กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน

Notices

ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #221  
เก่า 23-12-2013, 14:58
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

รับผิดชอบชีวิตหมู่เพื่อน

ในช่วงที่อยู่วัดป่าบ้านหนองผือนี้ มีเหตุการณ์ที่เป็นเหตุบังเอิญ หรืออุบัติเหตุที่ทำให้ท่านต้องคันคาย หรือเจ็บปวดตามร่างกายดังนี้

“... ท่านอาจารย์จันทร์โสม ท่านเป็นพระบ้าน ท่านอยู่บ้านนาสีดา ท่านออกประพฤติปฏิบัติกรรมฐานมานานแหละ คุ้นเคยกันกับเรา เรียกว่าท่านเป็นรุ่นน้องเรา เคยอยู่วัดหนองผือด้วยกัน ก็พอดีเรื่องมันไปสัมผัส ท่านทำกระติกน้ำด้วยไม้นะ เจาะคว้านข้างในออกหมด แล้วท่านก็ติดกาวหรืออะไรไม่รู้แหละ


ที่นี้ท่านก็เอาน้ำรัก เขาเรียกน้ำเกลี้ยง* ทาข้างนอก น้ำรักมันคันนะ น้ำเกลี้ยงมันคัน ครั้นทำแล้วท่านก็ไปขุดหลุมไว้ข้างทาง นี่เป็นทางจงกรมของเรา เราเข้าไปเดินจงกรมอยู่ในป่าผ่านไปผ่านมา หลุมนั้นอยู่ทางโน้นนะ ไกลกันอยู่

เราก็เดินผ่านไปผ่านมา ท่านขุดหลุมเอาไว้ แล้วท่านเอาน้ำรัก เอาน้ำเกลี้ยงที่มันคัน ๆ น่ะ ทากระติกเสร็จแล้วท่านเอาไปแขวนไว้ที่หลุม เพื่อให้มันได้รับอากาศรอบตัวมัน ท่านก็ไปแขวนไว้นู้น ที่นี้เราเข้าไปเดินจงกรมในป่า มันคันจะตายทีนี้ คันผิดปกติ พอดีไปเจอกับท่าน ตอนนั้นเราก็แน่ใจเฉย ๆ ละว่าไม่มีน้ำเกลี้ยงน้ำเกิ้งน้ำรักอะไรละ

‘ท่านโสม ผมเป็นอะไรไม่รู้นะ มันคันเหมือนน้ำเกลี้ยงนี่นะ มันคันหมดตัวเวลานี้ มันเป็นยังไง ดูซิน่ะ มันคันได้ยังไง มันคันเหมือนน้ำเกลี้ยงนะ’

‘โอ๋ย.. น้ำเกลี้ยงมีอยู่’

‘มียังไง ว่ามาซิ’

‘อู๊ย.. ผมเอามาทานี้เลย ผมไปทำเป็นหลุมตรงโน้น มีหลุม ๆ ที่ท่านทำไว้ ท่านเอาไปแขวนไว้นี่นะ ให้มันได้อากาศรอบตัวมันแห้งง่าย’

‘ไหนพาไปดูซิ’

พอไปดูก็เห็นแขวนอยู่ โอ้.. อันนี้เอง อย่างนั้นท่านยอมรับเลยนะ

ท่านโสมไปทำ เราเป็นคนคัน เราก็บอกว่าเราคัน เหมือนคันน้ำเกลี้ยงเราว่า มันเป็นยังไง น้ำเกลี้ยงที่ไหนจะมี มี ๆ ท่านว่างั้น ผมทำแล้ว.. ผมไปไว้ที่นั่น ไหนไปดู ดูก็มีจริง ๆ นี่วัดท่านโสมที่อยู่หนองผือด้วยกัน...”

================================================================

* น้ำเกลี้ยง มีน้ำยางที่เป็นพิษรุนแรง คนที่แพ้ หรือถูกน้ำยางจากต้น หรือละอองเกสร จะทำให้เกิดผื่นคัน.. ปวดแสบปวดร้อนมาก

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-12-2013 เมื่อ 15:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #222  
เก่า 06-01-2014, 11:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

อีกคราวหนึ่ง เป็นเหตุการณ์ที่ท่านอดทนยอมเจ็บปวดคนเดียวแทนท่านพระอาจารย์แดง ท่านกล่าวว่า เป็นสัญชาตญาณของความรับผิดชอบชีวิตหมู่เพื่อน ดังนี้

“...ระลึกถึงตอนที่อยู่หนองผือกับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น อันนั้นแตนทั้งรังเลย เขาเรียกแตนอะไร แตนเหลืองต่อยปวด ๆ น่ะ คือเอาต้นเสานี้ละ แบกสองคน เรา (องค์หลวงตา) กับท่านแดง


ท่านแดงยกนี่ขึ้น เราก็ยกนี่ขึ้น แตนมันออกมาฟาดเราเสียจนหมู่เพื่อน (ร้อง) ว่า

‘แตนต่อยท่านอาจารย์ ๆ’


เราเฉยเลย เพราะถ้าเรากระดุกกระดิก ทางนู่นคอหัก ทิ้งไม้คอหักใช่ไหมล่ะ จึงต้องเฉยเลย

‘มันไม่ต่อยครูอาจารย์บ้างเหรอ’

‘ไม่ต่อยยังไง’ แตนต่อยปวดเสียด้วย เป็นชนิดปวดมาก

นั่นละ สัญชาตญาณรับผิดชอบกัน มันจะต่อยเราทางไหนเอา ผู้นั้นหันหลังให้เราไม่รู้ สมมุติว่าเราปล่อยปุ๊บนี้ อันนี้ทับอันนั้นลง...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-01-2014 เมื่อ 15:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #223  
เก่า 08-01-2014, 15:33
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default



๕. สละชีวิต.. ต่อสู้กิเลส

การบำเพ็ญจิตตภาวนาขององค์หลวงตา มีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับด้วยอุบายธรรม อันลึกซึ้งแยบคายของหลวงปู่มั่น กำลังจิตใจขององค์หลวงตาพุ่งทะยานถึงขั้นที่ว่า

“ถ้ากิเลสไม่ตาย เราก็ต้องตายเท่านั้น”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #224  
เก่า 15-01-2014, 11:22
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ก้าวเดินทางปัญญา

ติดสุขในสมาธิ ๕ ปี

ย้อนกลับมากล่าวถึง การโหมความพากเพียรในพรรษาที่ ๑๐ ขององค์หลวงตา จนทำให้ผลแห่งสมาธิของท่านในระยะนั้น มีความแน่นหนามั่นคงมาก ดังนี้

“...จิตมีความเจริญขึ้นเรื่อย ๆ สมาธิมีความแน่นหนามั่นคง ถึงขนาดที่ว่าจะให้แน่วอยู่ในสมาธินั้นสักกี่ชั่วโมงก็อยู่ได้ และเป็นความสุขอย่างยิ่งจากการที่จิตใจไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่อยากจะออกยุ่งกับอะไรเลย


ตาก็ไม่อยากดู หูก็ไม่อยากฟัง เพราะมันเป็นการยุ่งกวน รบกวนจิตใจให้กระเพื่อมเปล่า ๆ แต่มีความพอใจยินดีอยู่กับการที่จิตหยั่งเข้าสู่ความรู้อันเดียวแน่วอยู่อย่างนั้น นี่ละ.. มันทำให้ติดได้อย่างนี้นี่เอง

จนขนาดที่ว่า สุดท้ายก็นึกว่าความรู้ที่เด่น ๆ อยู่นี้เองจะเป็นนิพพาน สุดท้ายมันก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นละ จนกระทั่งวันตายก็จะต้องเป็นสมาธิ และติดสมาธิจนกระทั่งวันตาย...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-01-2014 เมื่อ 05:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #225  
เก่า 05-02-2014, 10:01
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ท่านกล่าวว่า ท่านติดสมาธิอยู่เช่นนั้นถึง ๕ ปีเต็ม ยังไม่ยอมก้าวเข้าสู่ขั้นปัญญาเพื่อถอดถอนกิเลสออกให้สิ้นซาก ดังนี้

