็บงำเอาไว้ ป่วยแล้วจักบอกคนอื่นว่าไม่ป่วย ก็คือว่าฝืนธรรมดา หรือแม้แต่ป่วยแล้วยังหลอกจิตตนเองว่าไม่ได้ป่วย ก็ฝืนธรรมดาอีกนั่นแหละ พิจารณาอย่างไรให้ลงกฎธรรมดาเข้าไว้ แล้วจิตจักสบาย” ๒. “การดูร่างกายป่วยด้วยอารมณ์จิตที่มีความสบาย คือดูด้วยความยอมรับกฎของธรรมดาของร่างกาย ความสุข ความสงบของจิตมีได้ ๒ ประการ คืออารมณ์เป็นสุขเนื่องจากณานหรือสมถะภาวนานั้น ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง สุขด้วยกำลังของวิปัสสนาญาณ แต่จักเห็นความแตกต่างกันไปว่า การกำหนดสมถะ อาทิเช่น การกำหนดจิตมุ่งสู่พระนิพพานด้วยกำลังของรูปฌานนั้น มีอารมณ์หนักและมีความกังวลคอยควบคุมดูอยู่ ว่าภาพนั้นจักหายหรือไม่ ต่างกับกำลังของวิปัสสนาญาณที่ค่อย ๆ พิจารณาร่างกายตามความเป็นจริง เมื่อจิตวางร่างกายจิตก็เบา และจักตัดการเกาะติดในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก จิตจักพุ่งตรงไปสู่พระนิพพานเองด้วยความเบาใจเป็นอย่างมาก พึงสังเกตอารมณ์ ๒ จุดนี้ไว้ให้ดี ทำสลับกันไปสลับกันมา เพื่อให้จิตทรงตัว” ๓. “อย่าติดในขันธ์ ๕ ของบุคคลอื่น ยิ่งพระอรหันต์ท่านทิ้งแล้ว จิตของท่านหมดภาระจากขันธ์ ๕ แล้ว เอาจิตระลึกถึงความดีของท่าน ปฏิบัติตามท่านให้ได้มรรคผลตามนั้น นี่แหละจึงจักเรียกว่าเข้าถึงพระอริยสงฆ์อย่างแท้จริง อย่าหลงในขันธ์ ๕ ของท่าน มีโอกาสไปก็ไปตามหน้าที่ เมื่อไม่มีโอกาสไปก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เอาจิตน้อมถึงท่านได้เป็นดี” (ทรงเตือนเพราะมีบุคคลจำนวนมากที่ไปติดขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ แต่ไม่ยอมติดความดีของท่าน จิตมีความวิตกกังวล เมื่อไม่มีโอกาสไปงานเผาศพท่านจนเกินพอดี) ๔. “ให้สังเกตดูว่า การฟังธรรมแล้วลืมนั้นเป็นการฟังด้วยสัญญา มิใช่การฟังด้วยปัญญา คือเป็นการฟังแค่ผ่านไป ไม่ได้ฟังแล้วนำมาใคร่ครวญพิจารณา ฟังก็ฟังแค่ผ่านไป ฟังโดยไม่ได้ตั้งใจจำ เหตุนั้นจึงเป็นสัญญา ต่างกับการฟังอย่างรู้เรื่องด้วย ติดตามเรื่องด้วย เห็นอริยสัจตามนั้น โดยน้อมเข้ามาในจิตแท้ ๆ จิตมีความเห็นพ้องในอริยสัจนั้น นั่นแหละจิตจึงจักเข้าถึงคำว่าปัญญา เพราะจิตยอมรับนับถือเรื่องของขันธ์ ๕ อย่างจริงใจ ศึกษาเรื่องสัญญากับปัญญาให้ถ่องแท้ด้วย อย่าจำเอาแต่ตัวหนังสือว่าปัญญาคืออะไร ประเดี๋ยวจักได้แต่การติดตำรา” ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 21-11-2011 เมื่อ 10:21 |
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|