กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 27-08-2022, 05:50
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default เทศน์วันวันเข้าพรรษา วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕

เทศน์วันวันเข้าพรรษา วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕


เชิญรับชมได้ที่ https://youtu.be/WnO-3pzgfLo

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อิมัสมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมีติ

ณ โอกาสบัดนี้ อาตมภาพทำหน้าที่วิสัชนาในวัสสกถา เพื่อเป็นเครื่องเพิ่มพูนปัญญาเสริมบารมี ตลอดจนสร้างกุศลบุญราศี ให้บังเกิดมีต่อญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ซึ่งพร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้

ญาติโยมทั้งหลาย ถ้าหากกล่าวถึงย้อนหลังไป ๒,๖๑๐ ปีที่ผ่านมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเมื่อวานนี้ อย่าลืมนะจ๊ะ..เราย้อนหลังไป ๒,๖๑๐ ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้น..พระองค์ท่านแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเมื่อวานนี้ แล้วพอวันนี้ก็เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาอยู่กับปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ซึ่งในสมัยนั้นพาราณสีเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี เป็นแคว้นที่มีความร่ำรวยที่สุด เพราะว่าสามารถผลิตผ้าได้เป็นที่ต้องการทั่วไปประเทศและอีกหลายประเทศในยุคนั้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 27-08-2022 เมื่อ 23:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 27-08-2022, 05:54
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

คราวนี้ประเทศในยุคนั้นไม่ได้เรียกว่า "ประเทศ" แบบสมัยนี้ แต่เรียกว่า "มหาชนบท" คำว่า "มหา" ก็คือ "ยิ่งใหญ่" แต่เพียงแต่ว่าใหญ่ขนาดไหนก็ตาม เขตพื้นที่ก็ไม่ได้มากมายมหาศาล บางชนบทหรือบางประเทศก็เท่ากับสองสามจังหวัด บางประเทศก็เท่ากับเจ็ดแปดจังหวัดของสมัยนี้เท่านั้น

องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจำพรรษา ฝึกฝน อบรม สั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้งห้า โดยการแสดงซึ่ง "อนัตตลักขณสูตร" เพิ่มเติมขึ้นมาจากธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จนกระทั่งพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ อีก ๔ ท่านในปัญจวัคคีย์นั้นได้บรรลุมรรคผลตามพระอัญญาโกณฑัญญะไป

ก็แปลว่าในโลกยุคนั้น นอกจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังมีพระอรหันต์ปรากฏเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ๕ องค์ แล้วหลังจากนั้นเมื่อออกพรรษาทั้ง ๖ รูปก็ได้แยกย้ายกันไปเพื่อประกาศพระพุทธศาสนา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พี่เสือ (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #3  
เก่า 27-08-2022, 06:00
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้พระภัททวัคคีย์ ๓๐ คน บวชเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้นก็ได้พระยสะพร้อมกับสหายอีก ๕๕ คน เมื่อช่วงนั้นมีพระอรหันต์จำนวนมากแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ส่งออกประกาศพระพุทธศาสนาทั่วไป

แล้วถ้าหากว่าผู้ใดเลื่อมใสศรัทธาอยากจะบวชในบวรพระพุทธศาสนา พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น มีปัญจวัคคีย์เป็นต้น ก็นำเอาบุคคลผู้เลื่อมใสมาบวชต่อหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยวิธีเอหิภิกขุ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ อย่างด้วยกัน

ก็คือถ้าเป็นผู้ที่บรรลุมรรคผลแล้วขอบวช พระองค์ท่านจะตรัสว่า "เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงเธอประพฤติพรหมจรรย์เถิด"


แต่ถ้าหากว่าเป็นปุถุชนธรรมดา พระองค์ท่านจะตรัสว่า "เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ขอเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบด้วยเถิด"

ต่างกันแค่ตอนช่วงท้ายนิดเดียว ตอนช่วงหน้าก็ขึ้นด้วย "เอหิภิกขุ" เหมือนกัน ก็คือ "เอหิ" จงมา แต่อย่าใช้เป็นคาถา เพราะว่าสมัยหลัง ๆ มีคนเอาเป็นคาถาเรียกผี "โอม จงมา จงมา.." ระวังไว้..! เรียกผิดพลาดขึ้นมาเมื่อไรก็ได้วิ่งกันตับแลบ..!