“…ความคิดทั้งหลายที่เราเพลินแต่ก่อนกลับเป็นพิษนะ เวลาความสงบมีมากเข้า คิดไม่อยากคิดมันกวนใจ นั่นเห็นไหม... เพียงแย็บเท่านั้นกวนใจแล้ว อันนี้แนวนี้ไม่มีอะไรกวนนี้ สบายกว่ามาก อันที่คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ยิบ ๆ แย็บ ๆ นั่นกวนใจ นั่นเห็นไหม ที่นี่มันกลับตรงกันข้ามแล้วนะ แต่ก่อนความคิดนี้เป็นบ้าไปกับมันเลย แล้วกลับมาความคิดนี้กวนใจ ต่อจากนั้นไม่อยากคิด อยู่ทั้งวันแน่วอยู่ด้วยความสงบ จิตนี้เป็นอันเดียวเท่านั้นก็เหมือนวิเศษมากอยู่นะ เพียงความรู้อันเดียว
นี้

"ทั้ง ๆ ที่กิเลสมันก็ฝังอยู่ในนั้น แต่กิเลสมันไม่ออก ความฟุ้งซ่านวุ่นวายอะไรไม่ออก มีแต่ความสงบ.. ตีหัวมันไว้ครอบหัวมันไว้มันก็สบาย เพราะฉะนั้น ผู้มีสมาธิจึงติด ติดสมาธิ มันไม่อยากคิดอยากปรุงอะไร.. มันสบาย อยู่ที่ไหนอยู่ได้หมด นั่งนี้ไม่ได้กำหนดเวล่ำเวลานะ คือความรู้ความสะดวกสบายมันอยู่กับเจ้าของตลอดเวลานี่ จะไปหากาลสถานที่เวล่ำเวลาอะไรมากวนมัน มันก็ ‘อยู่งั้น’

"...ฝึกทรมานให้จิตสงบนี้ก็เป็นกองทุกข์อันหนึ่งเหมือนกัน พอจิตสงบได้แล้วก็ขยับเข้าไปอีก แต่มันก็มาเพลินลืมตัวอยู่ ตอนที่จิตเป็นสมาธิแล้ว.. มันลืมตัวก็ยอมรับว่าลืมตัว ที่ว่าติดสมาธิอยู่ ๕ ปีน่ะ.. มันลืมตัว คือมันสบาย ไม่ยุ่งกับรูป กับเสียง กับกลิ่น กับรส กับอะไรเลย มีแต่ความสงบเย็น พอเข้าแน่วเลย เพราะมันอยากเข้าอยู่ตลอดเวลา ไม่อยากออก เข้าไปนั้นแล้วมันไม่มีอะไรนี่ เหลือแต่ความรู้อันเดียวแน่ว สุดท้ายก็ว่า นี่ละ จะเป็นนิพพาน ๆ ไปอย่างนั้น นั่นเรียกว่านอนใจ มีสบายบ้างก็ตรงนี้...

‘เราติดสมาธิอยู่ถึง ๕ ปี จิตสงบแน่ว ไม่หวั่นไหวดั่งภูผาหิน อยู่ที่ไหนสงบสบายหมด’...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-02-2014 เมื่อ 10:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #226  
เก่า 12-02-2014, 09:28
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่มั่นไล่ออกจากสมาธิ

คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ผู้รู้จริง มีความสำคัญในทุกระยะของการต่อสู้กับกิเลส สำหรับองค์ท่านเองก็ได้กล่าวยืนยันในเรื่องนี้อย่างถึงใจว่า

หากไม่มีท่านอาจารย์มั่นมาฉุดมาลากออกไป ก็จะติดสมาธิอยู่เช่นนี้กระทั่งวันตายเลยทีเดียว แม้กระนั้นก็ตาม ก็ยังไม่ยอมลงใจง่าย ๆ กลับมีข้อโต้แย้งหาเหตุหาผลกับท่านอาจารย์มั่นชนิดตาดำตาแดงทีเดียว จนถึงกับว่าพระทั้งวัดแตกฮือกันมา
อยู่เต็มใต้ถุนกุฏิ เพื่อฟังการโต้กับท่านอาจารย์มั่น”

ท่านไม่ได้โต้ครูบาอาจารย์ด้วยทิฐิมานะ อวดรู้อวดฉลาด แต่เป็นการโต้ด้วยความที่ท่านมีความเข้าใจ และเชื่อมั่นว่าอันนี้ก็เป็นของจริงอันหนึ่งของท่าน ส่วนหลวงปู่มั่นก็จริงอันหนึ่งของท่านเช่นกัน จึงเป็นการโต้เพื่อหาเหตุหาผล หาหลักเกณฑ์จริง ๆ แต่สุดท้ายท่านก็ยอมหมอบราบต่อเหตุผล ต่อความแยบคายด้วยความรู้จริงเห็นแจ้งของครูบาอาจารย์

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-02-2014 เมื่อ 19:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #227  
เก่า 13-02-2014, 11:23
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

การโต้หาความจริงในครั้งนั้นของท่าน เริ่มด้วยคำถามของหลวงปู่มั่นดังนี้

“...ท่านถามว่า ‘เป็นยังไงท่านมหา จิตสงบดีอยู่เหรอ ?


เราก็บอก ‘สบายดีอยู่ สงบดีอยู่’

ท่านก็นิ่งไป สักเดี๋ยวท่านก็ถามขึ้นอีกว่า ‘เป็นยังไง..จิตสงบดีอยู่เหรอ ?’

เราก็ตอบว่า ‘สงบดีอยู่’ คือไม่ทราบว่า ท่านจะเอาแง่ไหน

พอถึงขั้นที่ท่านจะเอาแล้วก็ว่า ‘ท่านจะนอนตายอยู่นั่นเหรอ ? สมาธิมันเหมือนหมูขึ้นเขียง มันถอดถอนกิเลสตัณหาที่ตรงไหน ? สมาธิทั้งแท่งเป็นสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหม ? สุขในสมาธิเท่ากับเนื้อติดฟัน เนื้อติดฟันเรามันเป็นสุขที่ไหน ? ท่านรู้ไหม ? ๆ ๆ’ ท่านซัดเข้าไปอย่างหนัก ไล่ออกจากการติดสมาธิ

ทางเราก็งัดวิชาออกมาสู้ท่านว่า ‘ถ้าว่าสมาธิเป็นสมุทัยทั้งแท่ง แล้วสัมมาสมาธิจะให้เดินที่ไหนในมรรคแปด

‘มันก็ไม่ใช่สมาธิตาย นอนตายอยู่อย่างนี้ซิ สมาธิของพระพุทธเจ้า.. ไม่ได้เป็นเหมือนสมาธิแบบหมูขึ้นเขียงอย่างท่านนี่นะ สมาธิของพระพุทธเจ้า .. สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอ เป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้า ๆ พูดออกมาซิ’

พอท่านซัดเอา เราก็หมอบ พอลงมาจากท่านแล้วก็มาตำหนิตัวเอง เราทำไมจึงไปซัดกับท่านอย่างนี้ เรามาหาท่านเพื่อหวังเป็นครูเป็นอาจารย์ มอบกายถวายตัวกับท่านแล้ว แล้วทำไมจึงต่อสู้กับท่านแบบนี้ล่ะ

ถ้าเราเก่งมาหาท่านทำไม ถ้าไม่เก่งไปเถียงท่านทำไม เรื่องทิฐิมานะมันไม่มี มีแต่สอดแทรกหาเหตุผลเท่านั้น...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2014 เมื่อ 12:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #228  
เก่า 26-02-2014, 10:44
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สมาธิ ๓ ประเภท

“...สมาธิท่านบอกไว้หลายขั้นหลายภูมิ ขณิกสมาธิ.. รวมชั่วประเดี๋ยวประด๋าวแล้วถอนออกมาเสีย อุปจารสมาธิ.. รวมเฉียด ๆ ตามหลักปริยัติ ท่านแสดงไว้ว่ารวมเฉียด ๆ แล้วก็ถอดเสีย อัปปนาสมาธิ.. รวมอย่างแนบแน่น

