#21
|
|||
|
|||
๑๒. คุณหมอเองก็เช่นกัน การทำงานให้ระมัดระวังด้วย เพราะร่างกายแก่ตัวลงไปทุกวัน อย่าคิดแต่ประหยัดอย่างเดียว หากร่างกายเป็นอะไรลงไปก็ไม่คุ้ม อย่าคิดว่าหากป่วยก็มีคนอื่น ๆ คอยช่วยเหลือ เมื่อถึงคราวล้มป่วยเข้าจริง ๆ จักมุ่งหวังให้ใครช่วยใครนั้นก็ยากเต็มที ต้องมุ่งช่วยตนเองเป็นหลักใหญ่ ทำอะไรให้ยึดหลักมัชฌิมาเข้าไว้.. แล้วจักมีความพอดีหมดทุกอย่าง ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม เวลากายเหนื่อยจากการทำงาน เมื่อพักหมั่นทำจิตให้สงบมากที่สุด จุดนั้นจิตจักได้พัก ร่างกายก็จักหายเหนื่อยได้เร็ว
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-11-2016 เมื่อ 21:09 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
|||
|
|||
๑๓. วัดท่าซุงนั้นอยู่ได้ถึง ๕,๐๐๐ ปี แต่ความเจริญหรือความเสื่อมนั้นย่อมมีเป็นของธรรมดา ในอดีตวัดท่าซุงก็เป็นอย่างนี้มาโดยตลอด เสื่อมบ้าง เจริญบ้าง ธรรมดาของวัดก็เป็นอย่างนี้เอง จงพิจารณาให้เห็นโทษของจิตที่เกาะติดโลก และขันธโลก มองหาความจริงของโลกให้พบ โลกนี้ไม่เที่ยง โลกนี้เป็นทุกข์ โลกนี้มีความสลายตัวไปในที่สุด อะไรเป็นปัจจัย ? ก็ตัณหา ๓ นี่แหละครองโลก (อารมณ์โลภ – โกรธ – หลง) ซึ่งมิใช่เรื่องที่ผิดปกติ อดีตก็เป็นอย่างนี้ ปัจจุบันก็เป็นอย่างนี้ อนาคตก็เป็นอย่างนี้ โลกหาได้เป็นอื่นไปไม่ ให้พิจารณาจิตที่โลภว่า โลภทำไม ? โลภเพื่ออะไร ? (ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าตายแล้วเอาสมบัติของโลกไปไม่ได้) จิตที่โกรธก็เช่นกัน โกรธทำไม ? โกรธเพื่ออะไร ? มีคุณหรือมีโทษในความโกรธนั้น จิตมีความหลงก็เช่นกัน หลงทำไม ? หลงเพื่ออะไร ? มีคุณหรือมีโทษในความหลงนั้น ถ้ารักจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อมรรคผลพระนิพพาน จักต้องเป็นผู้สอบสวนอารมณ์จิตของตนเองไว้เสมอ จิตของคนอื่นช่างมัน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-11-2016 เมื่อ 20:42 |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
|||
|
|||
๑๔. อย่าสนใจกับความชั่วของบุคคลอื่นจักทำให้จิตเศร้าหมอง.. ขาดทุนทุกครั้งที่เผลอ จงอย่าเอาความชั่วของเขามาใส่ใจเรา แม้จักทำได้ยากก็จริง.. ก็ต้องอดทนทำให้ได้เพราะเป็นชาติสุดท้ายแล้ว กรรมใดที่เราไม่เคยก่อไว้ วิบากนั้น ๆ จักเกิดกับเรานั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะกฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย จำไว้..จงอย่าไปชั่วตามเขา ให้รักษาอารมณ์อุเบกขาให้จงหนัก อย่าไปปรุงแต่งธรรม ให้เห็นธรรมดาของโลก คนไม่มีศีลก็เป็นธรรมดาของเขา เช่นในพุทธันดรนี้ อย่างพระเทวทัต นางมาคันทิยา นางจิญจมาณวิกาเป็นต้น คนเหล่านี้ไม่มีศีล ให้เอาพวกนี้เป็นตัวอย่างของคนไม่มีศีล การพ้นทุกข์มิใช่พ้นที่คนนอก จักต้องพ้นที่จิตของเราเท่านั้น หมั่นทำกำลังใจให้เต็ม อย่าคิดไปแก้บุคคลอื่น ให้แก้จิตของตนเองเป็นสำคัญ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-11-2016 เมื่อ 19:41 |
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
|||
|
|||
พระธรรม ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้ ๑. ขณะที่กำลังมีอารมณ์โกรธ เวลานั้นบารมี ๑๐ ขาดทุกข้อ เนื่องด้วยอกุศลกรรมเข้าครอบงำจิต บังคับจิต จิตเวลานั้นก็หมดกำลังที่จักต้านทานความชั่วได้ เพราะจิตมีแต่ธรรมปัจจุบัน ขณะใดที่จิตถูกอกุศลเข้าครอบงำในธรรมปัจจุบัน เวลานั้นจักไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามาแทรกได้ จิตมีอยู่อารมณ์เดียวคือธรรมปัจจุบัน เมื่ออกุศลเข้าครอบงำจิต.. กรรมที่เป็นกุศลก็เกิดไม่ได้หรือเกิดได้ยากยิ่ง ดังนั้นในเวลานั้นบารมี ๑๐ จึงขาดหมดทุกข้อ กำหนดดูอารมณ์ของจิตให้ดี ๆ จักเห็นว่า อารมณ์เกิด – ดับ ๆ และแปรปรวนไปทุก ๆ ขณะจิตขณะอกุศลเกิด ดังนั้นไม่ต้องศึกษาอะไรให้ดีกว่าเรื่องกาย – เวทนา – จิต และธรรม ๒ ข้อแรกเป็นเรื่องของกาย ๒ ข้อหลังเป็นเรื่องอารมณ์ของจิต ก็เป็นธรรมดาของจิต ผู้รู้จริง ๆ คือจิตซึ่งเป็นตัวเรา เห็นสันตติธรรมนอกที่กายเรา และเห็นสันตติธรรมภายในคืออารมณ์จิตของเราเอง ซึ่งเกิด – ดับ ๆ อยู่ตลอดเวลา หากทำได้จิตก็จักพ้นทุกข์ได้ในชาติปัจจุบันนี้แน่นอน แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-11-2016 เมื่อ 18:48 |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
|||
|
|||
๒. อากาศร้อน จิตจงอย่าร้อนไปกับอากาศ แม้มีเรื่องกระทบกระทั่งใจจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็พึงวางอารมณ์จิตให้เยือกเย็น อย่าแก้โลก อย่าไปแก้คน ให้แก้อารมณ์จิตของตนเอง เพราะเราตั้งใจจักไปพระนิพพาน ก็จงปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างให้ได้ ค่อย ๆ ฝึกไป ให้พิจารณาตามหลักของความเป็นจริง โลกนี้ที่สุดไม่มีอะไรเหลือ คน – สัตว์ – วัตถุธาตุ ตายเหมือนกันหมด แม้ร่างกายที่จิตเราอาศัยอยู่ก็เช่นกัน เพราะฉะนั้น...พึงเร่งมรรคทางจิตให้มาก เพื่อจักให้ถึงผลของการที่จักไม่ต้องกลับมาเกิดอีก จิตใครที่ไหนอื่นไม่มีความสำคัญ.. สำคัญที่จิตของตน ใครจักเป็นอย่างไรก็เรื่องของเขา สุดแล้วแต่กฎของกรรมจักทำให้เป็น อย่าไปขวางกรรมของเขา ปล่อยวาง ไม่รับ แผ่เมตตาจิตให้มาก แล้วเหตุการณ์ทุกอย่างจักคลี่คลายไปเอง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-11-2016 เมื่อ 20:38 |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#26
|
|||
|
|||
๓. การกระทบกระทั่งทั้งหมดมีได้ก็เพราะมีร่างกาย อายตนะ ๖ ภายในที่รับการสัมผัสกับอายตนะ ๖ ภายนอก จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อันเนื่องจากความไม่เที่ยงนั้น พิจารณาให้เห็นชัดจึงจักปล่อยวางได้ เช่น อายุมากขึ้นร่างกายก็เริ่มอ่อนแอ มีอาการเจ็บป่วยบ่อยขึ้น ก็ให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย ชีวิตยังอยู่ก็ต้องดูแลร่างกายไปตามหน้าที่ในทางสายกลาง หรือใช้พรหมวิหาร ๔ เป็นหลัก คนมีครอบครัวก็ต้องมีเรื่องมากระทบให้เกิดอารมณ์พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้างเป็นธรรมดาตามกฎของกรรม ให้พยายามปล่อยวางให้มาก ลงตัวธรรมดาให้มาก
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2016 เมื่อ 03:29 |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#27
|
|||
|
|||
๔. การวางอารมณ์จิตเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะบางครั้งหรือบ่อยครั้งที่นิวรณ์ ๕ เข้าแทรก ทำให้คิดผิด ปฏิบัติผิด ดังนั้น..จึงพึงให้ความสำคัญกับอารมณ์ของจิตให้มาก เวลานี้ทฤษฎีแอลนีโญกับลานีญาปรากฏแก่โลก ภัยธรรมชาติย่อมเกิดขึ้นได้เหนือความคาดหมายเสมอ การตายหมู่จึงมีขึ้นได้หลายรูปแบบ จากดินถล่ม แผ่นดินไหว น้ำท่วมฉับพลัน ฝนตกมากเกินพอดี ลมพัดแรงเป็นพายุหมุนรุนแรงในระดับต่าง ๆ ไฟไหม้จากอุบัติเหตุ และจากฟ้าผ่า เป็นต้น จึงพึงสังวรณ์เตือนจิต เตรียมจิตให้พร้อม และจิตจักต้องพร้อมทิ้ง พร้อมละวางทุกสิ่งทุกอย่าง โดยไม่ห่วงอะไรทั้งหมดแม้แต่ร่างกาย มุ่งจุดเดียวที่จักไปคือพระนิพพาน จุดนี้จักต้องทำให้ได้ในขณะจิตเดียว ให้ซ้อมจิตปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่ห่วงอะไรทั้งหมด มุ่งสู่พระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น พึงหมั่นทำดู ถ้าไม่ไหวก็พิจารณาศีลข้อไหนพร่องบ้าง สมาธิจิตตรงไหนพร่องบ้าง นิวรณ์ข้อไหนกวนใจ ปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริงของร่างกายตรงไหนพร่องบ้าง แล้วตรวจดูบารมี ๑๐ จุดไหนยังอ่อนแอบ้าง เสริมกำลังใจให้เต็ม ค่อย ๆ ทำไป.. ไม่นานก็จักคล่องตัวได้เอง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-12-2016 เมื่อ 20:27 |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#28
|
|||
|
|||
๕. พระอรหันต์เขาเป็นกันก่อนตาย มิใช่ตายแล้วถึงเป็น ดังนั้น.. จงอย่าเพิ่งคิดว่าตายก็ช่างมัน ผู้ที่จักคิดเช่นนี้ได้ก็เมื่อผู้นั้นเข้าถึงพระอรหัตผลแล้ว คืออยู่กับตายมีผลทรงตัวแล้ว แม้พระอรหันต์เอง.. เมื่อจบกิจแล้วท่านก็ดูแลร่างกายเป็นอย่างดี เพื่อเป็นการบรรเทาทุกขเวทนา เป็นการทำตามหน้าที่ ตายแล้วหรือถึงที่ตาย ตรงนั้นแหละจึงช่างมัน ไม่ใช่จิตยังไปไม่ถึงแล้วคิดว่าตายก็ช่างมัน พิจารณาจุดนี้ให้ดี จักได้ไม่สำคัญผิด ดังนั้น..จงอย่าประมาทในความตาย ถ้ากฎของกรรมเข้าแทรก เวลาร่างกายเจ็บป่วย มันเอาทั้งนั้นไม่เคยยกเว้นให้ใครเลย แม้แต่พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ก็ยังป่วย จึงต้องรักษาเยียวยาร่างกายไว้ให้ดี เพราะหากจิตยังไม่ถึงพระอรหัตผลเพียงใด คำว่าประมาทในความตายไม่พึงมีในใจ เพราะร่างกายนี้ยังคงอยู่ ก็พึงเร่งรีบมรรคผลให้ถึงที่สุด ก่อนที่ร่างกายนี้จักพังลงไป
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-12-2016 เมื่อ 15:39 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#29
|
|||
|
|||
๖. งานมาฆบูชา จักมีการเวียนเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในบวรพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ และเป็นวันปลงอายุสังขารของพระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ด้วย เหล่านี้พึงทำทักษิณาวัตรเป็นการเคารพบูชาอย่างยิ่ง แล้วสำรวจ กาย วาจา ใจ ของตนเองว่า ได้ทำตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระตถาคตเจ้าได้ครบถ้วนหรือยัง อย่าไปสนใจกับจริยาของผู้อื่น เพราะการพ้นทุกข์จักมีขึ้นได้ก็ด้วยการสำรวม กาย วาจา ใจ ของตนเอง ให้อยู่ในโอวาทปาฏิโมกข์นั้น
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-12-2016 เมื่อ 20:20 |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#30
|
|||
|
|||
๗. ให้คุณหมอแนะนำทุกคนให้นึกถึงคำสอนของท่านฤๅษีคือ นึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ไว้เป็นที่พึ่ง ก่อนออกจากบ้านให้ภาวนา พุท - โธ แล้วกลืนน้ำลาย ๓ จบก็จะปลอดภัย ถ้าหากไม่แน่ใจ วัตถุมงคลทุกชนิดที่ท่านฤๅษีได้อาราธนาพระพุทธเจ้าทำเอาไว้ก็ใช้ได้ทุกอย่าง แม้ทรายเสก พระธาตุรวมตัว น้ำมันชาตรี ก็สามารถกันสารพิษหรือกัมมันตภาพรังสีได้ รวมทั้งผ้ายันต์ต่าง ๆ ด้วย แต่อย่าลืมว่าทุกคนต้องตาย ให้เตรียมจิตเตรียมใจให้พร้อม ถ้ากฎของกรรมเข้ามาถึงก็หนีไม่พ้นเช่นกัน ไม่ว่าจักอยู่ที่ไหนในโลก ยกเว้นที่เดียวคือพระนิพพาน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-12-2016 เมื่อ 19:33 |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#31
|
|||
|
|||
๘. การมีชีวิตร่างกายอยู่ ก็อยู่อย่างผู้ไม่ประมาท และเมื่อความตายเข้ามาถึงก็พร้อมจะละร่างกายไปได้ โดยไม่มีความกังวลเกี่ยวกับร่างกายเพราะซ้อมตาย และพร้อมที่จะตายไว้เป็นปกติธรรมของจิตด้วยความไม่ประมาท มีมรณาฯ และอุปสมานุสติอยู่เสมอ ผู้มีสติ - สัมปชัญญะอยู่ย่อมไม่ประมาททั้งการอยู่และการตาย จงพยายามทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมในทุก ๆ อิริยาบถ และทุก ๆ ขณะจิตเถิด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-01-2017 เมื่อ 16:09 |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#32
|
|||
|
|||
๙. ให้กำหนดรู้ในเวทนาที่เกิดขึ้นแก่ร่างกายนี้ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา พึงพิจารณาเวทนาให้มาก รวมทั้งพึงถวายสังฆทานอุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ที่ทำให้เกิดอาการมึนศีรษะ วิงเวียน จักอาเจียน (นับเป็นวาระกฎของกรรม.. ของสุรา-เมรัยในอดีตชาติให้ผล) ในครั้งนี้ด้วย จักทำให้ผลของกรรมทุเลาเบาบางลงได้
แล้วให้เห็นเป็นปกติของร่างกาย ความไม่เที่ยงเป็นของธรรมดาของร่างกาย ถ้าไม่มีร่างกายเสียอย่างเดียว ความเดือดร้อนต่าง ๆ อันเนื่องด้วยร่างกายก็จักไม่มี ให้พิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มาก อย่าสักแต่ว่ารู้โดยสัญญาเท่านั้น หากยังไม่เข้าถึงจิตเพียงใด ก็ยังไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริง ตัวปัญญาที่แท้จริงเกิดขึ้น ก็จักปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด รวมทั้งขันธ์ ๕ ของตนเองด้วย จำไว้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา แยกส่วนออกมาให้ได้ จิตจักได้ไม่เดือดร้อนไปกับขันธ์ ๕ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-01-2017 เมื่อ 02:43 |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#33
|
|||
|
|||
๑๐. การถูกลอบทำร้ายด้วยคุณไสยให้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่ศัตรูส่วนตัวหรอก อย่าไปโกรธแค้นใครเขาเลย ขอจงอย่าประมาทก็แล้วกัน เพราะพวกเจ้าทำงานให้กับพระพุทธศาสนา ให้ตั้งอภัยทานและอโหสิกรรมเอาไว้ในจิต คิดเอาไว้เสมอว่าเราจักไม่เป็นศัตรูกับใคร ให้แผ่เมตตาเอาไว้เสมอ ๆ จิตจักได้เยือกเย็นมีความสุข ให้จดจำอารมณ์พระอรหันต์เข้าไว้ ท่านมีความสุขเป็นปรมัตถ์ แม้เหตุการณ์ที่เข้ามากระทบทางร่างกายจักเป็นอย่างไรก็ตาม (เช่น พระโมคคัลลาน์ เป็นต้น) จิตของท่านหาได้หวั่นไหวไปกับเหตุการณ์ทั้งหลายไม่ การมีชีวิตอยู่ก็ต้องต่อสู้กับอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงอย่างนี้แหละ อย่าคิดว่าจักอยู่ได้โดยสมความปรารถนาหมดทุกอย่าง ไม่มีอันใดเข้ามาเป็นอุปสรรคเลย ถ้าคิดเช่นนั้นก็เป็นการหลงผิดเพราะการมีร่างกาย ย่อมมีความปรารถนาไม่สมหวังเป็นของธรรมดา นี่เป็นอริยสัจของชีวิตที่มีร่างกายดำรงอยู่นี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-01-2017 เมื่อ 02:41 |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#34
|
|||
|
|||
๑๑. กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ ถึงที่ตายก็ตาย ไม่ถึงที่ตายก็ไม่ตาย เมื่อรู้แล้วก็จงมองทุกอย่างให้เป็นธรรมดาเสียให้หมด จิตก็จักได้ปล่อยวางร่างกายลงไป อย่าทิ้งการพิจารณาร่างกายและความตาย เพื่อมุ่งตัดอุปาทานขันธ์ ๕ อันจักเป็นหนทางนำจิตเข้าสู่พระนิพพานได้
จุดนี้อย่าคิดว่าใครจักช่วยเราได้ ทุกคนจักต้องช่วยตัวเองในวินาทีสุดท้ายทั้งนั้น ยกเว้นพระอรหันต์ ท่านยังมีชีวิตอยู่ได้เมื่อตัดกิเลสได้หมดในความเป็นพระ (สมณวิสัย) ท่านอยู่เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ท่านรู้อยู่ขันธ์ ๕ นี้ไม่มีในท่าน อุปทานขันธ์ ๕ ท่านปล่อยวางไปสิ้นแล้ว สำหรับพวกเจ้าหากเวทนารบกวนหนัก ก็พึงพิจารณาและภาวนาให้มาก มุ่งกำหนดรู้ในเวทนานั้นว่าไม่ใช่เรา ภาวนาไปไม่ไหวก็ให้พิจารณา พิจารณาไปไม่ไหวก็ให้ภาวนา สลับกันไปสลับกันมา จิตทรงตัวได้บ้างไม่ได้บ้างก็ให้ถือว่าเป็นของธรรมดา ให้พยายามเอาสติ - สัมปชัญญะกำหนดรู้เข้าไว้ ค่อย ๆ ทำไปแล้วจักถึงคำว่าต่อเนื่องขึ้นมาในจิตได้เอง ถ้าไม่ขี้เกียจเสียก่อน จุดนี้เป็นอุปสรรคใหญ่ที่จักต้องต่อสู้กับอารมณ์ของจิต จักต้องพยายามแก้ไขให้ได้ มิฉะนั้นปฏิบัติธรรมไปก็จักไม่มีผล แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-01-2017 เมื่อ 17:26 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#35
|
|||
|
|||
๑๒. ให้ติดตามดูสภาวะของร่างกายที่ไม่เที่ยงอยู่นี้ให้เป็นปกติ จิตจักได้เย็น ไม่ร้อนไปกับความไม่เที่ยงแปรปรวนของร่างกายนี้ โดยอาศัยหลักของมหาสติปัฏฐาน ๔ มีสติกำหนดรู้อยู่กับธรรม ๔ ประการ แยก กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งไม่เที่ยง เกิดแล้วดับอยู่อย่างนั้นเป็นปกติธรรม จิตคือตัวเราที่ไปกำหนดรู้ เห็นธรรมทั้ง ๔ ตัวนั้นเกิดดับอยู่ ว่ามันไม่ใช่เรา มันไม่มีในเรา มันเป็นแค่สภาวธรรมที่เกิดดับอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่เรื่องอะไรของเรา จิตรับรู้ความเป็นจริงแล้วไม่ปรุงแต่งธรรมนั้นต่อ เห็นเป็นธรรมดา มันเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา นี้เป็นธรรมภายใน คือธรรมของร่างกายที่แปรปรวนไม่เที่ยงอยู่นี้ ส่วนธรรมภายนอกคือเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้ามากระทบ ก็จงเห็นเขาเกิดได้ เขาก็ดับไป (เกิด ดับ) มันก็เป็นเรื่องของเขา จิตอย่าไปยึดสิ่งกระทบให้เป็นที่เร่าร้อน ปล่อยวางเหตุการณ์ทั้งหมดไปตามกรรม จักทำอะไรให้ใจเย็น ๆ จึงจักเห็นผลดี ไม่ว่าจักเป็นงานทางโลกหรือทางธรรม ใจเย็นมีความรอบคอบ ใจร้อนงานไม่เรียบร้อย ขาดความรอบคอบ งานใดไม่แน่ใจ ให้ใคร่ครวญพิจารณาเสียก่อนจึงทำ นั่นแหละจักได้ผลสมบูรณ์
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-02-2017 เมื่อ 17:07 |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#36
|
|||
|
|||
๑๓. จงอย่าประมาทในเหตุการณ์ทั้งปวง เพราะความสงบภายนอกจักหาได้ยากเข้าทุกที จงหมั่นรักษาความสงบในจิตให้มาก เพราะภายนอกยิ่งร้อนมากเท่าไร จักต้องรักษาภายในให้เย็นมากเท่านั้น พยายามพิจารณาหาเหตุ – หาผลให้มากด้วยอริยสัจ แล้วจักปล่อยวางเหตุการณ์ภายนอกลงได้ พิจารณาลงในความไม่เที่ยงทั้งหมด ยึดถืออะไรไม่ได้เลยในโลกนี้ มองทุกอย่างให้เห็นตามความเป็นจริง จิตจึงจักวางได้ การปฏิบัติธรรมให้ได้ผล จักต้องเดินตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระตถาคตเจ้า อย่าออกนอกลู่นอกทางจักไม่มีผล โดยให้มุ่งตัดกิเลสที่ใจของตนเองเป็นสำคัญ อย่าไปสนใจกับกิเลสของบุคคลอื่น มองดูทุกอย่างตามความเป็นจริง จักมีการปล่อยวางความโกรธ – โลภ – หลง ได้ง่าย อย่าไปแบกโลก แล้วอย่าไปแบกธรรม โลกก็เป็นอย่างนี้เป็นปกติ ธรรมก็เป็นอย่างนี้เป็นปกติ อย่าคิดว่ามีอะไรผิดธรรมดาเป็นอันขาด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-02-2017 เมื่อ 13:48 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#37
|
|||
|
|||
พระธรรม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้ ๑. เรื่องทุกเรื่องในโลกล้วนแล้วแต่เป็นกฎของกรรมทั้งสิ้น จงอย่าวิตกให้เกินกว่าเหตุ สิ่งที่ตถาคตบอกให้พวกเจ้ารู้ รู้แล้วพึงวางเฉยกับเรื่องราวทั้งหมด อย่าตีตนไปก่อนไข้ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เพราะเป็นกฎของกรรมอันฝืนไม่ได้ อันเลี่ยงไม่ได้ ไม่ควรที่จักกังวล ให้หมั่นดูแลรักษาจิตของตนเองเอาไว้ดีกว่า ๒. เรื่องของการพ้นทุกข์อยู่ที่จิต ไม่ใช่เรื่องของร่างกาย เพราะหากร่างกายนี้ไม่มีจิตอยู่แล้ว ก็ไม่มีความรู้สึกแต่อย่างไร ให้พิจารณาจุดนี้ให้ดี ๆ แล้วจึงจักวางอารมณ์ลงได้ด้วยเห็นกฎของความเป็นจริง และจงอย่าฝืนใจใคร ให้วางกรรมใครกรรมมันให้จงหนัก เมตตาได้เฉพาะคนที่ควรจักเมตตาเท่านั้น และควรมีกำหนดขอบเขตของความเมตตาด้วย มิใช่เมตตาจนเป็นที่เบียดเบียนตนเอง ถ้าทำอันใดไปแล้วคิดว่าเป็นเมตตา แต่สร้างความหนักใจและทุกข์ใจให้กับตนเอง จุดนั้นไม่ใช่เมตตา จับทางปฏิบัติให้ถูกแล้วจักถึงมรรคถึงผลได้ง่าย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-02-2017 เมื่อ 18:30 |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#38
|
|||
|
|||
๓. ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่พ้นกฎของธรรมดาไปได้ แต่ที่ไม่เห็นก็เพราะโมหะบดบังจิตอยู่ จุดนี้สำคัญมาก จักต้องใช้ปัญญาจึงจักเห็นได้ชัด และเมื่อลงกฎธรรมดาได้แล้ว จิตก็จักเป็นสุขและสงบ เนื่องจากไม่ฝืนในกฎของธรรมดานั้น ๆ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-02-2017 เมื่อ 16:19 |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#39
|
|||
|
|||
๔. จงอย่าไปเดือดร้อนกับกรรมของบุคคลอื่น ให้ทำใจอยู่ในขอบเขตกรรมของตนเองก็พอ อะไรมันผ่านมากระทบแล้วก็ให้มันผ่านไปเลย แยกแยะให้ออกว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่เรื่องที่เป็นสาระอันพึงจักยึดถือ มิใช่เป็นปัจจัยนำจิตให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน พยายามทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยรักษากำลังใจในการทำหน้าที่ของตนให้เต็มเท่านั้น ผลจักเป็นอย่างไรได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น แม้จักถูกตำหนิในบางครั้ง ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ มีแต่พระตถาคตเจ้าเท่านั้นที่จักไม่พลาดเลย ดังนั้น เมื่อมีการผิดพลาดขึ้นครั้งใด แม้จักทำด้วยกำลังใจเต็มที่แล้ว ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เหตุอันใดแก้ไขได้ก็แก้ไข แก้ไม่ได้ก็ก็ไม่ต้องแก้ ยึดเอาธรรมดาเป็นที่ตั้งแล้วจิตจักได้เป็นสุข สงบเยือกเย็นขึ้น
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-02-2017 เมื่อ 20:57 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#40
|
|||
|
|||
๕. อะไรมันจักเกิด มันก็ต้องเกิด ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกฎของธรรมดา เรื่องภัยธรรมชาติภัยจากสงคราม แม้แต่เรื่องใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยกับวัด ก็ล้วนเป็นกฎของธรรมดา อย่าไปวิตกกังวล วางจิตให้ยอมรับธรรมดาก็จักไม่เป็นทุกข์ การฝืนโลกฝืนธรรม ฝืนสังขารร่างกาย ล้วนเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ ทุกอย่างต้องเดินสายกลางทั้งทางโลกและทางธรรม ทำใจให้ยอมรับกฎของธรรมดา (กฎของกรรม) ตั้งใจชดใช้กรรมไปเรื่อย ๆ ตายเมื่อไหร่ก็มุ่งสู่พระนิพพานเมื่อนั้น การหมดภาระของขันธ์ ๕ ย่อมเป็นสุขอย่างยิ่ง ขอให้พวกเจ้ามุ่งหวังเข้าไว้ อย่าทำอารมณ์ใจให้พร่องไปกับอุปสรรคที่เข้ามาทดสอบจิตใจของแต่ละคน ให้เอาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกรรมฐาน แล้วจักเกิดประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-08-2017 เมื่อ 19:11 |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|