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 27-08-2022, 06:05
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เมื่อองค์สมเด็จพระประทีปแก้วเผยแผ่พระพุทธศาสนากว้างไกลออกไปมาก มีผู้เลื่อมใสต้องการบวชมาก พระองค์ท่านไม่สามารถให้การอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาได้ทั่วถึง จึงอนุญาตให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ทำการบวชกุลบุตร โดยมีพระอุปัชฌาย์อาจารย์ให้คำแนะนำว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่ก็ให้รับสรณคมน์ อย่างที่พวกเรากล่าวกันว่า..

"นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" แปลว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คำว่า "พระองค์นั้น" ก็คือ "พระพุทธเจ้า" เพราะว่าเป็นการบวชของหมู่สงฆ์ ไม่ได้อยู่ต่อเบื้องพระพักตร์พระองค์ท่าน

"พุทธัง สรณัง คัจฉามิ" ข้าพเจ้าขอยึดพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
"ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ" ข้าพเจ้าขอยึดพระธรรมเป็นที่พึ่ง
"สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ข้าพเจ้าขอยึดพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง


เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วประทานวิธีนี้เพื่อให้การบวชนั้นสะดวกขึ้น ไม่ต้องมาอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์พระองค์ท่านแต่เพียงผู้เดียว จึงเรียกวิธีนี้ว่า "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือ การอุปสมบทโดยการเข้าถึงสรณะทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 27-08-2022, 06:08
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

ในเมื่อพระสงฆ์มีมากขึ้น ออกจาริกเผยแผ่พระพุทธศาสนามาก ก็ยังไม่มีกำหนดให้จำพรรษา พรรษาแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นการจำพรรษาโดยไม่ตั้งใจ เพราะว่าอยู่ฝึกฝนขัดเกลาปัญจวัคคีย์ทั้งห้าอยู่เฉพาะที่เดียว เท่ากับเป็นการจำพรรษาไปในตัว แต่ว่าในช่วงนั้นคำว่าจำพรรษายังไม่มีอยู่ในพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ก็ยังจาริกไปตามเขตคามต่าง ๆ เพื่ออบรมสั่งสอนกุลบุตรและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา

แต่ว่าค่านิยมของนักบวชในสมัยนั้น หลายศาสนาที่มีมาก่อน โดยเฉพาะศาสนาเชน ซึ่งถ้าไม่เข้าใจว่า "เชน" หรือ "ไชนะ" เป็นศาสนาอะไร ก็พูดง่าย ๆ ว่าเป็นศาสนาของนักบวชแก้ผ้า เพราะว่าเป็นบุคคลที่เห็นว่าแม้แต่เสื้อผ้าอาภรณ์ก็เป็นกิเลส บุคคลที่ละกิเลสควรที่จะละทิ้งทุกอย่าง แม้แต่วัตถุภายนอกอย่างเสื้อผ้าก็ไม่เอา เขามีการปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนสามเดือนจะอยู่ประจำที่ รับฟังคำสอนจากศาสดา หรือว่าจากนักบวชอาวุโสที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาสดาของเขา

ในเมื่อศาสนาทั้งหลายเหล่านี้มีมาก่อนพระพุทธศาสนานานมาก ทำให้ชาวบ้านทั้งหลายกำหนดจดจำว่า ในช่วงพรรษาคือฤดูฝน นักบวชจะต้องอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ไม่เดินทางไปไหน ในเมื่อนักบวชในพระพุทธศาสนาของเรายังเดินทางอยู่ จึงได้รับคำตำหนิติเตียน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:03
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 27-08-2022, 06:17
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เพราะว่าในสมัยนั้น ศาสนาเชนนั้นเคร่งครัดถึงขนาดนักบวชจะเดินทาง ต้องมีลูกศิษย์คอยเอาไม้กวาดกวาดถนนไปข้างหน้า ป้องกันไม่ให้เหยียบสัตว์ตาย ฤดูฝนเป็นฤดูที่สัตว์ต่าง ๆ มีมากโดยเฉพาะสัตว์เล็ก ๆ อย่าง มด แมลง หรือแมลงเม่าต่าง ๆ นักบวชในพระพุทธศาสนาของเรา เดินทางไปโดยไม่เจตนา ก็ต้องมีเหยียบสัตว์เหล่านี้ตายบ้าง จึงได้รับคำตำหนิติเตียนทั่วไป

