#1
|
||||
|
||||
ปัณณรสกะ คือ หมวด ๑๕
จรณะ ๑๕ (ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุถึงวิชชา หรือ พระนิพพาน)
๑. สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล) คือ ความประพฤติถูกต้องดีงาม มีมารยาทเรียบร้อย ๒. อินทริยสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์) คือ การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลงมัวเมาในอินทรีย์เหล่านั้น ๓. โภชเนมัตตัญญุตา (รู้จักพอดีในการบริโภคอาหาร) คือ ไม่กินมากเกินไป ไม่น้อยเกินไป บริโภคพอให้มีกำลังในการประกอบการงาน และปฏิบัติธรรมได้ ๔. ชาคริยานุโยค (ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่) คือ ไม่เห็นแก่นอนมากเกินไป ไม่ยอมให้ความง่วงนอนเข้าครอบงำ ๕. สัทธา (ความเชื่อ) คือ เชื่อความมีอยู่ของกรรม เชื่อผลของกรรม ๖. หิริ (ความละอายแก่ใจ) คือ ละอายในการทำบาปทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ทั้งที่เป็นกายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ๗. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป) ความกลัวต่อการกระทำชั่วทุกอย่าง ๘. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ฟังมาก) คือ ได้รับการศึกษามามาก ได้ยินได้ฟังมามาก ทรงจำ พิจารณาและรู้แจ้งแทงตลอดถึงปัญหาด้วยปัญญาของตนเองได้ ๙. วิริยะ (ความเพียร) คือ ความขยันหมั่นเพียรทั้งที่เป็นไปทางกายและทางจิต เพียรละบาปอกุศล เพียรทำกุศล ๑๐. สติ (ความระลึกได้) คือ สามารถระลึกถึงเรื่องที่ทำคำที่พูด ทั้งในขณะก่อนทำ หลังทำ ก่อนพูด หลังพูด ๑๑. ปัญญา (ความรอบรู้) คือ ความรอบรู้ในกองสังขารตามความเป็นจริง รู้เหตุปัจจัยแห่งความเกิดดับของสังขาร สามารถทำลายกิเลส ทำให้ตนหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ๑๒. ปฐมฌาน ความมีสมาธิทรงตัว ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ๑๓. ทุติยฌาน ความมีสมาธิทรงตัว ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคตา ๑๔. ตติยฌาน ความมีสมาธิทรงตัว ประกอบด้วยองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา ๑๕. จตุตถฌาน ความมีสมาธิทรงตัว ประกอบด้วยองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา จรณะทั้ง ๑๕ ประการนี้ ในบาลีท่านว่าเป็นเสขปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินของพระเสขะ (พระอริยเจ้าเบื้องต้นตั้งแต่พระโสดาปฏิมรรค ถึงพระอรหัตตมรรค)
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-01-2020 เมื่อ 03:39 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|