|
กระทู้ธรรม รวมข้อธรรมะจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติ |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#81
|
||||
|
||||
๔.พระเทวทัต
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ความดีกับความชั่วให้ผลเสมอกันไป หรือให้สูงให้ต่ำกว่ากัน พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ความดีมีผลเป็นสุขให้เกิดในฐานะสูง ความชั่วมีผลเป็นทุกข์ให้เกิดในฐานะต่ำ ม. ถ้าอย่างนั้น เหตุใดพระเทวทัตซึ่งจองล้างพระพุทธเจ้ามาโดยตลอด จึงเกิดในตระกูลสูงหรือบางชาติมียศศักดิ์สูงกว่าพระพุทธองค์ น. ขอถวายพระพร พระเทวทัตใช่ว่าจะกระทำแต่ความชั่ว ความดีทั้งหลายก็ได้ทำมาในชาติต่าง ๆ เช่น การสร้างสะพานและโรงทานเป็นต้น การที่พระเทวทัตมียศศักดิ์ตระกูลและสมบัติก็ด้วยความดีทั้งหลายส่งผล ส่วนความชั่วคือการผูกพยาบาทพระพุทธองค์ นาน ๆ ทีพระเทวทัตจึงมีโอกาสได้กระทำ เนื่องด้วยมิได้เกิดร่วมกับพระพุทธเจ้าทุกชาติไป (กุสลากุสลการิสสมาสมปัญหา) ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 22-06-2009 เมื่อ 19:41 |
สมาชิก 17 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#82
|
||||
|
||||
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระเทวทัตใครบวชให้
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ ม. พระเทวทัตบวชแล้วจึงทำลายสงฆ์มิใช่หรือ น. ใช่ ขอถวายพระพร ด้วยว่าคนอื่นนอกจากพระภิกษุสงฆ์แล้วทำลายสงฆ์ไม่ได้ ม. อันผู้ทำลายสงฆ์ต้องรับโทษหนักมากมิใช่หรือ น. ขอถวายพระพร ถูกแล้ว ม. ถ้าเช่นนั้น เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงบวชให้พระเทวทัตเล่า พระองค์ไม่ทรงทราบหรือว่า พระเทวทัตจะทำลายสงฆ์ น. ขอถวายพระพร ทรงทราบ ม. ถ้าทรงทราบ คำที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงพระมหากรุณาเป็นอัธยาศัยก็ผิด เพราะทำให้พระเทวทัตมีโทษหนัก แต่ถ้าว่าไม่ทรงทราบ ก็ผิดจากคำที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญูหยั่งรู้เหตุผลทุกสิ่งทุกอย่าง น. อาตมาขอยกตัวอย่างเปรียบถวาย บิดามีบุตรเป็นคนเกกมะเหรกประพฤติเลวทรามต่าง ๆ แม้จะเพียรปลอบโยนชี้แจงแล้วบุตรก็ไม่เชื่อฟัง ครั้นจะเพิกเฉยก็เกรงว่าบุตรจะได้รับความทุกข์จากความชั่วช้าของตน จึงตัดสินใจลงโทษบุตร ขอถวายพระพร เช่นนี้แล้วจะว่าบิดาไม่กรุณาบุตร ไม่รู้คุณและโทษแห่งการทรมานบุตรได้หรือ ม. ไม่ได้สิพระคุณเจ้า เพราะว่าบิดารู้และสงสารบุตร จึงนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ ต้องจำใจลงโทษบุตรเพื่อให้สำนึก น. ฉันใดก็ฉันนั้น พระพุทธองค์ก็เช่นบิดา ทรงสงสารและหยั่งรู้คุณและโทษแห่งการบวชให้พระเทวทัต เพราะทรงทราบว่า ถ้าเพิกเฉยไม่บวชให้ พระเทวทัตก็จะทำชั่วได้แต่เพียงสามัญ ได้รับทุกข์พอประมาณ และไม่มีโอกาสทิ้งนิสัยเลวทรามนั้นได้ ความทุกข์ก็จะตามเผาผลาญได้เรื่อยไป แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าหากเมื่อบวชให้แล้ว พระเทวทัตจะหลาบจำละนิสัยอันชั่ว และกลับมาประพฤติชอบได้ต่อไป ขอถวายพระพร ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบวชให้พระเทวทัต (เทวทัตตปัพพชิตปัญหา) ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 22-06-2009 เมื่อ 19:42 |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#83
|
||||
|
||||
๕. พระพุทธเจ้าครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธองค์ตรัสแจงอานิสงส์ของเมตตาพรหมวิหารไว้อย่างไร พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแจงอานิสงส์ของเมตตาพรหมวิหารออกเป็น ๑๑ ประการคือ ๑. นอนเป็นสุข ๒. ตื่นก็เป็นสุข ๓. ฝันดีเป็นมงคล ๔. เป็นที่รักใคร่ของหมู่มนุษย์ ๕. เป็นที่รักของเล่าอมนุษย์ ๖. เทพยดาย่อมรักษา ๗. เพลิง พิษ และศัสตราวุธย่อมไม่ตกต้อง ๘. จิตย่อมมั่นคง ๙. ผิวหน้าผ่องใส ๑๐. เมื่อจะตายย่อมมีสติ ๑๑. ถ้ายังไม่ได้บรรลุมรรคผลก็จะไปเกิดในพรหมโลก ม. ถ้าเช่นนั้น เหตุใดสุวรรณสามผู้เจริญเมตตาพรหมวิหารอยู่เนือง ๆ จึงถูกศรของปิลิยักษ์ล้มสลบลงเล่า น. เป็นเพราะในขณะนั้น สุวรรณสามเมื่อยล้าจากการเดินท่องหาผลไม้มาเลี้ยงบิดามารดา จึงเผลอสติมิได้เจริญเมตตาพรหมวิหาร ขอถวายพระพร ด้วยเหตุนี้ สุวรรณสามจึงถูกยิง ม. จงหาตัวอย่างเปรียบเทียบให้ฟัง น. ขอถวายพระพร อันธรรมดาลูกศรที่ข้าศึกยิงมา จะป้องกันมิให้ถูกตัวได้ก็ต่อเมื่อสวมเกราะไว้ เมตตาพรหมวิหารก็เสมือนเกราะ จะเกิดผลตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแจงก็ต่อเมื่อเจริญจิตภาวนาอยู่สม่ำเสมอ หากประมาทละเลยเสีย เมตตาพรหมวิหารก็ไม่มีกระแสพอที่จะต้านทานอันตรายนั้น ๆ ไว้ได้ ขอถวายพระพร ตามเรื่องปรากฏว่า พระเจ้าปิลิยักษ์มีพระอัธยาศัยในการล่าสัตว์ ทรงท่องยิงเนื้ออยู่เนือง ๆ ครั้นทอดพระเนตรเห็นสุวรรณสามเดินแบกหม้อน้ำท่ามกลางฝูงเนื้อเป็นที่แปลกตา จึงตั้งพระทัยว่าต้องยิงสุวรรณสามมิให้หนี เพื่อหาโอกาสไถ่ถามความเป็นมา ประจวบกับสุวรรณสามมิได้เจริญเมตตาพรหมวิหารอยู่ในขณะนั้น เมตตาจิตจึงมีกำลังน้อยไม่พอที่จะทำให้พระอัธยาศัยและความมุ่งมั่นในการล่าของพระปิลิยักษ์จางลงได้ ด้วยเหตุนี้ สุวรรณสามจึงถูกศรสลบนิ่งอยู่กับที่ (เมตตานิสังสปัญหา) ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 24-06-2009 เมื่อ 10:12 |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#84
|
||||
|
||||
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระโพธิสัตว์ เช่น พระเวสสันดร สิ้นความรักใคร่ในบุตรภรรยาแล้วหรือ จึงบริจาคบุตรภรรยาให้เป็นทาน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ความเป็นจริงก็คือ พระโพธิสัตว์ยังรักใคร่เมตตากรุณาบุตรภรรยาเช่นเดียวกับที่ผู้อื่นรักบุตรภรรยาของตน ดังนั้น เมื่อพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์เฆี่ยนตีพระธิดาและพระโอรส คือ กัณหากับชาลี จึงทรงสลดพระทัยและบันดาลโทสะจะประทุษร้ายต่อพราหมณ์บ้าง แต่แล้วก็ทรงอดกลั้นความโกรธนั้นเสียได้ ทั้งนี้ก็เพราะ ท่านมีใจผูกพันในพระสัมมาสัมโพธิญาณมากกว่าความรักบุตรภรรยา เพราะท่านแน่ใจว่า ภายภาคหน้าพระสัมมาสัมโพธิญาณจะเกิดประโยชน์สุขแก่ตนพร้อมด้วยบุตรภรรยาตลอดจนบุคคลอื่น ๆ ด้วยหลายเท่า ท่านจึงหักใจทำการบริจาคทานนั้น ม. แต่ตอนที่พระเวสสันดรทรงบริจาคพระนางมัทรีและกัณหาชาลีนั้น พระชายาตลอดจนพระโอรสและธิดาทรงยินดีในทานนั้นด้วยหรือ น. พระนางมัทรีนั้นทรงยินดีในทานครั้งนี้ด้วย แต่กัณหาชาลีหาได้ทรงยินดีไม่ ด้วยยังทรงพระเยาว์ไม่รู้เดียงสาอะไร ม. ถ้าเช่นนั้น การทำทานของพระเวสสันดรก็เท่ากับทำความทุกข์ยากให้สองพี่น้อง เมื่อทานของตนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้วจะเกิดบุญกุศลได้อย่างไรเล่า น. อาตมภาพขอทูลถามพระองค์ว่า เมื่อพระองค์ทรงบัญชาให้เก็บภาษีจากราษฎรทุกคน เพื่อนำมาสร้างสาธารณประโยชน์นั้น ราษฎรบางคนก็ฝืนใจถวายเพราะความขัดสนบังคับบ้าง หรือเพราะเหตุอื่นบ้าง แต่สาธารณะประโยชน์ที่พระองค์กระทำขึ้นนั้น สำเร็จลงตามพระราชประสงค์หรือไม่ ม. สำเร็จลง และเป็นประโยชน์แก่ทุกคน น. ฉันใดก็ฉันนั้น การที่พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชายาและพระโอรสธิดานั้น แม้จะทำให้เกิดความทุกข์ใจลำบากกายแก่กัณหาชาลีก็จริง แต่ทานบารมีที่ได้กระทำนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดประโยชน์สุขอันยิ่งใหญ่แก่พระองค์และบุคคลอื่น ๆ โดยทั่วไปในกาลข้างหน้า เมื่อเป็นดังนั้น ทานบารมีนั้นต้องจัดเป็นบุญกุศล ม. แต่คิดดูจะเห็นว่า ทานที่พระเวสสันดรกระทำนั้นเกินสมควร เหมือนคนบริโภคอาหารเกินประมาณ น. จะจัดว่าเกินสมควรไม่ได้ เพราะทานขนาดนี้จึงเป็นปัจจัยให้พระองค์ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณในกาลต่อมา ม. มีอะไรกำหนดความสมควรหรือว่าทานขนาดไหนจะให้ผลแค่ไหน ที่จริงใครมีจิตเลื่อมใสเท่าใดก็ควรให้ไปเท่านั้น น. ขอถวายพระพร เมื่อบิดาเป็นหนี้เขา จะให้บุตรรับใช้หนี้แทนเพื่อเปลื้องตนให้เป็นไทจะได้หรือไม่ ม. ได้สิพระคุณเจ้า น. ฉันใดก็ฉันนั้น พระเวสสันดรทรงตั้งพระหฤทัยอยู่เสมอว่า จะทรงบำเพ็ญทานบารมีให้เต็มเปี่ยม ยาจกมาขออะไรก็จะทรงบริจาคให้ทั้งนั้น เมื่อทรงผูกพระราชหฤทัยเป็นหนี้รัดพระองค์ไว้เช่นนั้นแล้ว ครั้นมียาจกมาขอพระชายาและพระโอรสธิดา ก็ทรงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้นั้น ขอถวายพระพร การกระทำเช่นนี้จึงถือว่าไม่เป็นการเกินควร ม. เหตุใดพระเวสสันดรไม่ทรงบริจาคตัวเองเป็นทานเสียเล่า จะได้ไม่เดือดร้อนผู้อื่น น. ขอถวายพระพร เมื่อยาจกมาขอน้ำก็ต้องให้น้ำ ขอข้าวก็ต้องให้ข้าว เมื่อยาจกเจาะจงขอพระชายาและพระโอรสธิดา ก็ต้องมอบให้เขาไป ขอถวายพระพร แต่ถ้าหากยาจกทูลขอเจาะจงที่ตัวพระเวสสันดร พระองค์ก็ยินดีจะมอบให้ทันที เพราะพระองค์มีพระหฤทัยผูกพันกับพระสัมมาสัมโพธิญาณยิ่งกว่าสิ่งอื่น ทรงพร้อมและยินดีบริจาคแม้ชีวิตและความสุขของพระองค์ เพื่อแลกกับพระสัมมาสัมโพธิญาณอยู่ทุกขณะ ข้อนี้พึงพิสูจน์ได้จากการกระทำของพระองค์ตั้งแต่ต้นจนตลอด(เวสสันตรปัญหา) ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#85
|
||||
|
||||
บทส่งท้าย
ภายหลังจากที่พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนเสร็จสิ้นสนทนาการในข้อธรรมต่าง ๆ พื้นแผ่นดิน ท้องฟ้า ท้องทะเลและสายน้ำ ได้สำแดงอาการสั่นไหวพร้อมส่งเสียงกึกก้องราวกับจะอนุโมทนาในกุศลแห่งการปุจฉา-วิสัชนาธรรมที่พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนได้กระทำขึ้น ฉะนั้น สำหรับพระเจ้ามิลินท์ ทรงมีพระราชหฤทัยแจ่มใสเปี่ยมเต็มด้วยปีติ เนื่องจากทรงปราศสิ้นแล้วซึ่งความสงสัยในพระรัตนตรัย ทรงรับสั่งขอขมาแก่พระนาคเสนในส่วนที่พระองค์อาจล่วงเกินพระเถระเจ้า พร้อมทั้งบัญชาให้ข้าราชบริพารสร้างวิหารชื่อ มิลินทวิหาร ถวายพระนาคเสนพร้อมภิกษุอื่น ๆ แล้วทรงปวารณาตัวเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต โดยได้รับใช้ปรนนิบัติพระภิกษุทั้งหลายอย่างสม่ำเสมอเรื่อยมานับแต่วันนั้น ครั้นเมื่อศรัทธาของพระองค์สุกงอม พระเจ้ามิลินท์ทรงมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสแล้วทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เจริญวิปัสสนาและสติปัฏฐานจนบรรลุอรหัตตผลในท้ายที่สุด
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#86
|
||||
|
||||
ภาคผนวก : พระโรหณะกับพระนาคเสน
ตามความใน “มิลินทปัญหา” สำนวนแปลต่าง ๆ นั้น พระเจ้ามิลินท์ได้เที่ยวท้าทายถามปัญหานักบวชและนักปราชญ์สำนักต่าง ๆ จนกรุงสาคละของพระองค์ว่างเปล่าจากผู้ทรงปัญญา เนื่องจากสมณพราหมณ์ทั้งหลายที่ไม่สามารถโต้เถียงกับพระองค์ได้ ต่างพากันอพยพออกจากสาคลนครโดยทั่วกัน เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวปรากฏแก่ทิพยโสตของพระอัสสคุตตเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ผู้อาศัยอยู่เชิงเขา ณ รักขิตคูหา พระเถระเกรงว่าหากยังปล่อยให้พระเจ้ามิลินท์มีพฤติกรรมเช่นนี้ต่อไป พระพุทธศาสนาอาจสิ้นไร้ซึ่งผู้เลื่อมใสศรัทธาและอาจเสื่อมโทรมลงในที่สุด จึงได้เรียกประชุมพระอรหันต์ทั้งหลายในบริเวณภูเขาเพื่อหาทางแก้ไข ที่ประชุมเห็นชอบให้เชิญมหาเสนเทพบุตรจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุติลงมาเป็นผู้แก้ปัญหาพระเจ้ามิลินท์ เมื่อพระอรหันต์ทั้งหลายพากันขึ้นไปพบมหาเสนเทพบุตร พร้อมชี้แจงจุดประสงค์ของคำเชิญให้จุติ มหาเสนเทพบุตรตอบตกลง และได้ลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาของโสณุตรพราหมณ์ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน กชังคลคาม ในขณะเดียวกัน พระอรหันต์ทั้งหลายได้มอบหมายให้พระโรหณเถระซึ่งมิได้เข้าร่วมประชุม เนื่องจากไปอยู่สุขวิหารด้วยการเข้าฌานที่เขาหิมวันต์ มีหน้าที่รับผิดชอบอบรมมหาเสนเทพบุตรเมื่อมาเกิดในตระกูลพราหมณ์ นับตั้งแต่บัดนั้น พระโรหณะเถระจึงเพียรผ่านหมู่บ้านพราหมณ์ทุกวันเพื่อบิณฑบาต แต่ไม่เคยได้รับอาหารจากบ้านใดเลย นอกจากคำด่าว่าเสียดสี จนกระทั่ง ๗ ปี ๑๐ เดือนล่วงมา คนในบ้านโสณุตรพราหมณ์จึงกล่าวแก่พระโรหณะว่า “ ขอไปโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด พระคุณท่าน” เมื่อพระโรหณะเดินผ่านเลยไป ได้เผอิญพบโสณุตรพราหมณ์สวนทางมา โสณุตรพราหมณ์ถามเย้ยว่า “วันนี้ท่านได้อะไรจากบ้านเราหรือไม่” ซึ่งพระเถระตอบว่า “ได้” พราหมณ์จึงกลับไปถามคนที่บ้านว่าได้ให้อะไรกับพระ ซึ่งคนในบ้านตอบปฏิเสธ วันต่อไป พราหมณ์จึงรอพบพระโรหณะเพื่อกล่าวหาว่าพระเถรเจ้ามุสา พระโรหณะตอบกลับด้วยเมตตาว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่เคยได้ยินคำปราศรัย “ขอไปโปรดสัตว์ข้างหน้า”จากบ้านท่านเป็นเวลา ๗ ปี ๑๐ เดือน เพิ่งได้ยินเมื่อวาน จึงกล่าวแก่ท่านว่า เราได้”
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 25-06-2009 เมื่อ 17:04 |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#87
|
||||
|
||||
พราหมณ์ได้ยินดังนั้นก็รู้สึกสะเทือนใจว่า แม้คำปราศรัยเล็ก ๆ น้อย ๆ พระเถรเจ้ายังสรรเสริญ
จึงสั่งให้คนในบ้านจัดอาหารถวายและนิมนต์ให้พระโรณะมารับบาตรที่บ้านทุกวัน เมื่อได้พิจารณาเห็นอาการอันสงบและเปี่ยมด้วยเมตตาของพระเถรเจ้า ก็ยิ่งบังเกิดความเลื่อมใส พราหมณ์จึงได้นิมนต์ให้พระโรหณะฉันอาหารในเรือนของตนอยู่เป็นประจำ ในเวลาต่อมา ภรรยาของพราหมณ์คลอดบุตรซึ่งได้แก่มหาเสนเทพบุตรจุติลงมา พราหมณ์ให้ชื่อบุตรว่า นาคเสน ซึ่งเมื่อมีอายุ ๗ ขวบ นาคเสนกุมารได้เล่าเรียนศิลปวิทยาของศาสนาพราหมณ์จนแตกฉานจบสิ้น จึงปรารภถึงความไม่ไม่มีแก่นสารของสิ่งที่ตนได้เล่าเรียน ขณะนั้น พระโรหณะทราบถึงความคิดคำนึงของนาคเสนกุมารจึงมาปรากฏกายที่หน้าบ้านพราหมณ์ นาคเสนกุมารแลเห็นพระเถรเจ้านุ่งห่มแปลกตา จึงคิดว่าบรรพชิตรูปนี้อาจรู้วิชาที่เป็นแก่นสาร จึงเดินเข้าหาแล้วถามว่า ท่านเป็นอะไร เหตุใดจึงโกนศีรษะและนุ่งห่มผ้าย้อมฝาดเช่นนี้ พระโรหณะตอบว่า เราเป็นบรรพชิต น. บรรพชิตเป็นอย่างไร เป็นบรรพชิตเพราะประสงค์อะไร ร. บรรพชิตคือผู้ปลีกตนออกจากกิจการที่เป็นโลกียะเพื่อขัดเกลาจิตใจให้ปราศจากมลทิน น. เหตุใดท่านจึงต้องโกนผม ร. เพราะเราเห็นเป็นเครื่องที่ทำให้ต้องหมกมุ่นกังวล เช่น ต้องกังวลหาเครื่องประดับ ตกแต่งให้เข้ารูป ทาด้วยของหอม สระล้าง หวี สาง รัด เกล้า และเมื่อผมร่วงบาง เจ้าของย่อมเสียดาย ดูก่อนเด็กน้อย บุคคลใดยังหมกมุ่นกังวลอยู่ในกิจเหล่านี้ย่อมมิสามารถทำสิ่งซึ่งสุขุมให้แจ้งได้ น. เหตุใดท่านจึงนุ่งห่มไม่เหมือนผู้อื่น ร. เพราะเหตุที่ผ้าโดยทั่วไปเป็นที่อิงอาศัยของกิเลสกามเป็นเครื่องหมายของคฤหัสถ์ ผ้านุ่งห่มของเราจึงไม่เหมือนคนอื่น นาคเสนกุมารได้ยินดังนั้น ก็เกิดความเลื่อมใสว่าบรรพชิตรูปนี้อาจรู้แจ้งในวิชาที่มีแก่นสาร จึงขออนุญาตบิดามารดาออกบวช เมื่อได้รับอนุญาต พระโรหณะจึงพานาคเสนกุมารไปยังรักขิตคูหาและบวชนาคเสนกุมารท่ามกลางพระอรหันต์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่บริเวณเขาแห่งนั้น เมื่อได้บวชแล้ว พระโรหณะพิจารณาว่าสามเณรเป็นผู้มีปัญญา จึงให้เล่าเรียนพระอภิธรรมก่อน ซึ่งสามเณรนาคเสนก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี สามเณรนาคเสนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ วันรุ่งขึ้นหลังจากอุปสมบท พระนาคเสนเข้าแสดงความเคารพพระโรหณะซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ พลางคิดในใจว่าพระโรหณะคงไม่ใช่อาจารย์ที่สามารถ เพราะแนะนำให้ตนเรียนพระอภิธรรมก่อนพุทธพจน์หมวดอื่น ผิดกับขั้นตอนการเรียนพระธรรมโดยทั่วไป พระโรหณะทราบความคิดพระนาคเสนด้วยเจโตปริยญาณ จึงกล่าวว่า นาคเสน ท่านคิดอย่างนั้นไม่สมควร พระนาคเสนรู้สึกอัศจรรย์ใจและได้ตระหนักถึงปรีชาญาณของพระโรหณะ จึงกราบขอขมาโทษพระอุปัชฌาย์ของตน ซึ่งพระโรหณะกล่าวว่า จะเว้นโทษให้ก็ต่อเมื่อพระนาคเสนสามารถวิสัชนาปัญหาพระเจ้ามิลินท์ให้มิจฉาทิฏฐิทั้งหลายหายสูญ เพื่อพระพุทธศาสนาจะได้รุ่งเรืองสืบไป พระนาคเสนกล่าวรับภารกิจดังกล่าว จากนั้น พระโรหณะได้แนะนำให้พระนาคเสนเดินทางไปเล่าเรียนพระธรรมวินัยเพิ่มเติมกับพระอัสคุตตเถระ จนพระนาคเสนบรรลุโสดาบัน พระอัสคุตตเถระได้แนะนำให้พระนาคเสนไปเรียนต่อกับพระธรรมรักขิตเถระจนบรรลุอรหัตตผล จากนั้นพระนาคเสนได้เดินทางไปยังเมืองสาคละของพระเจ้ามิลินท์ โดยได้พำนักอยู่ ณ สังเขยบริเวณเพื่อเผยแพร่พระธรรม.
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 25-06-2009 เมื่อ 16:26 |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#88
|
||||
|
||||
จบแล้วค่ะ แนะนำมิลินทปัญหา ปัญญาพระนาคเสน ผู้เรียบเรียง วิชชุ เวชชาชีวะ
พิมพ์ครั้งที่ ๕ เดือน กรกฎาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ผู้จัดพิมพ์ ศิษย์วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 24-06-2009 เมื่อ 21:37 |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|