แล้วโดยเฉพาะเมื่อไปถึงครอบครัวหรือว่าบ้านที่ให้การเคารพนับถือ เขาก็ต้องหยุดการหยุดงานมาถวายการต้อนรับ หาข้าวปลาอาหารมาให้ หาน้ำใช้น้ำฉันมาให้ แล้วก็ต้องอยู่สนทนาตามมารยาทของเจ้าของบ้านที่ดี ก็ทำให้กิจการงานต่าง ๆ ของเขา โดยเฉพาะการทำนาต้องสะดุดหยุดยั้งลง

เมื่อมีบุคคลไปปรารภเรื่องนี้กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพระองค์ก็ได้เห็นพระภิกษุ ๓๐ รูปชาวเมืองปาวา ที่เดินทางผ่านฤดูฝนมา กว่าจะถึงเชตวันมหาวิหารก็เปียกโชกไปทั้งกาย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสังเวชสงสารในบรรดาพระภิกษุสงฆ์ของพระองค์ท่านประการหนึ่ง ตั้งใจอนุโลมตามความเชื่อของชาวบ้านอีกประการหนึ่ง จึงมีพระพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่งตลอด ๓ เดือนในช่วงฤดูฝน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พี่เสือ (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #7  
เก่า 27-08-2022, 06:21
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

ซึ่งการอยู่ประจำในที่นั้นต้องมีการอธิษฐานพรรษา ซึ่งเมื่อครู่อาตมภาพได้ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทในเบื้องต้นว่า "อิมัสมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ" ที่แปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอถืออาวาสคือที่อยู่แห่งนี้ เป็นที่อยู่ประจำตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

คราวนี้คำว่า "อาวาส" หรือ "ที่อยู่" นั้นไม่ได้หมายถึง กุฏิ เรือนโรง ศาลาการเปรียญ แต่ว่าเป็นที่หนึ่งที่ใดที่เหมาะสมก็ได้ อย่างเช่นว่า อยู่ในถ้ำ อยู่โคนไม้ อยู่ในบ้านร้าง อยู่ในกองเกวียน บางท่านก็จำพรรษาอยู่ในตุ่มน้ำใบใหญ่ ๆ ก็ต้องบอกว่าคงจะลำบากน่าดู

แต่ว่าผู้ที่จำพรรษาอยู่ในกองเกวียนนั้นได้เปรียบ เพราะว่าการกำหนดเขตอยู่ปราศจากไตรจีวรของพระในช่วงพรรษานั้น เขานับหัวกองเกวียนถึงท้ายกองเกวียน ซึ่งถ้าหากว่าเป็นขบวนเกวียนสัก ๕๐๐ เล่ม เขตจำพรรษานี่ก็น่าจะยาวหลายกิโลเมตรทีเดียว..!

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พี่เสือ (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #8  
เก่า 27-08-2022, 06:26
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

องค์สมเด็จพระบรมครูเมื่อกำหนดให้แล้ว รายละเอียดใดรายละเอียดหนึ่งที่ผู้สงสัยไปสอบถาม อย่างเช่นว่า ถ้าอยู่โคนไม้เขตกำหนดของตนเองว่าอยู่จำพรรษาคือบริเวณเท่าใด ? องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ให้ถือเอาบริเวณเงาไม้ที่ตกลงมาตอนเที่ยงเป็นเขต

ถ้าหากว่าเป็นต้นจามจุรีใหญ่ที่บริเวณการสัตว์ทหารบก จังหวัดกาญจนบุรีก็น่าจะได้ประมาณหลายไร่อยู่ แต่ถ้าหากเป็นต้นไม้ในวัดท่าขนุนก็ไม่กี่ตารางเมตร เรื่องพวกนี้จะเป็นรายละเอียดที่เพิ่มเติมขึ้นมาทีหลัง

แต่ว่าคุณความดีของการจำพรรษานั้นมีอยู่มาก ก็คือ..สมัยก่อนพระสงฆ์ท่านจาริกไปทั่ว ไม่ได้อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ญาติโยมพุทธบริษัทที่นับถือพระพุทธศาสนา อยากจะทำบุญสุนทานก็ไม่มีพระ ในเมื่อพระท่านอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง บุคคลรู้เข้าถึงเวลาก็นิมนต์ หรือไม่ก็นำเอาข้าวปลาอาหารไปถวายถึงที่ซึ่งท่านจำพรรษา ก็สามารถบำเพ็ญกุศลได้โดยสะดวก

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:07
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 27-08-2022, 06:30
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

แล้วการอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งตลอด ๓ เดือน ถ้าได้อยู่กับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็ได้ฝึกฝนอบรม กาย วาจา ใจ ของตนเองอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการศึกษาเล่าเรียนในปริยัติและปฏิบัติ เพราะว่าสมัยก่อนไม่ได้มีหนังสืออย่างสมัยนี้ เป็นการท่องจำแล้วบอกต่อ ที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" ว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ท่านอื่นก็จะรับช่วงต่อไป โดยที่คำพูดเหล่านั้นไม่ได้ผิดเพี้ยน เพราะว่าคนสมัยก่อนความจำดีมาก

ดูแค่พระอานนท์ เราจะเห็นว่าท่านทรงจำพระไตรปิฎกอย่างที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ พระสูตร ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่คราวนี้ว่าทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น พระอานนท์ต้องเป็นผู้รับรอง เพราะว่าได้ขอพรไว้กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระองค์แสดงธรรมที่ใดก็ตาม ถ้าพระอานนท์ไม่ได้อยู่ด้วย เมื่อกลับมาแล้วขอให้แสดงซ้ำให้พระอานนท์ได้ทราบอีกครั้งหนึ่ง เผื่อว่ามีผู้สอบถาม พระอานนท์ที่เปรียบเสมือนเลขานุการส่วนตัว จะได้บอกได้ว่าหัวข้อธรรมนั้น ๆ พระพุทธเจ้าแสดงที่ไหน แสดงให้ใครฟัง

ดังนั้น..ความทรงจำของพระอานนท์จึงมีอย่างน้อย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าเปรียบสมัยนี้คือพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม พวกเราจะได้สัก ๕ บรรทัดไหม ?

ในเมื่อได้รับการสั่งสอนจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์โดยที่อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง พระภิกษุสามเณรก็ได้รับการขัดเกลา โดยเฉพาะแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่ครูบาอาจารย์ท่านจะสั่งสอนให้มา ถึงเวลาก็จะได้ออกไปเผยแผ่ให้ถูกต้องต่อไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022), สุภชัย (27-08-2022)
  #10  
เก่า 27-08-2022, 06:36
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

อีกประการหนึ่งก็คือ การอยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่ง ก็ไม่เป็นการไปรบกวนชาวบ้านเขา ซึ่งจำเป็นจะต้องทำมาหากิน โดยเฉพาะเสียเวลาในการทำไร่ทำนา ในฤดูฝนเขายิ่งเร่งรีบอยู่ที่จะทำให้ทัน เพราะว่าบางท่านเป็นมหาเศรษฐี มีไร่นาเป็นหมื่นเป็นแสนไร่ ถ้าหากว่ามัวแต่มาต้อนรับเราอยู่ ก็เสียเวลาจนอาจจะพ้นฤดูฝนไปแล้ว ข้าวกล้าไม่ทันจะตั้งตัว ถ้าฝนแล้งเสียก่อนก็อาจจะเสียหายมาก

ถ้าสงสัยว่าเศรษฐียังต้องทำนาอยู่หรือ ? ขอบอกว่าสมัยนั้นแม้พระมหากษัตริย์ก็ยังต้องทำนา โดยเฉพาะต้นตระกูลของพระพุทธเจ้า เพราะว่าสมัยก่อนนั้นข้าวถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีราคามาก ดังนั้น..การเปรียบเทียบถึงทรัพย์สินในพระพุทธศาสนา จึงใช้ข้าวเปลือกเป็นเครื่องเปรียบเทียบ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #11  
เก่า 27-08-2022, 06:40
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

อย่างมาตราโบราณที่ว่า ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ กุญชา, ๒ กุญชา เป็น ๑ มาสก เท่ากับว่า ๕ มาสกที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงว่า ถ้าภิกษุขโมยสิ่งของของคนอื่นเขาได้ ๕ มาสกขาดความเป็นพระไปเลย

ถ้าเปรียบตามมาตรานี้ก็คือ ๔ เมล็ดข้าวเปลือกเป็น ๑ กุญชา ๒ กุญชาเป็น ๑ มาสก เท่ากับ ๘ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ มาสก ๕ มาสก ๘ X ๕ = ๔๐ เมล็ดข้าวเปลือกเท่านั้น บ้านเราตีราคาว่าบาทเดียว

แต่ทางพม่าให้ราคามากกว่านั้น ก็คือเอาเมล็ดข้าวเปลือก ๔๐ เมล็ดมาชั่งน้ำหนัก แล้วคำนวณได้ว่ามีน้ำหนักเทียบเท่าทองคำ ๑ สลึง ดังนั้น..ศีลของพม่าจึงเหนียวกว่าศีลของพระไทย ศีลของพระไทยขโมยไป ๑ บาท เสร็จเรียบร้อย..ขาดความเป็นพระไปแล้ว ศีลของพระพม่าต้องขโมยให้ได้เท่ากับราคาทองคำ ๑ สลึง ถ้าหากว่าเป็นสมัยนี้ก็ประมาณ ๗,๕๐๐ บาท..! ศีลของพม่าก็เลยเหนียวกว่าไทยประมาณ ๗,๔๙๙ บาท..!

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 8 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #12  
เก่า 27-08-2022, 06:43
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เรื่องทั้งหลายเหล่านี้พระภิกษุเมื่อจำพรรษาอยู่ในที่ใดที่หนึ่งแล้ว ก็จะได้ศึกษารายละเอียดจากครูบาอาจารย์ ญาติโยมทั้งหลายก็ได้บำเพ็ญในกองบุญการกุศลต่าง ๆ โดยสะดวก โดยเฉพาะในส่วนของการจัดสรรผ้าอาบน้ำฝนมาถวายพระ

สมัยก่อนนั้นการอาบน้ำ เขาเล่นแก้ผ้าโทง ๆ อาบกันเลย แม้กระทั่งปัจจุบันนี้บรรดานักบวชที่ถือศาสนาเชน ก็ยังคงอยู่ในลักษณะแบบนี้ แต่ว่านางวิสาขามหาอุบาสิกาเห็นว่าเป็นการอุจาดตาเกินไป จึงขอประทานพระบรมพุทธานุญาตว่า ในช่วงตลอดฤดูฝน ๓ เดือน ขอให้พระสงฆ์ของเรามีผ้าสำหรับใช้อาบน้ำฝนเพิ่มขึ้นมา ๑ ผืน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #13  
เก่า 27-08-2022, 06:44
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

แล้วการที่พระสงฆ์อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ถ้ามีการศึกษาเล่าเรียน โดยเฉพาะอากาศของประเทศอินเดียหรือว่าชมพูทวีปนั้นร้อนมาก ศึกษาในเวลากลางวันก็ร้อนจนทนไม่ไหว ส่วนใหญ่ก็ศึกษาเวลากลางคืนหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแสงไฟ ส่วนใหญ่ก็ใช้เทียนเป็นหลัก

ดังนั้น..จึงมีญาติโยมที่ตั้งใจผลิตเทียนเพื่อให้พระใช้ได้ตลอดพรรษา จากที่เคยปั้นเทียนขี้ผึ้งต้นเล็ก ๆ เอาไว้สำหรับใช้ในแต่ละครั้ง ก็กลายเป็นปั้นต้นใหญ่เป็นเสาเรือนเพื่อถวายพระให้ใช้ได้ตลอด ๓ เดือน..! จึงมีธรรมเนียมในการนิยมถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน

ส่วนญาติโยมทั้งหลายที่ได้ทำบุญก็คือ ถวายข้าวปลาอาหาร ถวายปัจจัย ๔ อันสมควรแก่สมณบริโภคต่าง ๆ เหมือนอย่างที่ทุกท่านได้กระทำอยู่ในปัจจุบันนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #14  
เก่า 27-08-2022, 06:50
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เพราะฉะนั้น..ก็ขอพาญาติโยมย้อนกลับมา ๒,๖๑๐ ปี วันนี้วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ญาติโยมทั้งหลายมาทำบุญในวันเข้าพรรษาที่วัดท่าขนุนแห่งนี้ เป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามในพระพุทธศาสนา และสร้างบุญกุศลให้เกิดขึ้นแก่ตน เพื่อเป็นเครื่องนำทางในชีวิตของเราต่อไปภายหน้า

ในโลกหน้านั้นทรัพย์สินต่าง ๆ ตามเราไปไม่ได้ นอกจากบุญกุศลเท่านั้น ใครสร้างบุญเอาไว้บ่อย สร้างบุญเอาไว้มาก ก็จะมีโอกาสได้รับความสุขความสบายในโลกหน้ามากกว่าคนอื่นเขา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสอนให้พวกเรา ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

เมื่อเรามาทำบุญใส่บาตร ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายเครื่องสังฆทาน ในส่วนนี้จัดเป็น "ทานบารมี"
ถึงเวลาสมาทานศีล ๕ ตามที่มัคนายกได้นำให้ ก็เป็น "ศีลบารมี"
ถึงเวลาตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ จิตเป็นสมาธิ ก็จัดเป็นบุญในการ "ภาวนา"

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 27-08-2022 เมื่อ 23:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #15  
เก่า 27-08-2022, 06:53
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

แปลว่าญาติโยมทั้งหลายที่มาทำบุญเข้าพรรษาในวัดท่าขนุนวันนี้ กระทำครบถ้วนทั้งทาน ทั้งศีล ทั้งภาวนา ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เมตตาสั่งสอนเอาไว้ตั้ง ๒,๖๐๐ กว่าปีมาแล้ว แปลว่าพวกเราทั้งหลายเป็นสาวกที่ดีขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว แล้วขณะเดียวกันก็จะได้ส่งต่อประเพณีดี ๆ เหล่านี้ ต่อไปยังลูกยังหลานของเราสืบต่อไปในกาลข้างหน้า

สิ่งใดที่เราคิด สิ่งใดที่เราพูด สิ่งใดที่เราทำ..
ถ้าเป็นบุญเป็นกุศลโดยใจ เขาเรียกว่า "มโนทวารกุศล"
ถ้าเป็นบุญเป็นกุศลด้วยการกระทำทางกาย เขาเรียกว่า "กายกรรมกุศล"
ถ้าเป็นบุญเป็นกุศลทางการสำรวมวาจา หรือบอกกล่าวสิ่งที่ดีงามแก่ผู้อื่น เขาเรียกว่า "วจีกรรมกุศล"

ผลบุญทั้งหลายนี้ย่อมเป็นปฏิพรย้อนกลับไป ให้ญาติโยมทั้งหลายประสบแต่ความสุขความเจริญ ไม่ว่าประสงค์จำนงหมายสิ่งหนึ่งประการใด ที่ไม่เกินบุญกุศลที่สร้างไว้ ท่านทั้งหลายย่อมได้รับความสำเร็จสมดังความปรารถนาทุกประการ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2022 เมื่อ 17:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พัสพร (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
  #16  
เก่า 27-08-2022, 06:54
หยาดฝน's Avatar
หยาดฝน หยาดฝน is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 3,523
ได้ให้อนุโมทนา: 317
ได้รับอนุโมทนา 73,848 ครั้ง ใน 3,669 โพสต์
หยาดฝน is on a distinguished road
Default

เทสนาวสาเน..ท้ายสุดแห่งพระธรรมเทศนา อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะเป็นประธาน ได้โปรดดลบันดาลให้ญาติโยมทั้งหลายประสพแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และขอให้ประกอบพร้อมไปด้วยธนสารสมบัติอันเป็นที่พึงใจทั้งปวง

รับหน้าที่วิสัชนามาในวัสสกถาก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์วันเข้าพรรษา ณ วัดท่าขนุน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย มกร)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 27-08-2022 เมื่อ 23:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ หยาดฝน ในข้อความที่เขียนด้านบน
ญาณวิทย์ (27-08-2022), เด็กใต้ (27-08-2022), ต้นบุญ (27-08-2022), เถรี (27-08-2022), พัสพร (27-08-2022), สายใจ (27-08-2022), สุธรรม (27-08-2022)
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:17



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว