#1
|
||||
|
||||
ยันต์ชนะ
หยาดฝนจะทยอยลงเนื้อหาเกี่ยวกับการเขียนยันต์ตามตำราพระบูรพาจารย์ เพื่อเป็นที่อ้างอิงสำหรับท่านผู้สนใจศึกษา และจะได้มั่นใจว่าอ้างอิงจากตำราที่ถูกต้อง
ยันต์แรกที่จะกล่าวถึงคือ "ยันต์ชนะ" หรือ "ยันต์ลงเทียนชัย" เนื้อหาดังต่อไปนี้คัดลอกจากตำราพระบูรพาจารย์ =================== วิธีเขียน ให้ลงสามมุมเทียน ชะนะ เสกในตัว (ให้ว่าขณะเขียน) แล้วเสกด้วย "เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุวิเนยยะ เคธัง นะหิ ชาตุ คัพภะ เสยยัง ปุนะเรตีติ" แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 04-08-2017 เมื่อ 18:49 |
สมาชิก 121 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
ยันต์นี้ไม่ได้ไว้ใช้ลงแค่เทียนชัยอย่างเดียวเท่านั้นนะคะ หยาดฝนยังเห็นพระอาจารย์เขียนหรือจารทั่ว ๆ ไป ในตอนที่พระอาจารย์สอนนั้น หยาดฝนไม่มีตำราพระบูรพาจารย์ให้อ้างอิง พระอาจารย์ท่านเขียนให้ดู แล้วบอกว่าให้ท่อง “กรณียเมตตสูตร” ไปเวลาเขียน เนื่องจากหยาดฝนไม่มีพื้นฐานมาก่อน ก็พิมพ์บทกรณียเมตตสูตรออกมาจากคอมพิวเตอร์ พร้อมคำแปลมานั่งท่องต่อหน้าท่าน รู้สึกว่ายาก เพราะยาวมาก คำถามคือจะท่องอย่างไรให้จบทันเขียนจบพอดี ? ตอนหยาดฝนท่อง พระอาจารย์ก็คงทราบว่าหยาดฝนคิดว่ายาก ท่านจึงเมตตาให้กำลังใจว่า “ไอ้ที่คิดว่ามันยากนั่นแหละที่ต้องทำ ยากจนทำไม่ได้ก็ต้องทำให้ได้” พอท่องและเขียนได้ พระอาจารย์จึงเฉลยว่า เขาใช้แค่ตั้งแต่ “เมตตัญจะ..” จนถึง “..ปุนะเรตีติ” ที่แบ่งปันประสบการณ์ให้ฟัง เพื่อให้ท่านผู้สนใจศึกษาได้มีกำลังใจ ไม่อยากให้คิดว่า “แค่เขียนวน ๆ แค่นี้ แต่ท่องตั้งยาว จะทำได้อย่างไรกัน” และจุดที่มันโค้ง ๆ อีก ถ้าเขียนช้ามันก็หลุดโค้งกันพอดี หากลากเส้น..มันต้องลากอย่างต่อเนื่องมันถึงจะต่อเนื่อง ถ้ามัวแต่ลาก ๆ หยุด ๆ เพราะรอท่องคาถา มันก็ยึก ๆ ยือ ๆ หยัก ๆ หยาดฝนต้องการบอกว่า “ทำได้ค่ะ” แค่โง่ ๆ หน่อย ครูบาอาจารย์สอนอะไรก็ปิดหูปิดตาทำไป ใช้ทั้งบทตั้งแต่ “กะระณียะมัตถะกุสะเลนะฯ” ยังมีคนโง่หนึ่งคนทำมาแล้วค่ะ เนื่องจากตอนแรกนั้นได้โง่ ท่องตั้งแต่ “กะระณียะมัตถะกุสะเลนะฯ” พอพระอาจารย์ให้เหลือแค่ตั้งแต่ “เมตตัญจะ..” จนถึง “..ปุนะเรตีติ” เวลาลากเส้นก็เลยมีเวลาเหลือ จึงเติมตรงใส่ยอดที่เป็นวง ๆ เข้าไปดังนี้ค่ะ ๓ วง ว่า “อิ สวา สุ” ๕ วง ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” ๗ วง ว่า “สะ ธะ วิ ปิ ปะ สะ อุ” ๙ วง ว่า “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ” ถูกสอนมาว่า ตรงยอดเขาใช้เป็นเลขคี่ ตั้งแต่ ๓ เป็นต้นไปสูงสุดคือ ๙ แล้วให้ว่าคาถาตามดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะเขียนองค์พระ หรือตัวเฑาะ หยาดฝนจบอย่างข้างต้นทั้งสิ้น ความดีที่สามารถว่าคาถาจบได้เร็ว จนมีเวลาเผื่อให้ว่าคาถาตรงยอดนั้น ยกให้พระอาจารย์ เพราะสอนไว้ดี ทำให้ว่าคาถาได้เร็ว ๆ ทีนี้เขียนอะไร ๆ ก็มีเวลาเหลือก็เลยจบเพิ่มตรงยอดให้ค่ะ คำถามต่อไปคือ...ทำไมยันต์ชนะถึงใช้บทกรณียเมตตสูตร ? ใครสงสัยบ้างไหมคะ ? แล้วจะมาเล่าให้ฟังค่ะ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 04-08-2017 เมื่อ 18:50 |
สมาชิก 109 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
หยาดฝนขี้สงสัย ระหว่างฝึกเขียนก็สงสัยว่า ทำไมยันต์ชนะต้องชักด้วยบท "กรณียเมตตสูตร" เมตตาจะช่วยให้ชนะได้อย่างไร ? การชนะต้องใช้พละกำลังและอำนาจสิ หรือไม่ก็ทำไมไม่ใช้ "ชัยมงคลคาถา" ? มัวแต่อ่อน ๆ เขาก็ฟาดเราตาย เหยียบเราจมดิน
คำตอบคือ.."โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตฺตา" แปลว่า "เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก" เมตตาชนะทุกสิ่ง แม้กระทั่งศัตรูร้ายกาจ เราก็สามารถชนะเขาได้ด้วยความเมตตา และเพราะความเมตตา เราก็จะสามารถชนะตัวเองได้ในที่สุด ความเมตตาชนะความโกรธได้ ชนะเจ้ากรรมนายเวรก็ได้ ผู้ใดได้รับกระแสความเมตตาอันบริสุทธิ์ เขาจะไม่ทำร้ายเรา แต่จะช่วยเหลือดูแลและปกป้องเรา (ดังนั้นไม่ถูกฟาดตาย ไม่ถูกเหยียบจมดิน) หากแม้นเขาอาฆาตเรามาก เราเมตตาเขาไปเรื่อย ๆ เขาก็ทนกระแสเมตตาไม่ไหว ก็ยอมให้เราเอง เช่นนี้คือการชนะด้วยความดี ซึ่งดีกว่าการชนะด้วยกำลังและอำนาจ ที่ไปข่มเหงหรือใช้กำลังบังคับชีวิตอื่น เบียดเบียนคนอื่น ความเมตตาทำให้กระแสกรรมชั่วขาดลงได้ และความเมตตาในจิตใจของเรา ก็สามารถดับโทสะในใจเราได้ ทำให้เราไม่โกรธตอบ ไม่ก่อกรรมให้เกิดกงเกวียนกงกรรมกันอีกต่อไป อีกทั้งเมตตาบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ ไม่ต้องใช้อิทธิฤทธิ์อภิญญาใด ๆ เกิดได้จากใจที่ปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่น สามารถช่วยให้โลกอันร้อนระอุสงบลงได้ จึงเป็นสิ่งค้ำจุนโลก ที่สำคัญที่สุดคือ "การเมตตาตัวเอง" ทำให้ชนะภัยในวัฏสงสารได้ ถึงซึ่งพระนิพพาน อะไรคือการเมตตาตัวเอง ? ก็คือการที่เราเห็นว่าเกิดมาแล้วทุกข์ พิจารณาว่ามันทุกข์ เมตตาและสงสารตัวเองว่าหากไม่รีบขวนขวายทำความเพียรให้ถึงซึ่งพระนิพพาน จะไม่สามารถพ้นทุกข์เช่นนี้ไปได้ เช่นนี้คือการเมตตาตัวเอง ในบางครั้งการเมตตาอาจจะทำได้ยาก ก็คิดไว้ว่า "ขันตี ปรมัง ตะโป ตีติกขา" คือ "ขันติเป็นตบะอย่างยิ่งของนักปฎิบัติ" กล่าวโดยสั้นคือ ต้องอดทนและทำให้ได้ เพราะพระอาจารย์สอนไว้ว่า “ไอ้ที่คิดว่ามันยากนั่นแหละที่ต้องทำ ยากจนทำไม่ได้ก็ต้องทำให้ได้” จากนี้ไปเมื่อเห็นยันต์นี้ หวังว่าท่านที่ผ่านมาอ่านเจอ อย่าเพียงแต่เห็นแค่ยันต์แล้วว่า "ขอให้หนู/ผมชนะ(นู่น/นี่)..ไม่มีใครทำอะไรได้" แต่เห็นแล้วเข้าใจถึงความหมายของยันต์ และสิ่งที่ครูบาอาจารย์ฝากไว้เป็นปริศนาธรรมในยันต์นี้ ท่านไม่ได้ให้ไปเอาชนะใคร เราจงชนะตัวเองด้วยความเมตตา ฝากไว้สำหรับวรรคสุดท้ายของ "กรณียเมตตสูตร" "..ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . .. . .. . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ" คำแปล ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 22-04-2016 เมื่อ 20:33 |
สมาชิก 114 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
เผื่อท่านใดอยากฝึกเขียน จะได้เหมือนมีเพื่อนฝึกเขียนไปด้วยค่ะ
รับชมการเขียนได้ที่ https://youtu.be/7Ra5rHMAoB4 หรือรีบ..อยากดูไว ๆ รับชมแบบความเร็ว ๓ เท่า ได้ที่ https://youtu.be/oSPEhSqMP4g |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|