#41
|
|||
|
|||
๖. วางอารมณ์ให้เป็น ปล่อยเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนใจทั้งหมด อย่าไปยึดถือเอามาเป็นทุกข์ ทุกสิ่งล้วนเป็นของธรรมดา พิจารณาด้วยปัญญาเข้าสู่มรรคผล อย่าให้เป็นโทษ ธรรมภายนอกอย่าไปแก้ แม้ร่างกายตนเองก็แก้ไม่ได้ ให้ปล่อยวางไปตามกฎของธรรมดา ให้แก้ธรรมภายในที่จิตของตนเองเท่านั้น ทุกสิ่งในโลกไม่เที่ยง ยึดถืออะไรเป็นที่พึ่งไม่ได้ เช่น ปล่อยวางรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, วางกาย – เวทนา – จิต – ธรรม ซึ่งไม่เที่ยง เกิดดับ ๆ อยู่เป็นธรรมดา, วางอุปาทานขันธ์ ๕ วางอารมณ์ โลภ โกรธ หลง จุดนี้ไม่มีใครช่วยใครได้ มีแต่คำแนะนำเท่านั้นที่ให้กันได้ การตัดกิเลสจักต้องใช้กำลังใจตัดด้วยตนเอง และตั้งใจทำจริง ๆ จึงจักทำได้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-08-2017 เมื่อ 12:58 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#42
|
|||
|
|||
๗. การกระทำทุกอย่างให้พิจารณาว่า ทำเพื่อความพ้นทุกข์เพื่อพระนิพพานหรือเปล่า อย่าทำด้วยอารมณ์อยากทำอย่างเดียว จุดนั้นเป็นความเร่าร้อนของจิต เป็นกิเลส เป็นตัณหา ผิดหลักของการปฏิบัติธรรมเพื่อพระนิพพาน อย่าลืม จักละกิเลส จักต้องรู้จักหน้าตาของกิเลสด้วย เช่น จักละรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ก็ให้รู้จักมันด้วย หรือจักละรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ต้องให้รู้จักด้วย รู้แค่สัญญาละไม่ได้ ต้องรู้ด้วยปัญญาจึงจักละได้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-08-2017 เมื่อ 17:10 |
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#43
|
|||
|
|||
๘. การพิจารณามรณาฯ และอุปสมานุสติไว้เสมอ ยังจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย และหากจับกองที่ถูกกับจริตนิสัย และกรรมของตนเองมาพิจารณาแล้ว จักได้มรรคผลคืบหน้าได้ง่าย อย่าทำแบบจับจด หรืออะไร ๆ ก็จำได้หมด แต่ทำอะไรไม่ได้สักอย่างเดียว.. จักไม่ได้ผล ให้กำหนดบทใดบทหนึ่งขึ้นมา ที่จิตมันชอบ แล้วทำอย่างจริง ๆ จัง ๆ จุดนั้นก็จักได้ผล และหากมีปัญญาบารมีดี ก็จักได้กองอื่น ๆ หมดเช่นกัน อย่าท้อแท้ ร่างกายมันจักเป็นอย่างไรก็เรื่องของร่างกายมัน อารมณ์นี้แหละคืออารมณ์ช่างมัน หรืออุเบกขาของร่างกายในบารมี ๑๐ ที่แท้จริง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-08-2017 เมื่อ 16:03 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#44
|
|||
|
|||
๙. ให้เข้มแข็งและอดทนกับอุปสรรคที่เข้ามากระทบทั้งปวง และฝึกจิตของตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตน อย่าท้อถอยเนื่องด้วยในโลกนี้ไม่มีใครอยู่เป็นที่พึ่งของใครได้ไปตลอดชีวิต ดังนั้น การฝึกจิตของตนเองเพื่อไม่ให้ฝืนกฎของความเป็นจริง จักต้องพิจารณาให้จิตยอมรับกฎของความเป็นจริงอยู่เสมอ จิตจักได้เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ มีความสงบสุข เนื่องด้วยไม่ฝืนความเป็นจริงนั้น ที่กล่าวมาเหล่านี้เป็นการปฏิบัติยาก แต่จักต้องทำให้ได้ ถ้าหากมุ่งหวังจักไปพระนิพพานในชาติปัจจุบัน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-09-2017 เมื่อ 16:26 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#45
|
|||
|
|||
๑๐. หามัชฌิมาของร่างกายให้พบ กายเป็นสุข จิตผู้อาศัยอยู่ก็เป็นสุข การปฏิบัติธรรมจักต้องอาศัยทางสายกลาง จุดนี้จักต้องสำรวจกายและจิตของตนเอง โดยหาความจริงของกายและจิตให้ชัดเจน แล้วตรงจุดนั้นนั่นแหละ จักควรค่าแก่การปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง อย่าเบียดเบียนกายและใจของตนเอง ก็จักพบความสุขของมรรคผลปฏิบัติอย่างแท้จริง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-09-2017 เมื่อ 13:40 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#46
|
|||
|
|||
๑๑. ให้พยายามปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามากระทบจิตใจ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา อย่าฝืนใจใครเพราะยากที่จักแก้ไขบุคคลอื่นได้ และเป็นกฎของธรรมดา เนื่องด้วยต่างคนต่างมีความคิดเป็นของตัว แล้วก็มักจักยึดความคิดเห็นของตัวเองว่าถูกต้องอยู่เสมอ ซึ่งจุดนี้เป็นเหตุของความกระทบกระทั่งของจิตใจ แล้วก็เป็นการยึดมั่นถือมั่นในอัตตา คือสังขารปรุงแต่งว่าเป็นเราเป็นของเรา ซึ่งเป็นกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม อันจิตของเราสร้างขึ้น พิจารณาให้รอบคอบแล้ว จักเห็นต้นตอแห่งความทุกข์ อันเกิดจากสังขารที่ปรุงแต่งนี้ ให้ถอยออกมาพิจารณาให้ละเอียดอีกขั้นหนึ่ง แล้วจักเห็นอัตตาที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสังขารปรุงแต่งอย่างชัดเจน จักเห็นโทษของการยึดสังขาร (อารมณ์ปรุงแต่ง) อย่างมากมาย แล้วเมื่อจิตยอมรับก็จักรู้จักปล่อยวางอย่างแท้จริง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-09-2017 เมื่อ 16:53 |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#47
|
|||
|
|||
๑๒. การเจ็บป่วยเป็นของธรรมชาติไม่มีใครฝืนได้ ธรรมะของตถาคตเจ้ามีแต่ธรรมดาทั้งหมด จิตจักพ้นทุกข์ได้ก็ต้องพิจารณาถึงตัวธรรมดาให้มาก เนื่องด้วยที่ทุกข์อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะจิตไปฝืนธรรมดา ไม่อยากให้เป็นไปตามธรรมดา (ตัณหา ๓ ครองโลก หรือเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ใจ) กฎของกรรมที่เกิดกับชีวิตของแต่ละคนทุกวันนี้ก็เช่นกัน เป็นธรรมหรือกรรมที่มาแต่เหตุทั้งสิ้น ซึ่งเป็นอริยสัจ ไม่ควรไปฝืน พยายามสอนจิตให้ยอมรับธรรมหรือกรรม จิตก็จักไม่ทุกข์ไปกับกฎของกรรมเหล่านั้น (อย่าฝืนโลก อย่าฝืนธรรมหรือกรรม)
การเกิด แก่ เจ็บป่วย ความปรารถนาไม่สมหวัง การพลัดพรากจากของรักของชอบใจล้วนเป็นทุกข์ แม้แต่ในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ? ทุกข์เพราะจิตไปยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา ปัญจขันธ์นี้ (ขันธ์ ๕) ไม่มีในเรา ไม่ใช่ของเรา เป็นอริยสัจ ผู้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า จักยอมรับนับถือสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นของจริง จิตผู้ไม่ฝืนความจริง.. จึงไม่ทุกข์ไปกับปัญจขันธ์ที่แปรปรวนไปตามสภาพนั้น ๆ เนื่องด้วยท่านเห็นเป็นของธรรมดาเสียแล้ว จิตเป็นสุข มีพระนิพพานเป็นที่ตั้งมั่นอยู่ในจิต ตายเมื่อไหร่ก็พ้นทุกข์เมื่อนั้น ให้สังเกตจุดนี้เอาไว้ให้ดี ๆ แล้วเพียรปฏิบัติตาม เพื่อจักได้พ้นทุกข์ของปัญจขันธ์ เข้าถึงพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบัน แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-09-2017 เมื่อ 17:41 |
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#48
|
|||
|
|||
๑๓. ร่างกายของใครก็ไม่สำคัญเท่ากับร่างกายของตนเอง ให้พิจารณาร่างกายตนเองเป็นหลักใหญ่ จักได้รู้ความจริงของร่างกาย แล้วจักเห็นชัดว่า ความโลภ โกรธ หลงทั้งหลายที่เกิดขึ้น ก็เนื่องจากการมีร่างกายนี้ ค่อย ๆ คิดพิจารณาให้เห็นอย่างชัดเจน แล้วจักผ่อนคลายการติดในร่างกายลงได้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-09-2017 เมื่อ 12:39 |
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#49
|
|||
|
|||
๑๔. จงอดทนต่ออุปสรรคทั้งหลายที่เข้ามาในชีวิต ย่อมมีแพ้บ้าง ชนะบ้างเป็นธรรมดา จงอย่ากังวลใจ ผิดพลาดไปบ้างก็เป็นของธรรมดา จำไว้...ความสุขของใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ร่างกายจักเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย ห้ามไม่ให้แก่ ไม่ให้ป่วยไม่ได้ แล้วที่สุดร่างกายนี้ก็ต้องตายเป็นของธรรมดา การรักษาใจต้องพยายามรักษาอารมณ์ให้ผ่องใสอยู่เสมอ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-10-2017 เมื่อ 01:42 |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|