|
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี เก็บข้อธรรมจากบ้านวิริยบารมีมาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไป |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#61
|
||||
|
||||
![]()
ตอนก่อนบวชก็ศึกษาเกี่ยวกับวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะวัดที่อยู่ใกล้บ้าน ตอนนั้นบ้านอยู่ที่ท้ายซอยอ่อนนุช วัด....เป็นวัดธรรมยุติ อาตมาก็ว่าพระธรรมยุติท่านเคร่งครัดดี จึงไปสอบถามว่าจะบวชที่นี่ต้องทำอย่างไรบ้าง ปรากฏว่าต้องไปรอคิวเซ้งกุฏิให้ได้ก่อน ถามว่า "เซ้งกุฏิเขาคิดกันอย่างไรครับ ?" เขาบอกว่า “แสนหก..รับประกัน ๒ ปีมีกำไร” นั่นคือเกือบ ๓๐ ปีที่แล้ว ปัจจุบันนี้น่าจะเป็นล้านแล้วกระมัง ?
แต่จะว่าท่านก็ไม่ได้ เพราะว่ากุฏิเต็มจริง ๆ ต้องไปเข้าคิวลงชื่อไว้ก่อน คืนหนึ่ง ๆ พระบางรูปต้องวิ่งรอกกัน ๓ - ๔ ศาลา แต่ละศาลาก็ถวายกันไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ บาท ตีเสียว่าวิ่งแค่ ๒ รอบก็ ๑,๐๐๐ บาทต่อคืน เดือนหนึ่ง ๓๐,๐๐๐ บาท ปีหนึ่งปาไป ๓๖๐,๐๐๐ บาท คืนทุนแน่ ๆ อยู่แล้ว สรุปแล้วอาตมาหนีไปบวชที่วัดท่าซุง พี่ชายบ่นอย่าบอกใครเลย เพราะว่าทางบ้านเข้าสมาคมตระกูลแซ่ เวลามีงานเขามีกติกาเป็นที่รู้กันว่า ถ้าเขามางานเราช่วยเงินไว้เท่าไร ถึงเวลาเราไปงานเขาก็ต้องให้มากกว่านั้น ถึงเวลาที่อื่นส่งบัตรเชิญมาให้ ทางเรามีหน้าที่จ่ายอย่างเดียว เพราะว่าที่บ้านแต่งงานกันช้ามาก ก็เลยไม่มีงาน พอมาถึงคิวอาตมาบวช แทนที่จะได้จัดงาน กลับหนีไปบวชที่วัดท่าซุง พี่ชายบ่นว่า..คิดว่าจะได้ถอนทุนคืนบ้าง ดันหนีไปบวชกับหลวงพ่อเสียนี่
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 03:39 |
สมาชิก 199 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#62
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์เล่าว่า "สมัยที่หลวงพ่อวัดท่าซุงหล่อรูปยืนองค์ใหญ่ในวิหารร้อยเมตร ปรากฏว่าเจอทั้งลมทั้งฝน ลักษณะนั้นช่างจะกลัวที่สุดเพราะแบบไม่ร้อน โลหะที่เทลงไปเย็นตัวเร็วเกิน ก็จะไปกั้นเอาไว้ไม่ให้โลหะอื่นไหลลงไปข้างล่าง ตรงที่โดนกั้นไว้ก็จะเป็นช่องโบ๋ แต่ปรากฏว่ารูปหล่อของท่านส่วนบนสมบูรณ์มาก แต่งองค์บริเวณจีวรเพิ่มหน่อย เพราะว่าพอเย็นมากแล้วโลหะแล่นไม่ถึง ต้องมาโปะเพิ่มกันทีหลัง
ส่วนที่ช่างกลัวที่สุดก็คือใบหน้า ปรากฏว่าออกมาสมบูรณ์แบบ เลยโล่งใจไป เพราะแต่งองค์แต่งเท่าไรก็แต่งได้ แต่ใบหน้านี่ถ้าแต่งแล้วเสียรูปขึ้นมา ก็ต้องหล่อใหม่ทั้งองค์ ที่เราเห็นองค์ยืนองค์ใหญ่มหึมาในวิหารร้อยเมตร ช่างเขาหล่อด้วยความอกสั่นขวัญแขวนมาก เพราะดินฟ้าอากาศไม่ให้เลย สมัยที่หลวงพ่อท่านอยู่วัดบางนมโค หล่อพระพุทธชินราชองค์หนึ่ง ก็เจอลักษณะอย่างนั้น ก็คือทั้งลมทั้งฝนกระหน่ำ เททองเสร็จ เอาทรายทับแล้วช่างไม่กล้าทุบแบบ ต้องนั่งซึม หลวงพ่อบอกว่า “ทุบแบบออกมาดูสิ” ช่างบอกว่า “เสียแน่ ๆ ครับท่าน” หลวงพ่อบอกว่า “ทุบมาเถอะ เสียก็ทำใหม่..ไม่ว่ากัน” ปรากฏว่าทุบออกมาแล้วงามจนแทบจะไม่ต้องขัดแต่งเลย คราวนี้ช่างดีใจจนน้ำตาไหล หลังจากนั้นพระพุทธรูปองค์นั้น ถึงเวลาใครต้องการฝน อาราธนาไปเป็นได้ฝนทุกที่ ปัจจุบันนี้ไม่รู้ทางวัดบางนมโคเอาไปซุกไว้ที่ไหน ?"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 03:23 |
สมาชิก 213 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#63
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : คุณพิเศษที่เป็นปฏิสัมภิทา เกิดขึ้นตั้งแต่เป็นพระโสดาบันหรือครับ ?
ตอบ : ปฏิสัมภิทาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเป็นพระอนาคามีแล้ว เพราะถ้าต่ำกว่านั้นเดี๋ยวรัก โลภ โกรธ หลงชักลากไปได้ อำนาจคลุมอภิญญา ๖ ได้นี่น่ากลัวมาก ต้องเป็นพระอนาคามีขึ้นไป ถ้าไม่ได้ตัดรักตัดโกรธได้จริง ๆ เดี๋ยวก็ได้เผาชาวบ้านเขาเล่น อย่างวันก่อนมีข่าวฝรั่งโดนไฟเผาตาย หาต้นเหตุไม่ได้ ฝรั่งเขามีสถิติเก็บไว้เยอะต่อเยอะด้วยกัน ที่อยู่ ๆ โดนไฟไหม้ชนิดที่เหลือแต่ขี้เถ้า ซึ่งเขาบอกว่าต้องเป็นความร้อนที่สูงมหาศาล แต่ทำไมสิ่งของที่อยู่รอบ ๆ ข้างไม่ไหม้เลย ลักษณะนั้นขอยืนยันว่าเป็นเตโชกสิณ อาจเป็นไปได้ว่าเขาเคยเป็นมาแต่อดีต ได้มาแต่อดีต แต่ตอนที่ของเก่ากลับมา ไปขยายนิมิตแล้วลืมควบคุม เพราะไม่รู้วิธีควบคุม ก็เลยเผาตัวเองไปเลย แล้ววันก่อนหมอไทยก็มาแสดงความเห็นว่า โดยหลักวิทยาศาสตร์แล้วเป็นไปไม่ได้ ที่ร่างคนอยู่ ๆ จะลุกเป็นไฟ ก็ไฟไหม้อยู่เห็น ๆ แล้วคุณจะมาบอกว่าเป็นไปไม่ได้ เห็น ๆ อยู่ว่าเหลือแต่ขี้เถ้าต่อหน้าต่อตา ท่านที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องเหล่านี้มาก็จะเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ท่านที่ศึกษามาก็เห็นเป็นเรื่องปกติ อาตมาก็เพิ่งจะออกข้อสอบให้พระนิสิตเขาทำเก็บคะแนน ถามว่า “เมื่อเจริญเตโชกสิณจนคล่องตัวแล้ว สามารถกระทำอะไรได้บ้าง ?” เขาก็ตอบกันใหญ่ สามารถเข้าฌาน ๔ อธิษฐานบังหวนควันให้เกิดขึ้น ทำให้ถ่านเพลิงตกลง เกิดเปลวไฟขึ้นในบริเวณที่กำหนดได้ เขียนมาเยอะแยะเลย ไม่ต้องสงสัย...ลอกมาจากอินเตอร์เน็ตทั้งนั้น อาตมาสอนเขาไม่ค่อยได้จำหรอก ถึงเวลาตอบไม่ได้ก็เปิดอินเตอร์เน็ตลอกเอา..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-04-2013 เมื่อ 15:48 |
สมาชิก 199 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#64
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า "นักปฏิบัติธรรมควรจะลดความอยากลงไหม ? คราวนี้ภาษาไทยของเราจำกัด ความอยากในการทำความดี บาลีเขาเรียกว่าธรรมฉันทะ ถ้าความอยากในการกอบโกยในสิ่งอื่น ๆ เข้าหาตัว ก็คือรัก โลภ โกรธ หลง เขาเรียกว่าตัณหา ต่างกันชัดมาก แต่ภาษาไทยเราใช้คำว่าอยากเหมือนกันหมด
แบบท่านที่ไปฝึกปฏิบัติที่วัด เวลาเราปฏิบัติไป ถ้าเป็นสายพองหนอยุบหนอ การเคลื่อนไหวทุกอย่างท่านจะให้กำหนดต้นจิต คือตัวระลึกก่อนว่า "อยาก" อย่างเช่นว่า อยากเดินหนอ อยากนั่งหนอ เราอาจจะไปเถียงว่าไม่อยากก็ได้อยู่ แต่คราวนี้ถ้าไม่อยากแล้วคุณจะทำอย่างนั้นทำไม ? เพียงแต่เป็นความอยากที่ฝังลึกอยู่ แล้วเรามองไม่เห็น ในเมื่อเป็นเช่นนั้นก็เลยกลายเป็นว่า ภาษาไทยเรามีความจำกัดมากไปหน่อย เราใช้คำว่าอยากเหมือนกัน แต่อยากดีกับอยากชั่ว เป็นคนละอย่างกัน แล้วบาลีเขาแสดงชัด อยากทำดี พอใจที่จะทำความดีเป็นฉันทะ แต่อยากชั่วเป็นตัณหา เป็นความอยากที่ทำให้ตนเกิดความทุกข์มากกว่า ดังนั้น..ในเรื่องของฉันทะ ส่วนใหญ่ก็เป็นไปเพื่อความดี ความงาม ความเจริญ ในเรื่องของตัณหา ส่วนใหญ่ก็เป็นไปเพื่อที่จะทำให้ตนเองยึด เกาะ ติด อยู่กับสิ่งต่าง ๆ แล้วหลุดพ้นไม่ได้"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 03:26 |
สมาชิก 196 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#65
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : สัมมาอาชีวะในมรรค ๘ คือ ?
ตอบ : สัมมาอาชีวะคือการประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรม คราวนี้อาชีพที่มีศีลธรรมนั้น พระพุทธเจ้าท่านเน้นว่าให้เว้นมิจฉาวณิชชา ๕ อย่าง คือละเว้นจากการขายสุรา ขายยาพิษ ขายอาวุธ ขายมนุษย์ และขายสัตว์ที่มีชีวิต เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้คนเข้าใจผิดได้ง่ายว่าสนับสนุนให้คนทำความชั่ว ในเรื่องของสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ อยู่ในส่วนของศีล สัมมาวาจาก็คือไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดจนเขาแตกร้าวกัน และไม่พูดวาจาไร้ประโยชน์ สัมมากัมมันตะที่ท่านบอกว่ากระทำการชอบ ก็คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการดื่มสุราเมรัย คราวนี้สัมมาอาชีวะก็เว้นจากมิจฉาวณิชชาทั้ง ๕ ตั้งใจประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมืองและศีลธรรม ในส่วนของศีล ความดีที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ศีลเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดสมาธิ ด้วยความที่เราต้องตั้งสติระมัดระวังรักษาศีล ช่วยทำให้เกิดสมาธิขึ้น ในเมื่อสมาธิเกิดขึ้น ทำให้ระมัดระวังศีลได้ดียิ่งกว่าเดิม ก็เหมือนกับเราหมุนน็อตตัวหนึ่ง ยิ่งไขก็ยิ่งสั้นเข้า ๆ พอท้ายที่สุดก็สุดไปเอง คราวนี้ทั้งศีลทั้งสมาธิก็จะสนับสนุนให้เกิดปัญญา เราจะเห็นการทำงานเป็นวงจรครบ พอปัญญาเกิดก็จะไปควบคุมศีลและสมาธิอีกที ยิ่งควบคุมศีลสมาธิได้ทรงตัวเท่าไร ปัญญาก็ยิ่งผ่องใส ยิ่งแหลมคม
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 30-03-2013 เมื่อ 20:29 |
สมาชิก 182 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#66
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : การตรึกในสัมมาอาชีวะ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
ตอบ : ไม่ตรึกในการค้าขายหรือการกระทำหน้าที่การงานที่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้าจะนับจริง ๆ นอกจากศีลแล้วยังมีเรื่องของพรหมวิหารด้วย เพราะว่าพรหมวิหารจะคุมศีลเป็นปกติ ในเมื่อเป็นอย่างนั้นก็คือ ตรึกอยู่ว่าเราจะไม่ประกอบอาชีพที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ถึงเวลาก็กระทำตามให้เป็นไปตามที่ตนเองคิด เมื่อกระทำให้เป็นไปตามที่ตนเองคิดได้ ก็จะเป็นผล ถาม : ในขณะที่เรานั่งภาวนาอยู่ การที่เราจะไปล่วงละเมิดทุจริตกาย ทุจริตวาจา ก็ไม่มี ? ตอบ : ถ้าเรานั่งภาวนาอยู่ ศีลทุกสิกขาบทไม่ผิดอยู่แล้ว จะมีได้ก็ความฟุ้งซ่านที่จัดเป็นส่วนของมโนกรรม ศีลส่วนใหญ่แล้วจะควบคุมกายกับวาจา ดังนั้น..ถ้าเรานั่งลงภาวนาก็แปลว่าเรามีศีลโดยอัตโนมัติ ถ้าจิตประกอบด้วยการงดเว้นด้วย ก็แปลว่าตอนนั้นศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์เลย ในเมื่อเป็นดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะบรรลุมรรคผลได้ เพราะว่ามีความบริบูรณ์ในศีลในสมาธิ ก็เหลือแต่ปัญญาที่จะพิจารณาอย่างเดียวเท่านั้น ถาม : อย่างเราอยู่ในสมาธิฌาน ไม่มีการละเว้นจิตกุศล จริงหรือเปล่าครับ ? ตอบ : เป็นการละเว้นโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว คุณนั่งอยู่ตรงนี้แล้วจะไปผิดศีลได้อย่างไร ? ดังนั้น..ในส่วนของบารมีต้นจะเกี่ยวกับเรื่องของทาน ถ้าบารมีกลางก็ขึ้นมาก็จะเป็นทานกับศีล ถ้าบารมีปลายก็เป็นเรื่องของสมาธิกับปัญญา ถ้าเราก้าวล่วงมาถึงสมาธิ แสดงว่าคุมศีลได้แล้ว ถ้ายังคุมศีลไม่ได้ สมาธิก็ไม่ทรงตัว กำลังไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้น..ศีลจึงเป็นพื้นฐานของสมาธิ ก่อให้เกิดสมาธิ แล้วศีลกับสมาธิก่อให้เกิดปัญญา เมื่อมีปัญญาก็กลับไปควบคุมศีล ควบคุมสมาธิอีกที ถาม : ได้ยินจากข้างนอกว่าในขณะอยู่ในสมาธิ ไม่มีการละเว้น ไม่มีการสร้างบุญกุศล ก็เลยไม่มีจิตกุศล ? ตอบ : ถ้าอย่างนั้นต้องไปถามเขาว่าทำไมถึงว่าอย่างนั้น ? อย่าลืมว่าบุคคลเมื่อตั้งใจประกอบกรรมความดี กามาวจรจิตมหากุศลเกิดขึ้นแต่แรกแล้ว ในเมื่อกามาวจรจิตมหากุศลเกิดขึ้น สิ่งที่ตัวเองกระทำในการระงับกาย ระงับวาจา และกำลังระงับใจอยู่ ก็ยิ่งก่อเกิดมหากุศลนั้นให้ยิ่งมากขึ้นไปอีก ต้องบอกว่าเขาทำตั้งแต่เริ่มนั่งแล้ว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 03:32 |
สมาชิก 168 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#67
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า "เรื่องของภาษาไทย ถ้าเป็นไปได้ช่วยกันรักษาไว้หน่อย อย่าปล่อยให้ยับเยินลงไปมากมายนัก พวกคำแสลงต่าง ๆ ที่เป็นไปตามยุคสมัยจะใช้ก็ใช้ไปเถอะ แต่เวลาเขียนอย่าเขียนให้ผิด เวลาเขียนพยายามรักษารูปแบบไว้นิดหนึ่ง ถ้าเขียนถูก บรรดาลูก ๆ หลาน ๆ เห็นจะได้จำได้ว่าตัวนี้ถูก
แต่ปัจจุบันนี้พวกเว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนกระทั่งเฟซบุ๊กมักจะใช้ศัพท์เฉพาะของตัวเอง เหมือนกับว่ายิ่งเขียนให้อุบาทว์เท่าไรก็ยิ่งเท่เท่านั้น ถึงเวลาเข้าไปก็จะเจอภาษาไทยที่เหมือนภาษาต่างดาว อ่านแล้วบางทีก็ไม่รู้เรื่องว่าแปลว่าอะไร"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 03:32 |
สมาชิก 190 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#68
|
||||
|
||||
![]()
พระอาจารย์กล่าวว่า "ส่วนใหญ่พอถึงเวลาโยมก็ทำบุญ เห็นตั้งหน้าตั้งตาทำบุญกันจัง แต่พอถามโยมจริง ๆ ว่าบุญคืออะไร จะมีสักกี่คนที่ตอบได้
บุญอธิบายโดยนัยของอรรถกถา ท่านบอกว่า บุญเป็นชื่อของความดี ความงาม ความสบายใจ เพราะฉะนั้น..สิ่งไหนที่ทำแล้วเป็นความดี เป็นความงาม เป็นความสบายใจ สิ่งนั้นชื่อว่าบุญ แต่คราวนี้ความดีความงามของสมัยโบราณนั้นชัดเจน แต่สมัยปัจจุบันนี้ไม่ชัดเจน อย่างเช่นเราบอกว่าบุญเป็นชื่อของความงาม พวกที่ไปทำศัลยกรรมมาก็เป็นบุญสิ..ภาษาเปลี่ยนไป ในเมื่อความหมายของภาษาเปลี่ยน ก็เลยทำให้ความหมายของคำว่าบุญในปัจจุบันเปลี่ยนไปด้วย อย่างที่อาตมาพูดไปต้องบอกว่าแกล้งโง่ เจตนาหาเรื่องมาค้าน" ถาม : แล้วกุศลล่ะครับ ? ตอบ : กุศล ตามรากศัพท์โดยตรงแปลว่าความฉลาด ก็คือฉลาดเลือกในสิ่งที่ดีที่งาม ดังนั้น..กุศโลบาย คืออุบายอย่างชาญฉลาด กุศล กับ โกศล เป็นคำเดียวกัน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 03:34 |
สมาชิก 187 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#69
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : เวลาทำบุญ แล้วอุทิศไปให้คนที่ไม่ตาย เขาจะได้รับหรือไม่ครับ ?
ตอบ : บุคคลที่ไม่ตายต้องบอกให้เขาโมทนา เพราะถ้าไม่ใช่บุคคลที่ได้ทิพจักขุญาณจริง ๆ ก็ไม่สามารถที่จะรับรู้ได้ แต่บรรดาท่านผู้ที่ตายไปแล้ว ลักษณะของโอปปาติกะ เขามีความเป็นทิพย์ของเขาอยู่ เขาจะรู้ได้ ในช่วงวันที่ ๒๓ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ทางวัดจัดปฏิบัติธรรมเนื่องในสัปดาห์วันมาฆบูชา มีบวชพระด้วย มีเวียนเทียน และตามประทีปถวายเป็นพุทธบูชาด้วย ในช่วงวันที่ ๒๔ - ๒๖ เป็นช่วงที่ภาษาชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเขาใช้คำว่า "ปล่อยผี" ก็คือพระยายมหยุดการตัดสิน ปล่อยให้ผู้ตายไปโมทนาบุญได้ ปรากฏว่าวันที่ ๒๔ พวกเขาแห่กันมา ๘,๐๐๐ กว่าราย ถึงเวลาญาติโยมปฏิบัติธรรมแล้วอุทิศส่วนกุศล พวกเขาก็นั่งยิ้มแป้นสบายไปตาม ๆ กัน ไม่ต้องเสียเวลาผ่านสำนักพระยายม คราวนี้วันที่ ๒๕ พวกเราทำบุญเยอะกว่า ปรากฏว่าพวกที่มาโมทนากลับน้อยกว่า เพราะเขาไปกันเสียเยอะแล้ว ใจร้อนรีบรับเลยได้น้อยไปหน่อย แต่สำหรับพวกเขาแล้วรับประกันความเสี่ยงก็คือเอารอดก่อน ในเมื่อเอารอดก่อนคุณมีโอกาสก็โมทนาต่อได้ ตอนขึ้นไปใหม่ ๆ มัวแต่เพลิน ตื่นเต้น ตื่นเต้นในความเป็นทิพย์ ตื่นเต้นในความสุขที่ได้รับ ลืมไปว่าคนเขายังคงทำบุญอยู่เรื่อย ๆ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 03:36 |
สมาชิก 190 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#70
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ถ้าไม่โมทนาก็ไม่ได้ ?
ตอบ : เพราะสภาพจิตไม่ได้เปิดรับ ในเมื่อไม่เกิดความยินดีด้วย ก็เหมือนส่งของให้แล้วเราไม่รับ แล้วจะมีสิทธิ์เป็นเจ้าของของชิ้นนั้นได้อย่างไร เมื่อเราส่งของไป ถ้าเขายินดีก็เอื้อมมือรับมา เขาก็จะได้ของชิ้นนั้นไป เพราะฉะนั้น..การโมทนาบุญคือการเปิดใจตัวเองให้รับความดีของคนอื่น ปกติแล้วคนเราจะยินดีในความดีคนอื่นยากนะ อย่างที่หลวงวิจิตรวาทการท่านบอก "อันที่จริงคนเขาอยากเห็นเราดี แต่ถ้าเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้ จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน" ในเมื่อเป็นอย่างนั้น สภาพจิตที่จะยินดีกับความดีของคนอื่น เป็นสภาพที่เกิดขึ้นได้ยาก ในเมื่อเขาสามารถยังสภาพจิตตนเองให้ยินดีในผลบุญ คือความดีของคนอื่นได้ ความเพียรพยายามในการยังจิตตนเองให้เข้าถึงและยอมรับความดีของคนอื่นนั่นแหละ เป็นบุญใหญ่ที่เขาจะได้ ก็เลยทำให้เขามีส่วนได้ความดีที่คนอื่นเขาทำไปด้วย เป็นเรื่องที่ทำยากมาก ไม่ใช่แค่ยกมือสาธุแล้วจะได้ อย่างที่อาตมาเคยสรุปว่า การยินดีในผลบุญคนอื่น กับการสาธุของเราในปัจจุบันนั้นคนละอารมณ์กัน การยินดีในผลบุญของคนอื่น ก็คือเขามีโอกาสทำ ในขณะที่เราไม่ได้ทำ เราดีใจที่เขาได้ทำ แต่ปัจจุบันที่ยกมือสาธุแบบของเราก็คือ กูจะเอาของมึง เป็นคนละอารมณ์กัน แล้วจะไปได้อย่างไร ?
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 03:38 |
สมาชิก 184 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#71
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : คำว่า ตกภวังค์ คือ ?
ตอบ : ตกภวังค์เป็นภาษาไทย ความจริงภวังค์คืออารมณ์ปกติ ถ้าตกภวังค์ก็คือสภาพจิตคลายออกมาสู่ภาวะปกติ แต่คำว่าตกภวังค์ในปัจจุบันของเรานี้ ความหมายคืออาการที่พลัดจากฌาน การที่สมาธิจิตเริ่มเข้าสู่อัปปนาสมาธิอย่างหยาบ สติตามไม่ทัน ในเมื่อสติตามไม่ทันก็เลยหลุดออกมาจากสมาธิขั้นนั้น ความรู้สึกเหมือนกับตกวูบลงมาจากที่สูง บางทีก็เสียวสะดุ้งเฮือกเลย แล้วเราก็ไปเรียกว่าตกภวังค์ ความจริงตีความหมายผิด ภาษาปัจจุบันความหมายผิดไปเยอะ อย่างวิญญาณก็คือความรู้สึกหรือประสาทร่างกายของเรา นี่ตามความหมายของบาลี แต่วิญญาณในปัจจุบันของเราก็คือผีที่จะมาหลอก ความหมายห่างไปหลายโยชน์เลย..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 14:34 |
สมาชิก 166 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#72
|
||||
|
||||
![]()
ภาษาพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย การที่เราใช้ภาษาบาลีในการจารึกพระไตรปิฎก ก็เพราะว่าบาลีเป็นภาษาที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว เขาใช้คำว่าเป็น "ภาษาที่ตายแล้ว" อย่างเช่น ภุญฺชติ กี่ปี ๆ ก็แปลว่ากิน แปลความหมายอื่นไม่ได้ แต่ภาษาไทยของเรา ถ้าบอกว่ากิน เดี๋ยวก็เป็นรับประทาน ยัดห่า สวาปามอะไรไปเรื่อย ความหมายก็เปลี่ยนไป
ในเมื่อบาลีเป็นภาษาที่ตายแล้ว ก็เลยรักษาพระไตรปิฎกได้ดี คำว่าบาลี มาจากปาลธาตุ แปลว่า ในความรักษา ความหมายก็คือรักษาพระไตรปิฎกเอาไว้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 14:35 |
สมาชิก 165 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#73
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ทำไมปรทัตตูปชีวีเปรตไม่สามารถอนุโมทนาบุญได้ เป็นเพราะอะไรครับ ?
ตอบ : จริง ๆ แล้วพวกเปรตอยู่ในส่วนของบุคคลที่ยังหนาด้วยบาปกรรมอยู่ ไม่สามารถที่จะโมทนาบุญคนอื่นได้ ต้องรอกรรมเบาบางลงจนถึงระดับที่โมทนาบุญได้ จึงจะเรียกว่าปรทัตตูปชีวีเปรต ก็แปลว่าเปรตทุกจำพวกสามารถที่จะเป็นปรทัตตูปชีวีเปรตได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เลยต้องรอจนกว่ากรรมของตนจะเบาบางและได้โมทนาบุญ ซึ่งส่วนใหญ่บุญที่โมทนาก็จำกัดว่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีกรรมเนื่องกันมา หรือเป็นญาติเป็นโยมกันมา ถ้าเป็นคนอื่นก็ยังโมทนากับเขาไม่ได้ หรือไม่เขาก็อาจจะไม่นึกถึงเลย เพราะส่วนใหญ่เขาจะให้แต่ญาติของตนเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องรอจนกระทั่ง ๙๑ กัปล่วงไป กรรมของตัวเองเบาบางลง ขณะเดียวกันญาติก็มาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร ถึงได้ทำบุญอุทิศไปให้โมทนาได้ ดังนั้น..ไม่ว่าจะว่ากล่าวกันตามลักษณะของพระวินัย หรือว่าในเรื่องของคัมภีร์บาลีต่าง ๆ บางทีก็กล่าวถึงเปรต ๑๒ จำพวกบ้าง ๒๑ จำพวกบ้าง จริง ๆ แล้วก็คือแตกรายละเอียดออกไปอีก อย่างเช่นเขากล่าวถึงเปรตที่มีขนเป็นอาวุธ ทางด้านโน้นก็ไปแตกออกว่ามีขนเป็นหอก มีขนเป็นดาบ มีขนเป็นพระขรรค์ ปาเข้าไป ๓ อย่างแล้ว ในเมื่อเป็นอย่างนั้นก็เลยกลายเป็นว่า จำนวนเปรตมีไม่เท่ากัน แต่ความจริงก็แค่ให้รายละเอียดเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง แต่ว่าเปรตทุกจำพวกต้องรอจนผลกรรมเบาบางลง จึงสามารถโมทนาบุญได้ เขาเรียกว่าปรทัตตูปชีวีเปรต ก็คือเป็นผู้ตายไปแล้วซึ่งยังชีพด้วยการอาศัยผู้อื่น ปร (ปะระ) แปลว่าอื่น ใครเคยท่องบาลีก็จะเจอคำนี้ ถาม : ต้องเนื่องด้วยญาติของตัวเองด้วยจึงจะโมทนาได้ ? ตอบ : เป็นญาติหรือเป็นบุคคลที่มีกรรมเนื่องกันมา ไม่อย่างนั้นแล้วต่อไม่ติด เพราะเป็นโทรศัพท์คนละเบอร์ เราอาจจะคิดว่าทำไมโหดร้ายขนาดนั้น ก็ต้องบอกว่า ตนเองทำไม่ดีไว้มาก พอถึงเวลากรรมก็ต้องส่งผลให้เป็นอย่างนั้นเอง ไม่มีใครไปบังคับเขาหรอก แต่ว่าในส่วนกรรมไม่ดีที่ตนเองได้ทำไว้ ทำให้เป็นเช่นนั้นเอง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 14:38 |
สมาชิก 164 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#74
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ภพชาติยาวไกลนานขนาดนั้น เขาจะไม่เจอญาติอุทิศให้สักคนเลยหรือครับ ?
ตอบ : ลองไปนึกถึงทุสะนะโส ที่อยู่ในโลหะกุมภีนรกที่เขาว่า สัฏฐีสะตะสหัสสานิ เป็นคำต้นของคำว่า สะ คือ ๖ แสนปีผ่านไปได้เจอหน้าพวกกันในนรกแวบเดียว เราลองคิดว่า ๙๑ กัปไม่ได้เจอหน้าญาติตัวเองเลยนี่ถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าเราเห็นตรงจุดนี้ก็จะเห็นว่า วัฏสงสารเป็นเรื่องที่ยาวไกลและน่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น..บุคคลที่เห็นภัยในวัฏสงสาร จะพยายามขวนขวายหาทางหลีก หาทางหนีไปให้พ้น ถ้าเห็นเป็นของน่ากลัวเรียกว่า ภยตูปัฏฐานญาณ ถ้ากลัวแล้วเกิดความเบื่อหน่าย เรียกว่า อาทีนวานุปัสสนาญาณ เบื่อหน่ายแล้วแสวงหาทางหลุดพ้น เรียกว่า มุญจิตุกัมยตาญาณ ก็คือจะเป็นความรู้เป็นขั้น ๆ ไป บางทีก็เกิดรวดเดียวเลย แต่ท่านที่เข้าถึงรายละเอียดตรงนี้จะแยกได้ว่าอันนี้เป็นอย่างนี้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 29-03-2013 เมื่อ 20:18 |
สมาชิก 164 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#75
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : พระมาลัยใช่องค์เดียวกับของมหายานหรือไม่ครับ ?
ตอบ : ใช่...มหายานเขาเรียกยูไลฮุดโจ้ว ก็คือพระมาลัย ถาม : ไม่ใช่พระพุทธเจ้า ? ตอบ : พระยูไลไม่ใช่พระพุทธเจ้า ถาม : ตีจั่งอ๊วง ? ตอบ : ตีจั่งอ๊วงเป็นพระกษิติครรภโพธิสัตว์ ไม่ใช่พระอรหันต์ พระมาลัยนี่เป็นพระอรหันต์ ภาษาจีนเขาพยายามจะเลียนแบบบาลีแล้ว แต่ออกเสียงตรงไม่ได้ อย่างพระศากยมุนี เขาเรียก เซ็กเกียมอนี้ อย่างพระอานนท์ ก็เป็นอานันท้อ บาลีเรียกอานันทะ พระราหุลก็เป็นเล่าหู่ล้อ พระปิณโฑลภารทวาช ก็เรียกปินโทล่อ เขาก็เรียกของเขารู้เรื่อง พระตีจั๊งอ๊วงปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายก็ไม่ใช่ แต่ท่านตั้งความปรารถนาไว้ว่า ถ้าตราบใดในวัฏสงสารยังมีสัตว์ที่ยังเวียนว่ายอยู่ในกองทุกข์นั้น ท่านจะยังไม่ไปพระนิพพาน ดังนั้น..ถึงจะไม่ใช่องค์สุดท้ายก็คงใกล้เคียง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 14:44 |
สมาชิก 176 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#76
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : คำสอนในมหายานกับเถรวาทนี่ต่างกันมาก ?
ตอบ : พระพุทธเจ้าพยายามละเว้นธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า แต่ท่านทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อไปรู้เห็นแล้วถูกจริตตัวเอง ก็เลยนำมาสั่งสอนกัน จึงกลายเป็นสายมหายานขึ้นมา คำว่า "ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า" ก็คือพระพุทธเจ้าพยายามให้พวกเราไปพระนิพพานให้เร็วที่สุด แต่สายพระโพธิสัตว์ต้องอยู่สร้างบารมีจนกว่าจะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งมองไม่เห็นต้นเห็นปลายเลย แต่ท่านที่มาสายเดียวกันเห็นเข้าถูกใจ ก็เลยไปเอามาแนะนำสั่งสอนกันต่อ เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระนาคารชุน พระนาคารชุนทำให้มหายานปรากฏชัดเจนมาก เพราะว่าท่านนี้มีลักษณะคล้าย ๆ พระมาลัย ขึ้นฟ้าลงบาดาลเป็นปกติเลย ถาม : พระนาคารชุนเป็นพระอรหันต์หรือพระโพธิสัตว์ครับ ? ตอบ : น่าจะเป็นพระโพธิสัตว์เต็ม ๆ ขนาดเขามาฆ่าตัวเอง ยังช่วยบอกวิธีฆ่าให้เขาเสร็จสรรพ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 14:45 |
สมาชิก 168 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#77
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : การที่เขานิยมปั้นพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม เป็นเพราะว่าเพศหญิง เป็นเพศที่มีความอ่อนโยนมากกว่า ?
ตอบ : จะคิดอย่างนั้นก็ได้ แต่ว่าจริง ๆ แล้วการสร้างบารมี เราต้องเกิดเป็นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชาติที่ท่านสร้างบารมีแล้วคนรู้จักมาก อาจจะเป็นเพราะไปเกิดในแผ่นดินใหญ่แล้วประชากรมาก ก็คือชาติที่ท่านเกิดเป็นเจ้าแม่กวนอิม ก็คือองค์หญิงเมี่ยวซ่าน ก็เลยทำให้คนเขาติดว่า รูปแบบของความเป็นท่านก็คือองค์หญิงเท่านั้น แล้วก็ปั้นเป็นผู้หญิงมาตลอด เพราะฉะนั้น..เราจะพิจารณาตามแบบของเขาก็ได้ เพราะถือว่าเป็นพัฒนาการทางศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเรามาถือในเรื่องของการสร้างบารมีก็คือ ชาติที่เป็นผู้หญิงเขารู้จักมากกว่า แต่ถ้ามาดูจริง ๆ เจ้าแม่กวนอิมท่านมี ๘๐ กว่าปาง ในเมื่อมี ๘๐ กว่าปาง เขาก็เลยว่าส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้หญิง แต่เป็นผู้ชาย แล้วมีอยู่ปีหนึ่งประมาณปี ๒๕๔๔-๒๕๔๕ มีโยมคนหนึ่งเขาทำรูปเจ้าแม่กวนอิม ๘๐ กว่าปางไปให้วัดท่าขนุน เป็นลักษณะเสี่ยงเซียมซี เขาทำลักษณะเป็นเหมือนอัลบั้มเลย ให้อธิษฐานแล้วเปิด พอเจอรูปไหนก็พลิกดูข้างหลังรูปจะมีคำทำนาย เข้าท่าดีเหมือนกัน ต้องอธิษฐานด้วยใจที่เคารพมั่นคงจริง ๆ แล้วก็เสี่ยงเปิดขึ้นมา เขาก็จะบอกว่าเป็นพระโพธิสัตว์ปางนี้ เป็นบารมีอะไร แล้วก็ทำนายในลักษณะที่ว่า เราจะต้องเจออะไรในสภาพใกล้เคียงกัน ถาม : ถ้าเป็นนิตยโพธิสัตว์ต้องเป็นผู้ชายหรือครับ ? ตอบ : ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก แค่ในอุปบารมีขั้นปลายก็เริ่มเป็นผู้ชายแล้ว ถาม : แล้วทำไมเจ้าแม่กวนอิมไม่เกิดเป็นผู้ชาย ? ตอบ : ในส่วนของอุปบารมีเบื้องต้น เบื้องกลางก็ยังต้องเกิดเป็นผู้หญิง มักจะเป็นส่วนที่ต้องสร้างบารมีหนักหนาสาหัสมาก พวกบรรดาปัญจมหาบริจาคส่วนใหญ่ก็จะเล่นกันในสมัยนี้แหละ พอมาถึงสมัยของปรมัตถบารมี ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญา หรือการเข้าถึงหลักธรรมไปแล้ว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 14:48 |
สมาชิก 166 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#78
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ในบารมีทั้ง ๑๐ การให้ทานต้องเริ่มก่อน ?
ตอบ : การบำเพ็ญบารมีจะเริ่มบารมีไหนก็ได้ แต่เมื่อเริ่มในบารมีนั้น บารมีตัวอื่น ๆ จะตามมาเอง เราจะเห็นว่า ถึงแม้จะเป็นพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ก็ตาม บารมีท่านยังต่างกันไป ยิ่งถ้าพระอรหันต์จะเห็นชัดเลยว่า เอตทัคคะทั้ง ๔๑ องค์ ความสามารถจะต่างกับท่านอื่นอย่างชัดเจน เกิดจากการเริ่มต้นสร้างบารมีมา อย่างเช่นถ้าเริ่มต้นด้วยปัญญาบารมีมา ก็จะเด่นในทางปัญญาอย่างพระสารีบุตร ถ้าเริ่มต้นด้วยทานบารมีก็จะเด่นทางลาภอย่างพระสีวลี เป็นต้น แม้กระทั่งพระพุทธเจ้าก็เช่นกัน หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านบอกว่า พระพุทธเจ้ามีนามว่าพระพุทธกัสสปและพระพุทธทีปังกร ๒ พระองค์นี้ท่านเริ่มด้วยทานบารมี เพราะฉะนั้น..ลาภผลของท่านจะมากเป็นพิเศษ เมื่อเป็นอย่างนั้น เรื่องของการสร้างบารมี เราจะเริ่มต้นด้วยบารมีไหนก็ได้ แต่เมื่อเริ่มต้นแล้วบารมีอื่นก็ต้องตามมาเอง อย่างเช่นเราเริ่มต้นด้วยปัญญาบารมี คนมีปัญญาบารมีก็ต้องเห็นว่าทานบารมีเป็นเรื่องดี เราควรทำไว้ บุคคลที่จะมีทานบารมีได้ ก็ต้องมีเมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นเขาถึงจะให้ได้ บุคคลที่จะมีเมตตาได้ ก็ต้องมีศีลเป็นปกติ ศีลบารมีก็ต้องมี ไล่ไปเรื่อย สรุปก็คือเริ่มต้นด้วยบารมีไหน อีก ๙ อย่างก็จะตามมาเอง เพียงแต่ว่าจังหวะการเริ่ม ทำให้ความเด่นด้านบารมีนั้นติดข้ามชาติข้ามภพไปด้วย ถึงเวลาก็ไปได้ดีปรากฏชัดเอาในช่วงสุดท้าย อย่างพระสีวลี อ่านในพระธรรมบทแล้วตลก เทวดาเขาแห่มาทำบุญกับพระสีวลี ไม่สนใจพระพุทธเจ้าเลย เขาใช้คำว่า "พระผู้เป็นเจ้าของเรามาแล้ว" เอาของมาถวายพระสีวลี พระสีวลีก็น้อมของนั้นถวายพระพุทธเจ้ากับคณะสงฆ์ ถ้าเป็นเราจะเป็นอย่างไร ? ถ้าใช้กำลังใจปุถุชนก็คงโกรธเทวดาไปเลย..ใช่ไหม ? ทำไมมองไม่เห็นหัวเรา แต่พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ที่ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว ความยินดียินร้ายไม่ได้มีอยู่ในใจพระองค์ท่าน ดังนั้น..การที่จะไปอิจฉาลูกศิษย์ก็ไม่ปรากฏ ไม่ใช่อาจารย์ขององคุลีมาลเถระ นั่นท่านอิจฉาลูกศิษย์ โดนเป่าหูเข้าก็เลยเชื่อเอาง่าย ๆ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 14:50 |
สมาชิก 161 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#79
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : ทำอย่างไรจิตจึงจะละเอียดครับ ?
ตอบ : พยายามทำ...คุณไม่ได้ใช้ความพยายาม วัน ๆ เอาแต่ฟุ้งซ่านอย่างเดียว แล้วเมื่อไรจะดีขึ้น..?!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 14:50 |
สมาชิก 163 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#80
|
||||
|
||||
![]()
ถาม : พระองค์นี้ควรบูชาหรือไม่ครับ ?
ตอบ : คำว่าพระแปลว่าผู้ประเสริฐ ควรบูชาหรือไม่ให้ตัดสินใจเอาเอง..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2013 เมื่อ 14:51 |
สมาชิก 164 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|