แต่ในหลักปฏิบัติที่หากจะควรแทรกได้ เราก็อยากจะแทรกว่า อุปจารสมาธิ นั้นคือเป็นนิสัยของจิตที่ผาดโผนมาก ถ้าหากเราคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว นิสัยของผู้ไปอย่างสงบเรียบร้อยนั้นมีจำนวนถึง ๙๕% นิสัยที่ผาดโผนโจนทะยานนี้มีประมาณสัก ๕% นี่ละประเภท ๕% นี้แหละ เป็นประเภทที่จะแสดงตัวในอุปจารสมาธิ คือรวมลงไปแล้วไม่อยู่กับที่ ถึงที่ก็จริง ถึงกึ๊กแล้วถอยปุ๊บออกมา ออกรู้สิ่งนั้นออกรู้สิ่งนี้ตามจริตนิสัยวาสนาของ ๕% นั้นแล

นี่ท่านเรียกว่า อุปจาระ คือเข้าไปแล้วถอยออกมาและรู้สิ่งต่าง ๆ นานา ไม่ว่าเปรต ว่าผี เทวบุตร เทวดา เหตุการณ์ต่าง ๆ สามารถรู้ได้ ทีแรกก็รู้ผิด ๆ พลาด ๆ ไปเสียก่อน เพราะยังไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น ปฏิบัติก็ยังไม่ถูกต้อง เมื่อหลายครั้งหลายหนผิดก็เป็นครู ถูกก็เป็นครู หลายครั้งหลายหน จิตก็มีความเชี่ยวชาญ มีความชำนิชำนาญ พอแย็บออกมาผิดก็รู้ถูกก็รู้ทันที ๆ นี่ใช้งานได้มาก สำหรับนิสัยของ ๕% นี้ใช้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี นี่เรียกว่าสมาธิ ๓ ประเภท เป็นอยู่ภายในจิตใจของผู้บำเพ็ญจิตภาวนาทั้งหลาย...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-02-2014 เมื่อ 13:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #229  
เก่า 04-03-2014, 14:29
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ตำหนิสมาธิ

ผลแห่งการฝึกสมาธิที่แน่นหนามั่นคงพอตัวแล้ว ท่านเปรียบไว้ว่า ถ้าเป็นประเภทอาหารก็มีทั้งผัก ทั้งเนื้อ ปลา เครื่องปรุงอะไรต่าง ๆ ครบหมดแล้ว จะทำเป็นแกงก็ได้ หุงต้มก็ได้ ทอดก็ได้ เป็นแต่เพียงว่าเอามาแช่ไว้เฉย ๆ ยังไม่ยอมแกง ยังไม่นำมาประกอบให้เป็นอาหารประเภทนั้น ๆ มันก็ทิ้งเกลื่อนอยู่อย่างนั้น สุดท้ายก็เน่าเฟะได้ ท่านว่าเพราะมัวแต่มากินสมาธิว่าเป็นมรรคผลนิพพาน มัวมากินผักกินหญ้าด้วยเข้าใจว่าเป็นแกง ต่อเมื่อออกก้าวเดินทางด้านปัญญาจึงเห็นผลอย่างรวดเร็ว เพราะเท่ากับเอาอาหารประเภทต่าง ๆ เหล่านั้นมาแกงกิน ทำให้เริ่มรู้สึกตำหนิสมาธิว่าไม่เป็นประโยชน์เท่าใด ดังนี้

“...พอออกจากสมาธิ ด้วยอำนาจธรรมอันเผ็ดร้อนของท่านอาจารย์มั่นเข่นเอาอย่างหนัก จึงออกพิจารณา พอพิจารณาทางด้านปัญญา ก็ไปได้อย่างคล่องตัวรวดเร็ว เพราะสมาธิพร้อมแล้ว เหมือนกับเครื่องทัพสัมภาระที่จะมาปลูกบ้านสร้างเรือนนี้มีพร้อมแล้ว เป็นแต่เราไม่ประกอบให้เป็นบ้านเป็นเรือนเท่านั้น มันก็เป็นเศษไม้อยู่เปล่า ๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร นี่สมาธิก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้น เมื่อไม่นำมาประกอบให้เป็นสติปัญญา.. มันก็หนุนอะไรไม่ได้ จึงต้องพิจารณาตามอย่างที่ท่านอาจารย์มั่นท่านเข่นเอา พอท่านเข่นเท่านั้น.. มันก็ออก...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2014 เมื่อ 17:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #230  
เก่า 12-03-2014, 11:34
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ต่อจากนั้นก็ออกทางด้านปัญญา นี่ที่แปลก ตอนมันจะเปิดโลกธาตุแหละ เพียงสมาธินี้ รู้ขนาดไหนก็รู้ ไม่ได้กว้างขวางอะไร.. เต็มภูมิของสมาธิ เหมือนน้ำเต็มแก้วอยู่แค่นั้น จะทำ ‘ยังไง’ ก็ไม่เลยน้ำเต็มแก้ว เอาน้ำมหาสมุทรทะเลมันก็ล้นออกหมด ๆ ไม่เลยไปได้แหละ อันนี้ภูมิสมาธินี้แน่นขนาดไหนก็แค่นั้น น้ำเต็มแก้ว ๆ ให้เลยนั้นไม่ได้นะ

พอออกทางด้านปัญญา มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นสิ ทีแรกความคิดทางด้านปัญญามันก็ไม่อยากคิด กวนใจ แน่ะ... จะคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้มันเป็นการกวนใจ สู้อยู่แน่วไม่ได้ แต่ทีนี้คำสอนท่านสอนว่าอย่างนั้น ครูบาอาจารย์ท่านสอนอย่างนั้น ให้คิดให้พิจารณาทางด้านปัญญา มันก็ฝืนออกไป ฝืนออกไปทั้งที่ไม่อยากออกแหละ บืนออกไปพิจารณา ๆ เรื่องปัญญา เรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี้เป็นทางเดินของปัญญา แต่ก่อนเป็นทางเดินของความสงบเสียก่อน เช่น เกสา โลมา อันเดียวก็ตามสงบได้ในขั้นสมาธิ เอานี้เป็นอารมณ์แห่งสมาธิ ทีนี้พออันนี้พอสมควรแล้ว แยกอันนี้ออกไปเป็นวิปัสสนาเป็นปัญญา

ผมเป็น ‘ยังไง’ ที่เกิดที่อยู่ของมัน ‘ยังไง’ ขน เล็บ ฟัน หนัง ไล่กันไป ๆ ทีนี้มันกระจายออก ๆ มันก็เริ่มเห็นโทษของมันเรื่อย ๆ ๆ พอเห็นแล้ว ทีนี้ผลปรากฏขึ้นมาแล้ว ความสว่างกระจ่างแจ้ง ภูมิสมาธิไม่เป็นอย่างนั้น ภูมิปัญญาเป็นอย่างนี้

‘โอ๋ย.. มันต่างกันนี่น่ะ เหมือนกับมองเมฆ มองหมอก มองเห็นนั่นเห็นนี่เข้าไป อยู่สมาธิเหมือนกับอยู่ในไหเอาฝาปิดไว้ มันก็สบายอยู่ในไหนั่นซิ มันไม่ได้ออกจากไหจากตุ่มไปละซิ พอออกทางด้านปัญญา เปิดฝาไหฝาหม้อเข้าแล้ว มันก็เริ่มมองเห็นอันนี้ ทีนี้มันก็โดดออกจากหม้อล่ะซิ มันเห็นไม่ถนัดเข้าใจไหม โดดออกจากหม้อนี้ ฟาดนี้เตลิดเปิดเปิง อ้าว.. เราเป็นนี่นะ..’
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #231  
เก่า 26-03-2014, 11:17
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พอมันออก ทีนี้ปัญญามันไม่เหมือนสมาธิ สมาธิรู้อันเดียว ปัญญานี้แย็บออกตรงไหนรู้ตรงนั้น ๆ ทั้งโทษทั้งคุณรู้ไปพร้อม ๆ กัน ควรละอันไหน เห็นโทษอันไหน มันเห็นประจักษ์ ๆ ไม่ต้องถามใครนะ มันหากเป็นในจิต ทีนี้เราก็ เอ๊ะ ๆ .. ชอบกล ๆ ที่นี่นะ มันจะเริ่มละนะ ที่นี่นะ เอ๊ะ .. ชอบกล ๆ คิดไปแง่ไหนมันรู้แปลก ๆ ภูมิสมาธิมันรู้อันเดียวเท่านั้น มันไม่มีอะไรเป็นแง่ให้สัมผัส สัมพันธ์ให้ได้ข้อคิด ให้มีความเข้าอกเข้าใจในสิ่งเหล่านั้น

ที่นี้พอออกทางด้านปัญญา แย็บไปตรงไหน เช่นอย่างมองไปนี้ ‘ปั๊บ’ .. เห็นหมา มองไปนี้มันเห็นนี้ มองไปนั้นเห็นนั้น มันแปลกต่างกันไปเรื่อย ๆ ทีนี้เห็นอะไรทั้งเป็นโทษเป็นคุณ มันก็แยกก็แยะ จากนั้นมันก็เข้าใจ ๆ ทีนี้ดื่มละ ที่นี่.. เรื่องสมาธินี้จางไปแล้วไม่อยากเข้า ชักเพลินทางด้านปัญญา มันเข้าใจ ๆ ที่นี้แก้กิเลสมันก็แก้ด้วยปัญญา มันชัดอย่างนั้นนะ

‘โห แก้กิเลสมันแก้ด้วยปัญญา ไม่ได้แก้ด้วยสมาธิ สมาธิเราเป็นมานานเท่าไร ไม่เห็นกิเลสเหล่านี้หลุดลอยไปเลย แต่เวลาออกทางด้านปัญญากิเลสนี้เห็นประจักษ์ มันหลุดไป ลอยไปมากน้อยเพียงไรมันรู้ ๆ อ๋อ.. แก้กิเลสนี่ แก้ด้วยปัญญาต่างหาก’

นี่ละ.. เราเรียกว่าไม่พอดี คำว่าไม่พอดีคืออะไร ? ถ้าไปด้านปัญญามันก็เห็นคุณของปัญญา แล้วมาเห็นโทษของสมาธิ เสียอย่างเดียวมันไม่พอดีกัน ถ้าพอดีกันแล้วก็คือว่า เวลาออกทำงานเพื่อผลประโยชน์ทางด้านปัญญาก็ให้ออก ครั้นเวลาเข้ามาพักสมาธิเพื่อเอากำลังก็ให้พัก เข้าใจไหม เรียกว่าเหมาะสม มันเหมาะสมอย่างนั้น แต่ทีนี้มันไม่ออกอย่างนั้น.. เวลาออกมันเพลินเลยไม่สนใจกับสมาธินะ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-03-2014 เมื่อ 13:22
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #232  
เก่า 18-04-2014, 11:51
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ออกทางด้านปัญญามันไม่ได้สนใจกับสมาธิ ออกเท่าไรมันยิ่งรู้ยิ่งเห็นกระจายออกไปเรื่อย ๆ มันยิ่งเพลินนะซิ ฆ่ากิเลสก็ฆ่าไปด้วยกัน เห็นโทษเห็นคุณมันไป เห็นคุณของธรรมเห็นไปด้วยกัน ฆ่ากิเลสปั๊บแล้วมันเห็นคุณขึ้นมา ธรรมเด่นขึ้นมา ๆ ที่ตรงไหนมันไม่เห็นคุณ คือกิเลสปิดไว้ ๆ ตามเข้าไป แก้เข้าไปตรงไหน กิเลสพังลงไปมากน้อยเพียงไร ธรรมก็แสดงขึ้นมา ๆ เรื่อย ๆ ทีนี้มันก็เพลินล่ะซิ เพลินจนขนาดที่ว่า

‘โธ่.. สมาธินี่มันนอนตายเฉย ๆ ลงขนาดนั้นนะ ไม่ได้แก้กิเลสตัวใดได้เลย แก้ด้วยปัญญาต่างหาก สมาธินี่มันนอนตายเฉย ๆ มากี่ปีกี่เดือนแล้ว ไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไร’

เมื่อลงถึงขั้นสมาธิ.. นอนตายมันก็ไม่สนใจกับสมาธิใช่ไหมล่ะ! มันก็ฟัดทางด้านปัญญาไปเลย.. คราวนี้ก็เร่งทางปัญญาใหญ่ หมุนติ้วทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีห้ามล้อบ้างเลย แต่เรามันนิสัยโลดโผนน่ะ ถ้าไปแง่ไหนมันไปแง่เดียว พอดำเนินทางปัญญาแล้ว มันก็มาตำหนิสมาธิว่า ‘มานอนตายอยู่เปล่า ๆ’

ความจริงสมาธิก็เป็นเครื่องพักจิต ถ้าพอดีจริง ๆ ก็เป็นอย่างนั้น นี่มันกลับมาตำหนิสมาธิว่า มานอนตายอยู่เปล่า ๆ กี่ปี ไม่เห็นเกิดปัญญา...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-04-2014 เมื่อ 12:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #233  
เก่า 29-04-2014, 14:05
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สุขของโลกกับสุขของสมาธิธรรม

“...คำว่า “สมาธิ” คือ ความแน่นหนามั่นคงของใจ ไม่วอกแวก คลอนแคลน จิตใจอิ่มอารมณ์ คืออารมณ์ที่จิตใจหิวกระหายอยู่ตลอดเวลานั้น ได้แก่หิวอยากดู อยากรู้ อยากเห็น ทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรส เครื่องสัมผัสต่าง ๆ มีความหิวโหยอยากสัมผัสสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลา นี่คือความหิวโหยของใจ ถ้าปล่อยให้คิดอย่างนี้จะหิวโหยตลอดไป และสร้างผลคือความทุกข์ร้อนมาสู่จิตใจของเรา ไม่มีเวลาสงบเย็นใจได้เลย นี่คือจิตหิวโหยอารมณ์

พอจิตมีความสงบเย็น และก้าวเข้าสู่สมาธิเป็นลำดับ จนกลายเป็นสมาธิที่แน่นหนามั่นคงเต็มที่แล้ว อารมณ์เหล่านี้ไม่เข้ามากวนใจ จิตไม่อยากคิดปรุงเรื่องอารมณ์ทั้งหลายที่เคยหิวโหยมา อยู่ด้วยความสงบเย็นใจเป็นเอกัคคตาจิต เอกัคคตารมณ์ประจำใจของผู้มีสมาธิ นั่งที่ไหนมีแต่ความรู้ที่เด่นดวงอยู่ภายในใจ อารมณ์อื่นใดที่เคยรบกวนไม่เข้ามารบกวน จิตอยู่เย็นเป็นสุขในอิริยาบถทั้งสี่คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ด้วยความมั่นคงของใจที่มีสมาธิ และอิ่มอารมณ์ตลอด

เวลาจิตมีสมาธิเต็มที่แล้วนั้น ไม่อยากคิดอยากปรุงเรื่องอะไร เพราะเป็นเรื่องก่อกวน แต่ก่อนเราหิวโหยกับอารมณ์นั้น ๆ ถ้าไม่ได้คิดได้ปรุงไม่ได้ ดิ้นรนกระวนกระวาย อยากคิดอยากปรุงไม่แล้วไม่เลิกกันสักที สร้างแต่กองทุกข์มาให้ตัวเอง ทีนี้เมื่อเวลาจิตเป็นสมาธิแล้ว จะอิ่มอารมณ์ความคิดปรุงแต่งทั้งหลาย หมุนตัวอยู่กับความเย็น ความแน่นหนามั่นคงของใจเป็นเอกัคคตาจิต.. เอกัคคตารมณ์ประจำใจ ความรู้เพียงจิตได้ดิ่งลงสู่สมาธินี้เท่านั้น ก็ปรากฏว่าเป็นที่ภาคภูมิใจ ไม่มีคำว่าอิ่มพอ มีแต่ความดูดดื่ม อยู่ด้วยความเย็นใจ สบายใจตลอดเวลา

เพราะเหตุนี้เอง สมาธิจึงทำให้ผู้บำเพ็ญหลงได้ ติดได้ ถ้าไม่มีผู้มาแนะนำในทางปัญญา จะติดสมาธิโดยไม่อาจสงสัย เพราะสมาธิมีรสชาติพอที่จะให้นักบำเพ็ญทั้งหลายติดได้ไม่สงสัย เพราะเป็นรสชาติแห่งธรรม ผิดกันกับรสชาติของโลกเป็นไหน ๆ เรื่องของโลกเป็นรสชาติของกิเลสผลิตขึ้นมา กินแล้วมีเบื่อหน่าย อันนี้อยาก อันนี้กิน อันนี้ดื่ม เบื่อหน่ายอันนั้น มาดื่มอันนี้ คิดเรื่องนั้น เบื่อหน่ายอันนั้น มาคิดเรื่องนี้ นี่เรื่องของอารมณ์ของกิเลส ถ้ารสก็เป็นรสของกิเลส มีความรื่นเริงเสียชั่วครู่ชั่วยาม แล้วก็เอาไฟเข้ามาเผาในฉากหลังนั้นแล นี่คืออารมณ์ของกิเลส

แต่อารมณ์ของธรรมอยู่ด้วยความดูดดื่มแห่งความสงบ เย็นใจ อยู่ที่ไหน ๆ สบายหมด ดังท่านผู้ทรงสมาธิธรรมด้วยการภาวนาของตน...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-04-2014 เมื่อ 15:20
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #234  
เก่า 14-05-2014, 15:13
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

วิธีพิจารณากรรมฐาน ๕

กายคตาสติ

ทางก้าวเดินออกทางด้านปัญญานี้ท่านว่า มีความกว้างขวางมากไม่เหมือนสมาธิ สมาธิจะให้มีความแน่นหนามั่นคงเท่าไรก็เต็มภูมิของสมาธิ เหมือนกับน้ำเต็มแก้ว น้ำเต็มโอ่ง มีมากเท่าไรจะเอามาเทเพิ่มเติมน้ำเต็มแก้วก็รับไม่ได้ จะให้เลยจากภูมิสมาธิที่เต็มตัวแล้วไปไม่ได้ นี่เป็นขั้นของสมาธิ

สำหรับทางเดินด้านปัญญานั้น เทศนาอบรมพระของท่านตอนหนึ่งกล่าวถึงวิธีการพิจารณาไว้ ดังนี้

“...ตามทางของศาสดาที่ประทานให้แล้ว ซึ่งเรารับมาตั้งแต่วันบวช ท่านสอนว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ... เกสาคือผม ผมเป็นยังไง ผมคนเรา ทั้งหญิงทั้งชาย ตลอดถึงผมหมู ผมหมา ผมเป็ด ผมไก่ ผมวัว ผมควาย เรียกว่าขนไปเฉย ๆ มันก็ผม เวลาเป็นผมเป็นไปได้หมดทั้งนั้น ดูไปหมด ผมเขาผมเรา ผมบุคคลหญิงชาย ผมสัตว์อะไรดูให้ทั่วถึง ผมเหล่านี้เป็นยังไง มันสะอาดสะอ้านอะไรบ้างพิจารณาซิ ชะล้างทุกวัน ๆ ผมอันนี้แหละตัวสกปรกใหญ่โต จึงต้องชะล้างทุกวัน ไม่ชะล้างไม่ได้ นี่เอามาพิจารณา ถ้าเป็นของดิบของดีจะชะล้างกันหาอะไร อยู่ที่ไหนก็ดิบก็ดีสะอาดสะอ้านตลอดเวลา ควรที่จะแน่ใจตายใจได้กับผม แต่นี้ตายใจไม่ได้


ขนก็เหมือนกัน แบบเดียวกัน เอามาเทียบกันได้ทุกสัดทุกส่วน นี่วิธีการพิจารณาทางด้านปัญญา ขอให้เริ่มก้าวเดินออกอันนี้ เอาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กรรมฐาน ๕ เป็นพื้นฐานแห่งการก้าวเดินของปัญญาเรา ผม ขน เล็บเป็น 'ยังไง' ให้ดู แล้วเล็บคนกับเล็บหมาก็ไม่เห็นมีอะไรผิดกัน มันสะอาดสะอ้าน มันสวยงามที่ตรงไหน จึงต้องไปติดไปพันกับมัน ดีไม่ดีย้อมเล็บย้อมเลิบ ตัดเล็บย้อมเล็บให้สวยงาม มันจะสวยอะไรประสาเล็บ ถ้าไม่เป็นบ้าแล้วจะไปตกแต่งมันอะไรนักหนา ชะล้างให้มันพออยู่ได้ ไปได้ทั้งเขาทั้งเราเท่านั้นก็พอ จำเป็นอะไรจะต้องมาตกแต่ง มาชะมาล้าง หรือมาประดับประดาประสาเล็บ นั่นปัญญา ให้พิจารณาอย่างนั้น

ฟัน เอาฟันมาพิจารณาซิ ฟันเป็น 'ยังไง' นี่ผมขน เล็บ ฟัน หนัง ท่านแสดงไว้ในกรรมฐาน ๕ ฟันนี้เป็น 'ยังไง' ฟันเขา ฟันเรา ฟันหญิง ฟันชาย ฟันสัตว์ ฟันบุคคล มันก็คือกระดูกอันเดียวกัน อยู่ในร่างกายอันนี้เรียกว่าฟัน ความจริงแล้วก็คือกระดูกนั้นแล มันวิเศษวิโสอะไรฟันอันนี้ กระดูกอันนี้ กระดูกเรากับกระดูกสัตว์ต่างกันอย่างไรบ้าง กระดูกหญิง กระดูกชาย กระดูกสัตว์ กระดูกเรา กระดูกเขา เอามาดูซิ กระดูกเป็นของสวยของงามที่ไหน ฟังแต่ว่ากระดูก ๆ เท่านั้นเอง

นี้เรามาบอกว่าเป็นฟันเฉย ๆ ความจริงก็คือกระดูกส่วนหนึ่ง ที่มาใช้งานในการบดเคี้ยวอาหารเท่านั้น อย่างอื่นเขาบดเคี้ยวไม่ได้ จึงให้ชื่อว่ากระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้าว่าไปตามธรรมดา แต่กระดูกนี้เรียกว่ากระดูกฟัน เอามาบดเคี้ยวอาหาร มันก็คือกระดูกนั้นเอง นี่ให้พิจารณา ทีนี้กระดูกมันสกปรกหรือมันสะอาด ดูซิ.. ตื่นขึ้นมาแล้วล้างปากล้างฟัน ล้างเสียจนกระทั่งเลยเถิดเลยแดน มีอะไรเอามาเป็นความสะอาดล้างปากล้างฟัน ยาถูฟัน น้ำยาน้ำอะไรมาชะมาล้าง ให้มันสดสวยงดงามไปแบบกิเลสไปเสีย มันก็กลายเป็นกิเลสไปได้ ทั้ง ๆ ที่กระดูก ทั้ง ๆ ที่ฟันมีอยู่ด้วยกันหมด มันไม่ได้ติดใคร แต่คนที่ว่าตัวนักรู้คือใจนี้แหละ.. ไปหลงเขา

พิจารณาจากฟันแล้วก็หนัง นี่วางพื้นฐานย่อ ๆ ... หนังคนเราทั้งหญิงทั้งชาย หนังสัตว์ หนังบุคคล คนเราที่ติดกันนี้ติดเพราะหนังมาตกแต่ง ผิวมันเพียงบาง ๆ เท่านั้น ไม่ได้หนาเท่าใบลานเลย คนทั้งคนนี้มีเครื่องหลอกตาให้หลงได้ถนัดชัดเจนก็คือ ผิวหนังนี่เท่านั้น จึงประดับประดาตกแต่งทุกอย่างที่จะทำให้หลงหนักเข้าไป ทีนี้เราพิจารณาทางด้านปัญญาเรื่องหนัง พิจารณาหนังภายนอกเป็นผิวบาง ๆ หลอกคน พลิกเข้าไปภายใน ดูหนังภายใน

