#1
|
||||
|
||||
ฉักกะ คือ หมวด ๖
คารวะ ๖ อย่าง
ความเอื้อเฟื้อ ในพระพุทธเจ้า ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในการศึกษา ๑ ในความไม่ประมาท ๑ ในปฏิสันถารคือต้อนรับปราศรัย ๑ คารวะ แปลว่า ความเคารพ หมายถึง การให้ความสำคัญต่อบุคคล หรือสิ่งที่มีคุณความดี มีค่าควรแก่การให้เกียรติ ให้การสนับสนุน และการคุ้มครองรักษา การกระทำที่แสดงออกซึ่งความเคารพ คือการไหว้ การกราบ การก้มศีรษะ การลุกขึ้นต้อนรับ การให้ที่นั่ง การหลีกทางให้ การให้สิ่งของ การนับถือ การบูชา เป็นต้น ๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า ในปัจจุบันนี้ คือ เชื่อความตรัสรู้ของพระองค์ ไม่แสดงอาการไม่สุภาพต่อพระปฏิมาและศาสนสถาน มีเจดีย์ เป็นต้น ๒. ความเคารพในพระธรรม คือ ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา ๓. ความเคารพในพระสงฆ์ คือการกราบไหว้ นับถือ ถวายไทยธรรม มีอาหารบิณฑบาต เป็นต้น ๔. ความเคารพในการศึกษา คือ เห็นคุณค่าของการศึกษาว่าจะทำให้มีความรู้ดี มีความประพฤติดี มีอาชีพการงานดี แล้วตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ไม่เที่ยวเตร่ เสเพล ๕. ความเคารพในความไม่ประมาท คือ ระวังตัวไม่ให้ไปทำความชั่ว ไม่ลืมทำความดี ไม่ปล่อยใจให้คิดเรื่องบาปอกุศล ๖. ความเคารพในปฏิสันถาร คือ ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยการให้ที่พัก น้ำ อาหาร และสนทนาปราศรัยด้วยปิยวาจา เป็นต้น
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-11-2017 เมื่อ 17:01 |
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
สาราณิยธรรม ๖ อย่าง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เรียก สาราณิยธรรม มี ๖ อย่าง คือ ๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนด้วยกาย มีพยาบาลภิกษุไข้ เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา ๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนด้วยวาจา เช่น กล่าวสั่งสอน เป็นต้น ๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน ๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาโดยชอบธรรม ให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว ๕. รักษาศีลให้บริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น ๖. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่วิวาทกับใคร ๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน ธรรม ๖ อย่างนี้ ทรงแสดงแก่ภิกษุจึงดูเหมือนเป็นเรื่องเฉพาะพระ แต่ความจริงแล้วทุกคนนำไปใช้ได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย เช่น อยู่กับบิดามารดาก็ใช้ว่า เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง ช่วยท่านทำงาน พูดกับท่านด้วยปิยวาจา มีจิตใจเคารพนับถือท่าน เป็นต้น
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-11-2017 เมื่อ 17:02 |
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
อภิญญา ๖ (ความรู้อย่างยิ่งยวด หรือ ความรู้ที่ได้จากการเจริญกรรมฐาน)
๑. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) หมายถึง แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เช่น เหาะได้, หายตัวได้ เป็นต้น ๒. ทิพพโสต (หูทิพย์) หมายถึง สามารถจะฟังเสียงที่อยู่ไกล ๆ ได้ เมื่อกำหนดจะฟัง ๓. เจโตปริยญาณ (รู้จักใจผู้อื่น) หมายถึง กำหนดรู้ใจของคนอื่นว่าคิดอย่างไรได้ ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้) หมายถึง สามารถระลึกถึงชาติหนหลัง ๆ ได้ ๕. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์) หมายถึง สามารถมองเห็นการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง และมองเห็นสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม ที่ตนเองทำไว้ ๖. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป) หมายถึง สามารถทำให้กิเลส ตัณหาสิ้นไปจากสันดานของตนได้ ซึ่งทำให้บรรลุอรหัตตผล สิ้นกิเลส ไปสู่นิพพาน อภิญญานี้ ๕ อย่างแรกเป็นเพียงโลกียะสามารถจะเสื่อมได้ ถ้าผู้นั้นมีจิตตกไปในทางอกุศล ส่วนข้อ ๖ เป็นโลกุตรธรรมไม่มีทางเสื่อมได้
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-03-2018 เมื่อ 16:11 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
อภิฐาน ๖ (คือ กรรมที่หนักยิ่งกว่ากรรมอื่น ๆ)
๑. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา) หมายถึง บุคคลที่สามารถฆ่ามารดาของคน ซึ่งถือเป็นผู้ให้ชีวิตและให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ชื่อว่าเป็นการทำกรรมอันหนัก (อนันตริยกรรม) มีทุคติเป็นที่หวัง ๒. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา) หมายถึง บุคคลที่สามารถฆ่าบิดาของคน นับเป็นการทำอนันตริยกรรม มีทุคติเป็นที่ไปเหมือนข้อที่ ๑ ๓. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์) หมายถึง คนที่ฆ่าพระอรหันต์ผู้ซึ่งมีจิตใจบริสุทธิ์ ไม่ได้คิดร้ายต่อใครและเป็นที่นับถือของคนทั่วไป ผู้ที่ฆ่าบุคคลเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นกรรมอันหนักยิ่ง ๔. โลหิตุปบาท (ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้พระโลหิตห้อขึ้น) หมายถึง ผู้ที่ทำร้ายพระพุทธเจ้าซึ่งถือว่ามีพระคุณอันยิ่งใหญ่ ก็ถือว่าเป็นกรรมอันหนัก ๕. สังฆเภท (ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน) หมายถึง ยุยงสงฆ์แยกจากกันเป็นพรรคเป็นพวก คือ ฝ่ายละ ๔ รูปขึ้นไป ก็ถือว่าเป็นกรรมอันหนัก ๖. อัญญสัตถุทเทส (ถือศาสนาอื่น) หมายถึง พระภิกษุสามเณรที่หันเหไปนับถือศาสนาอื่นทั้งที่บวชอยู่
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
จริต ๖ (ความประพฤติ, อุปนิสัย, พื้นเพของจิตใจ)
๑. ราคจริต (มีราคะเป็นปกติ) คือ เป็นพฤติกรรมของผู้ที่รักสวยรักงาม ติดอยู่ในอารมณ์ที่สวยงาม ใช้อสุภะ ๑๐ และกายคตาสติแก้ ๒. โทสจริต (มีโทสะเป็นปกติ) คือ ผู้ที่มีโทสะเกิดขึ้นเสมอ ๆ ใจร้อนหงุดหงิดง่าย แก้ด้วยการเจริญพรหมวิหารและกสิณ โดยเฉพาะวรรณกสิณ ๓. โมหจริต (มีโมหะเป็นปกติ) ได้แก่ ผู้ที่หลงไปในทางอวิชชา คือการไม่รู้อะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาป อุบายที่จะกำจัด คือ เจริญอานาปานสติ และจำต้องหมั่นศึกษาในทุกแง่ที่จะเพิ่มความรู้ ๔. สัทธาจริต (มีศรัทธาเป็นปกติ) ได้แก่ ผู้ที่มีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้น ยากที่จะถอนความยึดถือนั้นออกได้ ต้องแก้ด้วยอนุสสติ ๖ ๕. วิตักกจริต (มีวิตกเป็นปกติ) ได้แก่ ผู้ที่ประพฤติหนักไปในทางนึกคิดจับจด ฟุ้งซ่าน คิดเกินความจำเป็น เกินพอดี ต้องแก้ด้วยการสะกดอารมณ์ เช่น เพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ๖. พุทธิจริต (มีความรู้เป็นปกติ) ได้แก่ ผู้ที่ประพฤติหนักไปในทางใช้ความคิด การพิจารณา ต้องแนะนำให้คิดในทางที่ถูก
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-03-2018 เมื่อ 02:33 |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
ธรรมคุณ ๖ (คือ คุณของพระธรรม)
๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นคำสอนที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีความงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ๒. สันทิฏฐิโก การที่จะทำอะไรก็แล้วแต่ คนที่ทำด้วยตัวเองนั้นแล ถึงจะรู้ว่าเป็นอย่างไร เหมือนกับเราบริโภคของที่มีรสขม คนที่กินก็รู้เองว่ามีรสเป็นเช่นไร ๓. อกาลิโก ไม่ขึ้นอยู่กับกาล หมายถึง พระธรรมไม่ล้าสมัย บุคคลจะนำมาประพฤติเมื่อไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอว่าต้องทำวันใด ปีใด หรือต้องทำตอนแก่ ๔. เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู หมายถึง พระธรรมที่แสดงไว้นั้น สามารถที่จะให้พิสูจน์ได้ทุกเวลา และนำไปประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้าใส่ตน หมายถึง ควรน้อมกาย ใจของตนเข้าไปหาในสิ่งที่ดีงาม ที่เป็นมงคลแก่ชีวิต ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน หมายถึง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามจนถึงที่สุดแล้ว ย่อมรู้ได้ด้วยตัวเอง คนอื่นจะรู้ด้วยไม่ได้
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-03-2018 เมื่อ 14:01 |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
||||
|
||||
สวรรค์ ๖ (สวรรค์ชั้นกามาวจร คือชั้นที่มีการเกี่ยวข้องด้วยกามารมณ์อยู่)
๑. ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นสวรรค์ชั้นที่ต่ำที่สุดในบรรดาสวรรค์ ๖ ชั้นนั้น ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้ดูแลและปกครอง คือ ท้าวธตรฐ, ท้าววิรุฬหก, ท้าววิรูปักข์, ท้าวกุเวร ๒. ชั้นดาวดึงส์ เป็นที่อยู่ของเทพบุตร ๓๓ ตน ซึ่งมีท้าวสักกะหรือพระอินทร์ปกครอง ในชั้นนี้มีพวกเทวดากับพวกอสูร ส่วนใหญ่จะทำการต่อสู้กันตลอดระหว่างเทวดากับอสูร ผลที่สุดอสูรก็พ่ายแพ้จึงถูกขับไล่ ๓. ชั้นยามา เป็นที่อยู่ของเทวดามีท้าวสุยามปกครองชั้นนี้อยู่ ๔. ชั้นดุสิต เป็นที่อยู่ของเทพอันมีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ปกครอง และสวรรค์ชั้นนี้ยังเป็นที่อุบัติของพระโพธิสัตว์และพระพุทธมารดาด้วย ๕. ชั้นนิมมานรดี เป็นที่อยู่ของเทพมีท้าวสุนิมนิมิตเป็นผู้ปกครอง เทวดาชั้นนี้เมื่อต้องการสิ่งไรก็เนรมิตเอาสิ่งนั้นตามปรารถนา ๖. ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เป็นที่อยู่ของเทพมีท้าวปรนิมมิตวสวัตตีปกครอง เทวดาที่อาศัยอยู่ในชั้นนี้เสวยสมบัติที่เทวดาอื่นเนรมิตให้
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-03-2018 เมื่อ 20:52 |
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|