#1
|
||||
|
||||
เตรสกะ คือ หมวด ๑๓
ธุดงค์ ๑๓ (ข้อปฏิบัติประพฤติวัตรที่ผู้สมัครใจสมาทานประพฤติ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส)
หมวดที่ ๑ เกี่ยวกับจีวร ๑. ปังสุกูลิกังคะ (ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) คือ การไม่ยอมรับจีวรที่เขาถวาย ชอบเที่ยวแสวงหาเอาผ้าบังสุกุล คือ เศษผ้า ผ้าห่อศพ ท่านจะไปเก็บเอามาซัก แล้วเย็บทำเป็นจีวร คำสมาทานว่าดังนี้ “คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, ปงฺสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” ๒. เตจีวริกังคะ (ผู้ถือเพียงไตรจีวรเป็นวัตร) คือ การใช้ผ้าไตรจีวรของตน ๓ ผืนเท่านั้น มีคำสมาทานว่า “จตุตฺถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ” หมวดที่ ๒ เกี่ยวกับบิณฑบาต ๓. ปิณฑปาติกังคะ (ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) คือ การไม่ยอมรับกิจนิมนต์ไปฉันตามบ้าน ฉันเฉพาะอาหารบิณฑบาตเท่านั้น สมาทานว่า “อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ, ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ” ๔. สปทานจาริกังคะ (ถือการไม่เที่ยวโลเลในการบิณฑบาต) คือ การไม่เที่ยวบิณฑบาตไปที่โน้นบ้างที่นี้บ้างตามชอบใจ มีคำสมาทานว่า “โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ” ๕. เอกาสนิกังคะ (ถือการนั่งฉันครั้งเดียวเป็นวัตร) คือ ฉันวันละครั้ง ถ้าได้ลุกจากอาสนะแล้วจะไม่ฉันอีก มีคำสมาทานว่า “นานาสนโภชนํ ปฎิกฺขิปามิ,เอกาสนกงฺคํ สมาทิยามิ” ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ (ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร) คือ มีอาหารหวานคาวก็เอาใส่ในบาตรรวมกันแล้วก็ฉัน ไม่ต้องใส่ถ้วยจานให้ยาก มีคำสมาทานว่า “ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ,ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ” ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (ถือการไม่รับภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง) คือ เมื่อตั้งใจจะลงมือฉันแล้วเมื่อมีคนเอาอาหารมาเพิ่มอีก จะไม่รับ มีคำสมาทานว่า “อติริตฺตโภชนํ ปฎิกฺขิปามิ,ขลฺปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ” หมวดที่ ๓ เกี่ยวเสนาสนะ ๘. อารัญญิกังคะ (ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร) คือ การอยู่ในป่าห่างจากบ้านอย่างน้อย ๒๕ เส้น มีคำสมาทานว่า “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ,การญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ” ๙. รุกขมูลิกังคะ (ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร) คือ ฝนจะตก แดดจะออก ก็ขออยู่โคนต้นไม้ ไม่เข้าไปอยู่ในกุฏิวิหาร มีคำสมาทานว่า “ฉนนํ ปฎิกฺขิปามิ,รุกฺขมูลิกํ สมาทิยามิ” ๑๐. อัพโภกาสิกังคะ (ถือการอยู่ที่แจ้งเป็นวัตร) คือ การไม่เข้าร่มไม้ชายคาที่มุงบัง มีคำสมาทานว่า “ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ” ๑๑. โสสานิกังคะ (ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร) คือ อยู่เฉพาะในป่าช้า ไม่อยู่ที่อื่น มีคำสมาทานว่า “อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ” ๑๒. ยถาสันถิตกังคะ (ถือการอยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจะจัดให้) คือ เขาจัดให้อยู่ดีก็อยู่ จัดให้ไม่ดีก็อยู่อย่างนั้น แล้วแต่คนจัดให้ มีคำสมาทานว่า [B]“เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถิตกงฺคํ สมาทิยามิ”[/B] หมวดที่ ๔ เกี่ยวกับความเพียร ๑๓. เนสัชชิกังคะ (ผู้ถือการนั่งเป็นวัตร) คือ ไม่นอนเลย อยู่ด้วยการ ยืน เดิน นั่ง ๓ อิริยาบถนี้เท่านั้น มีคำสมาทานว่า “เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ” ธุดงควัตรนี้ มีส่วนช่วยให้เกิดความมักน้อย สันโดษ ยินดีในที่สงัด ช่วยเพิ่มพูนอริยมรรค คือ ศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุตติ, วิมุตติญาณทัสสนะ ให้สูงขึ้น
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด (-/\-) (-/\-) (-/\-) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-04-2018 เมื่อ 19:48 |
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|