จากนั้นก็ดูเนื้อ ดูเอ็น ดูกระดูก ตับ ไต ไส้ พุง ในร่างกายของเรานี้มันคืออะไร นี่คือปัญญา จะพิจารณาเพื่อถอดถอนความยึดมั่นถือมั่น สำคัญผิดว่าเป็นของสวยของงามให้ลงสู่ความจริง ความจริงก็คือว่า หนังก็สักแต่ว่าเครื่องหุ้มห่อหอปราสาทราชมณเฑียรอะไร หุ้มห่อซากผีดิบไว้ให้พอดูได้ด้วยกัน ที่เป็นสัตว์ เป็นมนุษย์ อยู่ร่วมกันเท่านั้น จึงมีหนังหุ้มห่อเอาไว้แล้วชะล้าง ถึงชะล้างขนาดนั้น หนังก็ไม่พ้นที่จะแสดงออกมา.. ขี้เหงื่อ ขี้ไคล ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นของสกปรกโสมมเต็มผิวหนังของเรานี้ ต้องชะต้องล้าง ไม่ชะไม่ล้างไม่ได้ สกปรกเลอะเทอะ อยู่ไม่ได้

อะไรที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหนังและร่างกายของเรานี้ จะสะอาดสะอ้านขนาดไหนก็ต้องชะต้องล้าง ต้องเช็ดต้องถู อย่างที่หลับที่นอนก็สวยงาม สะอาดสะอ้าน ราคาแพง ๆ ทั้งนั้น บ้านเรือนแต่ละหลัง ๆ สร้างขึ้นมากี่ห้องกี่หับก็ว่าเป็นของสวยของงาม ของสะอาดสะอ้านพอคนเข้าไปอยู่ที่ใด นำสิ่งเหล่านี้เข้ามาคละเคล้ากับคน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งเครื่องห่มมาคละเคล้ากับคน ก็กลายเป็นของสกปรกไปตาม ๆ กันหมด แม้สิ่งเหล่านั้นจะสะอาดก็เพราะว่าร่างกายนี้ หาความสะอาดไม่ได้ ต้องชะต้องล้างอยู่เสมอ ไปอยู่ในบ้านในเรือนก็ต้องชะต้องล้าง ทำความสะอาดในบ้านในเรือน

มันขึ้นกับอะไร มันถึงได้ชะได้ล้างตลอดเวลา ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายตัวสกปรกนี้เอง มันไปอยู่ที่ไหนก็เลอะเทอะไปหมด คือร่างกายตัวสกปรกนี้เอง นี่การพิจารณาทางด้านปัญญาให้แยกแยะอย่างนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-05-2014 เมื่อ 16:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #235  
เก่า 26-05-2014, 11:10
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ดูเข้าไป ดูหนัง แล้วก็ดูเนื้อ เนื้อคน เนื้อสัตว์ มันมีคุณค่ามีราคาและสวยงามที่ตรงไหน หนังเวลาถลกออกมาแล้วมาปูไว้เป็นอย่างไร น่าเกลียดมากไหม ดูเข้าไปในเนื้อ.. เนื้อเป็นอย่างไร ดูเข้าไป เนื้อนี่มันสกปรกหรือสะอาด เอ็นกระดูก.. ยิ่งดูเข้าไปในกระดูกนี้ ทำไมมันถึงติดถึงพันนักจิตใจอันนี้ แกะไม่ออก ดึงไม่ออก มิหนำซ้ำยังส่งเสริมให้ติดแน่นเข้าไปอีก หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก แล้วดูเข้าไปในตับ ไต ไส้ พุงของคนแต่ละคน มีแต่ส้วมแต่ถานเต็มพุงด้วยกันทั้งนั้นแหละ เราดูกันได้เวลานี้ก็เพราะเอาสิ่งที่พอดูได้มาปิดบังไว้นี้ หุ้มห่อแล้วปกปิดกำบังไว้ด้วยการนุ่งการห่มซักฟอกไว้เรียบร้อย มาพบกันเข้าก็พอน่าดูน่าชมว่าเป็นหญิง เป็นชาย เป็นเขา เป็นเราเท่านั้นเอง หลักความจริงคือ ธรรมชาติเดิมของมันนั้นหาความสะอาดสะอ้านไม่ได้.. นี่คือปัญญา พิจารณาแยกแยะอย่างนี้ พิจารณาในเรื่องนี้จนกระทั่งถึงตับ ไต ไส้ พุง อาหารเก่า อาหารใหม่ ถึงส้วมถึงถานในพุงของเรา

ดูแล้วทบทวนหลายครั้งหลายหน เพ่งเล็งด้วยสติด้วยปัญญาหลายครั้งหลายหน จนกระทั่งสติปัญญามีความคล่องแคล่วแกล้วกล้า ดูอวัยวะของตัวนั้นเอง ทีแรกก็เหมือนกันกับเราฝึกหัดเขียนหนังสือ ทั้งเขียนทั้งลบระเกะระกะ เขียนแล้วเขียนเล่า ลบแล้วลบเล่า เพราะเขียนไม่ชำนาญ มันก็ไม่ถูกตัวแล้วเลอะเทอะ ทีนี้เวลาฝึกหัดเขียนไปหลายครั้งหลายหน มันก็ค่อยเป็นตนเป็นตัวขึ้นมา อ่านก็ง่ายขึ้น ๆ เวลามีความชำนาญในการขีดเขียนแล้ว พอมองดูพับเท่านี้มันก็รู้ เขียนก็หวัดไปเลย เพราะความชำนาญของการเขียน อ่านก็แบบเดียวกัน อ่านหวัดไปเลย นี่คือความชำนาญ

การพิจารณาทางด้านปัญญาทีแรกก็ถูไถไปมา ล้มลุกคลุกคลาน เห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้างในสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ซึ่งเป็นหินลับปัญญา.. ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ทุกอย่างเป็นหินลับปัญญา ปัญญาจะคมกล้าขึ้นด้วยการพิจารณาสิ่งเหล่านี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จิตใจก็มีความสว่างไสวและคล่องตัวขึ้นมาเป็นลำดับ นี่แหละ หลักฐานเบื้องต้น ที่จะเปิดทางเพื่อมรรคผลนิพพานให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ก็คือส่วนร่างกายนี้แหละ ที่มันปกปิดกำบังภูเขาทั้งลูก.. ไม่ได้หนาแน่นยิ่งกว่าอวัยวะภายในตัวของเรา ทั้งเขา ทั้งเรา ทั้งหญิง ทั้งชาย มันปกปิดกำบังไว้หมด

หญิงเห็นชายก็หลง ชายเห็นหญิงก็หลง นี่แหละ.. มันหนายิ่งกว่าภูเขาทั้งลูก จึงเปิดทำลายภูเขาลูกนี้ คือภูเขาภูเรานี้ออกด้วยปัญญาให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน จนกระทั่งสติปัญญาคล่องแคล่วแกล้วกล้า.. แยกธาตุ แยกขันธ์ออกไปเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ แยกลงไปเป็นอนิจจัง.. แปรสภาพทุกขัง.. บีบบี้สีไฟตลอดเวลา อนัตตา.. หาความเป็นสัตว์เป็นบุคคลของผู้หนึ่งผู้ใดไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่โลกยึดถือกันตลอดมา เขาก็ไม่ได้เป็นอะไร เป็นของใคร แยกออกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วพิจารณาซ้ำ ๆ ซาก ๆ ด้วยการดำเนินปัญญา...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-05-2014 เมื่อ 13:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #236  
เก่า 13-06-2014, 08:45
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕

“...ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนที่แข็งภายในร่างกายของเรา เช่นเนื้อ เช่นหนัง อย่างนี้เป็นต้น ท่านเรียกว่าธาตุดิน ส่วนน้ำที่ซึมซาบอยู่ทั่วสรรพางค์ร่างกายเรียกว่าธาตุน้ำ ลม มีลมหายใจ เป็นต้น เรียกธาตุลม ไฟ คือความอบอุ่นในร่างกายของเรานี้เรียกว่า ธาตุไฟ ทั้งสี่อย่างนี้รวมตัวอยู่ มีจิตเข้าไปแทรกสิง เป็นเจ้าตัวการหรือเป็นเจ้าของอยู่ในนั้น ..

ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป..ได้แก่ร่างกายนี้ เวทนา.. ความสุข ความทุกข์ เฉย ๆ เวทนามีสอง อยู่ภายในจิตก็มี ในขันธ์ก็มี สัญญา.. ความจำได้หมายรู้ จำที่นั้นที่นี่ จำชื่อจำเสียง อย่างเราเรียนหนังสือจำได้ เรียกว่าสัญญา สังขารขันธ์.. เป็นสี่ ความคิดความปรุงอะไร ๆ วิญญาณขันธ์.. เป็นห้า ตากระทบรูป ความรู้เกิดขึ้นจากสิ่งสัมผัสนั้น นี่เรียกว่าวิญญาณ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-06-2014 เมื่อ 05:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #237  
เก่า 17-06-2014, 08:35
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์..

อย่าคาด ให้ถือหลักปัจจุบันธรรม

เทศนาตอนหนึ่งขององค์หลวงตากล่าวถึง การระงับความกลัวในขั้นปัญญามีความแตกต่างจากขั้นสมาธิ และเตือนนักปฏิบัติให้ถือหลักปัจจุบันธรรม ดังนี้

“...พอก้าวเข้าสู่ปัญญาเกี่ยวกับการระงับความกลัวเป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะปัญญากับสมาธินั้นผิดกันในคน ๆ เดียวกันนั่นแหละ เราเองเคยปฏิบัติมาอย่างนั้น ไม่มีใครบอกมัน หากรู้วิธีปฏิบัติต่อตัวเองเช่น เมื่อจิตอยู่ในขั้นสมาธิ ก็เอาสมาธิเข้าบังคับจิตให้สงบจากความกลัว ไม่ให้ส่งไปหาอารมณ์ที่กลัว ว่าเสือ ว่าช้าง ว่างู ว่าอะไร ว่าอันตรายต่าง ๆ ก็ไม่มี เรื่องกวนตัวเอง เพราะจิตไม่ออกไปวาดภาพหลอก


พอจิตก้าวเข้าวิปัสสนา พอจิตปรุงแย็บเรื่องเสือ มันก็รู้ทันแล้วนี่นะ เพียงแย็บปรุงถึงภาพเสือ.. สติปัญญาก็ทันแล้วว่า นี่.. มันปรุงภาพเสือ เอ๊า.. แม้จะทันก็ให้มันปรุง ให้เป็นเสือเข้ามาแล้วแยกธาตุเสือ ที่ว่าแยกธาตุเสือเพราะอะไร เพราะเราดำเนินปัญญาในการคลี่คลายแยกแยะอยู่แล้วนี่ จะเอามาใช้ระงับแบบสมาธิ มันไม่เห็นด้วย จิตมันไม่ถนัด ถนัดในการแยก

‘เอ้า.. เสือหรือ ? กลัวมันอะไร ? กลัวตรงไหน ?’

คือตั้งเป็นภาพเสือให้มันเห็นอยู่อย่างนั้นแล ไม่ให้มันดับ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่า ภาพของเราออกไปหลอกเจ้าของนี่ เอาตั้งไว้ภาพนี้ ‘เอ้า.. กลัวอะไร’ สติปัญญามันทันความเคลื่อนไหวของจิต มันทันเองนะ เมื่อมันแก่กล้าเข้าไป มันทันเองอย่างนี้ นี่คือความจริงที่พูดให้หมู่เพื่อนฟังนี้ วิธีการฝึกจิตตัวเอง.. เมื่อมันรวดเร็วแล้วมันทิ้ง ภาพปรุงขึ้นเรื่องอะไรปั๊บ.. มันรู้ว่านี้แย็บออกไปแสดงทันที พอรู้ปั๊บดับพร้อม อันนี้เรายังไม่ให้ดับ เราจะแยกมัน เพราะเป็นอุบายของปัญญา และเป็นเครื่องหนุนจิตใจให้ละเอียดเข้าไปอีก

พอแยกธาตุ.. กำหนดดูเสือ ‘กลัวอะไรมัน’ ‘เอ๊า’ ไล่เบี้ยกันไป ‘กลัวตามันรึ’ ‘ตาเราก็มี..ไม่เห็นกลัว’ นั่นมันแก้กัน ‘กลัวเล็บมันรึ’ ‘เล็บเราก็มี..ไม่เห็นกลัว’ ‘กลัวขนมันรึ’ ‘ขนเราก็มี..ไม่เห็นกลัว ถ้ากลัวขนมันก็กลัวขนเราซิ ขนเราขนมันธาตุอันเดียวกัน’ ‘กลัวเขี้ยวมันรึ’ ‘เขี้ยวเราก็มี..กลัวอะไร’ ไล่หากันจนไม่มีทางไปกระทั่งถึงหาง บทเวลาไล่ถึงหาง นึกว่ามันจะจน.. มันก็ไม่จนนะ ความจริงก็เราไม่มีหางนี่ ‘กลัวหางมันเหรอ’ ‘แม้แต่ตัวมันเองยังไม่กลัว แล้วเราจะไปกลัวหางมันหาประโยชน์อะไร’ ‘แน่ะ’.. มันแก้กันทันนะ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-06-2014 เมื่อ 12:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #238  
เก่า 07-07-2014, 09:07
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ต่อจากนั้นก็กำหนดทำลายให้แตกกระจายละทีนี้ การกำหนดปัญญามันรวดเร็วนี่.. กำหนดให้แตกกระจายไปหมด อันนั้นก็แตกกระจายลงไปถึงความเป็นธาตุต่าง ๆ ความปรุงของจิตออกไปก็รู้คือกำหนดไว้ เมื่อเวลามันปรุงออกไปเป็นภาพเสือ ให้มันเป็นภาพเสือเสียก่อน จนพิจารณาไล่ไปทีละอาการ ๆ อย่างนั้นแล้ว ที่นี้กำหนดให้มันกระจายไปเลย การกำหนดกระจายนี่ จิตก็แย็บปรุงเพราะเป็นภาพของจิตเองนี่ สติปัญญามันทันเอง มันทำลายกันเองโดยสมมุติว่าเสือ เพราะสถานที่เหล่านั้นมันมีเสือ มันกลัวเสือ กำหนดภาพเสือให้มันดูเสียก่อน กำหนดกระจายลงไป มันก็หมด พอปรุงขึ้นปั๊บ ภาพอะไรมันก็ดับไปพร้อม ๆ ที่นี้จะกลัวอะไร เพราะไม่มีอะไรหลอกนี่ เป็นภาพของตัวเองไปหลอกตัวเองต่างหาก

ไม่ว่าเสือ ว่าช้าง ว่างูอะไร เวลาเจอจริง ๆ มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง เราก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แน่ะ.. มันคิดไปอย่างนั้นเสีย นั่นก็ธาตุ นี่ก็ธาตุ มันพิจารณาไปอย่างนั้นเสีย จิตมันพลิกตามอุบายปัญญาไปเสีย ไม่พลิกไปทางให้มันกลัวก็ไม่กลัว

จนกระทั่งจิตว่างไปหมด เมื่อมันว่างไปหมด อะไรแย็บขึ้นมามันก็เหมือนแสงหิ่งห้อย มันเป็นของมันเอง แย็บขึ้นมาดับพร้อม ๆ กัน มีแต่ความว่างไปหมดแล้วจะกลัวอะไร มีแต่จิตมันครอบร่างกายนื้ ทำให้ว่างไปหมดและครอบโลกธาตุเสียด้วย แล้วจะกลัวอะไร อุบายระงับจิตเป็นอย่างนั้น ระงับความกลัว มันไม่กลัว ต้องใช้อุบายวิธีตามขั้นของจิต ของสมาธิและปัญญา

สติปัญญาให้นำออกใช้ อย่านั่งเฝ้าอยู่เฉย ๆ คอยให้เกิดปัญญา.. ไม่เกิดนะ อย่าว่าไม่บอก บอกมาหลายครั้งหลายหนแล้ว สมาธิแค่ไหน.. ปัญญาก็จะต้องใช้ไปตามขั้นภูมิ กำหนดพิจารณาหาอุบาย ค้นหาอุบายคิดพินิจพิจารณา จนเกิดปัญญาขึ้นมาเอง พอเกิดขึ้นมาแล้วก็ทำให้เข้าใจ ๆ ที่นี้ก็เห็นคุณค่าของปัญญา จากนั้นก็เดินปัญญาเรื่อย ๆ ไปตามแต่กรณี

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-07-2014 เมื่อ 19:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #239  
เก่า 15-07-2014, 17:33
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ปัญญาเป็นเครื่องแก้กิเลส สมาธิแต่เพียงไล่กิเลสเข้ามารวมตัวให้ใจสงบ ไม่ยุ่งเหยิง วุ่นวายหรือไม่ฟุ้งซ่าน จิตรวมตัว ปัญญาเป็นผู้คลี่คลายเพื่อเหตุเพื่อผลในการแก้กิเลส.. เหตุผลพร้อมที่ตรงไหน กิเลสก็หลุดลอยไปเรื่อย ๆ ใจจักเกิดความสะดวกสบาย เห็นคุณค่าของปัญญา สติปัญญาเริ่มหมุนตัวเรื่อย ๆ ความเพียรก็กล้าแข็ง

ถ้าลงความเพียรออกก้าวเดินแล้ว ความขี้เกียจขี้คร้านหายหน้าไปหมด ไปอยู่ไหนอยู่ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในป่า ในเขา ไม่ว่าอยู่สถานที่เช่นไร น่ากลัว ไม่น่ากลัว จิตไม่ไปสำคัญ ไม่สนใจเลย สนใจแต่กิเลสตัวยุ่งกวนนี่เท่านั้น

กลัวก็คือ กิเลสเป็นผู้พาให้กลัว เป็นผู้หลอกให้กลัวนั่นเอง มันไม่ได้ว่าเสือเป็นสัตว์น่ากลัว เสือเป็นอันตรายนะ กิเลสต่างหากเป็นสิ่งน่ากลัว ทำให้กลัวและเป็นอันตราย จิตย้อนเข้ามานี่.. ว่ากลัวเสือ ความกลัวเป็นกิเลสตัวเขย่าต่างหาก เสือนั้นอยู่กับมันต่างหาก ถ้าเราไม่ปรุงขึ้นว่าเสือ ไม่ปรุงขึ้นว่าอันตราย ก็ไม่เห็นอะไรมาเขย่าจิตใจได้ ก็คือความปรุงความแต่ง ความเสกสรรของจิตนี้เอง มันเขย่าตัวเองให้ได้รับความทุกข์ ความลำบาก เพราะฉะนั้น จิตจึงแน่ใจและปักใจว่าอันนี้เป็นภัย มันเอาตรงนี้ว่าเป็นภัย ไม่เห็นว่าภายนอกเป็นภัย

เมื่อเข้าถึงขึ้นความจริงแล้ว มีแต่กิเลส ๆ เป็นภัยอยู่ภายในนี้ มันรู้อยู่นี้ เห็นอยู่นี้ แสดงขึ้นมาที่นี่ มันจะไปตะครุบเงาอยู่นอก ๆ โน้นทำไม ปัญญาพอถึงขั้นนี้แล้ว มันหมุนติ้ว ๆ อยู่นี้ รู้อยู่นี้ เห็นอยู่นี้ อะไรกระดิกพลิกแพลงขึ้นในจิต ก็รู้ว่าเป็นเรื่องของกิเลสทั้งเพ ขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องของกิเลสมันทันกัน ๆ เรื่อย ๆ นี่.. การปฏิบัติธรรมะ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-07-2014 เมื่อ 17:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #240  
เก่า 29-07-2014, 17:06
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,201 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ผู้ใดชอบคิด ชอบพินิจพิจารณา ผู้นั้นแหละจะเข้าใจได้ดี เราจะว่าเรามีสมาธิ ไม่มีสมาธิ ถึงเวลาที่ควรจะพิจารณา ให้พิจารณาความสงบก็เพื่อจิตสบาย การพิจารณาก็เพื่อถอดถอนกิเลสภายในจิต เพื่อความสบายหายห่วงของจิต จิตปล่อยกังวลได้เป็นลำดับ อย่าไปคาดว่าเราไม่มีภูมิสมาธิ หรือเราได้ภูมิสมาธิเพียงแค่นี้เป็นปัญญาไปไม่ได้ พิจารณาปัญญาไปไม่ได้.. อย่าหาคาดหมาย

กิเลสมันมีขั้นที่ไหน มันเกิดกิเลสขั้นไหนบ้าง มันไม่เห็นมาบอกเรา กิเลสแสดงขึ้นมาที่ไหนก็เป็นกิเลส และเสียดแทงหัวใจเราได้ทุกประเภทของกิเลส ทุกอาการของกิเลสที่มันแสดง เราต้องคิดเทียบอย่างนั้นซิ กิเลสไม่เห็นว่ามีชั้นไหนภูมิใด ทำไมมันเป็นกิเลส ทุกระยะที่มันแสดงตัวออกมา

เวลามีธรรมเงื่อนใดที่เราจะพิจารณา ทำไมจะไม่เป็นธรรม ถึงวาระที่จะพิจารณา.. เราต้องพิจารณา เพราะการพิจารณาก็เพื่อแก้กิเลส ทำไมจะไม่เป็นธรรม ปัญญาต้องหมุนกันอย่างนั้นซิ ปัญญาต้องดักหน้าดักหลังร้อยสันพันคม ไม่งั้นไม่ทันนะ

ได้ยินแต่ท่านว่ามหาสติฯ มหาปัญญา เป็นยังไง ? มหาสติมหาปัญญาท่านกล่าวไว้แล้วนั้น จิตมันคาดมันหมายนะ ท่านว่าพระโสดาฯ พระสกิทาคาฯ พระอนาคาฯ พระอรหัตฯ บรรลุโสดาฯ บรรลุสกิทาคาฯ บรรลุอนาคาฯ บรรลุอรหัตอรหันต์ มันก็คาดหมายไปตามความบรรลุ เราจะบรรลุอย่างนั้น เราจะบรรลุอย่างนี้มันคาดไป แต่ความคาดหมายเหล่านี้กับความจริงที่เราปฏิบัติไปรู้ไปเห็น.. มันเป็นคนละโลก ไม่ใช่อันเดียวกัน ห่างกันคนละโลก เหมือนเราวาดภาพเมืองอเมริกา เป็นต้น เราไม่เคยเห็นอเมริกา เช่น กรุงวอชิงตัน เป็นต้น หรือเรื่องอะไรก็ตาม มันจะวาดภาพขึ้นมาทันที เราก็เชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้น ๆ พอไปเห็นเข้าเท่านั้น ภาพที่วาดไว้นั้นกับความจริง มันเป็นคนละโลกเลย

แต่เราก็ไม่ยอมเห็นโทษ ว่าภาพที่เราวาดไว้แต่ก่อนนั้นคือเครื่องหลอกเรา เคยหลอกมาตั้งแต่ไหนแต่ไร พูดถึงเรื่องอะไรมันก็วาดภาพนั้นขึ้นมา พูดเรื่องอะไร เรื่องคน เรื่องสัตว์ เรื่องอะไรก็ตาม มันต้องมีภาพขึ้นมาประกอบทุกสิ่งทุกอย่างทุกครั้ง แต่เวลาไปถึงความจริงแล้ว ภาพที่วาดเอาไว้นั้นไม่ตรงกับความจริงนั้นเลย ควรจะเห็นโทษ.. แต่เราก็ไม่ยอมเห็น

เพราะฉะนั้น จึงว่ากิเลสกล่อมคนให้หลับสนิทได้ง่ายนิดเดียว วาดภาพมรรคผลนิพพานก็เหมือนกัน สำเร็จพระโสดาฯ เห็นจะเป็นอย่างนั้น สำเร็จพระสกิทาคาฯ สำเร็จพระอนาคาฯ เป็นอย่างนั้น มันวาดภาพของมันไว้อย่างพร้อมมูล และเป็นเครื่องหลอกอันหนึ่ง ๆ ฉะนั้น จึงไม่ต้องไปคาดไปหมาย ให้เดินตามปฏิปทาเครื่องดำเนิน ปัจจุบันธรรมเป็นหลักที่จะยังมรรคผลนิพพานให้เกิดภายในใจไม่สงสัย...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-07-2014 เมื่อ 19:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:05



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว