กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน

Notices

ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #41  
เก่า 24-05-2012, 07:15
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ฟังเทศน์พระกรรมฐาน..“ปากเปราะ”

ในระยะเป็นหนุ่มจวนเจียนใกล้จะบวชแล้ว มีพระกรรมฐานท่านมาเที่ยวพักอยู่ที่ราวป่าบ้านตาด ท่านชื่อ “พระอาจารย์ดี” หนุ่มบัวจึงมีโอกาสเข้าไปฟังเทศน์ ในวันนั้นท่านเทศน์ให้ฟังเรื่อง “อียายปากเป็น อียายปากเปราะ” ดังนี้

“... ตอนนั้นเรายังไม่รู้เรื่องรู้ราวเพราะกำลังหนุ่มอยู่ จวนใกล้จะบวชแล้วแหละ พระกรรมฐาน เราไปฟังท่านเทศน์ มันจึงจำได้ละสิ ท่านเทศน์ท่านยกนิทานชาดกขึ้นว่า... อียายปากเปราะนี่ ชาติก่อนแกเกิดเป็นเต่างุ่มง่าม ๆ คืบคลานอยู่ตามบึง อาหารการกินไม่บริบูรณ์ หงส์สองผัวเมียบินมาเที่ยวหากินในบึงนั้น มาพบเต่าเข้าก็เกิดความสงสาร จึงอุทานออกไปว่า

‘โอ้! นี่อาหารก็ไม่มีจะทำ‘ยังไง’ น้ำก็ไม่มี น้ำก็หมด สถานที่สมบูรณ์บริบูรณ์มีอยู่ ฉันจะพาแกไป แกจะไปกับฉัน'มั้ย' ?’

‘ฉันจะไปกับพวกแกได้‘ยังไง’ ฉันไม่มีปีกบินเหมือนพวกแกนี่นา’

‘เพียงแกรักษาปากแกให้ดี แกก็ไปกับพวกเราได้’

‘รักษา‘ยังไง’ รักษาปาก’ เต่าถาม

หงส์ทองผัวเมียจึงว่า ‘คือว่าเราทั้งสองจะไปนำไม้มา แล้วตัวหนึ่งจะคาบปลายไม้ไว้ด้านหนึ่ง อีกตัวหนึ่งจะคาบที่สุดไม้อีกข้างหนึ่ง ให้แกคาบตรงกลางไม้นี่ไว้ แล้วเราทั้งสองนี่จะคาบไม้พาแกบินไป ให้แกเอาปากคาบไม้ไว้ให้ดี แล้วเราจะบินไปส่ง แกจะสามารถรักษาปากของแกได้'มั้ย' ?’ หงส์ทั้งสองถามขึ้น

‘รักษาได้ ของง่าย ๆ’ เต่ารับปากอย่างนั้น

‘เอ้า! ถ้าอย่างนั้น เราจะไปด้วยกัน’

หงส์ทองผัวเมียก็ไปเอาไม้มาให้เต่าคาบ เต่าคาบแล้ว หงส์สองผัวเมียก็โผบินผ่านไปกรุงพาราณสี คนในพระราชวังมองเห็นก็ร้อง
‘โฮ้ย! มาดูสิ หงส์หามเต่า หงส์หามเต่า หงส์หามเต่า’

ใคร ๆ ก็รู้แล้วว่าหงส์มันมีปีก เข้าใจหรือเปล่า มันก็บินได้ มันก็หามเต่าได้ละสิ ไอ้เต่า..ไอ้ปากเปราะนี่สิมันสำคัญ ไม่มีปีกแต่อยากอวดดี บินผ่านไปทางไหน คนก็ร้องว่า ‘หงส์หามเต่า หงส์หามเต่า หงส์หามเต่า’

ฝ่ายเจ้าเต่าก็เกิดโมโห จึงอ้าปากจะพูดว่า ‘โคตรพ่อโคตรแม่มึง ไม่รู้หรือว่า เต่าหามหงส์’ พออ้าปากออกโม้เท่านั้นแหละ โม้ยังไม่จบประโยค ก็ตกตูมลงกรุงพาราณสี ร่างแตกกระจุยกระจาย กระดองไปทางหนึ่ง ตัวไปทางหนึ่ง หัวไปทางหนึ่ง ขาไปทางหนึ่ง ตายทันที... แล้วตายจากชาตินั้น จึงมาเกิดเป็นอียายปากเป็นคนนี้

อียายปากเป็นนี้ ไปไหนแกชอบพูดยุยงส่งเสริมให้คนนั้นคนนี้แตกร้าวจากกัน ให้คนนั้นหย่าร้างกัน ถ้าเป็นสามีภรรยาก็ยุยงส่งเสริมให้สามีภรรยาทะเลาะกัน แล้วหาเรื่องว่าสามีไปมีเมียน้อย ภรรยาไปมีผัวน้อย เอาเรื่องทั้งสองมาตีกันยุ่งไปหมด นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่า ‘ให้พากันรักษาปากนี้ให้ดี’…”

นิทานชาดกที่พระกรรมฐานเทศน์ให้ฟังในวันนั้น เป็นคติเตือนใจและยังจดจำตราตรึงอยู่ในใจของท่านตลอดมา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-05-2012 เมื่อ 14:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #42  
เก่า 25-05-2012, 10:53
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ลูกที่ไว้ใจ วางใจได้

ในระยะก่อนที่จะออกบวชปรากฏว่า ท่านเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจในการงานทั้งปวง จนบิดามารดาหวังฝากผีฝากไข้ ฝากเป็นฝากตายไว้กับท่าน ความไว้วางใจของพ่อแม่ที่มีต่อท่านและพี่ชาย เห็นได้อย่างชัดเจนจากคำกล่าวของท่านที่ว่า
“... แต่ก่อนพ่อแม่ของเรามีเป็นหลาย ๆ ชั่ง* นะ คือเงินชั่งแต่ก่อนไม่ใช่เล็กน้อย เป็นเงินหมื่น ๆ ทุกวันนี้ละนะ เงินมีหลายชั่งในครัวเรือนของเรา...

พอเดือนเมษาฯ สรงน้ำพระปีใหม่ พ่อแม่ถึงจะเอาออกมาทีหนึ่ง... ใส่ขันใหญ่นี้ออกมาเต็มเลย เวลาสรงน้ำไม่ให้ใครรู้นะ รู้เฉพาะเรากับพี่ชายคนหนึ่ง นอกนั้นไม่ยอมให้เห็นเลย ทำอยู่ข้างบนบ้าน เอาน้ำอบน้ำหอมมาล้าง จนถึงน้ำดำเลย เต็มขัน ๆ เสร็จแล้วเก็บเงียบ แต่ก่อนไม่มีฝากธนาคารนะ เก็บแบบลี้ลับของคนโบราณ

เกี่ยวกับเรื่องการเก็บรักษาเงินทองภายในครอบครัวของท่านนั้น แม่เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าพ่อ เพราะเป็นผู้มีความจดจำดีกว่าพ่อมาก ประการแรกคงเป็นเพราะแม่ได้ความเฉลียวฉลาดจากคุณตามาไม่น้อย ดังท่านเคยกล่าวว่า
“...โยมแม่นี้ยกให้เลย ความจำนี่เก่งมาก อันนี้เด่นจริง ๆ ลูกไม่ได้สักคนเดียว ทางนี้เขามีกลอนลำเหมือนเพลง พอเขาขึ้นลำนี่ โยมแม่ฟังอยู่นั่นแล้ว ฟังลำจบ จำได้หมดเลย เก่งขนาดนั้น อะไร ๆ นี่จำได้หมด

ลูกคนไหนเกิดวันไหน เดือนไหน ข้างขึ้นข้างแรม ไม่ได้มีอะไรจดนะ แต่ก่อนไม่มีละหนังสือจะจด โยมแม่จดด้วยความจำทั้งนั้น ลูกทุกคนจำได้หมด ไม่มีพลาด นี่แหละ เก่งจริง ๆ ความจำความฉลาดก็ยกให้อยู่นะ แม่รู้สึกว่าจะได้สืบมาจากพ่อคือตา...”

น้อง ๆ ของท่านกล่าวเช่นกันว่า “...ที่แม่มีความสามารถทางการจดจำดีกว่าพ่อ ก็น่าจะเป็นเพราะพ่ออาจจะต้องรับผิดชอบการงานหลายอย่าง ทำให้มักจะลืมสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่บ่อยครั้ง

ถ้าพ่อถือเงินไปไหนต่อไหน ความที่จำไม่ได้ทำให้เหมือนกับว่าอยู่ดี ๆ เงินก็ถูกขโมยหายไป บางครั้งก็กลับมีเงินเพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเอามาใส่ให้ แต่สำหรับเงินที่เก็บอยู่กับแม่นั้นไม่เคยมีปัญหาใด ๆ เหมือนของพ่อเลย

เวลาที่เขาหาบฟ่อนข้าวมากองที่ลานในนา ทางพ่อว่าข้าวมีเท่านั้น ส่วนแม่ว่ามีเท่านี้ จะนับได้ไม่เท่ากัน ท่าน (หมายถึงองค์หลวงตา) จะเชื่อถือในจำนวนที่แม่บอก เพราะท่านว่าแม่พูดมีเหตุผลมากกว่า ส่วนพ่อมักลืมเก่ง และสิ่งนี้เองทำให้ท่านตัดสินใจพูดกับพ่อแม่ว่า
‘เอ้า..ตั้งแต่นี้ต่อไป ให้แม่เป็นคนเก็บเงินทั้งหมด เอาไว้ให้พ่อใช้นิดหน่อย ถ้าไม่มีจึงค่อยเอาจากแม่ไปใช้ เป็นการตัดปัญหา จะได้ไม่มีใครมาลักมาปล้นอีก’…”

การที่พ่อแม่ยอมให้ท่านได้เห็นเงินจำนวนมาก อีกทั้งยอมเชื่อคำแนะนำของท่านในเรื่องการจัดเก็บเงินดังกล่าว ย่อมชี้ชัดถึงความเป็นที่เชื่อใจวางใจได้ของพ่อแม่ที่มีต่อท่าน เพราะหากเป็นลูกที่ไม่ดี ก็ย่อมอาจจะคิดลักขโมยเงินทองของพ่อแม่ได้ หรืออาจแนะนำพ่อแม่เพื่อหวังประโยชน์เข้าสู่ตนเอง โดยอาศัยจุดอ่อนในเรื่องความจำของพ่อเป็นช่องทางได้

ความซื่อสัตย์ต่อพ่อแม่ดังกล่าว นับเป็นคุณธรรมของบุตรที่หาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน

==================================================================
* เงิน ๑ ชั่ง เท่ากับ ๘๐ บาท

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-05-2012 เมื่อ 15:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 55 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #43  
เก่า 28-05-2012, 08:23
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หนุ่มบัวกับทางสามแพร่ง

ตามที่คุณตาได้เคยทำนายฝันท่านไว้ขณะอยู่ในครรภ์ว่า มีนิสัยทำอะไรทำจริง และเมื่อตกคลอดออกมาก็มีรกพันคอออกมาด้วย ว่าสายรกนี้เป็นไปได้ ๓ อย่าง คือ สายโซ่ สายกำยำและสายบาตร เพื่อแก้เคล็ดสะเดาะเคราะห์ให้เกิดสิริมงคลแก่หลาน คุณตาจึงรีบร้องพูดออกมาในทางดีขึ้นในทันทีว่า
“โอ้! รกพันคอ นี่เป็นสายบาตร สายบาตร สายทางธรรม นี่สายบาตร ๆ สูดูนี่! สายบาตร สายบาตร ๆ เด็กน้อยคนนี้มันจะได้บวชเป็นพระ แล้วก็จะได้เป็นนักปราชญ์ นี่คือ ทางสายบาตร

แม้คุณตาจะกล่าวเป็นมงคลต่อหลานไว้ กระนั้นก็ตาม ชีวิตของท่านในวัยหนุ่มก็มิได้ราบเรียบตามคำพูดของคุณตาเสียทีเดียวนัก ต้องอดทนต่อสู้และเลือกในเส้นทางที่มีทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิดที่ผ่านเข้ามาในชีวิตอยู่เป็นระยะ ๆ ดังนี้

“เราโตเป็นหนุ่มก็เดินตามรอยพ่อ.. เป็นพรานเหมือนพ่อ ปืนก็อยู่กับบ้าน ไปไหนฉวยจับไปเลย เริ่มออกยิงสัตว์แล้วแต่ยังทำไม่มาก เป็นแต่เพียงเริ่มฆ่าเท่านั้น นี่คือทางสายกำยำ หรือ ทางปืน”

นี่เป็นทางเลือกหนึ่งที่ท่านถอยออกไป เพราะรู้สึกแป้วใจ ไม่สบายใจที่ชีวิตสัตว์ต้องถูกพลัดพราก และทำลายไปโดยน้ำมือของท่าน และอีกเส้นทางหนึ่งที่ท่านเกือบจะมุ่งหน้าเดินต่อไป ทั้งที่เป็นหนทางแห่งอันตรายยิ่ง แต่เดชะบุญมีเหตุทำให้ต้องได้เลิกราไป ท่านได้เล่าไว้อย่างน่าใจหายว่า

สมัยเป็นหนุ่มน้อย เราเคยไปคบเพื่อนไม่ดี กำลังจะไปค้าฝิ่นกับเขา เขาชวนไปขายฝิ่น แต่ยังไม่ได้ขายนะ ซื้อฝิ่นมาแล้ว เตรียมตัวจะนำไปส่งขายครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ก็ยังทำไม่สำเร็จ มีเหตุดลบันดาลให้ไม่ได้ทำ พอดีกับตอนนั้น พ่อน้ำตาร่วงขอให้ออกบวช เรื่องค้าฝิ่นจึงปัดทิ้งทันทีไม่ได้สนใจ และไม่เคยถามถึงจนกระทั่งป่านนี้ ฝิ่นนั้นไม่ได้อยู่กับบ้าน อยู่กับจุดศูนย์กลางกับเพื่อน นี่คือทางสายโซ่ ถ้าหากไปขายฝิ่นต้องติดคุกติดตะราง”

หากคำทำนายของคุณตาเป็นจริง ก็เหลือหนทางสุดท้ายเท่านั้นคือ ทางสายบาตร ซึ่งขณะนั้นยังไม่อยู่ในความคิดความตั้งใจของท่านแต่อย่างใด เนื่องจากใจของท่านเวลานั้น แม้จะมีความรักในศาสนาแต่ก็ยังไม่พร้อม ใจไม่คิดอยากบวช อยากมีครอบครัวมากกว่าแต่เหตุการณ์ก็ไม่ค่อยเป็นใจ ทุกสิ่งทุกอย่างดูจะมีอุปสรรคขัดข้องเสมอดังนี้

“...ถ้าพูดถึงเรื่องรักผู้หญิง .. ‘รักจนกระทั่งนอนไม่หลับ รักจนจะตาย คนที่รักก็เป็นเครือญาติวงศ์เดียวกัน

‘พวกญาติอีกผ่ายหนึ่งก็เห็นดีเห็นงามว่า ‘เอ้า! ดีแล้ว เป็นญาติเป็นวงศ์เป็นสกุลเดียวกัน ได้กันก็ยิ่งเป็นกันเองก็ยิ่งง่าย’

พวกญาติอีกฝ่ายหนึ่งก็ทักท้วงว่า ‘พวกแกจะมาทำลายวงศ์สกุลกันหรือนี่ คนนี้ชื่อว่าอย่างนั้น คนนั้นชื่อว่าอย่างนี้ เรียกกันว่าอย่างนั้น ที่นี้จะมาให้เรียกคนนี้เป็นปู่ คนนี้เป็นย่า คนนี้เป็นอย่างนั้น มันเรียกกันได้ลงคอเหรอ จะมาถือเอาสิริมงคลอะไรจากการทำลายญาติ'

พิจารณาดูทางเหตุผลแล้ว เราก็ยอม ‘เอ้า! ถ้าอย่างนั้นก็ตัดใจ มันจะตายก็ยอมตาย เอามาแล้วมันไม่เกิดประโยชน์ ลงได้ขวางผู้ใหญ่ ขวางญาติ ขวางสกุลแล้ว เอาประโยชน์อะไรจากสิ่งเหล่านี้ เอามาแล้วมันก็กีดก็ขวางอยู่อย่างนั้นแหละ หาความเจริญไม่ได้ เพราะเราเพียงเท่านี้ทำความเสียหายแก่วงศ์สกุลมากมาย ไม่มีใครเห็นดีด้วยแล้วเอาไปทำไม’

มันจะตาย เพราะหัวใจมันรัก แต่ก็ต้องตัดรักลงอย่างขาดสะบั้นหัวใจ ต่อมาก็ได้มาหัวเราะเรื่องของตัวเองเหมือนกัน แต่ก่อนมันเหมือนไม่มีญาติมีวงศ์ ไม่มีพ่อมีแม่ มันก็มีแต่มันคนเดียว เก่งกว่าพ่อกว่าแม่ กว่าญาติกว่าวงศ์ กว่าใครทั้งหมดจะให้ได้ดั่งใจ ที่นี้เวลาเรื่องทั้งหลายมันจบแล้ว เหตุผลเพราะเราไม่ต้องการจะเป็นคนเลวขนาดนั้น จะทำได้ลงคอหรือ มันก็ต้องยอม ยอมทั้ง ๆ ที่ตัวกิเลสมันไม่ยอม แต่เพราะเห็นแก่วงศ์สกุล จึงฟาดมันขาดสะบั้น...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 28-05-2012 เมื่อ 12:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #44  
เก่า 29-05-2012, 07:54
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สะเทือนใจน้ำตาพ่อแม่

เมื่อท่านมีอายุครบสมควรที่จะบวชได้แล้ว ตามหลักประเพณีของไทยเราแต่โบราณมา เมื่อบุตรชายอายุครบบวชมักจะให้บวชเสียก่อน ก่อนที่จะมีครอบครัวเหย้าเรือนต่อไป ดังนั้นบิดามารดาจึงคิดจะนำเรื่องนี้มาปรึกษาปรารภกับท่าน

ครอบครัวของท่านมีพ่อแม่และลูกชายหญิงหลายคน โดยปกติจะร่วมรับประทานอาหารกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เย็นวันหนึ่งขณะกำลังรับประทานอยู่อย่างเงียบ ๆ พ่อก็พูดขึ้นมาชนิดไม่มีอะไรเป็นต้นเหตุเลยว่า
“...เรามีลูกหลายคนทั้งหญิงทั้งชาย แต่ก็ไม่พ้นความวิตกกังวลในเวลาเราจะตาย เพราะจะไม่มีลูกคนใดใจเป็นผู้ชายคิดบวช พอให้เราได้เห็นผ้าเหลืองก่อนตาย ได้คลายความกังวลใจในเวลานั้น แล้วตายไปอย่างเป็นสุขหายห่วง...

ลูกผู้ชายเหล่านั้น กูก็ไม่ว่ามันแหละ ส่วนลูกผู้หญิง กูก็ไม่เกี่ยวข้องมัน ลูกผู้ชาย.. กูก็มีหลายคน แต่นอกนั้นกูก็ไม่สนใจอะไรพอจะอาศัยมันได้ แต่ไอ้บัว (หมายถึงองค์หลวงตา).. นี่ซิ ที่กูอาศัยมันได้นะ..”

ทั้ง ๆ ที่โดยปกติพ่อไม่เคยชมท่าน แม้เรื่องอะไรต่าง ๆ พ่อก็ไม่ชม มีแต่กดลงเรื่อย ๆ ท่านว่านิสัยของพ่อและแม่ของท่านเป็นอย่างนั้น จากนั้นพ่อก็พูดต่อไปว่า
“ไอ้นี่ลงมันได้ทำการทำงานอะไรแล้ว กูไว้ใจมันได้ทุกอย่าง กูทำยังสู้มันไม่ได้ ลูกคนนี้กูไว้ใจที่สุด ถ้าลงมันได้ทำอะไรแล้ว ต้องเรียบไปหมด ไม่มีที่น่าตำหนิติเตียน กูยังสู้มันไม่ได้ ถ้าพูดถึงเรื่องหน้าที่การงานแล้ว มันเก่งจริง กูยกให้ ลูกกูทั้งหมดก็มีไอ้นี่แหละ เป็นคนสำคัญ เรื่องการงานต่าง ๆ นั้น กูไว้ใจมันได้

แต่ที่สำคัญ ตอนกูขอให้บวชให้มันบวชให้ทีไร มันไม่เคยตอบไม่เคยพูดเลย เหมือนไม่มีหู ไม่มีปากนั่นเอง บทเวลากูตายแล้ว จะไม่มีใครลากกูขึ้นจากหม้อนรกเลยแม้คนเดียว เลี้ยงลูกไว้หลายคนเท่าไร กูพอจะได้อาศัยมันก็ไม่ได้เรื่อง ถ้ากูอาศัยไอ้บัวนี่..ไม่ได้แล้ว กูก็หมดหวัง เพราะลูกชายหลายคน กูหวังใจอาศัยไอ้นี่เท่านั้น”

ท่านเล่าให้ฟังต่อว่า “พอพ่อว่าอย่างนั้น น้ำตาพ่อร่วงปุบปับ ๆ เรามองไปเห็น แม่เองพอมองไปเห็นพ่อน้ำตาร่วง แม่ก็เลยน้ำตาร่วงเข้าอีกคน เราเห็นอาการสะเทือนใจทนดูอยู่ไม่ได้ ก็โดดออกจากที่รับประทาน ปุ๊บปั๊บหนีไปเลย นั่นแหละ เป็นต้นเหตุให้เราตัดสินใจบวช มันมีเหตุอย่างนั้น”

การที่แม่ก็น้ำตาไหลเหมือนกันกับพ่อ เพราะว่าแม่ก็เคยอบรมและขอร้องลูกเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนแล้ว แต่ท่านก็ยังยืนยันทุกครั้งไปว่า “ไม่บวช กำลังรักสาวอยู่”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-05-2012 เมื่อ 18:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #45  
เก่า 31-05-2012, 07:43
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลบหน้าพ่อแม่ คิดทบทวน ๓ วัน

เมื่อหลบอยู่ตามลำพัง ท่านนำเรื่องนี้ไปคิดอยู่ ๓ วันไม่หยุดไม่ถอย และไม่ยอมมารับประทานร่วมวงพ่อแม่อีกเลยใน ๓ วันนั้น กลัวจะโดนปัญหาดังกล่าวนี้อีก เพราะตอนนั้นใจยังไม่คิดอยากบวช จึงทำเป็นทองไม่รู้ร้อนเรื่อยมา แต่คราวนี้เห็นเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสสากรรจ์ ขนาดถึงกับทำให้พ่อแม่ต้องเสียน้ำตา ท่านจึงคิดเทียบเคียงหาเหตุผลในใจว่า

“... เอ๊ะ..พ่อมาน้ำตาร่วง ยกลูกก็เรียกว่ายกแบบยกทุ่มลง พูดง่าย ๆ ยกยอก็ยกยอเพื่อทุ่มลง บทเวลาจะให้บวชนี่ละทุ่มลง คิด ..เอ๊ะ..พ่อน้ำตาร่วงเพราะเรา คิดเอามาจริง ๆ นะ ไม่สบายหัวใจเลย

คิดสงสารพ่อ พ่อแม่ก็เลี้ยงเรามา ทั้งบ้านทั้งเมืองเขาก็มีลูกมีเต้า ลูกเต้าเขายังบวชได้ แม้แต่ติดคุกติดตะรางเขายังมีวันออก นี่ไปบวช ไม่ใช่ไปติดคุกติดตะราง คนอื่น ๆ เขายังบวชได้ เขาสึกมาถมไป บางองค์ท่านบวชจนเป็นสมภารเจ้าวัด จนตายกับผ้าเหลืองก็ไม่เห็นท่านเป็นอะไร ทำไมเราบวชให้พ่อแม่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ได้ มีอย่างหรือ เอาละนะทีนี้นะ คิด...

เพื่อนฝูงที่เขาบวชกัน ตลอดถึงครูบาอาจารย์ที่บวชเป็นจำนวนมาก ท่านยังบวชกันได้ทั่วโลกเมืองไทย การบวชนี่ก็ไม่เหมือนการติดคุกติดตะราง แม้เขาติดคุกติดตะราง เช่น ติดตลอดชีวิต เขาก็ยังพ้นโทษออกมาได้ เราไม่ใช่ติดคุกติดตะรางนี่ หมู่เพื่อนบวช เขายังบวชได้ เขาเป็นคนเหมือนกัน และครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านบวชจนเป็นสมภารเจ้าวัด ท่านยังอยู่ได้ เหตุใดเราเป็นคนทั้งคน พ่อแม่เลี้ยงมาเหมือนคนทั้งหลาย อย่างอื่น ๆ เรายังอดได้ทนได้ แต่การบวชนี่มันเหมือนติดคุกติดตะรางเชียวหรือ เราถึงจะบวชไม่ได้ ทนไม่ได้ เราทำไมถึงจะด้อย เอ..เสียนักหนา ต่ำช้าเอานักหนากว่าเพื่อนฝูงทั้งหลาย ถึงขนาดพ่อแม่ต้องน้ำตาร่วงเพราะเรานี่ ไม่สมควรอย่างยิ่ง...

สุดท้ายก็ลง เราเป็นคนทั้งคน เป็นลูกชายคนหนึ่ง เป็นคน ๆ หนึ่ง คนอื่นเขาบวชได้ เราบวชไม่ได้เป็นไปไม่ได้ เอ้า..บวชอยู่ในผ้าเหลือง มันอยากสึกจนกระทั่งตายก็ให้ตายดูซี พ่อแม่เลี้ยงมาก็ยาก ถึงขนาดที่ว่าร้องห่มร้องไห้เพราะเราไม่บวชเท่านี้ มันพิลึกเหลือเกิน เราเป็นลูกคนแท้ ๆ ...”

ท่านคิดวกไปวนมาอยู่นั้นได้ ๓ วัน จึงตัดสินกันได้

“... เอาละทีนี้ ตัดสินใจปุ๊บ เราทำไมจะบวชไม่ได้ ตายก็ตายไปซิ เขาบวชกันมาไม่เห็นตาย พ่อแม่ก็ไม่ได้บอกให้บวชจนถึงวันตาย หรือบอกให้บวชถึงปีสองปี พ่อแม่ก็ไม่เห็นว่านี่ แล้วทำไมถึงจะบวชไม่ได้ล่ะ เราก็คน ๆ หนึ่งแท้ ๆ เอ้า..ต้องบวช...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-05-2012 เมื่อ 17:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #46  
เก่า 01-06-2012, 09:27
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ความฉลาดของแม่ รู้ใจลูก

เมื่อท่านตัดสินเป็นที่ลงใจแล้ว ท่านจึงกลับมาหาแม่ และบอกแม่ว่า
เรื่องการบวช จะบวชให้ แต่ว่าใครจะมาบังคับไม่ให้สึกไม่ได้นะ บวชแล้ว จะสึกเมื่อไรก็สึก ใครจะมาบังคับว่าต้องเท่านั้นปีเท่านี้เดือนไม่ได้นะ”

แม่ตอบทันทีว่า “เอ้อ..สาธุ ถ้าเจ้าจะบวชให้ แม่ก็สาธุ โถ.. แม่ไม่ว่าอะไรหรอกเรื่องสึก ขอแต่ว่าได้บวชก็พอแล้ว

ถ้าลูกบวชแล้วสึกออกมาทั้ง ๆ ที่คนที่ไปบวชยังไม่กลับบ้านก็ตาม แม้จะสึกต่อหน้าต่อตาคนมาก ๆ อย่างนั้น แม่ก็ไม่ว่า

คำตอบของแม่เช่นนี้ ทำให้สะดุดใจคิดทันทีว่า “...ก็ใครจะเป็นพระหน้าด้าน มาสึกต่อหน้าต่อตาคนมาก ๆ ที่ไปบวชเราได้ ไม่บวชมันเสียดีกว่า เมื่อบวชแล้วมาสึกต่อหน้าต่อตาคน มันยิ่งขายขี้หน้ากว่าอะไรเสียอีกนั่น

เหตุการณ์ในตอนนั้น ท่านเล่าแบบขบขันถึงความฉลาดของแม่ ที่รู้ถึงนิสัยจิตใจท่านเป็นอย่างดี ดังนี้
“...ฉลาดไหมล่ะ ? ฟังเอา..ใครไปบวชแล้วออกมาจากอุปัชฌาย์ อุปัชฌายะก็ยังไม่หนี พระกรรมวาจาฯ ก็ยังไม่หนี พระสงฆ์ก็ยังไม่หนีกัน คนก็แน่นอยู่อย่างนั้น ออกมาจะมาสึกต่อหน้าต่อตาคนมาก ๆ นี้ มันไม่ขายหน้าโลก กระเทือนโลกหรือ ? ไม่บวชเสียไม่ดีกว่าหรือ ? มันดีกว่าบวชแล้วมาทำอย่างนั้นนี่นะ แม่ก็ต้องทราบว่ามันทำไม่ลง เพราะรู้อยู่แล้วว่านิสัยของเราเป็น‘ยังไง’

นิสัยเราไม่เคยเป็นคนเสียหายนี่ การประพฤติเนื้อประพฤติตัวแต่ไหนแต่ไรมา เราไม่เคยเสียหาย เราพูดคุยได้จริง ๆ การประพฤติตัวไม่เคยเถลไถล พอแม่ว่า ‘งั้น’ เอ้า..บวช บวชละทีนี้ พอบวชเข้าไป เราจะตั้งหน้าบวชให้สมบูรณ์แบบ ไม่ให้ตำหนิติเตียนเจ้าของได้ในหลักธรรมวินัยข้อใดเลย เราจะเอาจริงเอาจังจนกระทั่งวันสึก กะไว้อย่างนาน ๒ ปี คิดไว้นะ..บวชแล้วทำหน้าที่บวชให้สมบูรณ์ คือจะเรียนหนังสืออะไร ๆ ก็แล้วแต่เถอะ จะทำหน้าที่ให้สมบูรณ์...”

เมื่อตกลงกันได้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจบวชและเป็นที่น่าแปลกใจว่า การเตรียมการบวชนี้กลับไม่มีอุปสรรค ไม่มีสิ่งใดมากีดมาขวาง ทุกสิ่งทุกอย่างดูพร้อมไปหมดเลย การตัดสินใจในครั้งนี้สร้างความปีติยินดีแก่พ่ออย่างมาก ท่านเล่าเหตุการณ์ตอนนี้ว่า

“...พอมาบวชเท่านั้นนะ พ่อ แหม.. รู้สึกดีใจจริง ๆ นะ อะไร ๆ เตรียมให้หมดทุกอย่างเลย เรียกพี่ชายมา... ให้พี่ชายเป็นคนจัดบริขาร เพราะพี่ชายเคยบวชเป็นเณรมาแล้ว เขารู้เรื่องผ้าสบงจีวร อะไร ๆ มอบให้พี่ชายเลย ซื้ออะไร ๆ ให้ก็เอาของดี ๆ นะ ... บวชก็ไม่ได้คิดว่าจะอยู่นาน จะบวชปีสองปีเท่านั้นแหละ แล้วก็จะสึกตามประเพณีของโลกเขา บวชให้พ่อดีใจ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-06-2012 เมื่อ 17:22
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 55 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #47  
เก่า 05-06-2012, 11:00
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ป่วยหนักก่อนตัดสินใจบวช

เรื่องนี้เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในระยะก่อนบวช และมีส่วนหนุนนำให้ท่านตัดสินใจบวชได้เร็วขึ้นดังนี้

“..ทีแรกก็ไม่อยากบวช ค่อยขยับจ่อเข้าไป ถึงกาลเวลาป่วยหนัก ป่วยหนักจริง ๆ แทบจะไม่พ้นจากคืนวันนั้น ถึงขั้นพ่อกับแม่มานั่งอยู่สองข้าง มานั่งเทียบสองข้างเลย เราก็กำลังเป็นหนักในขณะนั้น ที่ไม่ลืมเลยก็แม่นั่นแหละ แม่เป็นคนใจอ่อน พ่อไม่ค่อยพูด แต่แม่เป็นคนใจอ่อน ‘จะไปเดี๋ยวนี้เชียวหรือลูก ?’

แม่พูดออกมา ‘อย่าด่วนไป ยังไม่ควรไป ลูกยังไม่ได้บวชให้แม่ ให้ลูกบวชเสียก่อน แม่จะได้หายสงสัย’

แล้วกำลังอารมณ์ในการบวช นี่..ก็เป็นหนักเหมือนกัน..หนุนเข้ามา คราวนี้คราวเราจะไปไม่รอด ‘ถ้าวาสนาของเรายังมีอยู่ จะพอสืบภพสืบชาติไปถึงชั้นสูง ๆ บ้าง ก็ขอให้การเจ็บไข้ได้ป่วยเราซึ่งเป็นมาก ๆ ให้หายวันหายคืนไป

พอว่าอย่างนั้น กลางคืนนั้นละ..พญายมบาลดึง ทางพญาแดนสวรรค์ก็ดึง สุดท้ายก็เลยได้มาทางแดนสวรรค์หรือแดนอะไรก็ไม่รู้นะ แต่มาทางแดนสวรรค์...

รำพึงนะ ... ‘บวชคราวนี้ เหมือนว่าเอาเป็นเอาตายเข้าว่า’

พ่อกับแม่นั่งอยู่สองข้าง จะไปพูดก็จะพูดไม่ได้แล้ว แม่ไม่ต้องพูดมากละ แม่..น้ำตาแม่เร็วกว่าน้ำตาพ่อนะ พอเห็นลูกเป็นอย่างนั้นก็ร้องไห้อยู่ข้าง ๆ นั่นละ กำลังใจของเราก็มุ่ง ‘ขอให้หายในคราวนี้ เราจะออกบวช พอหายคราวนี้เราจะออกบวชเลย’

เราก็หายวันหายคืนจริง ๆ นะ ทั้งที่ไม่น่าพ้นคืนนั้นกลับหายวันหายคืน พอหายวันหายคืนแล้ว สายแห่งกุศลมากระตุกอยู่เรื่อย ‘อย่างไรละ ? ว่าจะบวช..หายแล้วทำไมไม่เห็นบวช ?’

ยอมรับทันทีเลย ยอมรับว่ายังไม่ได้บวช แต่จะบวชให้ได้คราวนี้ พอว่าอย่างนั้นการเจ็บไข้ได้ป่วยหายวันหายคืน ไม่กี่เดือนนะ เรื่องสะดุดจิต..ตายไปแล้วจะไม่ได้บวช ตายกับยังไม่ตายจะบวชหนักสองทาง การที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อจะบวช..เพื่อจะบวช จากนั้นก็หายวันหายคืน... พ่อกับแม่นั่งอยู่สองข้าง เพราะเป็นหนักจริง ๆ เป็นถึงขนาดพูดไม่ได้เลย ส่วนแม่น้ำตาพังนะ..แม่นะ

พอเราตั้งสัจจาธิษฐานในจิตของเรา เพราะจิตมันไม่ป่วย จิตไม่เป็นภัย มันเป็นแต่สังขารร่างกายนี้เท่านั้น เราก็ค่อยดีขึ้น..เลยหายวันหายคืนอย่างรวดเร็ว คำที่ว่าหายแล้วจะบวชนั้นกระตุกเรื่อยนะ หายไข้มาแล้วยังกระตุกเรื่อย กระตุกเราก็ยอมรับ บอกว่าเราจะบวช ไม่ปฏิเสธ เลยได้ออกบวชจริง ๆ เรื่องราวนะ

เราเป็นมาก ๆ พญามัจจุราชก็จ้อเข้ามา นายยมบาลหรือ ...ไม่ทราบละ ต่างฝ่ายต่างจ้อเข้ามา.. สุดท้ายก็หายไข้ หายจากไข้แล้วการบวชนี้ จ้อเข้ามาเลย กระตุกเรื่อย หายจากเป็นไข้แล้วว่า ‘จะบวชทำไมไม่บวช ?’ ว่าอย่างนั้นนะ สายกุศลกระเทือนใจเจ้าของเอง

ทางนี้ก็ยอมรับว่า ‘จะบวช ๆ ถึงวันแล้วจะบวช ให้เป็นอื่นไม่เป็นละ’ เพราะได้ยอมกับพญามัจจุราชมาครั้งหนึ่งแล้ว แทบจะไปไม่รอด คราวนี้จะบวชกับสายใยแห่งการกุศลมันหนุนเรื่อย ๆ ทางนี้สารภาพเรื่อยว่า จะบวช ๆ

จากนั้นพอหายไข้แล้วบอกแม่ว่า ‘จะบวชละ’ แม่มีคำสัตย์คำจริงมาก ทั้งศรัทธามีพอ ๆ กับแม่กับพ่อไม่มีขัดแย้งกันเลย เรื่องบุญเรื่องบาปเสมอกัน

นั่นละ พอจากลั่นคำแล้วเรียกว่าเปิดเลยนะ เพราะนิสัยนี่ไม่เหลาะแหละ จะทำ.. ทำ จะทำอย่างไร ? เอา..ทำ ๆ เป็นนิสัยจริง ๆ จัง ๆ พอหายจากไข้แล้ว เรื่องการบวชกระตุกเรื่อย กระตุกเรื่อย เลยลั่นคำออกมาให้แม่ฟังว่า

‘นี่ตั้งใจว่าจะบวชหลายหน มันก็เคลื่อนคลาดไปเรื่อย ๆ คราวนี้จะบวชให้แล้วนะ’

พอบอกแม่จบลงแล้ว แม่ก็รีบไปบอกพ่อ เพราะเห็นเรานิสัยอย่างนั้น นิสัยของเราเป็นอย่างไร ? ว่าจะไป.. ไป ว่าจะอยู่.. อยู่ ว่าจะทำ.. ทำ ถ้าลงได้ลั่นคำแล้วขาดสะบั้น ที่นี้แม่ได้ยินว่าเราจะบวชให้ แม่ร้องไห้ พ่อก็เหมือนกัน... เวลาบวช พ่อเรียกพี่ชายมาสอนมาสั่ง

‘เธอได้บวชก่อนน้องแล้ว รู้จักบริขารเกี่ยวกับการบวช จะเอาอะไรบ้าง ? แล้วหาของดี ๆ ให้น้อง’

น้องก็คือเรา ทีนี้พ่อกับแม่ก็ปรึกษากันให้เอาแต่ของดี ๆ มาบวช เพราะเด็กคนนี้มันไม่ค่อยเหมือนใคร ถ้าว่าอย่างไรเป็นอย่างนั้น ว่าอย่างไรเป็นอย่างนั้น นี้มันลั่นคำลงแล้วว่าจะบวช เราเชื่อเสียเดี๋ยวนี้ว่าลูกคนนี้จะต้องได้บวช เพราะได้ยินคำพูดของเราจริงจังมาก จากนั้นเลยตกลงให้พี่ชายไปหาเครื่องบวชดี ๆ

‘เอาดี ๆ นะ มึง..มึงเคยบวชมาแล้ว มึงรู้จักบริขารของพระบวชแล้ว หาของดี ๆ นะ น้องมึงมันไม่เหมือนมึง พูดเล่นอย่างนั้นล่ะ’

พ่อพูดให้พี่ชายฟัง ‘มันเอาจริง ๆ นะ เครื่องบวชทั้งหลายต้องเอาดี ๆ ทั้งนั้นล่ะ มึงเคยบวชแล้ว’

พ่อไปหากับลูกนั่นละ ไปได้แต่ผ้าดี ๆ ของดี ๆ ทั้งหมดเลย ไม่มีขัดข้อง... ธรรมดาประเพณีคนไทยเรา ลูกผู้ชายเมื่อโตขึ้นมาแล้ว ให้ได้บวชเป็นพระเป็นเณรเสียก่อน จึงเหมาะสมกับประเพณีของคนไทยซึ่งเป็นชาวพุทธ ... พ่อกับแม่เรียกว่าเทถุงเลย เงินมีเท่าไร ๆ เอา อย่าเสียดาย ลูกคนนี้ถ้ามันได้พูดเรื่องนี้แล้ว มันแน่แล้วตั้งแต่ยังไม่บวช มันจะบวชแน่ ๆ ล่ะ นี่ลั่นคำแล้ว เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-06-2012 เมื่อ 11:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #48  
เก่า 06-06-2012, 09:12
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

คำสอนสุดท้ายของแม่

เมื่อใกล้จะถึงวันบวช ท่านพระครูฯ ได้เดินทางมางานบุญประเพณีที่วัดในหมู่บ้านตาด (บริเวณที่ตั้งสถานีวิทยุเสียงธรรมฯ ในปัจจุบัน) พ่อกับแม่จึงได้ฝากให้ลูกชายเป็นนาค และเตรียมของเดินทางไปพร้อมท่านพระครูฯ ในบ่ายวันเดียวกันนั้น ก่อนไปด้วยความที่แม่เป็นห่วง จึงเข้ามานั่งใกล้ ๆ ลูก แล้วกล่าวกระซิบกระซาบพร้อมหยิบยกเรื่อง ๆ หนึ่งขึ้นมาสอนลูก ด้วยความเป็นห่วงว่า

“นี่ลูก ให้มานั่งนี่ ฟัง... นี่แม่จะพูดอะไรให้ฟังนะ นี่ลูกคนนี้ แม่ไม่มีที่ต้องติในหน้าที่การงานอันใด ไม่ว่าอะไร ๆ แม่ตายใจได้หมดทุกอย่างเลย หน้าที่การงานอะไร การประพฤติอะไรนี้ แม่เห็นลูกเป็นที่หนึ่งเลยในลูกทั้งหลาย แม่ตายใจพ่อก็ตายใจ.. เรื่องทุกสิ่งทุกอย่าง แม่ไม่มีวิตกวิจารณ์แล้ว แต่ที่แม่หนักใจที่สุดคือ การนอนของลูกนะ

การนอนของลูกนี่ เหมือนตายเชียวนะ พี่ชายเขา เวลาบอกแม่.. ตื่นเช้าแล้ววันพรุ่งนี้ให้ปลุกหน่อยนะ จะไปโน้นแต่เช้าแล้วก็เข้านอน บางทียังไม่ได้ปลุก เขาไปแล้ว

ส่วนลูกนี่ ว่าแม่ปลุกหน่อยนะ วันพรุ่งนี้เช้าจะไปไหนแต่เช้า แล้วตายเลย.. ไม่มีคราวไหนที่จะลุกขึ้นด้วยตนเอง นี่ละ ที่แม่หนักใจมากที่สุด กลัวจะไปขายหน้าเขา เวลาบวชแล้วยังนอนหลับครอก ๆ อยู่ เพื่อนไปบิณฑบาตกลับมาแล้ว มาปลุกฉันจังหัน โอ๋.. แม่นี่ ให้ตายซะดีกว่านะ อย่าให้ได้ยินนะลูกนะ แม่จะเอาหัวมุดดินตาย

นี่ล่ะ..ที่แม่วิตกมากที่สุด นอกนั้นแม่ไม่มีอะไรเลยล่ะ วิตกการนอนของลูกเหมือนตายนะลูกนะ ให้ตั้งตัวใหม่นะ”

ท่านฟังคำสอนของแม่ตั้งแต่ต้นจนตลอด ภายนอกอาจดูเหมือนเพียงแค่การรับฟังไว้เฉย ๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว จิตฝังลึกมาก ท่านแอบเก็บคำสอนระคนความห่วงใยของแม่คราวนี้ ฝังแนบแน่นจดจารึกไว้ภายในจิตใจอย่างเงียบ ๆ

และด้วยความห่วงใยนี้เอง ได้เปลี่ยนอุปนิสัยการนอนของท่านอย่างเด็ดขาด ทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการศึกษาและปฏิบัติธรรมในลำดับต่อมา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-06-2012 เมื่อ 11:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #49  
เก่า 07-06-2012, 09:37
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๓. บวชเรียนค้นคว้าพระไตรปิฎก

องค์หลวงตาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโยธานิมิตร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่ออายุ ๒๐ ปี ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ เวลา ๑๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ตรงกับวันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ โดยมีพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดอ่อนตา เขมงฺกโร วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

---------------------------------------------------------

* พรรษาที่ ๑-๒ (พ.ศ. ๒๔๗๗ – ๒๔๗๘) จำพรรษาที่วัดโยธานิมิตร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี



ท่านพระครูชมเชย
คนนี้ละ..จะทรงพระศาสนา
-----------------------------------

นิสัยที่เป็นคนทำอะไรทำจริง ท่านจึงระลึกเตือนตนเองว่า “พ่อแม่ไม่ได้ติดตามมาแนะนำ มาคอยตักเตือนเราอีกแล้ว เราต้องเป็นเราเต็มตัว” ด้วยเหตุนี้เอง นับตั้งแต่วันเข้านาคเป็นต้นมา ท่านจึงฝึกฝนเรื่องการตื่นนอนใหม่ ให้สะดุ้งตื่นทันทีที่รู้สึกตัวขึ้นมา

ช่วงเป็นนาคอยู่นั้น ท่านนอนอยู่หน้าโบสถ์กับเพื่อนนาคด้วยกัน ๓ คน ส่วนท่านพระครูวัดโยธานิมิตร ท่านจำวัดอยู่หลังพระประธาน ทุกเช้าตอนตีสี่จะเห็นท่านพระครูลงมาเดินจงกรมเป็นประจำ ดูท่านจริงจังมาก พอสว่างก็กลับเข้ามาทำวัตร ทำวัตรเสร็จแล้วก็ไปบิณฑบาต

จนกระทั่งเมื่อถึงวันบวช พวกนาคทั้งหลายเขานุ่งแต่งเนื้อแต่งตัวเรียบร้อย นาคบัวเองก็เตรียมพร้อมแล้วที่จะบวชในวันนั้นเช่นกัน ท่านพระครูฯ ท่านเดินเข้ามาหา มองเห็นนาคบัวแต่งชุดนาคซอมซ่อจึงดุเอาทั้งพ่อทั้งแม่ ท่านว่าเอาแบบเจ็บ ๆ แสบ ๆ ท่านตวาดเอาว่า

“อีแพง! บักทองดี! สูไม่มีหรือ ? อะไร ๆ สูก็ไม่มีหรือ ? ดูซิ! นาคบัวเดินอยู่ในวงของนาคทั้งหลาย ซอมซ่ออยู่นั่น สูเห็นไหม..? ไม่มีสง่าราศรีอะไรเลย นาคทั้งหลายเขาแต่งตัวเต็มยศ ทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อย สวยงามน่าดูทุกอย่าง แต่ดูนาคบัวสิ..! แต่งตัวซอมซ่อ ถ้าสูไม่มี กูจะหามาให้

พอท่านพระครูว่าอย่างนั้น ทั้งพ่อทั้งแม่จึงรีบไปยกตะกร้าใหญ่ ๆ ใส่เครื่องแต่งตัวทุกอย่างของนาคบัวที่เตรียมมาให้ลูกแต่ง แต่ปรากฏว่าลูกไม่ยอมแต่ง... ซึ่งตามนิสัยของลูกคนนี้เป็นคนไม่ฟุ้งเฟ้อ แม้แต่เป็นหนุ่มก็ไม่ฟุ้งเฟ้อ ผ้าอะไร ๆ ถ้าแม่ทอให้แล้ว ลูกคนนี้จะนุ่งหมด ซื้อที่อื่นไม่ซื้อ พวกเครื่องนุ่งห่มนี้.. อะไรที่แม่ทอให้แล้วใช้หมด ถ้าเป็นของแม่แล้วใช้หมดเลย ... พ่อแม่จึงได้แต่เอาตะกร้าใหญ่ออกมาให้ท่านพระครูฯ ดู พร้อมกับกราบเรียนท่านว่า

“นี่! เครื่องแต่งตัวนาคบัว เตรียมมาให้ลูกบวช มีทุกอย่างจัดมาให้พร้อมบริบูรณ์ แต่มันไม่สนใจ”

ท่านพระครูสั่งว่า “บอกให้มันมาเอาไปนุ่งเดี๋ยวนี้”

พ่อแม่นาคบัวตอบท่านว่า “ได้บอกแล้ว มันกลับพูดว่า ‘นุ่งอย่างนี้ ถืออย่างนี้แล้วจะเป็นอะไรไป ใครจะมาจับ ?’ พอมันว่าอย่างนั้น แล้วมันก็เดินหนี มันไม่สนใจเลย มันจึงเป็นอย่างนั้น แต่งตัวซอมซ่อกว่าใคร ๆ”

ท่านพระครูฯ พอฟังทราบเหตุผลแล้ว ก็กล่าวว่า “เออ ๆ ! ไอ้นี่ ! คนอย่างนี้แหละ มันจะทรงพระศาสนา เอาละเข้าใจ กูเห็นด้วย เป็นอัธยาศัยของตัวเอง ไม่ฟุ้งเฟ้อ”

ท่านพระครูว่าอย่างนั้น แล้วก็หันหลังเดินกลับ แสดงความดีใจยิ้มแย้มแจ่มใส กิริยาท่านพระครูในคราวนั้น ทำให้ท่านไม่เคยลืมเลือน แม้จะผ่านเหตุการณ์นั้นมานานมากแล้วก็ตามดังนี้

กิริยาท่าน เราก็ไม่เคยลืม แทนที่จะดุก็ไม่ดุ กลับชมเชย เรารักสงวนเนื้อหนังของตัวเองมาตั้งแต่เป็นฆราวาส ถ้าเป็นเสื้อเป็นผ้าหรือเป็นอะไร ๆ ที่แม่ทอออกมานี้นุ่งหมดเลย ไม่ไปซื้อให้เสียเงินเสียทอง นี่..เราพูดเรื่องการแต่งเนื้อแต่งตัว เรื่องรักสงวนเนื้อหนังของตัวเอง ของคนอื่น ไม่เอามาใช้ ไม่จำเป็นนะ เราผลิตขึ้นได้.. เราใช้ของเราเอง ดีไม่ดี..ดีกว่าที่ซื้อเขา ของที่ไปซื้อไปหามานี้ไม่ค่อยสนใจ พวกเพื่อนฝูงเขาซื้อชุดโก้เก๋ละ เราไม่โก้ .. เฉย ๆ เป็นอย่างนั้นละ”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-06-2012 เมื่อ 13:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #50  
เก่า 08-06-2012, 09:13
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)

พระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า จูม จันทรวงศ์ เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๙ คน เกิดที่บ้านท่าอุเทน ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด

การบรรพชาและอุปสมบท เบื้องแรกเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพนแก้ว ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ เมื่ออายุครบบวชแล้ว ได้อุปสมบทที่วัดมหาชัย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี ในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยมีท่านพระครูแสง ธมฺมธโร วัดมหาชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีมา สีลสมฺปนฺโน วัดจันทราราม (เมืองเก่า) อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย (พระเทพสิทธาจารย์ วัดศรีเทพ จ.นครพนม) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พนฺธุโล”

การจาริกเพื่อการศึกษาธรรมปฏิบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ติดตามพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ไปจำพรรษาที่วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี อันเป็นสำนักของพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติในด้านสมถวิปัสสนากรรมฐานกับท่านอาจารย์ทั้งสองเป็นเวลาถึง ๓ ปี จึงเป็นมูลเหตุให้ท่านมีอุปนิสัยน้อมไปในฝ่ายวิปัสสนาธุระ และได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อเนื่องไปจนถึงวันอวสานแห่งชีวิต

การศึกษาทางปริยัติธรรม ได้เข้ามาเล่าเรียนศึกษาทางพระปริยัติธรรมต่อที่วัดเทพศิรินทราวาส จนได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นพระครูสังฆวุฒิกร ฐานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ครั้งเมื่อเป็นพระศาสนโสภณ และได้ย้ายจากวัดเทพศิรินทราวาสมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ กับได้ตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย

พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรที่ พระครูชินโนวาทธำรง

๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณดิลก

๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที

๑๙ กันยายน ๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพกวี

๑๙ กันยายน ๒๔๘๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเจดีย์

ท่านเจ้าคุณจูมได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕ เวลา ๑๕.๒๗ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน พรรษา ๕๕

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-06-2012 เมื่อ 10:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #51  
เก่า 11-06-2012, 10:43
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระครูศาสนูปกรณ์
(อ่อนตา เขมงฺกโร)

ท่านพระครูปลัดอ่อนตา เขมงฺกโร เป็นคนบ้านเหล่า ต่อมาบวชพระฝ่ายมหานิกายแล้วมาญัตติกรรม เมื่ออายุ ๔๑ ปี โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ (เป็นคนพิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี ซึ่งเป็นเพื่อนกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)

ท่านพระครูฯ ชอบพระธุดงค์ และตั้งใจปฏิบัติในพระธรรมวินัยและกรรมฐาน โดยอาศัยท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ต่อมาท่านมาเป็นสมภารอยู่วัดโยธานิมิตร

อุปนิสัยของท่านนั้น ชอบการก่อสร้าง ชอบการพัฒนา แต่การปฏิบัติก็ไม่ท้อถอย เป็นคนจริง

มรณภาพเมื่อปี ๒๕๑๓ อายุ ๘๗ ปี องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ตอบแทนคุณพระกรรมวาจาจารย์โดยจัดการศพถวายท่านพระครู

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 11-06-2012 เมื่อ 18:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #52  
เก่า 12-06-2012, 08:41
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เคารพพระธรรมวินัยตั้งแต่วันบวช

ท่านกล่าวย้อนรำลึกอดีตถึงความตั้งใจปฏิบัติตน และความตั้งใจรักษาตนอย่างเข้มงวดกวดขัน ในสิกขาบทพระธรรมวินัยของพระตั้งแต่วันเริ่มอุปสมบทว่า จะไม่ให้มีข้อติเตียนตนเองได้เลยดังนี้
“...พอบวชแล้วก็เตือนตนเองทันทีว่า... ‘เอาละนะทีนี้... ไม่มีใครจะตามแนะนำตักเตือน ตลอดถึงการหลับการตื่น.. ไม่มีใครปลุกละนะ เราต้องเป็นเราเต็มตัว ตั้งแต่บัดนี้ไป ไม่หวังพึ่งพ่อแม่ดังแต่ก่อนอีกแล้ว ทำความเข้าใจกับตัวเองราวกับว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ’...

ครั้นบวชแล้วก็ตั้งใจเอาบุญเอากุศลจริง ๆ ‘พยายามรักษาสิกขาบทวินัยให้เป็นไปตามหลักของพระอย่างแท้จริง ขณะที่เป็นพระอยู่นั้น จะไม่ให้ต้องติตนได้แต่อย่างหนึ่งอย่างใด จนกระทั่งถึงวันลาสิกขาบท’ นี้เป็นความคิดเบื้องต้น...

ครั้นเวลาก้าวเข้าไปสู่วัดแล้ว ก็ปฏิบัติตัวอย่างนั้นจริง ๆ ไม่เคยเถลไถลออกนอกวัด ไปเที่ยวเตร็ดเตร่เร่ร่อนยังสถานที่ต่าง ๆ ดังเพื่อนฝูงที่มาฝึกหัดนาคเพื่อจะบวชเป็นกัน แม้ในการเรียนพระปริยัติธรรมก็ตั้งใจศึกษาจริง ๆ อยู่อ่านหนังสือจนดึกดื่นเที่ยงคืน ตีสองบ้าง ตีสามบ้างเป็นประจำ ตีห้าบ้างเป็นบางคืน แต่ก็สามารถตื่นทำวัตรเช้าและออกบิณฑบาตได้ทันทุกครั้งไป ไม่เคยขาดแม้แต่ครั้งเดียว...”

ในพรรษานี้ ท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานไว้ว่า “ตลอดพรรษานี้จะไม่ให้ขาดทำวัตร สวดมนต์เช้าเย็นรวมกันกับหมู่เพื่อนพระเณรแม้แต่วันเดียว แม้บางครั้งมีกิจนิมนต์ข้างนอกก็กราบเรียนขอให้ท่านพระครูอาจารย์เจ้าอาวาสรอทำวัตรรวมพร้อมกัน เพื่อไม่ให้ขาดตามที่ตั้งสัจจาธิษฐานนั้นไว้”

แม้จะทำวัตรสวดมนต์ร่วมกับหมู่เพื่อนพระเณรแล้ว ท่านยังทำวัตรสวดมนต์ส่วนตัวอีกครั้งหนึ่งที่กุฏิของท่านเอง เพื่อให้เป็นไปตามสัจจะที่ตั้งไว้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-06-2012 เมื่อ 15:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #53  
เก่า 13-06-2012, 07:58
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default


เรียนหนังสือจริงจัง

เมื่ออุปสมบทเข้ามาแล้ว นิสัยทำอะไรทำจริงที่ติดตัวมาแต่เมื่อครั้งเป็นฆราวาสก็ปรากฏตั้งแต่เริ่มแรก ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียน อ่านหนังสืออย่างหนัก จนเหมือนกับจะไม่มีเวลาพักผ่อนหลับนอนเอาเสียเลย ถึงกับทำให้ญาติโยมเริ่มสังเกตพบเห็นและเกิดความห่วงใย จนต้องรีบเข้าไปหาท่านพระครูฯ ดังนี้
“... เริ่มต้นตั้งแต่บวช... เราตั้งใจเรียนหนังสือจนเขาไปฟ้องท่านพระครูเจ้าอาวาส วัดโยธานิมิตร คือ ช่างเขาไปทำหน้าต่างกุฏิชั้นสอง เราพักอยู่บนนั้น เขาไม่เคยเห็นเวลาเรานอน เราก็ไม่ทราบว่าเขาสังเกตเรา เพราะเราไม่ได้สังเกตอะไรใคร นอกจากเรียนหนังสือเท่านั้น สุดท้ายเขาไปฟ้องท่านพระครูฯ ว่า
‘ขอให้คุณบัว ท่านพักผ่อนบ้าง ดูท่านไม่มีเวลาพักผ่อนเลย เท่าที่สังเกต ไม่ว่ากลางวี่กลางวันไม่สนใจกับใคร ออกจากห้องมาแล้วถือหนังสือจ้อมาอยู่นั้น นอกนั้นเข้าห้อง ๆ ไม่เคยสนใจกับใครมาเป็นประจำ กลางคืนท่านไม่ทราบ ท่านนอนเวลาไหน มองเข้าไปช่องหน้าต่าง เห็นแต่ไฟอยู่อย่างนั้น สักเดี๋ยวโผล่ออกมาแล้วเข้าไป ท่านนอนเวลาไหน นี่กลัว.. ท่านจะเป็นบ้า’

ท่านพระครู ท่านก็แก้ดีนะ ‘โยม! คุณบัวนอนหนุนหมอนหรือหนุนมะพร้าว เรานี่นอนหนุนมะพร้าว สมัยไปเรียนสนธิ เรียนมูลกัจจายน์ (การเรียนของพระในสมัยโบราณ) ที่จังหวัดอุบลฯ เราหนุนมะพร้าว ..พอหัวกลิ้งตกจากมะพร้าวเราลุกทันที อันนี้คุณบัวนอนหนุนหมอน หรือหนุนมะพร้าวล่ะ ?’

‘ท่านนอนหนุนหมอน’ โยมตอบ

ท่านพระครูจึงว่า ‘เออ! ถ้าอย่างนั้นไม่ต้องห่วงท่าน ถ้าไปบอกท่าน ท่านจะเสียกำลังใจ’…”

ท่านทราบเรื่องได้เพราะมีคนอื่นเล่าให้ฟังในเวลาต่อมา ส่วนท่านพระครูฯ ท่านไม่พูดเรื่องนี้ให้พระบวชใหม่ฟังแต่อย่างใด ท่านเงียบเฉยไปเลย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-06-2012 เมื่อ 11:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #54  
เก่า 14-06-2012, 09:14
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หยอกล้อประสาพระ

สมัยนั้น การกินหมาก สูบบุหรี่ถือเป็นเรื่องประเพณีของคนไทยทั่วไป ชาวบ้านมักมวนบุหรี่จีบหมากถวายพระอยู่เป็นประจำ คราวหนึ่งท่านถูกเพื่อนพระพรรษามากกว่าหยอกล้อเอา ชนิดที่ทำให้ท่านต้องจดจำชนิดไม่มีวันลืมเลยก็ว่าได้ดังนี้
“...พอสูบบุหรี่เราก็ระลึกถึง พระกอง ที่วัดโยธานิมิตร ท่านเกิดปีเดียวกันกับเรา เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เป็นฆราวาส ท่านอยู่บ้านโนนทัน หนองตูม นิสัยท่านชอบตลก เรายังไม่ลืมนะ ท่านบวชก่อนเราพรรษาหนึ่ง อายุเท่ากัน คือท่านบวชเป็นเณร พออายุถึงพระท่านก็บวชเลย เราบวชตอนอายุ ๒๐ ปี ๙ เดือน

ทีนี้เวลาบวชแล้ว ไปคุยกันที่กุฏิท่าน ท่านเป็นคนนิสัยชอบพูดตลกเหมือนจะหัวเราะ หากไม่หัวเราะ มันทำให้คนอื่นหัวเราะจะตาย เราไปก็ไม่เคยคิดเคยอ่าน เพราะเคยสูบบุหรี่อยู่บ้างแล้ว เห็นหมู่สูบก็เลยสูบกับเขา พอจับบุหรี่มาจุดสูบปั๊บ

พระกองเห็นอย่างนั้น ท่านก็ทักว่า ‘ไอ้พระบวชใหม่ บวชมามันไม่มีธรรมวินัย บุหรี่นี้ได้พินทุอธิษฐานแล้วหรือยังก็ไม่รู้ สูบสุ่มสี่สุ่มห้า เดี๋ยว..อาบัติกินหัว’

ว่าแล้วเฉยนะ ใครก็ไม่เคยคิดว่าบุหรี่จะต้องพินทุอธิษฐานเหมือนผ้า เราก็สูบไปเห็นหมู่เพื่อนสูบก็ไม่เห็นองค์ไหนพินทุอธิษฐาน แล้วมาว่าให้เราซึ่งเป็นเพื่อนกัน ท่านพูด..เราก็เชื่อล่ะซี คนหนึ่งพูดหน้าตาขึงขังเหมือนเราผิดจริง ๆ นี่นะ ไม่ใช่ธรรมดา หน้าเคร่งขรึมนะ นี่ละเวลาจะตลกนะ‘อ้าว! บุหรี่ยังต้องพินทุอธิษฐานด้วยหรือ ?

‘อู๊ย! นี่ยังไม่รู้หรือ ? บวชมาขนาดนี้แล้ว ยังไม่รู้พระวินัยอีกหรือบวชมาขนาดนี้แล้ว’ เราฟังแล้วก็ยิ่งร้อนใหญ่ เลยนึกว่าเราผิดวินัย

‘แล้วบุหรี่นี่มันพินทุอธิษฐานว่าอย่างไรล่ะ ?’ เราถามเพราะไม่รู้นี่นา เพิ่งจะมาทราบเดี๋ยวนี้

‘โอ๊ย! บวชมาขนาดนี้ยังไม่รู้พินทุอธิษฐาน.. ตาย ๆ.. นี่เป็นอาบัติมาเท่าไรแล้วพระใหม่นี่ ?’ ยังขู่เราอีกด้วยนะ ไม่มียิ้มนะ ยังขู่อีก

‘นี่บวชมานานเท่าไร ? มันเป็นอาบัติมาเท่าไรแล้ว ?’

‘แล้วมันพินทุอธิษฐานว่าอย่างไร ?’

บทเวลาบอกคำอธิษฐานนี่ ที่มันขบขันนะ พอขู่เราเต็มเหนี่ยวแล้ว ‘คำพินทุอธิษฐานเท่านี้ก็ไม่ได้ มันจะไปยากอะไร มันไม่ยืดยาวอะไรเลย ยังไม่ได้อีกหรือ ? คำสั้น ๆ เท่านี้ก็ว่าไม่ได้

‘ไม่ยากแล้วมันว่าอย่างไร ?’

อิมัง ควันถมดัง อธิษฐามิ ควันถมดัง..คือควันถมจมูกเข้าใจไหม ?’ ท่านว่าแล้วก็แสดงหน้าตาเฉยด้วยนะ..นิ่งเชียว...

มันน่าโมโห คนหนึ่งจะตาย..ร้อนเป็นไฟ เราโมโหเลยไม่ลืมจนกระทั่งบัดนี้ (หัวเราะ)...”

ท่านสรุปสุดท้ายให้ฟังด้วยความขบขันว่า แท้ที่จริงแล้วคำอธิษฐานเหล่านี้ไม่มีในพระวินัยอะไร เพื่อนพระท่านตั้งขึ้นมา เพื่อหลอกอำพระใหม่ให้ตกใจเล่น เป็นการหยอกล้อกันเล่นตามประสาพระกับพระด้วยกันเท่านั้นเอง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-06-2012 เมื่อ 14:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #55  
เก่า 15-06-2012, 10:48
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ไม่มีใครขโมยผึ้งแล้วนะ

คราวหนึ่งขณะกำลังบิณฑบาต ท่านได้พบกับจ่าทหารคนหนึ่ง ที่รู้ฝีมือการจับผึ้งของท่านเป็นอย่างดี ตั้งแต่ก่อนบวช จึงพูดหยอกเย้าท่านดังนี้

“... นี่ (เรา) เป็นคู่กันกับผึ้ง จับแต่ผึ้ง อยู่ต้นไม้ทั้งสูงทั้งต่ำ (จ่าเบ้า)..แกอยู่กรมทหารอุดรฯ แกเป็นจ่าเบ้าทางทหาร เราอยู่บ้านตาด ได้ยินว่าผึ้งอยู่ที่ไหน ๆ เขาตามเองนะ ว่าให้หลวงตาบัวนี่ละไปหาเอาหมด ผึ้งอยู่ในป่า เขาผู้เสียภาษี เขาอยู่อุดรฯ อยู่เก้าอี้ เราผู้ไม่เสียภาษีอยู่ในป่า ผึ้งที่ไหนรู้หมด ไปเอาหมด ทีนี้เวลาบวชแล้วออกไปบิณฑบาต (แกว่า) “โอ้ พอบวชแล้ว ที่นี้ไม่มีใครไปขโมยผึ้งแล้วนะ ที่นี้นะ”

เราก็ยิ้ม ๆ แกพูดหยอก พอบวชแล้วไม่มีใครไปขโมยผึ้งละทีนี้ ไม่มีจริง ๆ ตั้งแต่เราบวชแล้วเราก็ไม่ไป แกพูดหยอกเรา.. ชื่อจ่าเบ้า จ่าทหาร แกเป็นคนถือภาษี เสียภาษีผึ้ง เราไม่ได้เสียภาษี แต่ผึ้งอยู่ที่ไหนรู้หมด ขโมยเอามันก็ได้ยินถึงแกซิ ขึ้นต้นไม้ก็เก่ง ผึ้งนี่มันมีอยู่กี่รัง อยู่ที่ไหนเห็นหมดล่ะ อยู่เก้าอี้ไม่เห็น ไม่เห็น เขาก็รู้ว่า บัวมันตัวขโมยผึ้ง... เราไปตีผึ้ง กลางคืนก็มีผึ้ง กลางวันก็มี ได้ทั้งกลางคืนกลางวัน เรากลางคืนก็ได้กลางวันก็ได้ เขาอยู่โต๊ะเก้าอี้เขา เราอยู่ในป่าเอาเมื่อไรก็ได้ เรารู้หมดล่ะ เรื่องขโมยผึ้งเก่ง เรารู้หมด แกพูดหัวเราะ พูดหยอกเล่น ... แล้วก็ไม่ได้สึกไปจริง ๆ เลยไม่ได้ขโมยผึ้งอีก ถ้าสึกไปไม่แน่นะ... ขโมยผึ้งเก่ง ขึ้นต้นไม้ มีมากมีน้อยรู้หมด เราก็เก่ง เก่งเหมือนกัน... ไม่สึกไปก็เลยปลอดภัย ผึ้งทั้งหมดไม่ถูกขโมยละ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-06-2012 เมื่อ 15:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #56  
เก่า 19-06-2012, 08:40
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default


ปฐมฤกษ์แห่งการภาวนา

ในช่วงเริ่มต้นของการเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ท่านเล่าเหตุการณ์ในช่วงนี้ไว้ว่า
“...ท่านพระครูฯ ท่านชอบภาวนานะ ท่านให้เราไปอยู่ในโบสถ์ด้วยกัน ท่านอยู่เตียงนอนหลังพระพุทธรูป พวกเราก็นอนในโบสถ์นั่นแหละ แต่เป็นหน้าพระพุทธรูป ออกไปโน่น.. ประตูออกโน่น พวกนาค ๒ - ๓ คนนอนอยู่โน่น ท่านสวดมนต์เก่งนะ แล้วก็ภาวนา

ตื่นเช้าออกมาตั้งแต่ตี ๔ ท่านออกไปเดินจงกรมที่หน้าโบสถ์ มันโล่งหมดนะ แต่ก่อนเราเป็นนาค เราเห็นอยู่ ท่านออกไปเมื่อไหร่เราก็เห็นอยู่ เวลาท่านเดินจงกรม เราคอยสังเกตดูอยู่

เมื่อบวชแล้ว เราจึงเดินจงกรม แล้วไปถามคำภาวนากับท่าน เราไม่ลืมนะ เพราะเราชอบภาวนา
“กระผมอยากภาวนา อยากจะเดินจงกรม อยากจะนั่งภาวนาจะต้องทำอย่างไร..?” เราถามท่าน

ท่านพระครูฯ ตอบ “เออ..ให้ภาวนาว่า พุทโธนะ เราก็ภาวนาพุทโธ เหมือนกันแหละ”

“แล้วท่านพระครูฯ นั่งภาวนาสวดมนต์ล่ะ”

“อ้อ! เราสวดมนต์หลายบทหลายสูตร” ท่านพระครูฯ ว่าอย่างนั้น..

เมื่อทราบดังนี้ ภิกษุบวชใหม่ก็จับใจความได้ทันที แล้วน้อมนำไปเป็นหลักปฏิบัติของตนบ้าง ท่านยังเล่าถึงความตั้งใจในช่วงอุปสมบทใหม่นี้เพิ่มเติมด้วยว่า
“...ท่านพระครูฯ ก็สอนเท่านั้น เราก็ไปภาวนาพุทโธด้วยความเลื่อมใส พอใจในการภาวนา อยู่กุฏิใหญ่ทางด้านทิศเหนือ กลางคืนดึก ๆ จะลงมาเดินจงกรมทุกคืนนะ... แม้บวชมาใหม่ ๆ แต่นิสัยชอบภาวนา นิสัยอันนี้มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ไม่มีใครสอนมัน หากเป็นอยู่ในจิต มันแปลกมากเรื่องนี้...

เวลาจะหลับจะนอนจะเหลือเวลาไว้ คือหยุดจากการอ่านหนังสือจะเหลือเวลาไว้ ๑ ชั่วโมง เพื่อนั่งภาวนาทุก ๆ คืน... สมมุติว่าจะพักนอนตี ๒ ตอนตี ๑ จะหยุดอ่านหนังสือก่อนแล้วต้องทำสมาธิภาวนา ตั้งใจพุทโธ ๆ ไปเรื่อย ๆ

ชั่วโมงนั้นแหละ เป็นชั่วโมงภาวนาเป็นประจำนะ... ถึงเวลาก็ลงมาเดินเงียบ ๆ จากนั้นก็นั่งภาวนาแล้วก็หลับ...”

หลังจากสอบถามท่านพระครูฯ แล้ว ท่านก็ทดลองภาวนาตามลำพัง ดังนี้
“...เราก็เอาพุทโธมาภาวนาตามประสีประสา ไม่คาดไม่ฝันไม่คิดไม่อ่านว่า มันจะแสดงความแปลกประหลาดขึ้นมา ก็พุทโธ ๆ วันนี้ วันนั้นไปตามประสาอย่างนั้นแหละ โอ๋ย.. บทเวลามันจะเป็น พุทโธ ๆ สติติดอยู่นั้น สักเดี๋ยวกระแสของจิตที่มันคิดฟุ้งซ่านเหมือนเราตากแหนี่

ที่นี้พอจิตจะเริ่มสงบก็เหมือนเราดึงจอมแห พุทโธ ๆ นี่เหมือนจับจอมแหดึงเข้ามา ตีนแหก็หดเข้ามา ๆ จนกระทั่งเป็นกองแห ทีนี้กระแสของจิตมันรวมตัวเข้ามา ๆ จนกระทั่งเป็นกองความรู้ที่อยู่เป็นจุดเดียว เท่ากับกองแหที่นี่

นี่ละ พอมันเข้ามาถึงนี้กึ๊กเท่านั้น โถ.. เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ลืมนะ นี่ละเป็นปฐมฤกษ์แห่งการภาวนาของเรา พอเข้าถึงนั้นกึ๊กจะว่าเป็นสมาธิ ไม่สมาธิพูดไม่ถูกนะ พอเข้านั้นกึ๊กขาดหมดเลยโลกอันนี้ ปรากฏไม่มีอะไรเหลือ เหลือแต่ธรรมชาติที่อัศจรรย์สุดส่วน คือใจดวงนั้น ขาดออกหมดนะ... อารมณ์ทั้งหลาย ขาดหมด

เกิดความอัศจรรย์ ตื่นเต้น ความตื่นเต้นในความอัศจรรย์ เลยไปกระตุกธรรมชาตินั้นเสีย รวมไม่ได้นานนะ คือขาดไปหมดจริง ๆ เหมือนอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร เรามีที่นั่งอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร หรือว่ามีเกาะ ว่าเกาะก็กว้างไป เหมือนว่าที่นั่งกลางมหาสมุทร
มันอัศจรรย์เกิดคาดเกินหมาย โถ.. ทำไมถึงเป็นอย่างนี้’

นี่เราเป็นทีแรกนะ คือค่อยหดเข้ามา ๆ พอกิริยาของจิตหดเข้ามา สติยิ่งจ่อเข้า ๆ เข้ามาถึงจุดกลางกึ๊กเท่านั้น ทีนี้มันจ้าอยู่ภายในเจ้าของ

อัศจรรย์อันนี้เหมือนว่าขาดหมด เรื่องอารมณ์ของโลกนี้ปรากฏขาดไปหมดในเวลานั้น เกิดความอัศจรรย์ขึ้นมา ตื่นเต้น

ความตื่นเต้นละไปกระตุก ไม่ใช่อะไรนะ คือมันไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ ความตื่นเต้นความอัศจรรย์ไปกระตุก จิตเลยถอนขึ้นมาเสีย โหย... เสียดาย เสียจนวันหลังขยับใหญ่เลย ไม่ได้เรื่อง ๆ...”

กล่าวถึงเรื่องการภาวนาและกรรมฐาน ท่านมีความเคารพเลื่อมใสมาแต่เดิมแล้ว ตั้งแต่บวชทีแรกที่วัดโยธานิมิตรแห่งนี้ หากเห็นพระกรรมฐานมาพักด้วย ท่านจะต้องรีบไปถึงก่อน เพื่อจะได้พูดคุยเรื่องธรรมะ เรื่องจิตกับท่านทันที

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-06-2012 เมื่อ 11:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #57  
เก่า 22-06-2012, 09:23
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

จำยอมเทศน์พรรษาแรก


การเรียนของท่านในเวลานั้นยังไม่ได้เรียนนักธรรมตรี เพียงแต่เรียนสวดมนต์และสวดพระปาฏิโมกข์ และด้วยความตั้งใจร่ำเรียนหนังสือ ท่องบทสวดมนต์ทำวัตรอย่างจริงจังเช่นนี้ ทำให้เพียงพรรษาแรกของการบวช ท่านก็สามารถเรียนสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน และปาฏิโมกข์จบหมด และยังได้ขึ้นสวดปาฏิโมกข์ในกลางพรรษาอีกด้วย นับเป็นสิ่งยากสำหรับพระภิกษุบวชใหม่ทั้งหลายจะพึงกระทำได้

ครั้นเมื่อออกพรรษาตามฤดูกาล ชาวบ้านเขาจะทำบุญลานข้าว เขาจะเอาข้าวขึ้นยุ้งขึ้นฉาง ภาษาอีสานเขาเรียก “ฟาดข้าว” ฟาดข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาก็นิมนต์พระไปทำบุญที่ “กองประทายข้าวเปลือก” แล้วจึงขนขึ้นบ้านขึ้นเรือน ครั้งนั้น ชาวบ้านเขาพากันมานิมนต์ท่านพระครูฯ วัดโยธานิมิตร ที่นี้คนนั้นก็ทำบุญลานข้าว คนนี้ก็ทำบุญลานข้าว เมื่อมากต่อมากเข้าพากันมานิมนต์พระจนหมดวัด ไม่มีพระให้เขาแล้ว ท่านพระครูฯ ก็เลยให้ท่านเป็นหัวหน้า ทั้งที่เพิ่งบวชได้พรรษาเดียวเท่านั้น และก็ยังไม่เคยเตรียมตัวมาก่อนเลยด้วย

ท่านพระครูฯ ว่า “มันไม่มีพระจะทำอย่างไร ไปฉลองศรัทธาให้เขาหน่อยสิ”
จึงตกลงให้พระภิกษุบัวเป็นหัวหน้า ครั้งนั้น ท่านก็ได้พกเอาหนังสือเทศน์เล่มหนึ่งประมาณ ๑ กัณฑ์จบพอดี พกติดย่ามไปด้วย เผื่อว่าเวลาจำเป็นก็จะเอาหนังสือนี้ออกเทศน์ ท่านเล่าเหตุการณ์ตอนนี้ว่า

“...พอออกพรรษาแล้วถูกเขานิมนต์ไปในงานข้าวเปลือกตามลานข้าว เขาถือเป็นประเพณีนิมนต์พระไปทำบุญที่ลานข้าวเขา เสร็จแล้วเขาถึงจะขนข้าวขึ้นยุ้งขึ้นฉางเขาเป็นปกติ ส่วนมากเขาทำอย่างนั้น แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเขาทำทุกรายนะ แต่ส่วนมากมันเป็นอย่างนั้น เราก็ได้พรรษาเดียว เดือนพฤศจิกายนกำลังหนาวนะ ไปค้างที่ลานนั่นแหละ เขาจัดทำเลไว้ให้ค้างให้พักที่นั่น ..

เราก็ไป... ไปก็ไปนอนค้างคืนที่บ้านหนองแวง... ตะวันออกบ้านดงเค็ง พอไปตอนกลางคืนสวดมนต์เรียบร้อยแล้วก็ค้างที่นั่นเลย ตอนเช้าฉันจังหันเสร็จ เขานิมนต์ให้ขึ้นเทศน์ เทศน์ตอนแรกก็ได้นะสิ มันมีหนังสือเล่มหนึ่งบาง ๆ กัณฑ์เดียวความว่า “จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา” เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคตติเป็นอันหวังได้

เทศน์จบกัณฑ์นี้แล้ว ต่อมาพวกหลังแห่กันมาอีก.. มาขอฟังเทศน์ ทีนี้ตัวผู้เฒ่าศรัทธาเจ้าภาพก็ว่า ‘ท่านเทศน์ให้ฟังก็ได้ จะยากอะไร ?’
เขาไม่ยากนะสิ แต่เรามันจะตายเอา (หัวเราะ) มันเหงื่อแตก นี่ขนาดหนาว ๆ นะ โถ!.. เราอยากฆ่าเฒ่านั่น เรายังไม่ลืมเฒ่านั่น เฒ่าที่ว่า ‘เทศน์มันยากอีหยัง ?’

โธ่!.. ยากบ่ยาก แต่เรามันแค่น (แน่นในอก) เสียแล้ว หัวอกมันคับแล้ว จะเอาอะไรมาเทศน์ละทีนี้ มันไม่มีอะไรแล้ว !! กูตายนี่... พอเขานิมนต์ให้เทศน์แล้ว ทีนี้มันก็อยู่กับหัวหน้า จะให้เขาเทศน์มันก็ไม่ได้นี่นา.. ตกลงก็ต้องเป็นเราเทศน์ โถ.. หนาว ๆ นี่แต่เหงื่อก็แตกหมดเลยนะ แต่มันก็ไปได้นะ ก็แปลกอยู่ เวลาจนตรอกมันไปได้นะ เทศน์ไปได้ นี่นะ.. แต่ว่าอกนี้จะแตก มันก็พอปีนรอดตัวไปได้ ‘ว่างั้น’ เถอะนะ

พอเทศน์เสร็จก็ออกมา เพื่อนพระมาด้วยกันมาพูดหยอกล้อว่า ‘โถ! เวลาเทศน์ก็เทศน์ดีนี่นะ’

เราว่า ‘อยากตายดิ๊.. อยากตาย อย่ามายุ่งเด้อว่ะ อย่ามาล้อเด้อว่ะ’

‘ฮ่วย! อยากตายอีหลีดิ๊เดี๋ยวนี้’ (อยากตายจริง ๆ หรือนี่)

เรามันโมโหนี่ว่ะ เหงื่อยังแตกอยู่บ่เซา (เหงื่อไหลไม่หยุด) เข้าใจไหมล่ะ ? ภาคอีสานทางนี้เขาเรียก “ข้าวโป่ง” ฉันเพลข้าวโป่งแผ่นเดียวก็ฉันไม่หมด มันสิตาย มันแค่น (จุกในอก กินไม่ลง) โน่นน่ะ

‘โอ้ ทุกข์มากจริง ๆ ชีวิตของพระก็มีครั้งนั้นละ เราจำไม่ลืมนะ.. ทุกข์มากที่สุด ยังไม่ได้อะไร ก็ยังไม่ได้คิดเรื่องเทศน์ ภาษิตหนังสืออะไร ๆ เราก็ยังไม่เคยสนใจเรียน ก็คิดตั้งแต่เรื่องสวดมนต์สวดพร เรียนจบไปตามนั้น ๆ หลังจากนั้นไปแล้ว เราก็จะเริ่มเรียนนักธรรม เรากะไว้อย่างนั้นนะ ปีนี้จะต้องเรียนสวดมนต์ และปาฏิโมกข์ให้ได้เสียก่อน พอปีที่สองตั้งหน้าใส่ฝ่ายนักธรรมเลย พอออกพรรษาเท่านั้น ยังไม่ได้เรียนนักธรรม เขาก็จับไปเทศน์แล้ว มันจะไปได้ภาษิตที่ไหนจากไหนมา ยกเป็นคาถาเทศน์ขึ้นมา มันไม่ได้มีอะไรจะเทศน์ละทีนี้ โอ้ย.. คับหัวอก ทุกข์ที่สุดเลย โธ่.. ฉันขนมนางเล็ดครึ่งแผ่นกลืนไม่ลง เข้าใจไหม จะเอาอะไรเทศน์ให้เขาฟัง..! มันคับมันแค้นในหัวใจ นี่ละชีวิตของพระ เรามีครั้งนั้นละ ทุกข์มากจริง ๆ ก็เทศน์ให้เข้าฟังได้นะ คนเรามันจะตายจริง ๆ มันปีนได้นะ มันปีนไปจนได้นั่นละ’

จากนั้น พอกลับมาถึงวัดก็หาคัมภีร์เอามาท่องกัณฑ์เทศน์เลย ค้นหนังสือเทศน์ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ค้นเอากัณฑ์เทศน์ของท่านที่เราชอบใจ ท่องขึ้นใจ คล่องปากยิ่งกว่าท่องพระปาฏิโมกข์เสียอีก คิดในใจว่า ‘คราวนี้ไม่ตายแล้ว ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องได้เทศน์ที่ไหน ก็จะเอากัณฑ์นี้ออกเทศน์’ ก็เลยไม่ถูกนิมนต์เทศน์อีกเลย...”

นับแต่นั้นมา ท่านกลับไม่เคยได้เทศน์ในลักษณะนี้อีกเลย และเทศน์หนนั้นก็ยังทำให้ท่านไม่มีวันลืมเลือนได้เลย ด้วยเหตุผลว่า

“เพราะเป็นการเทศน์แบบจนตรอกจริง ๆ ไม่มีทางไปเลย แต่ก็ต้องปีนเอา เอาตายสู้เลย ... เราไม่เคยมีจนตรอกจนมุม มีครั้งนี้ครั้งเดียว จากนั้นไม่เคยมีปรากฏในชีวิตของพระ เรามีครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราฝังลึกมาก อันนี้ก็ไม่ลืม... จากนั้นมาก็พอเทศน์ได้ธรรมดา ไม่อั้นตู้ (อับจน) เหมือนตอนนั้น เพราะเรียนหนังสือไปด้วย จะมีเทศน์บ้างก็ยามจำเป็นจริง ๆ หากไม่จำเป็นไม่เทศน์”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-06-2012 เมื่อ 11:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #58  
เก่า 25-06-2012, 11:00
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(จันทร์ สิริจนฺโท)

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มีนามเดิมว่า จันทร์ ศุภษร เป็นบุตรคนหัวปี ในจำนวน ๑๑ คน เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านหนองไหล จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๔๐๐ เส้น (๑๖ กิโลเมตร)

การบรรพชาและอุปสมบท เมื่ออายุ ๑๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดทุ่งศรีทอง โดยพระอาจารย์ม้าว เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา “สิริจนฺโท”

ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดพิชัยญาติ วัดเทพศิรินทราวาส และอีกหลาย ๆ สำนัก ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ท่านก็สอบได้เปรียญ ๔ ประโยค ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นทั้งนักปราชญ์ นักเทศน์ นักปฏิบัติ และนักพัฒนา มีอุปนิสัยพูดจริงทำจริง ตรงไปตรงมา ไม่เกรงกลัวใคร มีความเชี่ยวชาญแตกฉานด้านวิปัสสนาธุระ เป็นพระนักเทศน์ที่มีโวหารชาญฉลาด ทั้งยังได้แต่งตำราทางด้านวิปัสสนาธุระ และมีศิษย์เอกที่มีชื่อเสียงทางปริยัติ ได้แก่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) วัดบรมนิวาส นอกจากนี้ท่านยังให้คำแนะนำด้านปริยัติธรรมแก่ครูบาศรีวิชัย วัดสวนดอก และพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) อีกด้วย

สมณศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้เป็นที่พระธรรมธีรราชมหามุณี ได้ครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะหิรัญบัตรที่ “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์”

มรณะภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สิริอายุได้ ๗๗ ปี

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-01-2015 เมื่อ 03:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #59  
เก่า 26-06-2012, 09:39
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

อยากเป็น “พระอรหันต์” เท่านั้น

ท่านจำพรรษาที่วัดโยธานิมิตร ๒ พรรษา นอกจากตั้งใจอ่านหนังสือธรรมะแล้ว ยังได้ช่วยเหลืองานก่อสร้างศาลาท่านพระครูฯ อยู่บ้าง ดังนี้

“การก่อสร้าง.. ก่ออะไรก็มี ที่มาจำพรรษาที่วัดโยธานิมิตร หนองขอนกว้าง ๒ พรรษาแรกอยู่นี้ พอพูดอย่างนี้ก็ทำให้ระลึกถึงท่านพระครูฯ เหมือนกันนะ ท่านพระครูฯ เป็นเจ้าอาวาสวัด ทำให้คิดเหมือนกันนะ

เราได้ช่วยงานก่อสร้าง คือว่าเลื่อยไม้ ท่านพาไปเลื่อยไม้ในป่าแถว ๆ ใกล้นี้ ไม่อดนี่ ไม้แต่ก่อน.. อดอยากที่ไหน ท่านพาไปเลื่อยไม้มาสร้างศาลา เราก็ได้ช่วยท่านอยู่ปีหนึ่ง จำได้..ก่อสร้าง เรียกว่าเราได้ช่วยก่อสร้าง... ออกจากนั้นแล้วก็เตลิดเปิดเปิงจนกระทั่งป่านนี้”

เมื่อได้เรียนหนังสือตำรับตำราทางธรรม ธรรมะซึ่งเป็นของจริงอยู่แล้วกับนิสัยที่จริงจังของท่าน ก็รู้สึกว่าเข้ากันได้อย่างสนิทใจ ทำให้เกิดความซาบซึ้งอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
“เมื่อเรียนธรรมะ ไปตรงไหนมันสะดุดใจเข้าไปเรื่อย ๆ โดยลำดับ นับตั้งแต่หนังสือธรรมะชื่อนวโกวาท นี่เป็นพื้นฐานแห่งการศึกษาเบื้องต้น จากนั้นก็อ่านพุทธประวัติ ทำให้เกิดความสลดสังเวช สงสารพระองค์ท่านในเวลาที่ทรงลำบาก ทรมานพระองค์ก่อนตรัสรู้ธรรม จนถึงกับน้ำตาร่วงไปเรื่อย ๆ

จนกระทั่งอ่านจบเกิดความสลดใจอย่างยิ่ง ในความพากเพียรของพระองค์ซึ่งเป็นกษัตริย์ทั้งองค์ ทรงสละราชสมบัติทรงออกผนวชเป็นคนขอทานล้วน ๆ ซึ่งสมัยนั้นไม่มีศาสนา คำว่าการให้ทานได้บุญอย่างนั้น การรักษาศีลได้บุญอย่างนี้ไม่เคยมี พระองค์ก็ต้องเป็นคนอนาถาและขอทานเขามาโดยตรง และฝึกอบรมพระองค์เต็มพระสติกำลังทุกวิถีทางเป็นเวลา ๖ ปี ถึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา

ในขณะที่อ่านประวัติของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ธรรม รู้สึกอัศจรรย์อย่างยิ่งถึงกับน้ำตาร่วงเช่นเดียวกัน...”

แม้เมื่อได้อ่านประวัติพระสาวกอรหันต์ทั้งหลายที่ท่านออกมาจากสกุลต่าง ๆ กัน ตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ มหาเศรษฐีกุฎุมพี พ่อค้า ประชาชน ตลอดคนธรรมดา ก็ยิ่งทำให้เกิดความซาบซึ้งใจ ดังนี้
“... องค์ไหนออกมาจากสกุลใด หลังจากได้รับพระโอวาทจากพระพุทธเจ้าแล้ว ต่างก็ได้บำเพ็ญในป่าในเขาอย่างเอาจริงเอาจัง เดี๋ยวองค์นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์อยู่ที่นั้น องค์นั้นสำเร็จอยู่ในป่านั้น ในเขาลูกนั้น ในถ้ำนั้น ในทำเลนี้มีแต่ที่สงบสงัดก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นมา ทำให้ใจหมุนติ้ว... เรื่องภายนอกก็ค่อยจืดไปจางไป...

ท่านเล่าถึงความรู้สึกที่ค่อยแปรเปลี่ยนไป ๆ เช่นนี้ว่า

“... ทีแรกก็คิดจะไปสวรรค์ คิดจะไปพรหมโลก พออ่านประวัติสาวกมาก ๆ เข้า มันไม่อยากไปละซิ อยากไปนิพพาน สุดท้ายก็อยากไปแต่นิพพานอย่างเดียว อยากเป็นพระอรหันต์.. อย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีเปอร์เซ็นต์อื่นเข้ามาเจือปนเลย ที่นี้จิตมันก็พุ่งลงตรงนั้น ลงช่องเดียว...”

ความตั้งใจเดิมว่าจะบวชเพียง ๒ พรรษาแล้วสึกหาลาเพศนั้นค่อยจืดจางลงไป ๆ ทุกขณะ กลับเพิ่มพูนความยินดีในเพศนักบวชมากเข้าไปทุกที เรื่องธรรมะก็รู้สึกดูดดื่มยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จิตใจก็เปลี่ยนแปลงไป

ด้วยเหตุนี้เอง ในระยะต่อมาท่านจึงได้ออกจากบ้านตาดไปศึกษาเล่าเรียนในที่ต่าง ๆ จนกระทั่งได้ตั้งสัจจาธิษฐานไว้เลยว่า
“เมื่อจบเปรียญ ๓ ประโยคแล้ว จะออกปฏิบัติโดยถ่ายเดียวเท่านั้น ไม่มีข้อแม้ ไม่มีเงื่อนไข เพราะอยากพ้นทุกข์เหลือกำลัง อยากเป็นพระอรหันต์นั่นเอง”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-06-2012 เมื่อ 10:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #60  
เก่า 27-06-2012, 09:48
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,386 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พุทธประวัติย่อ

“... เบื้องต้นเจ้าชายสิทธัตถราชกุมารเสด็จออกผนวช ทรงเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างโดยทรงตัดความห่วงใยอาลัยเสียดายทุกประการ กระทั่งประชาชนทั้งหลายที่เห็นแก่ตัว ตำหนิติเตียนท่าน ว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนคับแคบ เอาตัวรอดเพียงพระองค์เดียว..

โดยลำพังพระกำลังความสามารถที่ทรงทำประโยชน์ให้แก่โลก ในความเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้นผลมีจำกัด ไม่สามารถทำประโยชน์แก่โลกได้มากมายทั่วไตรโลกธาตุ เหมือนความเป็นศาสดาเลย อย่างมากก็ได้เพียงขอบเขตขัณฑสีมาที่พระสิทธัตถราชกุมารทรงปกครองเท่านั้น ไม่เหมือนความเป็นศาสดาสอนโลกทั้งสาม เช่น กามภพ รูปภพ อรูปภพ ที่เรียกว่าไตรโลกธาตุ

พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเป็นครูสั่งสอน เมื่อเสด็จออกผนวชก็ทรงบำเพ็ญพระองค์อย่างเต็มพระสติปัญญา สละตัดความห่วงใยอาลัยเสียดายทั้งสิ้นที่โลกนิยมกัน ก็ตำแหน่งพระราชามหากษัตริย์ใครจะไม่ต้องการ ยศถาบรรดาศักดิ์ ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ไพร่ฟ้าประชาชี บริษัทบริวาร พระชนกชนนี พระชายา พระราชโอรส สมบัติเงินทองข้าวของทั้งแผ่นดิน เป็นของพระเจ้าแผ่นดินทั้งสิ้น...

จากนั้นก็ทรงบำเพ็ญอยู่ในป่า การอยู่ การเสวย การใช้สอยต่าง ๆ เมื่อลดตำแหน่งจากความเป็นพระเจ้าแผ่นดินลงมาเป็นคนอนาถา หาที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้แล้ว จะได้รับความทุกข์ความลำบากยากเย็นเข็ญใจมากน้อยเพียงใด ... ที่อยู่ที่หลับนอน การเสวย ตลอดยาแก้ไข้ ยารักษาโรคต่าง ๆ ไม่มีในสิทธัตถราชกุมารซึ่งกำลังเป็นอนาถานั้นเลย แม้เช่นนั้น ก็ไม่ทรงท้อพระทัย ทรงบำเพ็ญจนถึงขั้นสลบไสลไปในบางครั้ง ซึ่งบอกไว้ในตำรา ... ปรากฏว่า ทรงสลบไปถึงสามครั้ง หากไม่ฟื้นก็ต้องตาย นี่คือความทุกข์ความลำบากของต้นศาสนาเป็นมาอย่างนี้ เมื่อกาลเวลาที่ได้รับความทุกข์ความทรมานยิ่งกว่านักโทษในเรือนจำ ซึ่งเป็นอยู่ถึงหกปีผ่านไปแล้ว ...

ปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติย้อนหลังได้กี่ภพกี่ชาติของพระองค์เอง ได้เกิดได้ตายท่องเที่ยวในวัฏสงสาร ทั้งภพน้อยภพใหญ่ทั้งสูงทั้งต่ำ คือขึ้นถึงชั้นพรหมโลกก็ถึง ลงจนถึงนรกอเวจีก็ลง เป็นอย่างนี้เหมือนสัตว์ทั้งหลายทั่ว ๆ ไปนั้นแล เมื่อพระองค์บำเพ็ญสมณธรรมคืออานาปานสติถูกทางแล้ว ได้บรรลุธรรมนี้ขึ้นมา ...

เมื่อได้ผลจากการบำเพ็ญอานาปานสติในปฐมยามนั้นแล้ว ก็ทรงทราบย้อนหลังถึงความเป็นมาของพระองค์ ว่าเคยเกิดเคยตายในภพในชาติเป็นสัตว์ เป็นเปรต เป็นผี หรือเป็นสัตว์นรก ตลอดถึงเทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ประเภทใด พระองค์เคยเป็นมาหมด แล้วนับย้อนหลังได้หมด ตามร่องรอยแห่งความเป็นมาของพระพุทธเจ้า นี่พระองค์ก็ทรงทราบได้อย่างชัดเจน เป็นผลประจักษ์ในคืนวันนั้น

พอมัชฌิมยามนั้นก็บรรลุจุตูปปาตญาณ ทรงพิจารณาเรื่องความเกิดความตายของสัตว์โลกทั่ว ๆ ไปไม่มีประมาณ ก็ทรงทราบตลอดทั่วถึง เช่นเดียวกับพิจารณาความเป็นมาของพระองค์ จนถึงกับท้อพระทัยในการที่เกิดตายแบกหามทุกข์ตลอดมา ไม่มีสถานที่ใดที่จะปลงวางแห่งความทุกข์ เมื่อมีความเกิดผิด ๆ พลาด ๆ อยู่อย่างนี้แล้ว พระองค์จึงทรงย้อนพระทัยเข้ามาสู่ต้นเหตุอันใหญ่หลวงคือ อวิชชา ปัจจยา สังขารา เป็นต้น อวิชชาคือ ความมืดบอดปิดในหัวใจของสัตว์ สังขารก็ผลักดันให้คิดให้ปรุงในเรื่องในราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นทางเดินของกิเลสอวิชชานั้นไปเรื่อย ๆ จึงพาสัตว์ให้เกิดให้ตายเรื่อย ๆ

พระองค์ทรงพิจารณาย้อนหน้าย้อนหลัง ถึงต้นเหตุแห่งการพาสัตว์ให้เกิดตายคืออะไร ? ก็มาได้ความที่อวิชชา ปัจจยา ทรงพิจารณาลงที่จุดนั้น.. เข้าสู่ต้นตอแห่งภพแห่งชาติ แห่งความทุกข์ความทรมานทั้งหลาย ได้ทราบอย่างประจักษ์พระทัย แล้วถอนขึ้นมา บรรดาอวิชชาที่ครอบงำในพระทัยของพระพุทธเจ้า ได้ถูกถอนขึ้นมาโดยสิ้นเชิง ... นั่นละ ที่ปัจฉิมยามก็บรรลุอาสวักขยญาณ คือสิ้นกิเลสโดยประการทั้งปวง สิ้นอาสวกิเลสหมดในปัจฉิมยามที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกว่าตรัสรู้ขึ้นมาในขณะนั้น ตัดภพตัดชาติความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เป็นมาแล้วก็จะนับจำนวนไม่ได้ ที่จะเป็นต่อไปนั้นก็เป็นอันว่าสุดสิ้นลงแล้ว ในขณะที่อวิชชาตัวพาให้เกิดให้ตายได้ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ในวันเพ็ญเดือนหกตอนปัจฉิมยามฯ ...

นี่คือพระพุทธเจ้าทรงฝึกฝนอบรมพระองค์ คอยสังเกตสังกาการประพฤติปฏิบัติของพระองค์ เพราะไม่มีครูใดอาจารย์ใดจะมาสอนได้ เป็นลำพังของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะพระวิสัยของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์นั้น เวลาตรัสรู้ จะตรัสรู้โดยลำพังพระองค์เองทุก ๆ พระองค์ ไม่มีใครแนะนำสั่งสอนเลย จึงเป็นการยากการลำบาก นี่ละ..การฝึกฝนอบรมพระองค์จนได้เป็นศาสดาขึ้นมาแล้วก็ประกาศธรรม ... ทรงนำมาแสดงสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายเรื่อยมา นี่เริ่มเป็นครูของโลกแล้ว เป็นครูของมนุษย์และเทวดา อินทร์ พรหมทั้งหลายในสามแดนโลกธาตุนี้...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2012 เมื่อ 18:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:16



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว